หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ ทั้งหมด
ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์
ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์

ให้เป็นตัวของตัวเอง ถ้าคุณคิดว่าจะพยายามตอบให้ถูก ในคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ถามคุณ คุณจะเครียดมาก และไม่เป็นตัวของตัวเอง การสัมภาษณ์จะไม่มีคำถามที่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด มีแต่คำถามที่ให้แสดงออก ถึงความเป็นคุณออกมา ถ้าคุณพยายามตอบให้ถูก ผู้สัมภาษณ์จะรู้และจะหมดความสนใจในตัวคุณ
ข้อแนะนำสำหรับการพูดในการสัมภาษณ์ มีดังนี้
1. น้ำเสียง
- เสียงดังฟังชัด ไม่อู้อี้อยู่ในลำคอ แต่ไม่ดังจนเกินไป ความดังของเสียงอยู่ในระดับที่ได้ยินชัดว่าอะไร ก็เพียงพอแล้ว
- ไม่ใช้เสียงเบาเกินไป บางคนพูดเหมือนกระซิบอยู่ตลอดต้องคอยเงี่ยหูฟัง มิฉะนั้นจะไม่ทราบว่าพูดอะไร
2. จังหวะในการพูด การพูดช้า อาจเป็นเพราะใช้เวลาในการคิดหาคำตอบ ถ้าเป็นกรณีนี้ การเตรียมตัวอย่างดีจะช่วยได้เพราะจะ ทำให้ตอบได้ทันที ดังนั้นจึงต้องศึกษาคำถามและเตรียมคำตอบไว้ก่อน
3. ระวังคำซ้ำคำเกิน เช่น เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ แล้วก็ คำต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเบื่อรำคาญได้ ใครที่ติดคำจำพวกนี้ ต้องฝึกฝนด้วย การพยายามระวังตัว ไม่พูดคำเหล่านี้
4. คำแสลง ถือว่าเป็นคำไม่สุภาพแล้ว คำแสลงยังทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้นได้ด้วย ขอให้พยายามระมัดระวังใน การใช้คำที่เป็นภาษาเฉพาะ รับรู้กันในหมู่วัยเดียวกัน
5. ไม่พูดมากเกินไป การพูดมากเกินไป อธิบายมาก แม้ในเรื่องควรตอบเพียงสั้น ๆ จึงทำให้เสียเวลา และอาจถูกมองว่า ถ้ารับเข้ามาทำงานคงจะเสียเวลาในการทำงาน ไปกับการพูดเสียมากกว่า
6. ไม่พูดน้อยเกินไป ถ้าพูดน้อยเกินไป ไม่พยายามให้ข้อมูล ไม่นำเสนอตัวเองให้เป็นที่รู้จัก ผู้สัมภาษณ์จะพิจารณาได้อย่างไรว่า เหมาะสมกับงานยิ่งถ้าเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการพูดด้วยแล้ว ถ้าพูดน้อยโอกาสที่จะผ่าน การพิจารณาก็จะน้อยตามไปด้วย
7. อย่าโกหก ขนาดตอนสัมภาษณ์ ยังไม่เข้ามาทำงาน ยังหลอกกันแล้วจะมีใครไว้วางใจให้เข้ามาทำงานหรือบางคนโกหกเก่ง จึงอาจจะหลอกได้บ้าง แต่ต้องไม่ลืมว่าผู้สัมภาษณ์มีประสบการณ์มากกว่า โอกาสที่จะหลอกไม่สำเร็จ ถูกจับโกหก ได้จึงมีอยู่สูง
8. ประสบการณ์น้อย คุณควรบอกว่าคุณมีประสบการณ์ที่จำเป็นต่องานนี้โดยไม่ต้องผ่านงานประจำมาก่อนเช่น คุณเคยผ่านงานพิเศษสมัยเรียน เคยร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหรือองค์กร และถึงแม้ว่าประสบการณ์นั้นจะไม่สัมพันธ์กับงานที่ต้องการนี้เลยก็ตาม
9. เรียนอย่างเดียว ในกรณีที่คุณเอาแต่เรียนอย่างเดียว ไม่เคยร่วมกิจกรรมใดๆ เลย คุณก็มีหนทางเดียวที่จะแก้จุดด้วยนี้คือแสดงให้เห็นว่าการเรียนก็เป็นประสบการณ์การทำงานอย่างหนึ่ง เช่น คุณมีประสบการณ์ที่ต้องทำงานส่งให้ทันกำหนดเส้นตาย หรือคุณผ่านการทำรายงานชิ้นสำคัญๆ มาแล้วหลายชิ้น
10. ผลการเรียนต่ำ GPA ไม่ใช่เรื่องสำคัญ คุณควรอย่างยิ่งที่จะให้เหตุผลว่า ถึงเกรดของคุณไม่สูงแต่คุณก็มีประสบการณ์จากชีวิตจริง หรือเน้นย้ำว่าความสำเร็จของการศึกษาและในการทำงานต้องการสิ่งอื่นมากกว่าแค่เกรดสูงอย่างเดียว คุณมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมอื่นๆ มาชดเชย
11. ร่วมกิจกรรมน้อย ถ้าถูกถามว่าทำไมถึงไม่ค่อยร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมากนัก คุณก็ควรบอกว่าต้องเรียนหนังสือหนักมาก และยังทำงานพิเศษไปด้วย จากนั้นก็รีบอ้างถึงประสบการณ์การทำงานต่างๆ ของคุณระหว่างเรียน
12. อายุน้อยเกินไป หากคุณสมัครงานในตำแหน่งสำคัญแต่ถูกติงว่าอายุยังน้อยเกินไป คุณควรอธิบายถึงประโยชน์ของการมีอายุน้อยว่า
1. ยินดีทำงานเต็มที่แม้จะได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้มีประสบการณ์
2. มีไอเดียทันสมัยสมกับที่ได้ศึกษาความรู้ใหม่ล่าสุดจากมหาวิทยาลัย
3.ไม่ต้องแก้ไขนิสัยการทำงานเก่าๆ ที่ไม่เหมาะกับงานใหม่


* บทความบางส่วนจากหนังสือ คู่มือสมัครงาน อ.ถาวร โชติชื่น สำนักพิมพ์ wisdom
...
  
ชวน หลีกภัย
นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์และ ส.ส.ประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นอภิปรายในการประชุมร่วมของ 2 สภา เพื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่ต้องลงมติเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยในได้กล่าวตำหนิ การกล่าวพาดพิงสถาบันตุลาการของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า สถาบันตุลาการไม่สามารถแก้ปัญหาในบ้านเมืองได้ว่าไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวิกฤตการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาด้วยว่า เกิดจากการครอบงำสื่อของรัฐ จนกระทั่งเกิด เอเอสทีวีขึ้น ประชาชนจึงมีโอกาสได้รับฟังความจริงอีกด้านหนึ่ง สำหรับเนื้อหาการอภิปรายของนายชวน หลีกภัย มีดังนี้
"ท่านประธานที่เคารพ กระผมนายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ท่านประธานที่เคารพ ความจริงแล้วท่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็จะได้อภิปรายในสาระสำคัญ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อท่านประธาน เพื่อประโยชน์ของรัฐบาล ในวาระต่อไป
แต่ว่าโดยที่การเสนอญัตติและการอภิปรายของท่านนายกรัฐมนตรี มีอย่างน้อยสองครั้งที่ได้ยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นมาเปรียบเทียบ กระผมคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้วน่าจะใช้เป็นประโยชน์ ไม่ได้มองในทางเสียหายไปทั้งหมดครั้ง เพียงแต่ว่าถ้ามีโอกาสได้อธิบายถึงข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ผมคิดว่ารัฐบาลสามารถนำตัวอย่างเหล่านั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาได้
แต่ว่าก่อนที่จะลงไปในรายละเอียดเรื่องนั้น ขอกราบเรียนท่านประธานว่า การเสนอญัตติในวันนี้เป็นไปตามมาตรา 179 ซึ่งอยู่ในหมวดของคณะรัฐมนตรี งานนี้จึงเป็นงานของฝ่ายบริหาร และมาตรา 179 นั้นก็เป็นกรณีที่เมื่อมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน อันนี้เป็นเรื่องโดยตรงนะครับ
ผมอยากทำความเข้าใจเพราะเหตุว่า เราจะได้รู้ว่าประเด็นของเราที่เราจะได้อภิปรายกันนี้คืออะไร มิฉะนั้นมันจะเป็นญัตติไม่ไว้วางใจพันธมิตรฯ มันจะเป็นญัตติเพื่อด่าพันธมิตรฯ ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในวันนี้
ในญัตติตามมาตรา 179 นั้นที่รัฐบาลต้องการก็คือ ความคิดเห็นครับ ความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อประโยชน์ในการที่จะนำมาพิจารณาในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่ง ครม.เห็นสมควร เพราะฉะนั้นญัตติในวันนี้ก็เป็นญัตติที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเราจะต้องทำความเข้าใจจากญัตตินี้เสียก่อนว่า กฎหมายมาตรานี้ต้องการความคิดเห็น ความคิดเห็นนี้แน่นอนว่าไม่มีทางหรอกครับ ที่จะตรงกันหมดทุกเรื่อง ซึ่งเมื่อรัฐบาลตั้งใจจะรับฟัง ก็ต้องยอมรับว่าบางเรื่องอาจจะไม่ตรงกับท่าน กระผมคิดว่าความคิดเห็นนั้น เป็นเรื่องที่ท่านต้องยอมรับ ถ้าไม่ตรงกัน แต่ข้อเท็จจริงถ้าฝ่ายใดให้ข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงความจริง ก็มีสิทธิ์ที่จะมีความเห็นแตกต่างหรือให้ข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปได้ ...
ในญัตติของรัฐบาลนั้นบอกไว้ชัดเจนนะครับว่า ด้วยขณะนี้มีกลุ่มบุคคลรวมตัวกัน เข้ายึดสถานที่ราชการและหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ขณะนี้สถานการณ์ดังกล่าวดำรงอยู่ มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเป็นอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน อันนี้ก็เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็นอุปสรรคและผมคิดว่าก็มีปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน
ปัญหาอยู่ที่ว่า ภารกิจในการแก้ปัญหานี้ ถ้าเราทำความเข้าใจว่า สมาชิกสภานี้ทำได้คือ ให้ความเห็น หน้าที่ในการแก้ปัญหาคือฝ่ายบริหาร

ผมจึงอยากจะกราบเรียน ไม่ใช่จะแก้ตัวแทนศาล แต่ผมไม่เห็นด้วยที่ท่านนายกฯ ไปกล่าวว่าบัดนี้ศาลก็แก้ปัญหาไม่ได้ ผมคิดว่าอำนาจฝ่ายตุลาการนั้น เขาได้ทำหน้าที่สมบูรณ์ที่สุดแล้วในยุคนี้ คือ วินิจฉัยคดีและข้อกล่าวหา อย่างเป็นธรรม ตรงไปตรงมา ศาลไม่ได้มีหน้าที่มาสลายผู้ชุมนุม ศาลวินิจฉัยแล้ว ท่านก็กรุณาอธิบายคำวินิจฉัยของท่าน เป็นหน้าที่ฝ่ายบริหารที่จะต้องนำคำวินิจฉัยนั้นไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัย เราไม่อาจวิจารณ์ได้ว่า ศาลแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะศาลไม่ใช่ผู้ที่จะมาสลายผู้ชุมนุม ศาลทำหน้าที่วินิจฉัยสิ่งที่ผู้ร้องหรือฝ่ายผู้ที่เป็นโจทก์กล่าวหา แล้วศาลก็ตัดสินไปตามนั้น ผมยังมองไม่เห็นเลยนะครับว่าศาลล้มเหลว หรือ แก้ปัญหาไม่ได้ นี่ประการหนึ่ง เพราะว่าผู้ที่จะทำหน้าที่ในการแก้ปัญหานั้นก็คือฝ่ายบริหาร หรือ ฝ่ายรัฐบาล เราต้องแยกให้ออก มิฉะนั้นเราจะสับสนภารกิจเหมือนกับวันนี้
เมื่อเราฟังความเห็นแล้ว ถ้าปัญหาที่แก้ไม่ได้นั้นทวีความรุนแรงมากขึ้นก็ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจเข้าไปแทรกแซง หรือดำเนินการด้วยตัวของฝ่ายนิติบัญญัติเอง ฝ่ายบริหารซึ่งอาจจะมาจากฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่ในภารกิจนี้ กระผมคิดว่าถ้าเราทำความเข้าใจให้กระจ่างในเรื่องนี้ แล้วกลับมาทบทวนถึงปัญหากันอีกครั้งหนึ่ง
ในข้อเท็จจริงบางเรื่องนั้นกระผมจะไม่ลงในส่วนของรายละเอียด ด้วยความเคารพต่อความเห็นของทุกฝ่าย ข้อเท็จจริงก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายรัฐบาลจะต้องติดตามดูต่อไปว่า สิ่งที่ได้กล่าวมานั้น มันเกิดขึ้นในความเป็นจริงจากอะไร
แต่ว่ากระผมกราบเรียนว่า ในสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ผมไม่ได้โทษนายกรัฐมนตรีแต่ผู้เดียวนะครับ

ความจริงการเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดนั้นมันมาก่อนที่ท่านจะเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นแต่เพียงว่า เมื่อท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วสถานการณ์ไม่ได้เบาลงครับ ดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ...ทำไมครับ เพราะว่ามีการสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาหลายเรื่อง ผมไม่เสียเวลา เพราะท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ได้สรุปให้ท่านประธานแล้วเกือบครบถ้วนนะครับ
ประเด็นที่ผมจะกราบเรียนก็มีเพียงว่า ความแตกแยกอันก่อให้เกิดความขัดแย้ง มันเกิดขึ้นมา อาจจะก่อนเปี 2548 นะครับ อย่างที่ท่านวุฒิสมาชิกได้แล้ว ปี 2548 เป็นเรื่องที่ประชาชนได้มีโอกาสฟังข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง นั่นก็คือเกิด “เอเอสทีวี” ขึ้นมา ก่อนหน้านั้นประชาชน อยู่ภายใต้ข้อเท็จจริงฝ่ายเดียว
พูดได้เลยครับว่าฝ่ายเดียว ไม่มีโอกาสที่จะสื่ออย่างอื่นได้เลย สื่อมวลชนของรัฐ ถ้าไม่ทำรายการที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐ ก็จะถูกเปลี่ยนผังรายการ ทุกคนก็ต้องเอาใจ หนังสือพิมพ์ถ้าไม่เขียนเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล ก็จะถูกกลั่นแกล้ง ไม่ด้วยถูกตัดโฆษณาก็ด้วยวิธีอื่นๆ
เพราะฉะนั้นช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2544 2545 2546 2547 2548 ประชาชนอยู่ภายใต้ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่ประชาชนได้รับด้านเดียวเท่านั้นครับ
ต้องยอมรับความเป็นจริงนะครับว่า เมื่อเกิดเอเอสทีวีขึ้นมา ประชาชนได้ฟังข้อมูลอีกด้านหนึ่ง หลายเรื่องตรงกันข้ามกับที่รัฐบาลแถลง พฤติกรรมต่างๆ จึงได้เปิดเผยออกมา จริงๆ
ถ้าพูดไปแล้วท่านประธานครับ กระผมไม่บังอาจที่จะไปหยิบยกว่าข้อเท็จจริงเหล่านั้นที่เอเอสทีวีนำมาเปิดเผยในตอนหลังนั้น เป็นข้อมูลที่ฝ่ายค้านในขณะนั้นได้อภิปรายในสภา เกือบทุกเรื่องมาแล้ว แต่เราไม่ได้รับการสนับสนุนให้เผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้น สื่อของรัฐในขณะนั้น ไม่กล้ารายงานข่าวสาร สิ่งที่พวกเราทำได้ก็คือการใช้รายการออนไลน์
ผมต้องกราบเรียนเรื่องนี้เพราะว่า ถ้าเราเข้าใจปัญหา รัฐบาลก็จะสามารถลดปัญหาบ้านเมืองลงมาได้ โดยไม่ยึดว่าสิ่งที่ทำมานั้นถูกต้องทั้งหมด หันกลับไปมองว่าความจริงมันเกิดจากอะไร แล้วเราก็แก้ไขเงื่อนไขที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น พร้อมกับไม่สร้างเงื่อนไขใหม่
เงื่อนไขเดิมที่ผมกราบเรียนว่า เราฟังความข้างเดียวตลอดมานั้นทำให้รัฐบาลในขณะนั้นสามารถทำอะไรที่ไม่ถูกต้องแม้กระทั่งกฎหมายนะครับ การฆ่าตัดตอน การอุ้มฆ่าอันทำให้เกิดปัญหาในภาคใต้ การฆ่าตัดตอนกรณียาเสพติด การละเมิดสิ่งที่กฎหมายห้ามเอาไว้ ได้เกิดขึ้นหลายเรื่อง จนกระทั่งในที่สุดกลายเป็นเงื่อนไขที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น โดยลำดับ
แล้วในที่สุดรัฐในขณะนั้นเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระ แม้กระทั่งวุฒิสมาชิก วุฒิสภาในสมัยนั้นเป็นที่รู้กันว่าก็ถูกซื้อไปส่วนหนึ่ง วุฒิสมาชิกเขายอมรับว่าถูกซื้อไปประมาณ 60 กว่าคนที่กินเงินเดือนประจำ เพราะฉะนั้นองค์กรที่เป็นสถาบันหลักของบ้านเมืองจึงเกิดชำรุดทรุดโทรม"

............................................................................
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์
...
  
ทองใบ ทองเปาด์ 2
10
...
  
การเขียนเรียงความจดหมาย
แต่งโดย สุวรรณี โสประดิษฐ์ ภายในเล่มอธิบายองค์ประกอบ การเขียนเรียงความ รูปแบบจดหมายต่างๆ
จดหมายราชการ ตัวอย่างจดหมาย ตัวอย่างเรียงความ ...
  
ดร วรภัทร์ ภู่เจริญ ฉลาดงานบุคคลอย่างมีกึ๋น 01 11
10
...
  
ศิลปะการพูดในที่ชุมชนและการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสร้างเสน่ห์แห่งอัธยาศัย
10
...
  
ครูเคทบรรยาย 10/11
10
...
  

10
...
  
การจัดการกับความขัดแย้ง
การจัดการกับความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเป็นเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดตามมา(Arnold and Fledman : อ้างถึงใน แก้ววิบูลย์ แสงพลสิทธ์,2534 : 35 ) ได้กล่าวว่า ผลของความขัดแย้งนั้นสามารถจะเป็นไปได้ทั้งประโยชน์และผลเสียต่องค์การ การจัดการกับความขัดแย้งจึงควรเป็นไปในทางที่จะทำให้ได้ผลตามมา เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด โดยปราศจากการเป็นศัตรูกันของกลุ่มที่ขัดแย้งและพฤติกรรมการทำลาย

การที่จะจัดการกับความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยทักษะในการบริหาร และต้องมีการวินิจฉัย ความขัดแย้งได้ถูกต้อง ผู้ที่จัดการกับความขัดแย้ง ต้องมีศิลปะในการจูงใจคน ต้องมีความใจเย็น และความ อดทนเพียงพอ ความสามารถในการตัดสินใจ จินตนา ยูนิพันธ์ (อ้างถึงใน แก้ววิบูลย์ แสงพลสิทธิ์ ,2534)ได้ให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้

ผู้ที่จัดการกับความขัดแย้งได้ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและต้องประเมินตนเองก่อนว่าจะลงมือจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร

Kenneth Thomas ได้พัฒนารูปแบบ 2 มิติของเทคนิคการจัดการกับความขัดแย้ง(อ้างถึงใน ทองหล่อ เดชไชย ,2540 :264-265) ที่สะท้อนถึงความกังวลเป็นห่วงเป็นใยในผลประโยชน์ทั้งฝ่ายตนเองและคู่กรณีซึ่งมีกลยุทธ์ที่จะเป็นไปได้ ดังนี้ คือ

1.ถ้าความกังวลหรือความสนใจในผลลัพธ์ของทั้งตนเองและคู่กรณีต่ำ กลยุทธ์ที่มีความเป็นไปได้สูงคือการหลีกเลี่ยง (Avoidance Strategy)

2. ถ้ามีความกังวลหรือสนใจต่อผลลัพธ์ต่อตนเองสูง แต่ไม่สนใจในผลลัพธ์ของคู่กรณีกลยุทธ์ที่ใช้ คือ การบังคับหรือกดดัน

3. ถ้าความกังวล หรือความสนใจในผลลัพธ์ต่อตนเองต่ำ แต่กังวลและสนใจผลลัพธ์ต่อคนอื่นสูง กลยุทธ์ที่นำมาใช้คือ ความปรองดอง (Accommodation) หรือการยินยอม

4.ถ้าความกังวลหรือความสนใจสูงทั้งต่อผู้ผลลัพธ์ของตนเองและคู่กรณี กลยุทธ์ที่เหมาะสมก็คือ ความร่วมมือ(Collaborative)

5. ถ้าความกังวลหรือความสนใจต่อผลลัพธ์ทั้งต่อตนเองและในคู่กรณีอยู่ในระดับปานกลางคือ ไม่สูง ไม่ต่ำ กลยุทธ์ที่เหมาะสม คือ การประนีประนอม (Compromise)

ทองหล่อ เดชไชย (2540)ได้อธิบายว่าในการจัดการกับความขัดแย้งนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารหรือหัวหน้าที่จะต้องทราบและเข้าใจทั้งสาเหตุและวิธีการจัดการ ซึ่งอาจจะพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1.ให้ความสนใจกับประเภทต่างของความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ภายในบุคคลความขัดแย้งภายในหน่วยงาน ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มงาน ความขัดแย้งขององค์การ จะได้ทราบความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเสมอ

2.การติดต่อสื่อสารที่ชัดเจนต่อเนื่อง(Atriculate Communication) ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องพยายามหาวิธีการจัดการที่จะช่วยให้มีการติดต่อสื่อสารกันขึ้นมาใหม่ เน้นการติดต่อสื่อสารที่เป็นประเด็นปัญหาสำคัญและอยู่บนพื้นฐานแห่งความถูกต้องและเป็นจริง

3.การสร้างเป้าประสงค์ หรือค่านิยมร่วม (Build a superodinate Gold)ในบางครั้ง ต้องพยายามทำให้เกิดความรวมตัวกันหรือมีค่านิยมหรือเป้าประสงค์ของบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งและเป้าประสงค์หลักของอค์การ เพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์การในอนาคต ซึ่งวิธีการได้มาซึ่งเป้าประสงค์หลักหรือค่านิยมร่วมนั้นจะมาจากการที่บุคคลมีส่วนร่วมในการกำหนดขึ้น โดยมีการยอมรับและความพึงพอใจเป็นที่ตั้ง

4.พิจารณาธรรมชาติของความเป็นอิสระซึ่งกันและกัน(Examine the nature of Independence) ผู้บริหารต้องพยายามเปลี่ยนลักษณะความเป็นอิสระที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกัน เพราะการยอมรับในเป้าประสงค์หรือค่านิยมร่วมของบุคคลและการส่งเสริมสนับสนุนนั้นมักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าทั้งสองสิ่งนี้เกิดการแยกกันก็จะเกิดเป็นแนวโน้มการเกิดความขัดแย้ง

5.ต้องพร้อมที่จะเสี่ยง(Take Risk) ขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ความขัดแย้งให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันก็คือ ต้องเสี่ยงต่อความสูญเสียหรือความผิดหวัง ดังนั้นต้องเตรียมบุคคลให้เกิดความรู้สึกมั่นใจ และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานด้วย โดยเฉพาะบุคคลที่มีความอ่อนไหวและไม่มีความมั่นใจในตัวเองจำเป็นจะต้องใช้วิธีการที่แยบยล ซึ่งก็คือการทำให้เกิดการยอมรับนับถือซึ่งกันและกันในความพยายามเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งมั่นคงให้แก่ผู้ที่มีความอ่อนไหว และอ่อนแอกว่า

6.แสดงความมีอำนาจ (Demonstrate Power) เพื่อการยุติการเอาเปรียบซึ่งกันและกันบริหารต้องพยายามหาทางป้องกันสิ่งเหล่านั้น ด้วยการใช้กำลังอำนาจที่มีอยู่

7.ต้องจำกัดขอบเขตในสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว(Confine to fail accompli) เมื่อกลุ่มที่มีความขัดแย้งยอมรับสถานการณ์ที่เขาสามารถอยู่ร่วมกันได้แล้ว ความรู้สึกแห่งความร่วมมือก็จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเริ่ม รู้สึกพึงพอใจซึ่งกันและกัน การจำกัดขอบเขตร่วมกันจะช่วยในการพัฒนาการติดต่อสื่อสารและความเข้าใจที่
ดี ยอมรับซึ่งกันและกันลดอคติต่างๆ สาเหตุแห่งความขัดแย้งก็จะลดลง

8.การสร้างความเชื่อมั่นร่วมกัน(Build Mutual Trust) แต่ละคนต้องแลกเปลี่ยนความเชื่อและความ คิดเห็น เปิดใจซึ่งกันและกัน พร้อมที่ให้และรับแนวคิดต่างๆอย่างจริงใจ

9.ความสมดุลถูกต้องในการจูงใจ(Legitimize complex Motivation) เนื่องจากบุคคลแต่ละคนมี ความต้องการและการจูงใจที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งเมื่อการจูงใจของกลุ่มสองกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

10.การสร้างความเห็นอกเห็นใจ (Build Empathy) ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งนั้นแต่ละกลุ่มจะตระหนักถึงเป้าประสงค์ ความสนใจและความรู้สึกสำหรับกลุ่มตนเอง น้อยครั้งที่กลุ่มอื่นจะเข้าใจด้วย ดังนั้นต้องให้แต่ละคนสามารถที่จะคิดเข้าใจความต้องการของผู้อื่นก็จะสามารถลดความขัดแย้งได้ ...
  
Case study โออิชิ (1)
10
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]  [16]  [17]  [18]  [19]  [20]  [21]  [22]  [23]  [24]  [25]  [26]  [27]  [28]  [29]  [30]  [31]  [32]  [33]  [34]  [35]  [36]  [37]  [38]  [39]  [40]  [41]  [42]  [43]  [44]  [45]  [46]  [47]  [48]  [49]  [50]  [51]  [52]  [53]  [54]  [55]  [56]  [57]  [58]  [59]  [60]  [61]  [62]  [63]  [64]  [65]  [66]  [67]  [68]  [69]  [70]  [71]  [72]  [73]  [74]  [75]  [76]  [77]  [78]  [79]  [80]  [81]  [82]  [83]  [84]  [85]  [86]  [87]  [88]  [89]  [90]  [91]  [92]  [93]  [94]  [95]  [96]  [97]  [98]  [99]  [100]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.