|
บริการ |
|
บริการ : บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ |
|
สร้างจิตวิญญาณเพื่องานเขียน สร้างจิตวิญญาณเพื่องานเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
หลายคนอยากที่จะเป็นนักเขียน แต่ก็ไม่ยอมลงมือที่จะเขียน อีกทั้งยังมีข้ออ้างต่างๆนานา เช่น ไม่มีเวลา , ไม่มีอารมณ์ในการเขียน , เขียนไม่เก่ง , เขียนไม่ได้ เป็นต้น แต่แท้ที่จริงแล้ว คนที่จะเป็นนักเขียนมืออาชีพ หรืออยากจะยึดอาชีพนักเขียน มีความจำเป็นจะต้องสร้างจิตวิญญาณ
การสร้างจิตวิญญาณในการเขียนหนังสือมีความสำคัญมาก เพราะการสร้างจิตวิญญาณในการเขียนจะทำให้เราอยากที่จะเขียนหนังสือทุกๆวัน
เราจะสร้างจิตวิญญาณในการเขียนได้อย่างไร
-เริ่มต้นที่ความรักหนังสือ รักการอ่าน บ่มเพาะความรักหนังสือ จนชีวิตนี้ขาดหนังสือไม่ได้ หากว่าเรารักหนังสือ เรามักที่จะไปหาหนังสือเพื่อที่จะอ่าน ตามแหล่งต่างๆ หากไม่มีเงินก็ไปหาหนังสืออ่านตามมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุดประชาชน ฯลฯ แต่หากว่ามีเงินซื้อหนังสือ ก็สามารถไปซื้อหนังสืออ่านได้ที่ร้านขายหนังสือทุกแห่ง โดยเฉพาะงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ส่วนใหญ่จัดที่ศูนย์สิริกิต์ปีละ 1-2 ครั้ง ก็จะมีหนังสือลดราคาให้เราเลือกกันมากมาย
-เมื่อมีความรักแล้ว ที่นี่ก็พยายามเขียน พยายามหัดเขียนทุกๆวัน เขียนเป็นกิจวัตร เหมือนกับว่าเราทำกิจกรรมนั้นๆเป็นประจำ เช่น ทานข้าว,แปรงฟัน,อาบน้ำ ฯลฯ เขียนทุกวันจนกระทั่งติดเป็นนิสัยและเป็นธรรมชาติในที่สุด เพราะงานเขียนคือทักษะที่เราต้องสะสมและต้องฝึกฝนด้วยตนเอง อีกทั้งต้องใช้เวลาในการฝึก ไม่เหมือนกับการสะสมสิ่งของ หากว่าเรามีเงินเราก็สามารถหาซื้อสิ่งของมาสะสมได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่งานเขียนถึงแม้มีเงินมาก ก็ไม่สามารถซื้อได้ นอกจากต้องฝึกฝนด้วยตนเอง
-มีความฝัน หลายคนใช้ความฝันเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนให้ทำงานเขียนได้เพิ่มขึ้นและพัฒนาขึ้น เช่น ฝันอยากเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ, ฝันอยากร่ำรวยเงินทองจากการเขียนหนังสือขาย,ฝันว่าอยากเป็นที่รู้จักของผู้คนโดยผ่านงานเขียนฯลฯ จึงทำให้เขามีพลังที่จะเขียนหนังสือให้ได้มากขึ้น
-จงสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ตนเองและจงสร้างความกระหายอยากในการที่จะเขียนตลอดเวลา เราอาจหารูปนักเขียนที่เราชื่นชอบตัดเก็บไว้ดูหรือคำคมเตือนใจของบรรดานักเขียนโดยการจดไว้อ่านเตือนใจเรา เวลาที่เราท้อแท้จากงานเขียนของเรา และจงสร้างความกระหายความอยากที่จะเขียนหนังสือตลอดเวลา ฝันถึงมัน คิดถึงมัน แล้วลงมือเขียน เขียนดีบ้าง เขียนไม่ดีบ้างไม่เป็นไร แต่ขอให้เขียนทุกๆวัน งานเขียนของท่านก็จะพัฒนาขึ้นในที่สุด
ฉะนั้น การสร้างจิตวิญญาณเพื่องานเขียน มีความสำคัญมาก เพราะหลายคนไม่มีใจให้แก่งานเขียน เขาก็จะขาดการทุ่มเทเวลา ทุ่มเทจิตใจ ทุ่มเทพลัง ให้กับงานเขียน และหากว่าท่านเขียนจนมีผลงานออกมาเป็นเล่มขายในท้องตลาดแล้ว กระผมมีความเชื่อว่า จิตวิญญาณที่จะอยากเขียนของท่านก็จะเพิ่มมากขึ้น และผู้คนก็จะรู้จักท่านมากยิ่งขึ้น
...
|
|
|
|
ลีลาการเขียน ลีลาการเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ลีลาการเขียน มีความสำคัญมาก เพราะ นักเขียนดังๆหลายคน มีลีลาการเขียนที่สนุก เร้าใจ บางคนเขียนจนกระทั่งกระชากหัวใจของผู้ฟังออกมาเลยก็มี(เป็นการเปรียบเทียบครับ ไม่ใช่กระชากออกมาจริงๆ)
สำหรับการฝึกฝนทางด้านลีลาในการเขียนเราสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ดังนี้
1.หัดเป็นคนอ่านหนังสือให้มากๆ การอ่านหนังสือมากจะทำให้เราได้เห็นลีลาการเขียนของนักเขียนท่านอื่นๆ เพื่อนำเอาข้อดีเหล่านั้น มาพัฒนาลีลาการเขียนของเรา
2.หัดเป็นนักสะสม จดจำ เมื่อเห็น คำ ถ้อยคำ ลีลา การเขียนประโยคไหนที่ชื่นชอบ พยายามจดจำ หรือจดไว้ในสมุดบันทึก เพื่อนำเอาไปปรับปรุงใช้ในงานเขียนของตนเอง
3.หัดคิดก่อนลงมือเขียน การคิดนี้จะเป็นการวางโครงสร้างเรื่อง ว่าเราจะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องอย่างไร สรุปจบอย่างไร
4.หัดค้นหาตัวตนให้พบ นักเขียนหลายคน เขียนบทความได้ดี มีคนชื่นชม ยกย่อง แต่เมื่อเห็นนักเขียนท่านอื่น เขียนนวนิยายแล้วดังและร่ำรวย ก็อยากที่จะเขียนนวนิยายบ้าง แต่เมื่อลงมือเขียนจริงๆ กลับเขียนไม่ได้เรื่อง ฉะนั้น จงค้นหาตัวตนของตนเองให้เจอว่าตนเอง ชอบเขียนงานในลักษณะไหนแล้วพัฒนางานเขียนของตนเองจะออกมาดีกว่าไปมุ่งฝึกฝนงานเขียนที่ตนเองไม่ชอบ ไม่ถนัด
5.หัดพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ งานเขียนเป็นเรื่องของทักษะ หากว่าใครได้มีโอกาสเขียนมาก ก็จะยิ่งทำให้คนพบลีลาการเขียนของตนเอง อีกทั้งลีลาการเขียนก็จะพัฒนาดียิ่งๆขึ้น
6.หัดเป็นคนที่อดทน งานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์ บางคนกว่าจะดัง ต้องฝึกเขียนทุกๆวัน เป็นเวลา 10 ปี แต่นักเขียนรุ่นใหม่ ใช้เวลาฝึกเขียน ทุ่มเท น้อยมาก เพียงแค่ 1-2 ปี ก็อยากจะดังเสียแล้ว
7.หัดเป็นนักปรุง การเขียนเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่อง “ แม่ ” แต่บางคนเขียนแล้วคนอ่านชอบ แต่อีกคนเขียนแล้ว คนอ่านไม่ชอบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรุงนั้นเอง
8.หัดเปิดใจรับฟังคำวิจารณ์ คำวิจารณ์จะทำให้เราแก้ไขงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น งานเขียนของนักเขียนบางคน เขียนเป็นเวลา 10 ปี ไม่ดัง แต่เมื่อมีคนเสนอแนะ เหมือน “ เส้นผมบังภูเขา ” ปรากฏว่าเมื่อนำ คำขอเสนอแนะ ไปปรับปรุง งานเขียนก็ดีขึ้นทันตาเห็น
ฉะนั้น เรื่องของลีลาการเขียน เราสามารถปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้นได้ ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับ ตัวของเราเองเป็นสำคัญ หากว่าเรามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาปรับปรุง การใช้ภาษา การใช้ถ้อยคำ การดำเนินเรื่องในการเขียน กระผมเชื่ออย่างสุดใจว่า เราทุกคนทำได้ ขนาดสัตว์(หมา นกแก้ว ช้าง ม้า ) คนยังนำมาฝึกได้ แต่เนี่ยเราเป็นคน ก็ยิ่งต้องฝึกได้ คนเราสามารถเป็นนักเขียนได้ หากว่าเราคิดว่าเราทำได้
...
|
|
|
|
 |
การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์มีความสำคัญและมีความจำเป็นมาก ต่อการบริหารภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดยส่วนตัวกระผมได้ทำงานเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา จนกระทั่งได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ ของมหาวิทยาลัย นเรศวร พะเยา
ซึ่งต้องดูแลงานประชาสัมพันธ์โดยรวมของมหาวิทยาลัย นเรศวร พะเยา จากประสบการณ์ จึงได้รู้และได้เห็น ว่า การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีความสำคัญต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างยิ่ง จนนำไปสู่ความร่วมมือของคนภายในและภายนอกขององค์กร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความเข้าใจผิดต่างๆ แก้ไขข่าวลือ ในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนจึงอยากที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแชร์ความรู้ แชร์ประสบการณ์ที่ได้รับ ในเรื่องการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ ดังนี้
คนที่จะเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ดี ก่อนอื่นควรมีการวางแผนก่อนการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ เราต้องการให้ใครเป็นผู้รับสาร , การเขียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หรือความต้องการอะไร และ เราจะมีกลยุทธ์หรือวิธีการนำเสนอข่าวอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
สำหรับถ้อยคำภาษาในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ เราไม่ควรมุ่งเน้นความไพเราะของคำ แต่ควรมุ่งเน้นการใช้ภาษาที่ชัดเจน ภาษาที่จูงใจ ซึ่งเมื่อคนอ่านอ่านแล้วจะเห็นภาพที่ชัดเจนและทำให้คล้ายตาม
การเลือกใช้สื่อก็มีความสำคัญอย่างมาก เราควรพิจารณาด้วยว่า กลุ่มเป้าหมายของเรา ชอบอ่านข่าวจากแหล่งใด ซึ่งการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์เรามักเขียนในนามองค์กรมากกว่าเขียนนามบุคคล อีกทั้งการเขียนจะเน้นเรื่องของการสร้างสรรค์ การเขียนในเชิงบวก ไม่ควรเขียนข่าวในเชิงลบ
ส่วนวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ในการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์มักจะมีวัตถุประสงค์ คือ
1.เขียนเพื่อให้คนโดยทั่วไปเกิดการยอมรับองค์กร
2.เขียนเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ
3.เขียนเพื่อแก้ไขข่าวลือ แก้ไขข่าวร้าย และเพื่อป้องกันข่าวต่างๆที่ไม่ดีขององค์กร
4.เขียนเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
5.เขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในองค์กรและนอกองค์กร
6.เขียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของบริษัท
สมัยผมทำงานด้านประชาสัมพันธ์ใหม่ๆ ผมเองได้จัดการแถลงข่าวให้กับผู้บริหารขององค์กรหลายครั้ง ซึ่งผู้บริหารก็ให้ข่าวแก่สื่อมวลชนที่มาร่วมงาน สื่อมวลชนหลายคน ได้พูดบอกผมว่า อยากให้ผมสรุปข่าวแจก หรือ ให้รายละเอียด แก่นักข่าว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องถามเพิ่มเติมและทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งผมก็ได้ทำตามคำแนะนำ จึงทำให้สื่อมวลชนลงข่าวได้เร็วขึ้น
ซึ่งข่าวแจกที่ผมทำแจกมักจะเป็นข่าวประเภทต่างๆ เช่น ข่าวแจ้งเพื่อทราบ,ข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน, ข่าวกิจกรรมต่างๆขององค์กรและข่าวตอบโต้เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
สำหรับหลักในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ ผมมักจะใช้ทฤษฏี 5W 1H คือ Who ใคร What ทำอะไร Where ที่ไหน When เมื่อไร Why ทำไมจึงเกิดขึ้น และ How เหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
โครงสร้างของข่าวประชาสัมพันธ์ที่ดี
1.พาดหัวข่าว ต้องโดนใจ กระชับ เร้าใจ 2.คำนำ 3.เนื้อหา 4.สรุป
สิ่งสำคัญ ถ้ามีภาพประกอบด้วยได้ยิ่งดี เพราะภาพเพียง 1 ภาพ แทนคำพูดได้เป็นหลายร้อยหลายพันคำ
สิ่งที่ควรระวังในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์คือ
1.ไม่ควรเขียน ชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง ของคนที่เราเขียนภายในข่าว ผิด
2.การเขียนตัวเลข ไม่ควรผิดพลาด ควรตรวจสอบให้แน่นอนก่อนส่งข่าว
3.ไม่ควรใช้ศัพท์เทคนิค ถ้าใช้ก็ควรแปลความหมายหรืออธิบายความหมายเพิ่มเติม
4.ควรหลีกเลี่ยงการเขียนข่าวเปรียบเทียบเรื่องทางศาสนาและการเมือง
โดยสรุปคนที่จะเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้ดี ควรต้องฝึกฝนการเขียนบ่อยๆ แล้วลองสอบถาม รุ่นพี่หรือนักเขียนรุ่นพี่ว่า เราควรปรับปรุงอะไรบ้าง แล้วพัฒนาการเขียนอย่างสม่ำเสมอ แล้วก็จะพบกับความสำเร็จในที่สุด
...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|