หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  การอ่านกับการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  การเตรียมตัวก่อนสมัครเป็นนักการเมือง
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ลินคอล์น มีชื่อเต็มๆว่า อับราฮัม ลินคอล์น ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำระดับโลกคนหนึ่ง ลินคอล์น ไต่เต้าจากเด็กที่ยากจนคนหนึ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ด้วยวิถีทางที่สะอาดบริสุทธิ์ การเลิกทาสในอเมริกาคือผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เขาฝากไว้ให้แก่โลกใบนี้
ด้านการพูด ลินคอล์น เป็นนักพูดที่มีจุดเด่นอยู่หลายอย่าง เช่น การใช้อารมณ์ขันในการพูด การใช้ถ้อยคำภาษาที่ไพเราะกินใจ การพูดสุนทรพจน์ที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้คน สุนทรพจน์ที่โลกยกย่องว่าดีที่สุดของลินคอล์น ได้แก่ สุนทรพจน์ที่เก็ตติสเบอร์ก
สุนทรพจน์ที่เก็ตติสเบอร์ก เป็นการกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในพิธีฉลองสุสานแห่งเมืองเก็ตติสเบอร์ก ที่ที่ซึ่งเป็นสถานที่ในการทำสงครามกลางเมืองครั้งสำคัญในอดีตของสหรัฐ อีกทั้งสุนทรพจน์นี้มีความสั้นมากมีเพียงแค่ 10 ประโยค แต่มีความไพเราะ มีวรรคทอง มีชีวิต จนกระทั้ง มหาวิทยาลัย อ็อกฟอร์ด ต้องนำไปติดที่ผนังของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวอย่างว่าเป็นสุนทรพจน์ที่มีความไพเราะที่สุดสุนทรพจน์หนึ่งของโลก ซึ่งวรรคทองที่มีการปรับและประยุกต์ใช้ กล่าวอ้างกันอย่างแพร่หลายก็คือ การปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
วิธีการฝึกการพูดของ ลินคอล์น ลินคอล์น มักจะอ่านหนังสือออกเสียงที่ดังตลอดเวลา เพราะการอ่านหนังสือออกเสียง เป็นการฝึกการใช้เสียง การฝึกความชัดเจนของภาษา การฝึกพลังเสียง อีกทั้งยังทำให้เกิดความทรงจำที่ดีสำหรับเขาอีกด้วย
เขามักจะสะสม ภาษา ถ้อยคำ คำคม สุภาษิต ต่างๆ เพื่อนำเอาไปใช้ในการพูด โดยวิธีการบันทึก สิ่งต่างๆที่จะนำเอาไปใช้ในการพูดอยู่ตลอดเวลา หากมีเวลา โดยเฉพาะในระหว่างเดินทางไปเมืองต่างๆ โดยม้า เขามักจะมีการฝึกการพูดบนหลังม้าอยู่เป็นประจำ
เขาเป็นคนที่มีความพยายาม ทำอะไรไม่ทอดทิ้ง การฝึกการพูดก็เช่นกัน เขามักจะมีการฝึกการพูดโดยหาเวทีต่างๆ ในสมัยที่ทำงานรับจ้าง ช่วงพักกลางวัน เขามักจะเล่าเรื่องสนุกๆ ให้แก่บรรดาเพื่อนร่วมงานฟัง ทำให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลาย แต่นายจ้างมักจะไม่ค่อยชอบใจนัก ซึ่งเรื่องเล่าขำขันของเขามักนำมาจากหนังสือเช่น หนังสือ คำตลกคะนองของควิน เขาจะพยายามท่องจำจนขึ้นใจ แล้วนำมาเล่า
การใช้อารมณ์ขันในการพูด จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว เพราะการพูดโดยการใช้อารมณ์ขันมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง ช่วยให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดเกิดการผ่อนคลาย ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ช่วยให้มีเพื่อนมากขึ้น
การหาเสียงทางการเมือง ลินคอล์นได้สร้างความสำเร็จโดยการใช้อารมณ์ขันให้แก่พรรคการเมืองของเขาจนประสบความสำเร็จ เมื่อลินคอล์น เข้าสู่วงการทางการเมือง เขาก็มีความเจริญเติบโต ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในการแข่งขันทางการเมืองย่อมมีการโจมตีกัน กล่าวหากัน พรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม มักจะโจมตีพรรคที่เขาสังกัด พรรควิก(ปัจจุบันเป็นพรรคริปับลิกัน) ว่าเป็นพรรคของผู้ดี ชอบแต่งตัวหรูโอ่อ่า
ซึ่ง ลินคอล์น ก็ใช้อารมณ์ขันที่เขาถนัดตอบโต้คู่แข่งขันทางการเมืองด้วยอารมณ์ขันและคำพูดที่แหลมคมว่า
“ ข้าพเจ้ามาสู่รัฐอิลลินอยส์ใน ฐานะเด็กยากจนที่ไร้การศึกษา เป็นคนแปลกหน้า ไม่มีมิตรสหาย และเริ่มทำงานในเรือท้องแบนด้วยค่าจ้างเดือนละแปดเหรียญ และข้าพเจ้ามีกางเกงชนิดขาแคบอยู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น กางเกงซึ่งทำด้วยหนังกวาง เมื่อเจ้าหนังกวางเปียกน้ำแล้วถูกแดดแห้งมันจะทำการหดตัว ซึ่งเจ้ากางเกงหนังกวางนี้จะหดจนกระทั่งปลายขากางเกง อยู่ห่างกับปลายถุงเท้า หลายนิ้ว ปล่อยให้ขาส่วนนั้นไม่มีสิ่งใดปกปิด ครั้งเมื่อลำตัวของข้าพเจ้าสูงขึ้น ความเปียก ความแห้งนี่เอง ทำให้ขากางเกงสั้นเข้าและรัดขา ข้าพเจ้าแน่นเข้าทุกที จนกระทั่งทิ้งรอยช้ำเขียวไว้ที่ขาข้าพเจ้าตราบเท่าทุกวันนี้ นี่แหละท่าน ถ้าท่านเรียกการแต่งตัวเช่นนี้ว่าเป็นการหรูโอ่อ่า เป็นพวกผู้ดี ข้าพเจ้าจำต้องเรียกการกล่าวหานั้นว่าเป็นความผิดอย่างอุกฤษฏ์” (ท่านสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ ลินคอล์น มหาบุรุษ ของอาษา ขอจิตเมตต์ ได้เพิ่มเติม)
เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้ว ก็ต่างกันร้องตะโกน เป่าปาก ด้วยความพึงพอใจ หัวเราะสนุกสนาน กับการหาเสียงในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง
ฉะนั้น กระผมขอสรุปวิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น สั้นๆดังนี้ ลินคอล์น มีการฝึกการพูดด้วยตนเอง อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าอยู่บนหลังม้าขณะเดินทางไปต่างเมือง ลินคอล์น ชอบสะสม คำคม ข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการพูด และหากมีเวลา เขาจะคิดวรรคทองของเขาเอง ลินคอล์น ชอบอ่านหนังสือเสียงดัง เพราะเป็นการฝึกการใช้น้ำเสียง ฝึกใช้พลังเสียง ฝึกความเคยชินในการออกเสียง ลินคอล์น พยายามหาเวทีพูดให้แก่ตนเอง ตลอดเวลา เช่น พูดเล่าเรื่องสนุกๆให้แก่เพื่อนร่วมงานเวลาพักกลางวัน , พูดเล่าเรื่องสนุกๆให้แก่นายเจ้าและเพื่อนร่วมงานในชีวิตการเป็นลูกจ้างในการเดินเรือซึ่งต้องอยู่กลางทะเลเป็นเวลานานๆ ลินคอล์น ฝึกไหวพริบปฏิภาณในการใช้อารมณ์ขันในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการพูด เป็นต้น



...
  
วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
วิทยากร หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวการสำคัญ ที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะ เกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม จนกระทั่งผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้และสามารถจุดประกายความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของเรื่องหรือวิชานั้นๆ ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว วิทยากรจึงมีบทบาทที่สำคัญหลายประการเช่นอาจเป็นทั้งผู้บรรยาย ผู้สอน ผู้ฝึก พี่เลี้ยง ผู้กำกับการแสดง ตลอดจนผู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นต้น( สุวิทย์ มูลคำ,2543:24)
วิทยากร(Trainer) หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถตลอดจนการพูด หรืออภิปรายและใช้เทคนิคต่างๆ ในเรื่องนั้นๆ อันจะทำให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เกิดความรู้(Knowledge) ความเข้าใจ(Understanding) ทัศนคติ(Attitude) ความชำนาญ(Skill) จนสามารถทำให้ผู้รับการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ(นิพนธ์ ไทยพานิช.2535:251 อ้างถึงใน อ้อม ประนอม,2552:73)
วิทยากร หมายถึง คนที่จะต้องทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ และเข้าใจในเนื้อหาที่เข้ารับการฝึกอบรม จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ตลอดจนเกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในการทำงาน หรือการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น(ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์,2555:10)
สำหรับผมแล้ว วิทยากรน่าจะหมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยอาศัยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เกิดการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้นตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการในการจัดการฝึกอบรม
คุณสมบัติของวิทยากร
ในการจัดการฝึกอบรมที่ดีมีองค์ประกอบหลายๆอย่างที่ทำให้การฝึกอบรมประสบความสำเร็จ เช่น ห้องฝึกอบรม ระบบเสียง หลักสูตร เนื้อหา อาหาร การจัดรูปแบบโต๊ะเก้าอี้ ขนาดของห้องฝึกอบรม แต่ความจริงแล้วองค์ประกอบที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆก็คือตัวของวิทยากร ฉะนั้นวิทยากรจึงควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.ต้องมีความรู้ วิทยากรที่ดีต้องมีองค์ความรู้เนื้อหา ทั้งลึกและกว้าง ในหัวข้อที่ตนเองบรรยายหรือให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้ารับการอบรม วิทยากรต้องรู้จริง รู้ละเอียด อีกทั้งต้องตอบคำถามผู้เข้ารับการอบรมได้อย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล อ้างอิง อีกด้วย
2.ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี วิทยากรต้องมีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ น่าศรัทธา มีความเป็นกันเอง รู้จักการวางตัว ซึ่งบุคลิกภาพนี้ตัวของวิทยากรต้องมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งภายใน เช่น ความกระตือรือร้น ความเชื่อมั่นในตนเอง มีความมั่นคงทางด้านอารมณ์ ไหวพริบปฏิภาณ ฯลฯ และบุคลิกภาพภายนอก เช่น การแต่งตัว ท่าทาง การเดิน การยิ้ม ภาษากาย รูปร่างหน้าตา ฯลฯ
3.ต้องมีความสามารถหลายๆด้าน เช่น สามารถนำกิจกรรมเพื่อการศึกษาได้ มีความสามารถในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการนำเสนอ มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
4.ต้องมีประสบการณ์ วิทยากรที่ดีเมื่อไปบรรยายในหัวข้อใด ตัววิทยากรควรมีประสบการณ์ตรงในด้านนั้นด้วยถึงจะดี เพราะเวลาตอบคำถามหรือเวลาบรรยาย ก็สามารถนำเอาประสบการณ์จริงมาบอกเล่าได้ ไม่ใช่อ่านแต่ในหนังสือแล้วนำมาเล่า เพราะประสบการณ์ที่ตัววิทยากรได้สัมผัสของจริงจะทำให้ทั้งตัวของวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมเห็นภาพและเข้าใจถึงปัญหานั้นๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
5.ต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา การเตรียมความพร้อมมีความสำคัญมาก ดังเราจะเห็นได้ว่า นักมวยที่ต้องชกเพื่อชิงแชมป์โลก เขาต้องทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างหนัก บางคนใช้เวลาเป็นปีๆ เพื่อที่จะขึ้นไปชกชิงแชมป์โดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งการเตรียมพร้อมนี้ ควรรวมไปถึง การอ่าน การฟัง การเรียนรู้ การศึกษา สิ่งใหม่ๆเพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการบรรยาย
6.ต้องมีใจรัก วิทยากรเป็นอาชีพ อาชีพหนึ่งที่สามารถทำเป็นอาชีพ หาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ อีกทั้งวิทยากรมืออาชีพหลายๆท่าน สามารถสร้างความร่ำรวยจากอาชีพนี้ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ การประกอบอาชีพใดๆ สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ ผู้ประกอบอาชีพนั้นๆจะต้องมีใจรักในอาชีพของตนเองเสียก่อน เขาจึงจะประสบความสำเร็จในการทำงาน เพราะหากว่าเรามีใจรักในอาชีพวิทยากร เราจะมีความอดทน เราจะมีความตั้งใจ เราจะมีความพยายามและเราจะไม่เลิกล้มก่อนเวลาที่จะประสบความสำเร็จ ผู้เขียนก็เช่นกัน ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จในทุกๆเวที ยิ่งช่วงเป็นวิทยากรใหม่ๆ ต้องประสบกับความล้มเหลวอยู่หลายเวที หากว่ามัวแต่ท้อแท้ เลิกล้ม ไม่กล้า บัดนี้ก็คงไม่ได้ประกอบอาชีพวิทยากร
7.ต้องมีจรรยาบรรณของวิทยากร อาชีพทุกๆอาชีพควรมีจรรยาบรรณ อาชีพวิทยากรก็เช่นกัน ควรมีจรรยาบรรณ เพราะการมีจรรยาบรรณจะทำให้เป็นที่เคารพ เป็นที่น่าเชื่อถือ ศรัทธา แก่ผู้พบเห็น สำหรับจรรยาบรรณของวิทยากรไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนดังเช่นกฎหมาย แต่ก็ควรยึดหลักของความถูกต้อง ความมีศิลธรรม ความไม่เอาเปรียบ เช่น เมื่อรับงานบรรยายงานฝึกอบรมแล้วก็ควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ควรไปตามที่ได้ตกลงกันไว้ , เมื่อรับงานบรรยายงานแรกแล้ว ก็ไม่ควรรับงานที่สองในช่วงวันเวลาเดียวกัน แต่มีวิทยากรบางท่านเมื่อเห็นว่างานที่สองได้รับเงินเป็นจำนวนมากกว่างานแรก จึงโทรศัพท์ไปขอยกเลิกงานแรก เช่นนี้ก็ไม่ควรปฏิบัติ , วิทยากรที่ดีไม่ควรกล่าวโจมตีคู่แข่งหรือวิทยากรด้วยกัน เป็นต้น

...
  
การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ตอนก่อนกระผมได้เขียนเรื่องคุณสมบัติของวิทยากรในข้อที่ 5.ได้กล่าวไว้ว่า วิทยากรต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ในตอนนี้กระผมอยากที่จะขยายเนื้อหาในส่วนนี้ กล่าวคือการเตรียมความพร้อมของวิทยากรที่ดี จะต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
1.ต้องศึกษาหาความรู้ หาประสบการณ์อยู่เสมอ หมั่นอ่านหนังสือทุกวัน ไปฟังวิชาการ ไปเข้าร่วมอบรมสัมมนา ไปสนทนากับผู้ที่มีความรู้มากกว่า เพื่อที่จะได้เพิ่มพูนองค์ความรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเมื่อได้รับความรู้แล้ว ก็ควรลองหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง คือลองนำเอาความรู้นั้นๆไปใช้เพื่อที่จะทดสอบว่า เรานำไปใช้แล้วได้ผลเป็นเช่นไร
2.ต้องเก็บสะสม จดจำ ข้อมูลต่างๆ วิทยากรที่ดีเมื่อไปอบรม หรือ อ่านเจอสิ่งใหม่ๆ ก็ควรเก็บสะสมข้อมูลเอาไว้ หมั่นจดบันทึก ตัดเก็บข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ โดยจัดระบบการเก็บ มีการจัดข้อมูลเข้าแฟ้มให้เป็นหมวดหมู่ เช่น หมวดเกม หมวดนิทาน หมวดกลอน หมวดเพลง เป็นต้น
3.ต้องฝึกฝนการนำเสนออยู่เสมอ วิทยากรที่ดีควรหาเวทีให้แก่ตนเอง อย่าได้รังเกียจเวทีเล็ก เพราะวิทยากรมืออาชีพก็เริ่มต้นจากจุดเล็กๆมาก่อน ควรหาเวทีพูดบ่อยๆเพื่อฝึกฝนการพูด ฝึกฝนการนำเสนอ อีกทั้งการมีเวทีพูดมากๆจะทำให้ผู้พูดเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากยิ่งขึ้น
4.ต้องออกแบบหลักสูตรแปลกๆใหม่ๆ วิทยากรมืออาชีพและเป็นที่ต้องการของตลาดการฝึกอบรมมักจะนำเสนอหลักสูตรใหม่ๆออกมา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ไม่ค่อยจะเหมือนกับวิทยากรท่านอื่น เพราะหากว่านำเสนอหลักสูตรที่เหมือนกันกับวิทยากรท่านอื่น จำนวนมากๆ โอกาสที่จะได้รับงานบรรยายก็จะน้อยลงเนื่องจากมีคู่แข่งขันมากนั้นเอง
5.ต้องทำการบ้านเป็นอย่างดี เมื่อได้รับงานบรรยายแล้ว วิทยากรมืออาชีพต้องมีการเตรียมข้อมูลในการนำเสนอให้ตรงกับปัญหาขององค์กรนั้น ต้องมีการสอบถามข้อมูลว่าองค์กรมีปัญหาอะไร ต้องการให้เน้นในเนื้อหาใดเป็นพิเศษ รวมไปถึงสอบถามขนาดของห้องฝึกอบรมว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้ออกแบบกิจกรรมต่างๆเพื่อนำไปใช้ในห้องฝึกอบรมนั้น
6.ต้องเตรียมพร้อมทางด้านร่างกาย หลายท่านอาจแปลกใจว่า ไปเป็นวิทยากรนะไม่ได้ไปแข่งขันกีฬาใดๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว การเป็นวิทยากรมืออาชีพ บางหลักสูตรต้องบรรยาย 3-5 วัน ซึ่งจะต้องยืน ต้องเดิน ต้องวิ่ง ต้องพูด ทั้งวัน ถ้าหากว่าร่างกายมีสภาพที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง ก็จะทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น วิทยากรมืออาชีพจึงต้องรักษาสุขภาพร่างกาย ต้องมีการออกกำลังกายอยู่เสมอ ต้องมีการไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี


...
  
การเลือกวิทยากร
การเลือกวิทยากร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ในการฝึกอบรม การคัดเลือกวิทยากรมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันมาก ซึ่งการคัดเลือกวิทยากรต้องมีความพิถีพิถัน เป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวิทยากร ควรมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในหัวข้อหรือหลักสูตรที่จะให้บรรยาย ผู้จัดการฝึกอบรมควรที่จะมีการตรวจสอบ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ของวิทยากรว่ามีความรู้และประสบการณ์ตรงกับหัวข้อนั้นๆหรือไม่
2.มีความสามารถในการถ่ายทอด สอนเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย สอนสนุก ผู้ฟังสนใจฟัง ไม่น่าเบื่อ
3.มีชื่อเสียงในวงการหรือมีชื่อเสียงในหัวข้อที่บรรยาย ซึ่งผู้จัดการฝึกอบรม สามารถดูผลงานที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ บทความ ตำรา เอกสารต่างๆ
4.มีการบรรยายหรือมีการนำเสนอเนื้อหาได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการอบรม เพราะวิทยากรหลายท่าน มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น อีกทั้งมีการบรรยายที่สนุกสนาน ผู้ฟังชื่นชอบ แต่เนื้อหาที่บรรยายไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้
5.มีบุคลิกภาพที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีอายุ มีเพศ ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการให้บรรยาย
ทั้งนี้ ผู้จัดการฝึกอบรม ควรต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของวิทยากร โดยการสอบถามพรรคพวกเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการฝึกอบรมที่ตนเองรู้จักว่า คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรท่านนี้อยู่ในระดับใด อีกทั้งหากเป็นไปได้ควรขออนุญาตวิทยากรท่านนั้น ไปนั่งฟังการบรรยาย ไปสังเกตวิธีการสอน ก่อนที่จะเชิญไปสอนจริงๆ
...
  
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การฝึกอบรมเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนา การฝึกอบรมที่ดีจึงต้องสนองตอบกับวัตถุประสงค์ที่องค์กรต้องการ หากว่าการฝึกอบรมไม่สามารถสนองตอบกับวัตถุประสงค์ที่องค์กรต้องการ การฝึกอบรมนั้นๆ จะได้รับประโยชน์ที่ลดน้อยลง ซึ่งการฝึกอบรมมีประโยชน์ทั้งต่อหน่วยงาน ห้าง ร้าน องค์กร และการฝึกอบรมมีประโยชน์ต่อทั้งตัวของบุคลากร ซึ่งผู้เขียนของขยายรายละเอียด ตามข้อความด้านล่างนี้
การฝึกอบรมมีประโยชน์ต่อหน่วยงาน ห้าง ร้าน องค์กร ดังต่อไปนี้
1.ช่วยเพิ่มผลผลิต รายได้ กำไร ให้แก่หน่วยงาน
2.ช่วยลดค่าใช้จ่าย เวลา ลดอุบัติเหตุ ลดการลาออกของบุคลากร
3.ช่วยให้เกิดความสามัคคี ช่วยให้เกิดมีทิศทางในการทำงานไปในทิศทางอย่างเดียวกัน
4.ช่วยให้หน่วยงาน ขยายงาน ขยายสาขาได้มากขึ้น และรวดเร็วยิ่งขึ้น
5.ช่วยให้หน่วยงาน มีการเปลี่ยนแปลง มีการปรับตัวได้ทันต่อการแข่งขัน
การฝึกอบรมมีประโยชน์ต่อบุคลากร ดังต่อไปนี้
1.เสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ๆให้แก่บุคลากร
2.เป็นการลดความขัดแย้งและเพิ่มความสัมพันธ์อันดีของบุคลากร
3.ทำให้บุคลากรเกิดการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความกระตือรือร้นในงานที่ทำ
4.ลดการกำกับควบคุม การติดตามการทำงานของบุคลากร
5.เพิ่มศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดในการกล้าแสดงออกของบุคลากร

...
  
การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง...(ศิลปะการโต้วาที)
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การโต้วาทีถือได้ว่าเป็นการใช้วาทศิลป์ขั้นสูง ถามว่า “ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น” เพราะบุคคลที่จะโต้วาทีให้ได้ดี จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับการพูดหลายๆด้าน เช่น ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน , ต้องผ่านทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมาพอสมควร,ต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่องในการพูด,ต้องมีศิลปะในการใช้ท่าทางและศิลปะในการใช้วาทศิลป์ เป็นต้น
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน ในยุคปัจจุบันมีหนังสืออยู่มากมาย ตามท้องตลาด ซึ่งภายในหนังสือจะมีทฤษฏี มีหลักการ มีคำแนะนำต่างๆ ที่ทำให้ผู้อ่าน สามารถนำไปใช้ นำไปปฏิบัติได้ ซึ่งจะพูดไปแล้ว การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือเราสามารถอ่าน สามารถฟัง และเข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้ความรู้มา ศิลป์คือ การนำเอาศาสตร์ไปประยุกต์
ฉะนั้น บุคคลที่พูดเก่ง พูดเป็น มักจะมีศิลป์หรือมีศิลปะในการนำเอาคำพูดไปใช้ได้มากกว่า ดีกว่า เก่งกว่า บุคคลที่พูดไม่เป็น พูดไม่เก่ง
ต้องผ่านทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมาพอสมควร บุคคลที่จะโต้วาทีได้ จำเป็นต้องมีไหวพริบ ปฏิภาณในการพูด ซึ่งบุคคลที่จะมีไหวพริบ ปฏิภาณได้จำเป็นจะต้องมีการฝึกฝน การพูดต่อหน้าที่ชุมชนและการโต้วาทีบ่อยๆจะเป็นการฝึก ไหวพริบ ปฏิภาณได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้บุคคลที่จะโต้วาทีให้ได้ดี จำเป็นจะต้องมีชั่วโมงบิน หรือมีประสบการณ์ในการทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนอยู่บ้าง
ต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่องในการพูด ในการโต้วาที เราต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่อง ว่าขึ้นต้นเราจะขึ้นต้นอย่างไร ตอนกลางเราจะพูดอะไร และสรุปจบอย่างไร ถึงจะเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง
ต้องมีศิลปะในการใช้ท่าทาง บุคคลที่มีบุคลิกภาพดีมักจะได้เปรียบบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ดี นักโต้วาทีควรมีการฝึก การใช้ท่าทางประกอบการพูด เช่น การผายมือ , การชี้นิ้ว , การใช้เอกสารประกอบการพูด , การยืน ตลอดจนการใช้สีหน้า การเคลื่อนไหวต่าง เป็นต้น
ศิลปะในการใช้วาทศิลป์ การใช้คำพูด มีความสำคัญ การใช้คำพูดทำให้คนสนใจฟัง คำบางคำมีความหมายเหมือนกัน แต่ความเบา ความแรง ความสุภาพ ความเป็นกันเองต่างกัน และการใช้กับบุคคลมีความแตกต่างกัน เช่น กิน ทาน รับประทาน แดก ดื่ม ฉันท์ ฯลฯ
ตลอดการใช้ภาษาไทยควรให้มีความถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีการออกเสียง ร,ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน และควรงดเว้นคำฟุ่มเฟื่อย
ตลอดจนต้องรู้จักประเภทของการพูด ซึ่งประเภทของการพูดมี 3 ประเภทใหญ่ๆ 1.จูงใจ 2.บรรยายหรือบอกเล่า 3.บันเทิง สำหรับการพูดโต้วาทีจะอยู่ในการพูดประเภทที่ 1 คือการพูดจูงใจหรือพูดให้คล้อยตาม
เมื่อผู้พูด มีพื้นฐานข้างต้นแล้ว (ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน , ต้องผ่านทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมาพอสมควร,ต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่องในการพูด,ต้องมีศิลปะในการใช้ท่าทางและศิลปะในการใช้วาทศิลป์) ผู้พูดคนนั้นจะมีความสามารถในการพูดโต้วาทีได้เป็นอย่างดี


...
  
ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมมีความสำคัญมาก เพราะบ่อยครั้งในการจัดการฝึกอบรม ผู้ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นพิธีกรในการ กล่าวทักทาย กล่าวแสดงความต้อนรับ แนะนำวัตถุประสงค์หลักสูตร แนะนำกำหนดการในการฝึกอบรม แนะนำสถานที่ อีกทั้งการจัดการฝึกอบรมบางแห่ง เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมมีหน้าที่ที่จะต้องทำหน้าที่ กล่าวรายงานในพิธีเปิด แนะนำวิทยากร กล่าวขอบคุณวิทยากร
ฉะนั้น ในการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม หากต้องการฝึกหรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจึงจำเป็นจะต้องมี ทักษะในการเป็นพิธีกร และ มีทักษะในการพูดในโอกาสต่างๆ
ทักษะในการเป็นพิธีกร เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจะต้องดำเนินรายการในห้องฝึกอบรมตั้งแต่ต้นจนกระทั่งปิดการฝึกอบรม ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจะต้องทำหน้าที่เป็นพิธีกร โดยพิธีกรที่ดีจะต้องมีทักษะต่างๆดังต่อไปนี้
1.ต้องทำการบ้านหรือเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี มีการเขียนสคิปในการพูด รวมไปถึงเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ต้องมีการฝึกซ้อมการพูดตามสคิปมาบ้าง
2.ต้องมีทักษะในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนอยู่บ้าง เช่น การถือไมโครโฟน การยืน การแสดงท่าทางในการพูด
3.ต้องรู้ลำดับขั้นตอนของงานในการฝึกอบรม ว่ากำหนดการในการอบรมมีอะไรบ้าง ใครเป็นคนมาเปิดการฝึกอบรม ใครจะมาปิดการฝึกอบรม วิทยากรมีทั้งหมดด้วยกันกี่คน
4.ต้องมาถึงงานก่อนเวลา ทำไมต้องมาก่อนเวลา มาเพื่อเตรียมความพร้อมของตนเองและมาเพื่อตรวจสอบดูความพร้อมของแสง สี เสียง และดูความพร้อมของห้องฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ
5.ต้องสร้างความดึงดูดความสนใจบนเวทีตลอดการฝึกอบรม การพูดต้องพูดด้วยความกระตือรือร้น กระปรี้กระเปร่า มีลูกเล่นหรืออารมณ์ขันอยู่บ้าง
6.ต้องรู้จักแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีหรือสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในการฝึกอบรม ในบางครั้ง พูดไป พูดมา ไฟฟ้าเกิดดับ หรือ งานไม่เป็นไปตามกำหนดการ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
7.ต้องพยายามดำเนินรายการจนจบหรือต้องดำเนินรายการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ทิ้งเวที
ทั้งหมดนี้คือ คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมที่ได้รับบทบาทให้เป็นพิธีกรต้องมี สำหรับการพูดที่เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจะต้องเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การพูดในโอกาสต่างๆ เพราะในการจัดการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมบางงานมีความจำเป็นจะต้อง กล่าวต้อนรับ กล่าวรายงานในพิธีเปิด การแนะนำวิทยากรและกล่าวขอบคุณวิทยากร
1.การกล่าวต้อนรับ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจะต้องมีหน้าที่ในการพูดกล่าวคำต้อนรับ ซึ่งจะต้องพูดรายละเอียดตามลำดับดังนี้ ต้องกล่าวทักทายผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมและกล่าวยินดีต้อนรับ ต้องพูดแนะนำวัตถุประสงค์ของการจัดงานหรือของหลักสูตรที่จัด ต้องพูดแนะนำกำหนดการฝึกอบรมและต้องแนะนำสถานที่ในการฝึกอบรมรวมไปถึงห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหารว่าง ห้องรับประทานอาหารกลางวัน
2.การกล่าวรายงานในพิธีเปิด ซึ่งมีรายละเอียดที่จะต้องพูดดังนี้ คำขึ้นต้น(เรียน,กราบเรียน) ,ขอบคุณประธานในพิธี , ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม, ชี้แจงความสำคัญในการฝึกอบรม,พูดรายละเอียดของหลักสูตรที่สำคัญๆ, พูดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรมและสุดท้ายเชิญประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม
3.การแนะนำวิทยากร เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจะต้องทำหน้าที่แนะนำวิทยากรในการฝึกการอบรม โดยเริ่มต้นกล่าวคำทักทายผู้เข้ารับการอบรมที่เข้ามาร่วมการฝึกอบรม กล่าวแนะนำวิทยากรเป็นรายบุคคลว่าเป็นใคร มาจากไหน ปัจจุบันมีหน้าที่ทำงานในตำแหน่งอะไร มีความรู้ความสามารถพิเศษหรือเชี่ยวชาญงานทางด้านไหน ซึ่งต้องกล่าวตามความเป็นจริง ไม่ควรให้คลาดเคลื่อน สิ่งที่สำคัญไม่ควรยกย่องวิทยากรจนเลิศลอยเกินไป และอย่าแนะนำเรื่องส่วนตัวที่ไม่ดีหรือทำให้วิทยากรไม่สบายใจ
4.การกล่าวขอบคุณวิทยากร มีหลักในการพูดดังนี้ กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากวิทยากร กล่าวย้ำถึงประเด็นหรือสรุปความสำคัญของเรื่องที่พูด กล่าวแสดงความหวังว่าจะได้รับความกรุณาจากวิทยากรในการมาร่วมเป็นวิทยากรอีกครั้งและกล่าวขอบคุณ
ดังนั้น ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ที่เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมต้องมีก็คือ ทักษะในการเป็นพิธีกรและทักษะในการพูดในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะการกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีเปิด การแนะนำวิทยากรและการกล่าวขอบคุณวิทยากร
...
  
การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เมื่อพูดถึงอาชีพสื่อมวลชน ในยุคปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะสื่อมวลชน เป็นสื่อที่สามารถกระจายความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร จากบุคคล จากหน่วยงาน จากองค์กรไปยังประชาชนได้อย่างรวดเร็ว สื่อที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน มีสื่อสิ่งพิมพ์ เรามักนึกถึง สื่อจำพวก หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จดหมายข่าว , สื่อกระจายเสียง วิทยุ และ สื่อที่มีทั้งภาพและเสียง โทรทัศน์ และในยุคปัจจุบันเราก็มีสื่อสมัยใหม่ โซเชียลมีเดีย อีกด้วย
การพูดในอาชีพสื่อมวลชน จึงมีความสัมพันธ์ มีความเกี่ยวข้องกับสื่อกระจายเสียง สื่อที่มีทั้งภาพและเสียง และสื่อสมัยใหม่ ฉะนั้น ใครที่ต้องการประกอบอาชีพในด้านสื่อมวลชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝน เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ การพูดสำหรับการใช้สื่อเหล่านี้
การพูดทางสื่อวิทยุกระจายเสียง การพูดออกสื่อโทรทัศน์ การพูดออกสื่อสมัยใหม่ เราสามารถฝึกฝนได้ ส่วนศิลปะในการถ่ายทอดผ่านสื่อเหล่านี้ จำเป็นจะต้องมีความแตกต่างกัน เพราะลักษณะสื่อมีความแตกต่างกัน เช่น สื่อโทรทัศน์,สื่อที่นำไปลงในอินเตอร์เน็ตบางเว๊ปไซค์ สามารถเห็นทั้งรูปทั้งเสียง กับสื่อวิทยุกระจายเสียงที่ไม่สามารถเห็นภาพได้แต่ได้ยินแต่เสียง ศิลปะในการพูดก็ต้องมีความแตกต่างกัน
วิธีพูดทางสื่อโทรทัศน์และสื่อที่สามารถเห็นทั้งภาพและเสียง ผู้พูดจึงต้องคำนึงถึงเรื่องของใบหน้า รูปร่าง ร่างกายในการปรากฏตัวออกสื่อด้วย ผู้พูดต้องทำเหมือนกับว่ามีผู้ชมมานั่งฟังอยู่เป็นจำนวนมาก การพูดต้องมีชีวิตชีวา สายตาต้องไม่มองอย่างเลื่อยลอย ควรมีสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด มีใบหน้าที่แสดงความเป็นมิตร อีกทั้งผู้พูดควรมีการซ้อมการพูดไม่ควรใช้ต้นฉบับในขณะพูดมากนัก สำหรับส่วนที่มีเนื้อหาสำคัญหรือข่าวที่มีความจำเป็นต้องอ่าน ก็ควรอ่าน แต่ในยุคปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทำงานการพูดทางโทรทัศน์หรือสื่อที่สามารถมองเห็นทั้งภาพและเสียง ได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต เรามีโปรแกรมการตัดต่อที่ทันสมัย เรามีกล้องโทรทัศน์หลายๆตัว ที่มีคุณภาพและราคาถูก
สำหรับส่วนประกอบที่ทำให้การพูดออกสื่อโทรทัศน์หรือสื่อที่สามารถเห็นภาพและเสียง ประสบความสำเร็จ อันได้แก่ การใช้ท่าทางประกอบ ( พิธีกร 360 องศา ที่ได้แสดงท่าทางประกอบจนทำให้เป็นที่สนใจของคนดู) บุคลิกภาพและการแต่งกาย อุปกรณ์ในการประกอบการพูด การเขียนบทและการเตรียมต้นฉบับในการพูด
ส่วนการพูดในสื่อวิทยุกระจายเสียงนั้น เราอาจจะให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางประกอบ บุคลิกภาพและการแต่งกาย อุปกรณ์ในการประกอบการพูด น้อยมาก เนื่องจากผู้ชมไม่สามารถมองเห็นได้ การพูดทางสื่อวิทยุ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องของการใช้เสียงเป็นอันมาก เช่น ใครที่มีโทนเสียง น้ำเสียงที่ นุ่มนวล ชวนฟัง มักจะได้เปรียบคนที่มีโทนเสียงและน้ำเสียงที่ไม่ดี การออกเสียงและการอ่านออกเสียงเป็นเรื่องที่สำคัญสำคัญการพูดทางสื่อวิทยุ
ฉะนั้น บุคคลที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพูดในอาชีพสื่อมวลชน จำเป็นจะต้องรู้ว่าตนเอง จะต้องนำเสนออย่างไรเพราะรูปแบบในการนำเสนอรายการก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพ เพราะวิธีการนำเสนอรายการมีหลายรูปแบบ เช่น การเป็นพิธีกรหรือการดำเนินรายการ การอ่านข่าว การสัมภาษณ์ การอภิปราย การเล่าข่าว
นอกจากนั้น การมีไหวพริบปฏิภาณ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ความมีชีวิตชีวา การออกเสียงถูกต้องชัดเจน จังหวะในการพูด รวมไปถึงความมั่นใจในการพูด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการพูดในอาชีพสื่อมวลชนได้เช่นกัน

...
  
เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
อาการแบบนี้ มักเกิดขึ้น กับผู้พูดหลายๆคน ที่มีอาการกลัว อาการประหม่า เมื่อถูกเชิญให้ขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลายๆคน เมื่อรู้ว่าในวันพรุ่งนี้ จะต้องถูกเชิญให้ไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน บางคนนอนไม่หลับ บางคนเป็นไข้ ไม่สบาย เกิดอาการเครียด ตื่นเต้น คิดมาก วิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนโดยทั่วไป ที่ไม่ได้มีการฝึกฝนการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ฉะนั้น เราสามารถแก้อาการเหล่านี้ได้ดังนี้
1.ต้องทำจนชิน หลายๆคนเกิดอาการประหม่า วิตกจริต เมื่อต้องขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน สาเหตุหนึ่ง เกิดจากการไม่ชินเวที ฉะนั้น หากต้องการให้เกิดการชินเวที เราคงหนีไม่พ้นที่จะต้อง ขึ้นไปพูดบนเวทีบ่อยๆ เมื่อท่านชิน เรื่องท่านคุ้นเคยกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนแล้ว อาการเหล่านี้ก็จะลดน้อยลง
2.ต้องเตรียมตัวก่อนทุกครั้ง หลายๆคน ไม่มีความมั่นใจในตนเอง สาเหตุหนึ่งเพราะไม่รู้ว่าจะขึ้นไปพูดเรื่องอะไร ฉะนั้น ต้องมีการเตรียมตัวโดยการเขียนสคิปหรือบทพูดก่อน ว่า เราจะพูดอะไรบ้าง อะไรก่อน อะไรหลัง จะมีคำคม สุภาษิต อารมณ์ขัน สอดแทรกไว้ที่ใดได้บ้าง จึงจะเหมาะสมกับเรื่องที่พูด
3.ต้องซ้อมพูดบ่อยๆ หลายคนเมื่อเตรียมสคิปหรือบทพูดแล้ว แต่ไม่ยอมฝึกซ้อมการพูด จึงทำให้ตอนไปพูดบนเวทีจริงๆ เกิดอาการพูดที่ติดๆขัดๆ ฉะนั้น เมื่อเตรียมสคิปหรือบทพูดแล้ว ก็ควรซ้อมพูดหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดการจำ เพื่อให้เกิดการพูดคล่อง และเพื่อให้เกิดการเชื่อมั่นในตนเอง
4.ต้องให้กำลังใจตนเองและปลุกปลอบใจตนเอง ต้องหมั่นพูดกับตัวเอง ว่า “ ฉันทำได้” ,“สู้ตาย” ,“ฉันเชื่อมั่น” , “ฉันเก่งที่สุด” ฉะนั้น การให้กำลังใจตนเองและการปลุกปลอบใจตนเอง จะทำให้เราเกิดความกล้า เกิดความมั่นใจในตนเอง ซึ่งคำพูดที่จะช่วยให้กำลังใจตนเองและปลุกปลอบใจตนเองของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จงหาคำพูดที่ทำให้ตนเองมีพลัง ความกล้า ความเชื่อมั่น สำหรับคำพูดของกระผมก่อนขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนทุกครั้ง ผมจะพูดกับตัวเองในใจหรือพูดเบาๆกับตัวเองว่า “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้ แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน”
5.ต้องเปลี่ยนทัศนคติให้ชอบการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลายๆคนไม่อยากขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะไม่ชอบ เขาจึงพยายามหลีกหนีหรือหลีกเลี่ยง การที่จะได้ขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน ฉะนั้น หากท่านต้องการที่จะพูดต่อหน้าที่ชุมชนให้ได้ดี ท่านจะต้องเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ จากการที่ไม่ชอบการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ให้เปลี่ยนมาเป็นความชอบ โดยท่านต้องพยายามนึกถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เช่น เมื่อท่านพูดเก่ง พูดดี ท่านจะได้รับตำแหน่ง ท่านจะได้รับชื่อเสียง ท่านจะได้รับการยกย่อง และท่านจะได้รับเงินทองอีกมากมาย เป็นต้น
6.ต้องมีความอดทน ฝึกฝน ตัวเองตลอดเวลา ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ เรามักจะพูดผิดพูดถูก พูดแล้วคนไม่อยากที่จะฟัง ท่านก็ไม่ควรที่จะท้อแท้ ท้อถอย ขอให้ฝีกไป เรียนไป อย่างสม่ำเสมอ หลายๆคนเมื่อพูดไปแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงแรกๆ ก็ท้อแท้ใจ ไม่อยากที่จะขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนและหลายๆคนปฏิเสธการพูดต่อหน้าที่ชุมชนไปเลยก็มี กล่าวคือ เมื่อถูกเชิญให้พูดก็จะขอร้องว่า “กระผมไม่ขอพูดได้ไหม” ฉะนั้น หากท่านต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการพูด หากท่านต้องการลดอาการประหม่า ท่านจะต้องมีความอดทน ท่านจะต้องหมั่นฝึกฝน แล้วสักวันหนึ่ง อาการประหม่า อาการตื่นเต้น ก็จะลดน้อยลงไปและถ้าหากท่านยิ่งฝึกฝนมากเท่าไร อนาคตอันใกล้ ท่านจะได้เป็นนักพูดที่พูดไปแล้วผู้ฟังอยากที่จะฟังการพูดของท่านอย่างแน่นอน
ทั้ง 6 วิธีการ ดังกล่าวข้างต้นนี้จะทำให้ท่านลดอาการประหม่า ลดอาการวิตกกังวล และทำให้ท่านเกิดความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเองยิ่งขึ้น ฉะนั้น หากว่าท่านเกิดความกลัวที่จะขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน กระผมขอแนะนำวิธีแก้ไขความกลัว ซึ่งเป็นเทคนิคที่กระผมใช้อยู่ คือ หากท่านกลัวสิ่งไหน จงเข้าหาสิ่งนั้น
เช่น หากว่าท่านกลัวการขี่ม้า กลัวตกม้า กระผมขอให้ท่านขึ้นไปขี่มัน เช่นกัน หากว่าท่านเกิดความกลัวที่จะขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน กระผมขอให้ท่านเดินขึ้นไปพูด แล้ว ความกลัวของท่านก็จะลดน้อยลงไปในที่สุด
...
  
ศิลปะการโต้วาที
ศิลปะการโต้วาที
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคปัจจุบัน เราคงจะเห็นว่า เขาจะจัดให้มีการโต้วาที ถามว่า ทำไมต้องเอาคนที่จะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนต่อไป มีความจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องมาโต้วาทีให้ประชาชนและคนทั่วโลกเห็น
ซึ่งคงจะมีเหตุผลหลายประการ ที่ประเทศสหรัฐอมเริกาจะจัดให้มีการโต้วาที สำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพราะการโต้วาที ทำให้เห็นอะไรหลายๆอย่างในตัวของผู้โต้วาที เช่น ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ ภูมิความรู้ บุคลิกภาพ ความเชื่อมั่นในตนเอง การมีวาทศิลป์ การมีไหวพริบปฏิภาณ การมีอารมณ์ขัน ตลอดจนกระทั่งถึงการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ในการที่ถูกคู่แข่งขัน ตอบโต้ ด้วยสถานการณ์ต่างๆ
ดังนั้น ประเทศอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับการโต้วาที ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งที่สำคัญๆของประเทศของเขา คราวนี้เราลองมาทำความรู้จักกับการโต้วาทีคืออะไร
การโต้วาที ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้ให้ความนิยามว่า “ การแสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง”
ซึ่งจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการโต้วาทีคือ
1.เพื่อฝึกให้ผู้โต้วาที ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาเสนอในการโต้วาที
2.เพื่อฝึกให้ผู้โต้วาที ได้ใช้ไหวพริบปฏิภาณ เชาว์ปัญญาในการแก้ไขปัญหาหรือตอบโต้ในการโต้วาที
3.เพื่อฝึกใช้เหตุผล สำหรับการหักล้าง โดยมีการนำข้อมูลหลักฐานต่างๆมาอ้างอิง ฉะนั้นจึงทำให้นักโต้วาทีไม่เป็นคนที่ไม่เชื่อคนง่าย
4.เพื่อฝึกใช้วาทศิลป์ การเลือกใช้ถ้อยคำ เพื่อนำมาโน้มน้าวใจ รวมไปถึงการใช้ท่าทางประกอบการพูด
5.เพื่อฝึกการทำงานให้เป็นทีม มีการวางแผนและทำงานร่วมกัน
6.เพื่อฝึกความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งเป็นธรรมดาของการแข่งขันย่อมมีผู้แพ้ผู้ชนะ
คณะผู้โต้วาที
คณะผู้โต้วาที ประกอบไปด้วย
1.ประธานในการโต้วาที 1 คน จะทำหน้าที่กล่าวทักทาย กล่าวเปิด แจ้งให้ผู้ฟังทราบถึงความสำคัญของญัตติที่ใช้ในการโต้วาที กล่าวเชิญผู้โต้วาทีขึ้นมาบนเวทีทีละคน เป็นผู้แนะนำกรรมการและผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย เป็นผู้สร้างบรรยากาศ และมีหน้าที่สรุปรายงาน การประกาศผลและกล่าวปิดงาน
2.สมาชิกผู้โต้วาที ประกอบไปด้วยทีมทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะมีหัวหน้าฝ่าย 1 คนและผู้สนับสนุนฝ่ายแต่ละฝ่ายอีก 3 คน (แต่ในยุคปัจจุบัน บางแห่งอาจใช้แค่ 2 คน ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม) สำหรับเรื่องของเวลาในการโต้วาทีแต่ละครั้งมักให้เวลาคนละ 5-7 นาที หรือ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้จัดกำหนดขึ้นเอง
ด้านหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายเสนอ มีหน้าที่ดังนี้ ขึ้นต้นควรกล่าวทักทาย แล้วจึงเริ่มเสนอญัตติ มีการแปรญัตติหรือความหมายหรือคำนิยามของญัตติ หาเหตุผลข้อมูลมาเสนอเพื่อสนับสนุนญัตติของตนเอง มีการสรุปประเด็นสำคัญๆ สำหรับรอบที่สอง เป็นรอบสรุป หัวหน้าฝ่ายเสนอต้องเก็บกวาดหรือโต้แย้ง คู่แข่งทุกประเด็นที่ตกค้าง กล่าวคือผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอยังไม่ได้มีการพูดหักล้าง แล้วจึงกล่าวสรุปปิดท้าย โดยประเพณีหัวหน้าฝ่ายเสนอจะเป็นผู้สรุปคนหลังสุด
ด้านหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายค้าน มีหน้าที่ดังนี้ กล่าวทักทาย มีการแปลญัตติที่ทำให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบ ต้องพยายามหาเหตุผลมาคัดค้าน การนำเสนอของหัวหน้าฝ่ายเสนอ มีการโต้แย้งเป็นประเด็นโดยมีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิง มีการเสนอแนะเหตุผลมาสนับสนุนฝ่ายตัวเอง สำหรับรอบที่สอง เป็นรอบสรุป หัวหน้าฝ่ายค้าน ต้องเก็บกวาดหรือโต้แย้ง คู่แข่งทุกประเด็นที่ตกค้าง กล่าวคือผู้สนับสนุนฝ่ายค้านยังไม่ได้มีการพูดหักล้าง แล้วจึงกล่าวสรุปปิดท้าย โดยประเพณีหัวหน้าฝ่ายค้านจะเป็นผู้สรุปก่อนหัวหน้าฝ่ายเสนอ
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนฝ่ายเสนอ กล่าวทักทายผู้ฟัง อธิบายให้การสนับสนุนฝ่ายเสนอ หาเหตุผล ข้ออ้างอิง หลักฐานต่างๆ สถิติ ข้อเท็จจริง เอกสาร ภาพถ่าย มาใช้ประกอบเพิ่มเติม มีหน้าที่โต้แย้ง หาประเด็นต่างๆมาคัดค้านฝ่ายค้าน สรุปประเด็นเน้นย้ำให้กับฝ่ายของตนเองได้เปรียบ แล้วจึงกล่าวลาผู้ฟัง
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนฝ่ายค้าน กล่าวทักทายผู้ฟัง อธิบายให้การสนับสนุนฝ่ายค้าน หาเหตุผล ข้ออ้างอิง หลักฐานต่างๆ สถิติ ข้อเท็จจริง เอกสาร ภาพถ่าย มาใช้ประกอบเพิ่มเติม มีหน้าที่พูดโต้แย้ง หาประเด็นต่างๆมาคัดค้ายฝ่ายเสนอ สรุปประเด็นเน้นย้ำให้กับฝ่ายของตนเองให้เกิดความได้เปรียบ แล้วจึงกล่าวลาผู้ฟัง
ขั้นตอนในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม ของผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย
1.ต้องเตรียมตัว เตรียมข้อมูล หาเอกสารต่างๆ รวมทั้งทำการศึกษา วิเคราะห์ญัตติในการโต้วาทีอย่างถ่องแท้ รวมทั้งจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน สื่อต่างๆเพื่อนำไปใช้ประกอบในการพูด
2.เตรียมต้นฉบับหรือสคิปในการพูด ว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางจะพูดอะไร และสรุปจบจะพูดอะไร อีกทั้งควรเตรียม คำคม คำกลอน อารมณ์ขันในการสอดแทรกการพูด รวมไปถึง สุภาษิต คำพังเพยต่างๆ
3.เตรียมพร้อม เตรียมซ้อม ภาษากายที่ใช้ประกอบการพูด รวมไปถึง การแต่งกาย การใช้ท่าทางในการประกอบการพูด ทั้งนี้ควรมีการซ้อมพูดและฝึกการใช้ภาษากายหรือท่าทางประกอบการพูด
4.เตรียมข้อมูลของฝ่ายตรงกันข้าม นักโต้วาทีที่ดีต้อง รู้เขารู้เรา รู้เขาคือ ต้องรู้ว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะพูดอะไร เตรียมข้อมูลอะไร แล้วคิดล่วงหน้าในการโต้ตอบฝ่ายตรงกันข้าม
5.การโต้วาทีที่ดี ไม่ควรเอ๋ยชื่อและควรเรียกชื่อ แต่ควรเอ่ยเป็น หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 และผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 เป็นต้น
6.หัวหน้าทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ที่จะต้องสรุปประเด็นและสรุปญัตติ เพื่อเป็นการทิ้งท้ายให้ผู้ฟังประทับใจ ตอนสรุปถือว่าสำคัญมากๆ
7.สุดท้ายทีมผู้โต้วาที ควรซักซ้อม เตรียมตัว ปรึกษาหารือกันก่อน มีการตกลงกันว่าใครพูดก่อนหลัง ว่าใครมีข้อมูลอย่างไร เพื่อที่จะไม่ได้เกิดการพูดที่ซ้ำๆกันในเวลาที่ขึ้นเวทีจริง
สำหรับการจัดทีมการโต้วาทีที่ดี
1.หัวหน้าทีม(ต้องเก่งที่สุด)
2.ผู้สนับสนุนคนที่ 1 (ต้องเก่งลำดับ 4 )
3.ผู้สนับสนุนคนที่ 2 (ต้องเก่งลำดับ 3)
4.ผู้สนับสนุนคนที่ 3 (ต้องเก่งลำดับ 2)
คณะกรรมการจับเวลา มีหน้าที่จับเวลา มีการบันทึกเวลา มีการเตือนการใช้เวลาของสมาชิกที่โตวาที เมื่อใกล้หมดเวลาหรือหมดเวลา อาจใช้ภาษามือ กริ่ง เพื่อเตือนสมาชิกที่โต้วาทีให้รู้ว่าใช้เวลาไปเท่าไร เหลือเวลาเท่าไร
คณะกรรมการตัดสิน มีหน้าที่ให้คะแนนผู้โต้วาทีทั้ง 2 ฝ่าย คณะกรรมการควรเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการโต้วาทีมาบ้าง มีหลักวิชา มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน มาร่วมกันตัดสิน ปกติกรรมการมักจะเป็นเลขคี่ คือ 3 คน และ 5 คน สำหรับการโต้วาทีในบางเวที หากไม่ได้มีการแข่งขันกันแบบเอาจริงเอาจัง บางแห่งอาจจะไม่มีกรรมการการตัดสินก็ได้ แต่อาจใช้เสียงปรบมือจากผู้ฟังเป็นตัววัดการแพ้ชนะ ทั้งนี้คณะผู้จัดการโต้วาทีอาจจะประกาศผลเสมอกันหรือไม่มีการตัดสินเลยก็ได้
ผู้เข้าฟังการโต้วาที เป็นผู้ฟังหรือผู้ร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งผู้ฟังควรมีมารยาทในการฟัง ควรฟังอย่างตั้งใจ ควรให้ความร่วมมือโดยการปรบมือให้กำลังใจแก่ผู้โต้วาที เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดความสนุกสนานในการโต้วาที
ญัตติการโต้วาที ควรตั้งชื่อให้มีความน่าสนใจ มีความดึงดูด ญัตติการโต้วาทีควรเป็นญัตติแบบกลางๆ ที่ทุกฝ่ายยังหาข้อสรุปไม่ได้ อีกทั้งญัตติไม่เป็นญัตติที่ทำให้ฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ เป็นญัตติที่ทั้งสองฝ่ายสามารถหาเหตุผลมาโต้กันจนสามารถเอาชนะกันได้
ญัตติการโต้วาทีที่น่าสนใจคือ ดูทีวีดีกว่าอ่านหนังสือพิมพ์,เกิดเป็นผู้ชายดีกว่าเกิดเป็นผู้หญิง,เป็นนักแสดงดีกว่าเป็นนักเขียน,เด็กแน่กว่าคนแก่ เป็นต้น
ส่วนญัตติที่ไม่ควรนำเอามาโต้วาที คือ ญัตติที่แน่นอนซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ น้ำต้องไหลจากบนลงล่าง,พระจันทร์เกิดขึ้นในเวลากลางคืน,แผ่นน้ำมีมากกว่าแผ่นดิน เป็นต้น หรือเป็นญัตติที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่น ไทยร่ำรวยกว่าประเทศญี่ปุ่น , คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนอังกฤษ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการตั้งญัตติไม่ควรตั้งญัตติที่มีความเกี่ยวพันถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับการแปลญัตติหรือการตีญัตตินั้น เป็นหน้าที่ของหัวหน้าทั้งสองฝ่าย คือ หัวหน้าฝ่ายเสนอและหัวหน้าฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องแปลญัตติหรือตีญัตติให้ฝ่ายของตนได้เปรียบ สำหรับผู้โต้วาทีบ่อยๆ หรือ มีประสบการณ์ในการโต้วาทีจะรู้ว่า การแปลญัตติหรือการตีญัตติมีความสำคัญถึงขนาดทำให้ได้รับชัยชนะเลยก็ได้
มารยาทในการอ้างอิง สำหรับการโต้วาทีของประเทศไทย คือ ผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายไม่ควรนำเอาพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ้างอิง เพราะจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำการโต้แย้งได้เลย
การให้คะแนน แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น การให้คะแนนของสโมสรฝึกพูดลานนาไทย เชียงใหม่ 1.คะแนนเหตุผล 30 % 2. คะแนนวาทศิลป์ 20 % 3. คะแนนไหวพริบปฏิภาณ 20 %
4.คะแนนภาษาไทย 15 % 5.คะแนนมารยาท 10% 6.คะแนนภาษากาย 5 %
หรือการโต้วาทีบางแห่งอาจให้คะแนน เช่น 1.คะแนนเหตุผล 30 % 2. คะแนนหักล้าง 30 %
3. คะแนนวาทศิลป์ 20 % 4.คะแนนหลักฐานอ้างอิง 10 % 5.คะแนนมารยาท 10%
ทั้งนี้ ผู้โต้วาทีที่ดีและเก่ง ควรทำการวิเคราะห์และหาข้อมูลว่า คณะกรรมการใช้เกณฑ์ใดในการตัดสิน แล้วจึงให้ความสำคัญกับคะแนนที่สูง เพราะบางคนระวังเรื่องของมารยาทจนเองไปซึ่งมีคะแนนแค่ 10 % เลยเสียคะแนนเรื่องของวาทศิลป์ และการหักล้างซึ่งมีคะแนน 20-30 %
สำหรับคุณสมบัติของนักโต้วาทีที่ดีมีดังนี้
1.ต้องมีทักษะในการฟัง การจด การคิด รวมไปถึงการใช้วาทศิลป์ในการพูด นักโต้วาทีที่ดีต้องมีสมาธิในการฟังฝ่ายตรงกันพูด อีกทั้งต้องสามารถจับประเด็นที่สำคัญๆได้ การจดก็ควรจดด้วยความรวดเร็ว มีความคิดที่เป็นระบบมีเหตุมีผลและการนำเสนอควรนำเสนออย่างมีวาทศิลป์ด้วย
2.ต้องมีการเตรียมการมาเป็นอย่างดีหรือทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ซึ่งควรเตรียมทั้งของเราและเตรียมของคู่แข่งคือต้องคิดล่วงหน้าว่าถ้าเราเป็นคู่แข่งขัน เราจะพูดอย่างไร เราจะคิดอย่างไร
3.ต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการโต้วาที คือต้องสามารถตอบโต้สดๆ ในขณะปัจจุบันทันด่วนได้
4. ต้องไม่โกรธง่าย ต้องไม่หวั่นไหวง่าย ต้องมีใจคอหนักแน่น อดทนต่อคำเสียดสีจากฝ่ายตรงกันข้าม รวมไปถึงเรื่องของสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย
5.ต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยมีการประชุมแล้ว แบ่งปันข้อมูล ต้องแบ่งหน้าที่ว่าใครเป็นหัวหน้าทีมและใครเป็นผู้พูดสนับสนุนคนที่ 1 คนที่ 2 และคนที่ 3
สำหรับการโต้วาทีในปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้
1.มีลักษณะของการอ่อนเหตุผล
2.มีลักษณะของการใช้วาทศิลป์ที่ด้อยกว่าในอดีต รวมไปถึงการใช้ ภาษากาย
3.มีลักษณะของการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สวยงามเหมือนในอดีต
4.มีลักษณะของการใช้ไหวพริบปฏิภาณที่ด้อยลง ไม่เหนือชั้น เนื่องจากว่ามีสนามฝึกฝนน้อย

ขั้นตอนในการโต้วาที
1.ประธานมีหน้าที่กล่าวเปิด กล่าวอารัมภบท สร้างบรรยากาศ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ กล่าวทักทายผู้มาฟังการโต้วาที ต่อจากนั้นประธานต้องแนะนำผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย แนะนำกรรมการจับเวลา แนะนำกรรมการตัดสิน จากนั้นจึงกล่าวเชิญผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายสลับขึ้นมาพูด โดยเริ่มจาก หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นมาสรุป และหัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาสรุปเป็นคนสุดท้าย ตามลำดับ
2.หัวหน้าฝ่ายเสนอ มีหน้าที่ในการแปลญัตติหรือตีญัตติ และหาข้อมูล หลักฐาน มาสนับสนุนฝ่ายของตน
3.หัวหน้าฝ่ายค้าน มีหน้าที่ในการแปลญัตติหรือตีญัตติ เพื่อให้ฝ่ายตนเองเกิดความได้เปรียบ และหาข้อมูล หลักฐาน มาพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม
4.ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 พูดค้านประเด็นที่สำคัญๆของหัวหน้าฝ่ายค้าน แล้วกล่าวสนับสนุนหัวหน้าฝ่ายเสนอ และนำเสนอประเด็นใหม่
5.ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 พูดค้านและหาเหตุผลมาหักล้าง หัวหน้าฝ่ายเสนอและผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1
6.ต่อจากนั้นจึงเชิญ ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นมาสรุป และหัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาสรุปเป็นคนสุดท้าย ตามลำดับ
7.จากนั้นประธานเชิญ กรรมการผู้ตัดสินขึ้นมาวิจารณ์การโต้วาที ในขณะเดียวกัน ต้องรวบรวมคะแนนและการใช้เวลาของทั้งสองฝ่าย เพื่อรวมคะแนน หลังจากนั้นก็ประกาศผลการตัดสิน กล่าวขอบคุณทุกๆฝ่ายและกล่าวปิด
มารยาทในการโต้วาทีที่ดี
1.ไม่ควรอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์
2.อย่าใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ หยาบคาย
3.อย่านำเรื่องส่วนตัวที่ไม่ดีของฝ่ายตรงกันข้ามมาพูด ยกเว้นเรื่องที่ดี
4.อย่าแสดงอารมณ์โกรธ แต่ต้องควบคุมอารมณ์ในการพูด ต้องแสดงความเป็นมิตรกับฝ่ายตรงกันข้าม
5.ไม่ควรเอ่ยชื่อ แต่ควรเอ่ยว่า หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน
6.อย่าใช้เวลาเกินหรือพูดเกินเวลาที่กำหนดมาให้ในการโต้วาที
การหักล้าง
1.ต้องตั้งใจฟังผู้โต้วาทีทุกคนพูด แล้วจับประเด็นข้อกล่าวหา และเขียนข้อกล่าว พร้อมทั้งคำพูดในการตอบโต้ลงไปในกระดาษ
2.ต้องหาเหตุผล หลักฐาน ข้อมูล เพื่อมาหักล้างข้อกล่าวหา โดยหักล้างคนที่ลงจากเวทีพูดก่อนแล้วจึงไปยังคนแรก เช่น หากว่าเราเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 เราต้องพูดหักล้างผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปพูดหักล้างหัวหน้าฝ่ายเสนอเป็นคนต่อมา
3.ควรหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อกล่าวหาโดยตอบโต้ฝ่ายตรงกันข้ามก่อนอย่างน้อยสัก 2-3 ประเด็น แล้วจึงหาข้อเสนอหาเหตุผลมาสนับสนุนฝ่ายตนเอง
4.หักล้างแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เช่น ฝ่ายตรงกันข้ามร้องเพลงมา ฝ่ายเราก็ต้องร้องเพลงแก้ ฝ่ายตรงกันข้ามยกกลอนมา เราก็ต้องยกกลอนแก้ ฝ่ายตรงกันข้ามยกคำคมมา ฝ่ายเราก็ต้องยกคำคมแก้ เป็นต้น
5.หักล้างแบบทำลายน้ำหนัก หากว่าฝ่ายตรงกันข้ามยกหนังสือมาอ้างอิง เราก็หักล้างว่า หนังสือนั้น ไม่มีคุณภาพ ไม่ควรยึดถือหรือไม่ควรนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง อีกทั้งควรนำเสนอข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการตอบโต้ เช่น ยกพจนานุกรม , ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ,ยกสารานุกรมไทย,ยกเอนไซโคลพีเดีย เป็นต้น
การค้าน
1.ผู้โต้วาทีควรหาเหตุผล หาหลักฐานที่เหนือกว่าคู่แข่งมาใช้ประกอบการโต้วาที เช่น ฝ่ายตรงกันข้ามอ้าง ปทานุกรม เราต้องอ้างพจนานุกรม ฝ่ายตรงกันข้ามอ้างพจนานุกรม เราต้องอ้างไซโคลปิเดีย
2.ผู้โต้วาทีต้องค้านให้ตก คือ ผู้โต้วาทีต้องพยายามค้านให้ได้ทุกประเด็น ต้องยืนยัน นั่งยืน นอนยืน ว่าฝ่ายเราถูกต้อง ไม่ควรใช้คำพูดในลักษณะ ว่า “ผมเห็นด้วย แต่...”
3.ผู้โต้วาทีควรต้องรู้จักค้านดักหน้า กล่าวคือ ผู้โต้วาทีไม่ต้องรอเขานำเสนอก่อนแล้วจึงค้าน แต่เราต้องค้านดักคอล่วงหน้า เพื่อทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบหรือทำให้อีกฝ่ายต้องแก้เกมส์อย่างกะทันหัน
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.