หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
  -  บทความ การทำงานอย่างมีความสุข
  -  สิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานมีความสุข
  -  ปัจจัยที่ทำให้ตัวเราเองทำงานอย่างมีความสุข
  -  สุขแท้จริง คือสุขอย่างยิ่งในการทำงาน
  -  มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
  -  ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
  -  บริหารความสุขในการทำงาน……ด้วยหลัก “P-D-C-A”
  -  การทำงานยากให้เป็นเรื่องง่าย
  -  คุณภาพชีวิตการทำงาน
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : การทำงานอย่างมีความสุข
บทความ การทำงานอย่างมีความสุข
การทำงานอย่างมีความสุข
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
คนเราเกิดมาแล้วต้องมีการทำงานหรือต้องหางานทำ โดยเหตุผลของการหางานทำหรือการทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราบางอย่าง เช่น บางคนต้องการเงินเดือนเพื่อเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว บางคนต้องการได้ชื่อเสียงเนื่องมาจากการทำงาน บางคนทำงานก็เพื่อเป็นที่ยอมรับในสังคม บางคนทำงานเพื่อความร่ำรวยเงินทอง ฯลฯ ( ซึ่งเหตุผลของแต่ละคนที่ทำงานมีความแตกต่างกัน)
คนที่ทำงานส่วนใหญ่มักจะมีทัศนคติที่แตกต่างกัน บางคนทำงานมานานมักเกิดอาการเบื่อหน่ายงาน บางคนเป็นผู้บริหารมานานก็มักจะเกิดความเครียด บางคนทำงานในองค์กรมักจะเกิดปัญหาในเรื่องความขัดแย้งกัน สำหรับคนที่ทำงานแล้วมีความสุขในการทำงานถือว่าโชคดีมาก เพราะเวลาในชีวิตของคนเราส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาหรือใช้เวลาอยู่กับเรื่องของการทำงาน(ส่วนที่เหลือก็มักจะใช้เวลาให้กับครอบครัว สังคม พักผ่อน )
ดังนั้น เราควรทำงานอย่างมีความสุข และควรสนุกกับการทำงาน ถ้าท่านเกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ในการทำงาน ลองปฏิบัติดังนี้ครับ
1.ปรับเปลี่ยนทัศนคติของท่าน ทัศนคติมีความสำคัญมากสำหรับคนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ล้มเหลว คนที่ประสบความสำเร็จมักเห็นปัญหาเป็นโอกาส แต่ตรงกันข้ามผู้ประสบความล้มเหลว มักเห็นโอกาสเป็นปัญหาเสมอ ในการทำงานก็เช่นกัน คนที่ทำงานเก่งหรือประสบความสำเร็จในการทำงาน มักเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ ฉะนั้น หากท่านต้องการประสบความสำเร็จในการทำงานหรือมีความสุขในการทำงานควรปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ เช่น อย่ามองโลกในแง่ร้าย หรือ หัดมีความคิดเหมือนเด็กๆ ดูบ้าง ( ธรรมชาติของเด็กมักไม่มีความคิดปรุงแต่ง อยากนอนก็นอน เมื่ออยากอ่านหนังสือก็อ่านอยากทำในสิ่งที่ทำก็ทำ ไม่ต้องมีใครบังคับ และหาความสุขใส่ตัวบ้าง)
2.ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ร่างกายและจิตใจ แสดงออกทางร่างกายโดยความกระตือรือร้น เช่น เริ่มงานอย่างสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะในทางจิตวิทยาหากเราแสดงอาการภายนอกออกมาอย่างมีความสุข จะทำให้คนที่พบเห็นเกิดอาการสดชื่น อยากร่วมงาน (ถึงแม้ภายในเราจะมีปัญหาก็ตาม ก็จงทำตัวสดชื่นไว้ก่อน เพราะในทางจิตวิทยา ไม่มีใครอยากร่วมงาน กับคนที่มีปัญหามากๆ เครียดมากๆ หรือไม่มีมนุษย์สัมพันธ์)
3.พักผ่อนบ้าง คนที่ทำงานเก่ง มักเป็นคนที่แบ่งเวลาเป็น เนื่องจากเวลาเป็นสิ่งมีค่า บางคนมักบ่นว่า โลกนี้ไม่มีความยุติธรรม แต่มีหลายสิ่งที่ยุติธรรม นั้นคือ เวลา ทุกคนมี 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยิ่งใหญ่ หรือ ต้อยต่ำไม่ว่าบุคคลนั้นจะร่ำรวยหรือเป็นยาจกก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือเป็นลูกน้องก็ตาม ฉะนั้นจงบริหารเวลาให้เหมาะสม
คนทำงานเก่งหรือประสบความสำเร็จ จะต้องแบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน เช่น ไปเที่ยวบ้าง หาอะไรที่สนุกๆทำ เพราะถ้าไม่พักผ่อนก็มักจะเกิดความเครียดได้ ซึ่งหากเกิดความเครียดก็มักจะมีผลกระทบต่อ ร่างกายคือเจ็บป่วย จิตใจคือคิดมากทำให้นอนไม่หลับ ฯลฯ
4.สร้างมนุษย์สัมพันธ์ คนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานหรือในชีวิต มักเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์หรือคนที่ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ ยิ่งการเป็นผู้บริหาร ก็จะต้องทำงานร่วมกับคน กล่าวคือถ้าต้องการตำแหน่งที่สูงขึ้น จะต้องทำอย่างไรให้ลูกน้องดัน เจ้านายดึง ดังนั้น หากอย่างมีความสุขในที่ทำงาน เราต้องเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น กล่าวคือ ต้องเป็นคนที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นคนเห็นใจหรือใส่ใจในผู้อื่น
ดังนั้น ปัจจัยทั้ง 4 ข้อ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้คนทำงานเกิดความสุขในการทำงาน และยังมีอีกหลายปัจจัยซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสุขในการทำงานมักเกิดจากวิธีคิด วิธีมอง จากภายในตนเองมากกว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจากภายนอก







...
  
สิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานมีความสุข
สิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานมีความสุข
แรงจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจในการทำงาน เป็นสิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานมีความสุข ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้งานสำเร็จ แรงจูงใจในการทำงานมีดังต่อไปนี้
1. ขวัญและกำลังใจในการทำงาน หมายถึง ความรัก ความศรัทธา ในอาชีพ ความพึงพอใจในงานที่ทำ อาจจะเกิดจากค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับ หรือเกิดจากความมุ่งหวังในการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ตลอดจนความมั่นคงในอาชีพบุคคลที่มีขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ดี จะส่งผลต่อความสำเร็จและมีผลงานที่ดีด้วย
2. การเผยแพร่และการแสดงผลงาน เป็นแรงจูงใจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะจะทำให้บุคคลมีความภูมิใจ มั่นใจในความสามารถของตน ทั้งยังจะได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไป มีชื่อเสียงจากการเผยแพร่ผลงานที่ดีเด่น จะเป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลอยากทำงาน ทำงานแล้วมีความสุข ดังนั้น ทุกหน่วยงานควรมีการเผยแพร่ผลงานดีเด่นของทุกคนในหน่วยงาน เพื่อเสริมแรงจูงใจในการทำงานให้ดีขึ้น
3. ความสัมพันธ์ของคนในหน่วยงาน เป็นแรงจูงใจให้บุคคลอยากทำงาน กล่าวคือ ทั้งผู้บริหารและสมาชิกในหน่วยงานเข้าใจกันดี ไม่ลำบากใจ ไม่มีการบังคับขู่เข็ญ ทุกคนช่วยเหลือกัน การทำงานก็จะมีความสุข
วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีวิธีดังนี้
1. สร้างเจตคติที่ดีในการทำงาน มีการวางแผนงานร่วมกัน
2. มีมาตรฐานวัดความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีเครื่องมือวัดผลงาน
3. ให้บำเหน็จค่าจ้างรางวัลอย่างคุ้มค่าเหมาะสม
4. ให้การยอมรับแก่สมาชิกโดยการสร้างความสัมพันธ์ฉันเพื่อนอยู่อย่างพี่น้อง
5. ให้ค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม เหมาะสมกับผลงาน
6. จัดสวัสดิการที่ดี
7. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพบปะสังสรรค์ติดต่อสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
สิ่งจูงใจให้คนพอใจในการทำงาน มี 5 ประการ ดังนี้
1. งานสำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. ถ้อยทีถ้อยอาศัย
3. สุขใจกับงานที่ปฏิบัติ
4. เร่งรัดและรับผิดชอบ
5. ผลตอบแทนคือความก้าวหน้า

บรรยากาศในการทำงาน
บรรยากาศในการทำงาน หมายถึง สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป เช่น อาคารสถานที่ ห้องทำงาน วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีสภาพที่สบายกายสบายใจในการทำงาน การทำงานก็จะมีความสุข
ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
1. สถานที่ทำงาน
สถานที่ทำงานเป็นสิ่งประกอบที่ทำให้การทำงานมีความสุข เพราะสถานที่ทำงานสามารถบ่งบอกถึงภารกิจและความมั่นคงของหน่วยงาน การจัดและตกแต่งสถานที่ทำงานให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม จะเป็นการสร้างบรรยากาศ ให้คนในหน่วยงานมีความสบายใจ อยากทำงาน โดยเฉพาะงานธุรกิจเอกชน มักจะเน้นหนักในเรื่องอาคารสำนักงาน เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมั่นคง อันดับแรกของหน่วยงาน ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการก็จะเกิดความมั่นใจและเต็มใจใช้บริการ สถานที่ทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมบรรยากาศในหน่วยงาน
2. ภารกิจหรืองานที่ทำ
ภารกิจหรืองานหลักของหน่วยงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างบรรยากาศ ในหน่วยงาน ลักษณะของงานที่ถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีในหน่วยงานมีลักษณะ ดังนี้
2.1 มีความชัดเจนในภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งชัดเจนในผลตอบ แทนที่เป็นรูปธรรม เช่น ผลตอบแทนในเรื่องของกำไรหรือขาดทุน
2.2 มีความต่อเนื่อง หมายถึง งานที่ทำต้องต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วงตอน มีงานทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้การทำงานมีชีวิตชีวา
2.3 มีความมั่นคงซึ่งเป็นหลักประกันให้บุคคลในหน่วยงานมีความรู้สึกว่างานอาชีพของเขาจะช่วย ให้เขามีความสุขได้ตลอดชีวิต และเขาได้รับความเป็นธรรมจากงานที่เขาทำ
3. เพื่อนร่วมงาน
เพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งประกอบที่สำคัญในการทำงานให้มีความสุข โดยเฉพาะบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน จะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์อันดีหรือความขัดแย้ง ได้อย่างชัดเจน การสร้างบรรยากาศในหน่วยงานเรื่องของเพื่อนร่วมงานจึงควรมีวิธีการ ดังนี้
3.1 การจัดกิจกรรมนันทนาการ
3.2 การทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่
3.3 การเยี่ยมครอบครัว
3.4 การประชุมสัมมนา
3.5 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
3.6 การสรุปผลงาน

เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงาน
เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงานเป็นสิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงาน มีความสุข การทำงานจะมีความสะดวกรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ในหน่วยงานทุก องค์กรควรมีเครื่องอำนวยความสะดวกดังต่อไปนี้
1. เครื่องทุนแรง หมายถึง เครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วย ผ่อนแรงในการทำงาน เช่น เครื่องจักรกล เครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องไฟฟ้าทุกชนิด
2. เครื่องอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ วิทยุมือถือ โทรศัพท์ โทรสาร ฯลฯ
3. เครื่องอำนวยความสะดวกด้านวิชาการ หมายถึง จัดให้มีเอกสาร แบบพิมพ์ที่เป็นความรู้ทางวิชาการ รวมถึงการจัดมุมหนังสือ ห้องสมุด ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ โดยจัดให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมทุกอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์
4. เครื่องอำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ เช่น การจัดให้มีห้องน้ำสะอาด มีที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่บริการน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่จำเป็น รวมถึงที่จอดรถ การบริการด้านไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ฯลฯ ตามความเหมาะสม เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงาน หรือเครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่หยุดยั้ง ซึ่งเป็นผลผลิตจากพลังสมองของมนุษย์ งานทุกสาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนจะเห็นความสำคัญของเครื่องอำนวยความสะดวกทุกด้าน ดังนั้น การทำงานให้ประสบความสำเร็จควรจะต้องใช้เครื่องอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น

การรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยเกี่ยวกับงานของตน
ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ใครมีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยย่อมได้เปรียบ ในการประกอบการงานทั้งปวง เพราะในอนาคตการแข่งขันทางการค้า การแย่งงานอาชีพจะ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น การรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยเกี่ยวกับงานของตน จึงมีความสำคัญยิ่ง ต่องานอาชีพของตน ซึ่งถือเป็นสิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานมีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยดี การรับทราบข้อมูลข่าวสารมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. รับทราบข่าวสารจากสื่อสารมวลชนทุกชนิด เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร และเครื่องมือโทรคมนาคมอื่น ๆ
2. รับทราบข่าวสารข้อมูลจากแหล่งข่าว หมายถึง การหาข่าวด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องหรือแต่ละพื้นที่ ก็จะเป็นการได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด มีประโยชน์มากสำหรับงานอาชีพของตน เช่น การสำรวจความต้องการของผู้บริโภค สำรวจแหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าแต่ละชนิด
3. การรับทราบข่าวสารจากการศึกษาค้นคว้าและการศึกษาดูงาน ก็จะเป็นประโยชน์ในการนำความรู้ที่ได้มาพัฒนางานในอาชีพของตน เพราะจะได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. การรับทราบข่าวสารข้อมูลในกลุ่มอาชีพ เช่น จากสมาคม ชมรม สหกรณ์ ตลาดหลักทรัพย์ จะมีประโยชน์สำหรับการรับทราบข่าวสารความ เคลื่อนไหวที่ทันสมัยในงานอาชีพเดียวกัน ทั้งยังสามารถคาดการณ์แนวโน้มของปัจจุบันและอนาคตได้
5. การรับทราบข่าวสารข้อมูลจากหน่วยงานของทางราชการ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะรัฐบาลจะพยายามส่งเสริมให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพที่มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ก็จะตั้งหน่วยงานส่งเสริมงานอาชีพ ตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ครอบคลุมทุกอาชีพ ดังนั้น บุคคลที่จะประสบความสำเร็จในงานอาชีพของตนต้องติดต่อขอทราบข้อมูลข่าวสารจากส่วนราชการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
6. การรู้จักการวิเคราะห์ข่าว เป็นขั้นตอนสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการกลั่นกรอง ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาสรุปให้เกิดประโยชน์ต่องานอาชีพของตน
โดยยึดหลักการสำคัญ ดังนี้
6.1 ที่มาของข่าวหรือแหล่งข่าว มีความน่าเชือถือมากน้อยเพียงใด
6.2 วิธีการได้มาซึ่งข่าวสาร หมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลหรือบุคคลให้ข่าว มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือหรือไม่
6.3 ศึกษาแนวโน้ม คือ การดูข้อมูลย้อนหลังหลาย ๆ ปี เพื่อดูแนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
6.4ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการเลือกแนวทางหรือตัดสินใจนำสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่องาน อาชีพของตนไปวางแผนในการทำงาน

อ้างอิง :การศึกษานอกโรงเรียน. [Online]. Available URL: http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42022/42022-4.htm

แรงจูงใจเป็นสิ่งที่เราต้องนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ผลสำเร็จทางธุรกิจและความสุขในชีวิตขึ้นอยู่กับสิ่งนี้
การประสบความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจไม่ใช่ทำได้เพียงบางคนเท่านั้น เราทุกคนสามารถทำได้อย่างประสบความสำเร็จโดยวิธีการ 7 ประการดังนี้
- มองโลกในแง่ดี
- สร้างอานุภาพในการเปลี่ยนแปลง
- สร้างความนิยมนับถือในตัวเอง
- เพิ่มกำลังในการปฏิบัติตามที่ต้องการ
- เปลี่ยนจากความอ่อนแอเป็นความแข็งแกร่ง
- หยุดการผัดวันประกันนพรุ่ง
- บรรจุความสำเร็จในจุดมุ่งหมาย
วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยคุณได้ ไม่ว่าคุณต้องการจูงใจตัวคุณให้สูงขึ้นหรือนำทีมงานไปสู่ความสำเร็จ

อ้างอิง :สำนักพิมพ์ซีเอ็ด . [Online]. Available URL: http://www.se-ed.com/book/detail/974/510/097.asp

สร้างแรงจูงใจ เพิ่มไฟทำงาน
เคยบ้างไหมที่ตื่นนอนตอนเช้าแล้วยังอ้อยอิ่งไม่อยากลุก ลืมตามองเพดานแล้วนึกว่า "ต้องไปทำงานอีกแล้วหรือนี่เรา" หรือพอค่ำวันอาทิตย์นึกแต่ว่า "พรุ่งนี้วันจันทร์อีกแล้ว ทำไมวันหยุดถึงสั้นนัก" อาการแบบนี้เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป จะเรียกว่าเป็นโรคเบื่องานหรือขาดแรงจูงใจในการทำงานก็ว่าได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอกับคนทำงานไม่ว่าเป็นนายหรือลูกน้อง สำหรับคนที่เป็นนายหรือผู้บังคับบัญชาควรจะรู้ว่าอะไรคือสาเหตุทำให้ลูกน้องห่อเหี่ยวไม่อยากทำงาน และพยายามหาทางป้องกัน เพราะคนที่ขาดแรงจูงใจย่อมไม่อาจสร้างผลงานที่ดีออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ จะให้บริการกับลูกค้าก็ไม่อาจทำให้ลูกค้ามีความสุขหรือประทับใจได้ การขาดแรงจูงใจของพนักงานจึงเหมือนกับโรคร้ายชนิดหนึ่งที่เกาะกินและทำลายความสำเร็จของหน่วยงาน เราจึงควรจะหาสาเหตุและวิธีที่จะช่วยกันสร้างแรงจูงใจ และเพิ่มไฟทำงาน เพื่อสร้างความสุขความสำเร็จให้กับคนทำงานในองค์การ
ปัจจัยอย่างแรกที่มีผลต่อแรงจูงใจของพนักงานคือตัวงานเอง งานที่จะสร้างแรงจูงใจได้คืองานที่มีคุณค่า มีความหมาย มีผลตอบแทนที่เหมาะสม และที่สำคัญมีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน นั่นคือทำแล้วรู้ว่าจะได้อะไร จะวัดความสำเร็จกันที่ตรงไหน ตราบใดที่มีเป้าหมายชัดเจนก็ทำให้คนทำงานรู้ว่าจะต้องทุ่มเทมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ไม่อย่างนั้นก็จะเหมือนกับคนที่อยู่ในถ้ำในความมืด มะงุมมะงาหราหาทางออกไม่เจอ หมดหวังหมดกำลังใจ หรืออย่างเวลานักวิ่งซ้อมวิ่งถ้าโค้ชบอกว่า "วันนี้วิ่ง 100 เมตรแล้วกัน แล้วจับเวลาว่าทำเวลาได้ดีกว่าเมื่อวานหรือเปล่า" อย่างนี้นักวิ่งก็มีเป้าหมายว่าจะต้องทำเท่าไร ทำแล้ววัดผลได้ว่าทำได้ไม่ได้ ย่อมเกิดแรงจูงใจที่จะทำ แต่ถ้าโค้ชบอกว่า "วิ่งวิ่งไปเถอะ เหนื่อยเมื่อไรค่อยหยุดวิ่ง" อย่างนี้นักวิ่งก็หมดแรงไม่รู้จะวิ่งไปทำไมให้ป่วยการ คนทำงานก็เช่นเดียวกันอยากเห็นผลงานของตัวเองว่าดีไม่ดีขนาดไหน มีเป้าหมายจึงเท่ากับมีแรงจูงใจให้อยากทำงาน นอกจากเป้าหมายแล้วต้องไม่ลืมว่าคนเรายังต้องการงานที่ทำให้เขามีโอกาสก้าวหน้า งานที่ท้าทายความสามารถด้วย งานบางอย่างทำไปแล้วมองไม่เห็นอนาคต ซ้ำซากน่าเบื่อ จะคาดหวังให้ใครมาทนทำอยู่นานๆ เห็นจะไม่ได้ ไม่ต้องดูอื่นไกล พนักงานที่นั่งเก็บเงินในตู้เล็กๆ บนทางด่วน ทำอย่างนั้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ลองไปถามดูเถิดจะมีสักกี่คนบอกว่าชอบงาน มีความสุขกับงาน งานอย่างนี้ที่สุดแล้วก็ต้องมาคิดว่าจะหาเทคโนโลยี่มาทำแทนคนได้ไหม หรืองานบางอย่างจะเปลี่ยนวิธีทำเสียดีไหม คนที่เป็นหัวหน้าต้องพยายามให้งานที่มีความหมายกับลูกน้อง ชี้ให้ลูกน้องเห็นความสำคัญของงานที่มอบหมาย ปรับปรุงงานที่น่าเบื่อให้น่าทำ ตลอดจนหมุนเวียนให้ลูกน้องมีโอกาสได้ทำงานใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำซากบ้าง เขาจะได้มีกำลังใจ ที่สำคัญต้องไม่ลืมด้วยว่าผลตอบแทนที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้คนมีแรงจะทำงาน จะหวังให้คนขยันทำงานในขณะที่ยังท้องหิวเป็นเรื่องยาก และหากท้องหิวหนักเข้าความสุจริตก็อาจจะหายไปด้วย
ตัวนายหรือหัวหน้าเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้งานน่าทำหรือน่าเบื่อหน่าย ถามลูกน้องบางคนว่าทำไมไม่อยากไปทำงาน ได้คำตอบว่า "เบื่อนาย" นายลำเอียง นายขี้บ่น นายอคติ นายประสาท นายซื่อบื้อ สุดที่จะบรรยายไปได้ต่างๆ นาๆ นายบางคนนั้นสักแต่ว่าเป็นนายไม่เคยเอาใจลูกน้องมาใส่ใจตัวเอง อย่างนี้จะได้ความรักจากลูกน้องเห็นจะยากเต็มที ลูกน้องอยากจะได้นายที่เก่งทั้งงานและเก่งทั้งคน ที่ต้องเก่งงานเพราะต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกน้องมั่นใจว่าจะเป็นผู้นำเขาได้ เขาฝากชีวิตไว้ได้ และทำให้เขาเรียนรู้จากนายได้ ที่ต้องเก่งคนเพื่อที่จะแบ่งปันน้ำใจ ให้ความเอื้ออาทร เป็นที่พึ่งทางใจให้กับเขาได้ นายที่เอาแต่เผด็จการ เอะอะก็โวยวายด่าทอเอาอารมณ์เป็นที่ตั้งจะพาลูกน้องเซ็งไปด้วย นายที่เข้าอกเข้าใจลูกน้อง มีน้ำใจไมตรีแต่ทำงานไม่เอาไหน ไม่เคยพิสูจน์ตัวเองว่าประสบความสำเร็จในงานได้ ก็ไม่อาจเป็นที่พึ่งพิงแก้ปัญหาให้ลูกน้องได้ อย่างนี้ก็สร้างความเซ็งและทำให้กำลังใจของลูกน้องหายหกตกหล่นไปด้วย เป็นนายแบบที่จะทำให้ลูกน้องอยากทำงาน และทำงานอย่างทุมเทให้นั้นเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย
สาเหตุที่เบื่องานของคนบางคนเกิดเพราะเพื่อนร่วมงาน งานดี นายดี เพื่อนร่วมงานไม่ดี ก็บั่นทอนกำลังใจที่จะทำงานไม่น้อย ปัญหากับเพื่อนร่วมงานนำมาซึ่งความขัดแย้ง ขาดการประสานงานที่ดี เกิดการซุบซิบนินทาให้ร้ายกัน แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า ไม่พูดจาไม่สื่อสารกัน เกี่ยงงานกันและอีกสารพัดปัญหาที่อาจเกิดได้ทั้งนั้น แล้วที่สุดงานก็สะดุดหรือล่าช้า เพราะขาดการร่วมมือร่วมใจกัน ผู้บังคับบัญชาต้องหมั่นตรวจสอบว่าในหน่วยงานมีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เพราะแต่ละคนแตกต่างกัน ความขัดแย้งในระดับพอเหมาะนำมาซึ่งความคิดเห็นและวิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน แต่ถ้ามีมากจนเกินไปก็กลายเป็นความถดถอยของหน่วยงานและบั่นทอนแรงจูงใจของพนักงานได้เหมือนกัน คนเป็นหัวหน้าจึงต้องคอยตรวจตราให้ดีว่าพนักงานหรือลูกน้องอยู่กันอย่างไร และหาวิธีสร้างความร่วมมือในหมู่พนักงานให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ อาการเซ็งงานเพราะเพื่อนร่วมงานจะได้ไม่เกิดขึ้น
หัวหน้าที่ดีต้องคิดว่าโดยพื้นฐานแล้วลูกน้องอยากจะทำงาน ไม่มีใครรังเกียจงาน หากงานดี นายดี เพื่อนร่วมงานดี เขาย่อมอยากจะทำงานเป็นธรรมดา ที่เขาเบื่อหน่ายขาดแรงจูงใจก็เพราะมีเหตุให้เป็นในเรื่องต่างๆ ทั้งสามอย่างที่ว่ามา ไม่ใช่ว่าเกิดจากนิสัยดั้งเดิมหรือกรรมพันธุ์ใดๆ ทั้งสิ้น รู้อย่างนี้แล้วมาช่วยกันสร้างแรงจูงใจและสร้างไฟทำงานให้ลุกโชนในที่ทำงานกันดีกว่า เพื่อที่ว่าตื่นนอนตอนเช้าทุกคนจะได้มีกำลังวังชาพร้อมจะทำงาน ไม่ต้องอ้อยอิ่งนอนนึกแต่ว่า "ต้องไปทำงานอีกแล้วหรือนี่"

อ้างอิง : วิทยา ด่านธำรงกูล.สำนักพิมพ์ บี บี เค บุ๊ค. [Online]. Available URL: http://www.bkkonline.com/
gen-business/20-sep-43.shtml


รายงานการวิจัย ฉบับที่ 74
การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทย
ประทีป จินงี่
ดุษฎี โยเหลา
อุษา ศรีจินดารัตน์



การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปความก้าวหน้าและพัฒนาการของการ วิจัยในเรื่องการทำงานและค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานโดยคำนวณและรวมค่าขนาด อิทธิพลตามวิธีการของการวิเคราะห์เมต้า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับ เรื่องการทำงานที่ทำการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2538 จำนวน 222 เรื่อง ซึ่งรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบเก็บข้อมูลงานวิจัยที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น การสังเคราะห์งานวิจัยทำใน 2 ลักษณะ คือ
1. สังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเป็นร้อยละ
2. สังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิเคราะห์เมต้า แบบ Vote Counting
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวแปรตามที่เกี่ยวกับการทำงาน มีการศึกษากันใน 3 ลักษณะ คือ การ ปฏิบัติงานพฤติกรรมการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงาน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ (ร้อยละ 81.47) และเอกชน (ร้อยละ 18.53)
3. แนวทางที่ผู้วิจัยใช้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานมีอยู่ด้วยกัน 5 แนวทาง คือ
3.1 การศึกษาปัญหาและระดับของการทำงาน (ร้อยละ 54.06)
3.2 การเปรียบเทียบการทำงานตามตัวแปรต่าง ๆ (ร้อยละ 22.52)
3.3 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับตัวแปรอื่น ๆ (ร้อยละ 3.60)
3.4 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงาน (ร้อยละ 18.02)
3.5 การพัฒนาการทำงาน (ร้อยละ 1.80)
4. ข้อมูลสำคัญ ๆ เกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทยที่ได้จากการสังเคราะห์ งานวิจัยมีดังนี้
4.1 การศึกษาปัญหาการทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลางโดยมีปัญหาที่สำคัญ ๆ คือ การขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน (ร้อยละ 23.91) ขาดแคลนบุคลากร (ร้อยละ 19.56) ขาดการประสานงานที่ดี (ร้อยละ 17.39) บุคลากรไม่เอาใจใส่ในการทำงาน (ร้อยละ 13.04) ขาดความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 10.87) ขาดการติดตามประเมินผลการทำงาน (ร้อยละ 10.87) ขาดความเข้าใจบทบาทหน้าที่ (ร้อยละ 8.69) ขาดการประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 8.69) และปัญหาอื่น ๆ
4.2 การศึกษาระดับการทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่ มีการทำงานอยู่ในระดับสูง
4.3 การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการทำงาน พบว่า ผู้วิจัยส่วนใหญ่ทำ การเปรียบเทียบการทำงานกับตัวแปร สถานภาพของผู้ตอบที่มีตำแหน่งต่างกัน ระดับ การศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ระยะเวลาการทำงาน อายุ สถานภาพสมรส เพศ เงินเดือน ฯลฯ และตัวแปรสำคัญที่ทำการศึกษาแล้วมักจะพบผลการวิจัยที่แตกต่างกัน ได้แก่ สถานภาพของผู้ตอบ
4.4 การเปรียบเทียบระดับการทำงาน พบว่า ผู้วิจัยส่วนใหญ่ทำการ เปรียบเทียบระดับการทำงานกับตัวแปร สถานภาพการทำงาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ในการทำงาน อายุ เพศ การได้รับการฝึกอบรม ฯลฯ และตัวแปรที่ศึกษานี้เมื่อนำมา
เปรียบเทียบแล้วส่วนใหญ่จะพบผลไม่แตกต่างกัน
4.5 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับตัวแปรอื่น ๆ พบว่า มีการ ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับการทำงานโดยจำแนกตัวแปรต้นออกเป็นตัวแปร ภายนอกบุคคล ตัวแปรภายในบุคคล และตัวแปรชีวสังคม ซึ่งผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า
- ตัวแปรภายนอกบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน ได้แก่ สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ พฤติกรรมผู้นำ สัมพันธภาพในกลุ่มทำงาน ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน การได้รับการสนับสนุน ระยะเวลาการทำงาน จำนวนบุคลากร ความร่วมมือของผู้ร่วมงาน การติดต่อประสานงาน ที่พักอาศัย บุคลิกภาพของผู้ร่วมงานและสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ
- ตัวแปรภายในบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ งาน ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ ทัศนคติต่องาน คุณธรรม
- ตัวแปรชีวสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ ทำงาน ตำแหน่ง ระยะเลาการดำรงตำแหน่ง ระดับการศึกษา
4.6 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงาน พบว่า ปัจจัยที่นำมาศึกษานั้นได้ มีการจำแนกปัจจัยออกเป็นปัจจัยภายในบุคคล ปัจจัยภายนอกบุคคล และปัจจัยชีวสังคม ซึ่งผลการวิจัยที่พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา พบผลดังนี้
ตัวแปรปัจจัยภายในบุคคล ที่นำมาศึกษาและพบผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เจตคติต่องาน ความรู้ความสามารถในงานที่ทำ ความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ แรงจูงใจในการทำงาน ความเชื่ออำนาจในตน ความเข้าใจในบทบาท
หน้าที่ บุคลิกภาพ ลักษณะทางพุทธ ลักษณะมุ่งอนาคต ความคาดหวังผลประโยชน์ ขวัญและกำลังใจ ความมีมนุษยสัมพันธ์ ข้อจำกัดด้านความรู้ ความรับผิดชอบ การควบคุม ตนเอง ความกระตือรือร้นในงานที่ทำ เหตุผลเชิงจริยธรรม สุขภาพจิต และวัฒนธรรมองค์การ
ตัวแปรปัจจัยภายนอกบุคคล ที่นำมาศึกษา และพบผลที่มีนัยสำคัญทาง สถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ภาวะผู้นำ การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับงาน พลังอำนาจ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงาน การติดต่อสื่อสาร การได้รับการนิเทศงาน นโยบายการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมในโครงการ โอกาสในการ แสดงความสามารถ ขอบข่ายการจัดการ บรรยากาศในการทำงาน ลักษณะของงาน ความ ร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการบริหาร การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับงาน ทรัพยากรที่มีอยู่ คุณภาพการนิเทศงาน การเข้าถึงระบบข้อมูล การมีเวลาทำงานเพียงพอ วิธีการทำงาน การให้ ความเป็นธรรม การเตรียมบุคลากร การใช้ความรู้ด้านจิตวิทยา การวัดและการประเมินผล สภาพสังคมและเศรษฐกิจ การคมนาคม สมรรถนะของหน่วยงาน ความมั่นคงในการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน ความขัดแย้งในการทำงาน โครงสร้างของทีมงาน รางวัลในการ ทำงาน ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ กฎระเบียบการทำงาน ความ ชำนาญเฉพาะอย่าง การปฏิบัติตามบทบาท การบริหารงานสนเทศ การกระจายอำนาจ ปัญหาการเมืองในพื้นที่ บุคลากรในพื้นที่และสังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่
ตัวแปรปัจจัยชีวสังคม ที่นำมาศึกษาและพบผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตำแหน่งการงาน สถานภาพสมรส อาชีพ เงินเดือน ความสามารถพิเศษ ภาระการเลี้ยงดู ปริมาณงานที่รับผิดชอบ สถานที่ตั้งที่อยู่อาศัย
4.7 การพัฒนาการทำงาน พบว่า มีการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการ พัฒนาการทำงานของบุคคลในลักษณะที่เป็นการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงาน อย่างกว้าง ๆ เช่น การใช้วิธีการจัดฝึกอบรมทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรม มีการใช้ตัวแบบเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานของบุคคล
4.8 การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประมาณค่าขนาดอิทธิพลของตัวแปร กลุ่มชีวสังคม ตัวแปรภายในบุคคล และตัวแปรภายนอกบุคคล พบว่า
ตัวแปรกลุ่มชีวสังคม ที่มีงานวิจัยหลายเรื่องพบผลว่ามีความสัมพันธ์เป็นบวก กับการทำงานคือ รายได้ โดยมีขนาดอิทธิพล 0.01
ตัวแปรภายในบุคคล ที่พบว่ามีผลงานวิจัยหลายเรื่องสอดคล้องกันว่ามีความ สัมพันธ์เป็นบวกกับการทำงานคือ ความรู้ความสามารถในงานที่ทำ ความพอใจในงาน เจตคติต่องาน แรงจูงใจในการทำงาน ความรู้สึกความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ความเชื่อ
อำนาจในตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยมีขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง 0.02-0.05นอกจากนี้ ยังพบว่า ความรู้สึกต่อหน่วยงาน บุคลิกภาพและบุคลิกภาพด้านคุณธรรม และลักษณะ มุ่งอนาคต เป็นตัวแปรที่มีขนาดอิทธิพลเป็นบวกต่อการทำงาน และมีผู้นำมาศึกษาไม่มากนัก สุดท้ายพบว่า ตัวแปรภายนอกบุคคลที่มีขนาดอิทธิพลเป็นบวก คือ การสนับสนุน ทางสังคม พฤติกรรมผู้นำ ความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงาน การติดต่อสื่อสาร สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ นโยบายและการบริหารจัดการองค์การ และบรรยากาศในการทำงาน โดยมี ขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง 0.01 - 0.10

อ้างอิง :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [Online]. Available URL: http://www.swu.ac.th/bsri/abstract/res74t.html





ถูกต้องกับถูกใจ…อย่างไหนดี
บ่อยครั้ง…ในบางสถานการณ์ ของการทำงานที่คุณต้องเลือก ระหว่างสิ่งที่ถูกต้องกับสิ่งที่ถูกใจ ไม่ว่าจะถูกใจเขาหรือถูกใจเรา บางทีก็มักขัดแย้งกับสิ่งที่ถูกต้อง แล้วจะเลือกอย่างไรดี…

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคลบอกว่า ให้เลือกความถูกต้องก่อน คือถูกต้องตามหลักเกณฑ์และข้อเท็จจริงเพราะเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้อยู่แล้ว แต่ถ้าจะเลือกให้ถูกใจก็ไม่ต้องเสียหลักการของความถูกต้องโดยเด็ดขาดในความเป็นจริง การบริหารคน ถ้าเลือกถูกใจก่อน เท่ากับว่าเป็นการบริหารคนเพื่อให้เขาถูกใจเท่านั้น ซึ่งในอนาคตคุณจะไม่อยู่ในสายตาของลูกน้อง เพราะคุณจะกลายเป็นไม่มีจุดยืนที่แน่ชัด พึงระวังว่า ถ้าต้องชั่งน้ำหนักของสิ่งที่ปฏิบัติอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น ต้องมีเหตุผลที่ดีมาสนับสนุน และรักษาคำมั่นให้ได้ คลินิกธุรกิจขนาดย่อม รับปรึกษาทุกอาการทางธุรกิจ บนเส้นทางสายธุรกิจ ไม่ใช่ถนนคอนกรีตที่เพิ่งสร้างเสร็จ เรียบกริบตลอดเส้นทาง ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจใดก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญ ซึ่งบางครั้งไม่อาจจะก้าวข้ามไปได้โดยลำพัง ผู้ช่วย หรือที่ปรึกษาสักคน คือสิ่งที่คุณต้องการ ผู้ที่สนใจต้องการสิบถามปัญหาทางธุรกิจ สามารถส่งคำตอบหรือขอรับคำปรึกษาฟรี ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของคลินิกนี้ได้
ติดต่อได้ที่ คลินิกธุรกิจขนาดย่อม โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหารคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 224-9730 หรือ โทร.613-2228 ต่อ 15

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Online]. Available URL: http://career.simplemag.com/www_01_04_02_1.html

ทำอย่างไร จะไปให้ถึงดวงดาว
เปล่าค่ะ...เปล่า ไม่ได้กำลังจะชักชวนคุณไป เป็นดารา หรือประกวดนางสาวไทยหรอกค่ะ แต่อยากจะบอกว่าถ้าหากคุณอยากมีความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน ในยุคที่ไม่รู้ว่า บริษัททั้งหลาย จะ เลย์ออฟ พนักงานออก เมื่อไหร่ คุณควรปรับตัว ให้ปราดเปรียว ทันสมัย และประทับใจ เจ้านายนะคะ
ในยุคโลกาภิวัฒน์แบบนี้ คุณต้องก้าวให้ทันโลก คงไม่มีใครเถียงนะคะว่า หมดยุค การทำงานแบบซังกะตายไปนานแล้ว โดยเฉพาะคุณๆที่เริ่มมีอายุ มากขึ้น มิฉะนั้นละก้อ เด็กรุ่นใหม่คงจะแซงหน้าไปจนคุณตามไม่ทัน หนทางสที่จะไปให้ถึงดวงดาวที่ คุณควร ท่องไว้ให้ขึ้นใจ และทำให้ได้มี7 ประการดังนี้ค่ะ
1. พยายามหาจุดดี จุดด้อยของตนเองให้พบ และใช้มันให้เป็นประโยชน์ เช่น คุณที่ชอบเดินทาง อาจ หันเหชีวิตตนเองไปทำงานด้านการ ท่องเที่ยว หรือคุณที่รักความงาม อาจทำงานเกี่ยวกับความสวย ความงาม (เผื่อว่ามีแมวมอง ชักนำเข้าสู่วงการในที่สุด) คุณๆที่ชอบ ทำงานเกี่ยวกับหนังสือ อาจไปทำงานเป็นพนักงานซีร็อก เอ้ย .... เจ้าหน้าที่ห้องสมุด หรือเปิดร้านหนังสือค่ะ
2. เอาชนะความกลัวด้วยความกล้า ในสิ่งที่คุณไม่เคยกล้า คนบางคนอาจ รู้สึกไม่มั่นใจในการออกไปดู หนัง เดินช้อปปิ้งคนเดียว หรือในสำนักงาน บางวันที่เพื่อนรักของคุณเกิดป่วยกระทันหัน ทิ้งให้คุณต้องทาน ข้าว คนเดียว ทำให้คุณเกิดอาการมือไม้สั่น กะระยะการตักอาหาร เข้าปาก ไม่ถูก หรือไม่มั่นใจเมื่อคุณต้องนำเสนองานในที่สาธารณะ ดังนั้นคุณจง รวบรวมความกล้า และทำในสิ่งที่คุณคิดว่าคุณไม่กล้าบ่อยๆ คุณจะชิน และทำได้ดีขึ้นตามลำดับค่ะ

3. เรียนรู้การใช้อินเตอร์เนต เพราะเดี๋ยวนี้ คุณจะหาข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็ปไซท์ บางเว็ปให้ความรู้แก่คุณ สำหรับคนที่ต้องการหางานทำ หรืออยากรู้เกี่ยวกับกระบวนการสมัครงาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการ เขียน ประวัติส่วนตัว การสอบสัมภาษณ์ เทคนิคการขอขึ้นเงินเดือน หรือ การเขียนโครงการต่างๆ ก็สามารถหาข้อมูลได้ เพียงแค่ปลายนิ้วค่ะ

4. เห็นคุณค่าของตนเอง .... ตรงนี้อยากให้คุณมองว่า คุณเป็นคนที่มีคุณค่า มีความรู้ ความสามารถ และบางคนอาจแถม พกด้วยประสบการณ์อันน่า ตะลึงพรึงเพริด ถามตัวเองซิคะว่าคุณมีความก้าวหน้าในงานที่ คุณทำ อยู่ได้อย่างไรบ้าง และบริษัทเองเห็นคุณค่าตรงนี้ของคุณหรือเปล่า หากเปล่าละก้อ ไม่ผิดหรอกค่ะหากจะมองหางานใหม่ ที่คุณจะได้ใช้ ความรู้ ความสามารถของคุณเองอย่างเต็มที่ แต่หากคุณคิดว่า ตนเอง ยังไม่มีความโดดเด่นในงานมากพอ อย่าเพิ่งหยิ่งเชิดนะคะ ทางที่ดี คุณควรอดทนกับการทำงาน แล้วประสบการณ์จะสอนคุณเองค่ะ

5. อย่าไว้ใจใครอย่างหน้ามืดตามัว ..... ไม่ได้หมายความว่าให้คุณเป็น คนช่าง ระแวงนะคะ แต่อยากให้ คุณเป็นตัวของตัวเอง ไม่ไว้ใจ ใครเกินไป และมีคาถาประจำใจว่า "คนเรารู้หน้าไม่รู้ใจ" หากวันหนึ่ง คุณ พบว่า คนที่ใกล้ชิด และสนิทกับคุณไม่ได้เข้าข้างคุณเลย แม้แต่ น้อยในเวลาคับขัน คุณจะได้ไม่รู้สึกว่าโลกเศร้าไงคะ

6. จัดแจงกับชีวิตของคุณให้ดี เริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดโต๊ะทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดแจงแฟ้มให้เป็นหมวดหมู่ จดหมาย หรือเอกสาร ค้างปีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณ ก็ไม่ต้องไปเสียดาย มันนะคะ กำจัดมันไปให้หมด รวมไปถึงจัดของใช้ส่วนตัว เช่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าเครื่องสำอางค์ หรือแม้แต่ตู้เสื้อผ้าของคุณ เพื่อให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณดีขึ้นค่ะ

7. รักษาสุขภาพอนามัยของคุณฯให้ดีค่ะ เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกเครียด พยายามหาโอกาสทำกิจกรรมคลายเครียดวันละ 1 อย่าง หรือไม่ก็หามุมพักผ่อนให้กับตัวเอง โดยนั่งพักในที่สบายๆเพียงแค่ 5-10 นาทีต่อวันก็เพียงพอค่ะ ไม่จำเป็นต้องถึงกับนั่งสมาธิก็ได้ค่ะ ถ้าหากคุณมีทัศนคติที่ดีต่อตัวคุณเอง ดูแลและรู้จักวิเคราะห์ตนเอง และเตรียมพร้อมในการทำงานอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ความสำเร็จจะไปไหนเสียคะ ดังนั้นที่ว่า "วางแผนดี มีชัยไปกว่าครึ่ง" จึงเป็น

อ้างอิง :นิตยสารผู้หญิง. [Online]. Available URL: http://career.simplemag.com/dev_00011.html










แรงจูงใจ - ไฟทำงาน
ไฟในที่นี้หมายถึงแรงจูงใจที่จะทำงาน ว่ากันว่ามีคนสองพวกที่ต้องอาศัยไฟทำงานคือ พวกที่มี "ไฟในทรวง" และ "ไฟลนก้น"
พวกไฟในทรวง
พวกที่มีความปรารถนา ราคะ อันแรงกล้าที่สุมอกสุมใจเช้าเย็น อยากจะทำอะไรให้สำเร็จ เพื่อบรรลุจุดหมายของตนเอง อยากจะทดสอบศักยภาพของตน และสนองตัณหาตนเอง ด้วยการทำวิจัยตามใจอยาก ภาษาอังกฤษเรียกพวกนี้ว่ามีแรงจูงใจแบบ Intrinsic
พวกไฟลนก้น
พวกนี้ต้องใช้ความร้อนมากระตุ้นบั้นท้าย เพื่อจะทำให้งานเดินได้ ความร้อนในที่นี้อาจเป็น เส้นตาย รางวัล หรือ ทำงานเพื่อให้จบๆไปซะที ภาษาอังกฤษเรียกพวกนี้ว่ามีแรงจูงใจแบบ Extrinsic

อ้างอิง :Cafa de Thailande . [Online]. Available URL: http://www.thaiweb.co.th/cafethai/re-2.htm

หัวข้อ " 5 เคล็ดลับการทำงานสู่ความสำเร็จ "
คนทำงานทุกคนอยากทำงานให้ประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่
แต่ก็มีคนทำงานหลายคนที่ไม่สมหวัง และรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสำคัญในหน่วยงานนั้นๆ ทำให้ไม่มีกำลังใจในการทำงาน
และไม่มีการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น ทั้งๆที่สาเหตุของความไม่ก้าวหน้านั้นอาจอยู่ที่ตัวเราเองก็ได้ เพราะฉะนั้นลองมาดูกันว่าเคล็ดลับการทำงานสู่ความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง
- เคล็ดลับแรกก็คือ ต้องมีมุ่งมั่นและตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง
- เคล็ดลับที่สองต้องปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคลิก การวางตัว การมีมนุษยสัมพันธ์
และการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
- เคล็ดลับที่สาม ต้องมีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบงานใหม่ๆที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น
- เคล็ดลับที่สี่ต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาต่างๆในการทำงาน
- และเคล็ดลับที่ห้า ก็คือ ต้องรักงานและมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำอยู่
เพราะถ้าเรามีทัศนคติที่ไม่ดีกับงานที่ทำ เราจะไม่มีแรงกระตุ้น และไม่มีกำลังใจปรับปรุง หรือพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นได้เลย ขอให้ทุกท่านโชคดี มีชีวิตที่ดีขึ้นทุกวันครับ

อ้างอิง : Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com /IdeaBoard/Question.asp?GID=4





คิดดี มีสุข

ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อจิตใจ ร่างกาย และการกระทำของคนเรา เป็นอย่างมาก ถ้าคิดแต่เรื่องดี ๆ จิตใจก็จะเบิกบานเป็นสุข ร่างกายก็กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา จะทำอะไรก็ทำอย่างมั่นใจ ทำด้วยความสนุกเพลิดเพลิน ทำให้สิ่งที่ทำนั้นได้ผลออกมาดี เช่น เวลาทำงาน ถ้าคิดในแง่ดีว่างานที่ทำนั้นมีคุณค่า ทำแล้วนอกจากจะเกิดรายได้เลี้ยงตัวเอง และครอบครัวแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย เห็นงานหนัก งานยุ่ง งานยาก เป็นสิ่งท้าทายความสามารถ จิตใจก็จะเกิดความรู้สึกอยากทำงานนั้น มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่ ร่างกายก็มีพลังที่จะทุ่มเทให้กับงาน ชนิดทำงานหามรุ่งห่ามค่ำก็ยังได้ ไม่เกียจค้าน หรือแม้บ้างทีร่างกายเจ็บป่วย แต่ด้วยใจที่ห่วงงาน ก็ยังทำให้สามารถทนทำงานต่อไปได้จนสำเร็จ ในเมื่อตั้งใจทำงาน ทุ่มเทแรงใจแรงกายเช่นนี้แล้ว ผลงานก็ย่อมออกมาดี ไม่มีผิดพลาด โอกาสที่จะประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพก็มีได้สูง ในทางตรงกันข้าม ถ้าคิดแต่เรื่องไม่ดี จิตใจหดหู่ เศร้าหมอง บางทีก็โกรธแค้นริษยาคนนั้น อาฆาตคนนี้ ทำให้ร่างกายพลอยเหี่ยวเฉา หน้านิ่ว คิ้วขมวด พูดจาไม่น่าฟัง รู้สึกไม่อยากทำอะไร หรือไม่ก็ทำแบบส่งเดชแบบขอไปที งานที่ทำจึงผิด ๆ พลาด ๆ เอาดีไม่ค่อยได้ ดังเช่น คนที่ชอบคิดว่า งานเป็นภาระ คิดดูถูกงานที่ตัวเองทำ หรือไม่ก็คิดว่าตัวเองด้อยความสามารถ สู้คนอื่นไม่ได้ จิตใจก็ย่อมไม่มีความสุข มีแต่ความคับแค้นใจ อิจฉาริษยา รู้สึกขวางหูขวางตาคนที่ได้ดีกว่า ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความสุขในการทำงาน ร่างกายก็ผิดปกติ เพราะเกิดความเครียดสูง มีอาการต่าง ๆ เช่นปวดศีรษะ ปวดท้อง ใจสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ท้องเสียบ่อย ๆ นอนไม่หลับ เป็นต้น ทำให้ต้องลางานเป็นประจำ ในเมื่อไม่มีใจให้กับงาน ร่างกายหรือก็เจ็บป่วย แล้วจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้อย่างไร งานที่ทำย่อมล่าช้า คุณภาพต่ำ ถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ หรือทำผิดพลาดจนเสียหายแก่หน่วยงานได้ โอกาสที่จะก้าวหน้าในงานก็ไม่มี
ดังนั้นเราจึงควรหมั่นดูแลความคิดของเราให้ดีนะคะ เมื่อใดที่เริ่มคิดในแง่ลบ คิดแล้วเกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความไม่สบายใจ ขอให้หยุดคิดทันที แล้วเปลี่ยนไปคิดในสิ่งที่ดี ๆ แทน ถ้าคิดสิ่งดี ๆ ไม่ออก ก็ลองถามเพื่อนหรือคนใกล้ชิดที่เขาเป็นคนอารมณ์ดีอยู่เป็นนิจก็ได้ แล้วคุณจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าแต่ก่อนค่ะ

อ้างอิง :อินทิรา ปัทมิทร. กรมสุขภาพจิต.หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2542. [Online]. Available URL:http://clinicrak.com/mental/ mental_think1.html


สไตล์ การบริหารงาน บริหารคน
การเพิ่มประสิทธิภาพผลงาน
ปัจจัยสำคัญในการทำงาน ซึ่งได้แก่ เงินทุน คนทำงาน (คนดีมีฝีมือ ซื่อสัตย์) และวิธีการจัดการบริหารงาน นั้น ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า คน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ให้คุณให้โทษต่องานที่ทำได้ดีที่สุด
จึงได้มีการศึกษาค้นคว้ากันตลอดมาว่า ทำอย่างไร คน ถึงจะทำงานได้ดีที่สุดนักวิชาการ นักบริหารหลายคน ต่างพยายามเสนอแนวความคิด ตั้งทฤษฎีที่ได้รับการทดลองต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้คุณให้โทษในการทำงาน (ทฤษฎีเอ็กซ์ ทฤษฎีวาย) การศึกษาเรื่องเวลา การเคลื่อนไหวของร่างกาย การจัดระเบียบ การแบ่งงาน การมอบหมายงาน ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ มนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร การจูงใจ ฯลฯเพื่อให้หน่วยงานแต่ละแห่ง มีผลงานเพิ่มสูงขึ้นโดยมีค่าใช้น้อยที่สุด ซึ่งเรียกว่า เป็นประสิทธิภาพในการทำงาน ของหน่วยงานนั้น
นักพฤติกรรมศาสตร์ ต่างพยายามชี้ให้เห็นว่า การจูงใจคำทำงานนั้นเป็นกลวิธีที่ดีที่สุด ในการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของผลงาน เพราะเป็นการลงทุนที่น้อยที่สุด ได้ผลมากที่สุด แต่ก็ทำได้ยากที่สุด (ถ้าไม่เข้าใจวิธีทำ)
แต่เพราะว่า คนเรานั้นมีความแตกต่างระหว่างบุคคล และมีความต้องการแตกต่างกันไป ไม่เหมือนกัน การที่จะจูงใจคนได้ก็ย่อมต้องหมายถึงว่าเราต้องรู้ใจเขา ทราบถึงความต้องการของเขา เราจึงจะจูงใจเขาได้
ทำอย่างไร เราจึงจะจูงใจให้คนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ จะช่วยให้ท่านเห็นคำตอบ เพราะเราทุกคน ต้องการความสำเร็จในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง
การพิจารณาความสามารถในการทำงานของเขาที่มีอยู่กับงาน ที่เราจะมอบหมายให้ทำ จึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งยวด ถ้าเขามีความสามารถในการทำงานสูง แต่เรามอบหมายงานให้ทำน้อยหรือง่ายจนเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะเป็นการดูถูกฝีมือ หรือมองไม่เห็นคุณค่าความสามารถของเขา เขาก็ไม่อยากทำงาน (เพราะทำประเดี๋ยวเดียวงานก็เสร็จแล้ว)
ถ้าเรามอบหมายงานให้มาก หรือยากกว่าความสามารถที่มีอยู่ แม้จะพยายามอย่างไร ก็ไม่สามารถบรรลุผลสักครั้ง ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกถอถอย ท้อถอย เพราะรู้ว่าตัวเองไม่มีโอกาสทำได้สำเร็จ ก็ไม่อยากทำงานอีกเหมือนกัน (ทำจนตายก็ไม่สำเร็จ ป่วยการทำ)
วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ พยายามมอบหมายงานให้ทำมากกว่าความสามารถที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย คาดคะเนว่าเขาสามารถทำงานชิ้นนั้น ๆ สำเร็จลงได้ทุกครั้งที่มอบหมาย ถ้าเพิ่มความพยายามอีกเพียงนิดเดียว จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ แล้วค่อยพยายามเพิ่มปริมาณหรือความยากของงานสูงขึ้นทีละนิด ก็จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงานไปในตัว และล่อใจให้เจ้าตัว อยากทำงานที่มอบหมายมากที่สุด งานก็จะมีผลงานสูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น นี่คือ กลวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของผลงาน ลองทำดูซิครับ

อ้างอิง: ไพบูลย์ สำราญภูติ. [Online]. Available URL: http://www.hi-free.com/executive10.html



การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียดและสิ่งแวดล้อม ในการทำงานของคนงาน
ในโรงงานอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูล
• บทคัดย่อ การประชุมวิชาการประจำปีของกรมอนามัย ครั้งที่ 3 ประจำปี 2534, 21-23 พฤษภาคม 2534 ณ ห้องราชเทวี โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร, หน้า 83-84.

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียด ของคนในโรงงานอุตสาหกรรม จากจำนวนตัวอย่างคนงาน 327 คน ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม 4 กลุ่ม รวม 30 แห่ง โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ จากทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรม แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 5 เมษายน 2534 ด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ ร่วมกับการสำรวจสภาพแวดล้อมขณะทำงาน เช่น แสง เสียง ความร้อน ฝุ่น และการสุขาภิบาลโรงงาน เป็นต้น
ผลจากการศึกษา พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมตัวอย่าง 30 แห่ง มีสภาพแวดล้อมรวม ด้านกายภาพ (เฉพาะ แสง เสียง ความร้อน และปริมาณฝุ่น) ที่เหมาะสมกับการทำงาน เพียงร้อยละ 23.33 ความเครียดของคนงาน จากการใช้แบบสอบถามวัดความเครียด HOS (Health Opinion Survey) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.38 (S.D. = 6.24) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนงานที่มีความเครียดสูง (High Stress) ร้อยละ 15.00 และกลุ่มคนงานที่มีความเครียดปกติ (Normal Stress) ร้อยละ 85.00 จากการวิเคราะห์หาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด โดยวิธี MCA (Multiple Classification Analysis) พบว่า กลุ่มโรงงานที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภททอผ้า โรงเลื่อย โรงสี ผลิตภัณฑ์จากไม้ ทำพรม และกลุ่มโรงงานที่ 4 ได้แก่ โรงงานเย็บเสื้อผ้า ทำธูป น้ำแข็ง มีความเครียดสูงกว่า กลุ่มที่ 2 และ 3 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.000) ความรู้สึกว่า สภาพแวดล้อมของการทำงาน ไม่เหมาะสมของคนงานก็มีผล โดยตรงต่อความเครียดของคนงาน (P=0.000) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพความร้อน WBGT ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน จะทำให้เกิดความเครียดของผู้ที่ทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.038) นอกจากนี้ ปัญหาในครอบครัว จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน อายุของคนงาน และปัญหาสุขภาพของคนงาน ได้แก่ โรคประจำตัว หรือความพิการ มีผลต่อก่อมให้เกิดความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย (P=0.000) เมื่อเปรียบเทียบ สาเหตุที่มีผลต่อความเครียด เรียงลำดับตามความสำคัญมากไปน้อย คือ สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ปัญหาความเจ็บป่วยของคนงาน ปัญหาทางครอบครัว และอายุของคนงาน

อ้างอิง : ประทีป ศิริโพธิ์. [Online]. Available URL: http://www.anamai.moph.go.th/hpc1/Top30030.htm
...
  
ปัจจัยที่ทำให้ตัวเราเองทำงานอย่างมีความสุข
ปัจจัยที่ทำให้ตัวเราเองทำงานอย่างมีความสุข
1 เพื่อนร่วมงาน
- มีเจ้านายที่ดี
- มีความรักใคร่สามัคคี ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
- เพื่อนร่วมงานที่รู้ใจกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2 ตัวเราเอง
- สุขภาพแข็งแรง - จิตใจพร้อมที่จะทำงาน
- เปิดใจให้กว้างยอมรับคำตำหนิของหัวหน้า, เพื่อน
- ผลงานได้รับการยกย่อง - ได้รับการเปลี่ยนตำแหน่ง
- ได้รับการปรับเงินเดือน - มีรายได้และสวัสดิการ ( โดยมี OT )
- ได้รับโบนัสประจำปี เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ
- ได้รับการอบรมทั้งในและนอกสถานที่ - ได้รับประสบการณ์หลากหลาย
- สามารถสืบค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้
- สามารถสื่อสารตอบปัญหากับบุคคลภายนอกได้อย่างรวดเร็ว (ส่งทาง Mail )
3 หน่วยงาน
- มีชื่อเสียง มีผลงาน มีสิ่งจูงใจให้ทำงานต่อเนื่อง
4 มีอุปกรณ์พร้อม
- คอมพิวเตอร์+พริ้นเตอร์+กระดาษ+FAX+อินเตอร์เน็ต
- ยานพาหนะ
5 บรรยากาศในการทำงาน
ด้านจิตใจ - ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
- ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- มีการให้รางวัลยกย่องชมเชย เช่น คนดีศรีอนามัย
ด้านกายภาย - สว่างแสงเพียงพอ
- สถานที่ทำงานสะอาดและปลอดภัย
- มีเสียงตามสาย
6 มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
- กีฬา - คนไทยไร้พุง
- ตรวจสุขภาพประจำปี - Healthy meeting
ปัจจัยที่ทำให้เพื่อนร่วมงานทำงานอย่างมีความสุข
ตัวเราเอง
1 ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ รู้จักให้อภัยผู้อื่น
2 เป็นคนมีเหตุผล ฟังเหตุฟังผล รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น / เพื่อนร่วมงาน
3 คิดดี พูดดี ทำดี ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา เสียสละ ห่วงใยเอื้อเฟื้อ
4 อ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติต่อผู้อื่น ไม่สร้างปัญหาให้กับผู้อื่น
5 ไม่สร้างความแตกแยกให้กับเพื่อน / หน่วยงาน
6 คาดหวังให้ผู้อื่นปฎิบัติดีต่อเราเหมือนกับที่เราปฎิบัติดีต่อเขา
7 ตัดสินด้วยความยุติธรรมและเสมอภาค
8 สอน / แลกเปลี่ยนความรู้การทำงานกับผู้ที่ทำงานทดแทนเราได้
9 สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจตรงกัน งานจะได้ไม่ผิดพลาด
10 ไม่เกี่ยงงาน
11 เคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
12 ให้ความสำคัญในการบริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเต็มใจ
13 เวลาทำงานรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ
ผู้บังคับบัญชา
1 เมตตาปราณีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
2 ตัดสินด้วยความยุติธรรมและเสมอภาค
3 ห่วงใยเอื้อเฟื้อและเสียสละ
4 สนับสนุนให้ทุกคนทำงานได้หลายๆ อย่างนอกจากความถนัด
5 ให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี
6 ให้เกียรติต่อผู้อื่น
7 ไม่สร้างปัญหาให้กับผู้อื่น

สิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
1 อุปกรณ์เครื่องมือพร้อม
2 สถานที่ทำงานไม่แออัด สว่าง ปลอดภัย และมีจุดรับบริการคนภายนอกที่เหมาะสม
3 คลินิกบริการต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรค (มีการแจ้งให้ชัดเจนกับผู้ที่ติดต่อต้องปฎิบัติตัวอย่างไร )
การทำงานอย่างมีความสุขในปัจจุบันและอนาคต
1 ทำอย่างไรเพื่อเป็นที่ยอมรับของคนมารับบริการ
- ทำงานเสร็จรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ ทำงานด้วยความเต็มใจและตั้งใจไม่อารมณ์เสีย
- เอาใจใส่งานที่ทำและรับผิดชอบ
- มีความกระตือรือร้น มีน้ำใจไมตรี ยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกสถานการณ์ พูดจาด้วยวาจาไพเราะ
- รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เมื่อมีข้อผิดพลาด
- พร้อมที่จะทำงานตัวเอง และพร้อมที่จะรับฟังเพื่อตอบสนองต่อลูกค้า
- ให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกระดับ ให้เกียรติ อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น
- ให้คำแนะนำ ให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันท่วงที
- ติดตามประสานงานกับกลุ่มงานต่างๆ / บุคคลภายนอกด้วยความถูกต้องชัดเจน
- สร้างสถานที่ทำงานให้ดูดีน่าอยู่ น่าทำงาน Healthy Break มีห้องรับรองแขก มีหนังสือพิมพ์
- ต้อนรับด้วยความเป็นกันเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีน้ำเย็นบริการ
- อำนวยความสะดวกให้เกิดความประทับใจ
- สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายในการทำงานด้วยความจริงใจ ประชาสัมพันธ์
- สร้างความร่วมมือ มีการสื่อสาร แบ่งปันทักษะในการทำงานร่วมกัน
- เรียนรู้งานใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานอยู่เสมอ
- ปฎิบัติงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
- ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ประมาท
- ช่วยเหลืองานต่างๆ ตามความเหมาะสม
2 ทำอย่างไรเพื่อได้รับผลลัพธ์งานที่ดี (ผลงานดี สำเร็จตามเป้าหมาย)
- มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในการปฎิบัติงาน - ปรับตัวและยิ้มรับงานกับทุกสถานการณ์
- ทำงานไม่ให้ค้าง ให้ถูกต้อง ตรงตามเวลาวัตถุประสงค์ / เป้าหมาย ตรงเวลา และรวดเร็ว
- ทำให้ลูกค้าทั้งภายในและภายนอกเกิดความพึงพอใจ
- มีข้อมูลที่ใหม่อยู่เสมอ
- การเบิกจ่ายงบประมาณถูกต้อง
- เอกสารการประชุมครบถ้วน ผู้เข้าประชุม/ผู้รับบริการมีความสุขอยากมาอีก
- ทำให้งานของกองเผยแพร่ไปในสถานที่ต่างๆ
- เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและขับเคลื่อนการทำงานของกอง
3 ทำอย่างไรให้มีความสุขกับงานที่ทำ
- ระบบงานเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย - งานออกมาถูกต้อง
- ได้รับคำชมเชย - พร้อมที่จะเริ่มงานใหม่ที่เข้ามา
- ทำงานด้วยความเต็มใจตั้งใจ เพื่อให้งานของกองสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
- ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรง ไม่เครียด
- เมื่องานเสร็จลุล่วงไปด้วยดีเราจะมีความสุขในการทำงาน
- มีความภูมิใจในงานที่เราได้รับมอบหมาย และประสบความสำเร็จ
- รู้จักคำให้อภัย ขอโทษ ขอบคุณ และมีเมตตา


จากการประเมินตนเองว่า มีความสุขในการทำงานกองทันตสาธารณสุขกี่ %
7 คนตอบว่ามีความสุข 100 %
6 คนตอบว่ามีความสุข 90-98 %
7 คนตอบว่ามีความสุข 80-89 %
4 คนตอบว่ามีความสุข 70-75 %


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การทำงานกับเพื่อนร่วมงานอย่างมีความสุข
21-22 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องประชุมบ้านสวนส้มทิพย์รีสอร์ท อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม


สุณี ผลดียี่ยม ผู้สรุป
9 กรกฎาคม 2552
...
  
สุขแท้จริง คือสุขอย่างยิ่งในการทำงาน
สุขแท้จริง คือสุขอย่างยิ่งในการทำงาน
 ความสุขนั้น คือความพอใจ ถ้าความพอใจโง่ ก็สุขโง่ความพอใจหลอกลวง ก็สุขหลอกลวง ความพอใจแท้จริงก็สุขแท้จริง
 เราทำงานอยู่ที่โต๊ะทำงาน ถ้าเราเบื่อ มันก็ตกนรกอยู่ที่โต๊ะทำงาน แล้วเราก็คิดว่า พอถึงเย็นเลิกงาน ไปเที่ยวกินเหล้าเมายากามารมณ์อะไรก็เป็นความสุข มันก็เป็นความโง่
 สุขแท้จริง อยู่ที่การทำงานถูกต้องตามความเป็นมนุษย์ เรามีความเป็นมนุษย์ทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างถูกต้อง เราพอใจ เรายกมือไหว้ตัวเองได้ นั่นคือความสุข
 พอถึงเงินเดือนออก ไม่รู้ไม่ชี้ มันไม่ไปไหนเสียหรอกเราไม่ต้องไปนึกถึงมัน เราเอาเงินเดือนไปใช้ให้ถูกต้อง อย่าใช้เพื่อทำลายตัวเองให้วินาศ
 ชาวนาคนหนึ่ง ไถนาอย่างมีความสุขอย่างยิ่ง ขุดดินก็มีความสุข ไถนาก็มีความสุข อะไรๆก็มีความสุข พอข้าวสุกเอาไปขายได้ ไม่รู้ไม่ชี้ ลูกเมียเขาจะไปทำกันอย่างไร ก็ไม่รู้ไม่ชี้ ฉันมันเป็นสุขเมื่อไถนา เมื่อขุดดิน เมื่อทำการงาน นี่! ความสุขอย่างนี้มันแท้จริงกว่า
 ขอให้มีความสุขจากการทำงาน ในขณะที่ทำงาน มันสุขเสียแล้ว มันไม่ต้องหาความสุขที่หลอก ลวงคดโกงที่ไหนอีก ปัญหามันหมดไป เรามีการงานที่เป็นสวรรค์ ไม่เป็นนรก
(จาก “ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก” ของ พุทธทาสภิกขุ)

ยอดของศิลปะแห่งการทำงาน
 จงทำงานด้วยสติปัญญา อย่าทำด้วยกิเลสตัณหาหรือความหวัง อย่าทำด้วยความอยากหรือตัณหา อยากเหมือนใจจะขาดที่จะเห็นผลงาน นี่! คนบ้ามันจุดไฟขึ้นสุมเผาตัวเอง ถ้าความอยากนั้นเป็นไป
ติดต่อกันไม่ขาดตอน ก็เรียกว่าความหวัง หวังมากเท่าไร ยิ่งเผาหัวใจเท่านั้น
 เหมือนกับว่า ซื้อล้อตเตอรี่มาแผ่นหนึ่งแล็วก็อย่าไปสนใจนอนไม่หลับว่ามันจะถูกเมื่อไร ไม่ต้องสนใจ ลืมเสียก็ได้ ไว้ไปตรวจดูเมื่อถึงวันออกสลากก็แล้วกัน ตลอดหลายๆวันนั้น อย่าไปหวังให้มันบ้า อย่าไปหวังให้มันนอนไม่หลับ หรือว่าทรมานจิตใจ
 การงานนี้ก็เหมือนกัน ทำนา ทำสวน ค้าขาย อะไรก็ทำไปใช้สติปัญญาระงับความอยากความต้องการในผลของงานเสียสนุก เป็นสุขในการกระทำ แล้วผลมันก็ออกมาเอง
 ไอ้คนโง่มันก็ถามขึ้นมาว่า “ถ้าอย่างนี้เอากำลังใจที่ไหนมาทำงาน ถ้าไม่หวัง” เราก็ตอบว่า “นั่นมันเรื่องของคนโง่เอากิเลสตัณหามาเป็นกำลังใจ เรามันลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เราเอาสติและปัญญานั้นน่ะเป็นกำลังใจสำหรับทำการงาน”
 ท่านทั้งหลายอาจจะทำงานมาแล้วด้วยความอยากหรือความหวัง ไปทบทวนความจำเถอะว่า มันเผา
จิตใจอย่างไร เดี๋ยวนี้เราจะหยุดการทำงานด้วยความอยากหรือความหวัง แต่จะทำด้วยกำลังของสติปัญญา ส่วนความหวังนั้นเป็นอันว่าเลิกกัน ชักสะพานกันเสียเลย ไม่เกี่ยวข้องด้วย
 ไม่ต้องหวัง ทำ ทำ ทำ ให้ดีที่สุด ไม่ต้องหวัง ที่เรียกว่าเป็นศิลปะสูงสุด เป็นยอดของศิลปะแห่งการทำงาน (จาก “ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก” ของ พุทธทาสภิกขุ)

“สันโดษ” เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
 “สันโดษ” แปลว่า ยินดีด้วยสิ่งที่มีอยู่ การทำความยินดีด้วยสิ่งที่มีอยู่นั้นทำอย่างไร จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนอย่างว่า ชาวนาคนหนึ่งขุดดินอยู่กลางแดด กลางฝน กลางยุง กลางริ้น ในการทำนาของเขา ซึ่งเขาจะต้องขุดดินไม่น้อยกว่าหลายหมื่นหลายแสนครั้ง จนกว่าจะเสร็จเรื่องนา
 เมื่อเขาขุดลงไปครั้งหนึ่ง ถ้าเขาเป็นคนสันโดษ เขาจะนึกว่ามันเสร็จไปครั้งหนึ่ง เขาอิ่มอกอิ่มใจในงานที่เสร็จไปหนึ่งครั้งในแสนครั้ง เมื่อขุดไปสองครั้ง เขาก็อิ่มใจว่ามันเสร็จไปสองครั้ง เมื่อขุดสามครั้ง
สี่ครั้ง ห้าครั้ง พออกพอใจยินดีในงานที่ทำเสร็จไปนั้น และยิ่งขึ้นทุกทีจนกว่าจะเสร็จ
 ส่วนคนที่เป็นชาวนาอย่างเดียวกันผู้ไม่สันโดษ เมื่อเขาขุดดินลงไปหนึ่งครั้ง เขาก็จะโมโหเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง เพราะว่ามันต้องขุดตั้งแสนครั้ง ฉะนั้นเมื่อขุดเพียงครั้งหนึ่งนั้น มันจะพบความสำเร็จได้
อย่างไร ความท้อใจก็เกิดขึ้นตั้งแต่ขุดครั้งแรก และเกิดโมโห ขุดครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ที่สี่ที่ห้าก็เกิดโมโห เพราะว่ามันยังต้องขุดอีกตั้งแสนครั้ง
 ในที่สุด เขาก็ตกนรกทั้งเป็น โดยอาการโมโห โดยอาการไม่สมัครใจที่จะทำงาน นี่คือความไม่สันโดษ ไม่สันโดษยินดีในงานของตนเท่าที่ตนทำอยู่หรือทำเสร็จแล้วเขาก็จะหันเหทิ้งงานนั้นได้โดยง่าย
 ที่นี้เมื่อเลิกทำนา ไปทำงานอย่างอื่น มันก็อย่างเดียวกันอีก ในที่สุดเขาก็จะต้องเลิกทำการงาน คือกลายไปเป็นขโมย เป็นโจร เป็นอันธพาล ปล้นเอาชิงเอา เลวกว่าที่จะขุดดินตั้งหมื่นครั้งแสนครั้ง
นี่คือ โทษของการที่ไม่สันโดษ
 ส่วนบุคคลที่มีสันโดษนั้น เขาจะยินดีทุกคราวที่สับฟันลงไปทุกครั้ง จนเพิ่มเป็นร้อยครั้ง พันครั้ง
หมื่นครั้ง แสนครั้ง อิ่มอกอิ่มใจตั้งแต่ยังไม่ได้ปลูกอะไรลงไปในดิน แล้วอิ่มอกอิ่มใจยิ่งขึ้นในเมื่อได้ปลูกอะไรลงไปต้นหนึ่ง สองต้น สามต้น และอิ่มอกอิ่มใจมากขึ้นในเมื่อสิ่งเหล่านั้นผลิดอกออกผล
 พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า “สันตุษฐี ปะระมัง ธะนัง – ความสันโดษนี้เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง แต่ท่านพูดว่าสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง” ท่านไม่ได้พูดว่า เงินทองแก้วแหวนเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง แต่ท่านพูดว่า สันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
 คำว่า “ทรัพย์” นี้ ไม่มีความหมายอะไรอื่น นอกจากว่าทำความดียินดี อิ่มอกอิ่มใจให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ
 เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดมีสันโดษ ผู้นั้นจะมีความอิ่มอกอิ่มใจเหมือนกับมีทรัพย์อย่างยิ่งอยู่ตลอดเวลา เขาจึงมีกำลังกายกำลังใจในการที่จะทำงาน (จาก “ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” ของ พุทธทาสภิกขุ)


...
  
มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน

ดร. อนันท์ งามสะอาด
ความสำคัญ
1. บุคคลจะสามารถมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้นั้นจะต้องรู้จักตนเอง ผู้อื่น สังคม สภาพแวดล้อม จึงจะสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้อย่างมีความสุข
2. แนวคิดและหลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่จะต้องยึดถือ
เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความเหมาะสมกับบุคคลอื่นๆ ต่อไป
3. การทำงานร่วมกันในองค์กรให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยดีนั้น ทุกคนต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจึงจะช่วยให้การทำงานสำเร็จได้
4. การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายเพื่อผลผลิตสูงสุดนั้น บุคลากรในหน่วยงานต้องมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการร่วมมือกันทำงาน การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น และจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานเต็มไปด้วยความสุข

เนื้อหา
1. ความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
2. ประโยชน์ องค์ประกอบและจุดมุ่งหมายของมนุษยสัมพันธ์ แนวคิดและหลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
3. แนวคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
4. หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน หลักมนุษยสัมพันธ์ทั่วไป
5. หลักการรู้จักและเข้าใจตนเอง
6. หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลในการทำงาน


สาระสำคัญของเนื้อหา
คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
1. มีท่าทางทีดี (Handssome)
2. มีบุคลิกภาพดี (Personality)
3. มีความเป็นเพื่อน (Friendiness)
4. มีความอ่อนน้อม (Modesty)
5. มีน้ำใจช่วยเหลือ (Helpful)
6. ให้ความร่วมมือ (Cooperation)
7. มีความกรุณา (Kindness)
8. สร้างประโยชน์ (Contribution)
9. การสร้างสรรค์ (Constructive)
10. มีอารมณ์ดี (Good Emotion)
11. มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
12. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
13. มีความอดทน (Patient)
14. มีความขยัน (Diligent)
15. มีความพยายาม (Attempt)
16. มีปฎิภาณ (Intelligence) ฯลฯ

คุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
1. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
2. เต็มใจทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความเสียสละ
5. เรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น
6. เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมกับคนอื่น
7. เสนอตัวช่วยเหลือการทำงาน
8. ให้คำแนะนำช่วยเหลือ
9. คบหาคนอื่น ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
10. แสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
1. เอาใจใส่ในทุกข์สุข
2. มีความจริงใจ และมีความยุติธรรม
3. ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา
4. โอบอ้อมอารี
5. เป็นกันเอง
6. สร้างกิจกรรมในกลุ่มสัมพันธ์ ต่างๆ
7. ยกย่องให้เกียรติ ฯลฯ

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
1. ให้ความเคารพยกย่องสรรเสริญผู้บังคับบัญชาในโอกาสต่างๆ
2. ปฎิบัติงานตามคำสั่ง หรือที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความรู้ความสามารถให้บังเกิดผลดีที่สุด
3. เข้าพบผู้บังคับบัญชา เพื่อปรึกษาหารือ ขอคำแนะนำในการทำงานให้เหมาะสมกับเวลา
และโอกาส
4. อย่าโกรธหากผู้บังคับมีความคิดเห็นไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน
5. เรียนรู้นิสัยการทำงานของผู้บังคับบัญชาเพื่อศึกษาส่วนดี เพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ
6. มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส สร้างความเป็นมิตรกับบุคคลทุกคน อย่าก่อเรื่องกับคนอื่น
จนต้องให้ผู้บังคับบัญชารำคาญ
7. ทำความเจริญก้าวหน้า มีความคิดริเริ่ม มีเหตุผล มีการตัดสินใจในการทำงาน
ด้วยความเชื่อมั่น
8. สนใจที่จะศึกษาหาความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีกว่าปัจจุบัน
9. สร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้บังคับบัญชา อย่าบ่นถึงความยากลำบาการปฏิบัติงาน
10. ประเมินผลตนเองเป็นระยะๆ ทั้งในเรื่องความก้าวหน้าของงานในความยากลำบากในการปฏิบัติงาน
















อ้างอิง

1.http://www.nfe.go.th/042102/enfe_book_2549/Industrial/working%20human%20relation.htm.
2. http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/.
3. อนันท์ งามสะอาด. 2547 มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ส่งเสริมอาชีวะ, 2547

























ารมณ์ได9. มีการสร้างสรรค์ (Constructive) หมายางสรรค์ ไม่ใช่เป็นคนที่คอยคิด
ทำลาย หรือกลั่นแกล้ง
ไม่ใช่เป็นคนที่คอยคิด
ทำลาย หรือกลั่นแกล้ง










...
  
ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
ทำงานอย่างไรให้มีความสุข
ทำไม…? จึงต้องเสริมสร้างความสุขในการทำงาน

ชีวิตคนทำงานส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาอยู่กับงานประมาณวันละ 7-8 ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำหรือประมาณ 1 ใน 3 ของเวลา 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน และถ้าหักเวลาในการทำงานมากถึงครึ่งหนึ่งของเวลาในชีวิตที่เราตื่นอยู่ทีเดียว
การเสริมสร้างความสุขในการทำงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตมีความสุขแล้ว ยังทำให้ผลงานออกมาดี มีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าพอใจ ส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและทำให้หน่วยงานเจริญก้าวหน้าไปด้วยเช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรไม่มีความสุขในการทำงาน
คนที่ไม่มีความสุขในการทำงาน มักมีลักษณะต่างๆ ให้สังเกตได้ ดังนี้
ด้านร่างกาย : มักจะเจ็บป่วยบ่อยๆ เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดท้อง เป็นไข้หวัด ภูมิแพ้ ปวดหลัง ปวดไหล่ อ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ทำให้ต้องลาป่วย หรือขาดงานเป็นประจำ
ด้านจิตใจ : มักจะวิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย หงุดหงิด โกรธง่าย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ใจน้อย เซ็งชีวิต ซึมเศร้า หวาดระแวง ไม่มีความสุข ทำให้ใบหน้าเคร่งเครียด เศร้าหมอง ไม่น่าดู และยังขัดแย้งกับคนใกล้ชิดได้ง่ายด้วย
ด้านพฤติกรรม : มักจะสูบบุหรี่จัด ดื่มสุรามากขึ้นอาจใช้ยากระตุ้นหรือยาเสพติดต่างๆ ชอบชวนทะเลาะจู้จี้ขี้บ่น เก็บตัว ฯลฯ ทำให้เสียความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดทั้งที่บ้านและที่ทำงาน และยังทำให้เสียการเสียงานด้วย
จากลักษณะอาการต่างๆ ข้างต้น หากเกิดขึ้นกับใครๆ ก็พอจะประมาณตัวเองได้แล้วว่าไม่มีความสุขกับการทำงานแน่นอนแล้ว ดังนั้นจึงขอเสนอวิธีเสริมสร้างความสุขในการทำงาน ได้แก่
*พัฒนาทักษะในการทำงาน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราไม่ค่อยมีความสุขในการทำงานคือ ต้องทำงานที่ไม่ถนัด งานที่ยาก งานที่ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ ทำให้หมดกำลังใจในการทำงาน
ดังนั้นหากสามารถพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานมากขึ้น โดยการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ตำรา ดูโทรทัศน์ สมัครเข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้น หาโอกาสเรียนต่อนอกเวลาทำงน จะช่วยให้ทำงานได้คล่องขึ้น ผิดพลาดน้อยลง ประสบความสำเร็จมากขึ้นได้

*พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต
คนที่ไม่ค่อยมีความสุขในชีวิต มักจะเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เอาแต่ใจตนเอง เข้ากับผู้อื่นไม่ค่อยได้ ฯลฯ
ดังนั้น หากสามารถพัฒนาตนเองให้มีทักษะในการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น ก็จะทำให้มีความสุขมากขึ้น
ทักษะการดำเนินชีวิตที่ควรพัฒนา ได้แก่
*การตัดสินใจ โดยใช้เหตุผล ไม่ใช่อารมณ์
*การแก้ปัญหา โดยแก้ที่สาเหตุที่เป็นจริง ไม่เข้าข้างตัวเอง และก็ไม่โทษผู้อื่น ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ถ้าคิดไม่ออกก็อย่าอายที่จะปรึกษาผู้อื่น
*การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดและทำในสิ่งใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น คิดทางบวก ชีวิตนี้ยังมีหวังอย่าเพิ่งท้อแท้เสียก่อน
*การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นผู้ฟังที่ดีตั้งใจฟังเวลาคนอื่นพูด โดยหมั่นเอาใจเขามาใส่ใจเรา หัดวิเคราะห์ความต้องการของผู้อื่นจะได้ตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ไม่เอาแต่ใจตนเอง
*การควบคุมอารมณ์ โดยระมัดระวังอย่าโกรธจัดจนก้าวร้าว หรือคิดมาก ใจน้อย จนชีวิตหดหู่ ให้ยิ้มสู้เข้าไว้แล้วอารมณ์จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
* พัฒนาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน
สถานที่ทำงานเปรียบได้กับบ้านที่สองของเรา จึงควรดูแลให้น่าอยู่ น่าทำงาน อยู่เสมอ เพื่อความสุขในการทำงาน เช่น
*ดูแลโต๊ะทำงานให้สะอาด จัดของให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้หยิบใช้ได้สะดวก ไม่ต้องอารมณ์เสียเพราะหาของไม่พบ
*หาของที่จะช่วยเตือนให้มีกำลังใจในการทำงานวางไว้ใกล้ๆ ตัว เช่น ภาพครอบครัว คนรัก ของที่ระลึกเมื่อครั้งหน่วยงานส่งไปดูงานต่างประเทศ ของขวัญที่ลูกค้าให้เพื่อตอบแทนน้ำใจที่ได้รับบริการที่ดี บทกลอนเตือนใจ เป็นต้น
*จัดวางกระถางต้นไม้ แจกันดอกไม้ ไว้ในบริเวณที่ทำงาน เพื่อสร้างความสดชื่นให้กับสถานที่ทำงาน
*เปิดเพลงเบาๆ ขณะทำงาน เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายและทำงานได้อย่างเพลิดเพลิน
*ช่วยกันออกความคิด และลงมือลงแรง สละเวลา จัดสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ น่าทำงาน เพื่อความสุขร่วมกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่าวิธีเสริมสร้างความสุขในการทำงาน หรือทำงนให้มีความสุขนั้น มีแนวทางอยู่ 3 ประการ คือ

การพัฒนาทักษะในการทำงาน
การพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิต
และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
แต่เมื่อมนุษย์มิใช่เครื่องจักรมีชีวิตจิตใจ การทำงานที่จะต้องพบกับปัญหาอุปสรรค การตัดสินใจตลอดจนภาวะแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากมายสิ่งที่ตามมาก็คือ ความเครียดจากการทำงานดังนั้นเมื่อ มีความเครียดทางออกก็มีหลายวิธี ได้แก่
*การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬากับเพื่อนๆ หลังเลิกงาน
*การไปพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหารกับเพื่อนฝูง
*การดูละครโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง
*การเล่นกับลูกๆ หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง
*การรดน้ำต้นไม้ ดูแลไม้ดอกไม้ประดับที่บ้าน
*การทำการฝีมือ เย็บปักถักร้อย
*การซ่อมแซมของใช้ในบ้าน ตกแต่งบ้าน
*การอ่านหนังสืออ่านเล่น หนังสือธรรมะ
*การสวดมนต์ไหว้พระ การทำสมาธิ โดยการทำใจให้สงบหายใจเข้าออกเป็นจังหวะช้าๆ และนับลมหายใจไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ เพื่อให้การทำงานไม่เกิดอาการเบื่อหรือเซ็งกับงานที่ทำ ก็ควรจะกำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน มิใช่ทำงานไปวันๆ และมองไม่เห็นอนาคต กล่าวคือ ท่านแนะนำว่า ให้วางเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน มิใช่ทำงานไปวันๆ และมองไม่เห็นอนาคต กล่าวคือ ท่านแนะนำว่า ให้วางเป้าหมายในชีวิตในการทำงานให้ชัดเจน มีกำหนดเวลาที่แน่นอนมีวิธีปฏิบัติที่สามารถกำหนดได้จริงจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นและสนุกกับการทำงานมากขึ้นได้ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายชีวิตการทำงานได้ทั้งระยะสั้น ว่างานนั้นที่ควรเสร็จเมื่อใด และทำให้ได้ตามนั้นก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ส่วนระยะยาวก็ควรมองอนาคตว่าอีก 5 ปี 10 ปี เราควรจะอยู่ที่ตำแหน่งใด ยังจะทำหน้าที่เดิมหรือไม่ ถ้าจะเปลี่ยนงานจะเป็นงานอะไรต้องการคุณสมบัติอะไร เรามีคุณสมบัติตามนั้นหรือยัง เราจะได้รู้ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไรต่อไป ซึ่งการมีความหวังหรือคาดการณ์อนาคตที่ดีอยู่ข้างหน้า จะช่วยให้สามารถอดทนฟันฝ่าอุปสรรคปัจจุบันไปได้ และทำให้รู้สึกสนุกกับงานมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

________________________________________
ที่มา : วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 102 มิถุนายน 2548
เผยแพร่โดยภาควิชาการบัญชี
...
  
บริหารความสุขในการทำงาน……ด้วยหลัก “P-D-C-A”
เรื่อง บริหารความสุขในการทำงาน……ด้วยหลัก “P-D-C-A”
ผู้เผยแพร่ อ.ประนอม เนติพุทธาวรกุล หัวหน้าหมวดวิชาพื้นฐาน
แหล่งที่มา : http://www.peoplevalue.co.th

ชีวิตคนทำงานไม่มีใครที่ไม่ต้องการความสุข เพราะความสุขที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้พฤติกรรรมคนปรับเปลี่ยน และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อันนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานตามที่องค์กรต้องการ ดังนั้นความสุขจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา การบริหารความสุขในชีวิตการทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะสังคมไทยในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้ ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา เป็นเหตุให้พนักงานทั้งหลายต้องกล้าเปลี่ยนแปลง กล้าคิดใหม่เพื่อทำให้ตนเองมีความสุข




เทคนิคหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้ผู้อ่านทุกท่านลองนำไปปฏิบัติ ด้วยการบริหารตนเองให้มีความสุขตามหลักของ P-D-C-A นั่นก็คือ

Plan
ในการทำงานหากขาดเป้าหมายที่ ชัดเจน ทำงานไปวันๆ ย่อมเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และความรู้สึกเบื่อนี้เองจะเป็นอันตรายเนื่องจากจะนำไปสู่ผลการทำงานที่ถด ถอย หรือเป็นต้นเหตุของการสูญเสียคนดีมีฝีมือ ดังนั้นการวางแผนผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Performance Planning) รู้ เป้าหมายว่าในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง และเพื่อทำให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ จะต้องแสดงออกหรือมีพฤติกรรมเช่นไรนั้น จะช่วยทำให้เกิดความคิดที่เป็นระบบ ทำงานเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น และเมื่องานที่ได้รับมอบหมายบรรลุผลสำเร็จ ย่อมเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทำงานเกิดความรู้สึกโล่งอก โล่งใจ ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้มักจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้การวางแผนงานที่ชัดเจนจำเป็นจะต้องมีการจดบันทึกว่าในแต่ละวันงานที่ ต้องทำให้สำเร็จมีอะไรบ้าง เพราะแผนงานที่ถูกเขียนขึ้นมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นเสมือนเข็มทิศ หรือเครื่องนำทางให้สามารถทำงานแต่ละชิ้นอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน

Do
แผนงานที่ดีย่อมมีการปฏิบัติ การตรวจสอบ การติดตามผลงานที่ทำไปแล้วว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จบ้าง ด้วยการให้ข้อมูลป้อนกลับกับตนเอง (Performance Feedback) ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอผู้ อื่นที่จะมาบอกว่างานแต่ละชิ้นคุณเองสามารถทำสำเร็จหรือไม่ การ Feedback กับ ตนเองก็คือ การหาโอกาสบอกหรือพูดคุยกับตนเองในแต่ละวัน ผู้เขียนขอแนะนำว่าควรจะเป็นตอนกลางคืนก่อนนอนจะดีกว่า เพื่อสำรวจว่าวันนี้คุณได้ทำงานเสร็จไปกี่อย่างบ้าง และงานใดบ้างที่คุณทำไม่สำเร็จเป็นเพราะเหตุใด เพื่อที่ว่าคุณจะได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาวางแผนว่าควรจะทำอย่างไรให้งานชิ้น นั้นประสบผลสำเร็จในวันถัดไป ทั้งนี้ขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับหลาย ๆ คนคิดว่าเป็นขั้นตอนที่ยากกว่าการวางแผนงาน เนื่องจากไม่สามารถทำงานให้บรรลุตามแผนที่กำหนดขึ้น เพราะจิตไม่อยู่กับที่ เกิดความกระวนกระวายใจ จิตไม่สงบ ขาดสมาธิ ซึ่งผู้เขียนขอแนะนำว่าในระหว่างการทำงานแต่ละอย่างนั้น ควรคิดถึงงานชิ้นนั้นอย่างเดียวทั้งกายและใจ จิตที่มีสมาธิจะทำให้เกิดปัญญาที่จะบริหารงานแต่ละอย่างสำเร็จเร็วกว่าเวลา ที่กำหนดขึ้น และเมื่อคุณทำงานสำเร็จ เชื่อแน่ว่าคุณจะรู้สึกภาคภูมใจ รู้สึกมีความสุขกับงานแต่ละอย่างที่สำเร็จลุล่วงไป

Check
ความสุขเกิดขึ้นจากการให้ ให้ในสิ่งที่ผู้รับได้รับประโยชน์จากงานของคุณ ซึ่งการบริหารความสุขของตนเอง ก็คือการบริหารจิตใจของผู้อื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นตัวคุณเองจะต้องประเมินผลงานที่ทำขึ้นมาว่าผู้รับหรือลูกค้ามีความ พึงพอใจกับผลงานแต่ละชิ้นมากน้อยแค่ไหน การประเมินผลงาน (Performance Appraisal) จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผลักดันให้คุณจะต้องปรับ ปรุงผลงานของตัวคุณเองอยู่เสมอ ด้วยการวางแผนงานใหม่อีกสักครั้ง หากงานที่ทำไปแล้ว ถึงแม้คุณทำงานได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดขึ้น แต่ผู้รับไม่ชอบ ไม่พอใจ คุณจะต้องปรับเปลี่ยนแผนงานใหม่ เพื่อสร้างผลงานให้ลูกค้าหรือผู้รับของคุณเกิดความพึงพอใจทั้งในแง่ของ คุณภาพและปริมาณงานที่ส่งมอบ ซึ่งวิธีการประเมินผลงานที่คุณสามารถทำได้และไม่ยุ่งยากก็คือ การสอบถามและพูดคุยกับลูกค้าของคุณว่าเขาชื่นชอบในผลงานที่ทำให้ไปมากน้อย แค่ไหน ทั้งนี้คำว่า “ลูกค้า” นั้นผู้เขียนไม่ได้มองเพียงแค่ลูกค้าภายนอกอย่าง เดียวเท่านั้น ผู้เขียนจะมองไปถึง ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า ด้วยเช่นกัน
Act
การปรับเปลี่ยนกระบวนการ และวิธีการทำงานของคุณว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจบ้าง เพื่อที่ว่าคุณจะได้หาวิธีการทำอย่างไรก็ตามในการตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า เพราะหากลูกค้ามีความสุข คุณเองย่อมมีความสุขในการทำงานด้วยเช่นกัน การสำรวจและจดบันทึกว่ามีแนวทางไหนบ้างในการปรับเปลี่ยนและพัฒนากระบวนการทำ งานของคุณให้ดีขึ้น การพัฒนาผลงานของคุณ (Performance Development) จะทำ ให้คุณมีการปรับปรุง และการปรับเปลี่ยนตนเองอยู่เสมอ ไม่ซ้ำซากจำเจกับวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ เพราะความซ้ำซากทำงานแต่แบบเดิม ๆ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน

สรุปว่าความสุขในการทำงานทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นการได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทุกปีเท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ตัวคุณเองเกิดความสุขได้ก็คือ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง หรือการปฏิบัติตามหลัก P-D-C-A ซึ่งจะเป็นหนทางให้ตัวคุณเองและคน รอบข้างเกิดความสุขในการทำงาน



...
  
การทำงานยากให้เป็นเรื่องง่าย
สรุปเนื้อหา
โดย
นางพรรณี อัลภาชน์
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา
กรมการพัฒนาชุมชน
การทำงานยากให้เป็นเรื่องง่าย
(วิธีการพิชิตงานอย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ)

การทำงานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เวลามี 24 ชั่วโมง เราใช้เวลาในการนอนหรือพักผ่อน
ประมาณ 8 ชั่วโมง ทำงาน 8 ชั่วโมง เดินทางและการหาอาหารรับประทานอีกไม่เกิน 8 ชั่วโมง คนจำนวนมากทำงานไปโดยไร้จุดหมายและไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องมาจากความคิดมีทัศนคติแบบคนอ่อนแอ หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องความยากจน ความทุกข์ยาก ความล้มเหลวและความพ่ายแพ้ ทุกคนที่ต้องการชัยชนะในสิ่งใดก็ตาม ต้องมีภาวะจิตที่เรียกว่าความปรารถนาอันรุ่มร้อนเพื่อไปสู่ชัยชนะที่มีความจำเป็นสำหรับบรรลุความสำเร็จ คุณลักษณะอย่างหนึ่งซึ่งต้องเอาชัยชนะมาเป็นของเราให้ได้คือจุดหมายอันแน่วแน่ โดยรู้ว่าเราต้องการอะไร และมีความปรารถนารุ่มร้อนที่จะเป็นเจ้าของมัน งานกับชีวิตเป็นของคู่กัน เราจึงควรมุ่งความคิด ความตั้งใจในการสร้างความสำเร็จสูงสุดในการปฏิบัติเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
การทำงานยากให้เป็นเรื่องง่าย เป็นการเสนอเคล็ดลับการพิชิตงานสร้างความสำเร็จในชีวิตอย่างมีความสุขรวมทั้งการเสนอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติตามในการสร้างสรรค์งานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับแห่งความสำเร็จ
การประสบความสำเร็จในชีวิตโดยบรรลุถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่
จากการวิเคราะห์บุคคลที่ได้รับความสำเร็จ จะประกอบด้วย
1. อุปนิสัย อุปนิสัยที่ดีและไม่ดีมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้
สำหรับอุปนิสัยที่ดีที่ควรปลูกฝังคือ
- ความพยายาม หมายถึงความมุมานะที่มุ่งกระทำจนบรรลุผลสำเร็จ
- ความเมตตา ได้แก่ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น จะได้รับการยอมรับและได้รับการ
ช่วยเหลือสนับสนุนในการทำงาน
-ความกล้าหาญ ได้แก่ความเชื่อมั่นในตนเอง
- ความเข้มแข็ง ได้แก่การมีขวัญกำลังใจไม่ยอมแพ้ต่อความล้มเหลวหรืออุปสรรค
ใดๆ
2.โอกาส ผู้รักความสำเร็จจะต้องรู้จักฉวยโอกาสเร่งมานะพยายามใช้โอกาสให้เป็น
ประโยชน์
3.มิตรสหาย/ศัตรู มิตรสหายที่ดีจะส่งเสริมให้เราประสบความสำเร็จศัตรูก็มีส่วนทำ
ให้เราต้องรู้จักฝันฝ่าอุปสรรค การที่เราจะเอาชนะศัตรูหรือจูงใจมิตรสหายได้สำเร็จคือความมี
สเน่ห์ หรือเมตตาจิตของเราเอง
4.สภาพแวดล้อมของสังคม การเลือกอยู่ในสังคมดีก็อาจช่วยให้เราประสบ
ความสำเร็จหรือมีความสุขได้ แต่บางครั้งเราเลือกไม่ได้ เราจะต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมและพยามยึดมั่นอยู่ในคุณความดี
5.ภาวะจิต มี 2 แบบ คือ
- ภาวะจิตในทางบวก ได้แก่ ภาวะจิตที่คิดไปในทางที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ถ้าเรา
คิดในทางเชื่อมั่นตนเองเราก็จะประสบความสำเร็จ ถ้าเราคิดไปในทางลบเราก็จะประสบความล้มเหลวและมีความทุกข์
- ภาวะจิตในทางลบ ได้แก่อารมณ์แห่งการทำลายที่สำคัญ 7 ประการ คือ อารมณ์
แห่งความกลัว ความอิจฉาริษยา ความเกลียด ความพยาบาท ความโลภ ความงมงายในความเชื่อที่ผิด ๆ ความโกรธ การที่จะเปลี่ยนภาวะจิตในทางลบไปมีภาวะจิตในทางบวกมีวิธีการที่ได้ผล
แน่นอนมากที่สุดมีวิธีเดียวคือการหมั่นเตือนตนเอง
ทางเดินของความสำเร็จ ( ความคิด+การวางแผน+การกระทำ(+ความพยายาม)=ความสำเร็จ
1. ความคิด ความสำเร็จทุกชนิดเริ่มต้นด้วยความคิดและมีหลักการว่าสิ่งใดก็ตามที่จิต
ของมนุษย์สามารถเข้าใจและเชื่อว่าสามารถจะบรรลุความสำเร็จได้ ได้แก่ความคิดในทางบวกและความคิดในทางลบ
2. การวางแผน หลังจากเกิดความคิดในเรื่องใด จงหาทางทำให้ความคิดนั้นเป็นรูปร่าง โดยการวางแผน การวางแผนคือการกำหนดรายละเอียดล่วงหน้าว่ามีวิธีการใด ทำอย่างไร เวลาใด เพื่อให้ความคิดเป็นความจริง
3. การลงมือทำ เมื่อมีแผนการแล้วเราต้องลงมือทำ การมีแผนการแต่ไม่ลงมือทำก็ไม่
อาจจะก้าวสู่ความสำเร็จได้ เราต้องกำหนดว่า เวลาใดควรทำอะไร ทำอย่างไร ใครทำ และต้องประเมินผลด้วยว่าแผนการกับความสำเร็จต่างกันเพียงใด ดีกว่าหรือเลวกว่าที่คิด ถ้าเลวกว่าต้องรู้จักปรับปรุงแผนการและลงมือทำจนบรรลุผลสำเร็จตามที่เราต้องการ
เคล็ดลับการทำงานให้เด่น
คนที่ทำงานให้สำเร็จด้วยดีทั้งปริมาณและคุณภาพนั้น ต้องรู้จักวิธีทำงานให้ถูกหลักและมี
สมรรถภาพในการทำงาน ต่อไปนี้คือเคล็ดลับของผู้ที่ทำงานบรรลุผลสำเร็จอย่างงดงาม คือ
1. จงปฏิบัติตามลำดับความสำคัญของงาน
2. อย่าพลัดวันประกันพรุ่งจะกลายเป็นนิสัย
3. นำคำติมาพิจารณาแก้ไข คนทำงานย่อมมีความผิดพลาด บกพร่องเป็นธรรมดา
จะต้องมีคนตำหนิติเตียนทั้งโดยตรงและลับหลัง จงนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอย่ามีอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดคนที่ทำอะไรไม่ผิดเลยคือคนที่ไม่ทำอะไรเลย
4. จงทำงานอย่างมีระเบียบ โดยการจัดระบบการทำงานให้เป็นระเบียบ เมื่อถึง
เวลาจำเป็นต้องใช้จะได้นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
5. สำรวจงานของตนทุกสัปดาห์ หมั่นสำรวจว่าวันหนึ่ง ๆ ท่านทำอะไรเสร็จ
บ้าง มีอะไรคั่งค้างบ้าง มีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือเลวลง เมื่อพบข้อบกพร่องก็ให้จัดการแก้ไข
6. จงสำรวจชั่วโมงที่ดีที่สุดในแต่ละวัน ลองสังเกตดูว่าชั่วโมงใดเป็นชั่วโมง
พิเศษ กล่าวคือท่านสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จงเลือกเอางานที่ยากๆ มาทำในชั่วโมงนั้น ๆ แล้วท่านจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. จงมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่าพูดหรือคิดในสิ่งที่ทำลายตัวเองหรือทำให้ตัวเองตกต่ำจงหมั่นคิดว่าเราทำได้งานยากเราก็สามารถทำได้เราต้องเรียนรู้ได้อย่ายอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ
แนวคิดและแนวทางปฏิบัติในทางสร้างสรรค์งานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
1. อย่าคิดว่าทำไม่ได้ ความคิดดังกล่าวเกิดจากความไม่เชื่อมั่นต่อตนเอง ขอให้ท่านจงเชื่อว่า คนเราทุกคนมีศักยภาพที่ซ่อนไว้ในจิตใต้สำนึกในอันที่จะทำงานทุกอย่างให้บรรลุผลสำเร็จไปได้ถ้าเรามั่นใจว่าทำได้ มันก็ย่อมทำได้และเราต้องคิดเพิ่มอีกว่า ต้องทำได้ให้มีคุณภาพดีที่สุด การฝึกคิดบ่อย ๆ เตือนตนเองบ่อย ๆ แม้จะมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นเราก็จะไม่กลัวเราก็จะมีความเชื่อมั่นในตนเองไม่แพ้คนอื่น การพัฒนาความคิดและจิตใจให้เป็นคนรักงาน ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง เราก็มีความสนุกกับการทำงาน และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อร่วมงานเราก็จะเป็นผู้ที่ทำงานเก่งแน่นอน
2. การปรับปรุงงาน หมายถึงการวิเคราะห์เพื่อจัดระบบและปรับปรุงวิธีการทำงานต่าง ๆ ให้ดีขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้มากที่สุดหรือลดการสูญเสีย ต่าง ๆ เช่น แรงงาน เวลา เงิน วัสดุสิ่งชองและอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น
3.หาวิธีการทำงานที่ง่าย ๆ แต่มีคุณภาพ การลดความยุ่งยาก ลดขั้นตอน การแบ่งงานกันทำ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ การจัดเก็บเอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าเรารู้จักนำมาประยุกต์ใช้กับงานเราก็จะไม่เหนื่อยและเป็นการลดความเครียดในการปฏิบัติงานด้วย
4. การทำงานเร็ว วิธีที่ทำงานได้เร็วและได้ผลงานทั้งคุณภาพและปริมาณมีอยู่ 2 วิธี คือ
- การรู้จักลำดับงาน หมายถึงการวางแผนงาน คนที่ทำงานเป็นย่อมจะมีแผนงานไว้เสมอไม่ว่างานนั้นจะใหญ่หรือเล็ก
- สมาธิ หมายถึง การตั้งใจแน่วแน่อยู่ในสิ่งที่ตัวเองทำ คนที่ทำงานได้ดี ทำงานทน มีความผิดพลาดน้อยคือคนที่มีสมาธิดีนั่นเอง
5. การวางแผนการทำงาน โดยปกติงานประจำวันที่ทำง่าย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนในการทำงาน แต่สำหรับงานที่มีความยุ่งยากและต้องใช้หลายคนมาร่วมทำงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนการทำงาน ในการวางแผนการทำงานนั้น ผู้วางแผนจะต้องตั้งคำถามจะให้ใครทำอะไรที่ไหน เมื่อไร ทำอย่างไร ทำกับใคร หมั่นถามตัวเองทุกครั้ง ถ้าเราตอบคำถามได้ครบถ้วนหมายความว่าแผนงานย่อมมีรายละเอียดในขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ขาดตก บกพร่องแต่อย่างใด
6. การมอบหมายงาน คนที่จะเป็นหัวหน้างานนั้น ต้องรู้จักสร้างคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานแทนตนได้ รู้จักสอนงาน รู้จักให้กำลังใจและให้ความเชื่อมั่นแก่เขา และต้องรู้จักใช้คนให้เหมาะแก่งาน เมื่อมอบงานแล้วอย่าไปจุกจิกจู้จี้กับเขา ในกรณีที่งานมีความยุ่งยากก็มอบงานให้ทำเป็นกลุ่มหรือทีม การทำงานเป็นทีมที่สำคัญคือทุกคนต้องร่วมกันออกความเห็นไม่ใช่ให้ประธานกลุ่มสั่งการโดยเผด็จการ ความสามัคคีนี่เองจะทำให้งานที่มอบหมายสัมฤทธิผลได้ตามต้องการ
7.การประสานงาน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของเรา ความมีบุคลิกภาพที่ดี การพูดด้วยวาจาไพเราะและรู้จักเข้าใจในจิตวิทยาแห่งการพูดก็จะทำให้เกิดความดึงดูดใจในทางที่ดี การประสานงานก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย
8. มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ในการทำงานเราไม่ได้ทำเฉพาะงานในหน้าที่เท่านั้น เราต้องทำงานร่วมกับคนอื่นด้วย การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นได้นั้น เราต้องเข้าใจตัวเราเองก่อนแล้วปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดี ต้องฝึกให้คิดแต่สิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เราพูดและกระทำที่ดีและถูกต้องด้วย และต้องพยายามเข้าใจผู้อื่น พยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของคนความแตกต่างของคน
9.สัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน คนเราทุกคนที่ทำงานมีบุคคลที่เราต้องเกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภท คือ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา การที่เราทำงานต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวเราต้องมีจิตวิทยาในการอยู่ร่วมกัน ผลักดันงานให้เดินไปได้ด้วยดีและอยู่กันอย่างมีความสุขในการทำงาน
10. ความกระตือรือร้นในการทำงาน ทำตัวเองให้มีความสนุกกับการทำงาน ผู้มีความกระตือรือร้นย่อมไม่กลัวต่องานยาก ยิ่งงานยากยิ่งมีความมุมานะมากยิ่งขึ้น เท่ากับยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว
11. อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ต้องรู้จักคุณค่าของเวลา คนที่ทำอะไรโดยคิดว่าเป็นการฆ่าเวลา เราก็จะถูกเวลาฆ่าแน่นอน
12 โรคเซ็งและเบื่องาน แก้ได้โดยการบริหารกาย เมื่อเราออกกำลังกายจนเหงื่อออกจะมีการหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาเรียกว่า เอนโดฟิน สารตัวนี้จะทำให้ร่างการมีความสุข และบริหารจิต คือการทำสมาธิ
13.การนอนไม่หลับ จงทำจิตใจให้สงบ ทำสมาธิตโดยสูดลมหายใจเข้าออก ลมเข้าภาวนาว่า พุธ ลมออกภาวนาว่า โธ
14.ความเครียด อย่าคิดถึงอดีตที่ทุกข์ระทมเศร้า ทำวันนี้ให้มีความสุขให้มากที่สุด
15..ความกล้าได้กล้าเสีย บุคคลที่จะขึ้นไปสู่ที่สูงได้ นอกจากความกล้าได้กล้าเสียแล้ว จำเป็นต้องมีมิตรแท้และศัตรูที่แรงร้าย เพราะจะทำให้จิตของเรากล้าหาญ คนเรากล้าอย่างเดียวไม่พอเราต้องเข้มแข็งด้วย เราต้องรู้จักยอมแพ้เพื่อจะได้ชัยชนะมาในภายหลัง
การทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน ถ้าคนใดที่ไม่มีใจรักในการงานที่ตนเองทำอยู่ทุกวันก็จะเจริญก้าวหน้าได้ยาก คนที่ทำงานด้วยใจรักจึงนับว่าเป็นคนที่โชคดี ส่วนคนที่ทำงานด้วยความเบื่อหน่ายหรือสักแต่ว่าทำไปวัน ๆ ย่อมจะเป็นคนโชคร้าย เพราะการที่ท่านจำเป็นต้องทำงานและท่านรังเกียจงานในหน้าที่ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ทำให้สุขภาพจิตเสื่อมโทรม หนังสือเรื่องการทำงานยากให้เป็นเรื่องง่ายเป็นการพัฒนาความคิด และการบริหารงานเพื่อพัฒนาตนเองให้มีความมุ่งมั่น ความตั้งใจสร้างสรรค์งานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการสร้างความสำเร็จสูงสุดของงาน
-------------------------
อ้างอิง
สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร
การทำงานยากให้เป็นเรื่องง่าย
(วิธีการพิชิตงานอย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ)
แต่ง : สมิต อาชวนิจกุล

...
  
คุณภาพชีวิตการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน

ผจญ เฉลิมสาร

การทำงานมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ปฏิบัติมากกว่ากิจกรรมใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอุตสาหกรรม คาดกันว่ามนุษย์ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตเป็นอย่างน้อยอยู่ในโรงงานหรือสำนักงาน และยังเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้เวลาของชีวิตเกี่ยวข้องกับการทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก
การทำงานเป็นสิ่งที่ให้ประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการ พบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับบุคคลอื่น ๆ กับสถานที่ กับขั้นตอนและเรื่องราวต่างๆ ตลอดจนความคิดเห็นทั้งหลายจากผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้นการทำงานจึงเป็นการเปิดโอกาสให้แสดงออกถึงเชาว์ ปัญญา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันจะนำมาซึ่งเกียรติภูมิและความพึงพอใจในชีวิต
ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ภาวะของความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICS) เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีคนเป็นจำนวนมากเข้ามาใช้เวลาของชีวิตเกี่ยวข้องกับการทำงานในภาค อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในทุกระดับของการจ้างแรงงาน และถ้าหากว่าเวลาส่วนมากของชีวิตในการทำงานนี้ มนุษย์ได้อยู่กับสิ่งที่ตนเองพอใจ ก็จะช่วยให้มีสภาพจิตใจและอารมณ์ที่จะส่งเสริมให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ซึ่งย่อมถือได้ว่ามีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี และจะส่งผลต่อชีวิตโดยส่วนรวมของบุคคลผู้นั้นให้เป็นสุข ซึ่งแสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย อันเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์
ภาคอุตสาหกรรมนับเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศและจะทวีความสำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป คือ ส่วนแบ่งของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นทุกปี และจำนวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไป ประกอบกับภาครัฐบาลได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 และ 7 ซึ่งได้กำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ในภาวะเช่นนี้ลักษณะของอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเล็ก หรือขนาดย่อม คือมีถึง 90-95% จะต้องมีการเติบโตขึ้นเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ตามลำดับ
ประเทศไทยเราได้เริ่มต้นพัฒนาประเทศอย่างจริงจังตามแนวทางนี้โดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ แห่งชาติที่ประกาศใช้ในปี 2504 เป็นแนวทาง ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรมได้ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตลอดมาเมื่อเปรียบเทียบกับภาคการเกษตร โดยดูได้จากสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจาก 12.0% ในปี 2509 เป็น 25.56% ในปี 2534 ขณะที่สัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เกิดจากภาคการเกษตรกลับลดลงจากเดิม 35.1% มาเป็น 14.67% ในช่วงเวลาเดียวกัน
การเพิ่มสูงขึ้นของสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเช่นนี้ ได้ส่งผลต่อความต้องการ หรืออุปสงค์ด้านแรงงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าสัดส่วนการจ้างงานในภาคการเกษตร ในปี 2524 และสัดส่วนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจาก 7.54% มาเป็น 13.17% ในช่วงเวลาเดียวกัน และสัดส่วนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อไป
จากสัดส่วนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน แสดงถึงแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคตในทุกสาขาอุตสาหกรรมมีการเพิ่มขึ้นของการจ้างแรงงานในทุกระดับของการจ้างแรงงาน ในองค์การของภาคอุตสาหกรรม และในวงการอุตสาหกรรมถือว่าคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะมีผลทำให้ อุตสาหกรรมนั้นได้รับการพัฒนามากหรือน้อย เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยความหมายที่แท้จริงแล้วนั้นมิได้หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการนำเอาความรู้ใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยีมา ใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตให้มากที่สุดเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมไปถึงการพัฒนาตัวบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องในงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการพัฒนาให้บุคคลเหล่านี้รู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตการทำงาน และสภาพแวดล้อมการทำงานได้อย่างมีความสุข เพื่อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานไป ในทางที่ดีขึ้น ซึ่งก็คือการมุ่งไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีนั่นเอง

คุณภาพชีวิตการทำงาน คืออะไร
คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life) เป็นองค์ประกอบหรือเป็นมิติหนึ่งที่สำคัญ ของคุณภาพชีวิต (Quality of Life) นั่นเอง แนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานได้กำเนิดและ แพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรม หากกล่าวถึงความหมายของคำว่า คุณภาพชีวิตการทำงานแล้ว เราจะพบว่า มีผู้รู้ นักวิชาการ หรือผู้เกี่ยวข้องได้ให้ความหมาย หรือคำนิยามไว้น่าสนใจหลายประเด็น คือ

1. เป็นการสร้างสรรค์บรรยากาศที่จะทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับความพึงพอใจในการทำงานสูงขึ้น โดยผ่านการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาสำคัญขององค์การ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชีวิตการทำงานของพวกเขา นั่นคือ หมายความรวมถึงการปรับปรุงการ บริหารเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ โดยทำให้มีประชาธิปไตยในสถานที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ผู้ ปฏิบัติงานทุกระดับได้นำเอาสติปัญญา ความเชี่ยวชาญ ทักษะและความสามารถอื่น ๆ มาใช้ ในการทำงานย่อมทำให้พนักงานหรือกำลังแรงงานได้รับความพึงพอใจสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและพฤติกรรมภายในกลุ่มและองค์การขึ้น เช่น การขาดงานลดลดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น การกวดขันเกี่ยวกับวินัยผ่อนคลายลง ความคับข้องใจลดลง เป็นต้น
2. คุณภาพชีวิตการทำงานมีความหมายทั้งทางกว้างและทางแคบ ซึ่งได้รวบรวมความหมาย ของคุณภาพชีวิตการทำงานไว้ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

2.1 คุณภาพชีวิตการทำงานในความหมายที่กว้าง หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยว ข้องกับชีวิตการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน ผลประโยชน์และบริการ ความก้าวหน้าในการทำงาน และการมีมนุษยสัมพันธ์ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่แรงจูงใจและความพึงพอใจสำหรับคนงาน
2.2 คุณภาพชีวิตการทำงานในความหมายอย่างแคบ คือ ผลที่มีต่อคนงาน ซึ่ง หมายถึง การปรับปรุงในองค์การและลักษณะงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานควรได้รับการ พิจารณาเป็นพิเศษสำหรับการส่งเสริมระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของแต่ละบุคคล และรวมถึงความต้องการของพนักงานในเรื่องความพึงพอใจในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะมีผลต่อสภาพการทำงานของเขาด้วย
2.3 คุณภาพชีวิตการทำงานในแง่มุมที่หมายถึงการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ในการทำงาน(Humanization of Work) ซึ่งประเทศฝรั่งเศสและประเทศที่พูดภาษาฝรั่งใช้ คำว่า การปรับปรุงสภาพการทำงาน (Improvement of Working Condition) ประเทศสังคม นิยมใช้คำว่า การคุ้มครองแรงงาน (Workers' Protection) กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย หรือใน ญี่ปุ่นใช้คำว่าสภาพแวดล้อมการทำงาน (Working Environment) และความเป็นประชาธิปไตยในสถานที่ทำงาน(Democratization of the Workplace) คุณภาพชีวิตการทำงานมีความหมายครอบคลุมถึงวิธีการ แนวปฏิบัติหรือเทคโนโลยีที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น ในการปรับปรุงผลลัพธ์ทั้งขององค์การและปัจเจกบุคคล ตามลำดับ

จากความหมายต่างๆ ที่นักวิชาการได้นิยามไว้ข้างต้นจะพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน เป็นคำที่มีความหมายกว้างครอบคลุมไปในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในการทำงาน ของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในองค์กร แต่มีเป้าหมายสำคัญร่วมกันอยู่ที่การลดความตึงเครียดทางจิตใจ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในงานที่ทำ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตในสถานที่ทำงาน

นอกจากนี้ Richard E. Walton ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะสำคัญที่ประกอบขึ้นเป็นคุณภาพชีวิตการทำงานในหนังสือ Creteria for Quality of Working life โดยแบ่งออก เป็น 8 ประการ คือ
1. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ (adequate and fair compensation) หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ค่าตอบแทน และผลประโยชน์อื่นๆ อย่าง เพียงพอกับการมีชีวิตอยู่ได้ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และต้องเป็นธรรม เมื่อเปรียบเทียบกับงานหรือองค์การอื่นๆ ด้วย
2. สิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย (safe and healthy environment) หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางด้านจิตใจ นั่นคือ สภาพการทำงานต้องไม่มีลักษณะที่ต้องเสี่ยงภัยจนเกินไป และจะต้องช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกสะดวกสบาย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
3. เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี (development of human capacities) งานที่ปฏิบัติอยู่นั้นจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติ งานได้ใช้และพัฒนาทักษะความรู้อย่างแท้จริงและรวมถึงการมีโอกาสได้ทำงานที่ตนยอมรับว่าสำคัญและมีความหมาย
4. ลักษณะงานที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตและความมั่นคงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน (growth and security) นอกจากงานจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแล้ว ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสก้าวหน้า และมีความมั่นคงในอาชีพ ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั้งของเพื่อนร่วมงานและสมาชิกในครอบครัวของตน
5. ลักษณะงานมีส่วนส่งเสริมด้านบูรณาการทางสังคมของผู้ปฏิบัติงาน (social integration) ซึ่งหมายความว่างานนั้นช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ รวมถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันในความก้าวหน้าที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบคุณธรรม
6. ลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม (Constitutionalism) ซึ่งหมายถึง วิถีชีวิต และวัฒนธรรมในองค์การจะส่งเสริมให้ เกิดการเคารพสิทธิส่วนบุคคลมีความเป็นธรรมในการพิจารณาให้ผลตอบแทนและรางวัล รวมทั้งโอกาสที่แต่ละคนจะได้แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย มีเสรีภาพ ในการพูด มีความเสมอภาค และมีการปกครองด้วยกฎหมาย
7. ความสมดุลระหว่างชีวิต กับการทำงานโดยส่วนรวม (the total life space) เป็นเรื่องของการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้ชีวิตในการทำงานและชีวิตส่วนตัวนอก องค์การอย่างสมดุล นั่นคือต้องไม่ปล่อยให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความกดดันจากการปฏิบัติงานมากเกินไป ด้วยการกำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยง การที่ต้องคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน หรือได้ใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างเพียงพอ
8. ลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง (social relevance) ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องรู้สึก และยอมรับว่าองค์การที่ตนปฏิบัติงานอยู่นั้นรับผิดชอบต่อสังคมในด้านต่างๆ ทั้งในด้านผลผลิต การจำกัดของเสีย การรักษาสภาพแวดล้อม การปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างงาน และเทคนิคด้านการตลาด


ทำไมต้องมีคุณภาพชีวิตการทำงาน
เมื่อแต่ละบุคคลได้ใช้ชีวิตการทำงานอยู่กับสิ่งที่ตนเองพอใจก็จะทำให้มีสภาพจิตใจ และอารมณ์ที่ดี ซึ่งส่งผลให้ทำงานดีตามไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละองค์การจะต้องศึกษาหรือแสวงหาหนทางให้เกิดความสอดคล้องต้องกันของความพึงพอใจระหว่าง พนักงานและองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด เราคงได้ยินได้ฟังหรือเห็นภาพความขัดแย้งภาพการหยุดงานเพื่อประท้วงหรือเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ใช้ แรงงานอยู่เสมอ หรือเหตุการณ์ในบางประเทศที่มีการประท้วงจนเกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้น นั่นเป็นเพราะผู้ใช้แรงงานมีความรู้สึกว่ากำลังถูกลิดรอนสิทธิ์ คุณภาพชีวิตการทำงานต่ำลง ผลที่ตามมาคือ ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตที่ต้อง หยุดชะงัก จนมีผลทำให้การส่งออกไม่สามารถดำเนินการไปตามเป้าหมายได้ ซึ่งนอกจากองค์การจะสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลแล้ว พนักงานเองก็ต้องประสบความลำบาก และขาดรายได้ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวมด้วย

ทำอย่างไรจึงจะมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี
เมื่อเราทราบความหมาย ลักษณะสำคัญ และสาเหตุที่ต้องมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีแล้ว การจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานที่ทำงานนั้น มิใช่เรื่องที่ยากจนเกินความสามารถ หากแต่เป็นเรื่องความพร้อมของบุคคลสองฝ่าย คือฝ่ายองค์การหรือนายจ้าง และฝ่ายพนักงานหรือลูกจ้างที่พร้อมจะหันหน้าเข้าหากันเพื่อคิดหาแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายของ องค์การ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีความพึงพอใจด้วยกัน
การสร้างความพึงพอใจในการทำงานนี้ ผู้เขียนขอแนะนำแนวคิดทฤษฎีปัจจัยคู่ (Two-Factor Theory) ของเฟรดเดอริก เฮอร์ซเบอร์ก (Fredrick Herzberg) มาเป็นเครื่อง ช่วยในการชี้นำ นั่นคือ ปัจจัยจูงใจ (motivator factors) และปัจจัยสุขอนามัย (hygiene factors)
ปัจจัยจูงใจ (motivator factors) เป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยตรง (instrinsic aspects of the job) เป็นปัจจัยที่จูงใจบุคลากรในหน่วยงานให้เกิด ความพอใจ ซึ่งได้แก่
1. ความสำเร็จของงาน (achievement)
2. การได้รับการยอมรับนับถือ (recognition)
3. ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน (advancement)
4. ลักษณะของงาน (work itself)
5. โอกาสที่จะก้าวหน้าในอนาคต (possibility of growth)
6. ความรับผิดชอบ (responsibility)
ปัจจัยสุขอนามัย (hygiene factors) เป็นองค์ประกอบที่ไม่ใช่เกี่ยวกับตัวงานโดยตรง แต่มีความเกี่ยวโยงกับการปฏิบัติงาน (extrinsic factors) เป็นปัจจัยที่ไม่ใช่สิ่งจูงใจแต่ สามารถทำให้บุคลากรพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจที่จะปฏิบัติงานได้ ซึ่งมีอยู่ 10 ประการคือ

1. การบังคับบัญชา (supervision)
2. นโยบายบริหาร (policy and administration)
3. สภาพการทำงาน (working condition)
4. ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (relations with superiors)
5. ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา (relation with subordinates)
6. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (relation with peers)
7. ตำแหน่งในบริษัท (status)
8. ความมั่นคงในงาน (job security)
9. เงินเดือน (salary)
10. ชีวิตส่วนตัว (personal life)

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่มีส่วนทำให้เกิดความพึงพอใจได้เช่นกัน อาทิ
1. ชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม และเป็นไปตามข้อบัญญัติของกฎหมาย
2. ลักษณะของงานที่ทำ ได้แก่ การได้ทำงานที่ตรงกับความต้องการและความรู้ ความสามารถของตน และไม่เกิดความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงาน
3. การติดต่อสื่อสาร (communication) ได้แก่ การสื่อสารเพื่ออำนวยประโยชน์ให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ทันต่อเวลาและความต้องการของบุคคลในองค์การ
4. สิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ (benefits) ได้แก่ การบริการ การรักษาพยาบาล สวัสดิการต่าง ๆ

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตการทำงานในลักษณะของความพึงพอใจในการทำงานนั้น จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน และยังเป็นสิ่งจูงใจให้เกิดความต้องการทำงาน ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพและเกิดการเพิ่มผลผลิตของบริษัทหรือองค์การในที่สุด เรียกได้ว่า บรรลุเป้าหมายของทั้งบุคคลในฐานะสมาชิกขององค์การและตัวองค์การเอง นอกจากนี้ยัง ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.