|
บริการ |
|
บริการ : ประวัติ ทนายความ |
|
มารุต บุนนาค ศาสตราจารย์ (พิเศษ) มารุต บุนนาค อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ปัจจุบันวางมือทางการเมือง แต่ยังคงดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาของ พรรคประชาธิปัตย์
[แก้] ประวัติ
ศ. (พิเศษ) มารุต บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2467 เป็นบุตรของ พระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค) กับนางสาวผ่องศรี เวภาระธิดาขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เปล่ง เวภาระ) กับคุณหญิงทองคำ [1] จบการศึกษากฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2490 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยยังใช้ชื่อว่า " มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง " และได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม , ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ ว.ป.อ.วุฒิบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพบก
ชีวิตส่วนตัว ศ. (พิเศษ) มารุต บุนนาค สมรสกับ คุณหญิงพันทิพา บุนนาค (สกุลเดิม "พันธุ์มณี") มีธิดาคือ นางมฤทุ บุนนาค มอริ เจ้าหน้าที่ระดับสูงใน องค์การสหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีบุตรคือ นายรุจิระ บุนนาค สำเร็จนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทยของำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สำเร็จปริญญาโทกฎหมายระหว่างประเทศ 2 ปริญญา ที่มหาวิทยาลัยทูเรนและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดูแลสำนักงานต่างประเทศ
ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2519 และปี พ.ศ. 2521 และปัจจุบัน เป็นประธานร้านธรรมศาสตร์กาชาดและเป็นอุปนายกสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการของสมาคมมิตรภาพไทย-จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2526
[แก้] การเมือง
มีประสบการณ์ทำงานเป็นทนายความที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก่อน ก่อนที่จะเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2518 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ต่อมาจึงได้เข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์และลงเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร เขต 2 คือ เขตพญาไทและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ศ. (พิเศษ) มารุต ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้ง คราวนี้ประสบความสำเร็จได้รับเลือกตั้ง และได้เป็น ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานคร นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์สมัย พ.อ. (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรค แม้จะไม่ได้รับเลือกตั้งก็ตาม และดำรงตำแหน่งมากมาย ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2531 ประธานรัฐสภา ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538 และทำหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราว ในการคัดเลือกประธานสภา หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 จากฐานะเป็น ส.ส.ที่อาวุโสที่สุดของสภา
ปัจจุบัน ประกาศวางมือจากการเมืองแล้วเมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์ ศ. (พิเศษ) มารุต บุนนาค มีสำนักงานทนายความของตนเอง ชื่อ สำนักงานทนายความมารุต – รุจิระ
...
|
|
|
|
สัก กอแสงเรื่อง สัก กอแสงเรือง (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ที่บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน) ปัจจุบันเป็น นายกสภาทนายความ เคยเป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้รับการแต่งตั้ง ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549
นายสัก กอแสงเรือง เริ่มการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสิงห์ หรือ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าโรงเรียนสิงหราชพิทยาคม จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับประกาศนียบัตรทางกฎหมาย เนติบัณฑิตไทย อดีตนายกสภาทนายความ อดีตเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
...
|
|
|
|
ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
Pramarn Laungwattanawanich
ประวัติการศึกษา
- นิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่น 5 ปี 2521
- เนติบัณฑิตจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภารุ่น 32 ปี 2522
- ประกาศนียบัตรกฎหมายปกครอง รุ่น 1 เนติบัณฑิตยสภา
- นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน ปีการศึกษา 2546
ประวัติการทำงาน
- ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความปี( 2532 - 2535 )
- นายทะเบียนสภาทนายความปี ( 2535 - 2538 )
- อุปนายกสภาทนายความปี ( 2538 - 2541 )
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร
- อนุกรรมการป้องปรามการละเมิดสิทธิผู้บริโภค สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
- อาจารย์สอนวิชาว่าความสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ( 2532–2541 )
- อาจารย์สอนวิชาว่าความสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา( 2534 - 2536 )
- อาจารย์สอนวิชาว่าความมหาวิทยาลัยรามคำแหง ( 2535 -ปัจจุบัน )
- อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยขอนแก่น , วิทยาลัยการปกครองและสถาบันอื่น ๆ
- ผู้ดำเนินรายการแจ้งความ ทางสถานีโทรทัศน์ ITV ( 2545 - 2546 )
- ผู้ดำเนินรายการคนหัวหมอ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ( 2546 – ปัจจุบัน )
- ผู้ดำเนินรายการหัวหมอจ้อข่าว ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ( 2547 – 2548 )
- ผู้ดำเนินรายการร่วมมือร่วมใจทางสถานีโทรทัศน์ ITV , TITV ( 2547 - 2551 )
- ผู้ดำเนินรายการเจาะรัฐสภา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 ( 2548 – 2549 )
- ผู้ดำเนินรายการตีข่าวเล่าความทางสถานีโทรทัศน์ ITV , TITV( 2549 - 2551 )
- เป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายกว่า 28 ปี
- ประธานบริหารบริษัท อาณาจักรกฎหมาย จำกัด
- และบริษัท ทวินทนาย จำกัด
- ผู้ดำเนินรายการตีข่าวเล่าความทางสถานีโทรทัศน์ PTV
ตัวอย่างรางวัลที่เคยได้รับทางสังคม
- ทนายความดีเด่นแห่งสภาทนายความ ปี 2541
- คนดีศรีราม จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2550
...
|
|
|
|
วันชัย สอนศิริ วันชัย สอนศิริ เป็นทนายความ, นักพูด ผู้บรรยายเรื่องกฎหมายทั่วไปของสภาทนายความ มีชื่อเสียงมาจากการให้ความรู้ทางกฎหมาย ในวิทยุคลื่นร่วมด้วยช่วยกัน ต่อมาเป็นผู้จัดรายการเล่าข่าว จากข่าวหนังสือพิมพ์ โดยสอดแทรกความรู้ด้านกฎหมาย และเรื่องขำขัน ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และยูบีซี โดยจัดรายการคู่กับ ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทั้งคู่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ "สองทนาย" หรือ "ทนายคู่หู" ในรายการร่วมมือร่วมใจทางทีไอทีวีแต่ได้ออกมาในปี พ.ศ. 2550 หลังการเปลี่ยนโครงสร้างสถานีของไอทีวีเป็นทีไอทีวี
ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนกฎหมายอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, นักจัดรายการคุยสบายๆกับทนายวันชัยทางสถานีวิทยุคลื่นFM.98 MHz ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 15.00 - 17.00 น.คู่กับมัลลิกา บุญมีตระกูล เคยเป็นพิธีกรรายการ “9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งปฐมทัศน์เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 10.05 -11.00 น.
ปัจจุบัน เป็นพิธีร่วมกับ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในรายการ "รู้ทันประเทศไทย" ทาง เอเอสทีวี นิวส์วัน และรายการ "คลายปม" ทางสทท.11 ซึ่งปฐมทัศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติการศึกษา
2 ประวัติการทำงาน
3 รางวัลเกียรติยศ
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประกาศนียบัตรการอบรมกฎหมายภาษีอากร ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและบัญชีรุ่นที่ 1 ของ ศาลภาษีอากรกลางและสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารในระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า
[แก้] ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2532-2535 กรรมการทนายความ ภาค 1 และรองเลขาธิการสภาพทนายความ
ปี พ.ศ. 2535-2538 เลขาธิการสภาทนายความ
ปี พ.ศ. 2541-2544 เลขาธิการสภาทนายความ
ปี พ.ศ. 2528-2532 สมาชิกเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน เลขาธิการสภาทนายความ
อนุกรรมการพัฒนากฎหมายเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล)
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี)
พิธีกรรายการ “แจ้งความ” ไอทีวี
วิทยากรรายการ “ชาวกรุงร้องทุกข์” เนชั่นทีวีและTTV
กรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงาน
หัวหน้าสำนักงานทนายความวันชัย สอนศิริ
อนุกรรมการป้องปรามการละเมิดสิทธิ์ของผู้บริโภค สคบ.
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
วิทยากรตอบกฎหมายในรายการวิทยุโทรทัศน์หลายแห่ง
[แก้] รางวัลเกียรติยศ
โล่เกียรติคุณ “คนดีของสังคม” จากสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM96 MHz โดยนายพิจิตต รัตตกุล
ประกาศ เกียรติคุณเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2546 จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
รางวัลเชิดชูเกียรติผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ “เมขลา”ครั้งที่ 22 ประจำปี 2545 ในฐานะผู้ดำเนินรายการ “แจ้งความ” ทางไอทีวี จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง
[แก้] อ้างอิง
...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|