หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  การเตรียมการพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  จะพูดให้ได้ดีต้องมีเครื่องปรุง
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  จังหวะในการพูด
  -  การเลือกวิทยากร
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  เทคนิคการพูดของ บารัค โอบามา
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจคน
การพูดจูงใจคน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจ เป็น การพูดประเภทหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน กล่าวคือวัตถุประสงค์ของการพูด ได้แก่ การพูดเพื่อการบอกเล่า การพูดเพื่อความบันเทิงและการพูดเพื่อการจูงใจ
การพูดจูงใจ จึงเป็นศิลปะในการพูดที่ต้องอาศัยการฝึกฝน การศึกษา และดูแบบอย่างของนักพูดที่สามารถพูดจูงใจคนได้
ก่อนที่เราจะศึกษาหรือเรียนรู้การพูดจูงใจ เราควรศึกษาธรรมชาติหรือความต้องการของคนก่อน เนื่องจากคนทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเราพูดจูงใจเด็ก กับพูดจูงใจผู้ใหญ่ เราอาจจะมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน หรือ ถ้าเราพูดให้ผู้ฟังในกลุ่มอาชีพต่างๆฟัง เราอาจจะต้องมีวิธีในการพูดจูงใจที่แตกต่างกัน เช่น พูดให้ชาวนาฟัง กับพูดให้นักวิชาการฟัง ฯลฯ
แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องความต้องการของมนุษย์หรือคนเรา กระผมคิดว่า คนเรามีความต้องการในเรื่องใหญ่ๆ ที่คล้ายกันกล่าวคือ เรื่องของ กิน กาม และเกียรติ
- กิน คนเราเมื่อเกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์จะต้องมีการบริโภคหรือการกิน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารประเภทต่างๆ การดื่มกินน้ำประเภทต่างๆ
- กาม คนเราเกิดมาแล้ว ตามสัญชาตญาณของการสืบพันธุ์ ก็ต้องมีเรื่องของเพศสัมพันธ์
- เกียรติ คนเราเกิดมา ก็อยากจะมีชื่อเสียง อำนาจ ความดัง ความมีหน้าตาในสังคม
ดังนั้น คนเราหรือมนุษย์เรา จึงได้แสวงหาเรื่องของการ กิน กาม และเกียรติ กันด้วยความกระเสือกกระสนดิ้นรน (ทั้งนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า คนเราหรือมนุษย์เราส่วนใหญ่ จึงไม่ได้หมายถึงทุกคน)
เมื่อเราศึกษาธรรมชาติความต้องการของคนเราหรือมนุษย์เราแล้ว ที่นี้ ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เทคนิคในการพูดจูงใจคน เราจำเป็นจะต้องศึกษา เรียนรู้เช่นกัน กล่าวคือ ในการพูดจูงใจให้คนคล้ายตามเรานั้น
- ผู้พูดจำเป็นจะต้องพูดด้วยอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้ผู้ฟังเศร้า ผู้พูดจะต้องมีอารมณ์เศร้าก่อนอีกทั้งต้องแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้า น้ำเสียง ท่าทาง เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังมีอารมณ์เศร้าด้วย หรือ ต้องการพูดให้ผู้ฟังมีอารมณ์เกลียดชัง ผู้พูดต้องแสดงอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง ผ่านทางภาษาพูดและภาษากายต่างๆของผู้พูด เพื่อส่งความรู้สึกอารมณ์ดังกล่าวไปยังผู้ฟัง เป็นต้น
- ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจ จากใจ ยิ่งพูดมาจากก้นบึ้งของหัวใจได้ยิ่งดี การที่จะพูดให้คนคล้ายตามหรือจูงใจคนได้นั้น ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจก่อน ซึ่งความจริงใจ ผู้ฟังสามารถสัมผัสได้ผ่านการแสดงอาการต่างๆของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา น้ำเสียง ท่าทาง กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในสิ่งใด ผู้พูดเองต้องมีความศรัธทาในสิ่งนั้นก่อน ถ้าผู้พูดไม่เชื่อถือไม่ศรัธทาก่อน ก็คงยากที่จะพูดให้ผู้ฟังเกิดความศรัธทาในสิ่งนั้นด้วย
- ผู้พูดจะต้องพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ของผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ได้บุญเพิ่ม ได้กุศลเพิ่ม ได้โลห์ ได้ชื่อเสียง เกียรติยศต่างๆ ฉะนั้น ผู้พูดสามารถชักจูงใจคนได้ด้วยการพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ เช่น หากต้องการได้เงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ท่าน(ผู้ฟัง)จะต้องขยันทำงานขึ้น
ดังนั้น คนที่ต้องการพูดจูงใจเป็น จำเป็นจะต้องเรียนรู้ จากการอ่านมาก การฟังมาก การศึกษาดูแบบอย่างมากๆ เช่น หากท่านต้องการเป็นนักพูดจูงใจทางด้านการเมืองกล่าวคือ ต้องการพูดให้คนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ท่าน ท่านก็ควรตามไปฟังนักพูดทางการเมืองหรือศึกษาจาก เทป วีซีดี ดีวีดี รวมทั้งการดูการถ่ายทอดการหาเสียง การอภิปรายทางโทรทัศน์ ดูแล้วต้องวิเคราะห์ว่าทำไม นักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนเชื่อ ทำไมนักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนไม่เชื่อ อีกทั้งต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย






...
  
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
จำนวนหรือขนาดผู้ฟัง เพศ วัย ระดับอายุ ศาสนา ความเชื่อ อาชีพ การศึกษา ของผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ควรใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างความสนใจในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะปัจจัยต่างๆ ขั้นตอนเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
- จำนวนหรือขนาดของผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมีข้อมูลพอสมควรว่า ในวันที่จะเดินทางไปพูดมีผู้ฟัง
ประมาณกี่คน เป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีพื้นที่หรือสถานที่พอเพียงหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับสถานที่ มีความสัมพันธ์กัน ในการเตรียมการพูด เช่น พูดที่ท้องสนามหลวง มีผู้ฟังมากมาย หรือบางกรณีอาจมีผู้ฟังไม่กี่คนในท้องสนามหลวง วิธีการพูด รูปแบบการพูด เครื่องมือที่ช่วย ก็ต้องมีความแตกต่างกันไป เพราะการพูดที่มีผู้ฟังนั่งชิดกัน เบียดกัน ในห้องประชุม จะทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม มีอารมณ์ ความรู้สึก มากกว่า การพูดที่มีผู้ฟังบางตา มีจำนวนไม่มาก ในขณะที่มีสถานที่กว้างขวาง
- เพศของผู้ฟัง เพศหญิงมักชอบ ความสวยงาม การแต่งตัว การทำความสะอาดดูแลบ้าน การเข้าสังคม
ส่วนผู้ฟังเพศชายมักชอบ เรื่อง การเมือง การเล่นกีฬา การต่อสู้ รถยนต์เครื่องยนต์ โดยมากผู้หญิงมักมีความอ่อนไหวกว่าผู้ชาย การพูดจูงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ มักจะชักจูงโน้มน้าวผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย อีกทั้งการพูดกับผู้ฟังที่มีลักษณะ ชายล้วน หญิงล้วน แบบกลุ่มผู้ฟังผสมผสานทั้งเพศชาย เพศหญิง จึงต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ คำพูด ภาษา เนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป
- วัยหรือระดับอายุ มีความสำคัญมากเพราะคนที่มีอายุหรือวัยมากกว่า ย่อมมีประสบการณ์ใน
ชีวิตมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เช่น
วัยเด็ก มีลักษณะชอบความสนุกสนาน ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทนฟังเรื่องต่างๆได้นาน เบื่อง่าย และการพูดต้องใช้น้ำเสียง จินตนาการในการพูดมากกว่าวัยอื่นๆ เราลองสังเกตว่าเด็กมักชอบฟังนิทาน ผู้เล่านิทานมักใช้น้ำเสียง จินตนาการในการเล่า
วัยรุ่น มักต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบความตื่นเต้น โลดโผน อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ฉะนั้นผู้พูด ควรหาเรื่องใหม่ๆ แปลกๆ ในการนำเสนอก็จะสามารถดึงดูดความสนใจในการพูดได้
วัยชรา เป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก มีลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งพาทางใจ ชอบเรื่องศาสนา เข้าวัด ฟังธรรม เป็นห่วงลูกหลาน
- ศาสนาและความเชื่อ ผู้พูดควรระมัดระวัง ควรศึกษาความเชื่อความศรัทธาของแต่ละศาสนา
ไว้บ้าง เพราะ ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อ เป็นสิ่งที่คนเรายึดถือมาช้านาน การพูดโดยไม่คิด บางครั้งอาจเป็นเรื่องสนุกๆ แต่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังและผู้พูดได้
- อาชีพ ทุกอาชีพมีความแตกต่างกัน มีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่นพูดให้ชาวนาก็พูดเรื่องที่
แตกต่างกันกับนักธุรกิจกิจหรือคนรับราชการ อาจพูดเรื่อง กระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งทำให้ชาวนาเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพทำนา หรือพูดกับ นักธุรกิจก็ควรพูดเรื่อง เศรษฐกิจ การค้าขาย การบริหาร การจัดการ
ดังนั้น นักพูดที่ดีต้องสร้างโครงเรื่องให้สอดคล้องกับความสนใจของอาชีพผู้ฟังก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความชอบความศรัทธา ในตัวผู้พูด
- การศึกษา ถ้าไปพูดให้กลุ่มผู้ฟังที่มีการศึกษาน้อย ควรพูดเรื่องง่ายๆ แต่ถ้าไปพูดให้กลุ่มที่มี
การศึกษาสูง เราก็ควรพูดในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง พูดเน้นหนักวิชาการ บางครั้งอาจจะต้องพูดศัพท์ภาษาอังกฤษ บ้างเพราะคำบางคำ แปลเป็นภาษาไทย ความหมายอาจจะผิดได้ การพูดต้องมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง
สรุปว่า การพูดที่ประสบความสำเร็จ นักพูดหรือผู้พูด จะละเลย การวิเคราะห์ผู้ฟังไม่ได้ เพราะผู้พูด เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ ที่จะประเมินว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังพอใจ จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟังและจงพูดในสิ่งที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง แล้วท่านจะเป็นนักพูดหรือผู้พูดที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง
...
  
ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การเป็นนักพูดที่ดีนั้น ควรพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งมีอารมณ์ขันหรือความบันเทิง สอดแทรกในการพูดแต่ละครั้ง เนื่องจากสังคมไทยเรา หนีไม่พ้นความบันเทิง เพราะสังคมไทยเราชอบความสนุกสนาน ดังเราจะสังเกตเห็นว่า นักพูดที่พูดในเชิงวิชาการอย่างเดียว ไม่สอดแทรกความบันเทิงหรืออารมณ์ขันเลย มักไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ บรรดานักพูดที่พูดเนื้อหาสาระแล้วมีการสอดแทรกความบันเทิงหรืออารมณ์ขันลงไปด้วย
ดังนั้น หากต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดในสังคมไทยเรา ท่านควรพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาในด้านหลักวิชา มีทฤษฏี มีการอ้างอิง มีเหตุผล มีทัศนะ ความเชื่อ มีปฏิภาณตอบโต้ปัญหาต่างๆ มีตลกขบขัน อีกทั้งพูดด้วยความเชื่อมั่นและมั่นใจ หากท่านสามารถพูดได้ดังนี้ จะทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับและได้รับความเคารพจากผู้ฟัง
มีคนเคยถามกระผมว่า แล้วถ้าถูกเชิญให้ไปพูดในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะพูดเนื้อหาสาระกี่เปอร์เซ็นต์ ความบันเทิงกี่เปอร์เซ็นต์ กระผมขอตอบว่า เราคงต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น ดูบรรยากาศของงาน ดูการศึกษาของผู้ฟัง ดูว่าเจ้าภาพต้องการให้เราพูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ฯลฯ
หากเจ้าภาพเชิญให้ไปพูดทอล์คโชว์ แน่นอนว่า การพูดครั้งนั้น ต้องพูดโดยมีเนื้อหาความบันเทิงอย่างเดียว สำหรับสาระคงไม่ต้องมีมาก หรือบางแห่ง ถึงกับบอกเลยว่า เราไม่ต้องการสาระ ขอบันเทิงอย่างเดียวพอ กล่าวคือ ต้องพูดให้คนหัวเราะให้ได้ตลอดงาน ( ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากผู้ฟังมีความหลากหลาย )
แต่ถ้าหากถูกเชิญให้ไปพูดบรรยายในเชิงวิชาการ การอบรมต่างๆ เราก็ควรพูดในเชิงวิชาการให้มากขึ้น สำหรับอารมณ์ขัน ก็ควรมีอยู่บ้าง สำหรับสังคมไทยเรา มักชอบฟังคนพูดแล้วคนหัวเราะ มากกว่า ฟังการพูดแล้วคนเครียด
ฉะนั้น นักพูดที่ดีจึงต้องพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาสาระและบันเทิง สำหรับเทคนิคการหาข้อมูลในเรื่องความบันเทิง นักพูดควรขยันสรรหาตัวอย่างต่างๆให้มากๆ ไม่ว่าจะได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว ต้องหมั่นจดจำ ต้องเป็นนักบันทึก ต้องเป็นนักเลียนแบบและพัฒนาตนเอง หมั่นหามุข หรือตัวอย่างสนุกๆ เพราะการยกตัวอย่างสนุกๆ เป็นเครื่องมือในการใช้ประกอบการพูดได้มาก
การยกตัวอย่างสนุกๆ ทำให้เราขยายเวลาหรือเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มเวลาในการพูดได้มากขึ้น เช่น หากมีเวลาเหลืออีก 1 ชั่วโมง เนื้อหาที่เตรียมไปหมดแล้ว เราก็สามารถเพิ่มตัวอย่างที่สนุกๆ ไปได้อีก แต่หากเวลาเกิน เราก็สามารถตัดตัวอย่างที่สนุกๆ ที่เตรียมไว้ทิ้งเสีย
สำหรับยุคปัจจุบัน การหาข้อมูลตัวอย่างที่สนุกๆ หาได้ไม่ยากเหมือนในอดีต เนื่องจากยุคปัจจุบัน เราอยู่ในสังคมของ ข้อมูลข่าวสาร เรามีระบบอินเตอร์เน็ต เราจึงสามารถหาข้อมูลได้ง่ายและมากขึ้นกว่าในอดีต ไม่ว่าการหาใน GOOGLE , YOUTUBE ฯลฯ จึงทำให้เกิดนักพูดหน้าใหม่ๆ ขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีการกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่กล้าแสดงออกกว่าในอดีต เนื่องจาก มีการแข่งขันรายการต่างๆ มากมาย โดยมีถ้วยรางวัล มีโล่ห์ มีเงิน อีกทั้งได้ออกสื่อต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักกับผู้คนมากยิ่งขึ้น
แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงของนักพูดหน้าใหม่หรือนักพูดรุ่นใหม่ กล่าวคือ เรื่องของกาลเทศะ คำบางคำหรือคำบางประโยค นักพูดรุ่นอาวุโสสามารถพูดได้ แต่นักพูดรุ่นใหม่พูดไม่ได้ เนื่องจากสังคมไทยเรายังถือเรื่องอาวุโส
ฉะนั้น การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้ ต้องไม่หยุดนิ่ง เพราะการพูดในยุคปัจจุบัน กระผมถือว่าเป็นวิชาชีพหนึ่งก็ว่าได้ เป็นวิชาชีพที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเรื่องความคิด ความรู้ ข้อมูล แนวการนำเสนอในการพูดแต่ละครั้ง เราต้องหาเพิ่มเติมตลอดเวลา จะมากินบุญเก่าหรือใช้ความรู้เก่าๆ วิธีการนำเสนอแบบเก่าๆ คงไม่มีใครอยากที่จะฟัง ดังนั้น นักพูดในยุคใหม่จึงต้องมีเครื่องมือต่างๆ ช่วย เพื่อให้การพูดแต่ละครั้งเกิดความแตกต่างกับนักพูดหรือวิทยากร ท่านอื่นๆ เช่น ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ , ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ,ใช้ระบบการเรียนรู้หรือสร้างบรรยากาศที่ทันสมัยเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังอยากที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของนักพูดหรือวิทยากร
ลิ้นเพียงสามนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้









...
  
ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ทำไมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของคนบางคนจึงประสบความสำเร็จ แต่ในทางกลับกันการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของคนบางคนจึงล้มเหลว ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดเรื่องนี้กัน ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรทำดังนี้
1.จงเตรียมการพูดให้น้อยที่สุด การเตรียมการพูดมีความสำคัญมาก หากท่านเตรียมพูดไม่มากพอ การพูดของท่านก็มักจะล้มเหลว ดังนั้นหากต้องการให้การพูดล้มเหลว ท่านควรเตรียมตัวให้น้อยหรือไม่ต้องเตรียมตัวเลย แต่หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรเตรียมการพูดให้มาก ซึ่งหมายถึง เตรียมเนื้อหา เตรียมข้อมูล เตรียมรูปแบบการนำเสนอ ฯลฯ
2.จงอย่าพยายามยกตัวอย่างประกอบ นักพูดที่ประสบความสำเร็จ มักมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นภาพ หรือเกิดการเปรียบเทียบ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น แต่ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรทำตรงกันข้าม กล่าวคือ ท่านไม่ควรยกตัวอย่างประกอบการพูด
3.จงพูดด้วยน้ำเสียงโทนเดียวหรือน้ำเสียงระดับเดียวกันตลอดการพูดของท่าน น้ำเสียงมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน สำคัญจนมีคำกล่าวว่า “ ถ้อยคำแสดงถึงภาษาความหมาย แต่น้ำเสียงทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หวั่นไหว ” ดังนั้นหากท่านต้องการล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนแต่ละครั้งในการพูดควรพูดด้วยน้ำเสียงโทนเดียวกันหรือน้ำเสียงระดับเดียวกัน
4.จงเลือกพูดในเรื่องที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน บุคคลผู้นั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดหรือบรรยายอยู่พอสมควร แต่ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเชื่อถือ หากต้องการล้มเหลวในการพูด จงเลือกหัวข้อยากๆ หรือเลือกหัวข้อที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ แล้วการพูดของท่านก็จะล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
5.จงอย่าสนใจผู้ฟัง หากต้องการความล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เวลาท่านพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านไม่ควรใส่ใจกับผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจผู้ฟัง ไม่ต้องวิเคราะห์ผู้ฟัง ( เพศ อาชีพ วัย อายุ จำนวนผู้ฟัง ประสบการณ์ของผู้ฟัง การศึกษาของผู้ฟัง)
6.จงพูดด้วยความเฉยชา ไม่ต้องกระตือรือร้น จงอย่าพูดด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง หากพูดด้วยกริยาท่าทางดังกล่าว กระผมเชื่อแน่ว่า ผู้ฟังส่วนใหญ่คงง่วงนอน หรือ ผู้ฟังส่วนใหญ่คงอยากให้การพูดในครั้งนั้นๆ จบโดยเร็ว หากทำได้ดังนี้ การพูดของท่านก็จะล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
7.จงพูดด้วยความสับสน วุ่นวาย ไม่ต้องมีลำดับขั้นตอน หรือไม่ต้องมีสุนทรพจน์ หากต้องการให้เกิดความล้มเหลวในการพูด ท่านไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับเวลา ลำดับเหตุการณ์ หากท่านนึกช่วงไหนได้ ท่านก็นำออกมาพูดเลย เช่น นึกถึง ช่วงกลางของเนื้อหาที่จะพูดได้ก็นำมาพูดขึ้นต้นในการพูด หากนึกถึงช่วงสรุปได้ ท่านก็นำมาพูดในช่วงเนื้อหาของเรื่อง จงพูดให้เกิดความสับสน จงพูดจนกระทั่งจับต้นชนปลายไม่ถูก การพูดของท่านก็จะล้มเหลวในที่สุด
8.จงถ่อมตนให้มากที่สุด หากต้องการการล้มเหลวในการพูด เมื่อท่านเริ่มพูดท่านควร ออกตัว ถ่อมตน ถ่อมตัวให้มากที่สุด เช่น ถ่อมตนว่า “ ท่านไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะบรรยายหรือพูดนี้เลย ” “ ท่านไม่ได้มีการเตรียมตัวมาพูดในวันนี้เลย ”
“ ความจริงมีคนพูดในเรื่องนี้เก่งกว่ากระผมอีกมากมาย กระผมคงพูดได้ไม่ดีพอ จึงต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า อีกทั้งการมาพูดในครั้งนี้เป็นมวยแทน ” ยิ่งถ้าท่านออกตัวมากเพียงไร ก็ทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟังสิ่งที่ท่านพูดมากเพียงนั้น
ถ้าหากท่านต้องการให้การพูดแต่ละครั้งล้มเหลว ท่านควรปฏิบัติตามทั้ง 8 ข้อ ดังกล่าวนี้ แต่ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านประสบความสำเร็จ ท่านคงไม่มีวิธีอื่นใด นอกจากทำตรงกันข้ามกับคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นนี้ แน่นอนการทำให้การพูดแต่ละครั้งล้มเหลว ย่อมง่ายกว่า การทำให้การพูดแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ ดังคำเปรียบเทียบว่า การทำความชั่วย่อมง่ายกว่าการทำความดี






...
  
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมชนในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ด้วยกันกล่าวคือ การฝึกการพูดแบบในระบบ กับ การฝึกพูดด้วยตนเอง
1.การฝึกการพูดแบบในระบบ หมายถึง การฝึกการพูดที่มีรูปแบบการฝึกที่เป็นระบบ มีขั้นมีตอน มีผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมนั่งฟัง โดยมากในยุคปัจจุบัน มักมี หน่วยงาน องค์กร ชมรม สโมสร สถาบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำหน้าที่สอนและมีการฝึกปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน
2.การฝึกการพูดด้วยตนเอง หมายถึง การฝึกพูดด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการอ่านศึกษาค้นคว้าจากตำราหนังสือการพูด การสังเกต การตามฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงพูด ซึ่งการฝึกพูดลักษณะนี้ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ต้องลองผิดลองถูกอยู่บ่อยๆ
ในบทความนี้ กระผมขอแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง.... ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกการพูดด้วยตนเองดังนี้
1.จงเป็นนักอ่าน.... ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ท่านสามารถหาหนังสือ ตำรา บทความดีๆเกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ในอินเตอร์เน็ต จงอ่านข้อแนะนำการพูดต่อหน้าที่ชุมชนในหนังสือต่างๆ และจงฝึกปฏิบัติด้วยตนเองอย่างตั้งใจ อดทน สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ท่านสามารถพัฒนาการพูดของท่านได้
2.จงเป็นนักฟัง....จงหาแบบอย่างหรือนักพูดที่ท่านชอบหรือศรัทธา แล้วติดตามไปฟังการพูดของท่านเหล่านั้นให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ แล้วลองสังเกต รูปแบบการพูด ท่าทาง น้ำเสียง กริยาต่างๆของนักพูดท่านนั้น แล้วลองมาปรับใช้กับตนเอง
3.จงใช้เครื่องบันทึกเสียง ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในยุคปัจจุบัน เรามีเครื่องบันทึกเสียงในรูปแบบต่างๆ เช่น เทป MP3 MP4 เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ท่านสามารถนำเอาไปบันทึกเสียงหรือภาพนักพูดที่ท่านชื่นชอบให้มากที่สุดแล้วนำมาเปิดฟังซ้ำอีกหลายรอบ เพื่อวิเคราะห์การพูดของนักพูดท่านนั้น อีกทั้งท่านควรบันทึกเสียงหรือภาพการพูดของตัวท่านเอง เพื่อนำมาเปิดแล้วลองดูสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงการพูดของท่านแต่ละครั้ง
4.จงฝึกการพูดด้วยตนเอง หาที่เงียบๆ แล้วลองฝึกการพูดของท่าน อาจจะฝึกต่อหน้ากระจก หรือฝึกระหว่างการเดินทางไปในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง ดังเช่น นักพูดหลายท่านทำกัน เช่น ลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ฝึกพูดบนหลังม้าระหว่างเดินทางไกล เดล คาร์เนกี อาจารย์ด้านการพูดชื่อดังของโลก เคยหัดการพูดด้วยตนเองระหว่างทำสวน เด็ดหญ้า อาจารย์จตุพล ชมพูนิช คิง ออฟสปีค ของเมืองไทย เคยฝึกการพูดด้วยตนเอง ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ฝึกพูดจากปากซอยถึงท้ายซอย การฝึกวิธีนี้ควร ทำท่าทางประกอบด้วย ไม่ต้องกระดากอาย การฝึกการพูดในรูปแบบนี้ มีประโยชน์หลายอย่าง... เป็นการฝึกลำดับความคิด เป็นการฝึกพูดให้คล่องปาก ทำให้ไม่ติดขัดเมื่อถึงเวลาต้องไปพูดบทเวทีจริงๆ
5.จงฝึกเขียนประกอบการพูด ก่อนที่ท่านจะไปพูดจริง ท่านควรหัดเขียน โครงเรื่องว่า ท่านจะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องมีอะไรบ้างและสรุปจบจะลงท้ายว่าอย่างไร แล้วจึงฝึกพูดหรือฝึกอ่าน หลายๆรอบ จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานำไปแสดงท่านไม่ควรใช้หรือดูบันทึกนั้น
6.จงฝึกพูดจากง่ายไปหายาก เช่น ฝึกพูดคำพังเพย การฝึกพูดจากสิ่งของที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงมาฝึกการพูดจากสิ่งของที่เป็นนามธรรม ฯลฯ
7.จงหาเวทีแสดงการพูด ข้อสุดท้ายนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด หากท่านปฏิบัติตามทั้ง 6 ข้อ ข้างต้นแล้ว แต่ถ้าท่านขาดในข้อที่ 7 นี้ กระผมเชื่อแน่ว่า ท่านจะไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดเลย เพราะฉะนั้น การมีเวทีการพูดต่อหน้าผู้ฟังจริง จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งท่านมีเวทีแสดงการพูดมากเพียงใด ท่านก็เข้าใกล้เป้าหมายในการเป็นนักพูดของท่านมากขึ้นทุกขณะ จงหาโอกาสต่างๆ ในการพูด
ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นข้อแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง สำหรับท่านผู้ฟังที่ขาดโอกาสในการฝึกการพูดในระบบ ท่านก็สามารถประสบความสำเร็จได้โดยคำแนะนำข้างต้นนี้ เพียงแต่ท่านต้องมีความตั้งใจจริง มีความอดทน มีความรักและมีความฝันเป็นสำคัญ
...
  
การพูดในชีวิตประจำวัน
การพูดกับการใช้ชีวิตประจำวัน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราทุกคนเป็นอย่างมาก เพราะการพูดคือรูปแบบของการสื่อสารที่ง่ายและทำความเข้าใจได้ชัดเจน มากกว่าการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการสนทนากันระหว่างบุคคล การพูดต่อหน้าที่สาธารณะชน การพูดโดยผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น โทรศัพท์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถพูดสื่อสารกันได้ ฯลฯ
การพัฒนาการพูดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน เรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ ย่อมจะต้องใช้การสื่อสารทางการพูดทั้งสิ้น พวกเราคงไม่ปฏิเสธว่า คนที่มีความสามารถพูดเป็นที่ประทับใจของผู้ฟังมักจะได้รับความเคารพและศรัทธาจากคนฟัง พวกเราคงไม่ปฏิเสธว่า คนที่คุยสนุกสนานในกลุ่มสนทนามักจะมีคนชอบคุยด้วยมากกว่าคนที่เงียบขรึม พวกเราคงไม่ปฏิเสธว่าคนที่พูดแล้วสามารถชักจูงใจคนได้มักจะมีโอกาสเป็นผู้นำมากกว่าคนที่ไม่มีความสามารถในด้านนี้
ดังการพัฒนาทักษะการพูดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจจะต้องมีการเรียนรู้พัฒนาทักษะด้านนี้ในมากขึ้น อาจจะหาเทคนิคต่างๆที่พูดแล้วคนชื่นชอบ ดังเช่น
- การจดจำชื่อของคนก็เป็นสิ่งสำคัญในการพูด เมื่อเราจำชื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ เราก็จะสามารถสร้างความ
ประทับใจอีกฝ่ายหนึ่งได้ในระดับหนึ่ง
- การกล่าวขอโทษ ขอบคุณ และสวัสดี เป็นสิ่งที่สมควรทำในสังคมไทย เพราะการกล่าวคำพูดเหล่านี้ ไม่ต้อง
ลงทุนด้วยเงิน ไม่เสียเงิน แต่ในทางกลับกันเรามักได้รับการชื่นชอบจากอีกฝ่ายมากขึ้น ขอโทษ ขอบคุณ และสวัสดี จึงเป็นคำพูดที่มีเสน่ห์เป็นอย่างยิ่ง
- รู้จักชมคนอื่นๆบ้าง การชมคนอื่นๆ ในขณะที่เขาทำความดี จะทำให้ผู้รับเกิดความภาคภูมิใจ อีกทั้งตัวเราเอง
ผู้ชมก็จะเกิดความคิดในแง่ดีหรือความคิดในเชิงบวก ก็จะทำให้ชีวิตเราพบในสิ่งที่ดีมากยิ่งขึ้น การรู้จักชมหรือรู้จังหวะในการชมเป็นสิ่งสำคัญ การชมจะทำให้เขารู้สึกดีกับเราอยากพูดคุยกับเรา แต่ตรงกันข้าม หากว่าเราพูดจาดูถูกผู้อื่นหรือพูดจาไม่ดีกับเขา เขาก็คงไม่อยากพูดจากับเรา แต่ข้อควรระวังในการชมคือ ไม่ควรพูดจายกย่อง ชม อีกฝ่ายจนโอเวอร์หรือเกินความเป็นจริงมากเกินไป เพราะจะทำให้อีกฝ่ายคิดว่าเราไม่มีความจริงใจ
- ต้องรู้จักจังหวะในการพูดคุย การพูดที่ดี ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นฝ่ายพูดจนไม่หยุดแล้วอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายฟัง
ตลอดของการสนทนา ตรงกันข้าม หลักการพูดสนทนาที่ดีควรเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้พูดมากกว่าเรา และเราควรเป็นนักฟังที่ดี อีกทั้งไม่ควรพูดนินทาผู้อื่น การพูดคุยกันมีเรื่องให้พูดคุยกันตั้งเยอะแยะ แต่ธรรมชาติของมนุษย์เรา มักชอบนินทาผู้อื่น พอพูดไปสักพักก็มักจะมีการนินทาผู้อื่นในวงสนทนา ฉะนั้น หากต้องการเป็นที่ประทับใจของผู้ฟัง ควรงดการนินทาว่าร้ายผู้อื่น การงดการนินทาผู้อื่นจะทำให้มีคนอยากคบเราเป็นเพื่อนมากขึ้น อีกทั้งเป็นการชำระล้างจิตใจของเราให้สะอาดผ่องใส่ขึ้นด้วย
- ควรทักผู้อื่นก่อนแล้วหัดพูดคำพูดในเชิงบวกหรือประโยคดีๆให้มากขึ้น เช่น สบายดีไหมครับ ลูกๆเป็น
อย่างไรบ้าง ตัดผมทรงนี้ดูดีจัง สวยจัง ใส่ชุดนี้แล้วดูดีจังเลยครับ โอ้เก่งจังครับลูกชายของคุณเนี่ย ฯลฯ
- ควรงดเว้นหรือระวังคำพูดที่ไม่ดี ออกจากปาก เช่น ผมเก่งกว่าคุณอีก คุณใส่ชุดนี้ดูแย่จัง เรื่องง่ายๆขนาดนี้
ยังทำไม่ได้อีกหรือ คุณดูไม่ค่อยสบายเหมือนจะเป็นโรคหรือเปล่าเนี่ย ฯลฯ
- ควรหลีกเลี่ยง หัวข้อสนทนา ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน เช่น เรื่องของศาสนา เรื่องของความเชื่อ เรื่องของ
สถาบันพระมหากษัตริย์ เรื่องของการเมือง ฯลฯ ซึ่งการสนทนากันในหัวข้อเหล่านี้ มักจะก่อให้เกิดความคิดเห็นที่แตกแยกขึ้นได้ เนื่องจากความคิด ความเชื่อของคนเรา มีความแตกต่างกันไป การจะจูงใจให้คู่สนทนาเชื่อตามจึงเป็นไปได้ยาก
ฉะนั้นการพูดในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ศึกษากัน เราตื่นขึ้นมา เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องพูดคุยกันแล้ว ไม่ว่ากับคนในครอบครัว เพื่อนที่ทำงาน การออกงานสังคม การพูดในห้องเรียน ฯลฯ คนที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ในหน้าที่การงาน จึงควรศึกษา เรียนรู้ เพิ่มเติมในแง่มุมเกี่ยวกับการพูด เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการดำรงชีวิต















...
  
วิธีการฝึกฝนการพูด
วิธีการฝึกฝนการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในสมัยที่กระผมฝึกฝนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนใหม่ๆ กระผมมีความประหม่า ตื่นเต้น พูดวกไปเวียนมา พูดแล้วผู้ฟังงง แต่เดี๋ยวนี้ เมื่อฝึกฝนการพูดบ่อยๆ ทำให้ความประหม่าลดน้อยลง ความตื่นเต้นลดน้อยลง การพูดมีโครงเรื่อง มีระบบมากขึ้น พูดแล้วจากผู้ฟังงง เริ่มเปลี่ยนเป็นผู้ฟังมีความเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งบางหัวข้อที่พูด ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธาอีกต่างหาก
ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึง วิธีการฝึกฝนการพูด ซึ่งวิธีการฝึกฝนเป็นศิลปะของแต่ละคน ในช่วงต้นๆ อาจลองผิดลองถูกก่อน เพราะวิธีการฝึกฝนการพูดของนักพูดท่านหนึ่ง เราฝึกฝนตามวิธีดังกล่าวเราอาจไม่ชอบหรือไม่ถูกกับจริตหรือนิสัยใจคอของเราก็ได้ เช่น เดล คาร์เนกี้ ครูสอนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนระดับโลก เคยฝึกฝนการพูดตอนถอนหญ้าในสนามหญ้าภายในบ้าน , อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดี เคยฝึกฝนการพูดตอนอยู่บนหลังม้า เนื่องจากต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ต้องใช้เวลาในการเดินนานจึงใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โดยการฝึกฝนการพูด , อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เคยให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ “ เจาะใจ ” เคยฝึกพูดในระหว่างเดินทางกลับบ้าน โดยฝึกพูดคนเดียว ในช่วงเดินเข้าบ้านตั้งแต่ต้นซอยจนถึงปลายซอย โดยเลือกหัวข้อเรื่อง แล้วจึงพูด เป็นต้น
ซึ่งการฝึกการพูดของบุคคลดังกล่าว หากเราเลียนแบบ บางคนอาจประสบความสำเร็จ บางคนอาจไม่ประสบความสำเร็จ โดยส่วนตัวกระผม วิธีการของบุคคลสำคัญๆ ข้างต้น หากกระผมนำไปฝึกฝนปฏิบัติ คงประสบความสำเร็จได้ยาก เนื่องจาก การฝึกพูดโดยไม่มีผู้ฟัง กระผมมักพูดไม่ออก พูดได้ไม่ดี แต่หากการฝึกฝนการพูดโดยมีผู้ฟัง ตาม สถาบัน สโมสร ชมรม การพูดต่างๆ กระผมมักพูดได้ดีกว่า ทั้งนี้การฝึกฝนการพูดไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว บางคนฝึกพูดต่อหน้ากระจกแล้วฝึกพูดได้ดีมาก
การฝึกฝนการพูดในยุคปัจจุบัน เราสามารถทำได้ง่ายกว่าในอดีต เนื่องจากมี สโมสร สถาบัน ชมรมต่างๆ ที่สอนอีกทั้งเปิดโอกาสให้ท่านไปฝึกพูดได้เป็นประจำ สำหรับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ที่ใช้ในการพูด ท่านสามารถค้นหาได้มากกว่าในอดีต เนื่องจากมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งถ้าเป็นในสมัยก่อน หากท่านได้พูดในหัวข้อหนึ่งๆ ท่านจำเป็นจะต้องเดินทางไปหาข้อมูลตามแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดในสถาบันการศึกษา แต่ปัจจุบันท่านอยู่ที่ไหนท่านก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องประชุม ห้องสัมมนา โดยหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
การฝึกฝนการพูดในยุคปัจจุบัน มีแบบอย่างให้ดูมากมาย มีเครื่องมือช่วยให้การพูดของเราพัฒนาปรับปรุงได้มากขึ้น ท่านสามารถดูตัวอย่างการพูดได้จาก Youtube ท่านสามารถปรับปรุงพัฒนาการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้โดยวิธีการใช้กล้องวีดีโออัดหรือบันทึกภาพในการพูดของท่านแต่ละครั้งเพื่อนำไปดู ข้อดี ข้อเด่น ข้อด้อย ข้อควรพัฒนาปรับปรุง ในการพูดแต่ละครั้ง
การฝึกฝนการพูดเป็น ทั้งศาสตร์และศิลปะ กล่าวคือ การฝึกฝนการพูดท่านควรรู้ศาสตร์หรือองค์ความรู้ในเรื่องการพูดต่อหน้าที่ชุมชนอยู่บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดก็คือ ท่านต้องขึ้นเวที หรือ ฝึกฝนบ่อยๆ หากท่านมีทักษะหรือผ่านเวทีมากๆ ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดได้ในอนาคต
หรือหากท่านอยู่ในวงการขาย ถ้าท่านต้องการเป็นนักขาย ท่านมัวเอาแต่อ่านหนังสือการขาย ท่านมัวแต่ศึกษาวิธีการของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ท่านจะไม่มีวันประสบความสำเร็จในการเป็นนักขาย ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักขายท่านไม่มีทางอื่น นอกจากท่านจะต้องออกไปขายเท่านั้น การศึกษาทฤษฏีมีความสำคัญแต่ท่านควรให้ความสำคัญเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่การปฏิบัติ การฝึกฝนมีค่ามากกว่า ท่านควรให้น้ำหนักความสำคัญถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น อยากเป็นนักขายต้องออกไปขายครับ
เช่นกันถ้าอยากเป็นนักพูด การอ่านหนังสือการพูด การเรียนรู้เทคนิคต่างๆ การถามคนที่ประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรให้ความสำคัญเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่การขึ้นเวที การหาเวที การฝึกฝน เป็นทักษะที่ท่านต้องให้ความสำคัญ โดยการฝึกฝนและปฏิบัติให้มากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ หากต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูด ท่านไม่มีวิธีการอื่น ท่านต้องกล้าขึ้นไปพูดบนเวทีให้มากที่สุด
เช่นกันหากท่านอยากว่ายน้ำเป็น อยากว่ายน้ำเก่ง หากท่านมัวแต่อ่านหนังสือวิธีการว่ายน้ำ เทคนิคต่างๆ ในการว่ายน้ำ ท่านจะไม่มีทางว่ายน้ำเป็นเลย วิธีการก็คือ ท่านจะต้องลงไปในสระว่ายน้ำแล้วลงมือว่ายน้ำเลย ท่านอาจมีโอกาสจมน้ำบ้าง ท่านอาจมีโอกาสสำลักน้ำบ้าง แต่ท่านจะว่ายน้ำเป็นก่อนคนที่เอาแต่อ่านหนังสือวิธีการว่ายน้ำ โดยไม่เคยลงไปในสระว่ายน้ำเลย
ดังนั้น วิธีการฝึกฝนการพูด กระผมไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีการฝึกฝนการพูด วิธีไหนดีที่สุด ทั้งนี้ วิธีการฝึกฝนการพูดที่ดี คงต้องขึ้นอยู่กับ จริต นิสัย ใจคอ วิธีการ ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล แต่ถ้าหากท่านมีความปรารถนาที่จะพูดเป็น พูดเก่ง ท่านจะขาดการฝึกฝนการพูดไปไม่ได้
...
  
การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
“การปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” เป็นคำพูดของ อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ
“ถ้าท่านมีเงินหนึ่งรูปี และฉันมีเงินหนึ่งรูปี แล้วนำเงินนั้นมาแลกกัน ก็จะไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าคุณมีความเห็นหนึ่งความคิดเห็น ฉันมีหนึ่งความคิดเห็นและนำมาแลกกัน เราจะได้ความคิดเห็นเพิ่มเป็นสองความคิดเห็น”
เป็นคำพูดของนางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย
“ขออย่าได้ถามว่าประเทศของท่านจะทำอะไรให้ท่านได้บ้าง แต่ขอให้ถามกันเถอะว่า ท่านจะทำอะไรได้บ้างสำหรับประเทศของท่าน” เป็นคำพูดของจอห์ เอฟ เคเนดี้ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ
คำพูดข้างต้น เป็นคำพูดที่มีความหมายที่กินใจผู้ฟัง เป็นคำพูดที่เป็น “วรรคทอง” ถือว่าเป็นวาทะสำคัญของโลกเลยทีเดียว ถามว่าบุคคลสำคัญเหล่านี้ สามารถสร้างคำพูด “ วรรคทอง ” ได้อย่างไร เขามีวิธีไหนในการสร้างคำพูดเหล่านี้ และถ้าหากเราต้องการสร้างเราจะสร้างได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ท่านสามารถสร้างคำพูด “ วรรคทอง” เหล่านี้ได้โดยการปฏิบัติดังนี้
1.จดบันทึกหรือจดจำคำพูดดีๆ อับราฮัม ลินคอล์น เคยกล่าวถึงการได้มาซึ่ง “วรรคทอง” ว่าเขาได้วาทะ เหล่านี้จากการที่เขาจดบันทึกในเศษกระดาษ หากมีโอกาสเมื่อใด เขาจะหยิบข้อความต่างๆ ขึ้นมาอ่าน ฉะนั้นท่านควรมีสมุดบันทึกเพื่อจดคำพูดดีๆ คำคม สุภาษิต ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันท่านสามารถหาข้อมูล คำพูดดีๆ สุภาษิตดีๆ ได้จากหลายแหล่ง เช่น ในหนังสือ ในงานอบรม ในงานสัมมนา ในการดูโทรทัศน์ ในอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลแล้วท่านต้องจดบันทึก เมื่อมีเวลาท่านควรนำบันทึกเหล่านั้นมาอ่านทบทวนเป็นประจำ เพราะการทำความเข้าใจ คำคม วาทะ สุภาษิต ต่างๆจะทำให้ท่านเกิดความคิดวินิจฉัยและความคิดที่เฉียบแหลมขึ้น
2.ดัดแปลงแก้ไขจากวาทะหรือวรรคทองของผู้อื่น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะคนไทยเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบดัดแปลงแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ภาษาไทย บางครั้งก็ดัดแปลงแก้ไขออกมาแล้วดูดี แต่บางครั้งก็ดัดแปลงแก้ไขออกมาแล้วดูจะไม่ค่อยเข้าท่า เช่น สุภาษิตต่างๆ “น้ำลดตอผุด” มีคนไปดัดแปลงใหม่ว่า “ น้ำลดตอแหล” หรือ คำสอนที่ดีๆ ในอดีต “ นักเรียนดีเพราะถูกครูด่า มีคนไปดัดแปลงใหม่ว่า “ ครูตายห่าเพราะด่านักเรียน” หรือ “ คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” มีคนดัดแปลงใหม่ว่า “ คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ถ้าคบคนแก้ผ้า จะได้ดูทั้งหน้าและเนื้อ” หรือ ช่วงหนึ่งของ ลิลิตพระลอ เดิมเขียนเอาไว้ว่า “ ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้เนื้อเมียได้” มีคนไปดัดแปลงใหม่ว่า “ ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้ น้องเมียได้ ”
3.คิดขึ้นมาเอง ข้อนี้จะยากกว่าการจดจำ การบันทึกหรือการดัดแปลงวาทะของผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตามก็คงไม่ยากเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ สำหรับหลักการสร้างวาทะหรือวรรคทองต่างๆ ควรมีลักษณะดังนี้
1.เป็นคำพูดสั้นๆ กระชับ แต่มีความลึกซึ้งกินใจ
2.เป็นคำพูดที่เฉียบแหลมคมคาย สามารถชวนให้คนคิดต่อไป ยิ่งคิดก็ยิ่งเห็นจริง
3.เป็นคำพูดที่ผู้ฟังฟังแล้วเกิดความหวั่นไหว คล้อยตาม
4.เป็นคำพูดที่สร้างความเชื่อถือศรัทธาให้แก่ผู้พูด
5.เป็นคำพูดที่มีความไพเราะ แต่มีความแจ่มแจ้งชัดเจน ผู้ฟังฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย
โดยสรุป การสร้างวาทะท่านสามารถสร้างขึ้นเองได้โดยวิธีการจดจำ การจดบันทึกแล้วนำเอาไปใช้ , การดัดแปลงแก้ไขวาทะหรือวรรคทองของผู้อื่น และการคิดขึ้นมาเอง


...
  
ความเชื่อมั่นในการพูด
จะพูดให้ดี…ต้องรู้จักสร้างความเชื่อมั่น...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
บุคคลไม่ว่าจะมีความรู้มากมายขนาดไหน มีการศึกษาสูงเพียงไร แต่หากขาดซึ่งความเชื่อมั่นแล้ว เขาก็ไม่สามารถนำเอาความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่ผู้อื่นและประเทศชาติได้ เข้าทำนองคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ”
ตรงกันข้ามกับบุคคลที่ไม่มีการศึกษาสูง ไม่มีปริญญา มีการศึกษาน้อยนิด แต่เขาสามารถเป็นผู้นำและเปลี่ยนแปลงโลกได้ ดังเช่น ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำของเยอรมัน ไม่ได้เรียนจบปริญญา แต่ด้วยความเชื่อมั่น เขาสามารถพูดชนะใจ ประชาชนชาวเยอรมัน และสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปในแนวทางที่เขาวางไว้ได้
ซึ่งความเชื่อมั่นนี้ ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูด จะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเชื่อมั่นในข้อมูลหรือความรู้ที่ตนเองได้เตรียมไว้ มีความเชื่อมั่นในความคิดความอ่านของตนเอง เพราะว่าหากท่านมีความเชื่อมั่นในตนเอง ท่านสามารถเป็นอะไรก็ได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งเป็นนักพูด
ความเชื่อมั่นนี้มีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะถ้าหากผู้พูดไม่เชื่อมั่นในตนเองแล้ว ผู้ฟังก็มักจะไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีความศรัทธาในตัวของผู้พูด ความเชื่อมั่นนี้ยังรวมถึงการแสดงออกภายนอกของผู้พูดอีกด้วย เช่น ท่าทาง บุคลิกภาพ น้ำเสียงในการพูด สีหน้า ฯลฯ
ความประหม่า ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวทำลายความเชื่อมั่น ซึ่งวิธีแก้ความประหม่า เคยมีครูอาจารย์หลายท่านที่ได้แนะนำไว้ว่า ผู้พูดควรพูดเสียงดังกว่าปกติเพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้น แล้วค่อยเบาเสียงลงให้อยู่ในภาวะปกติ หรือ ก่อนพูดควรดื่มน้ำเย็นเพียงสักเล็กน้อย ต้องขอย้ำนะครับว่า เพียงสักเล็กน้อย เพราะถ้าบางท่านนำคำแนะนำไปใช้แต่ดันดื่มมาก จะทำให้เกิดการปวดฉี่ได้ในเวลาพูดบนเวที หรือ ก่อนขึ้นพูดควรพูดปลุกกำลังใจตนเองในใจ เช่น สู้ตาย , การพูดในหัวข้อนี้ข้าพเจ้ารู้ดีที่สุด , ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้เราเต็มที่ไว้ก่อน ฯลฯ
ฉะนั้น หากใครสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ก็จะช่วยลดความประหม่าไปได้บางส่วน แต่ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุด ในการแก้ความประหม่าก็คือ ท่านต้องขึ้นพูดบ่อยๆ นั้นเอง เพราะ ถ้าเรากลัวสิ่งไหนแล้วเราทำสิ่งนั้น ความกลัว ความประหม่า ก็จะลดน้อยลงไปเอง
และไม่ควรเชื่อคำแนะนำที่ผิดๆ เนื่องจากบางท่านมีอาการประหม่า จึงไปถามเพื่อนฝูงว่าจะแก้ไขอย่างไร เพื่อนฝูงบางท่านจึงแนะนำให้ไปดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ หรือ เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ซึ่ง หากท่านใดปฏิบัติตามอาจก่อให้เกิดปัญหาได้มากกว่าที่จะแก้ปัญหา เนื่องจากเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เมื่อดื่มไปมากๆ มักทำให้ผู้พูด ขาดสติหรือมีสติลดน้อยลง อาจทำให้เกิดการผิดพลาดในการพูดได้
แต่ หากว่าเรามองโลกในแง่ดี ความจริงความประหม่า ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เพราะเจ้าตัวประหม่านี้จะทำให้นักพูดท่านนั้น เกิดพัฒนาตนเองได้มากขึ้น เนื่องจากหากข้อมูลไม่พร้อม การเตรียมตัวไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดความประหม่าหรือความกลัว ฉะนั้น เพื่อลดความประหม่าและลดความกลัว จึงทำให้เกิดการเตรียมข้อมูลมากขึ้น เตรียมการพูดมากขึ้น เมื่อเตรียมการพูดมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในการพูดยิ่งขึ้น
ตรงกันข้าม หากผู้ใดไม่มีความประหม่า ไม่วิตกกังวลเลย ก็จะทำให้ผู้นั้นประมาท ซึ่งมีผลทำให้ขาดการเตรียมข้อมูล ขาดการเตรียมตัว ไม่ทำการบ้าน กล่าวคือมีความรู้แค่ไหนก็พูดแค่นั้น ทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ไม่มีคุณภาพ ไม่มีข้อมูลใหม่ๆ มานำเสนอ ขาดตัวอย่างประกอบ

ดังนั้น หากท่านปรารถนาจะเป็นนักพูด ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ไม่มีใครหรืออิทธิพลอันใดที่จะช่วยท่านได้ นอกจากตัวของท่านเอง ตัวเราเองต่างหากที่กำหนดชะตาชีวิตของเราเอง ว่าเราจะเป็นนักพูด ตามที่เราใฝ่ฝันได้หรือไม่ ตัวเราเองต่างหากต้องสร้างความเชื่อมั่น สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับตัวเราเอง เราจะเป็นนักพูดระดับธรรมดาสามัญ หรือ นักพูดที่ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นและความปรารถนาอย่างแรงกล้าในตัวของเรา




...
  
การพูดเพื่อนำเสนอ
เทคนิคการพูดเพื่อนำเสนอ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดเพื่อนำเสนอ เป็นการพูดที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน เราทุกคนต่างก็เป็นนักนำเสนอ เพียงแต่ใครจะเป็นผู้นำเสนอได้ดีและมีประสิทธิภาพกว่ากัน เช่น เด็กๆ ต้องพูดนำเสนอเพื่อขอเงินผู้ปกครองไปซื้อสิ่งของที่ตนเองต้องการ , นักขายพูดนำเสนอขายสินค้าแก่ลูกค้า , ผู้ให้บริการต้องพูดนำเสนอการให้บริการที่ประทับใจแก่ผู้รับบริการ , นักการเมืองต้องพูดเพื่อนำเสนอนโยบายแก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกตนเข้าไปบริหารประเทศ , ผู้เผยแพร่ศาสนาต้องพูดนำเสนอเพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือ ศรัทธาและนำไปปฏิบัติ ฯลฯ
ในบทความนี้ใคร่ขอแนะนำเทคนิคบางประการที่จะทำให้การพูดเพื่อนำเสนอให้เป็นที่สนใจและดึงดูดใจผู้ฟัง ดังนี้
1.ต้องวิเคราะห์ผู้ฟัง การพูดนำเสนอที่ดีและประสบความสำเร็จ สิ่งที่ผู้พูดควรคำนึงถึงอันดับแรก คือ ต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง ต้องรู้ว่าผู้ฟังคือใคร มีเพศใด มีอายุเท่าไร สถานภาพของผู้ฟังเป็นอย่างไร ทำงานอาชีพอะไร ความรู้การศึกษาของผู้ฟังอยู่ระดับไหน ผู้ฟังนับถือ ศาสนา มีวัฒนธรรม มีประเพณีอะไร แล้วผู้ฟังมีความต้องการอะไร รักชอบอะไร การวิเคราะห์ผู้ฟังและการพูดในสิ่งที่ผู้ฟังมีความต้องการจะทำให้ผู้พูด สามารถพูดนำเสนอเพื่อเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ฟังได้ ทั้งนี้การวิเคราะห์ผู้ฟังยังรวมไปถึง เรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ฟังในขณะฟังผู้พูดพูดอีกด้วย
2.ต้องเตรียมเนื้อหาที่จะพูด ควรมีองค์ประกอบตามโครงสร้าง คือ คำขึ้นต้น เนื้อเรื่อง และสรุปจบ อีกทั้งต้องทำให้ทั้ง 3 ส่วน มีความสอดคล้อง กลมกลืนไปในทิศทางหรือเนื้อหาเดียวกัน ดังตัวอย่าง
2.1.การขึ้นต้นการพูดที่ดีเราต้องรู้จักสร้างความสนใจ สร้างความตื่นเต้น สร้างความอยากที่จะฟัง แก่ผู้ฟัง ซึ่งการขึ้นต้นมีเทคนิคหลายอย่าง เช่น
- การขึ้นต้นโดยตั้งคำถาม (ท่านผู้ฟังครับ ท่านผู้ฟังอยากมีเงินล้านภายใน 1 ปี หรือเปล่าครับ การขึ้นต้นประโยคดังกล่าว จะทำให้ผู้ฟังอยากที่จะฟังเรื่องราวของผู้พูด ว่าทำอย่างไรถึงจะมีเงินล้านภายใน 1 ปี ได้ )
- การขึ้นต้นด้วยการสร้างความสงสัย ( ท่านเชื่อไหมว่าเราสามารถอายุยืนนานถึง 110 ปี)
- การขึ้นต้นด้วยการพาดหัวข่าว( แม่แจ้งจับพระใช้ไฮไฟว์ลวง ม.3 เข้ากุฏิ)
- การขึ้นต้นด้วยการอ้างอิง ( มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า สมุนไพรไทยรักษาโรคได้เกือบทุกชนิด)
สำหรับการขึ้นต้นมีความสำคัญมากสำหรับการพูดนำเสนอ หากเราขึ้นต้นได้ดี ก็จะทำให้ผู้ฟังอยากติดตามเรื่องราวที่จะนำเสนอในส่วนของเนื้อเรื่อง แต่ถ้าหากขึ้นต้นไม่มี ไม่ดึงดูดใจผู้ฟัง ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟังเรื่องราวในส่วนของเนื้อหาต่อไป
2.2.เนื้อเรื่อง เป็นส่วนของเนื้อหาที่ต้องสอดคล้องกับคำขึ้นต้น เป็นส่วนที่มีเนื้อหามากกว่า ส่วนขึ้นต้นและสรุปจบ อาจพูดได้ว่ามีสัดส่วนดังนี้( คำขึ้นต้น 5-10 เปอร์เซ็นต์ เนื้อเรื่อง 80-90 เปอร์เซ็นต์และสรุปจบ 5-10 เปอร์เซ็นต์) เช่น
- เรียงตามลำดับ เวลา สถานที่ เช่น เรียงลำดับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต , เรียงจากจังหวัดเหนือสุดไปใต้สุด ฯลฯ
- ใช้ตัวอย่างประกอบ ตัวอย่างจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพราะเรื่องราวบางอย่างอาจจะเป็นนามธรรม แต่การยกตัวอย่างจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น
- เน้นจุดมุ่งหมายเดียว การพูดในส่วนเนื้อหาที่ดี ควรให้อยู่ในจุดมุ่งหมายหรือประเด็นเดียว ไม่ควรพูดหลายประเด็น จนผู้ฟังฟังแล้วเกิดความสับสนว่าผู้พูดต้องการนำเสนออะไรกันแน่
2.3.สรุปจบ เป็นส่วนสุดท้าย ท้ายสุด การสรุปจบที่ดี ควรทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ตรึงใจ เช่น
- ฝากแง่คิด เป็นการพูดเพื่อฝากให้ผู้ฟังนำไปคิดต่อไป
- เรียกร้อง เชิญชวน เป็นการสรุปจบแบบ ขอร้อง เชิญชวน ให้ผู้ฟังกระทำสิ่งที่ผู้พูดต้องการ เช่น เชิญชวนให้เลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติด เชิญชวนให้ผู้ฟังได้ออกกำลังกาย
3.หาประสบการณ์ เทคนิคข้อนี้มีความสำคัญเป็นอันมาก คนที่มักไม่มีความมั่นใจในการนำเสนอของตน ก็เนื่องจากขาดประสบการณ์ การหาประสบการณ์ในการพูดนำเสนอจะทำให้ ผู้พูดนำเสนอเกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อีกทั้งจะทำให้รู้ว่าตนเองควร ปรับปรุง แก้ไข พัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง
4.อย่าออกตัว การพูดนำเสนอที่ดี ผู้พูดไม่ควรออกตัว การออกตัวหรือกล่าวคำขอโทษผู้ฟัง จะทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่มั่นใจ และทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา ความเชื่อถือ ในตัวผู้พูด เช่น พูดว่าเรื่องที่จะนำเสนอนี้กระผมไม่ค่อยมีความรู้สักเท่าไร , การนำเสนอในครั้งนี้กระผมไม่ค่อยได้เตรียมตัวมาต้องขอโทษผู้ฟังด้วย ถ้าหากกระผมพูดอะไรผิดพลาด ฯลฯ
ดังนั้น การพูดเพื่อนำเสนอ จึงมีความสำคัญ สำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ ความก้าวหน้าในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้ท่านเกิดความได้เปรียบกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ฝึกฝน ในการพูดนำเสนอ
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.