หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  จะพูดให้ดี...ต้องมีครู...
  -  ปาก
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  ครบเครื่องนักพูด
  -  ยอวาที
  -  การพูดต่อที่ชุมชน
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  การปิดฉากการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  การพูดที่ล้มเหลว
  -  จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  พูดอย่างฉลาด
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  จงระวังความเคยชินในการพูด
  -  ภาษากายกับการพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  ศิลปะการพัฒนาการพูด
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  สุนทรพจน์ในการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  จังหวะในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  พูดให้ถูกสถานการณ์
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  การพูดเป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้
  -  วิธีฝึกการพูดของ หลวงวิจิตรวาทการ
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  โฆษกกับการพูดที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การอ่านใจคนจากภาษากาย
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผู้ฟังอันตราย
ผู้ฟังอันตราย
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ในการพูดแต่ละครั้ง เรามักวัดความสำเร็จของนักพูดหรือวิทยากร จากการประเมินผลหรือการให้คะแนนของผู้ฟัง ดังนั้น ผู้ฟังจึงมีความสำคัญมากสำหรับการเป็นนักพูด นักบรรยาย เพราะถ้าการพูดในครั้งนั้น ถ้าพูดแล้วคนฟังชอบ และมีการประเมินผลออกมาดีก็ถือว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จ และถ้ายิ่งมีการเชิญให้มาพูดหรือเชิญมาให้บรรยายซ้ำๆ ก็ยิ่งถือว่าเป็นที่ยอมรับจากผู้ฟังมากยิ่งขึ้น
ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดกันถึง ผู้ฟังอันตราย กล่าวคือ ผู้ฟัง ที่มีลักษณะที่ผู้พูดไม่ต้องการเจอหรือต้องการเผชิญ แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ฟังอันตรายมีดังนี้
1.ผู้ฟังที่ง่วงนอน ผู้ฟังประเภทนี้พบมากในการสอนหนังสือในห้องเรียน รวมทั้งงานบรรยายของวิทยากร โดยเฉพาะช่วงบ่าย ซึ่งมักมีคำกล่าวว่า “ ช่วงปราบเซียน ” เนื่องจากหลังรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จ ลักษณะของผู้ฟังมักจะมีอาการ “ หนังท้องตึง หนังตาหย่อน ” วิธีแก้ไข ผู้พูดควรออกแบบกิจกรรมให้ผู้ฟังมีการเคลื่อนไหวบ้าง เช่น ให้ปรบมือ ให้ยืน ให้เล่นเกมส์เพื่อการศึกษา ฯลฯ
2.ผู้ฟังประเภทจดบันทึก ผู้ฟังประเภทนี้มักจะตั้งหน้าตาจดบันทึก คำบรรยายหรือคำสอน จนกระทั่งไม่มองหน้า อาจารย์หรือวิทยากร ผู้ฟังประเภทนี้มีความตั้งใจมาก หากจดไม่ทันก็มักจะถาม ทำให้การพูดการบรรยาย ต้องช้าลง เนื่องจากกลัวผู้ฟังจดไม่ทัน วิธีแก้ไข ผู้พูดควรแนะนำผู้ฟังว่า หากจดไม่ทัน หลังจากการบรรยาย ผู้พูดมีเอกสารหรือข้อมูล ผู้ฟังสามารถนำไปคัดลอกหรือถ่ายเอกสารได้ สำหรับเวลาบรรยายขอให้ตั้งใจฟังก่อน
3.ผู้ฟังประเภทพูดคุยกัน ผู้ฟังประเภทนี้ รบกวนสมาธิของผู้พูดและผู้ฟังคนอื่นๆ มักจะพูดคุยกันในห้องเป็นระยะๆ วิธีแก้ไข ผู้พูดควรสังเกตว่า การพูดคุยกันของผู้ฟัง เป็นการพูดคุยกันเรื่องส่วนตัวหรือเกี่ยวกับการอบรม หากเกี่ยวกับการอบรม ผู้พูดก็สามารถตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้ฟังได้ถามหรือแสดงความคิดเห็น แต่หากไม่เกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือการเรียน ผู้พูดอาจใช้สายตามองไปยังผู้ฟังบ่อยๆ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเกรงใจ
4.ผู้ฟังประเภทหลับ แตกต่างจากประเภทแรกคือง่วงนอน ผู้ฟังประเภทหลับ มักเกิดจากหลายปัจจัย อาจเป็นนิสัยส่วนตัว บางคนอาจพักผ่อนมาน้อย นอนหลับมาน้อย ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย วิธีการแก้ไข ต้องมีกิจกรรมต่างๆ เสริมการบรรยาย ไม่บรรยายอย่างเดียว เช่น ให้ปรบมือเป็นจังหวะ ร้องเพลง เต้น กล่าวคือทำให้บรรยากาศตื่นเต้นครึกครื้น
5.ผู้ฟังประเภททำลายจังหวะ ผู้ฟังประเภทนี้ เมื่อผู้พูดพูดไปก็มักจะมีคำถามระหว่างการสอนหรือการบรรยายตลอดเวลา ทำให้จังหวะในการพูดต้องเสียไป วิธีการแก้ไข เมื่อได้ตอบคำถามเสร็จ ก็ควรบอกผู้ฟังประเภทนี้ว่าสำหรับคำถามต่อไปกระผมขอตอบท้ายชั่วโมง เนื่องจากเวลามีจำกัดครับ
6.ผู้ฟังประเภทลองของ ผู้ฟังประเภทนี้ มักจะมีปมเด่น มักจะต้องการอวดภูมิความรู้ของตน และมักจะคิดว่าตนเองเก่งเลอเลิศกว่าผู้อื่น วิธีแก้ไข ต้องสังเกตให้รู้ว่าผู้ฟังต้องการอะไร เพราะถ้าต้องการเด่นหรือถ้าต้องการอวดภูมิความรู้ของตน เราก็อาจเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็นในห้องเรียนบ้าง เมื่อเขาแสดงความคิดเห็นแล้วเขาก็จะมีความสุขและความภูมิใจ แต่ข้อควรระวังคือ ต้องระวังอย่าให้ผู้ฟังประเภทนี้ยึดเวที เนื่องจากกระผมไปเจอบางงาน ผู้ฟังประเภทนี้พอได้ไมค์โครโฟนแล้ว ไม่ยอมปล่อยไมค์โครโฟน พูดอย่างเดียวทำให้เสียบรรยากาศในการพูดหรือเสียบรรยากาศในการจัดฝึกอบรม
ท้ายนี้ขอสรุปว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้การพูดแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ กล่าวคือผู้ฟัง หากถ้าผู้ฟังไม่ให้ความร่วมมือ คือไม่ยอมฟัง ก็ถือว่าการพูดการบรรยายในครั้งนั้นๆ มักจะมีปัญหาหรืออุปสรรคในการพูด ดังนั้น ถ้าอยากประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูด เราควรเอาใจใส่และสนใจ ความต้องการของผู้ฟัง เมื่อเราตอบสนองความต้องการของผู้ฟังได้แล้ว ผู้พูดก็มักจะประสบความสำเร็จในการพูดในครั้งนั้นๆ
พูดอะไรพูดจริงทุกสิ่งเถิด จะบังเกิดลาภผลเป็นล้นหลาม
ปฏิบัติตนเยี่ยงผู้ดีไม่มีทราม พยายามสงวนศักดิ์รักเกียรติตน













...
  
ครบเครื่องนักพูด
ครบเครื่องนักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การจะเป็นนักพูดหรือมีอาชีพทางด้านการพูด เราจำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองเสมอ โดยเฉพาะการพัฒนาตนเองให้มีความหลากหลายในการนำเสนอ เช่น จะต้องมีการสอดแทรกคำคม สอดแทรกอารมณ์ขัน สอดแทรกสาระที่เป็นประโยชน์ สอดแทรกเกมส์เพื่อการศึกษา สอดแทรกเพลงหรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับอารมณ์และบรรยากาศของผู้ฟัง ฯลฯ
นักพูดกับคำคม นักพูดหรือคนที่จะประกอบอาชีพทางด้านการพูดมีความจำเป็นจะต้องเก็บสะสมคำคมและข้อมูล จากแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งจดแหล่งที่มา หากได้อ่านหรือได้ฟังก็พยายามจดบันทึกว่าเป็นคำพูดของใคร ใครกล่าวประโยคนี้ พระพุทธองค์กล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระบรมราโชวาท หรือนักปราชญ์ผู้ใดเป็นผู้กล่าวคำคม เหล่านี้ เพราะ การพูดคำคมหรือการอ้างอิงคำพูดของคนมีอิทธิพลหรือมีชื่อเสียง จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ เกิดความน่าเชื่อถือและเกิดความยอมรับในเหตุผลของผู้พูดมากยิ่งขึ้น
นักพูดกับเพลง นักพูดหรือคนที่มีอาชีพทางด้านการพูด ควรหัดร้องเพลงบ้าง เพราะ ในบางกรณี เราสามารถนำบทเพลงมาใช้ในการบรรยายหรือการพูด เพื่อสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน ไม่ตึงเครียดในการฟัง การใช้เพลงประกอบการพูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดการมีส่วนร่วม ไม่เบื่อหน่าย ฉะนั้นนักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูดควรเตรียมเพลงหรือหาเพลงที่เกี่ยวข้องกับการบรรยายหรือเกี่ยวข้องสถานการณ์ มาใช้เพื่อประกอบการพูด
นักพูดกับคำกลอน นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด ควรหากลอนมาประกอบการพูด
เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการบรรยาย หาก แต่งเองไม่ได้หรือไม่สามารถแต่งกลอนเองได้ ควรหากลอนจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการพูด และควรอ้างอิงแหล่งที่มาว่าใครประพันธ์หรือแต่ง เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ประพันธ์ด้วย
นักพูดกับเกมส์เพื่อการศึกษา นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด ควรหาเกมส์เพื่อการศึกษามาประกอบการบรรยายหรือการอบรม เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เกมส์เพื่อการศึกษาจะช่วยให้การบรรยายในเชิงวิชาการเข้าใจง่ายขึ้น เนื่องจากเกมส์ส่วนใหญ่ ผู้อบรมหรือผู้เล่นจะต้องเล่นร่วมกัน ใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ ผู้อบรมหรือผู้เล่น จะมีส่วนร่วมมากกว่าการนั่งฟังแต่วิชาการอย่างเดียว
นักพูดกับอารมณ์ขัน นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูดที่ดี ควรมีอารมณ์ขันสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาเพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ที่สนุกสนาน โดยส่วนใหญ่ผู้ฟังคนไทยหรือธรรมชาติของคนไทยเรามักชอบเรื่องที่สนุกสนาน ตลก คนไทยเราชอบหัวเราะ มากกว่าจะชอบฟังอะไรที่มันเครียดๆ จริงจัง
นักพูดกับเนื้อหาสาระ นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด เวลาพูดทุกครั้งควร สอดแทรกสาระที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง เพื่อผู้ฟังจะได้เกิดปัญญา และนำสิ่งที่ฟังไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น นักพูดจะต้องเป็นนักอ่านเพื่อให้ตนเองเกิดปัญญาแล้ว จึงจะสามารถไปบรรยายหรือไปสอนผู้ฟังให้มีปัญญาขึ้นมาได้
นักพูดกับเวทีพูด นักพูดหรือคนที่ประกอบอาชีพทางด้านการพูด จำเป็นจะต้องแสวงหาเวทีในการพูด ยิ่งเป็นนักพูดหน้าใหม่ยิ่งต้องแสวงหาเวทีในการพูดจากเวทีต่างๆ เมื่อพูดดี หรือ เมื่อมีผู้ฟังติดใจ ฟังแล้วเกิดความประทับใจ คนก็มักจะบอกต่อ จะทำให้เวทีการพูดมากขึ้น ดังนั้น นักพูดหน้าใหม่ควร หาเวทีในการพูดให้มาก เนื่องจากโอกาสมักจะมีสำหรับผู้แสวงหาโอกาสเสมอ
สรุป คนที่จะเป็นนักพูดหรือคนประกอบอาชีพทางด้านการพูด จำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองให้เกิดความสามารถที่หลากหลาย ต้องนำเกมส์เพื่อการศึกษาได้ ต้องร้องเพลงได้เพราะบางครั้งจำเป็นจะต้องนำมาใช้ ต้องเป็นนักสะสมข้อมูล นักจดบันทึก เช่น จดคำคม คำกลอน สุภาษิตต่างๆ ทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในการพูดในอนาคต
สำหรับการฝึกการพูดโดยเฉพาะ การฝึกการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ก็เหมือนกับการฝึกถีบรถจักรยาน มันอาจจะมีอุบัติเหตุบ้าง เจ็บบ้าง ล้มบ้าง สำหรับคนที่ถีบจักรยานไม่เป็นอาจจะรู้สึกยากลำบาก การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมชนก็เช่นกัน ดังนั้นต้องอดทน ต้องฝึกฝน ต้องพยายาม จึงจะสามารถเป็นยอดนักพูดที่ผู้ฟังชื่นชมและชื่นชอบได้






...
  
ยอวาที
ยอวาที

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

สำหรับการพูดเกี่ยวกับการ “ ยอวาที” มีคนเขียนเป็นหนังสือกันน้อยมากหรือแทบจะไม่มีใครเขียน ซึ่งบทความฉบับนี้ ได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับการพูดแบบ “ ยอวาที ” มาจากหนังสือ “ พลังเพิ่มพลังพูด” ของท่านอาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ซึ่งท่านสามารถหาอ่านเพิ่มได้

การยอวาทีเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.2515 (ก่อนปี พ.ศ.2515 การโต้วาทีเป็นที่นิยมมาก มีการโต้วาทีกันบ่อยมากๆ และนักโต้วาทีเป็นระดับคนที่มีชื่อเสียงของสังคมไทยหรืออยู่ในระดับแนวหน้าของสังคมไทยเช่น นายควง อภัยวงศ์(อดีตนายกรัฐมนตรี) , ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท(อดีตนายกรัฐมนตรี) , คุณหญิงเต็มสิริ บุญยสิงห์ , คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร ฯลฯ ซึ่งการโต้วาทีในช่วงนั้นจะออกในแนวของการสะท้อนปัญหาของบ้านเมืองและวิพากษ์วิจารณ์การปกครองบ้านเมือง ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนสมัยนั้นมาก

แต่การปกครองในช่วงนั้น ผู้ปกครองจะมีลักษณะเป็นเผด็จการ อีกทั้งการโต้วาทีในช่วงหลังๆ เริ่มมีลักษณะดุเดือดมีการกระทบผู้มีอำนาจบ้าง ผู้มีอำนาจในสมัยนั้นจึงเริ่มทำหนังสือเตือน มีการตักเตือนผู้โต้วาทีบางท่าน มีการตรวจสอบหัวข้อหรือญัตติของการโต้วาทีทุกครั้ง ซึ่งถ้าหากต้องการโต้วาทีต้องขออนุญาตสันติบาลในสมัยนั้นทุกครั้ง ทำให้สร้างความลำบากใจทุกครั้งเมื่อต้องการจัดการโต้วาที

ทำให้การโต้วาทีในช่วงหลังๆเปลี่ยนไปใช้หัวข้อหรือญัตติที่เบาๆ จะเป็นเพราะการต้องการประชดผู้มีอำนาจก็ไม่อาจทราบได้ เช่น “ อกหักดีกว่ารักไม่เป็น” “ รักผู้หญิง รักลิงดีกว่า ”

“ รักผู้ชาย รักควายดีกว่า” และช่วงหลังสุดใช้ญัตติว่า “ เกิดเป็นหมาดีกว่าเกิดเป็นคน ” เมื่อโต้วาทีญัตตินี้เสร็จปรากฏว่า ฝ่ายหมาเป็นผู้ชนะ ทำให้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ ได้ลงข้อความหรือให้ข่าวในทางวิจารณ์แบบเสียหาย ทำนองว่าไม่มีอะไรจะพูดแล้วหรือ จึงได้พูดญัตตินี้ และคนพูดก็เป็นถึงคนที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง เป็นครูอาจารย์

ทำให้อาจารย์คุณหญิงเต็มสิริ บุญยสิงห์ ซึ่งท่านคงจะอึดอัดกับเรื่องดังกล่าว กล่าวคือ โต้วาทีเรื่องของบ้านเมืองการเมืองการปกครองก็โดนห้าม พอโต้วาทีในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับบ้านเมืองก็โดนด่า เมื่อพูดไม่ได้ ด่าไม่ได้ กระทบไม่ได้ ก็ชมมันเสียเลยดีกว่า เยินยอสรรเสริญ ยกยอปอปั้นให้มันสิ้นเรื่อง สิ้นราว ท่านจึงคิดรูปแบบของการ “ ยอวาที ” ขึ้นมา โดยมีการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย เหมือนกับการโต้วาที แต่เรียกเสียใหม่ว่า “ ฝ่ายเยิน” และ “ฝ่ายยอ” มีจำนวนผู้พูดฝ่ายละ 3-4 คน ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่ทั้งสองฝ่ายจะช่วยกันยก ช่วยกันยอ ช่วยกันเยิน ในหัวข้อหรือญัตตินั้นๆ โดยมากการยอวาทีมักไม่ใช่การแข่งขันที่จะต้องมีการให้คะแนนแต่มักจะเป็นการโชว์มากกว่า

ปี 2515 การ “ ยอวาที ” จึงถือกำเนิดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ญัตติที่ว่า “ ประชาธิปไตยไทยดีที่สุดในโลก ” แล้วก็มีการยอวาทีต่อมีหลายเวที จนเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้นนิยมยิ่งกว่าการโต้วาทีเสียอีก

การ “ ยอวาที” คือ การใช้ “ ศิลปะการกระแหนะกระแหน ” กล่าวคือการยอวาทีเป็นการพูด ประชดประชัน แดกดัน เหน็บแนม กระทบกระเทียบ ให้แสบๆ คันๆเข้าไปในรูหู บางท่านถึงกับกล่าวว่าการยอวาทีเป็น “ศิลปะการพูดโดยการด่าคนโดยมิให้ติดคุก ” แทนที่จะด่ากันตรงๆ เปลี่ยนมาเป็นการชมซะ ยอซะ เช่น ถ้าต้องการด่าว่าขี้เกียจจนตัวเป็นขน วันๆ เอาแต่นอนไม่ทำอะไร ก็เปลี่ยนมายอหรือชมว่า “ ไอ้เนี่ยมันขยัน เวลาทำอะไรมันชอบทำแบบหักโหม คิดดูซิว่าพอเช้าขึ้นมา ถึงที่ทำงานมันก็เริ่มตั้งหน้าตั้งตานอนเลย คนอื่นเขาพักเที่ยงกันไปกินข้าวกัน แต่มันยังอดทนนอนอยู่ บางวันยังต้องไปสะกิดบอกมันว่า อย่าหักโหมเกินไปนัก ไงๆ ก็ตื่นขึ้นมาพักผ่อนบ้าง ” ครับ ทำนองนี้ เขาเรียกว่า “ ยอวาที”

แต่เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้การยอวาทีมีความนิยมน้อยลง เพราะเราสามารถโต้วาทีได้กันอย่างตรงๆหรือพูดจาตรงๆได้มากขึ้น แต่ถ้าหากจะจัดการยอวาที ก็สามารถเลือกประเด็นที่ผู้ฟังหรือผู้คนรู้สึกอึดอัดรำคาญใจอยากพูดอยากระบาย เช่น ปัญหาเรื่องการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ก็สามารถพูดยอวาทีได้

ส่วนใหญ่การตั้งหัวข้อหรือญัตติในการยอวาที มักจะต้องมีคำว่า “ ดีที่สุด” “ สบายที่สุด” หรืออะไรก็ได้ที่ลงท้ายด้วยคำว่า “ ที่สุด” ซึ่งควรตรงข้ามกับความจริงซึ่งอาจจะ “ เลวที่สุด ” หรือ “ ห่วยที่สุด” “ ลำบากที่สุด” เช่น – เมืองไทยน่าอยู่ที่สุด – กรุงเทพฯน่าอยู่ที่สุด -การจราจรในกรุงเทพฯสะดวกที่สุด – รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ทำงานได้ว่องไวที่สุดในโลก – รัฐบาลนายบรรหาร ใจซื่อมือสะอาดที่สุดในโลก ฯลฯ

จุดเด่นของการ “ยอวาที” กล่าวคือ เป็นการใช้ศิลปะการพูดที่ต้องใช้อารมณ์ขันเพราะถ้าไม่มีอารมณ์ขันก็จะเป็นการพูดที่ดูจริงจังเกินไป อีกทั้งต้องใช้ศิลปะการพูดที่ให้ผู้ฟังเกิดความสะใจ จี้ใจ ต้องพูดในลีลาแบบ ทีเล่นทีจริง ตบหัวแล้วลูบหลัง ฯลฯ สำหรับการใช้อารมณ์ขันมักเป็นการใช้อารมณ์ขันแบบในลักษณะ “ ผิดเส้น ” เช่น

- ท่านทั้งหลายครับ ผมขอยืนยันว่าเมืองไทยนั้นน่าอยู่จริงๆ ครับ เพราะเมืองไทยเรานั้น ในน้ำก็มีปลา ในนาก็มีข้าว ในอ่าวก็มีแก๊ส ในแดดก็มีวิตามินดี ในซ่องโสเภณีก็ยังมีโรคเอดส์เลยครับ

- ผมเองก็ขอกล่าวเสริมว่าข้าราชการไทย ส่วนใหญ่ก็มักเป็นคนที่เที่ยงตรงกันเกือบทั้งนั้น ที่ว่าเป็นคนเที่ยงตรงนั้นหมายถึงว่า ถ้ายังไม่เที่ยงตรงก็ยังไม่โผล่หัวมาทำงานครับ

- ท่านผู้มีเกียรติครับ ผมขอเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจบ้าง เพราะโดนโจมตีหนักเหนือเกิน คนที่ไม่รู้อะไรก็อาจจะไม่ทราบว่าการเป็นตำรวจนั้น มันเหนื่อยหนักหนาสาหัสสากรรจ์ขนาดไหน ขนาดเพื่อนของผม คนหนึ่งรับราชการตำรวจมาจนกระทั่งติดยศพันตำรวจโท เป็นสารวัตรแล้ว ก็ยังมาบ่นกับผมว่า เขาเบื่ออาชีพตำรวจเต็มที เขาบ่นว่าอยากจะลาออกจากอาชีพตำรวจเพื่อไปหางานสุจริตอย่างอื่นทำบ้าง

ครับสำหรับ เนื้อหาและลีลา การยอวาที เราอาจจะเห็นว่าบางครั้งมันหมิ่นเหม่ต่อการติดคุกติดตะรางไม่น้อยครับ

ด้านข้อจำกัดของการ ยอวาที เป็นศิลปะการพูดที่ค่อนข้างยากครับ เพราะถ้ามือไม่ถึง ก็จะออกไปในทาง รุนแรง ก้าวร้าว จนกลายเป็นการตั้งวงด่ากันแบบ ตรงๆ ซึ่งจะผิดเจตนารมณ์ของการยอวาทีไป ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะพูด “ แซววาที ” เพราะพูดง่ายกว่ายอวาทีมาก ซึ่งการแซววาทีเราสามารถใช้การยอวาทีผสมลงได้

อีกทั้งการ “ ยอวาที” มักมีคนเข้าใจผิด นึกว่าเขาจัดให้มา ยกย่อง ชมเชย สรรเสริญ กันจริงๆ เขาไม่คิดว่าการ ยอวาที คือ การมาด่าทางอ้อม เพราะฉะนั้น บางงานผู้จัด จัดยอวาทีขึ้นเพื่อให้ผู้พูดมาสรรเสริญ สดุดี สถาบันของตนเอง ส่วนผู้ถูกเชิญก็เข้าใจว่าเขาให้มาพูดกระแหนะกระแหน เลยพูดกระแหนะกระแหน เหน็บแนมเสียยกใหญ่ ทางด้านผู้จัดก็ตกใจว่า เราเชิญเขาให้มาด่าเราหรือ หลังๆ ก็ไม่มีใครกล้าจัดการยอวาที พวกเราเลยหาดูการยอวาทียากขึ้น



...
  
การพูดต่อที่ชุมชน
การพูดต่อที่ชุมชน
โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การพูดต่อที่ชุมชน มีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ตลอดจนผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในการทำงาน คนที่มีทักษะในการพูดต่อที่ชุมชนย่อมได้เปรียบคนที่ไม่มีทักษะในการพูดต่อที่ชุมชนหรือผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน
หลายคนบอกว่าคนที่พูดเก่ง เขามักเป็นคนที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด เพราะความคิดดังกล่าว เลยไม่สนใจฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน แต่สำหรับตัวกระผม กระผมยืนยัน นั่งยันและนอนยัน 1,000 % เลยครับว่า การพูดต่อที่ชุมชนฝึกฝนได้ และมีคนอีกจำนวนมากมายในโลกนี้ก็ได้ยืนยันเช่นกัน
แล้วจะทำอย่างไรถ้าต้องการ พูดต่อหน้าที่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระผมขอแนะนำดังต่อไปนี้ครับ
1.ต้องมีเป้าหมาย หลายๆคน เห็นว่าการพูดต่อที่ชุมชนมีความสำคัญแต่ก็ไม่มีความพยายาม ไม่มีความมุ่งมั่นในการฝึกฝน แต่ตรงกันข้ามกับคนที่มีเป้าหมายหรือมีความใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนักพูด บุคคลเหล่านี้ก็จะทุ่มเทฝึกฝน อย่างไม่ลดละหรือไม่หยุดหย่อน ถ้าท่านขาดความกระตือรือร้นในการฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน ท่านลองนั่งเขียนบนกระดาษดูว่า ถ้าท่านพูดต่อที่ชุมชนได้ดี ท่านจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น ได้เงินเพิ่มมากขึ้น มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น มีโอกาสเป็นนักการเมืองในระดับต่างๆ หรือทำให้เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง โด่งดัง เป็นต้น
2.ศึกษาวิธีการพูดของนักพูดชื่อดังทั้งในอดีตและปัจจุบัน การศึกษาชีวิตและวิธีการพูดของบุคคลคนดังจะทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจและมีความต้องการที่จะเลียนแบบชีวิตหรือวิธีการพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคในการพูดต่อที่ชุมชนมากยิ่งขึ้น
3.ต้องเพิ่มความกล้าหาญและสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง บุคคลที่ต้องการเป็นนักพูดหรือพูดต่อที่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านจะต้องเพิ่มความกล้าหาญและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ความกลัวการพูดต่อที่ชุมชน เกิดจากหลายสาเหตุ แต่มีสาเหตุที่สำคัญๆไม่กี่อย่าง สาเหตุประการหนึ่งก็คือ เราไม่เคยชินหรือเราไม่คุ้นเคยต่อการพูดต่อที่ชุมชนนั่นเอง แล้วเราจะทำอย่างไรให้คุ้นเคยเวทีหรือการพูดต่อหน้าที่ชุมชน วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ท่านต้องขึ้นไปพูดต่อที่ชุมชนบ่อยๆนั่นเอง จงหาเวทีฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชนให้แก่ตนเอง แล้วท่านจะเกิดความเคยชินและคุ้นเคยเวทีการพูด แล้วความประหม่าของท่านก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
4.เรียนรู้หลักสุนทรพจน์ คือ เรียนรู้วิธีการเปิดฉาก การพูดเนื้อหาสาระ ตลอดจนถึงการเรียนรู้วิธีการปิดฉาก โดยส่วนใหญ่เขาจะยึดหลักดังนี้
ขึ้นต้น ตตต. เท่ากับ ต้นตื่นเต้น
ตอนกลาง กกก เท่ากับ กลางกลมกลืน
สรุปจบ จจจ เท่ากับ จบจับใจ
สุนทรพจน์ในการพูดที่ดีนั้น ก็เหมือนกับการเขียนเรียงความ ซึ่งจะต้องมี คำนำ เนื้อหา สรุป การพูดที่ดีก็เช่นกัน ก็จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียนซึ่งจะต้องมีโครงสร้างหรือโครงเรื่อง จึงจะทำให้เกิดการลำดับการพูดได้ดี และจะส่งผลให้ การพูดมีความเข้าใจง่าย ไม่สับสน เนื่องจากมีการลำดับเหตุการณ์ ลำดับช่วงเวลา
5.สร้างศิลปะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ นักพูดที่ดีเมื่อวิเคราะห์ว่าผู้ฟังนั่งฟังด้วยความเบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากที่จะฟังการพูด นักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดีจะต้องรู้จักเทคนิคในการช่วยให้ผู้ฟังเกิดความสนใจหรือเกิดความตั้งใจฟังตลอดการพูด สำหรับเทคนิคที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมีดังนี้
5.1.การใช้น้ำเสียง ถ้อยคำเป็นการสื่อความหมายแต่น้ำเสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ การพูดด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบตลอดการพูดมักจะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจ เบื่อหน่าย ดังนั้น นักพูดที่ดีจะต้องมีน้ำเสียงในการพูดที่มีความหลากหลายในระหว่างการพูดต่อที่ชุมชน คือ ต้องมีเสียงเบาบ้าง ดังบ้าง เน้นบ้าง เงียบบ้าง เร็วบ้าง ช้าบ้าง ยืดเสียงบ้าง เป็นต้น
5.2.หาตัวอย่างแปลกๆ ใหม่ๆ มานำเสนอ การพูดตัวอย่างเดิมๆ ซ้ำๆ หรือตัวอย่างที่ผู้ฟังมักเคยได้ยินแล้วนั้น ผู้ฟังเมื่อทราบว่าเคยฟังแล้วก็มักจะไม่อยากที่จะฟังซ้ำ ดังนั้น นักพูดต่อที่ชุมชนที่ดีต้องพยายามหา ตัวอย่างใหม่ๆ แปลกๆ มานำเสนอหรือมาพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและใส่ใจที่จะฟังการพูดตลอดระยะเวลาในการพูด
5.3.นำอารมณ์ขันมาประกอบการพูด นักพูดเกือบทุกยุคทุกสมัย เกือบทุกชนชาติมักชื่นชอบนักพูดที่พูดแล้วสนุก มีอารมณ์ขัน เพราะทำให้การฟังเป็นไปด้วยความสนุก เกิดเสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ เกิดเสียงที่ให้กำลังใจจากผู้ฟัง ยิ่งเป็นสังคมไทยเรา ผู้ฟังยิ่งชื่นชอบนักพูดที่มีอารมณ์ขัน
5.4.นำกิจกรรมมาประกอบหรือสอดแทรก ในสถานการณ์ที่การพูดต้องใช้เวลานาน เช่นต้องพูด 6 ชั่วโมง แน่นอนคนฟังก็ไม่ต้องการจะนั่งนานๆหรือนั่งฟังตลอด 6 ชั่วโมงแบบอยู่กับที่ ดังนั้น นักพูดที่ดีควรหากิจกรรมมาประกอบหรือนำมาสอดแทรก เพื่อให้พูดฟังได้ยืนบ้างหรือเกิดการเคลื่อนไหวร่างกายบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ทั้งนี้นักพูดจะต้องหากิจกรรมมาประกอบให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องหรือสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองพูดจึงจะเกิดความเหมาะสมและผู้ฟังก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าวด้วย
6.ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน ข้อนี้เป็นข้อสุดท้ายที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าขาดข้อนี้ไปแล้ว ท่านก็ไม่สามารถพูดต่อที่ชุมชนได้ดีหรือเป็นนักพูดที่ดีได้ จงฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน บางคนอ้างว่าตนเองไม่มีเวทีเลยไม่รู้จะฝึกฝนอย่างไร คืออย่างนี้นะครับ นักพูดเรืองนามในอดีตเช่น เดล คาร์เนกี ฝึกพูดขณะรดน้ำต้นไม้หรือขณะตัดหญ้าที่รก อดีตประธานาธิบดีลินคอล์น ฝึกพูดบนหลังม้าขณะเดินทางข้ามรัฐซึ่งสมัยอดีตต้องใช้ม้าเนื่องจากยังไม่มีรถยนต์ สำหรับตัวผมเอง สมัยก่อนผมเองก็ไม่มีเวทีที่จะฝึกฝนเช่นกัน กระผมเลยฝึกฝนด้วยตนเอง ขณะเดินออกกำลังตอนเช้าหรือตอนมีเวลาว่าง ก็จะเลือกหัวข้อ แล้วลองพูดหัวข้อที่ตนเองเลือกประมาณ 2-5 นาที ต่อ1หัวข้อหรือ 1 เรื่อง การฝึกด้วยตนเองเช่นนี้ จึงทำให้กระผมพูดได้คล่องขึ้น
สุดท้ายนี้ ถ้าท่านต้องการความก้าวหน้า ถ้าท่านต้องการเป็นผู้นำ ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ถ้าท่านต้องการมีชื่อเสียงโด่งดัง การพูดต่อที่ชุมชนจะนำพาท่านไปสู่สิ่งเหล่านั้น จงเรียนรู้และจงฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชนแล้วท่านจะได้ดังสิ่งที่ท่านปรารถนา
...
  
การพูดกับการเป็นผู้นำ
ผู้นำกับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน (เป็นคำพูดของอดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ของสหรัฐอเมริกา)
โปรดอย่าถามว่าประเทศชาติของท่านจะทำอะไรให้แก่ท่านได้บ้าง แต่ขอให้ถามว่าเราจะทำอะไรบ้างสำหรับประเทศชาติของท่าน(เป็นคำพูดของอดีตประธานาธิบดี จอห์น ฟิตซ์เจอราล เคนเนดี้)
ถ้าคุณมีเงินหนึ่งรูปปี และฉันมีเงินหนึ่งรูปี แล้วนำเงินนั้นมาแลกกัน ก็จะไม่มีความหมายอะไร เพราะเราก็จะมีเงินแค่หนึ่งรูปีเท่าเดิม แต่ถ้าคุณมีหนึ่งความเห็น และฉันมีหนึ่งความเห็น แล้วเรานำความเห็นนั้นมาแลกกัน เราทั้งคู่ก็จะได้กำไร เพราะเราต่างก็มีความเห็นเพิ่มขึ้นเป็นสองความเห็น (เป็นคำพูดของ นางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย)
จากข้อความในประโยคข้างต้น ทำให้เราทราบว่าคำพูดแค่ประโยคเดียว สามารถเป็นที่จดจำของคนทั้งโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนที่เป็นผู้นำคำพูดของบุคคลนั้น มักเป็นที่สนใจของสาธารณะ ผู้ที่เป็นผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ต้องระมัดระวังคำพูด คำพูดแค่ประโยคเดียวสามารถเป็นที่จดจำของบุคคลต่างๆ ได้ทั้งในแง่ดีและในแง่ไม่ดี ดังคำพูดของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยของเราที่กล่าวไว้ว่า “ ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูดคำพูดเป็นนายเรา”
การเป็นผู้นำที่ดีมักมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น ความรอบรู้ , ความอดทน ,เป็นคนดี มีศีลธรรม , มีไหวพริบ ฯลฯ แต่คุณสมบัติหนึ่งที่ผู้นำพึงมีก็คือ การพูดนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดในชีวิตประจำวันและที่สำคัญการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ต้องมีการพัฒนาและฝึกฝนการพูดอยู่เสมอ
การพูดของผู้นำที่ดี ผู้นำควรพูดให้มีความหลากหลาย เช่น มีคำคมในการพูด , คำพูดนั้นมีความชัดเจน , มีจิตวิทยาทางการพูด , รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด , รู้จักใช้ศาสตร์และศิลปะในการพูดฯลฯ
มีคำคมในการพูด ผู้นำที่ดีมักจะต้องเป็นผู้ที่สะสมคำคมของบุคคลสำคัญๆ มักเป็นผู้รวบรวมคำคมต่างๆ เพื่อที่จะนำไปใช้ในอนาคต เนื่องจากคำคมเป็นคำสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้ลึกซึ้ง ผู้นำที่พูดคำคมได้ดีมักเป็นผู้ที่ใช้ภาษาได้ดี รู้จักใช้คำต่างๆ ดั้งนั้น หากผู้นำต้องการฝึกฝนใช้คำคมต่างๆ ผู้นำควรจดจำ บันทึก คำคมของบุคคลต่างๆ ที่ตนชื่นชอบ แล้วว่างๆ ผู้นำควรหัดคิดคำคมหรือปรับเปลี่ยนคำคมของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อนำไปใช้ในอนาคตในการพูด
คำพูดนั้นมีความชัดเจน ผู้นำควรฝึกพูดให้มีความชัดเจนหรือหัดสื่อความหมายจากความคิดของตนเองให้ผู้ฟังมีความเข้าใจที่ตรงกัน อีกทั้งเวลาพูดก็ต้องพูดให้มีความชัดเจน หนักแน่น ไม่ใช่พูดด้วยความไม่มั่นใจ
มีจิตวิทยาทางการพูด ผู้นำควรเรียนรู้ ศึกษา เรื่องของจิตวิทยาทางการพูด ว่าเวลาพูดกับผู้ฟังในวัย อายุ เพศ อาชีพ จำนวนคนฟังมากน้อย ควรมีการพูดที่แตกต่างกันไป เพื่อจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจในการพูดของผู้นำ
รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด ผู้นำควรรู้จักพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะการพูดเรื่องเดียวกัน แต่ต่างสถานที่ ต่างเวลา ต่างเหตุการณ์ ก็ควรใช้คำพูดที่มีความแตกต่างกัน
รู้จักใช้ศาสตร์และศิลปะในการพูด ผู้นำควรอ่านหรือฟัง เทคนิคต่างๆ ในการพูดให้มากๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้
อีกทั้งการนำไปใช้หรือเรียกว่า ศิลปะในการพูด ควรมีการพัฒนาตนเอง ทั้งมีการปรับปรุงน้ำเสียง ท่าทาง บุคลิกภาพ การใช้ถ้อยคำภาษา การแสดงออกทางใบหน้า การเดิน การใช้ไมโครโฟน ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นหรือให้เหมาะกับตนเอง
ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำจึงต้องหัดฝึกฝนการพูด อีกทั้งต้องหมั่นศึกษา เรียนรู้ เทคนิคใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ผู้นำควรมีการพัฒนาตนเอง ปรับปรุง แก้ไข ตนเอง เพื่อให้การพูดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คำพูด เป็นทั้งของขวัญที่ล้ำค่า และ คำพูด เป็นทั้งหอกดาบที่ทิ่มแทง











...
  
ศิลปะการพูดในงานบริการ
ศิลปะการพูดในงานบริการ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในยุคปัจจุบันการบริการลูกค้ามีความสำคัญมาก หากลูกค้าประทับใจในการบริการ ลูกค้ามักจะซื้อสินค้าและบริการซ้ำ หรือ ลูกค้าบางรายอาจบอกเพื่อนฝูง คนสนิทให้มาซื้อสินค้าและบริการต่อ
การบริการลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญในยุคของการแข่งขันในปัจจุบัน ซึ่งเทคนิคในการบริการลูกค้ามีหลากหลาย แต่สิ่งที่บริษัท ห้างร้าน สามารถทำได้ง่าย อีกทั้งไม่จำเป็นต้องลงทุน หรือลงทุนน้อยที่สุด ก็คือ
การฝึก พนักงาน ลูกน้อง ให้รู้จักพูดในการต้อนรับ หรือ บริการ ลูกค้า เพื่อสร้างความประทับใจนั้นเอง
การพูดในงานบริการหรือการพูดในการทำงานขาย จึงต้องควรมีการอบรม ฝึกฝน และพัฒนา เพื่อให้พนักงานหรือลูกน้อง เกิดความมั่นใจในการพูด ในการสื่อสารกับลูกค้า เช่น การพูดเพื่อเพิ่มยอดขาย
ในระหว่างบริการลูกค้า “ คุณลูกค้าจะรับทานเครื่องดื่มเป็นน้ำส้มหรือน้ำอัดลม ดีค่ะ ” กล่าวคือ การพูดเพื่อให้ลูกค้าเลือกไม่ว่าจะเลือกอะไร เราก็สามารถเพิ่มยอดขายได้จากสิ่งที่ลูกค้าเลือกในสินค้านั้น
การพูดในงานบริการ หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าคนที่พูดเก่งมักจะใช้คำพูดในการทำงานบริการที่เก่งไปด้วย แต่ความจริงไม่ใช่ครับ การสื่อสารหรือการพูดในงานบริการ ผู้ให้บริการควรเป็นฝ่ายรับฟังให้มากกว่าพูด ฟังเพื่อหาความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง และเมื่อลูกค้าต้องการแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ควร พูดด้วยเหตุผล อีกทั้งควรใช้น้ำเสียงทุ้มต่ำ
การพูดในงานบริการที่ดี หลีกเลี่ยงการพูดจาไม่สุภาพ การพูดจาไม่สุภาพเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารับไม่ได้ หากมีพนักงานพูดจาไม่สุภาพก็ไม่ควรให้ทำงานด้านฝ่ายต้อนรับหรือให้ทำงานในฝ่ายบริการลูกค้า
การพูดในงานบริการที่ดี ควรหลีกเลี่ยงคำพูดในเชิงกล่าวตำหนิลูกค้า ถึงแม้ลูกค้าจะเป็นฝ่ายผิดก็จริง พนักงานหรือคนที่ทำงานด้านบริการก็ไม่ควรพูดในเชิงกล่าวตำหนิ อีกทั้งควรระลึกเสมอว่า หากไม่มีลูกค้าก็ไม่มีเรา
การพูดในงานบริการที่ดี ควรพูดให้มี ปิยวาจา ซึ่งเป็นข้อหนึ่งในสี่ของสังคหวัตถุ 4 กล่าวคือ การพูดด้วยคำพูดที่อ่อนหวานไพเราะ จริงใจ ไม่พูดจาก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งควรพูดให้ถูกกาลเทศะ การพูดที่ดีจึงเป็นประตูด่านแรกของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์และสำคัญต่อการทำงานด้านการบริการ
การพูดในงานบริการที่ควรพูดจนติดปาก คือ “ สวัสดี ” “ ขอบคุณครับ ” “ ขอโทษครับ” “ มีอะไรให้ผมรับใช้ครับ” อีกทั้งควรจำชื่อลูกค้าให้ได้ด้วย การจำชื่อลูกค้าและเรียกชื่อลูกค้าได้อย่างถูกต้องจะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจได้เช่นกัน
ผู้ทำงานด้านบริการที่ดี ควรพูดอย่างมีสติ เนื่องจาก การทำงานด้านบริการอาจถูกคำพูดหรือถูกกระทำด้วยพฤติกรรมของลูกค้าในแบบต่างๆ ผู้ให้บริการจึงควรอดทน อีกทั้งต้องระวังคำพูด เพราะลูกค้าบางคนไม่พอใจสินค้า หรือลูกค้าบางรายต้องการใช้สินค้าด่วน แต่บริษัท ห้างร้าน เราส่งให้ไม่ได้ จึงทำให้ลูกค้าโกรธ พูดจาไม่ดี กล่าวว่าต่างๆ ดังนั้น พนักงานหรือผู้ให้บริการ ควรมีสติในการควบคุมอารมณ์ อีกทั้งไม่ควรใช้อารมณ์ตอบ จงระวังคำพูด
ผู้ทำงานด้านบริการที่ดี ควรพูดให้ตรงประเด็น ไม่พูดจาวกวนจนลูกค้าฟังไม่เข้าใจ จงพูดให้ลูกค้าเกิดความกระจ่างชัด อีกทั้งเมื่อลูกค้าสั่งสินค้า ควรพูดจาสรุปคำพูดของลูกค้าอีกครั้งเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ และช่วยลดความผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้า บริการ อีกด้วย
ดังนั้น การพูดในการทำงานด้านบริการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ ควรใส่ใจ เนื่องจาก การใช้คำพูด เป็นสิ่งที่ลงทุนด้วยเงินน้อยที่สุด แต่ในทางกลับกัน การใช้คำพูดในงานบริการ กลับทำให้บริษัทเกิดกำไร เกิดลูกค้าเพิ่ม ขึ้นอีกมากมาย
สินค้าดี ถ้าคนขายพูดไม่ดี ก็อาจเป็นสินค้าที่ไม่ดี
สินค้าไม่ดี ถ้าหากคนขายพูดจาดี สินค้านั้นก็อาจเป็นสินค้าที่ดีในสายตาของผู้บริโภคได้


...
  
การเปิดฉากการพูด
การเปิดฉากการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดที่ดีมักจะต้องมีการสร้างโครงเรื่อง กล่าวคือจะต้องมีการเปิดฉากการพูด มีเนื้อเรื่อง และมีสรุปจบ ในการพูดแต่ละครั้ง จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ในบทความนี้เราจะมากล่าวกันในเรื่องของการเปิดฉากการพูด
การเปิดฉากการพูดมีความสำคัญมากเพราะถ้าหากนักพูดท่านใด เปิดฉากการพูดให้เป็นที่น่าสนใจ ก็จะทำให้ผู้ฟังชวนติดตามฟังเนื้อหาของการพูด ซึ่งการเปิดฉากที่ดี นักพูดควรเปิดฉากดังนี้
1.เปิดฉากการพูดแบบพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ โดยปกติแล้ว การพาดหัวข่าวโดยเฉพาะหน้าที่หนึ่งของหนังสือพิมพ์ มักเป็นที่สนใจของผู้อ่าน หากนักพูดนำข้อความจากหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์มาเปิดฉากการพูด ก็จะได้รับความสนใจ แต่ทั้งนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่พูด เช่น จับพ่อข่มขืนลูกแท้ๆ วัย 13 ปี , ครูพละข่มใจเด็ก 15 ปี ผูกคอตายหนีความผิด !!! ฯลฯ (กรณีเราจะพูดถึงเรื่องของปัญหาทางเพศหรือการแก้ไขปัญหาสังคมในยุคปัจจุบัน)
2.เปิดฉากแบบกล่าวคำถาม เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ฟังได้ฉุกคิด เช่น ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนเราสามารถมีอายุยืนยาวนาน 120 ปี หรือ ท่านเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ระยะทางหมื่นลี้ย่อมต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกหรือไม่ หรือ ท่านทราบหรือไม่ว่า ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการสูญเสียเงินทองและทรัพยากรต่างๆ เป็นจำนวนเท่าไรต่อปี
3.เปิดฉากแบบชั้นเชิงกวีหรืออ้างอิงวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นการนำเอาบทกวีหรือวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียงมาขึ้นต้น แต่ต้องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะพูด ชั้นเชิงกวีในที่นี้รวมถึง คำกลอน สำนวน โวหาร คำคม คำพังเพย สุภาษิต ฯลฯ หรือ การนำวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ควรกล่าวชื่อของเจ้าของวาทะด้วยเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของวาทะ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยหมายถึง การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชนและของประชาชน
4.เปิดฉากแบบให้ความรื่นเริง เป็นการเปิดฉากโดยการนำเอาอารมณ์ขัน มุขสนุกสนาน ขึ้นมาเพื่อเรียกความสนใจจากผู้ฟัง เป็นการเปิดฉากแบบเป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศไม่เคร่งเครียดจนเกินไป แต่ข้อควรระวังไม่ควรใช้มุขที่ไปกระทบกระเทือนผู้ฟัง อีกทั้งการใช้มุขต่างๆ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากผู้ฟังอาจจะไม่หัวเราะ หากสามารถขึ้นต้นโดยวิธีอื่นได้ ก็ไม่ควรเสี่ยงในการใช้มุขหรืออารมณ์ขันในการขึ้นต้นในการพูด
ฉะนั้นการเปิดฉากที่ดี ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ความเหมาะสม อีกทั้งต้องพิจารณาเรื่องราวที่จะพูด สำหรับข้อควรระวังในการการเปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้
1.ไม่ควรพูดออกตัว การได้พูดแต่ละงาน หรือ แต่ละครั้งไม่ควรพูดออกตัว ว่าเราไม่ได้เตรียมตัวมาพูด งานนี้น่าจะมีคนที่เหมาะสมกว่าเราพูด เมื่อวานนี้นอนหลับดึกไปหน่อยไม่รู้ว่าวันนี้จะพูดออกมาเต็มที่หรือไม่ ฉะนั้นการพูดออกตัวควรหลีกเลี่ยง เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง
2.ไม่ควรพูดอ้อมค้อม วกไปเวียนมา จงพูดให้ตรงประเด็น เข้าประเด็น ไม่ใช่ไปพูดเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เขาเชิญพูด การเกริ่นยาวเกินไปจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญ ไม่อยากฟัง ไม่ควรขี่ม้าเลียบค่าย
3.ไม่ควรพูดขออภัย เช่น หากกระผมพูดอะไรผิดพลาดก็คงต้องขออภัยด้วย หรือ ขออภัยหากวันนี้พูดได้ไม่ดีนัก ฉะนั้น หากเตรียมการพูดมาดี ก็ไม่ต้องขออภัย จงพูดไปด้วยความมั่นใจในตนเอง
4.ไม่ควรพูดโอ้อวด เช่น ท่านผู้ฟังครับ สำหรับหัวข้อนี้ที่กระผมจะพูดในวันนี้เป็นหัวข้อที่กระผมรู้มากที่สุดในโลก ไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่ากระผม การพูดโอ้อวดตนเองมากๆ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความหมั่นไส้ อีกทั้งมองผู้พูดในทางไม่ดีมากกว่าจะมีความรู้สึกที่ดีๆกับผู้พูด
5.ไม่ควรถ่อมตัว เมื่อพูดโอ้อวดไม่ดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้พูดถ่อมตัว เช่น ความจริงการพูดในหัวข้อนี้ กระผมมีความรู้น้อยมาก ท่านผู้ฟังในที่นี้เสียอีกที่มีความรู้มากกว่ากระผม แต่ถึงอย่างไรก็ดีเมื่อถูกเชิญมาพูดแล้ว กระผมก็ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยฟังกระผมพูดด้วยครับ การพูดถ่อมตัวจะทำให้ผู้ฟังเกิดการขาดศรัทธา เกิดความไม่เชื่อมั่นว่าวิทยากรหรือผู้พูด จะมีความรู้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเป็นการสร้างความน่ารำคาญให้แก่ผู้ฟังอีกด้วย
ฉะนั้น การเปิดฉากการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ท่านผู้อ่านจึงควรเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ โอกาส ควรเปิดฉากให้มีเสน่ห์ น่าตื่นเต้น ไม่ควรเปิดฉากให้บรรยากาศเกิดความน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ ไม่น่าฟัง
ทั้งนี้ การเปิดฉากที่ดีคงขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะในการพูดของแต่ละท่าน







...
  
การดำเนินเรื่องในการพูด
การดำเนินเรื่องในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การสร้างโครงเรื่องในการพูด การสร้างโครงสร้างที่ดีควรมีโครงสร้างกล่าวคือ ส่วนของคำขึ้นต้น ส่วนของการดำเนินเรื่อง และส่วนสรุป ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของการดำเนินเรื่องในการพูด การดำเนินเรื่องที่ดีจะต้องมีความสอดคล้องกับคำขึ้นต้นและส่วนสรุป ลักษณะของการดำเนินเรื่องในการพูดที่ดีมีดังนี้
1.เรียงตามลำดับ ของเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ การพูดที่ดีควรมีการเรียบเรียงตามเหตุการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่สับสน เช่น เรียงตามอดีต ปัจจุบัน ไปอนาคต หรือ เรียงตามวัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา หรือ เรียงจากจากจังหวัดทางด้านเหนือสุดแล้วพูดไล่ลงไปยังจังหวัดใต้สุด ฯลฯ การเรียงตามเวลา เรียงตามวัย เรียงตามจังหวัดตามข้อความข้างต้นจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจมากกว่า การไม่ได้มีการลำดับ
2.เน้นย้ำประเด็นเดียว การดำเนินเรื่องที่ดี ควรมีการเน้นย้ำประเด็นเดียว ไม่ควรพูดหลายประเด็นจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสน ผู้พูดไม่ควรพูดในหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น หากเขาเชิญให้ไปพูดเรื่อง “ ยาเสพติด ” ก็ควรพูดถึง ปัญหาของยาเสพติด ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติด ฯลฯ แต่บางคนไม่ได้พูดอย่างนั้นดันไปพูดถึงเรื่องของ น้ำท่วม การเมือง สิ่งแวดล้อม มลพิษ กีฬา ฯลฯ
3.ใช้ตัวอย่างประกอบ การใช้ตัวอย่างประกอบมีความสำคัญมาก เพราะตัวอย่างประกอบจะทำให้การพูดเห็นภาพพจน์และเข้าใจได้มากกว่าไม่มีตัวอย่างประกอบ อีกทั้งช่วยขยายความให้มากขึ้น การใช้ตัวอย่างประกอบที่ดีควรใช้ตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องที่พูด ยิ่งหากเป็นตัวอย่างที่เป็นของจริงหรือเป็นประสบการณ์จริงของผู้พูดก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเคารพ ศรัทธา เชื่อมั่น เชื่อถือ ผู้พูดได้มากขึ้น
4.ต้องสามารถตัดทอนหรือขยายความได้ การพูดเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากเราเตรียมเนื้อหาในการพูดแล้วมีเวลาน้อยไป หรือมีเวลามากเกินไปกว่าเนื้อหา นักพูดที่ดีต้องสามารถตัดทอนเนื้อหาบางส่วนหรือเพิ่มเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ผู้จัดเขากำหนดให้
5.ควรมีการใช้ น้ำเสียง ท่าทาง บุคลิกลักษณะ สายตา ภาษา ถ้อยคำ สีหน้า ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด การพูดที่ดีต้องมีการใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด หากพูดเรื่องเศร้า ควรพูดเสียงเบาๆ ช้าๆ แต่หากพูดเรื่องที่ตื่นเต้น ควรใช้น้ำเสียงที่ดังกว่าปกติ ไวกว่าปกติ อีกทั้งหากเป็นเรื่องเศร้า ควรใช้สีหน้าที่สอดคล้องกับเรื่อง ไม่ควรหัวเราะหรือยิ้มเวลาพูด
6.ขั้นตอนการเตรียมการพูดหรือการตรวจสอบการพูด นักพูดที่ดีต้องมีการเตรียมตัวทุกครั้งก่อนขึ้นพูด การเตรียมเนื้อหาก็มีส่วนสำคัญ เมื่อเตรียมการพูดโดยการเขียนโครงเรื่องแล้ว ต้องมีการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ตัดทอน ว่าส่วนไหนควรเพิ่ม ส่วนไหนควรตัดทอน อีกทั้ง ถ้าจะให้ดีควรฝึกการพูดดังๆ สักสองสามรอบ ก่อนไปพูดจริง
การตรวจสอบการพูดนี้จะทำให้เราจำเนื้อหาของเรื่องได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงคำพูดหรือถ้อยคำให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง วัยของผู้ฟังอีกด้วย
สำหรับการสร้างเนื้อหาของเรื่องที่ดี ท่านควรปฏิบัติดังนี้ ท่านควรรวบรวมเนื้อหาของเรื่องที่จะพูดทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำเนื้อหามาตัดต่อกัน ดูว่าเนื้อหาอะไรเป็นประเด็นหลัก เนื้อหาอะไรเป็นประเด็นรอง หรือเป็นประเด็นย่อย จงพิจารณาประเด็นในการพูดให้มีเพียงประเด็นใหญ่เพียงประเด็นเดียว อีกทั้งควรเตรียมถ้อยคำให้เหมาะสมกับเนื้อหา แล้วจึงมาดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน เนื้อหาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ท้ายนี้ อยากฝากบทประพันธ์ที่เกี่ยวกับการสร้างโครงเรื่อง ของอาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
“ จงพูดดี มีมากล้น คนชื่นชอบ ตามระบอบ ต้นตื่นเต้น เห็นเหมาะสม
ให้กลมกลืน ลื่นกลาง ช่างน่าชม จบให้คม สมรับ จับจิตใจ ”









...
  
การปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การปิดฉากการพูด เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของการสร้างโครงเรื่องในการพูด การปิดฉากเป็นส่วนสุดท้ายของโครงเรื่อง ซึ่งมีการลำดับคือ การเปิดฉากการพูด การดำเนินเรื่อง และการปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูดที่ดี เดล คาร์เนกี นักพูดชื่อดังเคยให้คำแนะนำไว้ว่า “ จงบอกเขาอีกครั้งหนึ่งว่าท่านได้บอกอะไรแก่เขาบ้าง ” แต่อย่างไรก็ตามวิธีการปิดฉากการพูดที่ดีมีดังนี้
1.ปิดฉากแบบสรุปใจความสำคัญ เป็นการสรุปเนื้อหาของเรื่องที่พูดอีกครั้งโดยย่อ ว่าสิ่งที่พูดมามีกี่ข้อ เช่น ส่วนประสมทางการตลาดสรุปแล้วมีทั้งหมด 4 P (Marketing Mix) ได้แก่ 1. Product ผลิตภัณฑ์ 2. Price ราคา 3. Place ช่องทางหรือสถานที่ 4. Promotion การส่งเสริมการตลาด
2.ปิดฉากแบบ คำคม กวี สุภาษิต หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ เป็นการปิดฉากโดยยกคำคม กวี สุภาษิต สำนวน โวหาร หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ แต่ข้อควรระวัง ผู้พูดต้องจดจำ คำคม กวี กลอน สุภาษิต สำนวน โวหารหรือวาทะของบุคคลสำคัญให้แม่นยำ ไม่ควรพูดผิด เนื่องจากการปิดฉากมีความสำคัญมากในการพูด เราจะต้องปิดฉากด้วยความมั่นใจ ปิดฉากด้วยความหนักแน่น หากพูดผิดๆถูกๆ ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเคารพ นับถือ ไม่ศรัทธาได้
3.ปิดฉากแบบชักชวน เรียกร้อง กล่าวคือ เมื่อพูดถึงเนื้อหาของเรื่องเสร็จแล้ว ควรสรุปจบโดยการชักชวน เรียกร้องหรือรณรงค์ ให้ผู้ฟังได้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การชักชวนให้เลิกบุหรี่ การรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย การเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น
4.ปิดฉากแบบฝากให้คิด เป็นการปิดฉากแบบไม่ได้ชี้นำผู้ฟัง แต่เป็นการปิดฉาก โดยพูดถึงเนื้อหาของเรื่องโดยให้ข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล เสนอปัญหา แต่ฝากให้ผู้ฟังไปคิดต่อ เช่น ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นปัญหาที่พูดถึงกันมายาวนาน เราจะปล่อยให้ปัญหาคอรัปชั่นมีกันอีกนานเท่าไร เมื่อพูดจบประโยคก็ลงจากเวทีไปโดยไม่ต้องรอคำตอบจากผู้ฟังหรือผู้พูดพูดตอบ
5.ปิดฉากแบบอารมณ์ขัน เป็นการปิดฉากที่นำเอาเรื่องราวที่ขำขันมาใช้ เนื่องจากสังคมไทยส่วนใหญ่ชอบความสนุกสนาน รื่นเริง ไม่ค่อยชอบการพูดที่มีลักษณะเคร่งเครียด หากนักพูดท่านใด พูดตลก พูดสนุกสนาน มักเป็นที่ยอมรับนับถือ อีกทั้งยังสร้างความศรัทธาให้แก่ผู้ฟังได้ด้วย แต่ข้อควรระวัง กล่าวคือ เรื่องที่เรานำมาปิดฉากในการพูด อาจทำให้ผู้ฟังไม่หัวเราะได้ แทนที่ผู้ฟังจะหัวเราะ กลับนั่งเงียบกันทั้งห้อง กระสุนเกิดด้านขึ้น ดังนั้นหากหลีกเลี่ยงได้ ควรปิดฉากด้วยวิธีการอื่นได้ก็จะเป็นการดีกว่า
สำหรับการปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง หรือไม่ควรพูด เพราะเป็นการปิดฉากที่ฟังแล้ว เรียบๆ ไม่ทรงพลัง เช่น
- ขอจบแต่เพียงแค่นี้ , ขออภัยหรือขอโทษหากพูดอะไรผิดพลาด , ขอขอบคุณท่านผู้ฟังที่มาฟังกันในวันนี้
ฯลฯ ความจริงการปิดฉากในลักษณะไม่ถือว่าผิดพลาด เสียหายอะไร แต่เป็นการปิดฉากที่ไม่ค่อยจะทรงพลัง หรือ เป็นการปิดฉากที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ
ดังนั้นลักษณะการปิดฉากที่ดี ควรคำนึงถึง ความสอดคล้องระหว่าง การเปิดฉากการพูด และ การดำเนินเรื่อง การปิดฉากที่ดีควรมีความกระฉับ อีกทั้งต้องมีโครงเรื่องเป็นสุนทรพจน์
โดยสรุป การปิดฉากการพูด เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ อีกทั้งต้องใส่ใจในการเตรียมการพูดว่าเราจะปิดฉากอย่างไรให้เป็นที่ประทับใจผู้ฟัง เราจะปิดฉากอย่างไรให้ตรึงใจผู้ฟัง การปิดฉากที่ดีสามารถสร้างความศรัทธา ความน่าเชื่อถือของผู้พูดได้ ฉะนั้น นักพูดที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉาก ไม่ใช่เปิดฉากดี ดำเนินเนื้อเรื่องดี แต่หากปิดฉากไม่ดี ก็จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ไม่เป็นที่ประทับใจผู้ฟังมากนัก หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ก็ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉากการพูดครับ

...
  
วิธีการฝึกฝนการพูด
วิธีการฝึกฝนการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในสมัยที่กระผมฝึกฝนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนใหม่ๆ กระผมมีความประหม่า ตื่นเต้น พูดวกไปเวียนมา พูดแล้วผู้ฟังงง แต่เดี๋ยวนี้ เมื่อฝึกฝนการพูดบ่อยๆ ทำให้ความประหม่าลดน้อยลง ความตื่นเต้นลดน้อยลง การพูดมีโครงเรื่อง มีระบบมากขึ้น พูดแล้วจากผู้ฟังงง เริ่มเปลี่ยนเป็นผู้ฟังมีความเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งบางหัวข้อที่พูด ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธาอีกต่างหาก
ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึง วิธีการฝึกฝนการพูด ซึ่งวิธีการฝึกฝนเป็นศิลปะของแต่ละคน ในช่วงต้นๆ อาจลองผิดลองถูกก่อน เพราะวิธีการฝึกฝนการพูดของนักพูดท่านหนึ่ง เราฝึกฝนตามวิธีดังกล่าวเราอาจไม่ชอบหรือไม่ถูกกับจริตหรือนิสัยใจคอของเราก็ได้ เช่น เดล คาร์เนกี้ ครูสอนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนระดับโลก เคยฝึกฝนการพูดตอนถอนหญ้าในสนามหญ้าภายในบ้าน , อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดี เคยฝึกฝนการพูดตอนอยู่บนหลังม้า เนื่องจากต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ต้องใช้เวลาในการเดินนานจึงใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โดยการฝึกฝนการพูด , อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เคยให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ “ เจาะใจ ” เคยฝึกพูดในระหว่างเดินทางกลับบ้าน โดยฝึกพูดคนเดียว ในช่วงเดินเข้าบ้านตั้งแต่ต้นซอยจนถึงปลายซอย โดยเลือกหัวข้อเรื่อง แล้วจึงพูด เป็นต้น
ซึ่งการฝึกการพูดของบุคคลดังกล่าว หากเราเลียนแบบ บางคนอาจประสบความสำเร็จ บางคนอาจไม่ประสบความสำเร็จ โดยส่วนตัวกระผม วิธีการของบุคคลสำคัญๆ ข้างต้น หากกระผมนำไปฝึกฝนปฏิบัติ คงประสบความสำเร็จได้ยาก เนื่องจาก การฝึกพูดโดยไม่มีผู้ฟัง กระผมมักพูดไม่ออก พูดได้ไม่ดี แต่หากการฝึกฝนการพูดโดยมีผู้ฟัง ตาม สถาบัน สโมสร ชมรม การพูดต่างๆ กระผมมักพูดได้ดีกว่า ทั้งนี้การฝึกฝนการพูดไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว บางคนฝึกพูดต่อหน้ากระจกแล้วฝึกพูดได้ดีมาก
การฝึกฝนการพูดในยุคปัจจุบัน เราสามารถทำได้ง่ายกว่าในอดีต เนื่องจากมี สโมสร สถาบัน ชมรมต่างๆ ที่สอนอีกทั้งเปิดโอกาสให้ท่านไปฝึกพูดได้เป็นประจำ สำหรับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ที่ใช้ในการพูด ท่านสามารถค้นหาได้มากกว่าในอดีต เนื่องจากมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งถ้าเป็นในสมัยก่อน หากท่านได้พูดในหัวข้อหนึ่งๆ ท่านจำเป็นจะต้องเดินทางไปหาข้อมูลตามแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดในสถาบันการศึกษา แต่ปัจจุบันท่านอยู่ที่ไหนท่านก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องประชุม ห้องสัมมนา โดยหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
การฝึกฝนการพูดในยุคปัจจุบัน มีแบบอย่างให้ดูมากมาย มีเครื่องมือช่วยให้การพูดของเราพัฒนาปรับปรุงได้มากขึ้น ท่านสามารถดูตัวอย่างการพูดได้จาก Youtube ท่านสามารถปรับปรุงพัฒนาการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้โดยวิธีการใช้กล้องวีดีโออัดหรือบันทึกภาพในการพูดของท่านแต่ละครั้งเพื่อนำไปดู ข้อดี ข้อเด่น ข้อด้อย ข้อควรพัฒนาปรับปรุง ในการพูดแต่ละครั้ง
การฝึกฝนการพูดเป็น ทั้งศาสตร์และศิลปะ กล่าวคือ การฝึกฝนการพูดท่านควรรู้ศาสตร์หรือองค์ความรู้ในเรื่องการพูดต่อหน้าที่ชุมชนอยู่บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดก็คือ ท่านต้องขึ้นเวที หรือ ฝึกฝนบ่อยๆ หากท่านมีทักษะหรือผ่านเวทีมากๆ ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดได้ในอนาคต
หรือหากท่านอยู่ในวงการขาย ถ้าท่านต้องการเป็นนักขาย ท่านมัวเอาแต่อ่านหนังสือการขาย ท่านมัวแต่ศึกษาวิธีการของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ท่านจะไม่มีวันประสบความสำเร็จในการเป็นนักขาย ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักขายท่านไม่มีทางอื่น นอกจากท่านจะต้องออกไปขายเท่านั้น การศึกษาทฤษฏีมีความสำคัญแต่ท่านควรให้ความสำคัญเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่การปฏิบัติ การฝึกฝนมีค่ามากกว่า ท่านควรให้น้ำหนักความสำคัญถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น อยากเป็นนักขายต้องออกไปขายครับ
เช่นกันถ้าอยากเป็นนักพูด การอ่านหนังสือการพูด การเรียนรู้เทคนิคต่างๆ การถามคนที่ประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรให้ความสำคัญเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่การขึ้นเวที การหาเวที การฝึกฝน เป็นทักษะที่ท่านต้องให้ความสำคัญ โดยการฝึกฝนและปฏิบัติให้มากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ หากต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูด ท่านไม่มีวิธีการอื่น ท่านต้องกล้าขึ้นไปพูดบนเวทีให้มากที่สุด
เช่นกันหากท่านอยากว่ายน้ำเป็น อยากว่ายน้ำเก่ง หากท่านมัวแต่อ่านหนังสือวิธีการว่ายน้ำ เทคนิคต่างๆ ในการว่ายน้ำ ท่านจะไม่มีทางว่ายน้ำเป็นเลย วิธีการก็คือ ท่านจะต้องลงไปในสระว่ายน้ำแล้วลงมือว่ายน้ำเลย ท่านอาจมีโอกาสจมน้ำบ้าง ท่านอาจมีโอกาสสำลักน้ำบ้าง แต่ท่านจะว่ายน้ำเป็นก่อนคนที่เอาแต่อ่านหนังสือวิธีการว่ายน้ำ โดยไม่เคยลงไปในสระว่ายน้ำเลย
ดังนั้น วิธีการฝึกฝนการพูด กระผมไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีการฝึกฝนการพูด วิธีไหนดีที่สุด ทั้งนี้ วิธีการฝึกฝนการพูดที่ดี คงต้องขึ้นอยู่กับ จริต นิสัย ใจคอ วิธีการ ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล แต่ถ้าหากท่านมีความปรารถนาที่จะพูดเป็น พูดเก่ง ท่านจะขาดการฝึกฝนการพูดไปไม่ได้
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.