หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  การอ่านกับการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  การเตรียมตัวก่อนสมัครเป็นนักการเมือง
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การใช้สื่อต่างๆประกอบในการพูดมีความสำคัญและในบางโอกาสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสื่อต่างๆจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งสามารถทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูดจึงเป็นเรื่องที่ควรจะพิจารณา ดังจะเห็นจากการอภิปรายในรัฐสภาของบรรดาสมาชิกสภา ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หากสมาชิกท่านใด ใช้สื่อต่างๆมาช่วยในการประกอบการพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจในเนื้อหาที่พูดมากยิ่งขึ้น
สื่อต่างๆที่ใช้ประกอบการพูดมีดังต่อไปนี้
1.แผนที่(Maps) ทำให้ผู้ฟังเข้าใจในลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศได้ง่ายขึ้น เช่น บางคนไม่ทราบว่าจังหวัดพะเยา อยู่ภาคไหน แต่พอเห็นแผนที่แล้วจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดว่าจังหวัดพะเยาอยู่ภาคเหนือ อยู่ติดกับจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่านและลำปาง
2.แผนภูมิและแผนสถิติ จะแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏในรูปแบบแผนผัง ซึ่งถ้าหากพูดเป็นตัวเลขซึ่งมีจำนวนมากและหลายจำนวน ผู้ฟังจะไม่เห็นภาพได้ชัด แต่หากนำมาแสดงเป็นแผนผัง แบบเส้น แบบรูปภาพ แบบแท่ง ฯลฯ ผู้ฟังก็จะเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3.หุ่นจำลองหรือของจำลอง เป็นสิ่งที่จำลองมาจากของจริง เนื่องจากของจริงมีลักษณะเล็กเกินไป หรือใหญ่มากจนเกินไป ผู้พูดไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการพูดได้ เช่น แบบทรงของบ้าน เครื่องบิน รถยนต์ เป็นต้น
4.ภาพถ่าย มีคำกล่าวที่ว่า “ ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดเป็นจำนวนถึง 10,000 คำ ” เพราะภาพบางภาพจะตอบคำถามบางอย่าง ได้ดีกว่าการอธิบายหรือการแก้ข้อกล่าวหาโดยการใช้คำพูดเป็นจำนวนมาก
5.ของจริง การนำของจริงมาประกอบการพูด จะทำให้ผู้พูดไม่ต้องอธิบายความมาก แต่ข้อควรระวัง สำหรับของจริง บางอย่างมีลักษณะที่ใหญ่มาก จึงควรพิจารณาในการนำมาใช้เพื่อประกอบการพูดด้วย
6.ภาพยนตร์หรือโฆษณาภาพยนตร์ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลินในการฟัง เป็นการสร้างสีสรรในการพูด ทำให้เกิดความดึงดูดใจกับผู้ฟัง
7.เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนภาพ วีดีโอเทป ในบางครั้งอาจจะต้องนำมาใช้ประกอบในการพูด เช่น การฝึกปฏิบัติ ในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องถ่ายหรือบันทึกภาพเก็บไว้ เพื่อนำมาเปิดให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่าง การให้ผู้ฟังออกมาฝึกพูดหรือฝึกปฏิบัติหน้าชั้น ควรที่จะถ่ายภาพของผู้ฝึกเก็บไว้ เพื่อนำมาเปิดให้เขาได้ดู
8.แผ่นโปสเตอร์ต่างๆ จะช่วยขยายความของเนื้อหาในการพูดได้มาก แผ่นโปสเตอร์มีทั้งเป็นภาพสีและภาพขาวดำ นอกจากนั้นอาจจะมีข้อความสั้นๆ อธิบายภาพเหล่านั้นด้วย
9.กรณีศึกษา เกมส์ กิจกรรม ประกอบการพูด ในกรณีที่ถูกเชิญให้พูดเป็นเวลานาน หลายวัน หลายชั่วโมง ผู้พูดควรนำกรณีศึกษา เกมส์ กิจกรรม มาช่วยประกอบการพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อ แต่จะสนุกสนานกับ กรณีศึกษา เกมส์ และกิจกรรม นั้นๆ
ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าสื่อต่างๆที่สามารถนำมาใช้ประกอบการพูด มีจำนวนมากมาย แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้สื่อใดในการประกอบการพูด ให้มีความเหมาะสมกับผู้ฟัง โดยพิจารณาถึงวัย เพศ อายุ อาชีพของผู้ฟัง และคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานที่เหมาะสมกับสื่อนั้นๆหรือไม่ เป็นต้น
...
  
การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพูด การเป็นนักพูดไม่จำเป็นจะต้องมีเสียงที่ก้อง กังวาน หวานเหมือนกับเสียงของนักร้อง แต่การใช้เสียงในการพูด ผู้พูดควรเปล่งเสียงออกไปด้วยความมั่นใจ มีพลัง มีชีวิตชีวา อีกทั้งการใช้เสียงที่ดีจะสามารถตรึงผู้ฟังให้ตั้งใจฟังผู้พูดได้
การใช้เสียงในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1.มีความชัดเจนและมีความถูกต้อง สามารถสื่อสารให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้
2.ไม่พูดเร็วหรือช้าจนเกินไป การพูดเร็วจะทำให้ผู้ฟังฟังไม่ทัน แต่การพูดช้าจนเกินไปก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่เกิดความกระตือรือร้นในการฟัง
3.เสียงดังหรือเสียงเบาจนเกินไป การพูดเสียงดังตลอดเวลาในขณะที่พูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเครียด รู้สึกเหนื่อย ไม่อยากที่จะฟัง และการพูดเสียงเบาจนเกินไป ก็จะทำให้ผู้ฟังคุยกันและไม่สนใจในเรื่องที่ผู้พูดพูด
4.ไม่พูดเสียงต่ำหรือเสียงสูงตลอดเวลา การพูดเสียงต่ำจะทำให้พูดฟังเกิดอาการง่วงนอน แต่การพูดเสียงสูงตลอดเวลา ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญขึ้นมาได้
5.ไม่พูดเหมือนกับการอ่านหนังสือ เพราะจะทำให้ขาดรสชาติในการฟัง ฟังแล้วไม่เป็นธรรมชาติ
6.ไม่พูดเสียงราบเรียบระดับเดียวกันตลอดการพูด เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจในเรื่องที่ผู้พูดพูด
7.ไม่ควรใช้คำฟุ่มเฟือยมากจนเกินไป เช่นคำว่า นะครับ นะค่ะ ครับ ค่ะ เอ้อ อ้า จนทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญในการฟัง
แต่การออกเสียงและพัฒนาพลังเสียงที่ดีในการพูด ผู้พูดควรพูดออกมาด้วยความรู้สึกที่จริงใจ เสียงดัง ฟังชัด มีความกระตือรือร้นในการพูด เสียงไม่ควรจะราบเรียบระดับเดียวกันตลอดการพูด ควรมีเสียงดังบ้าง เบาบ้าง เสียงสูงบ้าง เสียงต่ำบ้าง เสียงแหลมบ้าง เสียงทุ้มบ้าง พูดเร็วบ้าง พูดช้าบ้าง ให้มีความเป็นธรรมชาติของผู้พูดแต่ละคน แต่ไม่ใช่ใช้เสียงถึงขนาดเป็นการดัดเสียงให้เหมือนกับนักพากย์หนัง อีกทั้งไม่ควรท่องจำหรือใช้วิธีพูดเหมือนกับการอ่านหนังสือ
สำหรับวิธีการปรับปรุงและพัฒนาพลังเสียงในการพูด
1.ควรหัดอ่านหนังสือ โดยการอ่านออกเสียง เพื่อทำให้เกิดการพูดหรือการออกเสียงเกิดความคล่องยิ่งขึ้น และถ้ามีบทสนทนาผู้ฝึกก็ควรหัดออกเสียง เหมือนกับมีบุคคลสองคนหรือสามคนสนทนากัน
2.ควรซ้อมพูดบ่อยๆ หากไม่มีเวที ก็ควรฝึกฝนด้วยตนเอง นักพูดในอดีตซ้อมการพูดในขณะเดินทางโดยการซ้อมพูดในขณะที่อยู่บนหลังม้า บางท่านก็ซ้อมพูดด้วยการออกเสียงดัง ในขณะทำสวน บางคนฝึกหัดซ้อมการพูด การใช้เสียงในขณะเดินอยู่ที่ริมทะเล เป็นต้น
3.ควรมีอุปกรณ์ช่วย เช่น ควรหาเครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพยนตร์ บันทึกในขณะที่เราพูด เพราะจะทำให้เราสามารถตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการใช้เสียงของเราให้ดีขึ้น
โดยสรุป การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน การใช้เสียงจะทำให้การพูดน่าฟัง การพูดน่าเชื่อถือ การพูดมีรสชาติ อีกทั้งผู้ฟังเกิดความสนใจและสามารถตรึงอารมณ์ของผู้ฟังได้อีกด้วย

...
  
การเตรียมความพร้อมในการพูด
การเตรียมความพร้อมในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การเตรียมความพร้อมในการพูดมีความสำคัญมากต่อการเป็นนักพูด ครั้งหนึ่งเคยมีนักข่าวไปสัมภาษณ์โดยถาม ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่า ท่านใช้เวลาในการเตรียมการพูดแต่ละครั้งนานเท่าไร ท่านอดีต นายกรัฐมนตรีนักพูดท่านนี้ตอบกลับว่า ท่านใช้เวลาในการเตรียมการพูดทั้งชีวิต
นี่เป็นคำพูดที่แสดงออกถึงการเตรียมการพูดว่ามีความสำคัญปานใด เนื่องจากท่านเป็นบุคคลสำคัญและมีชื่อเสียง จึงมีหลายองค์กร ต้องการเชิญท่านให้ไปพูดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นเรื่องใด ท่านจึงใช้เวลาเตรียมการพูดโดยการอ่านหนังสือต่างๆให้มากที่สุด ท่านเตรียมการพูดโดยการเขียนบทความลงในสื่อต่างๆ ท่านเตรียมการพูดโดยการให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ จึงทำให้ท่านเป็นนักพูดที่สามารถพูดเรื่องต่างๆได้อย่างมากมาย
เคยมีคนจำนวนมากได้สอบถามผมว่า หากยังไม่มีใครเชิญให้ไปพูดแล้วเราจะเตรียมการพูดไปทำไม คำตอบก็คือ พวกเราเคยเห็นนักมวยไหม กว่าจะได้ขึ้นชกจริงๆในรายการต่างๆ เขาต้องซ้อมอย่างหนัก สำหรับวิธีการซ้อมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล
ส่วนตัวกระผมแล้ว ผมมักจะเตรียมความพร้อมในการพูดอยู่เสมอ ตลอดเวลา ผมจะเตรียมตัวโดยการอ่านมากๆ ฟังมากๆ เขียนบทความมากๆ อีกทั้งหากไม่มีใครเชิญให้ไปพูดหรือว่างเว้นการพูดเป็นเวลานานๆ ผมจะซ้อมการพูดคนเดียว เช่น ระหว่างเดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยเดินไปตัดผม เดินไปร้านอาหาร เดินไปห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ผมจะซ้อมพูดคนเดียว โดยหาหัวข้อต่างๆ แต่จะซ้อมพูด ในช่วงที่มีคนไม่มากนะครับ หากมีคนมากๆเดินผ่านก็จะหยุด และเมื่อไม่มีคนก็จะพูดต่อ หรือในระหว่างปั่นรถจักรยานเพื่อออกกำลังกายก็จะซ้อมพูดเบาๆ ไปด้วย
ฉะนั้น เมื่อเราซ้อมพูดบ่อยๆ ก็จะทำให้เราไม่ต้องไปคิดมากเมื่อเวลาเราพูดจริง อีกทั้งยังทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง การซ้อมจะช่วยลดความวิตกกังวล การซ้อมจะช่วยให้การปรับแต่งเนื้อหาในการพูดให้ดีขึ้น แต่สำหรับบางคนยังไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรในระยะซ้อมการพูด ก็ควรหาโน้ตย่อ โดยการเขียนข้อความย่อๆว่าจะพูดอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร ก็จะทำให้การฝึกซ้อมเป็นไปอย่างง่ายดายขึ้น
อีกทั้ง การเตรียมความพร้อมในการพูด เราควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ข้อมูล เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เวลาในการไปพูดจริงๆ เป็นต้น
- ข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากว่านักพูดท่านใด สะสมข้อมูลมากๆ ก็จะทำให้เขาง่ายต่อการเตรียม
การพูด โดยไม่ต้องไปแสวงหาหรือเสียเวลาหาข้อมูล เพื่อที่จะนำมาใช้ในการพูด เช่น นักพูดบางคนอาจมีห้องสมุดส่วนตัว , นักพูดบางคนอาจซื้อ VCD MP3 เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆไว้ เพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงการพูดในอนาคต
- เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ยุคนี้เทคโนโลยี มีความทันสมัย หากว่านักพูดท่านใดสามารถเรียนรู้ เทคโนโลยี
แล้วนำมาประยุกต์ใช้ ก็จะทำให้เขาก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว กว่า คนที่ไม่รู้จักใช้เทคโนโลยี เช่น การค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงาน การนำไมโครโฟนสมัยใหม่มาใช้ การใช้โทรศัพท์ที่ทันสมัยมาช่วยทำงาน ฯลฯ
- เวลาในการไปพูดจริงๆ หากว่าเขากำหนดให้ไปพูด 3 ชั่วโมง เราก็ควรเตรียมข้อมูลไปซัก 4
ชั่วโมง เพราะหากว่าไม่มีเวลาหรือเวลาหมด เราก็สามารถตัดเนื้อหาบางตอนที่ไม่สำคัญทิ้ง แต่ไม่ควรเตรียมไปน้อยกว่า เช่น เขาให้พูด 3 ชั่วโมง แต่เตรียมไปพูดแค่ 1 ชั่วโมง ทำให้เวลาขึ้นพูดจริงๆ เราจะไม่มีเนื้อหาหรือข้อมูลในการพูด
บทสรุป การเตรียมความพร้อมในการพูด มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพูดในแต่ละครั้ง นักพูดที่ประสบความสำเร็จมักจะให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในการพูดมาก ตรงกันข้ามนักพูดมือสมัครเล่น หลายๆคนไม่ให้ความสำคัญ เขาจึงเป็นได้แค่คนพูดธรรมดาๆเท่านั้น

...
  
คำพูดประเภทต่างๆ
คำพูดประเภทต่างๆ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
คำพูดของคนเรามีหลากหลายประเภท บางคำพูดเมื่อผู้ฟังได้ฟัง ผู้ฟังก็เกิดความรู้สึก ไม่ชอบใจ โกรธเคือง เสียใจ น้อยใจ หมั่นไส้ แต่ บางคำพูดเมื่อพูดออกไปแล้วผู้ฟังเกิด มีกำลังใจ ดีใจ อยากที่จะฟัง รู้สึกชอบคนพูด ในบทความนี้กระผมขอแจกแจงคำพูดออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
เริ่มจากคำพูดประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง
- คำพูดเหน็บแนม เป็นคำพูดที่มีลักษณะเสียดสี กระทบกระแทก แดกดัน กระแนะกระแหน เช่น
เธอไม่จำเป็นจะต้องมาทำงานก็ได้ เพราะเจ้านายชอบเธอ เธอมาไม่มา เธอก็ได้เงินเดือนขึ้นและได้เลื่อนขั้นอยู่ดีแหละ เป็นต้น
- คำพูดขวานผ่าซาก พูดโผงผาง เป็นคำพูด ที่มีลักษณะใช้น้ำเสียงค่อนข้างดังและน้ำเสียงสูง เป็น
การพูดแบบตรงไปตรงมา แต่จะออกไปในด้านลบ เมื่อผู้ฟังได้ฟังมักไม่ชอบใจ เนื่องจาก คนเราส่วนใหญ่มักอยากที่จะฟังเรื่องดีๆของตนเอง มากกว่าที่จะอยากฟังเรื่องลบๆของตนเอง คนบางคนพูดจา โผงผาง เสียงดัง ก็ยิ่งทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา เข้าใจผิดคิดว่า ทะเลาะกัน
- คำพูดโอ้อวด เป็นคำพูดที่มักจะทำให้คนฟังเกิดอาการหมั่นไส้ เพราะจิตใจของคนเราโดยส่วน
ใหญ่แล้วลึกๆ ไม่ชอบให้ใครอยู่เหนือตนหรือมีความอิจฉาขึ้นภายในใจ คำพูดโอ้อวด มีดังนี้ อวดรวย อวดเก่ง อวดฉลาด ฯลฯ
- คำพูดนินทา เป็นคำพูดที่พูดลับหลับ บุคคลที่ 3 ในทางที่ไม่ดี โดยมีลักษณะให้ร้าย ป้ายสี ซึ่ง
อาจเป็นเรื่องจริงบ้าง ไม่เป็นความจริงบ้าง แต่ผู้พูดมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อบุคคลที่ 3 คำพูดประเภทนี้ ควรระวังให้มาก เพราะไม่มีความลับใดๆในโลกนี้ หากสักวันหนึ่งเรื่องที่ตนเองพูดไปเข้าหูบุคคลที่ 3 ก็จะเกิดความขัดแย้งและขุ่นใจกันได้
- คำพูดเท็จหรือคำพูดโกหก เป็นคำพูดที่หลอกหลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อตนเอง หรือให้เข้าใจผิดเพื่อ
เอาตัวรอด เพื่อเอาผลประโยชน์ต่างๆจากผู้ฟัง การที่ผู้พูดพูดเท็จหรือพูดโกหกบ่อยๆ ก็จะทำให้คนขาดความเชื่อถือ คำพูดขาดน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นผลร้ายกับเราในระยะยาว ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ เคยกล่าวเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำพูดที่เท็จหรือโกหก ว่า “ เราอาจจะโกหกคนบางคนได้ตลอดเวลา เราอาจจะโกหกคนทุกคน ได้บางเวลา แต่เราจะโกหกคนทุกคน ตลอดเวลาไม่ได้ ”
- คำพูดหยาบหรือคำพูดที่ไม่สุภาพ เป็นคำพูดที่ผู้พูดมักมีฐานจิตหรือการได้รับการอบรมหรือมี
สภาพแวดล้อม ที่ไม่ค่อยดี โดยที่บุคคลในสังคมนั้น พูดจาไม่สุภาพจนเคยชิน เช่น ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ควาย พ่อมึงหรือ ฯลฯ
สำหรับคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยงนี้ เราสามารถฝึกฝน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่ผู้ฟัง ฟังแล้ว เกิดความรู้สึก ไม่ชอบ ไม่พอใจ โกรธ เกลียด ทำลายขวัญกำลังใจ ของผู้ฟัง เพราะธรรมชาติของคนส่วนใหญ่แล้ว มักชอบฟังคำพูดที่ สุภาพ อ่อนหวาน พูดความจริง พูดถ่อมตน ฯลฯ ซึ่งเป็นคำพูดประเภท ที่กระผมกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้
คำพูดประเภทที่ทำให้คนฟังเกิดความประทับใจ
- คำพูดเพื่อให้กำลังใจ เมื่อคนเราเกิดความรู้สึก ท้อแท้ ท้อถอย กับชีวิต บุคคลนั้นก็อยากที่จะฟัง
คำพูดประเภทให้กำลังใจ เพื่อทำให้ตนเองเกิดพลังต่างๆในการขับเคลื่อนชีวิตต่อไป
- คำพูดมีเสน่ห์ เป็นคำพูดที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่น “สวัสดีครับ/สวัสดี
ค่ะ” , “ ขอโทษครับ/ขอโทษค่ะ” , “ ขอบคุณครับ/ขอบคุณค่ะ”,” เสียใจด้วยครับ/เสียใจด้วยค่ะ” เป็นต้น
- คำพูดแบบนักการทูต เป็นคำพูดที่สร้างมิตร ลดศัตรู เป็นคำพูดที่ทำให้มีคนอยากคบค้าสมาคม
ด้วย ซึ่งการพูดแบบนักการทูต ต้องอาศัยศิลปะเข้ามาช่วย
- คำพูดเชิงบวก เป็นคำพูดในแง่บวก ซึ่งผู้พูดต้องเป็นบุคคลที่มีความคิดในแง่บวกก่อน จึงจะทำ
ให้การพูดในเชิงบวกเกิดประสิทธิภาพ
สำหรับการพูดประเภทที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจนี้ ผู้พูดสามารถฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้นได้เช่นกัน เพราะยิ่งผู้พูดสามารถปรับปรุงได้ดีขึ้นเท่าไร ผู้ฟังก็ยิ่งเกิดความรัก เกิดความศรัทธา เกิดความชื่นชอบ เกิดความเชื่อมั่นในตัวของผู้พูดมากยิ่งขึ้น
สรุป คำพูดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเราเป็นอย่างยิ่ง คนเราหากไม่มีปัญหาทางด้านการพูดหรือมีความพิการพูดไม่ได้ คนเราก็มีความจำเป็นต้องใช้คำพูดในทุกๆวัน ทุกสถานที่ ฉะนั้น คงขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะเลือกใช้คำพูดประเภทไหน เพราะคำพูดทำให้บุคคลหนึ่งๆประสบความสำเร็จ และ ก็เป็นคำพูดเช่นกันที่ทำให้บุคคลหนึ่งๆ เกิดความล้มเหลวได้
...
  
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เรื่องของการสื่อสารภายในองค์กร....การพูดนับว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กรอย่างหนึ่ง ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ความสามัคคีกัน การพูดมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น
ซึ่งรูปแบบการพูดที่มักใช้กันภายในองค์กรต่างๆ มีดังนี้
1.การประชุม
2.การสัมภาษณ์
3.การออกคำสั่ง
4.การสนทนากัน
5.การพูดทางโทรศัพท์
6.การนำเสนอรายงาน การมอบหมายงาน
1.การประชุม การทำงานภายในองค์กร มักจะต้องมีการประชุมร่วมกัน เพราะการประชุมมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ , ทำให้มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น , การหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน , การรับทราบข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ฯลฯ
ลักษณะของการประชุมที่ดี
1.1.ประธานในที่ประชุมควรวางตัวให้เป็นกลาง จับประเด็นได้ดี แก้ไขปัญหาในที่ประชุมโดยไม่ให้กระทบกับความรู้สึกของผู้เข้าร่วมประชุม
1.2.มีการคัดเลือกบุคคลที่เข้าร่วมประชุม การประชุมหลายแห่ง มักมีผู้เข้าร่วมประชุมเยอะมาก แต่ผู้เข้าร่วมประชุม โดยมากมักไม่ได้มีหน้าที่ ภาระงาน ที่เกี่ยวข้องกับกับการประชุมเลย จึงทำให้ประสิทธิภาพของการประชุมลดลง ฉะนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมประชุมจึงมีความสำคัญ เพราะทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นอันมาก
1.3.ระยะเวลาในการประชุม ไม่ควรนานจนเกินไป ควรกำหนดจำนวนครั้งและความถี่
1.4.ห้องประชุม อุปกรณ์การสื่อสารในห้องประชุม ห้องประชุมก็ไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป ควรพิจารณาให้เหมาะสมระหว่างขนาดของห้องกับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
1.5.ห้วข้อ วาระการประชุม ควรเตรียมมาให้พร้อม เพราะหากไม่ได้เตรียมวาระการประชุม การประชุมก็จะวกไปเวียนมา ย้อนไปย้อนมา ทำให้เสียเวลาเป็นอันมาก
สำหรับการพูดในที่ประชุม ประธานควรกล่าวเปิด ปิดการประชุม , ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น , สรุปประเด็น สรุปผลต่างๆ ได้ ฯลฯ
การประชุมหลายแห่ง ใช้เวลามาก บรรยากาศในการประชุมเกิดปัญหา จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับตัวประธานในการที่จะต้องแก้ไขปัญหา เช่น มีการขัดจังหวะกัน , มีการด่าทอกัน , มีการเปลี่ยนเรื่องเปลี่ยนประเด็น , มีการพูดจาหัวเราะเยาะกัน เป็นต้น
2.การสัมภาษณ์ เป็นการพูดอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น การสัมภาษณ์ในการจ้างงาน , การสัมภาษณ์ในการแก้ไขปัญหา , การสัมภาษณ์ในการออกจากงาน , การสัมภาษณ์ในการประเมินผลงาน เป็นต้น สำหรับ การสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เป็นการสื่อสารโดยการพูดภายนอกองค์กร
3.การออกคำสั่ง เป็นการพูดระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในการสั่งงาน ซึ่งบางกรณีก็เกิดการผิดพลาดได้ ฉะนั้น เมื่อออกคำสั่งไปแล้ว ก็ควรให้ผู้รับคำสั่งพูดทวน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ปัญหาในการสื่อสารก็จะลดน้อยลง
4.การสนทนากัน เป็นการพูดคุยกันในงานและอาจจะไม่เกี่ยวกับงานที่ตนเองทำ เป็นการพูดอย่างไม่เป็นทางการ อีกทั้งเป็นไปโดยธรรมชาติ
5.การพูดทางโทรศัพท์ เราอาจพูดสั่งงานหรือติดตามงานภายในองค์กรหรือพูดคุยกัน ผ่านทางโทรศัพท์ได้ เนื่องจากองค์กรใหญ่ๆหลายแห่ง มีพื้นที่กว้าง มีตึกที่อยู่ห่างไกลกัน ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
6.การนำเสนอรายงาน การนำเสนองานเป็นการพูดเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ อาจจะมีลักษณะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
ทั้ง 6 ประเภทนี้ จึงเป็นการสื่อสารโดยการพูดภายในองค์กร ที่มีความสำคัญ หากผู้ใดทำงานอยู่ภายในองค์กรก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตรงกันข้าม หากว่าท่านต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ท่านมีความจำเป็นจะต้องฝึกฝน พัฒนาตนเอง ในการพูดในรูปแบบต่างๆข้างต้นนี้
...
  
การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การสัมภาษณ์ (Interview) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง การพบปะวิสาสะกันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ฝ่ายหนึ่งต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อนำไปเผยแพร่(ราชบัณฑิตยสถาน.2525:809)
การพูดเพื่อการสัมภาษณ์ มักจะมีองค์ประกอบดังนี้
1.ผู้สัมภาษณ์
2.ผู้ให้สัมภาษณ์
3.คำถามในการสัมภาษณ์
4.สถานที่ที่ทำการสัมภาษณ์
5.วันเวลาในการสัมภาษณ์
การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์ ผู้พูดให้สัมภาษณ์ที่ดีควรมีลักษณะเฉพาะตัวดังนี้
1.มีการเตรียมตัว เตรียมข้อมูล ความรู้ แนวทางในการตอบปัญหา ถ้าเป็นไปได้ควรทำการบ้าน โดยการรวบรวมคำถามอีกทั้งควรเตรียมคำตอบต่างๆเป็นอย่างดี การรวบรวมคำถามและการคาดเดาว่าอีกฝ่ายจะถามอะไรบ้าง เสมือนหนึ่งว่า “ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” จะทำให้เราตอบคำถามได้เป็นอย่างดี
2.มีบุคลิกภาพที่ดี กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ่งตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่เชื่อมั่น พูดเต็มเสียง เต็มอารมณ์ เต็มอาการ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา
3.เรียนรู้ การจับประเด็น แล้ว พยายามตอบปัญหาให้ตรงประเด็นกับเรื่องที่ถูกถาม
4.ต้องคิดก่อนพูดทุกครั้ง คนโง่ “ มักเอาหัวใจไว้ที่ปาก” แต่คนฉลาด “มักเอาปากไว้ที่หัวใจ”
5.ตั้งใจฟังคำถาม หากได้ยินไม่ชัดเจนหรือไม่เข้าใจคำถาม ก็ควรขอให้ผู้สัมภาษณ์ถามทวนอีกครั้ง
6.ใช้ภาษากายช่วยในการตอบคำถาม เช่น สายตาควรมองไปที่กล้องโทรทัศน์ หรือ มองไปยังผู้สัมภาษณ์ ควรใช้มือประกอบบ้าง อีกทั้งควรยิ้ม หรือหัวเราะ เพื่อสร้างความเป็นกันเอง
7.ผู้ให้สัมภาษณ์ ควรศึกษาและทำความเข้าใจคำถามในลักษณะต่างๆ เช่น คำถามปลายเปิด,คำถามปลายปิด,คำถามชี้นำ,คำถามทวน,คำถามหยั่งเชิง เป็นต้น
8.มีไหวพริบปฏิภาณ คนที่จะพูดให้สัมภาษณ์ได้เป็นอย่างดี คนนั้นจะต้องมีไหวพริบปฏิภาณเพราะบางคำถาม เราไม่สามารถคาดเดาได้หรือเราไม่รู้จริงๆ แล้วเราจะต้องตอบอย่างไรเพื่อแก้สภานการณ์เฉพาะหน้า
9.เป็นคนที่ตรงต่อเวลา เมื่อถูกนัดสัมภาษณ์แล้ว ควรไปตามวันเวลาและสถานที่ที่ได้นัดหมายไว้
10.หากเป็นการสัมภาษณ์ผ่านสื่อทางโทรศัพท์ หรือ สื่อทางอินเตอร์เน็ต ก็ควรตรวจเช็คอุปกรณ์ โดยเฉพาะเรื่องของเสียงและภาพให้เรียบร้อยก่อนที่จะสัมภาษณ์
ดังนั้น ผู้ที่จะพูดเพื่อให้สัมภาษณ์ได้ดี ควรจะต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ มีประสบการณ์ในการถูกสัมภาษณ์บ้างจึงจะทำให้ตอบคำถามได้ดียิ่งขึ้น
...
  
การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การแข่งขันชิงตำแหน่งทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย การพูดหาเสียงเลือกตั้งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งที่นำพาบุคคลนั้นเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง
ผู้นำระดับโลก อย่าง ลินคอล์น(อดีตผู้นำสหรัฐ),ฮิตเล่อร์(อดีตผู้เยอรมันนี),มุสโสลินี(อดีตผู้นำอิตาลี) ผู้นำเหล่านี้ล้วนแต่มีความสามารถในการพูดหาเสียงเลือกตั้งกันทั้งสิ้น
นักการเมืองบ้านเราหลายคนที่พูดหาเสียงเลือกตั้งเก่งมักจะมีโอกาสเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง มากกว่านักการเมืองที่พูดไม่เก่ง เช่น คุณชวน หลีกภัย , คุณสมัคร สุนทรเวช , นายควง อภัยวงศ์ , มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ฯลฯ
ยิ่งในยุคปัจจุบัน ยุคแห่งข้อมูล ยุคของการสื่อสาร เมื่อมีการเลือกตั้งกันทุกครั้ง ก็มักจะเปิดโอกาสให้นักการเมืองได้มีโอกาสพูดหาเสียงผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ , วิทยุ , Youtube , เว๊ปไซค์ต่างๆ ฯลฯ
หากว่านักการเมืองท่านใดมีความสามารถในการพูด มีวาทศิลป์ มีสำนวนโวหาร มีลีลาการพูดดี พูดจาได้คล่องแคล่ว ก็ยิ่งจะเป็นที่ถูกใจของประชาชนโดยมากและเรียกคะแนนนิยมได้อีกด้วย
การพูดหาเสียงเลือกตั้ง จึงเป็นทั้งศาสตร์ที่สามารถเรียนรู้กันได้และเป็นทั้งศิลป์คือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งการพูดหาเสียงทางการเมืองมีเทคนิคที่หลากหลาย เช่น
- การใช้บทกลอนขึ้นต้นพี่น้องที่เคารพ มีกลอนบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ ถึงฟ้ามืดยังมีดาวบนราวฟ้า ช่วยส่องทางเบื้องหน้าให้สดใส พี่น้องวีรชนส่วนใหญ่ได้ล่วงลับไป บัดนี้เสรีธรรมพร้อมที่จะสดใสขึ้นทดแทน”พี่น้องครับ
- การใช้ถ้อยคำสำนวนที่ชักจูงจูงใจ “ พี่น้องที่เคารพครับ พี่น้องมีความมั่นใจในนโยบายที่เป็นรูปธรรม จับได้ ต้องได้ วัดได้ นับได้ หรือยังครับ ”
- การพูดเปรียบเทียบ “ พี่น้องครับ ผมจะอุปมาอุปมัยให้พี่น้องเข้าใจง่ายๆ ว่า การจราจรในกรุงเทพฯ ตอนนี้ก็เหมือนกับท้องสนามหลวงซึ่งมีพื้นที่ 63 ไร่ ใครจะจอดรถในท้องสนามหลวงก็เข้าไปจอดตามใจชอบ จะมีรถเข้าไปจอดกันได้ซัก 2,000 คัน ก็เต็มแล้ว รถก็ติดขัด เข้าไม่ได้ออกไม่ได้ ยุ่งกันไปหมดเหมือนกับจราจรที่จลาจลที่กรุงเทพฯ เวลานี้”
การพูดหาเสียงเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ สำหรับผู้ที่เสนอตัวหรือผู้ที่ต้องการเล่น
การเมือง ถ้าท่านเป็นคนพูดเก่งโอกาสในการได้รับเลือกตั้งยิ่งมีมากขึ้น ซึ่งการพูดหาเสียงอาจจะพูดหาเสียงแบบเดี่ยวและการหาเสียงแบบรวม
การพูดหาเสียงแบบเดี่ยว ท่านอาจจะต้องเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ เช่น หมู่บ้าน อำเภอ ชุมชนต่างๆ วัด ตลาดสด ฯลฯ ยิ่งในช่วงวันใกล้จะเลือกตั้ง ยิ่งต้องอาศัยการพูดหาเสียงหลายจุดและต้องพูดติดต่อกันหลายวัน ทำให้นักการเมืองหลายคนเกิดอาการเจ็บคอหรือป่วยได้
การพูดหาเสียงแบบรวม เป็นกรณีที่ กกต.(สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง)จัดเวทีให้ปราศรัยรวม หรือ กรณีที่พรรคการเมืองได้นำทีมปราศรัยใหญ่มาช่วยหาเสียง
ถ้าพื้นที่เลือกตั้งเป็นพื้นที่ใหญ่ กว้างขวาง ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปหาเสียงได้อย่างทั่วถึง เราก็อาจจะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น การบันทึกเสียงของตัวเองแล้วไปเปิดให้ประชาชนในพื้นที่ฟังหรือการถ่ายทอดสดการปราศรัยหาเสียง หลายจุดพร้อมๆกันโดยใช้ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
สำหรับแนวทางการหาเสียงทางการเมือง นักพูดทางด้านการเมือง ควรทำการสำรวจในพื้นที่ว่าประชาชนในพื้นที่มีปัญหาอะไร แล้วจึงเลือกและเน้นการพูดหาเสียงในประเด็นดังกล่าว เช่น ยุคปัจจุบันอาจจะต้องพูดเรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องปากท้อง , ยุคอดีตที่มีการปฏิวัติ รัฐประหาร บ่อยๆ อาจพูดเน้นประเด็นของประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง , บางยุคบางสมัยอาจพูดเน้นเรื่องปัญหาการทุจริต การโกงกิน เป็นต้น

...
  
เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก ใครที่เก่งภาษาอังกฤษย่อมสร้างโอกาสและมักจะได้เปรียบคนอื่นๆ ไม่จะเป็นเรื่องของหน้าที่การงาน การติดต่อสื่อสาร โอกาสในการสอบชิงทุนการศึกษาเพื่อไปต่างประเทศหรือการสอบไปดูงาน ต่างประเทศ หรือทำวิจัย ทดลอง ค้นคว้า ในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในสอบแข่งขัน
ยิ่งปัจจุบันประเทศไทย ได้เข้าสู่ AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ. ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน. ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าให้ใช้ภาษาอาเซียนในการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งภาษาอาเซียนก็คือภาษาอังกฤษนั่นเอง
สำหรับบทความนี้ กระผมมีเทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษให้ได้ผล มาฝากกัน คือทำอย่างไรถึงจะพูดภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้จะสังเกตดูว่า ประเทศไทยของเรา เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อนุบาลจนถึงเรียนในมหาวิทยาลัย แต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษให้ได้ผลมีดังนี้
1. ฟัง ฟัง ฟัง คือ ฟังภาษาอังกฤษให้มากๆ ฟังทุกๆวัน ฟังในทุกที่ที่โอกาสอาจจะฟังครั้งละ 5 นาที 10 นาที 15 นาที ฟังในทุกสถานที่ เช่น เวลาอาบน้ำ ก็เปิดภาษาอังกฤษฟัง เวลาเดินออกกำลังกายก็ใช้หูฟัง ฟังภาษาอังกฤษไปด้วย ถ้าทำได้เช่นนี้ เราจะสามารถฟังภาษาอังกฤษสะสมได้วันละอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ทีเดียว
2. ฟังซ้ำไป ซ้ำมา ให้เกิดการจดจำและเกิดทักษะในการเข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้น เช่นเราฟังนิทานภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ เราฟังครั้งแรกเราอาจจะไม่เข้าใจ 100 % เราอาจจะเข้าใจเพียง 30% แต่ถ้าเราฟังครั้งที่ 2 เราอาจจะจำเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น และความเข้าใจก็จะเพิ่มขึ้นจาก 30%เป็น 35% และถ้าเราฟังครั้งที่ 3,4,5,6,7,8,9,10…………เ ราก็จะยิ่งเข้าใจเรื่องราวชัดเจนขึ้นเรื่อยๆจนถึง 100 %
3. ฟังเรื่องที่ง่ายๆไปหาเรื่องที่ยากๆ เช่น ฟังนิทานสำหรับเด็กก่อน เพราะใช้คำศัพท์ที่ง่าย ถ้าเราเริ่มต้นจากการฟังข่าวภาษาอังกฤษซึ่งมีศัพท์ที่ยากหรือมีศัพท์เฉพาะเยอะ เราก็อาจจะเรียนรู้ได้ช้าลง เหมือนกับการยกน้ำหนัก เราควรที่จะเริ่มจากน้ำหนักที่น้อยก่อนแล้วเพิ่มจำนวนน้ำหนักขึ้นไปทีละนิด ถ้าเราเริ่มจากการยกน้ำหนักที่มีน้ำหนักมากเราก็จะยกมันไม่ไหว
4. ฟังเรื่องราวที่สามารถนำเอาไปใช้ในการสนทนาภาษาอังกฤษได้จริงๆ ไม่ควรฟังหรืออ่านหนังสือ ตำรา เรียนซึ่งไม่สามารถช่วยทำให้เราสนทนาภาษาอังกฤษได้ดี เพราะในตำราเรียนเป็นรูปแบบที่ตายตัว แต่ในความจริงเราสามารถตอบได้หลายคำตอบ เช่น คนที่ 1 Good morning.How are you? คนที่ 2 I am fine. Thank you and you. คนที่ 1 I am fine.ประโยคพวกนี้พวกเราคงฟังกันคุ้นหูเนื่องจากอยู่ในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่แต่ในความเป็นจริง เราสามารถตอบได้หลายคำตอบ เช่น คนที่ 1 Good morning.How are you? คนที่ 2 I am good. I am sick. I am great.I am very well today. I am tired. I am hungry.I am not so good today.เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าท่านอยากพูดอังกฤษได้ ท่านจะต้องฟังภาษาอังกฤษให้มาก เพราะการพูดมาจาก
การฟัง เมื่อท่านฟังภาษาอังกฤษได้หรือรู้ว่าเขาพูดอะไร ท่านก็จะเข้าใจและท่านก็จะเริ่มขยับปากพูดได้ทีละนิดทีละหน่อย เมื่อท่านฟังภาษาอังกฤษเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ขั้นต่อไปกระผมแนะนำให้เริ่มอ่านภาษาอังกฤษ เพราะจะทำให้เรารู้ศัพท์เพิ่มมากขึ้นและทำให้เราพูดภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น
การอ่านภาษาอังกฤษก็ใช้หลักการเดียวกันกับการพูดก็คือ อ่านทุกเวลาที่มีโอกาส อ่านซ้ำไป
ซ้ำมาหลายๆรอบ(ซึ่งสิ่งที่เราฟังและซึ่งที่เราอ่านควรเป็นเรื่องที่เราชอบ) อ่านจากหนังสือที่ง่ายๆไปหนังสือที่ยาก(เช่นอ่านนิทานสำหรับเด็กก่อน ไม่ควรอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก่อนในระยะที่ฝึกฝนใหม่ๆ) และไม่ควรอ่านหนังสือเรียน หนังสือตำราเรียนภาษาอังกฤษ(เพราะพวกเราอ่านมากแล้วในโรงเรียนในมหาวิทยาลัยแต่ก็ลืมไปเกือบหมด) ควรอ่านหนังสือจำพวกนิทานหรือหนังสือที่ช่วยทำให้การพูดภาษาอังกฤษได้ดี
...
  
การพูดทางการเมือง
การพูดทางการเมือง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดทางการเมือง เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะการพูดทางการเมือง หากเรานำไปใช้ยังสถานที่หนึ่งแล้วได้ผล แต่เราอาจจะนำเอาคำพูดไปใช้อีกที่หนึ่งไม่ได้ผลก็ได้ อีกทั้งเวลาเปลี่ยนไป การพูดทางการเมืองก็ต้องมีการปรับประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์นั้นๆ
การพูดทางการเมือง มีทั้งการพูดก่อนหาเสียง ในระหว่างการหาเสียง การพูดหลังหาเสียง การพูดให้สัมภาษณ์นักข่าว และการพูดในรัฐสภา สำหรับการพูดในรัฐสภา ผู้พูดจะต้องเรียนรู้เรื่องการตั้งกระทู้ การตอบกระทู้ การอภิปราย การมีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการเรียนรู้กฎระเบียบต่างๆในการประชุม
การปราศรัยทางการเมืองนั้น ถ้าจะพูดไปแล้ว เป็นเพียงการปูความศรัทธาของผู้เลือกอย่างผิวเผิน เพราะถ้าเราจะปราศรัยทางการเมืองได้ดีพิเศษ สุดยอดสักเพียงใด ถ้าคนจะไม่เลือกเราเสียอย่างหรือตั้งใจจะไม่เลือกเสียแล้ว ยากมากเลยครับ ที่จะโน้มน้าวคนให้มาเลือกเรา เนื่องจากคนที่ไปฟังเราหาเสียงนั้นมีอยู่ 3 พวกก็คือ พวกที่ 1 พวกเตรียมไปเลือกเราอยู่แล้วหรือมีความตั้งใจจะเลือกอยู่แล้ว หากว่าเราพูดได้ดีเขาก็ยิ่งเกิดความเชื่อมั่น เกิดความศรัทธา พวกที่ 2 พวกตั้งใจจะไม่เลือกเราอยู่แล้ว ถึงเราจะพูดดีอย่างไร เขาก็จะไม่เลือก พวกที่ 3 พวกที่กลางๆ คือพวกที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกใคร หากว่าเราพูดได้ดี เขาก็จะมีโอกาสเปลี่ยนใจมาเลือกเรา แต่หากเราพูดไม่ดี เขาก็จะเปลี่ยนใจไปเลือกคนอื่น
การพูดทางการเมือง กับ การวิเคราะห์พื้นที่เลือกตั้ง การพูดทางการเมืองในชนบทกับในเมืองใหญ่ๆ มีความแตกต่างกัน อีกทั้งการหาเสียงในหมู่บ้านก็มีความแตกต่างกันอีก เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯ ในการหาเสียงเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัด หากท่านไม่สังกัดพรรคใดๆ โอกาสที่จะได้รับการเลือกตั้งน้อยมากถึงแม้ท่านจะพูดเก่งสักเพียงใด แต่หากว่า ท่านสังกัดพรรคการเมืองที่ดีแล้ว ท่านพูดเก่งด้วย โอกาสจะได้รับการเลือกตั้งมีอยู่สูงมาก สำหรับการหาเสียงในเมืองหรือเมืองใหญ่ ส่วนใหญ่จะใช้เวทีการปราศรัยใหญ่ มากกว่าเดินตามห้องแถว เพราะเราจะเดินทุกห้องก็คงยากเนื่องจากเวลามีจำกัด
การแต่งกลอนในการพูด ก็มีความสำคัญเพราะจะทำให้คนจดจำได้ง่ายขึ้น เช่น
อยากได้ผู้แทน เป็นคนเก่ง ต้องเลือกเบอร์ 5
อยากได้ผู้แทน เป็นคนดี ต้องเลือกเบอร์ 5
อยากได้ผู้แทน เป็นที่พึ่ง ต้องเลือกเบอร์ 5
อยากได้ผู้แทน ใช้คล่อง ต้องเลือกเบอร์ 5
อยากได้ผู้แทน มีฝีมือ ต้องเลือกเบอร์ 5
ฉะนั้นการแต่งกลอนเพื่อนำไปพูดประกอบการหาเสียง จะสร้างการจดจำเบอร์ของผู้สมัครได้ง่าย อีกทั้งประชาชนในพื้นที่จะจำติดปาก
การพูดทางการเมืองที่ดี ต้องมีการพูดที่มาจากใจ มีความจริงใจ มั่นใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง แต่อย่าย่ามใจ ชะล่าใจ อีกทั้งไม่ควรพูดโกหก วิธีการไม่โกหก ก็คือ เรื่องใด ถ้าจะพูดโกหก ก็ไม่ต้องพูด เฉยเสีย นิ่งเสีย เพราะการพูดโกหก จะมีผลเสียมากกว่าผลดี และผู้พูดทางการเมืองก็จะจำไม่ได้ว่า เรื่องใดได้พูดโกหกออกไป ดังคำกล่าวของ ลินคอล์นที่ว่า “ ท่านอาจโกหกคนบางคนได้ตลอดเวลา ท่านอาจจะโกหกคนทุกคนได้ตลอดเวลา แต่ท่านไม่สามารถโกหกคนทุกคนได้ทุกเวลา ” ถ้าเช่นนั้น นักพูดทางการเมืองที่ดีจึงไม่ควรโกหกประชาชน
ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นนายกรัฐมนตรี นักข่าวถามว่า “ ท่านครับ มีข่าวลือว่าท่านจะมีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีหรือครับ” หากเป็นความจริงแล้ว ท่านปฏิเสธว่า “ ไม่มี ” แต่ อีกไม่กี่วันท่านมีการปรับเปลี่ยน ประชาชนก็จะไม่ศรัทธาในคำพูดของท่าน แต่ ถ้าท่านบอกว่า “ จะมีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีอีก สองวันข้างหน้า” ก็จะเกิดความวุ่นวาย เกิดความขัดแย้งภายในรัฐบาลได้ ฉะนั้น หากท่านเป็นนักพูดทางการเมืองที่ดี ท่านจะพูดหาทางออกอย่างไร แต่มีนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งซึ่งกระผมไม่ขอเอ่ยนามกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “ เอาข่าวมาจากไหน ” นักข่าวตอบว่า “ ข่าวลือครับท่าน” นายกรัฐมนตรีท่านนั้นตอบกลับทันทีว่า “ อ้อ ข่าวลือหรือ ข่าวลือมันก็คือข่าวลือ” เราจะเห็นได้ว่า นายกรัฐมนตรีท่านนี้ ไม่ได้ตอบว่า มีการปรับหรือไม่มีการปรับรัฐมนตรี อีกทั้งไม่ได้โกหกด้วย
ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง ในสมัยหนึ่ง มีข่าวว่า มีนักบินคนหนึ่งเคยเห็นหลวงปู่แหวนลอยอยู่บนท้องฟ้า จึงมีคนไปถาม หลวงปู่แหวนว่า “ หลวงปู่ หลวงปู่เหาะได้หรือ” ถ้าหลวงปู่บอกว่า “ เหาะได้” ก็จะเข้าข่ายอวดอุตตริมนุษยธรรม แต่ถ้าบอกว่า “ เหาะไม่ได้” ทั้งที่ เหาะได้ ก็จะเข้าข่าย มุสา หลวงปู่ตอบว่า “อาตมาไม่ใช่นกเนี่ย ” ผิดไหมไม่ผิด เพราะหลวงปู่แหวนไม่ใช่ นก เป็นต้น






...
  
การพูดกับการบริหาร
การพูดกับการบริหาร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดสำหรับนักบริหารมีความสำคัญมาก เพราะคนเราไม่สามารถทำอะไรคนเดียวได้ทุกอย่าง เช่น การสร้างบ้าน การเปิดร้านอาหาร การทำโรงงาน การสร้างตึก ฯลฯ แต่การจะทำสิ่งเหล่านี้ได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลอื่นๆเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากคนเรามีข้อจำกัดต่างๆมากมาย เช่น เรื่องของเวลา เรื่องของสถานที่ เรื่องของความสามารถ เรื่องของสติปัญญา เรื่องของสุขภาพกำลังของร่างกาย เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
การสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการใช้คำพูด คำพูดเป็นการสื่อสารที่ง่ายกว่าการสื่อสารประเภทอื่น ไม่ว่าการสื่อสารโดยการเขียน การสื่อสารโดยใช้ภาษากายหรือภาษาท่าทาง ผู้บริหารจึงต้องใช้การพูดมากกว่าการสื่อสารประเภทอื่นๆ ดังคำกล่าวที่ว่า “ ผู้บริหารมักใช้ปากในการทำงาน ” เช่น หากท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะต้องร่วมประชุมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมอยู่บ่อยๆ หากท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะต้องกล่าวเปิดปิดงานต่างๆอยู่เป็นประจำ หากท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะต้องให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆอยู่เป็นนิจ หากท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะต้องชี้แจง ท่านจะต้องสอนงานลูกน้องอยู่เสมอ ฯลฯ
การพูดจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจำเป็นจะต้องฝึกฝนและฝึกปฏิบัติ เพราะหากผู้บริหารคนใดมีความสามารถในการพูดก็จะทำให้ลูกน้องเกิดการประสานงานกัน เกิดความร่วมมือกันในการทำงาน ผลที่ตามมาคือ ในองค์กรนั้นๆจะมีผลผลิตเป็นจำนวนมากมาย แต่ตรงกันข้าม หากผู้บริหารพูดไม่เป็น พูดไม่ดี ก็จะทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากลูกน้องหรือลูกน้องให้ความร่วมมือ แต่จะทำงานแบบไม่เต็มใจ ทำงานแบบไม่เต็มกำลังความสามารถหรือออมแรง ออมความสามารถต่างๆในการทำงาน จึงทำให้ผลผลิตที่ออกมาได้ไม่ดีมากนัก
ผู้บริหารระดับโลก มักจะสื่อสารโดยการพูดได้ดีกันทุกคน เช่น ผู้บริหารระดับประธานาธิบดีเกือบทุกๆคนของสหรัฐ , ผู้บริหารระดับนายกรัฐมนตรีของหลายประเทศ เขามักจะสื่อสารโดยการพูดให้ประชาชนเข้าใจในสิ่งที่เขากำลังจะทำ ไม่ว่าจะเป็น JFK (จอห์น เอฟ เคเนดี้ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ) , ฮิตเลอร์ (อดีตผู้นำของเยอรมัน) , โจเซฟ สตาลิน(ผู้นำของโซเวียต) เป็นต้น คนเหล่านี้คนส่วนใหญ่ยอมรับกันว่า พูดได้ดีมาก ดังปรากฏในคำพูดสุนทรพจน์ต่างๆของบุคคลเหล่านี้
ผู้บริหารกับการพูดครองใจคน เคยมีเรื่องเล่าในอดีตเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่สนุกๆ มีนายทหารยศพลเอกคนหนึ่ง ต้องการแลกเหรียญเพื่อที่จะโทรศัพท์ แต่ไม่มีเหรียญ เมื่อเห็นพลทหารคนหนึ่งเดินมาจึงถามว่า “ น้อง น้องครับ มีเหรียญให้พี่แลกไหมครับ” พลทหารตอบว่า “ เดี๋ยวครับพี่ น่าจะมีครับ ขอค้นดูก่อน” เมื่อพลเอกได้ยินคำตอบของพลทหารก็ไม่พอใจเลยตอบกลับไปว่า “ เนี่ย พูดกับผมอย่างนี้ได้อย่างไร ผมยศพลเอกนะ เอาใหม่ ลองตอบใหม่ให้โอกาสอีกครั้ง ต้องทำความเคารพด้วย ” พลเอกจึงกล่าวถามใหม่ว่า “ น้อง มีเหรียญให้พี่แลกไหม ” พลทหารรีบยืนทำความเคารพด้วยความเข้มแข็งแล้วตอบกลับทันใดว่า “ ไม่มีครับ ท่าน” แล้วก็เดินจากไป สำหรับเรื่องเล่าเรื่องนี้ท่านคิดอย่างไรครับ
ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง ผู้บริหารบางคนจะใช้แม่บ้านไปชงกาแฟ ผู้บริหารบางคนพูดเป็น บางคนพูดไม่เป็น หากเป็นผู้บริหารที่พูดเป็น มักจะทำให้แม่บ้านเกิดความพอใจ เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ชงกาแฟให้ผู้บริหารทาน แต่หากผู้บริหารพูดไม่เป็น แม่บ้านก็คงต้องชงแต่จะชงด้วยความรู้สึกที่ไม่พอใจนัก เช่น ผู้บริหารที่พูดจาเป็นจะพูดออกมาลักษณะนี้ “ เนี่ยคุณนก ขอกาแฟสักแก้วครับ เอาแบบเมื่อวานนี้ อร่อยมาก แต่วันนี้ผมขอลดน้ำตาลลง 1 ช้อนครับ” หากพูดลักษณะนี้ แม่บ้านก็จะพอใจในการไปชงกาแฟให้ผู้บริหารคนนี้ แต่หากพูดอีกอย่างละ “ นก เอากาแฟมาถ้อยซิ วันนี้ช่วยใช้มือชงนะ ไม่ใช่ใช้ตีนชงอย่างเมื่อวาน แล้วลดน้ำตาลลง 1 ช้อน หวานอย่างกับอะไร ” หากพูดอย่างนี้ แม่บ้านก็คงต้องทำแต่ทำแบบไม่พอใจ จริงไหมครับ
สำหรับทัศนะหรือความคิดของผม ผู้บริหารที่พูดเก่ง พูดเป็น ไม่ใช่คนที่มีเทคนิคการพูดที่ดี ไม่ใช่ผู้บริหารที่ใช้วาทะ ถ้อยคำที่สวยหรู แต่เป็นผู้บริหารที่พูดออกมาจากหัวใจ ผู้บริหารที่เชื่อเรื่องนั้นจริงๆ และปฏิบัติตามคำพูดนั้นจริงๆ จนมีความรู้สึกเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองพูด จึงทำให้ผู้ตามหรือผู้ได้ยินเกิดความศรัทธาในสิ่งที่ผู้บริหารคนนั้นพูดออกไป เช่น หากผู้บริหารสอนลูกน้อง แนะนำลูกน้องว่า ไม่ควรมาทำงานสาย แต่ผู้บริหารมาสายตลอด อย่างนี้ลูกน้องจะเชื่อถือไหมครับ





...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.