หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
  -  นักเขียนซีไรท์
  -  ทมยันตี
  -  ไมตรี ลิมปิชาติ
  -  รงค์ วงษ์สวรรค์
  -  วิทยากร เชียงกูล
  -  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
  -  หลวงวิจิตรวาทการ
  -  วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : ประวัตินักเขียน
นักเขียนซีไรท์
รวมประวัตินักเขียนซีไรท์

รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ารางวัลซีไรท์
(S.E.A.WRITE AWARD) เจ้าของกิจการและฝ่ายจัดการ
ของโรงแรมโอเรียนเต็ลเป็นผู้ริเริ่มและจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2522

พ.ศ. 2522 นวนิยาย ลูกอีสาน คำพูน บุญทวี
พ.ศ. 2523 กวีนิพนธ์ เพียงความเคลื่อนไหว เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พ.ศ. 2524 เรื่องสั้น ขุนทอง…เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง อัศศิริ ธรรมโชติ
พ.ศ. 2525 นวนิยาย คำพิพากษา ชาติ กอบจิตติ
พ.ศ. 2526 กวีนิพนธ์ นาฎกรรมบนลานกว้าง คมทวน คันธนู
พ.ศ. 2527 เรื่องสั้น ซอยเดียวกัน วาณิช จรุงกิจอนันต์
พ.ศ. 2528 นวนิยาย ปูนปิดทอง กฤษณา อโศกสิน
พ.ศ. 2529 กวีนิพนธ์ ปณิธานกวี อังคาร กัลยาณพงศ์
พ.ศ. 2530 เรื่องสั้น ก่อกองทราย ไพฑูรย์ ธัญญา
พ.ศ. 2531 นวนิยาย ตลิ่งสูง ซูงหนัก นิคม รายวา
พ.ศ. 2532 กวีนิพนธ์ ใบไม้ที่หายไป จิระนันท์ พิตรปรีชา
พ.ศ. 2533 เรื่องสั้น อัญมณีแห่งชีวิต อัญชัน
พ.ศ. 2534 นวนิยาย เจ้าจันทร์ผมหอมฯ มาลา คำจันทร์
พ.ศ. 2535 กวีนิพนธ์ มือนั้นสีขาว ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ
พ.ศ. 2536 เรื่องสั้น ครอบครัวกลางถนน ศิลา โคมฉาย
พ.ศ. 2537 นวนิยาย เวลา ชาติ กอบจิตติ
พ.ศ. 2538 กวีนิพนธ์ ม้าก้านกล้วย ไพวรินทร์ ขาวงาม
พ.ศ. 2539 เรื่องสั้น แผ่นดินอื่น กนกพงศ์ สงสมพันธุ์
พ.ศ. 2540 นวนิยาย ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน วินทร์ เลียววาริณ
พ.ศ. 2541 กวีนิพนธ์ ในเวลา แรคำ ประโดยคำ
พ.ศ. 2542 เรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน วินทร์ เลียววาริณ
พ.ศ. 2543 นวนิยาย อมตะ วิมล ไทรนิ่มนวล
พ.ศ. 2544 กวีนิพนธ์ บ้านเก่า โชคชัย บัณฑิต
พ.ศ. 2545 เรื่องสั้น ความน่าจะเป็น ปราบดา หยุ่น
พ.ศ. 2546 นวนิยาย ช่างสำราญ เดือนวาด พิมวนา
พ.ศ. 2547 กวีนิพนธ์ แม่น้ำรำลึก เรวัตร์ พันธู์พิพัฒน์

ข้อมูล : ห้องสมุดกลางโรงเรียนลำปางกัลยาณี ...
  
ทมยันตี
" ทมยันตี " นามปากกานักเขียนสตรี ชื่อสกุลเดิม วิมล ศิริไพบูลย์ ชื่อสกุลปัจจุบัน นางวิมล เจียมเจริญ
เกิดที่: กรุงเทพมหานคร สามีคือ พ.ต.ท. ศรีวิทย์ เจียมเจริญ มีบุตร 3 คน
การศึกษา : เรียนหนังสือชั้นประถม 1 ถึงมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ ศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายหลังเปลี่ยนมาเรียนคณะพณิชยศาสตร์และการบัญชีจบอนุปริญญา
การทำงาน : ขณะเรียนในชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย โรงเรียน
เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เมื่อโรงเรียนรับสมัครเข้าเป็นอาจารย์ จึงลาออกจากการ ศึกษา เพื่อไปประกอบอาชีพครู และเขียนหนังสือไปพร้อมกัน งานเขียน หนังสือ : เมื่ออายุได้ 14 ปี ขณะเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ได้เขียน เรื่องสั้นเป็นครั้งแรก ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร
" ศรีสัปดาห์ " ทมยันตีเขียนเรื่องสั้นอยู่นานถึง 11 ปี จึงเริ่มหันมาเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่อง " ในฝัน "
ใช้นามปากกา " โรสลาเรน " ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ เรื่องต่อมาคือ ค่าของคน เงา สายใจ และรอยมลทิน
ฯลฯ หลังจากนั้นทมยันตี ก็ประสบความสำเร็จในการเขียนเรื่องยาวอย่าง สมบูรณ์ ทมยันตีเป็นผู้ที่ตั้งใจจริงในการทำงาน และมีความประณีตในงานเขียน มาก ก่อนจะเขียนแต่ละเรื่อง จะต้องค้นคว้าให้รู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่จะ เขียนเสียก่อน ทมยันตีเป็นนักเขียนสตรีคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่ได้รับความ นิยมสูงสุด และสามารถยึดถืองานเขียนเป็นอาชีพได้ นับว่าเป็นนักเขียนที่ ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ในชีวิตงานเขียน แม้จะไม่ปรากฏว่างานเขียนของ ทมยันตี ีได้รับรางวัลใดรางวัลหนึ่ง แต่เป็นที่ทราบทั่วกันว่า ประชาชนทั่ว ไปยอมรับนับถือผลงานของทมยันตีอย่างสูง และอย่างมั่นคง นับแต่ทมยันตีเริ่ม งานเขียนจนถึงปัจจุบัน ทมยันตีสามารถจะประพันธ์นวนิยายได้หลายแบบหลายแนว คิด ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายรัก เช่นเรื่องค่าของคน หนี้รัก สายใจ นวนิยายทำนอง บันทึกประวัติศาสตร์ เช่น เรื่องร่มฉัตร นวนิยายเสียดสีสังคม เช่น รอย มลทิน หรือเรื่องเบาสมอง เช่น อุบัติเหตุ เรื่องเสนอแนวคิดวิทยา ศาสตร์ เช่น รัศมีจันทร์ ทิพย์ ล้วนแต่ประสบความสำเร็จได้รับความนิยมอย่าง สูงทุกเรื่องในการเขียนทมยันตีนิยมการใช้สำนวนตามแบบหลวง วิจิตรวาทการ และ นักเขียนสตรีรุ่นเก่า คือ ร. จันทพิมพะ
ผลงานเขียน :
1. ในฝัน ( เรื่องยาวเรื่องแรก )
2. ค่าของคน
3. ร่มฉัตร
4. รอยมลทิน
5. คุณหญิงนอกทำเนียบ
6. แนวสุดท้าย
7. สายใจ
8. หนี้รัก
9. แผลหัวใจ
10. ทางรัก
11. สายสัมพันธ์
12. พี่เลี้ยง
13. ดาวเรือง
ฯลฯ
นามปากกา :
1. โรสลาเรน เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า กุหลาบราชินี
2. ลักษณวดี
3. ทมยันตี
4. กนกเรขา
นอกจากจะมีความสามารถในการเขียนแล้ว ทมยันตียังมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นิยมอย่างสูงในฐานะนักพูด
แนวการพูดของทมยันตี คือแนวโน้มนำให้ประชาชนรักชาติเสียสละ เพื่อชาติและมีความยึดมั่นในชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ชื่อเสียงของทมยันตีจึงแพร่สะพัดยิ่งขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไม่เฉพาะในการเขียนนวนิยาย
ภายหลังปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 " ทมยันตี " หรือ วิมล เจียมเจริญ จึงได้
พระมหากรุณาฯโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ต่อมาปี พ.ศ. 2520 เป็น
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2522 เป็นวุฒิสมาชิก ปี 2527 เป็นปู้อำนวยการองค์การขนส่งมอลชน
กรุงเทพ
เครื่องราชิสริยาภาณ์ที่ได้รับคือ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก และทุติยาภรณ์มงกุฏไทย
...
  
ไมตรี ลิมปิชาติ
ไมตรี ลิมปิชาติ : เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเริ่มเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา และต่อมาได้มาศึกษาต่อที่ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ สาขาช่างไฟฟ้า ไมตรีเริ่มรับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 ในตำแหน่ง ช่างจัตวา สังกัดหน่วยงานเทศบาลกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 25410 ไมตรี นั้นมีนิสัยชอบอ่านมาก จึงเป็นพื้นฐานตั้งเริมเข้าเรียน และมีผลงานมากแต่ไม่กล้าตีพิมพ์ จนเมื่อได้แตงงานกับภรรยา ได้ส่งต้นฉบับได้ไปส่งนิตยสารชื่อฟ้าเมืองไทย ปรากฏว่าเรื้องสั่นชื่อ หล่อน “ต่ำเพราะอยากสูง” ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2514 จากนั้นเป็นต้นมานั้นได้มี ผลงานชิ่นอื่นออกตามมามากมายในเรื่องสั้นเรื่อง จนช่วงที่เขาเริ่มในเรื่องสั้น " หักมุมจบ" ที่ได้รับรางวัลชมเชย ในงานสัปดาห์ดาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2520และหนังสือ , หนังสือเด็ก, เรื่องฉันคือ "ต้นไม้" ผลงานที่มีชื่อเสียงมาที่สุดเล่นหนังคือ ทางออกที่ปิด และรวมเรื่องสั้น คนอยู่วัด และได้รับเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นรวมนวนิยาย ดร. ครก ที่ได้รับรางวัลทางภาพยนต์ และนวนิยายเรื่อง ความรักของคุณฉุย ที่ได้สร้างเป็นละครทางโทรทัศน์

ผลงานเชิงประจักในทางสังคม : (รวมเรื่องสั้น - เกาไม่ถูกที่คัน)(คนอยู่วัด)(ช่องว่างระหว่างฟัน)(ทางไปสุขา) (ทางออกที่ถูกปิด)(บรุษผู้เอาหัวชนกำแพง)(หยิกก็เจ็บ)(สารคดี - เที่ยวกับเมีย)(หนังสือเด็ก - คนเผาถ่าน) (นวนิยาย - ดร.ครก) (นวนิยาย ความรักของคูณฉุย) ...
  
รงค์ วงษ์สวรรค์
ประวัติศิลปินแห่งชาติ นักเขียนผู้โด่งดัง รงค์ วงษ์สวรรค์

รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538 เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดชัยนาท เป็น นักเขียนที่มีผลงานหลายอย่าง เช่น คอลัมน์ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี บทภาพยนตร์ เอกลักษณ์ของงานเขียนคือการใช้ภาษา ซึ่งใช้คำยุคเก่า แต่สื่อถึงเรื่องราวที่ทันสมัย นามปากกา 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ย่อมาจากชื่อจริง คือ ณรงค์ วงษ์สวรรค์

เกิดวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๕ ที่ตำบลคลองมะขามเฒ่า จังหวัด ชัยนาท บิดารับราชการเป็นวิศวกร กรมชลประทาน แม่เป็นชาวสวน รงค์ สมรสกับสุมาลี ตระการไทย มีบุตรสองคนคือ วงศ์ดำเลิง กับสเริงรงค์

ชีวิตวัยเด็กอยู่กับยายที่โพธาราม จังหวัดราชบุรี เพราะพ่อต้องออกไปทำงาน ตามป่าเขา รงค์ช่วยแม่ทำมาหากินอีกทาง ตั้งแต่ยังเรียนชั้นประถมศึกษาง โรงเรียนโพธารามวัฒนาเสนี อำเภอโพธาราม ราชบุรีง โดยนำท็อฟฟี่ที่แม่ทำไปขายที่โรงเรียน แม้ภายหลัง จะเข้ามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปิดเทอมจะกลับบ้านไปช่วยแม่หาบแตงโมขาย การเรียนที่อำนวยศิลป์รุ่นลมหวน จึงมีเพื่อนร่วมรุ่น เช่น พล.อ.ชวลิตยงใจยุทธ, พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล และทวี ชูทรัพย์ (อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์) เป็นต้น
เข้าเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีผลการเรียนดี แต่ถูกให้ออกเพราะทะเลาะกับครู


ผ่าน ชีวิตมามากพอ จึงมีวัตถุดิบสำหรับงานประพันธ์ มีใจรักหนังสือและรับรสวรรณคดีจากการอ่านให้พ่อและยายฟัง เริ่มเขียนหนังสือลงจุลสารของโรงเรียนเตรียมอุดม พึงใจและรับผลสะเทือนจากสำนวน "สวิง" หรือสำนวนเพรียวลมของ วิตต์ สุทธเสถียร ครั้น 'รงค์ เขียนหนังสือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกสำนวนของเขาว่าสำนวน"เพรียวลม" เมื่อออกจากโรงเรียนเขาเคยเป็นนายท้ายเรือโยงจากบางบัวทอง นนทบุรีไปสุพรรณบุรี เคยขึ้นไปอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนคุมปางไม้ เมื่อกลับกรุงเทพฯ
ได้แสดงภาพยนตร์ ในบทพระรอง จากเรื่องชั่วฟ้าดินสลาย บทประพันธ์ของเรียมเองและเป็นนายแบบของนิตยสารจึงรู้จัก ม.ล.ต้อย ชุมสาย ศิลปินทางการถ่ายภาพนู้ดของไทย'รงค์ ได้เรียนการถ่ายภาพจาก ม.ล.ต้อย และเป็นผู้พาไปรู้จักคนในวงหนังสือพิมพ์ กระทั่งได้เข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ พ.ศ.๒๔๙๗ ต่อมาเริ่มถ่ายภาพที่ชวนสนใจทั้งภาพและการเขียนคำบรรยาย จากนั้นเริ่มเขียนคอลัมน์ "รำพึง-รำพัน" ด้วยนามปากกา "ลำพู"ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ทำให้ชื่อเสียงเริ่มรู้จักทั่วไป และมีผลงานรวมเล่มเรื่อง หนาวผู้หญิง ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓

งาน เขียนของ รงค์ วงษ์สวรรค์ มีหลายประเภท อาทิ นวนิยาย เรื่องสั้น ปกิณกะ บทความ และ ฯลฯ ผลงานที่จัดพิมพ์รวมเล่มมีประมาณหนึ่งร้อยเล่ม เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ประกาศเกียรติคุณว่า รงค์ เป็นหนึ่งในจำนวนนักเขียน เรื่องสั้นดีเด่นของไทยในวาระครบรอบร้อยปีเรื่องสั้นไทย พร้อมผกับพิมพ์เรื่อง "แจ้ง ใบตอง ผู้ยิ่งยงแห่งสวนกล้วย" อันเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเสเพลบอยชาวไร่ อีกสิบปีต่อมาคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติให้ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘

ผลงานรวมเล่มที่มีชื่อเสียงนอกจากเสเพลบอยชาวไร่แล้ว ยังมีอีกหลายเล่ม อาทิ สารคดีไฉไลคลาสสิค เถ้าอารมณ์ สนิมสร้อย สนิมกรุงเทพฯ ปีนตลิ่งคืนรัก และ ผู้ดีน้ำครำ เป็นต้น ล้วนได้รับความชื่นชมเป็นที่กล่าวขวัญ

ผลงานหนังสือแยกตามปี

* 2503 - หนาวผู้หญิง, เถ้าอารมณ์ , ไฟอาย
* 2504 - สนิมสร้อย,บนถนนของความเป็นหนุ่ม, สนิมกรุงเทพฯ
* 2505 - ปักเป้ากับจุฬา, บางลำพูสแควร์, คืนรัก
* 2506 - เสเพลบอยบันทึก,พ่อบ้านหนีเที่ยว
* 2511 - ใต้ถุนป่าคอนกรีต ขบวนหนึ่ง, หอมดอกประดวน,นิราศดิบ
* 2512 - เสเพลบอยชาวไร่, ผู้มียี่เกในหัวใจ, หัวใจที่มีตีน, ใต้ถุนป่าคอนกรีต ขบวนสอง,หลงกลิ่นกัญชา
* 2513 - ฝนซาฟ้าหม่น
* 2514 - น้ำค้างเปื้อนแดด, ไอ้แมลงวันที่รัก,แดง รวี,หนามดอกไม้, ใต้ถุนป่าคอนกรีต ขบวนสาม
* 2515 - 00.00 น., ปีนตลิ่ง, ดลใจภุมริน,บ้านนี้มีห้องแบ่งให้เช่า
* 2516 - นักเลง โกเมน,กรุงเทพฯ รจนา, สัตหีบ : ยังไม่มีลาก่อน, ตาคลี : น้ำตาไม่มีเสียงร้องไห้,ชุมทางพลอยแดง (สารคดี),นาฑีสุดท้ายทับทิมดง
* 2517 - อเมริกันตาย, แม่ม่ายบุษบง
* 2518 - คึกฤทธิ์แสบสันต์, 23 เรื่องสั้น,ไม่นานเกินรอ,น้ำตาสองเม็ด,ความหิวที่รัก,มาเฟียก้นซอย,๒๘ ดีกรีเที่ยงวัน บรั่นดีเที่ยงคืน (รงค์ วงษ์สวรรค์ และ "หำน้อย"), ดอกไม้ในถังขยะ
* 2519 - จากแชมเพญถึงกัญชา, ขี่ม้าชมดอกไม้, จากโคนต้นไม้ริมคลอง, ถึงป่าคอนกรีต, 2 นาฑีใต้แสงดาวแดง, ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ, ซูสีไทเฮา, กัญชาธิปไตย
* 2520 - ดอกไม้และงูพิษ, ยินโทนิค 28 ดีกรี
* 2521 - แอลกอฮอลิเดย์, เบื้องข้างพันเอกณรงค์ กิตติขจร, บนหลังหมาแดดสีทอง, ผู้ดีน้ำครำ 1, รงค์ วงษ์สวรรค์ แสบสันต์, แกงส้มผักบุ้ง 22.00น.
* 2522 - ผู้ดีน้ำครำ 2
* 2525 - บักหำน้อย ซ้ายปลาร้าขวาเนย, สาหร่ายปลายตะเกียบ
* 2527 - นินทากรุงเทพฯ บุหลันลบแสงสุรยา-บรูไน, ระบำค้อนเคียว, ลมหายใจสงคราม
* 2528 - ไสบาบานักบุญในนรก
* 2529 - สามเหลี่ยมในวงกลม
* 2531 - สารคดีไฉไลคลาสสิค , ครูสีดา
* 2535 - ผกานุช บุรีรำ
* 2536 - ดอกไม้ดอลล่าร์, ระบำนกป่า,พูดกับบ้าน, ขุนนางป่า
* 2537 - แมงบาร์
* 2538 - 2 นาฑีบางลำพู,บูชาครูนักเลง,บาลีนีส์ทัดดอกลั่นทม,ดอกไม้ในถังขยะ, พรานล่าอารมณ์ขัน
* 2539 - คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเงาเวลาของ รงค์ วงษ์สวรรค์, บนถนนอากาศ
* 2540 - กินหอมตอมม่วน
* 2542 - เมนูบ้านท้ายวัง, เงาของเวลา, นอนบ้านคืนนี้, ลมบาดหิน
* 2544 - นินทา ฯพณฯ สากกะเบือ, นินทานายกรัฐมนตรี, โคบาลนักเลงปืน, หงา คาราวาน เงา-สีสันของแดด, อเมริกา -อเมริกู
* 2545 - มาดเกี้ยว
* 2546 - ฝนเหล็ก -- ไฟปืน '๓๕, นาฑีสุดท้ายทับทิมดง (รวมเล่มครั้งแรก)
* 2547 - บักอี สีจำปา

ที่มา wikipedia.org / http://www.tuneingarden.com/ ...
  
วิทยากร เชียงกูล
ประวัติอาจารย์วิทยากร เชียงกูล


วิทยากร เชียงกูล (ปี 2489 -2550 )
เกิด และเติบโตที่อำเภอบ้านหมอ สระบุรี เข้ามาอยู่กรุงเทพฯและเรียนชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชั้นอุดมศึกษาที่คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (ปี 2508 – 2512) และสถาบันศึกษาสังคม ที่เมืองเฮก เนเธอแลนด์ (ปี 2523 – 2524)
เคยทำงานประจำกองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช (ปี 2512 – 2515) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายวิจัยวางแผน ที่ธนาคารกรุงเทพ
(ปี 2515 – 2525) เป็นอาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปี 2525 – 2538) ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้จัดการ (ด้านการวิจัยและวางแผน) ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ (ปี 2531 – 2534)
ตั้งแต่ปี 2534 ทำงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต มาตลอดโดยเป็นรองอธิการบดี และผู้อำนวยการสำนักงานวางแผนและพัฒนา (ปี 2534 – 2538) รักษาการ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ (2538) คณบดีคณะศิลปศาสตร์ (ปี 2538 – 2540) ผู้อำนวยการศูนย์วิจันทางด้านสังคมศาสตร์ (ปี 2540 – 2546) และปัจจุบัน เป็นคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม เป็นนักเขียนบทความให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับ เขียนและแปลหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มถึงปลายปี 2547 รวม 89 เล่ม ได้รับรางวัลนักเขียนบทความดีเด่นกองทุนอายุมงคลโสณกุลปี 2536 และได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2541 (ดูเพิ่มเติมได้จาก www.rsu.ac.th/soc)
หรือที่ http://www.rsu.ac.th/csi/mr_witayakorn.htm

...
  
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประวัตินักเขียน ชื่อ : ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ประวัติย่อ

เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2425 เวลา 7.20 น. ในเรือลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง ปราโมช โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดระหว่างที่พระองค์เจ้าคำรบ เดินทางไปรับตำแหน่งที่มณฑลพิษณุโลก หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ได้เสด็จประพาสมณฑลพิษณุโลก พระองค์เจ้าคำรบได้ปลูกพลับพลารับเสด็จและทรงอุ้ม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้าเฝ้าด้วย ปรากฏว่าดิ้นยืดแขนยืดขาจึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อว่า “คึกฤทธิ์”



เริ่มเรียนที่โรงเรียนวังหลัง และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนสอบได้ชั้นมัธยมปีที่ 7 จากนั้นไปศึกษาต่อที่ Trent College และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ในสาขาปรัชญา เศรษฐศาสตร์และการเมือง ภายหลังได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายสาขาวิชา



เริ่มทำงานที่กรมสรรพากร และถูกเกณฑ์ทหารตอนสงครามอินโดจีน ได้ยศสิบตรี จากนั้นไปทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ลำปาง และกลับมาทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ ได้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ “ก้าวหน้า” เมื่อพ.ศ. 2488 จากนั้นนายควง อภัยวงศ์ ชวนไปก่อตั้งพรรคใหม่ชื่อ “ประชาธิปัตย์”โดยนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค อยู่สู้ในสภา 2 ปี ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารแต่ยังไม่พร้อมจะจัดตั้งรัฐบาลของตนเองจึงไปชวนนายควง อภัยวงศ์ กลับมาเป็นนายยกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีลอย สั่งราชการกระทรวงการคลัง แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน จอมพลป.พิบูลสงคราม ก็ขึ้นบริหารประเทศแทน



วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2491 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศลาออก จากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรกลางสภา และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพราะคัดค้านการขึ้นเงินเดิอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในขณะที่สมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์สมยอมกับรัฐบาล จากนั้นได้ยุติบทบาททางกรเมืองโดยตรงอยู่นานจนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงจัดตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง “กิจสังคม” และจากการเลือกตั้งเมื่อพ.ศ. 2518 แม้พรรคกิจสังคมจะได้รับเลือกมาเพียง 18 คน แต่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชก็สามารถเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลผสม และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 12 สมีนาคม พ.ศ.2518 – 20 เมษายน 2519



ในส่วนที่เกี่ยวกับการประพันธ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มเขียนบทสักวา บทความ และสารคดี ลงในหนังสือพิมพ์ “เกียรติศักดิ์” เป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพ.ศ. 2489 เพราะสละ ลิขิตกุลบรรณาธิการยุคนั้นผู้สนิทคุ้นเคยขอร้องให้ช่วยเขียน และได้กลายเป็นนักเขียนจริงจังเมื่อออกหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” รายวันของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 เป็นตันมา โดยระยะแรก ถูกบรรณาธิการคือ สละ ลิขิตกุล ของให้เขียนวันละ 3 เรื่อง มีเรื่องยาวประจำคือ สามก๊กฉบับ นายทุน บทบรรณาธิการ และเก็บเล็กผสมน้อย ในระยะต่อมาก็มีงานเขียนอื่นๆ อีกมาก รวมทุกประเภทมากกว่าร้อยเรื่องและล้วนได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางทั้งสิ้นนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน กับ ไผ่แดง ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หลายชีวิต แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2528



ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สมรสกับ ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ม.ล.รองฤทธิ์ และ ม.ล.วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาแม้จะหย่าขาดจากกัน แต่ต่างก็ไม่สมรสใหม่และไม่ได้โกรธเคืองกัน โดย ม.ร.ว.พักตร์พริ้งอยู่กับลูกชายคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ที่บ้านในซอยสวนพลูติดกับบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังไปมาดูแลทุกข์สุขกันเสมอ



ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายบทบาท ทั้งในฐานะนักการเมือง นักการธนาคาร นักพูด นักเขียน ศิลปินระดับที่เคยร่วมแสดงภาพยนตร์กับฮอลลีวู้ด และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะโขนนักศึกษาธรรมศาสตร์ ฯลฯ จนได้รับยกย่องเป็นปราชญ์ของเมืองไทยที่ชาวต่างประเทศยอมรับกว้างขวาง และได้รับพระราชทานยศกรณีพิเศษเป็นพลตรี แต่ที่นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดและได้กระทำอย่างต่อเนื่องมากที่สุดคือ งานประพันธ์ แม้ในระยะหลังเมื่อมีอายุมากแบ้ว สุขภาพไม่แข็งแรงนักก็ยังเขียนบทความในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน อยู่เป็นประจำ รวมทั้งนวนิยายเรื่องสุดท้ายคือ “กาเหว่าที่บางเพลง”



ผลงานรวมเล่ม

นวนิยาย

- สี่แผ่นดิน

- ไผ่แดง

- กาเหว่าที่บางเพลง

- ซูสีไทเฮา

- สามก๊กฉบับนายทุน

- ราโชมอน

รวมเรื่องสั้น

- มอม

- เพื่อนนอน

- หลายชีวิต

- สารคดี

- ฉากญี่ปุ่น

- ยิว

- เจ้าโลก

- สงครามผิว

- คนของโลก

- ชมสวน

- ธรรมคดี

- น้ำพริก

- ฝรั่งศักดินา

- สรรพสัตว์

- สัพเพเหระคดี

- ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย

- โครงกระดูกในตู้

- พม่าเสียเมือง

- ถกเขมร

- เก็บเล็กผสมน้อย

- เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น

- เมืองมายา

- เรื่องขำขัน

- โจโฉ นายกฯ-ตลอดกาล

- กฤฎาภินิหารอันบิดบังมิได้

- คนรักหมา

- ตลาดนัด

- นิกายเซน

- บันเทิงเริงรมย์

- วัยรุ่น

- สงครามเย็น

- อโรคยา

บทละครเวที

- ลูกคุณหลวง



เกียรติยศที่ได้รับ

- พ.ศ. 2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากสิบตรี เป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)

- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2528


ปัจจุบัน

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ป่วยด้วยโรคหัวใจจนต้องเข้ารับการผ่าตัดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อพ.ศ. 2530 และเข้ารับการรักษาพยาบาลเรื่อยมาเป็นระยะๆ จนกระทั้งถึงแก่อัญกรรม ณ โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538

หนังสืออ้างอิง
ขอขอบคุณข้อมูลบ้างส่วนที่ได้จากหนังสือนักประพันธ์ไทย ของสำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น ...
  
หลวงวิจิตรวาทการ
ประวัติชีวิตตอนต้น
หลวงวิจิตรวาทการ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พุทธศักราช 2441 เจ้าของประวัติบันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้าเกิดบนแพ ริมแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี เมื่อรู้ความ เห็นบิดามารดาของข้าพเจ้ามีเรือพายม้าลำหนึ่ง แม่แจวหัว และพ่อแจวท้าย พวกข้าพเจ้าเป็นพวกมีลูกมาก แม่ของข้าพเจ้ามีลูกถึง 8 คน"

"แม่ของข้าพเจ้าถึงแก่กรรมตั้งแต่ตัวข้าพเจ้ายังเล็ก ข้าพเจ้าเริ่มลำดับความต่างๆ ได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ จำได้ว่าพ่อเคยเขียน ก. ข. ใส่กระดานชนวนไว้ให้ในเวลากลางคืน และพอ 4 นาฬิกา ก็ต้องแจวเรือไปค้าขายสองคนกับแม่ เวลานอนก็นอนกับย่า ซึ่งเป็นคนจดจำนิยายต่างๆ ไว้ได้มาก และเล่าให้ฟังเสมอ จนกระทั่งเรื่องสังข์ทอง เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอิเหนา เรื่องพระอภัยมณี และเรื่องขุนช้างขุนแผนเหล่านี้ อยู่ในสมองของข้าพเจ้าหมดก่อนที่จะลงมืออ่านได้เอง เมื่ออายุ 8 ขวบ ได้เข้าโรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง สอบไล่ได้ชั้นประโยคประถม พ่อแม่ไม่มีทุนจะให้เข้าศึกษาต่อไป จึงเปลี่ยนวิธีใหม่ ได้เข้าศึกษาในทางธรรมอยู่ในวัดมหาธาตุตั้งแต่อายุ 13 ขวบ จนถึงอายุ 20 ปี สอบไล่ได้เปรียญ 5 ประโยค จึงออกจากวัด"

มีคนพูดกันแต่เดิมว่า หลวงวิจิตรวาทการ มีเชื้อสายเป็นจีน เพราะชื่อ "กิมเหลียง" ซึ่งเป็นชื่อเดิม ข้อนี้ตามเอกสารของหลวงวิจิตรวาทการยืนยันไว้เองว่า "มีประเพณีพิเศษอยู่อย่างหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานีเวลานั้น คือ บิดามารดามีชื่อเป็นไทยแท้ๆ แต่ลูกต้องมีชื่อเป็นจีน บิดาของข้าพเจ้าชื่ออิน มารดาชื่อคล้าย ซึ่งเป็นชือ่ไทยแม้ๆ ข้าพเจ้าเห็นบิดาของข้าพเจ้าบวชในบวรพุทธศาสนา ไม่เคยเห็นไหว้เจ้า และทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไทย แต่ตัวข้าพเจ้ากลับได้ชื่อเป็นจีน น้องๆ คนหลังๆ เมื่อเกิดมาได้ตั้งชื่อเป็นไทย แต่พอข้าพเจ้าไปยุโรปกลับมา เห็นเขาเปลี่ยนชื่อจีนไปหมด อิทธิพลของจีนในจังหวัดอุทัยธานีนับว่าล้นเหลือ"

เมื่อออกจากวัดแล้ว หลวงวิจิตรวาทการเริ่มเข้ารับราชการในกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไม่เป็นการยากเลยสำหรับท่าน ที่จะเป็นคนเด่นคนดีขึ้นมาในกอง ทั้งๆ ที่เป็นคนเข้ามาใหม่ เพราะเพียงแต่มาทำงานตรงเวลาเท่านั้น ก็เป็นคนเด่นคนดีได้แล้ว บุคคลแรกที่ท่านไปยอมตัวเป็นสานุศิษย์ก็คือนายเวรผู้เฒ่านั่นเอง แทนที่จะรอให้เขาจ่ายงานมาให้ หลวงวิจิตรวาทการไปของานเขาทำ ขอให้เขาสอนให้ เริ่มจากงานง่ายไปหางานยกขึ้นโดยลำดับ ก่อนที่คนอื่นจะมาพร้อม หลวงวิจิตรวาทการทำงานเสร็จไปแล้วอย่างน้อยสองเรื่อง ชื่อของท่านจึงได้สะดุดตาผู้ใหญ่ไปทุกวัน ทั้งๆ ที่เป็นเสมียนชั้นต่ำที่สุด ท่านกล่าวว่าไม่เป็นการยากลำบากเกินไปเลย ที่จะสร้างความเด่นความสำคัญให้แก่ตัว ขอแต่เพียงให้มีความมักใหญ่ใฝ่สูงในการทำงาน และสร้างความดีเด่นของตนด้วย "งาน" ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่น

ภายหลังที่ได้ทำงานในกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 2 ปี หลวงวิจิตรวาทการได้มีโอกาสออกไปยุโรป ในตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการสถานทูตไทยประจำกรุงปารีส ท่านมีส่วนได้เปรียบคนอื่นๆ โดยที่เป็นคนรู้ภาษาไทยดีกว่าคนอื่นในสถานทูต ทำให้ท่านได้ทำงานอย่างกว้างขวาง จึงได้รับหน้าที่ตามเสด็จท่านราชทูตไปในการประชุมหรือในงานเจรจาทุกแห่ง และที่สำคัญต้องทำรายงานส่งเข้ามาในกรุงเทพฯ เป็นภาษาไทย

ในที่สุดหลวงวิจิตรวาทการก็ได้พบงานประจำสำหรับตัวท่าน คืองานสันนิบาตชาติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ได้ทรงเขียนไว้ที่หนึ่งว่า "การได้เข้าประชุม และทำงานสันนิบาตชาตินั้น เท่ากับว่าได้ผ่านการศึกษาในมหาวัทยาลัยขั้นสูงสุด" หลวงวิจิตรวาทการเห็นจะภูมิใจในตัวเอง ที่ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัยสูงสุดมาแล้ว 5 ปี ท่านเป็นคนเขียนรายงานการประชุมตั้งแต่ต้นจนปลาย รายงานการประชุมครั้งหนึ่งๆ เป็นหน้ากระดาษพิมพ์ดีดไม่น้อยกว่า 100 หน้า ท่านร่างเอง และพิมพ์เอง

หลวงวิจิตรวาทการรับราชการอยาในสถานทูตปารีส 6 ปีเต็ม กระทรวงการต่างประเทศจึงได้สั่งย้ายท่านไปรับราชการในสถานทูตไทยที่กรุงลอนดอน ท่านอยู่ลอนดอนได้ไม่นาน ก็ได้ถูกเรียกกลับมารับราชการในกรุงเทพฯ และตำแน่งที่หลวงวิจิตรวาทการได้รับในกรุงเทพฯ ต่อจากนั้นมา ได้ช่วยให้ท่านเรียนรู้งานของกระทรวงการต่างประเทศอย่างทั่วถึง เพราะถูกโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ไม่หยุดหย่อน ในปี พ.ศ. 2475 ท่านได้เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ
อธิบดีกรมศิลปากร
เมื่อปี พ.ศ. 2477 หลวงวิจิตรวาทการ ได้ย้ายมาเป็นอธิบดีกรมศิลปากรเป็นคนแรก เมื่อเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านได้รับความยากลำบากเป็นที่สุด เพราะท่านไม่ได้เกิดมาเป็นนักศิลปะ ท่านเกิดในกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่เคยเกี่ยวข้องกับงานศิลปากร มูลเหตุที่ให้ท่านเข้าไปเป็นอธิบดีกรมศิลปากรนั้น ก็ดูเหมือนจะมีอย่างเดียวคือ ในบรรดางานศิลปากรในเวลานั้น งานที่สำคัญที่สุดคืองานหอสมุดแห่งชาติ ท่านชอบหนังสือ ชอบการค้นคว้า และแต่งหนังสืออยู่มากแล้ว ผลที่รัฐบาลหวังจากท่านในเวลานั้นก็คือจะให้ท่านสร้างสรรค์งานหอสมุดให้ดีที่สุด


แต่เมื่อเข้าไปถึง ก็ได้พบงานอีกหลายอย่างที่หลวงวิจิตรวาทการไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืองานสถาปัตยกรรม ช่างเขียน ช่างปั้น และยิ่งกว่านั้น ก่อนท่านเข้าไปก็ได้มีกฎหมายระบุหน้าที่กรมศิลปากรไว้ว่า ต้องรับผิดชอบในเรื่องงานละคร และดนตรีด้วย มีคนเข้าใจผิดเป็นอันมาก ว่าเรื่องละคร และดนตรีของกรมศิลปากรหรือโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรีนั้น

หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้คิดตั้งขึ้นด้วยความคิดริเริ่มของท่านเอง ความจริงเรื่องโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ที่เป็นโรงเรียนศิลปากรอยู่เวลานี้ มีบัญญัติอยู่ในกฎหมายคือ พระราชกฤษฎีกาแบ่งกองแบ่งแผนกสำหรับกรมศิลปากร ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วก่อนท่านเข้าไปเป็นอธิบดี หลวงวิจิตรวาทการไม่ได้คิดอะไรใหม่ ไม่ได้มีแผนการโลดโผนอย่างหนึ่งอย่างใด ท่านเข้าไปด้วยความเคารพต่อทุกสิ่งทุกอย่าง งานหอสมุดก็ดี งานพิพิธภัณฑ์ก็ดี งานช่างก็ดี เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของชาวไทยทั่วไป ได้ทรงสร้างไว้ด้วยความเหนื่อยยาก และอุตสาหะพยายามเป็นอย่างยิ่ง ท่านเข้าไปด้วยความเคารพบูชา และตั้งปณิธานอันแน่วแน่ว่า สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้แล้วจะไม่ยอมให้เสื่อมโทรมเลยเป็นอันขาด ท่านจะดำเนินเจริญรอย และทำต่อไปตามแผนการ ให้งานเจริญก้าวหน้า และแตกกิ่งก้านสาขาออกไป โดยไม่รื้อทำใหม่หรือเปลี่ยนแปลงอะไร

เว้นแต่งานอันหนึ่ง ซึ่งได้ออกกฎหมายไว้ แต่ยังมิได้ลงมือทำ คืองานละคร และดนตรี หลวงวิจิตรวาทการจะต้องทำในฐานะงานใหม่ของท่าน ซึ่งท่านเองก็ไม่มีวิชาความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน เคยสนใจในเรื่องละคร และดนตรีมาบ้างเมื่ออยู่ยุโรป แต่ก็สนใจแต่เพียงดูเพื่อความสนุกบันเทิงเท่านั้น เมือ่จำต้องทำด้วยตัวเอง ก็ต้องค้นคว้าเล่าเรียนเอาเอง เป็นการเปลี่ยนชีวิตของท่าน ท่านถูกความจำเป็นบังคับให้กลายเป็นนักศิลปะ ซึ่งไม่เคยนึกฝันมาแต่ก่อนว่าจะต้องเป็น ฯลฯ


ถ้าหากหลวงวิจิตรวาทการได้สร้างความสำเร็จสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ให้แก่กรมศิลปากร ก็เป็นเพราะเหตุอย่างเดียวคือ ท่านไม่ได้รื้อของเก่า สิ่งไรที่มีอยู่เดิมแล้ว เช่น การหอสมุด และพิพิธภัณฑ์ ท่านได้ทำต่อไป หอสมุดวึ่งเดิมมีเพียงในกรุงเทพฯ ท่านได้จัดการเปิดสาขาหอสมุดในต่างจังหวัด และสำเร็จไปได้หลายสิบแห่ง งานพิธภัณฑ์ และโบราณคดี ก็ได้ทำไปโดยอาศัยหลักเดิม แต่ได้ขยายให้มีผลไพศาลยิ่งขึ้น


โดยเหตุดังว่านี้ หลวงวิจิตรวาทการจึงใคร่เสนอข้อแนะนำแก่ผู้ที่ทำงาน โดยหวังจะขึ้นสู่ตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้ใหญ่ว่า ความก้าวหน้าของกิจการทั้งหลายจะมีขึ้นได้ ก็โดยผู้รับหน้าที่ตำแหน่งต่อกันไปนั้น ได้ทำงานต่อไปจากที่คนเก่าเขาทำแล้ว และไม่ด่วนลงความเห็นว่าคนเก่าเขาทำไว้เหลวไหล ถ้าทุกคนที่เข้าไปรับตำแหน่งใหม่เริ่มงานกันใหม่ทั้งหมดแล้ว ก็ไม่มีวันที่งานจะก้าวหน้าไปได้เลย

ชาตินิยม
ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้ฟุ้งเฟื่องอยู่ในหมู่ประชาชน ด้วยการคิดคำนึงกันขึ้นในบรรดาผู้เป็นคนชั้นหัวหน้าปกครองว่าลัทธิชาตินิยมหรือลัทธิรักชาติลัทธิเดียว จะเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตรายที่จะบังเกิดแก่ชาติได้ทุกทาง และพร้อมกันก็จะเป็นเครื่องมือสร้างชาติได้ดีกว่าเครื่องมืออย่างอื่น การจะปลูกฝังลัทธิชาตินิยมได้โดยสะดวก และมีทางเข้าถึงประชาชนได้ง่ายมีอยู่ทางหนึ่ง ดีกว่าทางอื่นๆ คือปลูกทางดนตรี และละคร อันเป็นงานที่กรมศิลปากรจะต้องทำอยู่ตามหน้าที่

หลวงวิจิตรวาทการได้รับมอบหมายให้มาทำงาน "ปลูกต้นรักชาติ" ขึ้นในหัวใจประชาชน โดยการแต่งละครประวัติศาสตร์ และเพลงที่เป็นบทปลุกใจให้รักชาติขึ้นในระยะเวลาติดต่อกัน อาทิ เช่น ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง น่านเจ้า เลือดสุพรรณ ราชมนู พระเจ้ากรุงธน อานุภาพแห่งความรัก ศึกถลาง เจ้าหญิงแสนหวี และอื่นๆ อีกมาก เรื่องปลูกต้นรักชาตินี้ หลวงวิจิตรวาทการทำมาไม่ลดละ ตั้งแต่ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งเสร็จสงคราม และทำมาจนใกล้สิ้นชีวิต แปลว่าตลอดชีวิตของเจ้าของประวัติ ทำงานเรื่องชาตินิยมมาตลอด เมือ่ใกล้จะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484) ในขณะที่เป็นอธิบดีกรมศิลปากร และเป็นรัฐมนตรีลอยอยู่หลายปี ท่านก็ได้เลื่อนขั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2483) และเมื่อกิจการระหว่างประเทศพัวพันกันมากเข้า ก็ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2484)

โรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ซึ่งเรียกว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางค์" ได้ตั้งขึ้นท่ามกลางมรสุมแห่งการนินทาว่าร้าย การโจมตีทุกทิศทุกทางในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ เพราะตั้งแต่เกิดมาเป็นประเทศไทย ก็ยังไม่เคยมีโรงเรียนชนิดนี้ ง่นเต้นกินรำกินถือว่าเป็นงานต่ำ แม้จะรู้กันว่ามีอยู่ในนานาประเทศที่เจริญแล้ว ก็ยังเห็นกันว่าไม่เหมาะสมสำหรับประเทศเรา

ความยากลำบากที่สุดนั้น ก็คือการที่ต้องทำอะไรโดยที่ไม่มีเงิน การของบประมาณกรมศิลปากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานละคร และดนตรีนั้น ร้ายยิ่งกว่าขอทาน เพราะนอกจากจะไม่ได้แล้ว ยังถูกเย้ยหยันในการประชุมกรรมการพิจารณางบประมาณ มีหลายครั้งที่ท่านเกิดความคิดจะขอกลับไปกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่เกิดของท่าน และได้ทำงานมาโดยมิต้องถูกมรสุมความเย้ยหยันหรือความดูถูกดูหมิ่น แต่ท่านก็ต้องอยู่ อยู่สร้างสิ่งซึ่งท่านมีหน้าที่ต้องสร้าง การตั้งโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ซึ่งเรียกว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางค์" นั้น ได้อาศัยความช่วยเหลือของกระทรวงธรรมการ ได้ครูมาสอนโรงเรียนนี้ โดยรับเงินเดือนทางกระทรวงไปพลาง จนกว่ากรมศิลปากรจะมีเงินของตัวเอง

ราวหนึ่งปีภายหลังที่ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้น นักเรียนของโรงเรียนนี้ก็พอออกแสดงได้บ้างแต่ไม่มีโรงแสดง โรงละครในเวลานั้นก็หายากเต็มที และไม่สามารถจะนำนักเรียนไปแสดงที่อื่นได้ จำเป็นที่จะต้องแสดงในเขตที่ของกรมศิลปากร เมื่อไม่มีทางจะทำอย่างอื่น ท่านก็ปลูกโรงไม้ไผ่เอาผ้าเต็นท์มาขึงเป็นหลังคา รวบรวมเก้าอี้เท่าที่จะหาได้ ละครของกรมศิลปากรได้ออกแสดงภายใต้หลังคาผ้าเต็นท์ และเสาไม้ไผ่ แต่เคราะห์ดีก็มีมา โดยที่ในการแสดงครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเวลานั้น ได้มานั่งดูการแสดง ท่านเจ้าคุณได้บอกให้หลวงวิจิตรวาทการตั้งงบประมาณสำหรับสร้างโรงละคร ท่านจะช่วยเหลือหาเงินให้

หลวงวิจิตรวาทการตั้งงบประมาณไปสำหรับสร้างโรงละครเป็นจำนวนเท่าไหร่จำไม่ได้ แต่ได้รับอนุมัติเพียง 6,500 บาท สำหรับสร้างโรงละคร ไม่รู้จะสร้างอย่างไรได้ พอตั้งเสา และมุงหลังคา เงิน 6,500 บาท ก็หมดไป ไม่มีทางที่จะขออีก และละครเรื่อง "เลือดสุพรรณ" ได้กำเนิดขึ้นในโรงละครราคา 6,500 บาท นั้นนั่นเอง

"เลือดสุพรรณ" ทำให้หมดทุกอย่าง ทำให้โรงละครมีฝารอบขอบชิด มีรูปร่างซึ่งเป็น "หอประชุมศิลปากร" ที่ใช้มาจน 25 ปีให้หลัง การละคร และดนตรีของกรมศิลปากรตั้งตัวขึ้นได้ด้วยละครเรื่อง "เลือดสุพรรณ"


แต่งงาน - ชีวิตครอบครัว
ระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และเป็นรัฐมนตรีอยู่นั้น หลวงวิจิตรวาทการได้แต่งงานกับนางสาวประภา (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นประภาพรรณ) รพิพันธุ์ อาจารย์โรงเรียนเบญจมราชาลัย บุตรีของขุนวรสาส์นดรุณกิจ เมือ่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2479 เป็นการเริ่มชีวิตใหม่ที่เนื่องด้วยครอบครัว และความรัก หลวงวิจิตรวาทการเห็นจะได้ชื่อว่าเป็นคนหวานต่อความรัก เป็นสามีที่ดีที่สุด และเมื่อมีลูกก็เป็นพ่อที่ดีที่สุดของลูก ดังบทเสภาตอนหนึ่งที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งขึ้นเพื่อขับร้องในวันเกิดของคุณหญิง เมือ่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2502
"ขออุทิศเส้นประสาทพี่ทั้งสิ้น เป็นสายพิณดีดโปรยให้โหยหวล
ขออุทิศใจพี่ที่รัญจวน เป็นบายศรีชี้ชวนเชิญขวัญตา
ขออุทิศมือทั้งสองเป็นแว่นเทียน โบกเวียนจากซ้ายแล้วไปขวา
ทำขวัญมิ่งมิตรวนิดา ในสี่รอบชันษาของนวลน้อง"



เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว - อาชญากรสงคราม

ชีวิตตอนสงคราม
ประเทศไทยต้องเข้าสงครามมหาเอเชียบูรพา หลวงวิจิตรวาทการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีส่วนรับผิดชอบในงาน "ประกาศสงคราม" ร่วมกับคณะรัฐบาลชุดนั้น พอเสร็จสงครามก็ต้องหาเป็นอาชญากรสงคราม

เจ้าของประวัติเคยบอกว่า การประกาศสงครามที่ตนต้องรับผิดชอบอยู่ด้วยนั้น ช่วยให้สมบัติ และชีวิตของสัมพันธมิตร พ้นจากการถูกญี่ปุ่นยึดเอาไปเป็นทรัพย์เชลยได้เกือบหมด ตลอดการสงคราม ไทยก็ได้ใช้ประโยชน์เหล่านี้ให้เกิดแก่สัมพันธมิตรตลอดมา และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยรอดตัวมาได้จากการถูกยึดเป็นเมืองขึ้นของทั้งสองฝ่าย

"หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าต้องหาฐานอาชญากรสงคราม และถูกเจ้าหน้าที่ในกองทัพบกอเมริกัน ที่กรุงโตเกียวจับตัวไปคุมขัง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2488 ภายหลังได้ถูกส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ ถูกขังอยู่ที่สันติบาล และที่เรือนลหุโทษ จนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2489 ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาว่าพระราชบัญญัติอาชญากรโมฆะ และได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด"

ออกจากที่คุมขัง หลวงวิจิตรวาทการไม่มีงานทำ จึงจับงานละครใหม่ ตั้งคณะละครชื่อ "วิจิตรศิลป์" แต่คราวนี้ไม่ได้ผล คนไม่ต้องการ "ปลูกต้นรักชาติ" กันแล้ว การละครขาดทุน จึงหันมาเขียนนวนิยายหลายสิบเรื่อง เช่น ห้วงรัก-เหวลึก พานทองรองเลือด มรสุมแห่งชีวิต ดอกฟ้าจำปาศักดิ์ นวนิยายขนาดยาวก็เขียนขึ้นในยามนี้ และท่านยังให้มีการพิมพ์เผยแพร่ผลงานด้านวิชาการ ที่ท่านได้เขียนไว้แล้ว และเขียนขึ้นใหม่ เช่น มันสมอง กำลังใจ กำลังความคิด มหาบุรุษ และอื่นๆ อีกมาก พ.ศ. 2491 รัฐบาลเก่าเปลี่ยนไป จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นมาตั้งรัฐบาลใหม่ หลวงวิจิตรวาทการกลับไปเป็นกำลังใหม่ของรัฐบาลนี้อีกครั้งหนึ่ง

รัฐบาลไทยสมัยนั้น เปิดการสัมพันธ์ทางการทูตใหม่กับนานาประเทศ หลวงวิจิตรวาทการไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย (พ.ศ. 2495) แล้วย้ายไปประจำที่ประเทศสวิส ออสเตรีย และยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496) เป็นเวลานานถึง 7 ปี

อวสานแห่งชีวิต
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งคณะรัฐบาลปฏิวัติขึ้นใหม่ในปลาย พ.ศ. 2500 หลวงวิจิตรวาทการได้เป็นกำลังของคณะปฏิวัติ เดินทางกลับจากยุโรปเข้ามาช่วยจัดการบริหารประเทศ ในฐานะปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี

ในช่วงนี้ ท่านก็ได้ทำสิ่งที่ท่านปรารถนาไว้นานแล้วสำเร็จ คือได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน โดยท่านเป็นประธานกรรมการก่อสร้าง และเป็นผู้วางศิลปาฤกษ์ในปี พ.ศ. 2504

ด้วยเหตุที่ต้องทำงานหนักมาก ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ร่างกายที่ต้องทนงานตรากตรำอย่างหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง

ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีล้มป่วยด้วยโรคหัวใจ เมือ่ราวปลาย พ.ศ. 2504 และได้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 64 ปี

ชีวิตของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดี ได้ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญ ชีวิตของท่านได้ดำเนินมาหลายบทบาท เริ่มจากการเป็นนักธรรม เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักการทูต เป็นครู - อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็ยนักประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ จากสามเณรเปรียญ 5 ประโยค ท่านได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2504 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการทูต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีเดียวกัน และปริญญาบัตรอักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2505

ชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดีได้ดับไปแล้ว แต่ชีวิตที่ประกอบความดีมานั้น ย่อมมีธรรมคุ้มครอง ตราประจำตระกูลคือ "ดวงประทีปในเรือนแก้ว" จึงมิได้ดับไปตามชีวิตนั้น แต่ยังคงส่งประกายสว่างไสวต่อไปชั่วกาลนาน...

...
  
วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เป็นชาวราศีพิจิก วันเดือนปีเกิดคือมีความอัศจรรย์ในความบังเอิญที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขแฝงอยู่

เรียนหนังสือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศรีวิกรม์ด้วยทุนของ โรงเรียน มี “แวว” เป็น “ครู” และเป็น “นักเขียน” ตั้งแต่เด็ก ชอบเกณฑ์เพื่อนเด็กแถวบ้านกับหมา แมว อีก 3-4 ตัวมานั่งเรียนเป็นนักเรียนมีลงโทษเพื่อนที่ไม่ตั้งใจเรียนโดยให้ยืนขาเดียว และคาบไม้บรรทัดไว้ในปากอีกต่างหาก

ประมาณประถมศึกษาปีที่ 6 ส่ง “เรื่องสั้น” และ “แต่งเรื่องจากภาพ” ไปลงที่สตรีสารภาคพิเศษ เรื่องได้รับการตีพิมพ์เป็นที่ฮือฮากันทั้งห้อง เพราะมีชื่อตัวเองและชื่อโรงเรียน พร้อมผลงานปรากฏอยู่ เจ้าตัวก็เลยยิ้มหน้าบาน ตั้งแต่เช้าจนดึก จำได้ว่าตื่นเต้นมากจนนอนไม่หลับ ได้หนังสือเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1 และ 2” ของ “ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ฯ” เป็นรางวัล เรื่องสั้นเรื่องแรกในชีวิตคือเรื่อง “สวนทาง”

รับทุนการศึกษาพิเศษ “พสวท.” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาชีววิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นได้รับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโทจากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ และทุนวิจัยพิเศษจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ จนจบหลักสูตรปริญญาโท สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อเรียนหนังสือจบ แม่บังคับให้ “หา” งาน “ประจำ” ทำ จึงสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ผ่านเข้าบรรจุเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพ บรรจุตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ตอนแรกกะว่าจะอยู่สอน เอาใจ “แม่” สักสองปีคงเพียงพอแล้ว ตั้งเป้าไว้ว่าจะ “ลาออก” มาเป็น “นักเขียนอาชีพ” และนักประพันธ์ “หญ่าย”

แล้วด้วยบุญหรือกรรมอะไรก็ไม่ทราบ สามารถ “อึด” ทนเป็นลูกจ้างประจำมาได้ถึง 17 ปีเต็ม (ทำเรื่องลาออกเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2550 แต่มีผลเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2551) รู้สึกว่าเวลาในบทบาท “ครู” ช่างรวดเร็วเหลือเกิน ยิ่งกว่า “ติดปีกบิน” เสียอีก (แสดงว่ามีความสุข)

ตอนเป็นอาจารย์ประจำ ทำหน้าที่หลักคือ สอนหนังสือ บริการให้ความรู้ในวิชามนุษย์กับสภาพแวดล้อม (ซึ่งเป็นวิชาศึกษาทั่วไป) แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 ในหลายคณะ อาทิ นิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บัญชี บริหารธุรกิจ ศิลปกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

ลาออกจากลูกจ้างประจำด้วยหลายสาเหตุรวมกัน ใช้เวลาในการตัดสินใจลาออกเพียงคืนเดียว

เป็นคนสอนหนังสือสนุกสนาน บรรยาย “ยาก” ให้กลายเป็น “ง่าย” เพียบทั้งสาระ คติธรรม และเฮฮา เพื่อให้ลูกศิษย์มีความสุขและเกิดความเข้าใจในขณะเข้าฟังคำบรรยาย ลูกศิษย์จะได้มีความรู้เต็มที่ “คิด” มากกว่า “ท่องจำ”

ด้วยเหตุนี้เองจึงได้รับการโหวตให้เป็น “คุณครูในดวงใจ” มาโดยต่อเนื่อง

นับเวลาการทำงานประจำแล้วจะว่าสั้นก็สั้น แต่จะว่ายาวก็ใช่ 17 ปีนานไม่ใช่น้อย (คิดแล้วก็งงตัวเองอยู่เหมือนกัน ไม่รู้อยู่มานานขนาดนี้ได้ยังไง)

ปัจจุบันลาออกมาเพื่อยึดอาชีพ “นักประพันธ์” เป็นหลัก เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และแฟนตาซีที่ทำต้นฉบับด้วยดินสอ 2B

ประสบการณ์การเขียนหนังสือ รวมเวลา23 ปี (พ.ศ. 2551) มีผลงานวรรณกรรมทุกประเภท ตั้งแต่บทความ บทความเชิงวิชาการ รวมเรื่องสั้น ตำราวิชาการ (10 เล่ม) สารคดี ปกิณกะ หัสคดี ท่องเที่ยว นิยายชุด นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายแฟนตาซี และการ์ตูนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหมด 98 เล่ม (พ.ศ. 2551) มีบทความและบทความทางวิชาการมากกว่า 2,000 เรื่อง งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพตีพิมพ์แล้ว 11 เรื่อง (อยู่ระหว่างทำวิจัย 2 เรื่อง) เดินทางท่องโลกมาแล้ว 94 ประเทศ

งานมาสเตอร์พีซ คือ เด็กหลอดแก้ว, พิจิก, ดีเอ็นเอ, เร้นพลบ, กลมนุสส์, คมสังหรณ์, ซากดอกไม้ และด้ายสีม่วง

ผลงานที่เคยได้รับรางวัลอาทิ พิจิก, รังสีมรณะ, สะพานเชื่อมฝัน, การ์ตูนชุด “โลกอนาคต” 4 เล่มชุด

นิยายวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 88 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ คือ ดีเอ็นเอ

ผลงานล่าสุดที่กำลังจะวางตลาดคือ “ห่วงจำแลง”

อาชีพปัจจุบันคือ “นักเขียนอาชีพ” นักวิจัย นักวิชาการอิสระ วิทยากร อาจารย์พิเศษ และมีอีก 2 งานที่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ตอนนี้ (เหตุผลส่วนตัว)

งานเขียนที่กำลังทำอยู่ขณะนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับดนตรีแจ๊ส ใน 2 เวอร์ชัน คือ ความเรียง และนวนิยาย (ไม่นานเกินรอ)

งานวิจัยที่กำลังทำร่วมกับนักวิชาการอื่น คือ “การค้นหาตัวยาใหม่เพื่อใช้ต่อต้านและกำจัดเซลล์มะเร็ง ในระบบทางเดินอาหาร”

ชีวิตโดยรวมมีความสุขดีตามอัตภาพ






นามปากกาที่เคยใช้

ครองแครงกรอบ, เฉียดเฉิดโฉม, ผักกาดหอม, ต้อยติ่ง, ปรัศนีย์, พุทธิมาศ,
กนกวัฒน์ รวีธาร

การศึกษา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2531
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2533

การทำงาน

อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2534 - 2551)

ได้รับอนุญาตให้แต่งตั้งเป็นอาจารย์ เมื่อวันที่ 29 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2534
ได้รับอนุญาตให้แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 31 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2539
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ 2547
เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ 2542

งานสอน

วท.201 มนุษย์กับสภาพแวดล้อม
ระดับ ปริญญาตรี ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 และภาคฤดูร้อน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 - ปัจจุบัน

งานบริการทางวิชาการ

* เขียน บทความเพื่อเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์ แก่ประชาชน ในนิตยสารทั่วไป และวารสารทางวิชาการหลากหลายฉบับนับตั้งแต่ปี 2531 ถึงปัจจุบัน
* เขียนบทความเพื่อเผยแพร่ออกอากาศสำหรับรายการวิทยุ คลื่นสไมล์เรดิโอ
สถานีวิทยุยานเกราะ /สถานีวิทยุจุฬา /สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ

งานบริการด้านอื่น

1. เป็นสมาชิก "สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์"
2. เป็นสมาชิก "นักวิจัยแห่งชาติ" สังกัดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ เฉลี่ยปีละ 1 เรื่อง
3. เขียนบทละครเวทีสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่แก่เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในโครงการ "ละครเวทีสัญจร" เฉลี่ยปีละ 3 เรื่อง
4. รับเชิญบรรยาย ในฐานะวิทยากรและอาจารย์พิเศษ เฉลี่ยปีละ 10-12 คาบ ในหัวข้อเรื่อง ดังนี้
* ไวรัสวิทยา
* การจัดหมวดหมู่แบคทีเรีย
* ราวิทยา
* กลวิธีการเขียนเรื่องสั้น และนิยายวิทยาศาสตร์
* การตั้งรับและอยู่รอดบนโลกหลังปี 2000
* ความเชื่อและความเข้าใจพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในชุมชนขนาดเล็ก
* ฯลฯ
5. เป็นกรรมการบริหาร "ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์"
6. เป็นสมาชิก "สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย" ในพระบรมราชูปถัมภ์
7. เป็นสมาชิก “สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย”
8. เป็นกรรมการตัดสินการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เนชันบุคส์ และ บริษัท ดูปองท์ จำักัด
9. เป็นอาจารย์ที่ีปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
10. เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาไวรัสวิทยา พิษวิทยา และ พันธุศาสตร์ของเชื้อรา สังกัดสภาวิจัยแห่งชาติ
ฯลฯ

สถาบันที่รับเชิญ

* ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
* คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
* คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* โรงเรียนรวมเหล่า โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฯลฯ

งานวิจัย

1. การเพิ่มจำนวนวีเอไมคอไรซา ในถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.5 2534
2. การเพิ่มผลผลิตของเห็ดฟางด้วยวิธีรวมโปรโตพลาสต์ 2535
3. การสร้างสายพันธุ์ใหม่ของเห็ดลูกผสมด้วยวิธีพันธุวิศวกรรมศาสตร์ 2536
4. Mushroom Productivity from Fusant Intraspecies of Volvariella volvacea 2537
5. แนวโน้มการเพิ่มผลผลิตของสัตว์น้ำบริเวณถิ่นที่อยู่น้ำกร่อยในประเทศไทย 2539-2540
6. ความ หลากหลายทางชีวภาพในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ที่มีผลออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร 2543-2547
7. Cognitive Neuroscience 2548
8. ชีวจริยธรรมกับสังคมไทย 2548-ปัจจุบัน

รางวัล

* ราย ชื่อหนังสือที่ได้รับรางวัลจากงานประกวดหนังสือแห่งชาติและสำนักงานเยาวชน แห่งชาิติ มีดังนี้คือ พิจิก,รังสีมรณะ,สะพานเชื่อมฝัน,DNA และการ์ตูนชุดโลกอนาคต ฯ
* หนังสือชื่อ DNA ได้รับการประกาศเป็นหนังสือหนึ่งใน 88 เล่ม โครงการหนังสือวิทยาศาสตร์ดีเด่น วิจัยโดย สกว.

...
  

    จำนวนหน้า : [1]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.