หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
  -  หัวอกนักพูด(อ.วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์)
  -  ทำไมนักพูดจึงต้องมีอารมณ์ขัน(จตุพล ชมภูนิช)
  -  ผู้นำต้องเป็นนักพูด(ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์)
  -  หนังสือพูดอย่างเซียน คุณรัชเขต วีสเพ็ญ
  -  ศ.ธรรมทัสสี
  -  จตุพล ชมพูนิช นักพูดชื่อดัง แนะเทคนิค "เส้นทางสู่อาชีพนักพูด"
  -  คุณสมบัติของนักจัดรายการวิทยุ
  -  
  -  การพูดในที่ชุมชน
  -  ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์
  -  เดล คาร์เนกี้ : นักพูดผู้มีศิลปะในการพูด
  -  บัญญัติ 10 ประการ สู่การเป็นนักพูด
  -  ข้อแนะนำ 10 ประการ ในการฝึกฝนตนเองเป็นนักพูดที่ดี
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความต่างๆ ของนักพูด
หัวอกนักพูด(อ.วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์)
“หัวอกนักพูด”
มีหลายคนแกล้งพูดให้บรรดานักพูดอย่างพวกผมได้ยินอยู่เรื่อยๆว่า “อาชีพนักพูดนี่ดีเนอะ ไม่ต้องมีอุปกรณ์อะไรมากมายในการประกอบอาชีพ จะไปไหนก็แค่หิ้วปากไปด้วยเท่านั้น ก็ใช้หากินได้แล้ว!” ซึ่งผมก็ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันว่า นี่เป็นคำชมหรือคำกระแหนะกระแหนกันแน่
ผมจึงค่อนข้างสะใจไม่น้อยที่อาจารย์สุขุม นวลสกุล พี่ใหญ่ในวงการนักพูด กล่าวสวนคำพูดนี้ไปในทันทีว่า “ใช่สิ นักพูดเนี่ยไปไหนก็แค่หิ้วปากไปด้วย ส่วนตีนน่ะ ค่อยไปหาเอาข้างหน้า!?!” ประโยคนี้ของอาจารย์สุขุมฯ อาจจะแปลความหมายได้ว่า อาชีพนักพูดมันไม่ได้ทำง่ายอย่างที่ใครๆ คิด เพราะพูดแล้ว โอกาสที่จะเจอตีนก็มีความเป็นไปได้สูงทีเดียว และกว่าจะมามีวันนี้ ก็ล้วนเจอตีนกันมามากบ้างน้อยบ้าง ถ้วนทั่วทุกตัวคน
ถ้าถามว่า “นักพูด” จัดเป็นอาชีพๆหนึ่งได้หรือไม่ ก็อาจจะมีผมเพียงคนเดียวที่ยืนยันมาตลอดว่า “นักพูด” น่ะมันไม่ใช่อาชีพ แต่มันเป็นฉายา เป็นสมญานาม เป็นความสามารถพิเศษ เป็นความถนัด เป็นทักษะ เป็น พรสวรรค์ หรือเป็นคุณสมบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งเขาหรือเธอผู้นั้นก็อาจจะมีอาชีพที่หลากหลายแตกต่างกันไป เพียงแต่มีความสามารถพิเศษประการหนึ่งเป็นคุณสมบัติประจำตัว นั่นคือมีความสามารถทางด้านการพูด อาทิเช่น :-
อาจารย์สุขุม นวลสกุล น่าจะถือได้ว่าท่านเป็นนักวิชาการนักพูด ท่านอาจเชี่ยวชาญการพูดในหลายรูปแบบ แต่ในความรับรู้ของผู้คนในสังคม ท่านเป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง เวลาสื่อมวลชนจะสัมภาษณ์ผู้รู้สักคนหนึ่งเรื่องการบ้านการเมือง ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ทุกคนจะต้องนึกถึงในลำดับต้นๆ
รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ท่านก็เป็นนักวิชาการนักพูด ซึ่งเชี่ยวชาญวิชาการด้านการตลาด ด้านการบริหารจัดการ ด้านนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน ด้านฯลฯ (ท่านมีความสามารถหลายด้านเหลือเกินจนจารไนไม่ไหว ดูเหมือนท่านจะรวมเอาความเก่งทุกอย่างมาไว้ในตัวท่านหมด แม้แต่เพศหญิง เพศชาย ท่านก็ยังเหมาเอามารวมไว้ที่ตัวท่านคนเดียวด้วยเลย! ผมภาวนาว่าท่านจะไม่ได้อ่านข้อเขียนของผมชิ้นนี้!)
อาจารย์พเยาว์ พัฒนพงศ์ ท่านเป็นครูนักพูด อาชีพหลักของท่านก็คือสอนหนังสือ
อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ นี่ก็เป็นนักพูดอีกท่านหนึ่งที่พูดได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าถามว่าอะไรคืองานหลักของท่าน ก็ต้องตอบว่าท่านเป็นผู้บริหารอยู่ในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกแห่งหนึ่ง และเป็นมาหลายปีแล้ว เดินทางไปประชุมที่โน่นที่นี่แทบจะรอบโลกแล้ว งานพูดถือเป็นงานรอง เพียงแต่ดูเหมือนจะทำเงินได้มากกว่างานหลักเท่านั้น จนนายฝรั่งของท่านต้องโทรตามตัวท่านอยู่บ่อยครั้ง พร้อมกับพูดกับท่านว่า “โอว มิสเตอร์เสน่ห์ ไออยากจะขอความกรุณายูนิดหน่อย คือวันไหนว่างๆ ยูช่วยเข้ามาทำงานบ้างนะ! พลีส” จึงอาจเรียกท่านได้ว่าเป็นนักบริหารนักพูด
อาจารย์ถาวร โชติชื่น ท่านก็เป็นนักบริหารนักพูดเช่นเดียวกัน ท่านเป็นผู้บริหารอยู่ในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับประเทศแห่งหนึ่งซึ่งทำธุรกิจด้านอาหารสัตว์ ปัจจุบันท่านลาออกมาทำกิจกรรมส่วนตัวแล้ว เลยยังไม่รู้ว่าจะเรียกท่านว่านักอะไรดี? ได้ข่าวว่าท่านไม่ค่อยว่างเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้นี่ ท่านต้องนั่งเฉยๆอยู่ทั้งวัน น่าอิจฉาจริงๆ!
อาจารย์พนม ปีเจริญ น่าจะถือได้ว่าท่านเป็นนักธุรกิจนักพูด เพราะงานหลักของท่านนั้น ท่านเป็นเจ้าของกิจการ เป็นนักธุรกิจที่ทำธุรกิจหลายด้าน งานการพูด ดูเหมือนจะเป็นงานอดิเรกของท่านมากกว่า
อาจารย์อภิชาติ ดำดี นี่ก็เป็นนักพูดอีกท่านหนึ่งที่ผมยังจัดไม่ค่อยจะถูกว่าจะเรียกท่านว่าเป็นนัก อะไรดี แต่ช่วงที่ผมกำลังเขียนข้อเขียนชิ้นนี้อยู่ ได้ข่าวว่าท่านกำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ถ้าเกิดสอบได้ขึ้นมา เป็น สว.ท่านก็อาจได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองนักพูด หรือ สว.นักพูด แต่ถ้าสอบตก ก็อาจต้องเรียกท่านว่า สต.นักพูด(ไม่ออก) ไปพลางๆ!
อาจารย์นันทนา นันทวโรภาส แต่ก่อนอาจจะยังจัดท่านไม่ถูกว่าเป็นนักอะไร แต่ช่วงกำลังนี้ ตั้งแต่ท่านสำเร็จปริญญาเอกด้านสื่อสารทางการเมือง ทั้งสอนและบริหารหลักสูตร ก็อาจจัดได้ว่าท่านก็เป็นนักวิชาการนักพูดได้อีกท่านหนึ่ง
สำหรับอาจารย์จตุพล ชมภูนิช นั้น ผมมีความเห็นเป็นการส่วนตัวว่าท่านน่าจะได้ชื่อว่าเป็นศิลปิน นักพูด เพราะท่านเชี่ยวชาญที่สุดกว่าใครในเรื่องของ Entertainment Talk Show และตัวท่านเองก็วางภาพลักษณ์ หรือตำแหน่งทางการตลาดของตัวท่านเอง (Positioning) ไปในแนวดารา แนวคนในวงการบันเทิง จนอาจถือได้ว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์ในด้านทอล์คโชว์เลยทีเดียว
แล้วผมล่ะ ผมเป็นอะไร? ผมแน่ใจว่าผมไม่ได้เป็นเอดส์ และไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงอะไรทั้งสิ้น แต่ผมเป็นวิทยากรนักพูดนักฝึกอบรม เพราะงานหลักที่ผมใช้ทำมาหากินนั้นคือการไปเป็นวิทยากรบรรยาย สัมมนา และฝึกอบรมในหน่วยงานต่างๆ
ส่วนอีกสองท่าน ซึ่งผมมิได้หลงลืมท่านไปแต่ประการใด คืออาจารย์สุรวงศ์ วัฒนกูล และอาจารย์ผาณิต กันตามระ เพียงแต่ผมยังงงๆอยู่ ไม่รู้ว่าควรจะจัดท่านไปอยู่ในไฟลั่มไหน หรือสปีชี่ส์ใด แต่ในเบื้องต้นท่านน่าจะอยู่ในไฟลั่มเดียวกับผม คือเป็นวิทยากรนักพูดนักฝึกอบรม ที่เน้นการฝึกอบรมทางด้านธรรมะ ด้านวิปัสสนา ด้านกัม- ฐากกรรมฐานทรมานทรกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่คนบาปหนาอย่างผมไม่มีวันเข้าถึง จึงอาจถือได้ว่าอยู่ในไฟลั่มเดียวกัน กับผม เพียงแต่อยู่กันคนละสปีชี่ส์!
ยังมีอีกหลายท่านที่ได้ชื่อว่าเป็นนักพูด ซึ่งผมยังมิได้เอ่ยนาม ณ ที่นี้ แต่เชื่อได้ว่าแต่ละท่านมีอาชีพอะไรสักอย่างหนึ่งทำเป็นหลักเป็นแหล่ง เป็นกิจจะลักษณะ ขณะเดียวกันก็มีทักษะพิเศษอย่างหนึ่งประจำตัวกันทุกท่าน คือความสามารถทางด้านการพูด
ที่ได้ยกตัวอย่างรายชื่อนักพูดมาทั้งหมดนั้น ในทางปฏิบัติ นักพูดแต่ละท่านอาจจะมีความสามารถทางการพูดหลายด้าน และมีกิจกรรมที่คาบเกี่ยวทับซ้อนกันอยู่หลายอย่างไปพร้อมๆกันจนเกือบแยกแทบไม่ออก เช่น อาจารย์สุขุมฯ ท่านก็เป็นวิทยากรฝึกอบรมด้านพัฒนาคนด้วย เป็นนักทอล์คโชว์ด้วย อาจารย์จตุพลฯ ท่านก็รับงานบรรยายในหัวข้อที่ท่านถนัดควบคู่กันไปกับงาน Entertainment Talk Show ด้วย เป็นต้น เพียงแต่ที่ผมจัดใส่อาชีพหลักให้แต่ละท่านว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ก็โดยการดูขีดความสามารถหลัก (Core Competency) และพิจารณาจากการรับรู้ของผู้คนในสังคม (Perception) เป็นเกณฑ์สำคัญนั่นเอง
ที่ได้กล่าวในประเด็นนี้มาเสียยืดยาว ก็เพื่อจะบอกว่านักพูดทุกคนต่างมีสัมมาอาชีวะกันทุกคน ไม่มีใครสักคนเดียวที่ไม่มีงานการอะไรทำ เอาแต่พูดๆๆ พูดกันให้ตายไปข้างหนึ่งอย่างเดียวเลย มีบางคนแกล้งมาพูดแหย่กึ่งบลั๊ฟนักพูดว่า “วันๆพวกคุณไม่คิดจะทำงานทำการอะไรให้มันเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาบ้างเลยหรือไง เห็นเอาแต่พูดๆๆกันอยู่นั่นอย่างเดียวเลย!?” บ่อยครั้ง ผมก็ต้องพูดสวนกลับไปว่า “ก็เนี่ยแหละ งานหลักของกูละ!”

ช่วงที่รายการทอล์คโชว์ทางโทรทัศน์เฟื่องฟูสุดขีดในยุคหนึ่ง นักพูดถูกจัดให้เป็นกลุ่มคนในวงการบันเทิงไปด้วยโดยปริยาย แต่ละคนนี่ต่างเดินสายออกรายการเกมส์โชว์ รายการทอล์คโชว์ ออกรายการนั้นรายการนี้ กันเป็นว่าเล่น มีคนเชิญไปพูดทอล์คโชว์งานนั้นงานนี้กันเป็นที่อึกทึกครึกครื้น ไปกันเป็นทีมบ้าง วันแมนโชว์บ้าง จนกระทั่งมีใครบางคนซึ่งไม่รู้เขาจะอิจฉาหรือริษยาตาร้อนหรือเปล่าก็ไม่ทราบ พูดเหน็บแนมนักพูดให้ได้ยินอยู่บ่อยๆว่า “ไอ้พวกนักพูดเนี่ย มันก็ไอ้พวกเดียวกับตลกคาเฟ่ละวะ ต่างกันอยู่หน่อยนึงตรงที่ว่า ตลกคือนักพูดที่ยืนพูดอยู่ในคาเฟ่ ส่วนนักพูดก็คือคนที่ไปเล่นตลกอยู่ห้องสัมมนา ถุยส์!” คำพูดนี้เสียดแทงหัวใจทั้งนักพูด และศิลปินตลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะจริงๆแล้ว อาชีพของเราทั้งสองกลุ่มนี้มันอยู่กันคนละภพ คนละภูมิกันเลย ไหงจับเรามารวมกลุ่มกันได้ก็ไม่ทราบ แต่ก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่ทำแล้วมันได้ตังค์ แล้วได้มากด้วย เราก็ไม่ว่าอะไร! ปล่อยให้คนที่พูดประโยคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกนักวิชาการเขาพูดกันไป ปล่อยให้พวกเขาไปทำงานค้นคว้าวิจัยทางวิชาการเรื่องวัฏจักรแห่งความยากจนของตนเองกันต่อไป
พูดถึงนักวิชาการแล้ว ไม่รู้เป็นอย่างไร ผมสงสัยว่าทำไมนักวิชาการบางคนถึงได้จงเกลียดจงชังนักพูดนักหนา มีโอกาสเป็นต้องพูดพาดพิง ต้องเหน็บแนม ต้องกระแหนะกระแหนนักพูดอยู่ร่ำไป บางคนก็พูดสับนักพูดเสียเละเลยว่า “ไม่รู้พวกมันมาเป็นผู้บรรยายความรู้ได้อย่างไร ยืนพูดออกท่าออกทางเหมือนกับจะเล่นปาหี่ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยยังกับเล่นหนังเล่นละคร ใส่แต่แก๊ก ใส่แต่มุขตลกจนคนฟังไม่ได้สาระความรู้อะไร เอาแต่หัวเราะกันจนน้ำหูน้ำตาไหล เอาแต่ฮากันจนแทบจะตกเก้าอี้ ฮากันจนขี้แตกขี้แตน มันจะไปได้ความรู้สวรรค์วิมานอะไร!” โอ้โฮ เล่นใส่กันแบบนี้แหละครับ พวกนักพูดอย่างผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าไอ้ที่พวกผมทำๆอยู่เนี่ยมันถูกหรือเปล่า แต่ไอ้ที่พวกนักวิชาการทำๆกันอยู่ คือเวลาจะเรียนจะสอนต้องแจกหมอนกับผ้าห่มด้วยเนี่ย มันไม่ถูกแน่ๆ
นักวิชาการ ซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ในมหาวิทยาลัยบางคนก็พูดจาเหยียดหยันนักพูดว่า “ไอ้พวกนักพูดเนี่ย ไม่เห็นมันจะมีความรู้อะไร แต่ดันรับพูด (แม่ม) ไปเสียทุกเรื่อง ทั้งๆที่ก็ไม่รู้จริงอะไรสักเรื่องหนึ่ง!” ผมนำคำพูดนี้มาไตร่ตรองดู ก็เห็นจริงด้วยอยู่เหมือนกัน สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันว่าแล้วทำไมเราถึงได้หน้าด้านรับพูดมันไปเสียทุกเรื่องวะ? แต่ที่สงสัยหนักกว่านั้นคือ แล้วทำไมคนเชิญ เขาถึงได้ทนเชิญแต่นักพูดอย่างพวกผมที่ไม่รู้จริงอะไรสักเรื่องหนึ่งกันอยู่ได้ บางแห่งเชิญซ้ำอยู่นั่นแหละเป็นสิบรอบ ผมเคยถามคนจัดบางคนว่าทำไมไม่ไปเชิญพวกนักวิชาการ พวกอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาพูดบ้างล่ะ เขาก็ตอบผมมาว่า “จริงอยู่ครับ บรรดานักวิชาการ บรรดาอาจารย์เหล่านั้น ท่านรู้ลึก รู้แจ้ง รู้จริง ในทุกเรื่อง แต่ท่านก็พูดไม่รู้เรื่องเลยซักเรื่องนึง!” นั่นน่ะซีครับ แล้วจะให้พวกผมทำยังไง นักพูดอย่างพวกผมอาจจะไม่ได้รู้จริงสักเรื่องนึงอย่างที่ท่านว่า แต่พวกผมก็พูดรู้เรื่องในทุกเรื่องที่พอจะรู้อยู่บ้าง ก็เท่านั้นเองครับ
ท่านผู้อ่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ เห็นหรือยังล่ะครับว่าเส้นทางของนักพูดก็ไม่ได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบเช่นเดียวกัน ต้องผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านคำครหานินทาของผู้คนมาไม่น้อยเหมือนกัน ยิ่งนักพูดหลายคนที่ไม่ได้ทำงานเป็นนักบริหารในองค์กร ไม่มีเงินเดือนประจำที่แน่นอน ไม่ได้มีกิจการ หรือทำธุรกิจที่สามารถจ้างคนอื่นให้ทำงานแทนได้ แต่ต้องยังชีพด้วยการรับจ้างพูด รับจ้างบรรยาย รับจ้างเป็นวิทยากรฝึกอบรม สัมมนา และต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น อย่างผมและอีกหลายท่านนั้น ถ้าไม่มีหัวใจรักในอาชีพจริงๆ แล้วละก็ คงจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นกันไปนานแล้ว บางเดือนก็มีคิวงานแน่นจนไม่มีวันหยุด จนแทบจะหายใจทางผิวหนัง บางเดือนก็แน่นเหมือนกัน คือแน่นหน้าอกไปหมด เพราะไม่ค่อยจะมีงานเลย นี่ถ้าขวัญกำลังใจไม่กล้าแข็ง ไม่ศรัทธาในวิชาชีพจริงๆล่ะก็ เห็นทีจะแขวนปาก เลิกพูด ถอนตัวจากยุทธภพ ล้างปากในอ่างทองคำ หันไปทำอย่างอื่น เช่นรับจ้างดำน้ำ งมหอยหลอด ขึ้นมะพร้าว ขุดหลุม ดายหญ้า ฯลฯ เสียตั้งนานแล้ว
นอกจากนี้ สิ่งที่นักพูดทุกคนจะต้องเผชิญก็คือ ความกดดันสารพัด อันเกิดจากความคาดหวังของผู้คน ในสายตาของคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักพูดนั้น เขาเข้าใจว่าเมื่อได้ชื่อว่าเป็นนักพูดแล้วก็ต้องสามารถพูดได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสภาวะ ทุกสถานการณ์! ไม่ว่าเราจะโผล่ไปงานไหน ทั้งๆที่ไม่มีอยู่ในคิวงาน และไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่ก็มักต้องถูกเชิญแบบกะทันหัน ถูกเชิญแบบสดๆ ให้ขึ้นไปพูดทุกที ครั้นเราอิดเอื้อน บ่ายเบี่ยง ก็ต่อว่าเราอีกว่า “แหม พอพูดไม่ได้ตังค์ละก็ไม่ยอมพูดเชียวนะ!” บางครั้งผมก็ต้องเอาสีข้างเข้าถูเพื่อเอาตัวรอด โดยการตอบกลับไปว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น สำหรับผมแล้วเรื่องเงินน่ะมันไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพียงแต่มันเป็นเรื่องแรกที่ต้องตกลงกันก่อน เงินน่ะมันไม่ใช่พระเจ้าหรอก แต่มันคือพ่อของพระเจ้าเลย!” บางทีก็ต่อด้วยอีกประโยคหนึ่งที่ผมขโมยคำพูดมาจากอาจารย์สุขุมฯ ว่า “ที่พูดเนี่ยไม่ใช่ผมเป็นคนเห็นแก่เงินนะ เพียงแต่ถ้าไม่เห็นเงิน ผมก็ไม่เห็นแก่ใครทั้งนั้น!” เอาเป็นว่า ถ้าใครยังไม่รู้ ก็โปรดได้รับรู้ไว้ ณ ตรงนี้เลยนะครับว่า ความสุขสุดยอดอย่างหนึ่งของนักพูดก็คือการที่ไม่ต้องพูดนั่นเอง!
ผมเคยไปร่วมงานสัมมนา ในฐานะของผู้ฟัง ไม่ใช่ผู้พูด การสัมมนาผ่านไปครึ่งค่อนวัน โดยที่บรรยากาศของงานเป็นไปอย่างน่าเบื่อหน่าย อึดอัด เคร่งเครียด (ไม่ต้องบอก ก็คงพอจะเดาได้นะครับว่าใครมาเป็นวิทยากรนำสัมมนา ก็คนที่รู้ลึก รู้แจ้ง รู้จริงทุกเรื่องน่ะแหละครับ) ผู้ร่วมสัมมนาหลายคนลุกจากที่นั่ง เดินมาหาผม พร้อมกับกล่าวว่า “อาจารย์ช่วยขึ้นไปพูดอะไรคั่นเวลาสักสิบห้านาทีได้ไหมครับ เอาที่มันมันส์ๆ สนุกๆ เอาให้ฮากันท้องคัดท้องแข็งไปเลย เห็นไม๊ล่ะครับว่าทุกคนในห้องนี้เนี่ยกำลังเซ็ง กำลังเบื่อกันสุดขีดเลย อาจารย์ช่วยหน่อยนะครับ” ผมก็เลยตอบพวกเขาไปว่า “ผมก็เซ็ง และผมก็เบื่อเหมือนพวกคุณนั่นแหละ ทำไมพวกคุณถึงคิดว่าผมเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษที่ไม่มีสิทธิเบื่อ ไม่มีสิทธิ์เซ็งบ้างล่ะ คุณช่วยหาใครมาทำให้ผมหายเบื่อ หายเซ็งก่อนได้ไหม จากนั้นผมคงพอจะมีอารมณ์ทำให้พวกคุณหัวเราะกันได้บ้าง!” ผมพูดไปด้วยความไม่พอใจจริงๆครับ เห็นผมเป็นตัวอะไร เห็นผมไม่มีอารมณ์ความรู้สึก เหมือนผู้คนทั่วไปหรืออย่างไร ที่ถูกแล้ว พวกเขาต้องเดินไปบอกรองศาสตราจารย์ ด๊อกเตอร์อะไร ซึ่งทำหน้าที่วิทยากรนำสัมมนานั่น เขาต่างหากเป็นคนทำให้บรรยากาศในห้องสัมมนาเป็นแบบนี้ นี่เป็นผลงานของเขา ไม่ใช่เดินมาบอกผม
แม้จนถึงวินาทีนี้ ที่นักพูดแต่ละท่านต่างผ่านประสบการณ์อย่างโชกโชน และอย่างโชกเลือดมาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเครื่องรับรองได้ว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการพูดเสียทุกครั้งไป ทุกวันนี้ทุกท่านก็ยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของผลลัพธ์สุดท้ายของการพูด ซึ่งไม่รู้ว่ามันจะออกหัวหรือออกก้อย เพราะมันมีปัจจัยที่เกินการควบคุมอยู่หลายอย่างหลายประการที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
บางงานเขาจัดเป็นงานเลี้ยงรอบริมสระน้ำของโรงแรม แขกในงานนั่งกันกระจัดกระจายตามโต๊ะต่างๆ คนที่ยืนบนเวทีไม่สามารถมองเห็นคนข้างล่างได้เลย เพราะมีไฟสป็อตไล้ท์สาดส่องเข้าหาเวทีตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราก็เพิ่งทราบตอนไปถึงหน้างาน แล้วจะทำอย่างไรล่ะทีนี้?
บางงานก็เป็นงานเลี้ยงรุ่น ซึ่งคนในงานต่างตั้งใจมาทำแค่สองเรื่อง คือมาคุย และมากิน ไม่ได้สนใจมาฟังใครพูดบนเวทีทั้งนั้น ถ้าเจอแบบนี้ เราจะทำอย่างไร?
งานสัมมนาบางงาน ก่อนเริ่มการบรรยาย ประธานที่ต้องทำพิธีเปิดการสัมมนา ท่านก็ถือโอกาสด่าพนักงานเป็นการนำร่องเสียเกือบหนึ่งชั่วโมง ผู้ฟังไม่อยู่ในอารมณ์จะฟังอะไรต่อจากนั้นทั้งนั้น มีแต่อารมณ์เคียดแค้นอยากจะฆ่าใครสักคนอยู่อย่างเดียวเลย เจอแบบนี้ แล้วเราจะทำอย่างไร?
บางงาน เรายืนเห่า ยืนหอน ยืนบรรยายทั้งวัน ตั้งหกเจ็ดชั่วโมง เสร็จงาน ถูกคนจัดเบี้ยวค่าตัวหน้าตาเฉย เช็คเด้ง ทวงยังไงก็ไม่ยอมจ่าย เล่นเอานักพูดใบ้แดกไปหลายวัน แบบนี้ ท่านว่าจะทำอย่างไรดี?
ยังมีอีกหลายงาน หลายสถานการณ์ ที่ชวนให้นักพูดอยากจะเป็นใบ้ขึ้นมากะทันหัน เพราะพูดไม่ออก ได้แต่กรอกหน้า
ใครที่คิดว่าการเป็นนักพูดนั้นง่าย เป็นงานสบาย แค่เดินแกว่งปากหาเท้า แกว่งเท้าหาเสี้ยนทั้งวันเท่านั้น เมื่อได้อ่านเพียงบางส่วนของเรื่องราวที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้ ท่านคงเข้าใจหัวอกนักพูดอย่างพวกผมมากขึ้นนะครับ
ท้ายที่สุดนี้ หากจะถามว่าพวกนักพูดเขามีคติเตือนใจอะไรไว้ประจำใจกันบ้าง สำหรับท่านอื่นผมไม่ทราบ แต่ของผมเองมีคติง่ายๆ ที่ต้องเตือนตัวเองทุกครั้งที่จะขึ้นพูดว่า..

“ถ้าปากเหม็น เรายังสามารถไปอมหยูกอมยา แต่ถ้าปากหมาละก็ อมตีนอย่างเดียวเลย!”

อย่าว่ากันนะครับ ที่ขึ้นต้นและลงท้าย มีแต่คำว่า “ตีน” กับ “ตีน” !!??



...
  
ทำไมนักพูดจึงต้องมีอารมณ์ขัน(จตุพล ชมภูนิช)
วงการนักพูดบ้านเราในขณะนี้ ถ้าเอ่ยชื่อ “จตุพล ชมภูนิช” หลายคนต้องร้องอ๋อ (แต่ไม่ใช่ อ๋อ…เหรอ) เพราะหลายคนบอกว่าเขาเป็นนักพูด นักเขียน นักฝึกอบรม และล่าสุดเป็นพิธีกร แต่เชื่อหรือไม่ว่า อาชีพทั้งหมดที่บอกไปนั้น เริ่มต้นจากการ “พูด” แทบทั้งสิ้น”

นักพูดไม่จำเป็นต้องพูดเก่งมาตั้งแต่เกิด และนักพูดก็ไม่จำเป็นต้องแสดงออกให้ใครรู้ว่าตัวเองพูดเก่ง เขาผู้นี้ก็เช่นกัน เขาเริ่มการพูดเป็นทางการครั้งแรกในชมรมโต้วาทีในมหาวิทยาลัย แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็ต้องเริ่มต้นจากความชอบก่อนเป็นอันดับแรก และจากนั้นเราจะมาดูว่าเขาเริ่มต้นเป็นนักพูดมืออาชีพได้อย่างไร

“…ก็ฝึกตัวเองก่อนนะ เวลาเดินเข้าบ้านก็พูดเสียงดัง ๆ ตะโกนไปเลย เพราะซอยแถวบ้านไม่ค่อยมีคน ก็เดินเข้าไปก็พูดไปด้วย พอสักพักก็ได้เริ่มฝึกฝนวิธีคิด วิธีการพูดโดยไม่ต้องเตรียมตัว มันก็ได้ประสบการณ์ขึ้นมาส่วนหนึ่ง…

…จากนั้นก็มาฝึกพูดในรั้วมหาวิทยาลัย ครั้งแรกนี่ไม่ประสบความสำเร็จ คือไม่มีคนฟัง ไม่มีคนชอบ อะไรก็ไม่รู้นะ (หัวเราะ)… นี่คือในช่วงแรก ๆ ทำไม่ได้ แต่ผมเป็นคนที่ถ้าทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็ยิ่งพยายามขึ้น ไม่ใช่ว่าเลิก ก็แสดงว่าความพยายามของเรายังไม่ถึง เรายังไม่ให้เวลาเต็มที่ ความสามารถเรายังไม่พอ ก็ต้องเพิ่มสิ่งเหล่านี้เข้าไปให้มันด้วย เลยกลับมาฝึกใหม่…”

ตอนนั้นใครเป็นนักพูดในดวงใจ?

“…ตอนนั้นรุ่นพี่ ๆ ในมหาวิทยาลัยที่พูดเก่ง ๆ ก็มีหลายคน เราก็ดู ๆ แล้วก็ลองศึกษาว่าเขามีวิธีการพูดอย่างไร ทำไมคนถึงสนุก คนถึงฮาเฮ ก็มีหลายคนนะ แต่ว่าแต่ละคนก็หยิบมาอย่างละเล็กละน้อย อย่างคนนี้พูดเสียงหนักแน่นดี คนนี้มีลูกเล่นลูกฮาดีนะ…

…จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ผมก็คอยสังเกตการณ์ตลอด เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็จะหยิบยกของแต่ละคนมา บางคนมีไหวพริบปฏิภาณดี บางคนก็มีวิธีการพูดดี สำนวนดี ผมก็พยายามศึกษา เราจับเอามาอย่างละเล็กละน้อย ไม่ได้ถึงขนาดเลียนแบบหรือไปเอาของใครมาเป็นแบบอย่าง…”

ทุกวันนี้อาจารย์มีแบบฉบับในการพูดของตนเองอย่างไร?

“…ผมว่าเป็นตัวของผมเองนะ คือจะนำสิ่งร่วมสมัยมาใช้ เช่น เพลงโฆษณา ละคร อะไรต่าง ๆ เอามาประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์ แล้วก็นำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันที่เราอาจมองข้ามไป มาหยิบยกให้เห็นเด่นชัดขึ้น คงจะเป็นอย่างนี้ คือให้มันทันสมัยมากขึ้น เข้ากับความสนใจของคนฟัง…”

อาจารย์เคยเบื่อการพูดบ้างไหม?

“…ถ้าพูดนี่ คงไม่เบื่อนะครับ เพราะปรกติอาชีพผมนี่ จริง ๆ คืออาชีพฝึกอบรม ต้องไปสอนคน ต้องไปบรรยายตามคอร์สต่าง ๆ ทีนี้คนมันเปลี่ยนตลอด พอบรรยายเรื่องนี้ไป สมมติว่า พูดเรื่องการทำงานอย่างไรให้มีความสุขสนุกกับงาน วิธีการบริหารอย่างเหนือชั้น วิธีการขายอย่างมืออาชีพ คนฟังจะเปลี่ยนเข้ามาเรื่อย ๆ ถ้าไม่เปลี่ยนคนฟัง เราก็เปลี่ยนหัวข้อ คือ เปลี่ยนข้อมูลในการบรรยายให้ผิดแผกแตกต่างกันออกไป ทีนี้ถ้าสอนในชั้นเรียน เจอนักเรียนหน้าเดิม มันก็มีโอกาสเบื่อ แต่ว่าอาชีพนี้มันเปลี่ยนเรื่อย ๆ มันสบายใจ ไม่มีโอกาสเบื่อ…”

มีการเตรียมตัวในการพูดแต่ละครั้งอย่างไร?

“…

จากวันนั้นถึงวันนี้ ๑๐ กว่าปีแล้ว อาจารย์มีพัฒนาการในการพูดอย่างไร?

“…ก็ทนทานขึ้นเยอะ (หัวเราะ)… ก็เมื่อก่อนพูดแล้วคนไม่ขำ เรารู้สึกว่าชีวิตไม่ควรมีค่าแก่การอยู่ต่อ แต่หลัง ๆ นี่ไม่ฟังไม่เป็นไร จะแยกแยะดูว่าปัจจัยของการให้คนฟัง คนขำ นี่มันมีหลายอย่าง ไม่ได้อยู่ที่เราคนเดียว ถ้าเขาหิว เขาก็ไม่ขำแล้ว เขากินข้าวกันอุตลุด คุยกับเพื่อน เขาก็ไม่ฟังอย่างนี้… เราก็รู้ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ผมขึ้นไปพูด ผมจะวิเคราะห์ว่าวันนี้ต้องการขนาดไหน ถึงขนาดลงไปหัวเราะกลิ้งเกลือกลงกับพื้น มันกำหนดได้ บอกได้เลยนะ ถ้าเป็นบรรยายนี้ไม่มีอะไรน่าห่วงเพราะเขาเตรียมกระดาษคนละแผ่นเตรียมจดสุดชีวิต แต่ที่ลำบากที่สุดคือ การทอล์คโชว์ อย่างดินเนอร์ทอล์ค กินโต๊ะจีนนี่ ถามว่าเขากำลังเอร็ดอร่อยกับอาหารข้างหน้า แล้วจะทำอย่างไรที่จะให้เขาทิ้งช้อนทิ้งตะเกียบหันมามองเรา หันมาฟังได้ ๔๐ นาที หรือ ๑ ชม. เป็นไปได้ยากมาก

เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมต้องวิเคราะห์ทุกครั้งก่อนขึ้นพูดว่า เราควรจะต้องทำอย่าไรให้เขากลับมาฟังเรา แล้วงานนี้นะ โอ้โอ! คนจีนทั้งนั้น ฟังกันไม่รู้เรื่อง ก็ขอแค่หึหึก็พอ บางที่ขอแค่รอยยิ้ม บางที่ต้องเฮนะ ไม่เฮไม่ได้ กำหนดได้เลยครับ…”

ขณะพูดเคยหมดมุขบ้างไหม?

“…ไม่มีครับ ก็คือ เราจะสังเกตงานส่วนหนึ่งว่าควรจะหยิบอะไรมาเล่นบ้าง แบบฉากที่วิลิศมาหรา หรือไฟมันมืดตะคุ่ม ๆ ก็หยิบเอามาเล่นได้ เพื่อให้ใกล้ตัวเขา และเขาก็จะได้สนุกไปด้วย แล้วก็ถามสมมติไม่ไหวจริง ๆ มันก็จะมีที่เขาเรียกว่า ซูเปอร์แก๊ก คือ แก๊กที่โยนทีไร เฮทุกที ทุกที่เสมอมา แต่ต้องเอาไปปรับใช้ในแต่ละงานนะ จะใช้ในกรณีที่หินจริง ๆ ก็ต้องลองดูเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์…”

ในการพูดแต่ละครั้ง สิ่งที่นักพูดไม่ควรพูดคืออะไรบ้าง?

“…สิ่งที่ไม่ควรพูดคือ เกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เรื่องหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องลามกอนาจาร ถ้ามันโจ่งแจ้งเกินไป ความจริงทุกคนชอบนะ แต่มันโจ๋งครึ่มเกินไป จนกระทั่งไม่เหลือไว้ให้คิด ถ้าเราไปทะลึ่งตึงตัง มันก็ไม่ถูกกาลเทศะ รวมไปถึงการพูดที่ทำให้คนอื่นเจ็บช้ำน้ำใจหรือเอาปมด้วยคนอื่นมาเป็นอารมณ์ขัน อย่างหัวล้าน ตัวเตี้ย ตัวดำ ก็ไม่ควรพูด…”

มีความคิดเห็นอย่างไรที่นักพูดยืมมุขตลกมาใช้?

“ถ้านักพูดยืมมุขตลกมาใช้ เข้าใจว่าเป็นการล้อเลียน ผมยังยืมมาเลย เพราะอย่างที่บอกว่าเราต้องดึงสื่อที่มันร่วมสมัยมาใช้ในสไตล์การพูดของผม เช่นคำว่า ท้อแท้… ไม่สบาย ซึ่งหยิบมาแค่นั้นเอง ซึ่งไม่จำเป็นที่เป็นแค่ตลก นักร้อง ดารา ใครที่ดัง ๆ แม้แต่นักการเมืองที่ชี้นิ้ว ชี้อะไรต่างๆ เขาดังเราก็หยิบยกเข้ามาประกอบการพูด ตลอกกับนักพูดนี่คนละอย่างและห่างไกล สาเหตุเพราะว่าตลกเขาใช้โจ๊ก โจ๊กแปลว่าตลก ส่วนนักพูดจะมี Sense of Humor แปลว่ามีอารมณ์ขัน ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเอาถาดมาตี มาตบกัน เพียงแต่ใช้คำพูดของเราสร้างให้เกิดมุมมองที่สนุกสนานขึ้นมาได้ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องหัวเรากลิ้ง Sense of Humor แค่อมยิ้มก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว คือพูดแล้วไม่เครียด ฟังแล้วสบาย ๆ ๑ ชั่วโมงผ่านไปอย่างไม่รู้ตัวก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องหัวเราะกลิ้งไปกลิ้งมา ไม่ต้องตลกโปกฮาแบบทะลึ่งตึงตัง แต่เป็น Sense of Humor ซึ่งนักพูดไม่ได้มีทุกคน แต่ว่านักพูดจะใช้แล้ว ต้องเป็น Sense of Humor ไม่ใช่ตลก ไม่ใช่โจ๊ก…”

ถ้าไม่มี Sense of Humor แล้ว เป็นนักพูดไม่ได้หรือ?

“…เป็นได้ครับ แต่นักพูดแบ่งเป็นนักพูดเชิงวิชาการ นักพูดเชิงสนุกสนาน จริง ๆ นักพูดเชิงวิชาการพูดง่าย คือเรามีวิชาการอยู่กับตัว เรามีความรู้เราก็ถ่ายทอดไปตามนั้น หนังสือว่าอย่างไร เขาว่ากันอย่างไร ว่าไปตามนั้นก็จบ แต่การพูดแล้วนั้นมีมุมมองแปลก ๆ มีแง่คิด มีความสนุกสนานเจือปนอยู่บ้าง ก็เป็นอีกขั้นที่ยาก คือคนฟังฟังแล้วได้อะไรและได้อย่างไม่รู้ตัวด้วย ได้แบบเพลิดเพลินด้วย…”

คุณสมบัติของนักพูดที่ดีควรจะเป็นอย่างไร?

“…นักพูดที่ดี ผมว่าต้องพูดให้จริง เรื่องไม่จริงไม่ควรพูด นับตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เพราะการพูดเรื่องไม่จริงเพื่อใช้วาทศิลป์แปลงให้ดูแล้วให้เกิดความเชื่อถือนั้น ผมว่าไม่ถูกต้องเพราะบางทีบางคนใช้วิธีการพูดโน้มน้าว หว่านล้อม ชักจูงให้คนฟังมีความรู้สึกว่าอย่างนั้นจริง ๆ นี้ไม่ควร นี่คือข้อแรก…

ข้อสองคือ ต้องจริงจังกับการพูด ถ้าการพูดทุกครั้งหมายถึงการขาย เพราะฉะนั้นทุกครั้งเราต้องรับผิดชอบกับผลงานของตนเอง ต้องพูดให้ดี แล้วจริงใจด้วย ออกมาจากใจจริง ๆ คิดอย่างไรพูดออกมาอย่างนั้น…”

กับการที่นักพูดผันตัวเองเข้าสู่วงการแสดงหรือพิธีกร มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง?

“…ถ้าเรื่องพิธีกรนะ ผมถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากเลย เพราะนักพูดก็ต้องพูดอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งของการเป็นนักพูด มีสูตรหนึ่งคือ เทคนิคการเป็นพิธีกร ซึ่งพิธีกรจริง ๆ อาจจะยังไม่เคยเรียน แต่นักพูดเรียนมาแล้วทุกคน เขาจะรู้ว่าการสยบม็อบหรือการปลุกคนฟังให้เขาวางช้อนวางตะเกียบฟังหน้าเวทีทำอย่างไร วิธีการถาม วิธีการจะตามมุข วิธีการหักแง่หักมุมที่ทำให้เกิดความสนุกสนานทำอย่างไรบ้าง

นักพูดทุกคนมีอยู่แล้ว แต่เพียงว่าบางคนทำได้ดี บางคนทำได้ไม่ดี บางคนหน้าตาดี อะไรหลายอย่างที่เป็นส่วนประกอบในการเป็นพิธีกร รวมทั้งโอกาสด้วย ซึ่งผมถือว่าถ้าในกรณีที่นักพูดมาเป็นพิธีกร ธรรมดามากและควรเป็นด้วยซ้ำ แต่ถ้าเป็นนักแสดงนี่บอกไม่ได้ เพราะทุกคนแสดงได้ไม่เหมือนกัน…”

แล้วชอบเป็นพิธีกรไหมคะ?

“…โอ้โฮ! ผมเป็นได้สบายมากเลยครับทั้งในทีวีและข้างนอก ข้างนอกนี่ถือว่าเป็นยากกว่าในทีวีเยอะ เพราะเราต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถ้าบนเวทีต้องใช้ฝีมือเยอะ เช่น ช่วงนี้ใครยังไม่มาเราจะทำอย่างไร ผมสามารถยืนบรรยายได้ทั้งวันสบายอยู่แล้ว แต่เราสามารถจะทำอะไรได้มากกว่าโยนเข้าเพลง…”

เรื่องหน้าแตก?

“…มีครับ อย่างอ่านชื่อผิด ประเภทที่ไม่ควรเกิดเลยคือ ประเภทหลุด บางทีเคย มีอยู่ครั้งไปอัดรายการสดของช่อง ๙ นานแล้วละ ใช้คำพูดไม่สุภาพออกไป ผมพูดว่าม้วนหางซิลูก และเผอิญมันเพี้ยน เพราะข้างล่างเราเล่นหยอกล้อกันติดปาก และวันนั้นมันเป็นรายการสดด้วย ตัดก็ไม่ได้ ปรากฏว่าพลั้งปากออกไป แต่มันก็ไม่น่านะ…”

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพูดของเด็กไทย ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินรายการโต้คารมมัธยมศึกษา?

“…ยอมรับว่าเขาเก่งนะครับ เพราะเขามีเวลาเยอะ อย่างคนทำงานเช่นผมนี่ เวลาจะน้อยเพราะจะต้องแบ่งแยกความคิดไปอย่างอื่นอีกเยอะ ด้านธุรกิจ ด้านการงาน ด้านแก้ไขปัญหาชีวิตและสุขภาพ อะไรต่าง ๆ แต่เด็กนี่ ก็ผมเคยเป็นเด็กมาก่อน ตอนเป็นนักศึกษานี่สามารถแปลงเพลงได้วันหนึ่งตั้ง ๕-๖ เพลง เพื่อจะมาร้องในแซววาที แปลงกลอนแปลงสุภาษิต มานั่งคิดมุขได้เพียบเลย เพราะเวลาเยอะ เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจว่าคนที่เป็นนักเรียนนักศึกษานี่ ถ้าเก่งก็คือเก่งไปเลย มีความสามารถเยอะเพราะเขามีเวลาฝึกฝน…

ถ้าเราให้เวลากับอะไรมาก สิ่งนั้นก็ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เด็กสมัยนี้เก่ง ซึ่งผมชื่นชมและอยากให้เขามีโอกาสแสดงออกอย่างนี้ ไม่ใช่ไปยืนแย้ว ๆ อยู่ข้างเวที คอยไปซับเหงื่อซับน้ำลายให้ใครเขา มันไม่มีประโยชน์กับชีวิต ว่าไหม อย่างการพูดนี่มันยังได้ใช้กับการงานอาชีพส่วนตัวได้เยอะ

คำแนะนำสำหรับคนที่จะเป็นนักพูด?

“…คนที่จะเป็นนักพูดต้องมีความตั้งใจจริงที่จะเป็นจริง ๆ เพราะอุปสรรคมันเยอะกว่าจะไปถึงเส้นทางนั้น มันสะสมนานเพราะมันไม่ได้เป็นภายในวันเดียว บางทีเราพูดดี คนเขาก็นึกว่าฟลุคอยู่ ยังไม่คิดว่ามันเป็นผลงาน เพราะฉะนั้นก็จะต้องมีความอดทนกับระยะทางอันยาวไกลเพื่อที่จะไปรอคอยความสำเร็จนั้น ต้องใจรักครับ…

สำหรับวงการนักพูดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากการพูดเข้าไปอยู่ในวงการต่าง ๆ เยอะ เพราะว่าการพูดผมถือว่าเป็นศิลปะที่เยี่ยมเลยนะ คิดดูคน ๆ หนึ่งพูดแล้วทำให้คนเป็นร้อยเป็นพันฟังคน ๆ เดียวได้ หัวเราะตาม ร้องไห้ตาม คิดตามได้ เพราะฉะนั้นมันต้องมีอะไรมากกว่าเป็นเพียงเสียงที่เปล่งออกมา บางทีเสียงหัวเราอะไรต่าง ๆ ที่เป็นตลกจบแล้วคือจบ แต่การพูดมันไม่จบ จบแล้วยังไปนั่งคิดต่ออีกว่า เออ… มันจริงไหมที่เขาพูด เราน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันได้แง่คิดมุมมองไปช่วยผลักดันพลังในตัวเอง หรือว่าได้ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาได้เยอะ ดังนั้นทางที่ดีถ้ามีการพูดเข้าไปเจือปนในสิ่งต่าง ๆ ก็จะทำให้ดูมีสาระประโยชน์มากขึ้น…”

ทุกวันนี้ในวงการนักพูดก็ยังคงเปิดโอกาสให้นักพูดรุ่นใหม่ ๆ เข้ามาทุกเมื่อ แต่ทว่าคุณจะมีพลังความสามารถเพียงพูดที่จะยืนอยู่ในระดับแนวหน้าได้หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่ว่าผู้ชายคนนี้กล้าท้าทาย แต่ความสามารถของคุณพิสูจน์ได้ เพราะประชาชนเป็นคนตัดสิน

และวันนี้ นอกจาก “จตุพล ชมภูนิช” ยังไม่เบื่อที่จะพูดแล้ว เขายังเปิดสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาธุรกิจ (Progress Business Training Institute) ขึ้นที่ลาดพร้าว ๗๑ เพื่อฝึกอบรมด้านธุรกิจและฝึกให้ทุกคนที่อยากพูดได้มีโอกาสพูด เพราะตราบใดที่คนเรายังพูดได้ทุกเมื่อเชื่อวัน เราก็ควรที่จะรู้จักวิธีการพูดให้ดีมีสาระด้วยเช่นกัน…

นักพูดจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูด และต้องศึกษาหาความรู้ทุกวิถีทาง ผมอ่านหนังสือเยอะ อ่านเพียบเลย แล้วก็คุย ถาม เขียน คิด ฟัง แล้วจึงมาประยุกต์ ประมวล คือรวบรวม ประยุกต์ก็คือการปรับใช้ให้เกิดความน่าฟัง น่าคิด น่าเชื่อในสิ่งที่เราพูด เรานำเสนอไป หัวข้อเดียวกัน วิชาเดียวกัน คนอื่นพูดอาจเบื่อ แต่พอเราพูดคนอยากฟัง ติดตามฟังต่อ อย่างนี้มันก็คือการประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้มันเกิดความทันสมัย…” ...
  
ผู้นำต้องเป็นนักพูด(ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์)
แม้แบบอย่างการกระทำจะมีพลังมากกว่าคำพูด แต่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ มักเป็น ldquo;นักพูดจูงใจrdquo; ที่ยอดเยี่ยมด้วยเสมอ

บทสรุปประการสำคัญที่ผมได้จากการใช้เวลาว่างอ่านสุนทรพจน์ของผู้นำระดับโลก ทั้งผู้นำทางการเมือง ผู้นำองค์กรธุรกิจ และผู้นำด้านการเคลื่อนไหวทางสังคม นับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน คำกล่าวของบุคคลเหล่านี้ ปลุกเร้าความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้ฟังให้เป็นไปในทิศทางที่ผู้พูดต้องการ

ldquo;ไม่สำคัญว่าเราจะต้องใช้เวลานานสักเท่าใด ในการเอาชนะการรุกราน (ของญี่ปุ่น) ที่เตรียมการณ์มาอย่างดีในครั้งนี้ ประชาชนชาวอเมริกันทั้งหลาย ด้วยความปรารถนาอันชอบธรรมของพวกท่าน จะนำไปสู่ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแน่นอนrdquo;


ผมประทับใจในคำกล่าวของ ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รุสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) ข้างต้น ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสมาชิกสภาคองเกรส เพื่อขอให้มีการประกาศสงครามกับญี่ปุ่น (Declaration of War on Japan) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941 คำกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงการรุกรานของญี่ปุ่นในพื้นที่ต่าง ๆ และได้หลอกลวงอเมริกา โดยทิ้งระเบิดฐานทัพสหรัฐบนเกาะฮาวายทำให้ทหารอเมริกันต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ นอกจากจะประกาศสงคราม ท่านได้กล่าวเพื่อปลุกเร้าความฮึกเหิม จนประชาชนและทหารอเมริกันเห็นด้วยและมีใจกล้าหาญที่จะพิชิตชัยชนะจากสงครามครั้งนี้ให้ได้

ไม่เพียงแต่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่เท่านั้นที่สามารถพูดได้อย่างมีวาทศิลป์จูงใจ แต่ทุกที่อยู่ในบทบาทที่ต้อง ldquo;นำrdquo; คน ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด หากต้องการขับเคลื่อนทีมไปข้างหน้าอย่างมีพลังสู่เป้าหมายที่ต้องการ จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการพูดแบบผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ

พูดเพื่อให้ทุกคนในทีมเห็นคุณค่าในเป้าหมาย / วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์และเป้าหมายเป็นเหมือนความฝันที่อาจดูเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย มีอุปสรรคมากมายอยู่ตรงหน้า ยากจะฟันฝ่าไปให้สำเร็จ ทีมงานอาจเกิดความกลัวต่าง ๆ นานา ในฐานะผู้นำต้องพูดให้เห็นว่าเป้าหมายที่ต้องการบรรลุนั้นสำคัญ มีคุณค่า น่าพึงปรารถนา และหากทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันย่อมไปถึงซึ่งความสำเร็จได้ คำพูดที่สร้างความฮึกเหิม สร้างความเชื่อมั่น จะปลดปล่อยทีมงานจากความกลัว ให้มีความกล้า มีความเชื่อมั่น และปรารถนามีส่วนร่วมในภารกิจจนประสบความสำเร็จ แม้จะมีความยากลำบากเพียงใดก็ตาม

พูดเพื่อสร้างพลังให้ทีมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผู้นำต้องมีความสามารถในการดลจิตดลใจผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจตรงกัน จูงใจทีมงานให้เกิดความจงรักภักดี ความผูกพันอุทิศตัว ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกับผู้นำและองค์กร ทุ่มเทความสามารถให้แก่งานที่รับผิดชอบอยู่เพื่อให้ได้มาซึ่งการบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมายมาด้วย

เราต้องตระหนักว่า ภาวะผู้นำนั้น คือ ความสามารถที่ในการมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของผู้อื่น จนสามารถขับเคลื่อนให้คนเหล่านี้ทำในสิ่งที่เราต้องการได้ เราต้องใช้ทุกสิ่งที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น สถานภาพ ความสามารถ ความคิด คำพูด และแบบอย่างพฤติกรรม เพื่อกำหนดทิศทางของบุคคลผู้ติดตามให้มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้

ดังนั้น หากเราต้องการเดินในเส้นทางผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการพูดที่มีพลังขับเคลื่อนผู้ฟังไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งจะได้มีโอกาสกล่าวถึงในรายละเอียดในตอนต่อ ๆ ไป

...
  
หนังสือพูดอย่างเซียน คุณรัชเขต วีสเพ็ญ
5 ส. เพื่อความสำเร็จบนเส้นทางนักพูด
1. เสาะหาเวที
การเป็นสุดยอดมืออาชีพต้องท่องคำว่า “ฝึกฝน….และฝึกฝน”
อย่าลังเลที่จะได้พูด การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ย่อมเกิดความชำนาญและบรรลุความฝันที่เราต้องการได้
2. เสริมสร้างคุณวุฒิ
ไม่ว่าจะทางด้านประสบการณ์ อายุ การศึกษา
สิ่งเหล่านี้ผู้พูดจะต้องเสริมสร้างให้ตัวเองเพื่อให้เกิดการยอมรับ
ก็จะทำให้เราเดินไปสู่ทางแห่งความสำเร็จ
3. สะสมข้อมูล
ข้อมูล คือบ่อเกิดแห่งปัญญา ถ้ามีข้อมูลในสมองมาก
เมื่อพูดอะไรก็จะเกิดความมั่นใจ ต้องหาข้อมูลใหม่ ๆ ตลอดเวลา
4. สร้างสรรค์ความคิด
ใช้ความคิดให้บ่อย นำความคิดออกมาใช้ให้มาก ๆ
ก็จะทำให้ภูมิปัญญามีมากขึ้น ฉลาดขึ้น เก่งขึ้น การที่ได้ประลองความคิด
หรือได้ฟังผู้ที่รู้กว่า จะทำให้เราได้ความรู้และฉลาดมากขึ้นในที่สุด
5. แสวงหาโอกาส
เสาะหาโอกาส จงเดินเข้าไปเสาะหาโอกาส อย่ารอให้โอกาส
เดินเข้ามาหา รักทางไหนมุ่งมั่นไปทางนั้น สร้างโอกาสคือการสร้าง
หรือหาช่องทางในการพูด ถ้าโอกาสยังไม่มาจงหาหนทางใหม่ ถ้าไม่มี
สร้างมันขึ้นมาเอง แล้วโอกาสนั้นย่อมจะเป็นของเราอย่างแน่นอน
เส้นสายแห่งโอกาส คือการสร้างสัมพันธ์กับทุกคน เพราะการที่เราจะสำเร็จได้นั้น
ถ้าขาดเพื่อนหรือพันธมิตรที่หวังดี ย่อมจะเดินไปถึงจุดหมายได้ยากยิ่งนัก
“คิดด้วยหัวใจ…..ทำด้วยหัวใจ……และพูดด้วยหัวใจ”
จงลงมือทำด้วยหัวใจที่ศรัทธาในลานนั้น
แสวง มลศิลป์ / สรรหามาฝาก
ขอบคุณครับ….สวัสดี
ที่มา วารสารแด๊กซิน (หนังสือพูดอย่างเซียน คุณรัชเขต วีสเพ็ญ)
...
  
ศ.ธรรมทัสสี
ต้องเตรียมการพูดด้วยตนเอง ไม่งั้นจะเป็นเช่นนี้

เพื่อนผมหลายที่เป็นนักพูด เป็นวิทยากรที่ชั่วโมงบินสูงๆ ถ้าต้องพูดที่ซ้ำๆ มักจะไม่เตรียมข้อมูลล่วงหน้า สังเกตเวลาไปพูดหัวข้อนี้ที่ไหนเหมือนก๊อปปี้ไป ขาดชีวิตชีวาในการพูด หากคนฟังเคยเห็นเขาพูดเรื่องนี้มาก่อนจะรู้สึกว่าไม่ให้เกียรติเขา เพราะไม่ยอมปรับปรุงข้อมูล แต่เพื่อบางคนก็จะเตรียมปรับข้อมูลใหม่ตลอด จนกลายเป็นนักพูดที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด มีคิวพูดข้ามปีค่าตัวแพงมาก เพื่อนบางคนเห็นหัวข้อที่คล้ายกันเขาก็แทบจะไม่เตรียมอะไรเลย แต่เขาก็พูดได้ดีมากรื่นไหล และผมก็เอาอย่างบ้าง แต่ข้อจำกัดของผมคือโกหกไม่ค่อยเก่ง

ครั้งหนึ่งผมได้รับเชิญให้พูดหัวข้อที่คุ้นเคย มีข้อมูลสะสมไว้มาก และรู้ลึกว่าตนเองซึ้งแตกฉานมาดเป็นพิเศษ นั่นคือเรื่อง “นักบริหารเชิงพุทธศาสนา” เมื่อได้รับหัวข้อจึงรู้สึกลิงโลดใจมาก ที่จะได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ที่ตัวเองมีความถนัด เพราะได้ศึกษาและนำหลักพุทธศาสนามาใช้กับงานบริหารมาเป็นเวลานาน ทำให้รู้และเข้าใจปัญหาต่างๆ ในการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติได้ดี จึงเตรียมเพียงโครงสร้างเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลาอย่างคร่าวๆ เท่านั้น และออกแบบเพาเวอร์พ้อยไม่ค่อยละเอียดเหมือนทุกครั้ง คือเน้นออกแบบเฉพาะหัวข้อใหญ่ๆ หรือหลักๆ ประมาณ ๔ หัวข้อต่อ ๓ ชั่วโมงเท่านั้น เพราะคิดว่าตนเองสามารถพูดรายละเอียดเชื่อมโยงได้ดี เพียงแค่เห็นหัวข้อหลักเท่านั้น ซึ่งตามปกติถ้าหัวข้อใหญ่ ๔ หัวข้อ จะทำหัวข้อย่อยอีกอย่างน้อย ๕-๕ หัวข้อ และจะทำด้วยตนเองทั้งครั้ง วิธีนี้ช่วยทำให้คุ้นเคยและจำเนื้อหาได้แม่นยำกว่าให้คนอื่นทำให้ เนื่องจากการที่เราออกแบบ แก้ไข เปลี่ยนเนื้อหา และรูปแบบเองไปมาบ่อยๆ จะทำให้จำได้ขึ้นใจ โดยไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจ แม้ขณะกำลังพูดโสตทัศนูปกรณ์เกิดมีปัญหาในระหว่างพูด ก็ยังสามารถพูดต่อได้ตามกรอบที่กำหนดไว้ได้แบบสบายๆ ไม่เกร็งไม่เครียด ไม่หลงประเด็นไม่ออกนอกทาง และควบคุมเวลาได้ เพราะขณะเราเตรียมข้อมูลไป ก็ฝึกพูดในใจไป และจับเวลาไปพร้อมกัน

ครั้งนี้จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ทำเพาเวอร์พ้อยและจัดเตรียมข้อมูลตามแบบที่กำหนดให้อย่างคร่าวๆ เพียงหัวข้อหลักดังที่กล่าวมา และไม่ได้ฝึกซ้อมการพูดเพียงแต่นั่งดูผ่านๆ ไม่ได้ฝึกพูดแม้ในใจหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนทุกครั้ง แต่ก็มั่นใจว่างานนี้ไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะเป็นหัวข้อที่เข้าใจลึกซึ้งที่สุด เคยพูด และเคยนำไปประยุกต์ใช้ในงานมานาน ซึ่งตามความจริงแล้วคนที่มีประสบการณ์พูดหัวข้อใดมานานๆ ก็น่าจะราบรื่นคล่องตัว แม้ไม่ได้เตรียมตัวมากนัก แต่เนื่องจากผมมักจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการพูด เช่น รูปแบบ และรายละเอียดบ่อยๆ เพื่อให้ไม่น่าเบื่อ ซึ่งแตกต่างจากการเกาะแน่นกับโครงสร้างเดิมตลอดปี หรือนานๆ จึงปรับปรุงครั้งหนึ่ง เนื่องจากเคยเห็นนักพูดมืออาชีพที่มีชื่อเสียงบางท่านที่มีคิวพูดยาวเหยียดตลอดปี จนไม่มีเวลาปรับปรุงเนื้อหา (ซึ่งตามที่เคยมีประสบการณ์ระยะแค่ไม่เกิน ๖ เดือนข้อมูลก็ล้าสมัยไปแล้ว) จึงทำให้ได้รับความนิยมลดลง หรือมีชื่อเสียงในระยะสั้น แต่ก็มีบางท่านที่ให้ทีมงาน (ซึ่งรวมทั้งผมด้วยในตอนนั้น) เตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละหลักสูตรที่กำหนดไว้ในตารางการพูด ทำให้นักพูดท่านนี้ (ซึ่งพวกเรารู้จักกันดี) มีชื่อเสียงโด่งดังได้รับความนิยมสูงสุดนานนับสิบปี จนมีฐานะร่ำรวยจากการพูด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการพูด ยังเป็นการใช้ข้อมูลที่สะสมไว้มากๆ ให้เป็นประโยชน์ได้คุ้มค่าครบถ้วนทำให้ “ไม่สำลักข้อมูล” จนทำให้การพูดมั่วไปหมดอีกด้วย การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการพูดยังเป็นการกระตุ้นอย่างอัตโนมัติให้เราแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา ซึ่งทำให้คนฟังคาดหวัง และมั่นใจในองค์ความรู้ที่เราถ่ายทอดให้ว่าดีที่สุด ใหม่ที่สุด ได้รับความนิยมที่สุด

พอถึงวันพูดผมรู้สึกสบายๆ ไม่กดดัน พูดคุยกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ตามปกติ ไม่รู้สึกพะวงกับเนื้อหาที่จะพูด พอถึงเวลาพูดหลังพิธีกรแจ้งวัตถุประสงค์และแนะนำวิทยากรเสร็จ ผมเดินขึ้นเวทีพร้อมเสียงปรบมือตามปกติ และเริ่มต้นทักทายตามแบบฉบับของตนเอง ที่สอดคล้องกับกาลเทศะและเนื้อหา สำหรับเรื่องการกล่าวคำทักทายที่ชวนติดตามสนุกเป็นกันเอง เนื้อเรื่องที่กลมกลืนทั้งการแทรกตัวอย่าง คำคม คำกลอน ภาษิต และอารมณ์ของลีลาถ้อยคำได้อย่างธรรมชาติ และการสรุปที่ประทับใจอยากปฏิบัติตามหรือค้นหานี้ ผมให้ความสำคัญมากที่สุดเท่ากัน แต่ที่พลาดไม่ได้คือหัวกับท้าย หรือคำกล่าวเริ่มต้นกับบทสรุป เพราะคนจะจำได้แม่นที่สุด หลังจากกล่าวคำทักทายและเกริ่นนำประมาณ ๓ นาที ผมก็เข้าสู่เนื้อเรื่อง วันนี้รู้สึกพูดได้คล่องดีมาก สมองปลอดโปร่งคิดและใช้คำได้รวดเร็ว โดยสรุปการพูดช่วงเช้าไม่มีปัญหาราบรื่นดีมาก

แต่พอช่วงบ่ายผมรู้สึกกังวลเล็กน้อย เพราะส่วนใหญ่ผมจะล้มเหลวหรือเกิดปัญหาระหว่างการพูดช่วงเวลานี้บ่อยๆ อาจเพราะผู้เข้ารับการอบรมท้องอิ่มหนังตาหนัก วิทยากรนั้นอาจง่วงและเมื่อยปากในการพูดช่วงเช้าเข้าไปด้วย ชีวิตชีวาและประสิทธิภาพในการพูดจึงลดลงบ้าง ผมเริ่มบรรยายต่อช่วงเริ่มพูดอาจเรียกเสียงฮาแก้ง่วงได้บ้าง แต่พอเข้าไปถึงกลางๆ ชั่วโมง กระตุ้นยังไงใช้มุกยังไงผู้เข้ารับการฝึกอบรมแค่ยิ้มแบบเป็นมารยาทเท่านั้น ตาปรือๆ กันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเจอะอีแบบนี้เข้าวิทยากรสมองชักจะเริ่มไม่ปราดเปรื่องเหมือนเดิมซะแล้ว ปกติถ้าเจอะแบบนี้ จะแก้ไขโดยทำกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่แก้การง่วงได้ชงัดคือ ให้ทุกคนเตรียมออกมาพูดรายงานสรุปหน้าห้อง เพราะกระตุ้นผู้เข้ารับการอบรมจะตื่นตัวหัวใจเต้นรัวตลอดเวลา แต่ยังไม่ถึงเวลาตามตารางเพราะต้องจบเนื้อหานี้ก่อน ที่ผ่านๆ มาโสตทัศนูปกรณ์จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะเพาเวอร์พ้อยที่แยกหัวข้อย่อยละเอียด และมีตัวหนังสือและภาพเคลื่อนไหวได้ เพราะเราสามารถให้เพาเวอร์พ้อยพูดแทนได้ (ให้อ่าน อธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อย หรือยกตัวอย่างประกอบ) เราสามารถเกาะหัวข้อไปเรื่อยๆ จนจบได้ แต่ครั้งนี้เนื่องจากมั่นใจในตนเองมากเกินไป จึงเตรียมเนื้อหาในเพาเวอร์พ้อยไม่ละเอียดตามที่กล่าวมา ทำให้ไปไม่เป็นแม้ว่าจะมีข้อมูลมากก็ตาม ถ้าเป็นช่วงเช้าก็ยังพอไหว แต่นี่มันเป็นช่วงบ่ายและวิทยากรชักเริ่มมึนๆ แล้วการเรียบเรียงหัวข้อในสมองทันทีจึงทำไม่ได้ ที่ห้องอบรมจึงค่อนข้างเงียบ สถานการณ์แบบนี้วิทยากรอย่างผม จะเกิดอาการประหม่าตื่นเต้นอย่างฉับพลันทันทีทุกครั้ง ครั้งนี้ไม่พลาดผมประหม่าขึ้นมาทันที พูดต่อไม่ได้ ผู้เข้ารับการอบรมก็มองแบบงงๆ แต่ยังไม่รู้ว่าผมตื่นเต้นเพราะซ่อนอาการไว้ แต่ถ้าปล่อยเวลาต่อไปอีกอาการประหม่าจะปรากฏทางกายโชว์ต่อหน้าผู้เข้ารับการอบรมแน่ๆ จึงตัดสินใจพูดดังๆ ติดตลกว่า “เที่ยงนี้อาหารเที่ยงอร่อยซัดซะเต็มที่เลย สงสัยใส่ยานอนหลับไว้ด้วยตอนนี้กำลังออกฤทธิ์” เห็นยิ้มๆ กันไม่มีหัวเราะก็เลยพูดต่อว่า “ท่าทางพวกเราจะไปไม่รอดรวมทั้งอาจารย์ด้วยงั้นเดี๋ยวเบรกก่อนเวลาตอนนี้เลย หลังเบรกยาวยันเลิกเลย ตกลงไหม” แหมตอนนี้พร้อมเพรียงกันดีจังขานรับเป็นแถว เป็นเอาว่าเอาตัวไปแบบทุลักทุเล ต้องไปเตรียมการพูดอย่างฉุกละหุก แต่พอถึงเวลาพูดก็แบบเรื่อยๆ เหมือนไม่ใช่มืออาชีพจนจบ

หลังจากครั้งนี้แล้ว ผมไม่เคยประมาทเลย ต้องเตรียมการอย่างละเอียดล่วงหน้าเป็นเดือนๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ถนัดหรือหัวข้อใหม่ก็ตาม จะพกกระดาษติดตัวสองแผ่น A4 หนึ่งแผ่น และขนาดครึ่ง A4 หนึ่งแผ่น ใบแรกสำหรับบันทึกทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะพูด ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตามจะพกติดตัวตลอด แม้เวลานั่งสนทนากับเพื่อน หรือร้านอาหารทุกที่จะมีข้อมูลให้บันทึกตลอด เช่น คำคม สำนวน คำกลอน คำนิยม คำแปลกๆ และข้อมูลต่างๆ วิธีนี้เหมือนกาวจับแมลงวันข้อมูลจะไหลมาชนิดไม่ต้องเปิดตำรา หรือค้นคว้าที่ไหนเลย และอีกใบก็เขียนโครงสร้างเนื้อหาเป็นหัวข้อหลักๆ จะเขียนกำกับทุกหัวข้อว่าจะใช้เวลาเท่าไร และจะแทรกข้อมูลจากใบแรกตรงไหน มีอะไรบ้าง และพยายามให้กลมกลืนกับเนื้ออย่างเป็นธรรมชาติ (เนียน) และตอนเย็นทุกวันก็จะนำเอาทั้งสองส่วนนี้มาออกแบบแทรกลงในเนื้อหาในอีกแผ่นหนึ่ง (แผ่นที่สาม อาจมีหลายแผ่นแต่ไม่ควรเกิน ๓ แผ่น เพราะจะทำให้งง) แผ่นนี้จะเขียนเนื้อหาแบบย่อๆ แยกโครงสร้างเป็นข้อๆ แล้วใช้แผ่นนี้ฝึกพูดทุกวัน (หากไม่มีเวลาก็พูดในใจ) เสร็จแล้วก็ย่อโครงสร้างให้ใส่ในกระดาษแผ่นที่ ๔ (แข็งนิดหนึ่ง) ขนาดพอดีฝ่ามือ และให้อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งหมด และใช้ใบนี้ฝึกพูดต่อจากใบแรก เพื่อดูว่าถ้าเห็นแค่หัวข้อย่อๆ จะสามารถพูดต่อได้ครบไหม และวันต่อมาๆ ก็ทำเหมือนกัน ข้อมูลอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในแต่ละวัน วิธีนี้ช่วยให้เราจำได้แม่นโดยไม่ต้องท่องจำ และทำได้พร้อมๆ กันหลายหลักสูตร (ไม่ควรเกิน ๓ หลักสูตร) พอใกล้วันพูดประมาณ ๑ สัปดาห์ เราก็เอาที่ใบ ๓ และ๔ ไปทำเพาเวอร์พ้อย และฝึกพูดกับเพาเวอร์พ้อยพร้อมกัน เวลาขึ้นพูดจริงๆ ก็ควรจะนำแผ่นที่ ๓ กับ ๔ ติดตัวไปด้วย เพื่อป้องกันคอมเสียเราจะสามารถพูดต่อได้เลย รับรองไม่มีอาการล้มเหลวกลางครันแน่นอน

...
  
จตุพล ชมพูนิช นักพูดชื่อดัง แนะเทคนิค "เส้นทางสู่อาชีพนักพูด"
อาจารย์จตุพล ชมภูนิช นักพูดชื่อดัง ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมเสวนา "บนเส้นทางสู่อาชีพนักพูด" แก่นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ ซึ่งจัดโดยภาควิชาสื่อสารมวลชน ในโอกาสครบรอบ 38 ปีแห่งการสถาปนาคณะมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ณ ห้องประชุมพวงแสด คณะมนุษยศาสตร์

อาจารยจตุพล ชมพูนิช นักพูดชื่อดังและศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสกลับมาเยือนรามคำแหง ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่ด้อยกว่าใคร แม้ว่าหลายคนที่เข้ามาเรียนที่นี่สอบเอนทรานซ์ไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราแพ้หรือจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะการสอบเข้าเรียนได้ถือเป็นเพียงการวิ่ง 100 เมตรแรกเท่านั้น และการที่เราแพ้ใน 100 เมตรแรก ก็ไม่ใช่ว่าเราจะแพ้ทั้งชีวิต

"ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่า ถ้าไม่มีรามคำแหง ก็คงไม่มีผมในวันนี้ รามคำแหงจึงอยู่ในหัวใจของผมเสมอมา ซึ่งสมัยเรียนที่รามคำแหง ผมมีความตั้งใจเรียนอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว แต่เข้าร่วมกับชมรมต่างๆ ทั้งชมรมปาฐกถาโต้วาที และชมรมภาษาอังกฤษ เวลาว่างมักจะเข้าห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือ เพราะผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก และมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักพูด ซึ่งการเป็นนักพูดที่ดีจะต้องมีความรู้ และต้องพยายามฝึกฝนทักษะการพูด ซ้อมพูดกับตัวเอง และสอนตัวเองตลอดเวลา

ครั้งแรกที่มีโอกาสได้พูด ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะพูดแล้วไม่มีคนสนใจฟัง แต่ผมก็ยังพยายามฝึกฝนไปเรื่อยๆ และหากเราทำอะไรไม่สำเร็จ อย่าคิดว่าเป็นเพราะของสิ่งนั้นอยู่ไกล แต่อาจเป็นเพราะว่ามือเราสั้นไป ฉะนั้นจึงควรพยายามขยับไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรสูงเกินไปถ้าเราจะไขว่คว้า ผมฝึกพูดระหว่างเดินเข้าซอยทุกวัน และต้องสรุปการพูดของตัวเองในแต่ละวัน" อ.จตุพล กล่าว

อาจารย์จตุพล กล่าวต่อว่า ทุกความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน อย่างแรกอยากให้เริ่มต้นที่หัวใจ ถ้าอยากเป็นนักพูด ใจก็ต้องมุ่งมั่นต่อสิ่งเดียวคือการเป็นนักพูด เหมือนกับกล้องที่ต้องโฟกัสให้นิ่งแล้วเป้าหมายจะชัด แต่ถ้าขยับเขยื้อนไปมา ภาพก็จะไม่นิ่ง เมื่อเป้าหมายไม่ชัดเจนแล้ว การที่เราจะทำความฝันเป็นความจริงก็เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเรามุ่งมั่นฝ่าฟันและลงมือทำมาตลอด สิ่งนั้นก็จะมาสู่ตัวเรา

ฉะนั้น ถ้าอยากทำสิ่งใดให้สำเร็จ 1. ต้องโฟกัสให้ชัด ให้นิ่ง อย่าเปลี่ยนบ่อย 2. ใจต้องรัก เมื่อใจรักแล้ว ปัญหาเล็กจะกลายเป็นไม่เป็นปัญหา ปัญหาใหญ่จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าใจรักแต่ไม่ลงมือทำก็ไม่เกิดประโยชน์ คนที่เก่งกว่าคือคนที่พยายามมากกว่า ซึ่งการพยายามมากกว่าคือการที่พยายามฝึกพูดตลอดเวลา ล้มแล้วต้องลุก และคนที่พูดบ่อยก็จะเป็นเหมือนการได้ฝึกฝน และจะมีทักษะในที่สุด และนอกจากจะมีฝัน มีใจแล้ว ต้องลงแรงลงกาย และต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

"การเรียนในรั้วมหาลัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย รับรองว่าเรียนจบทุกคน แต่ถ้าทำเกินกว่าการเป็นนักศึกษา หน้าที่ที่สำคัญคือตั้งใจเรียนหนังสือ หลายคนอยากจะมีความฝัน อยากเป็นโน่นเป็นนี่ แต่ถ้าได้เป็นแล้วไม่เรียนหนังสือ ผมก็ไม่เห็นด้วย อยากให้เห็นความสำคัญของการเรียนเป็นอันดับแรก เรียนให้เต็มที่และเสริมสร้างความสามารถให้มากที่สุด เพราะถ้าคนมีความสามารถมากกว่าย่อมได้เปรียบกว่า อย่าเรียนอย่างเดียวโดยไม่มีความสามารถพิเศษอะไร เราต้องมีความสามารถพิเศษซึ่งเป็นสิ่งที่เราสนใจ

ผมเป็นคนชอบภาษาอังกฤษ มนุษย์ที่ได้เปรียบจะต้องรู้ภาษาและรู้เทคโนโลยี จะต้องสร้างเขี้ยวเล็บให้กับตนเอง แต่ต้องเรียนเป็นหลัก เช่น ถ้าอยากเป็นดารา ซึ่งอาชีพดารานั้นไม่ยั่งยน วันนี้แสดงเป็นพระเอก พรุ่งนี้อาจแสดงเป็นพ่อก็ได้ ฉะนั้น จะต้องมีปริญญาเป็นอาวุธ ต้องเสริมสร้างกระดูก เสริมสร้างความสามารถให้เพิ่มขึ้น แล้วรอโอกาส แต่ถ้าโอกาสยังไม่มา จะต้องสร้างโอกาสขึ้นมาเอง เช่น รายการตีสิบ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถได้แสดงความสามารถของตน ถ้าเรามีความสามารถ ก็ย่อมเข้าร่วมแสดงความสามารถได้ ถึงจะไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่อาจจะตรงตามความต้องการของคนอื่นได้" อ.จตุพลกล่าว

อาจารย์จตุพล กล่าวอีกว่า การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป ซึ่งศาสตร์คือการที่เราสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้หลักการออกเสียง อักขระ หรือการใช้ช่วงเสียงทำนองที่มีความเป็นธรรมชาติ ทำให้ดึงดูดใจผู้ฟัง ตลอดจนศิลปะการใช้ท่าทาง การสร้างอารมณ์ขัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ แต่ศิลป์คือ เมื่อเราเรียนรู้แล้วเดินออกจากห้องไปพร้อมๆ กัน ศิลปะแต่ละคนก็จะต่างกัน เสมือนกับการเรียนวาดรูป ที่เรียนมาเหมือนกัน แต่ความมีศิลป์ต่างกัน ซึ่งศิลป์เป็นสิ่งที่เราต้องเสริมหลังจากได้ความรู้ไปแล้ว

อ.จตุพล กล่าวว่า การเป็นนักพูดต้องมีความรู้ ตนเองเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ทำให้ได้รับความรู้จากหนังสือแล้วนำมาผ่านกระบวนการปรุงแต่งให้ได้รสชาติตามที่ต้องการ และต้องเสิร์ฟออก ซึ่งการพูด ถ้าจะพูดอย่างมีศิลป์ต้องสามารถพูดแล้วถูกใจคนฟัง ซึ่งการศึกษาเป็นกระบนการที่ทำให้เราค้นพบตัวเองอย่างแท้จริง ช่วงเวลาเรียนเป็นช่วงเวลานาทีทอง ทำให้เราได้รับความรู้และเป็นการเพิ่มความสามารถ ทำให้ค้นพบตัวเอง เพระาถ้าค้นพบตัวเองได้เร็วกว่า ก็สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้เร็วกว่าคนอื่น

"การแสดงท่าทางประกอบการพูดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การใช้ท่าทางจะต้องมีความเป็นธรรมชาติ และเสียงที่พูดต้องเป็นเธรรมชาติ เสียงต้องขึ้นลงตามจังหวะการพูด ซึ่งเทคนิคที่จะทำให้พูดได้อย่างคล่องแคล่วคือ จะต้องฝึกอ่านหนังสือดังๆ และฝึกออกเสียงให้ถูกอักขระวิธี ถ้าอยากเป็นนักพูดต้องบรรจุความรู้เข้าสมองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และสามารถดึงออกมาใช้ได้ตลอดเวลา ต้องฝึกฝน เตรียมพร้อม เตรียมตัวมีจิตใจที่มุ่งมั่น และค้นหาตัวเองให้พบ

คนเกิดมาไม่ต่างกัน มีมือมีเท้าเท่ากัน อะไรที่เขาทำได้เราย่อมทำได้ อย่าขังตัวเองไว้กับสิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้ เพราะทุกหนึ่งความคิดจะเป็นหนึ่งปมที่ขังตัวเอง โลกของเรากว้างใหญ่เสมอ และท้องฟ้าไม่มีขีดจำกัดสำหรับคนที่ต้องการบิน เราสามารถจะบินได้สูงที่สุดเท่าที่ใจเราต้องการ ที่รามคำแหง พร้อมจะเปลี่ยนคุณให้มีราคา มากเท่าไหร่ก็ได้เท่าที่หัวใจเราต้องการ ชีวิตเราเกิดมาเราสามารถเลือกได้ และขอให้ทุกคนเป็นบัณฑิตที่ทรงคุณค่าของรามคำแหงต่อไป" อ.จตุพลกล่าว

ข่าววันที่: 12/10/2009
แหล่งข่าว: หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง (12-18 ตุลาคม 2552)


...
  
คุณสมบัติของนักจัดรายการวิทยุ
คุณสมบัติของนักจัดรายการวิทยุ
โดย...นายศักดิ์ชาย เรืองฤทธิ์
เจ้าหน้าที่บริหารงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
งานสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นศาสตร์สำคัญยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องมีความฉับไวในการ
ส่งและรับข่าวสารตามการเปลี่ยนแปลงของโลกทุกชั่วโมง ทุกนาที ความรู้สึกนึกคิดของคนเราก็มีการ
พัฒนาสูงขึ้นไปด้วย งานสื่อสารจึงเปรียบเสมือนอาหารจำเป็นสำหรับสมองของคนไปด้วย โดยเฉพาะสื่อ
ประเภทวิทยุ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ทุกสัมมาอาชีพและทุกฐานะก็ว่าได้ และผู้ที่จะ
สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ออกมาให้เราได้ยินได้ฟังก็คือ “นักจัดรายการวิทยุ” หรือ “ดีเจ”
“นักจัดรายการวิทยุ” หรือ “ดีเจ” (ย่อมาจาก Disc Jockey หมายถึงผู้จัดรายการเพลงประกอบ
ความรู้เกี่ยวกับเพลง หรือเรื่องอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง ในสถานที่ฟังเพลง) ความเป็นผู้ที่มี
ความรู้ ความสามารถตรงกับรายการที่จัดและตรงกับนโยบายของสถานีวิทยุกระจายเสียงและจัดรายการให้
ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ทำงาน นักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน เกษตรกร ผู้สูงวัย
หรือชุมชนท้องถิ่น
นักจัดรายการหรือดีเจ ที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน มักจะเป็นดีเจที่จัดรายการให้กลุ่มนักเรียน
และนักศึกษาวัยรุ่น โดยให้ความรู้ทั่วไป สลับกับการเปิดเพลงประกอบหรือรายการบันเทิง แต่ใน
ขณะเดียวกัน จะพบว่า นักจัดรายการหรือดีเจ ที่ได้รับความสนใจกับกลุ่มผู้ฟังที่เป็นวัยผู้ใหญ่มักเป็นรายการ
ที่ให้ความรู้ในด้านทั่วไป การใช้ชีวิต และเป็นการพูดคุยโดยเฉพาะการพูดคุยกันในภาษาถิ่นของตนเอง
นักจัดรายการ หรือดีเจ ควรมีคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกาศที่ดีดังนี้
1. มีความสามารถในการใช้ภาษาพูด ต้องชัดเจน ถูกต้อง และคล่องแคล่ว รู้จักการปรับใช้น้ำเสียงให้
เหมาะสมกับเวลา โอกาส และ รูปแบบ รายการ
2. เป็นผู้อ่านหนังสือได้อย่างแตกฉานเข้าใจข้อความ และเก็บข้อความที่อ่านได้อย่างถูกต้อง สามารถ
ถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างชัดเจน มีความคิดสร้างสรรค์
3. สามารถควบคุมอารมณ์ได้ทุกสถานการณ์ เพื่อควบคุมน้ำเสียงที่ประกาศให้น่าฟังอยู่เสมอ มีน้ำเสียง
น่าฟังยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ๆ
4. มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคนิคการกระจายเสียงพอควร
5. เป็นผู้แสวงหาความรู้รอบตัวอยู่เสมอ รักการอ่าน เป็นผู้ฟังที่ดีและรู้จักวิเคราะห์กับสิ่งต่าง ๆ ที่ได้
รับทราบได้ดี
6. มีความตั้งใจที่จะทำอาชีพนี้ มีใจรัก และสนใจทางด้านศิลปะการสื่อความหมายประเภทต่าง ๆ ไม่
หลังกอบโกยผลประโยชน์และมีจรรยาบรรณ
2 บทความโดย นายศักดิ์ชาย เรืองฤทธิ์ ...
  

เอกสารประกอบการศึกษาสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
(ต้องขอโทษด้วยครับ ผมไม่ทราบว่าใครแต่งต้องขออนุญาติผู้แต่งผู้ประพันธ์ไว้ในโอกาสนี้ด้วยครับ)

เรื่อง การพูดต่อหน้าประชุมชน

-------------------------------------------

การพูด

เป็นสื่อความหมายเดิมที่มนุษย์ใช้ติดต่อกันเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง ด้วยการใช้เสียงที่มีสื่อความหมาย ซึ่งเราเรียกว่า “คำพูด” รวมทั้งอากัปกิริยาท่าทางและน้ำเสียงเป็นสื่อ

มารยาทในการพูด

1. ในการพูดต้องรู้กาลเทศะว่า เมื่อใดควรพูด เมื่อใดไม่ควรพูด เช่น ขณะรับประทานอาหาร ไม่ควรพูดเรื่องน่าเกลียด น่ากลัว สยดสยอง งานมงคลไม่ควรพูดเรื่องโศกเศร้า

2. พูดด้วยกิริยาที่อ่อนน้อมถ่อมตัว

3. ไม่พูดสอดแทรกหรือขัดจังหวะผู้อื่น ต้องรอให้ผู้อื่นพูดจบข้อความเสียก่อนแล้วจึงพูดต่อ

4. เรื่องที่พูดนั้นควรเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ พอใจร่วมกัน เช่น ข่าวเหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจ

5. พูดตรงประเด็นอาจจะออกนอกเรื่องได้บ้างเล็กน้อย เพื่อผ่อนคลายอารมณ์

6. เคารพในสิทธิและความคิดเห็นผู้อื่นตามสมควร ไม่พยายามข่มให้ผู้อื่นเชื่อถือหรือคิดเหมือนตนหรือแสดงว่าตนรู้ดีกว่าผู้พูดอื่น ๆ

7. ไม่กล่าวร้ายหรือนินทาผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้คำที่แสดงการดูหมิ่นผู้ที่เราพูดด้วย ในขณะที่พูดควรวางตัวให้สุภาพเรียบร้อย ไม่แสดงว่าตนรู้ยกตนข่มท่าน

8. ต้องควบคุมอารมณ์ในขณะสนทนา หลีกเลี่ยงการใช้คำโต้แย้งรุนแรง

9. พูดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงไมตรีจิตต่อกัน และแสดงความสนใจในเรื่องที่พูดด้วยท่าทางมีชีวิตชีวา

10. ใช้ภาษาสุภาพ ถ้าใช้คำคะนองบ้างก็ให้พอเหมาะแก่กาลเทศะและผู้ฟัง

11. ใช้เสียดังพอควร ไม่ตะโกน ไม่ใช้เสียงกระด้างหรือเสียงเบาเกินไป

12. ขณะที่พูดควรมองหน้าสบตาผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องตั้งใจฟังคำพูดของผู้พูดอื่น ๆ และไม่กระซิบกระซาบกับคนนั่งข้างเคียง

คุณสมบัติของนักพูดที่ดี

นักพูดที่ดีจะต้องมีความสามารถหลายอย่างประกอบกันดังนี้

1. มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ เช่น แต่งกายเหมาะสมกับโอกาส หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเอง หรือบางครั้งอาจจะจริงจังบ้าง ตามควรแก่กรณี ใช้ท่าทีและท่าทางดีมีสง่าใช้อากัปกิริยาประกอบคำพูดเหมาะสม

2. มีความรู้ในเรื่องที่จะพูดเป็นอย่างดีเพื่อช่วยให้คำพูดมีความหนักแน่น มีน้ำหนัก มีความมั่นใจและสามารถแสดงหลักฐานอ้างอิงได้ถูกต้อง

3. มีวัตถุประสงค์แน่ชัด เช่น พูดเพื่อสนทนากันตามปกติเพื่อสังสรรค์ เพื่อความบันเทิง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อปรึกษาหารือเพื่อธุระ เพื่อแก้ปัญหา เมื่อมีวัตถุประสงค์ในการพูดแน่ชัดแล้ว ก็จะเกิดการสื่อสารที่ดีขึ้นได้ตามควรแก่โอกาส

หลักการของการพูด

มีผู้ให้หลักเกณฑ์ไว้หลายแบบด้วยกัน แต่ก็มีแนวคล้าย ๆ กันแต่จะขอยกแนวทางอย่างย่อ ๆ มาให้พิจารณาเป็นหลักยึด ดังต่อไปนี้

หลักสิบประการของสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

จงเตรียมพร้อม
จงเชื่อมั่นในตัวเอง
จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย
จงพูดโดยใช้เสียงอันเป็นธรรมชาติ
จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ
จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด
จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ
จงใช้อารมณ์ขัน
จงจริงใจ
จงหมั่นฝึกหัด
การปฏิบัติตนขณะพูด

เมื่อผู้พูดเตรียมตัวมาดีแล้ว ถึงเวลาที่จะพูดควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

1. ตรงต่อเวลา ต้องไปถึงที่ที่จะพูดก่อนเวลาเล็กน้อย เพื่อเตรียมตนเองให้มีความมั่นใจ ไม่ตื่นเวที

2. การเดินสู่ที่พูด ต้องเดินอย่างองอาจ แสดงความมั่นใจในตัวเอง

3. การแต่งกาย สุภาพ เรียบร้อย ไม่ควรสวยหรือเด่นเกินไป เพราะผู้ฟังจะหันมาสนใจการแต่งกายของผู้พูดมากกว่าเรื่องที่พูด

4. ให้เกียรติผู้ฟัง

5. การใช้สายตา ไม่ควรมองต่ำหรือมองไปข้าง ๆ หรือมองชั้นบน ควรกวาดสาตามองให้ทั่ว

6. ภาษาพูด ใช้ภาษาสุภาพ ควรมีอารมณ์ขันแทรกบ้าง หน้าตายิ้มแย้มแต่ไม่สนุกจนลืมเนื้อหา

7. อุปกรณ์ประกอบการพูด จะช่วยให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้น ควรเตรียมการใช้ให้พร้อม

8. เอกสาร หรือบันทึกย่อเพื่อเตือนความทรงจำขณะพูด

9. ต้องมีไหวพริบ

10. ไม่พูดแข่งเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะ

11. รักษาเวลา

12. การจบ ควรจบแบบทิ้งท้ายให้คิด ไม่ควรจบห้วน ๆ จบด้วยเนื้อหาและน้ำเสียงที่ประทับใจ

การเตรียมการพูดต่อหน้าชุมชน

การพูดกับกลุ่มผู้ฟังที่มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวให้ดี เพื่อให้การพูดในครั้งนั้นสัมฤทธิ์ผล มีขอบข่ายการเตรียมดังนี้

1. การวิเคราะห์ผู้ฟัง คือผู้พูดต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับเพศ วัย พื้นฐานการศึกษา ความสนใจ อาชีพ ทัศนคติ และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ฟังเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการเตรียมตัวพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟังส่วนใหญ่

2. การตั้งจุดประสงค์ การพูดแต่ละครั้งต้องตั้งจุดประสงค์ว่าจะพูดเพื่ออะไรจึงจะได้เตรียมเนื้อหาได้ตรงจุดหมาย

3. การเลือกเรื่อง ถือว่าเป็นหัวใจของการเริ่มต้น ควรเลือกเรื่องให้สอดคล้องกับผู้ฟัง โอกาส กาลเทศะ และจุดมุ่งหมายในการพูด

4. การรวบรวมเนื้อหา เป็นการนำข้อมูล จากการศึกษาค้นคว้ามาจัดลำดับหมวดหมู่ให้เหมาะสมก่อนนำไปพูด

5. การวางโครงเรื่อง เป็นการนำข้อมูลมาจัดระเบียบและเรียบเรียงเนื้อเรื่องที่จะพูดโดยจัดเนื้อหาสาระสำคัญออก 3 ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป

6. การขยายความ คือการใช้ข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ภาษิต คำคม มาช่วยให้ทำให้โครงเรื่องละเอียด พิสดาร ชัดเจน และมีความต่อเนื่องกัน

7. การใช้ถ้อยคำ คือการที่ผู้พูดรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ ภาษา สำนวน โวหาร ได้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน และเหมาะกับกาลเทศะและบุคคล

8. การฝึกพูด คือการทดลองหรือฝึกซ้อมก่อนการพูดจริงเพื่อให้เกิดความพร้อม และมีความเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น

ทำแบบฝึกหัด


แบบฝึก เรื่อง การพูด

คำสั่ง ให้นักเรียน คลิก ที่หมายเลข ข้อที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดให้ความหมายของการพูดได้ถูกต้องชัดเจนที่สุด

ก. การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ด้วยการใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง

ข. พฤติกรรมการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงและอากัปกิริยาของมนุษย์

ค. การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อการระบายอารมณ์ของมนุษย์

ง. การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟังด้วยน้ำเสียง ถ้อยคำและกิริยาท่าทางต่าง ๆ


...
  
การพูดในที่ชุมชน
เรื่อง การพูดในที่ชุมชน
โดย อ.สุพรรษา โประธา
การพูดในที่ชุมชน

การพูดในที่ชุมชน คือ การพูดในที่สาธารณะ มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ผู้พูดต้องสนใจปฏิกิริยาตอบสนองผู้ฟัง ทั้งที่เป็นวัจนภาษา
และอวัจนภาษาการพูดต่อหน้าประชุมชน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พูดได้แสดงความสามารถเฉพาะตัวเพราะทุกคนที่ไม่เป็นใบ้
ย่อมพูดได้ แต่บางคนเท่านั้นที่พูดเป็น เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่จำเป็นต้องอาศัยพรสวรรค์เสมอไป
แต่สามารถพูดได้ เพราะการศึกษา การฝึกฝน ฉะนั้นการฝึกพูดในที่ประชุมชน
ซึ่งเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก
เพื่อการเป็นนักพูดที่ดี !!!
วิธีการพูดในที่ประชุมชน

1. พูดแบบท่องจำ
เตรียมเรื่องพูดอย่างมีคุณค่า สาระถูกต้องเหมาะสม แล้วจำเรื่องพูดให้ได้ เวลาพูดให้เป็น
ธรรมชาติ มีลีลา จังหวะ ถ่ายทอดออกมาทุกตัวอักษร

2. พูดแบบมีต้นฉบับ
พูดไปอ่านไป จากต้นร่างที่เตรียมมาอย่างดีแล้ว แต่ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่าน เพราะไม่ใช่
ผลดีสำหรับผู้พูด

3. พูดจากความเข้าใจ
เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า ถ่ายทอดสารจากความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีต้นฉบับ
เฉพาะหัวข้อสำคัญเท่านั้น เช่น การพูด, สนทนา, อภิปราย, สัมภาษณ์

4. พูดแบบกะทันหัน
พูดโดยไม่มีโอกาสเตรียมตัวเลย ซึ่งผู้พูดต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา
เฉพาะหน้า เมื่อทราบว่าตนเองต้องได้พูด ต้องเตรียมลำดับความคิด และนำเสนออย่างฉับพลัน
การพูดทั้ง 4 แบบนี้ เป็นวิธีการนำเสนอสารต่อผู้ฟัง ผู้พูดจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย
เพื่ออะไร เนื้อหาสาระ โอกาส และสถานการณ์


การพูดในที่ประชุมชนตามโอกาสต่าง ๆ
จำแนก เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การพูดอย่างเป็นทางการ
เป็นการพูดในพิธีต่าง ๆ มีการวางแผนแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน เช่น การปราศรัยของนายกรัฐมนตรี การให้โอวาทของผู้อำนวยการโรงเรียนในวันปฐมนิเทศ การพูดสุนทรพจน์ของ
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ การอภิปรายในรัฐสภา ฯลฯ

2. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ
เป็นการพูดที่ให้บรรยากาศเป็นกันเอง เช่น พูดเพื่อนันทนาการในกิจกรรมต่าง ๆ การพูด
สังสรรค์งานชุมนุมศิษย์เก่า การพูดเรื่องตลกในที่ประชุม การกล่าวอวยพรตามโอกาสต่าง ๆ ในงาน
สังสรรค์

3. การพูดกึ่งทางการ
เป็นการพูดที่ลดความเป็นแบบแผนลง เช่น พูดอบรมนักเรียนในคาบจริยธรรม การกล่าว
ต้อนรับผู้มาเยี่ยมชม การกล่าวขอบคุณผู้ช่วยเหลือกิจกรรม กล่าวบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมตาม
สถานที่ต่าง ๆ
อนึ่ง การพูดในที่ประชุมแต่ละครั้งจะเป็นการพูดประเภทใด ผู้พูดต้องวิเคราะห์โอกาส
และสถานการณ์ แล้วเตรียมศิลปะการใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสนั้น เพื่อที่จะพูดได้
ถูกต้อง ไม่เก้อเขิน เข้ากับบรรยากาศได้ดี มีความประทับใจ


การเตรียมตัวพูดต่อที่ประชุมชน
การพูดในที่ประชุมชนเนื่องจากมีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ผู้ฟังตั้งความหวังจะได้รับความรู้และสาระประโยชน์จากการฟัง ผู้พูดจึงต้องเตรียมตัวเป็นอย่างดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออกจะช่วยให้ผู้พูดประสบความสำเร็จได้ผู้พูดจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

จึงขอเสนอหลักกว้างดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าจะพูดอะไร เพื่ออะไร มีขอบข่ายกว้างขวางมากน้อย เพียงใด
2. วิเคราะห์ผู้ฟัง พิจารณาจำนวนผู้ฟัง เพศ วัย การศึกษา สถานภาพทางสังคม อาชีพ ความสนใจ ความมุ่งหวัง และทัศนคติ ที่กลุ่มผู้ฟังมีต่อเรื่องที่พูด และตัวผู้พูดเพื่อนำข้อมูลมาเตรียมพูด เตรียมวิธีการใช้ภาษาให้เหมาะกับผู้ฟัง
3. กำหนดขอบเขตของเรื่อง โดยคำนึงถึงเนื้อเรื่องและเวลาที่จะพูด กำหนดประเด็น สำคัญให้ชัดเจน
4. รวบรวมเนื้อหา ต้องจัดเนื้อหาที่ผู้ฟังได้รับประโยชน์มากที่สุด การรวบรวมเนื้อหาทำได้ หาได้จากการศึกษา ค้นคว้าจากการอ่าน
การสัมภาษณ์ ไต่ถามผู้รู้ ใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง แล้วจดบันทึก
5. เรียบเรียงเนื้อเรื่อง ผู้พูดจัดทำเค้าโครงเรื่องให้ชัดเจนเป็นไปตามลำดับ จะกล่าวเปิดเรื่องอย่างไร เตรียมการใช้ภาษาให้เหมาะสม กะทัดรัด เข้าใจง่าย ตรงประเด็น พอเหมาะกับเวลา
6. การซ้อมพูด เพื่อให้แสดงความมั่นใจต้องซ้อมพูด ออกเสียงพูดอักขรวิธี มีลีลาจังหวะ ท่าทาง สีหน้า สายตา น้ำเสียง มีผู้ฟังช่วยติชมการพูด มีการบันทึกเสียงเป็นอุปกรณ์การฝึกซ้อม

ในกรณีเป็นการพูดแบบฉับพลัน ผู้พูดไม่รู้ตัวมาก่อน หรือรู้ล่วงหน้าเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น กล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส กล่าวแสดงความยินดี กล่าวแสดงความคิดเห็นในนาม ของแขกผู้มีเกียรติ ผู้พูดส่วนน้อยที่พูดได้อย่างไม่เคอะเขิน ผู้พูดที่มีประสบการณ์สามารถสร้าง บรรยากาศได้ดี แต่ผู้พูดเป็นจำนวนมากยังเคอะเขิน
จึงขอเสนอข้อแนะนำในการพูด ดังนี้
1. เมื่อได้รับเชิญให้พูด อย่าตกใจ จงภูมิใจที่ได้รับเกียรติ ลุกขึ้นเดินไปอย่างสง่าผ่าเผย กล่าวทักทายต่อที่ประชุมให้เหมาะสมกับที่ประชุม พร้อมกับสังเกตสถานการณ์
แวดล้อม เริ่มประโยคแรกเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้มากที่สุด
2. พูดเรื่องที่ง่ายและใกล้ตัวที่สุด ลำดับเรื่องที่จะพูดก่อนหลัง โดยเสนอแนวคิดอย่างกระชับที่สุด พูดไปอย่างต่อเนื่อง พูดบทสรุปในตอนจบอย่างประทับใจ พยายามรักษาเวลาที่กำหนดไว้
3. ในกรณีที่เป็นการตอบคำถาม กล่าวทักทายหรือทำขั้นตอนอย่างสั้นๆ แล้วทวนคำถามให้กระชับ จึงตอบโดยลำดับเรื่องให้ตรงประเด็น ขยายความให้ชัดเจน
4. ผู้พูดต้องมีปฏิภาณ (ความสามารถในการแสดงความคิดที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างฉับไว) เรียบเรียงเนื้อเรื่องพูดได้ทันที คิดได้เร็ว ฉะนั้น จึงฝึกหัดให้คิด เร็ว ๆ ไว้บ่อย ๆ จะได้ช่วยได้มาก

จะพูดอะไรบ้างในที่ประชุมชน
1. สุนทรพจน์
สุนทรพจน์ หมายถึง คำพูดที่ดีงาม ไพเราะจับใจ การพูดสุนทรพจน์มักมีในพิธีสำคัญ เช่น พิธีต้อนรับแขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีหรือกล่าวในงานฉลองระลึกถึงบุคคลสำคัญ วันสำคัญ ระดับชาติ หรือเป็นการกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจ เป็นคำพูดที่แสดงความปรารถนาดีในทางการเมือง การกล่าวสุนทรพจน์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง มักได้รับการยกย่องว่าเป็นการพูดชั้นยอด
ลักษณะสุนทรพจน์
1. ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ
2. โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม
3. กระตุ้นผู้ฟ้ง มีความมั่นใจ และยินดีร่วมมือ
4. สร้างบรรยากาศให้เกิดความหรรษา และให้ความสุขแก่ผู้ฟัง

โครงสร้างทั่วไปของสุนทรพจน์
1. ตอนเปิดเรื่อง กระตุ้นให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
2. ดำเนินเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระลำดับความสำคัญอย่างชัดเจน
3. ตอนจบเรื่อง สรุปความทิ้งท้ายให้ผู้ฟังนำไปคิด หรือฝากไว้ในความทรงจำตลอดไป

ลักษณะสุนทรพจน์ทางการเมือง
1. การอภิปราย ให้รัฐสภาหรือชุมชนกล่าวถึงปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้ส่วนเสียของหมู่คณะ
2. การแถลงคารม เป็นการพูดจาในศาลระหว่างทนายโจทย์ ทนายจำเลย เพื่อชี้ประเด็นให้ผู้ฟัง ผู้พิพากษา เห็นข้างฝ่ายตน
3. การพูดประณาม เป็นการพูดยกย่องหรือตำหนิการกระทำของบุคคลสำคัญ ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน เป็นการชมเชยสนับสนุนหรือแสดงความไม่เห็นด้วย
การพูดทางการเมืองจะประสบความสำเร็จ ต้องพูดให้ผู้ฟังสะดุดใจ ชวนฟัง ประกอบด้วยคารม โวหาร ภาพพจน์ ที่เตรียมไว้เป็นอย่างดี ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นต้องแทรกอารมณ์ขันช่วยผ่อนคลายความเครียด


2. โอวาท
โอวาท คือ คำแนะนำตักเตือน คำสอนที่ผู้ใหญ่ให้แก่ผู้น้อย โอวาทของเจ้านายเรียกพระโอวาท ของพระเจ้าแผ่นดิน เรียก พระบรมราโชวาท

ลักษณะของโอวาท
1. เนื้อหามีคติเตือนใจ มีเหตุผล ไม่ยืดยาว
2. เป็นการแสดงความปรารถนาดี บางครั้งอาจกล่าวตำหนิตรง ๆ บ้าง
3. อาจนำไปประพฤติปฏิบัติได้จริง ผู้ฟังต้องฟังด้วยความเคารพ และยินดีที่จะนำคำสอน คำชี้แนะไปปฏิบัติ

3. คำปราศรัย
คำปราศรัย มีลักษณะคล้ายการแสดงสุนทรพจน์ในด้านเนื้อหา ภาษา และทัศนคติของผู้กล่าว ซึ่งสามารนำไปปฏิบัติได้ คำปราศรัยเป็นการพูดที่เป็นพิธีการจึงต้องมีการตระเตรียมมาก่อนเป็นอย่างดี

ลักษณะของคำปราศรัย
1. พูดถึงความสำคัญของโอกาสนั้น
2. เน้นความสำคัญของสิ่งนั้น ๆ
3. ชี้แจงความสำเร็จ หรือผลงานที่ผ่านมา
4. กล่าวถึงอดีต ปัจจุบัน และความหวังในอนาคต และอวยพรให้เกิดความหวังใหม่ ๆ

4. คำไว้อาลัย
คำกล่าวไว้อาลัย มี 2 ลักษณะ คือ ใช้สำหรับงานศพ คือ พูดถึงคุณความดีของผู้เสียชีวิต
ใช้สำหรับงานเลี้ยงส่ง ผู้ที่จากไปรับตำแหน่งใหม่ลาออก หรือเกษียณอายุ นิยมเรียกว่า อำลาอาลัย

ลักษณะทั่วไปของคำกล่าวไว้อาลัย
1. กล่าวถึงประวัติผู้ตายหรือผู้ที่จากไปอย่างสั้นๆ
2. กล่าวถึงผลงานของผู้นั้น (ข้อ 1)
3. สาเหตุของการเสียชีวิต หรือจากไป
4. กล่าวถึงความอาลัยของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง
5. แสดงความว่าที่ผู้จากไป จะไปอยู่สถานที่ดีและมีความสุข

5. กล่าวอวยพร
5.1 อวยพรขึ้นบ้านใหม่
1) กล่าวถึงความสำเร็จของครอบครัวในการสร้างหลักฐาน
2) ความซื่อสัตย์สุจริต และขยันหมั่นเพียรของเจ้าของบ้าน
3) อวยพรให้ประสบความสุข

5.2 อวยพรวันเกิด
1) ความสำคัญของวันนี้
2) คุณความดีของเจ้าภาพ
3) ความเจริญเติบโต ก้าวหน้า หรือเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน อวยพรให้เป็นสุขอายุยืนยาว

5.3 อวยพรคู่สมรส
1) ความสัมพันธ์ของผู้กล่าวกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
2) ความดีที่ทั้งสองรักกัน แนะนำหลักการครองชีวิต อวยพรให้เป็นสุข

6. กล่าวสดุดี
6.1 กล่าวมอบวุฒิบัตร หรือประกาศนียบัตร
1) บอกความหมาย และความสำคัญของวุฒิบัตร
2) ความเหมาะสมของผู้ได้รับประกาศนียบัตร
3) มอบวุฒิบัตร และปรบมือให้เกียรติ

6.2 กล่าวสดุดีบุคคลสำคัญ
1) กล่าวนาม, กล่าวชีวประวัติ
2) ผลงาน งานที่เป็นมรดกตกทอด
3) ยืนยันสืบทอดคุณความดี แสดงคารวะและปฏิญาณร่วมตนร่วมกัน

7. กล่าวมอบรางวัล หรือตำแหน่ง

7.1 กล่าวมอบรางวัล หรือตำแหน่ง
1) ชมเชยความสามารถ และความดีเด่นของผู้ได้รับรางวัล หรือตำแหน่ง
2) ความหมายและเกียรตินิยมของรางวัลหรือตำแหน่ง
3) ฝากความหวังไว้กับผู้ที่จะรับรางวัล หรือดำรงตำแหน่ง
4) มอบรางวัล หรือของที่ระลึกปรบมือให้เกียรติสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลกล่าวขอบคุณ กล่าวยืนยันที่จะรักษารางวัลเกียรติยศนี้

7.2 กล่าวรับมอบตำแหน่ง
1) ขอบคุณที่ได้รับความไว้วางใจ และให้เกียรติ
2) ชมเชยคณะกรรมการชุดเก่า (ในข้อดีจริงๆ )) ที่กำลังหมดวาระ
3) แถลงนโยบายโดยย่อ
4) ใช้คำสัญญาที่จะรักษาเกียรติ และทำหน้าที่ดีที่สุด พร้อมกับขอความร่วมมือจาก
คณะกรรมการและสมาชิกทุกคน

8. กล่าวต้อนรับ

8.1 ต้อนรับสมาชิกใหม่
1) ความสำคัญและความหมายของสถาบัน
2) หน้าที่และสิทธิ์ที่สมาชิกจะพึงได้รับ
3) กล่าวต้อนรับมอบของที่ระลึก (เข็มหรืออื่น ๆ) ถ้ามี

8.2 ต้อนรับผู้มาเยือน
1) เล่าความเป็นมาของสถาบันโดยย่อ
2) กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้ต้อนรับ
3) มอบของที่ระลึก แนะนำให้ที่ประชุมรู้จัก และเชิญกล่าวตอบ

9. ปาฐกถา

การแสดงปาฐกถา คือ การพูดถึงความรู้ ความคิด นโยบายแสดงเหตุผล และสิ่งที่น่าสนใจผู้ที่แสดงปาฐกถา ย่อมต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในเรื่องนั้น ๆ การแสดงปาฐกถาไม่ใช่การสอนวิชาการ แต่มีข้อเสนอแนะ หรือข้อคิดเห็นสอดแทรก และไม่ทำให้บรรยากาศเคร่งเครียด
มีหลักการแสดงปาฐกถาดังนี้
9.1 พูดตรงตามหัวข้อกำหนด
9.2 เนื้อหาสาระให้ความรู้ มีคำอธิบายตัวอย่างให้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว
9.3 สร้างทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่พูด

10. การพูดเป็นพิธีกร และโฆษก

พิธีกร หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ดำเนินรายการในกิจการนั้น ๆ ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายพิธีกรจะเป็นผู้ทำให้รายการนั้นน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ต้องทำหน้าที่ประสานประโยชน์ให้เกิดแก่ผู้ฟัง และผู้ร่วมรายการ หรือ คือ ผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างผู้แสดงในรายการนั้นกับผู้ฟัง ผู้ชม
โฆษก (โคสก) หมายถึง ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา มีหน้าที่ติดต่อสื่อความหมายระหว่างผู้รับเชิญ กับผู้ชม หรือผู้ฟัง

ข้อแนะนำสำหรับผู้ทำหน้าที่พิธีกร และโฆษก
1. มีบุคลิกภาพดี
2. ขณะพูดหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีชีวิตชีวา ใจเย็น พูดจาไพเราะนิ่มนวล
3. มีปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีความคล่องตัว สร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง
4. พูดให้สั้น ได้เนื้อหาสาระ ใช้ถ้อยคำสละสลวย เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ กระตือรือร้นอยากฟัง
5. ศึกษาเรื่องราวที่จะต้องทำหน้าที่นำเสนอรายการเป็นอย่างดี จัดลำดับการเสนอสาระอย่างมีขอบเขต มีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ที่จะต้องทำ และมีความรับผิดชอบ


ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง สุนทรพจน์

โครงสร้างสุนทรพจน์ ขั้นตอนของสุนทรพจน์
1. คำนำ หรือการเริ่มต้น (Introduction)
2. เนื้อเรื่อง หรือสาระสำคัญของเรื่อง (Discussion)
3. สรุปจบ หรือการลงท้าย (Conclusion)
"ขึ้นต้นให้ตื่นเต้น ตอนกลางให้กลมกลืน และตอนจบให้จับใจ"
แบ่งโครงสร้างของสุนทรพจน์เป็นสัดส่วน ได้ดังนี้


คำนำ 5 - 10 %
เนื้อเรื่อง 80 - 90 %
สรุปจบ 5 - 10 %

คำนำหรือการเริ่มต้น
ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น
1. อย่าออกตัว
2. อย่าขออภัย
3. อย่าถ่อมตน
4. อย่าอ้อมค้อม

หลักในการขึ้นต้นมีอยู่ว่า
1. ขึ้นต้นแบบพาดหัวข่าว (Headline)
2. ขึ้นต้นด้วยคำถาม (Asking Question)
3. ขึ้นต้นด้วยการทำให้ผู้ฟังสงสัย (Interest Arousing)
4. ขึ้นต้นด้วยการอ้างบทกวี หรือวาทะของผู้มีชื่อเสียง (Quousing)
5. ขึ้นต้นให้สนุกสนาน (Entertainment)


ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการสรุปจบ
1. ขอจบ ขอยุติ
2. ไม่มากก็น้อย
3. ขออภัย ขอโทษ
4. ขอบคุณ
หลักในการสรุปจบมีอยู่ว่า มีความหมายชัดเจน ไม่เลื่อนลอยสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และหัวข้อเรื่อง กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ พุ่งขึ้นสู่จุดสุดยอดของสุนทรพจน์

วิธีสรุปจบที่ได้ผล
1. จบแบบสรุปความ
2. จบแบบฝากให้ไปคิด
3. จบแบบเปิดเผยตอนสำคัญ
4. จบแบบชักชวนและเรียกร้อง
5. จบด้วยคำคม คำพังเพย สุภาษิต

ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง การเป็นพิธีกร

เทคนิคการเป็นพิธีการ
การเป็น "พิธีกร" นั้น ไม่ใช่สักแต่ว่า "มือถือไมค์ ไฟส่องหน้า" ใคร ๆ ก็เป็นได้ หากแต่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ ความเข้าใจ และปฏิภาณไหวพริบหลาย ๆ อย่างมาประกอบกันเพื่อทำให้งานดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางพิธีกร ไม่ใช่ผู้ประกาศ พิธีกรไม่ใช่ตัวตลก พิธีกรไม่ใช่ผู้โฆษณา พิธีกรไม่ใช่ผู้ทำหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ และพิธีกรไม่ใช่ผู้พูดสลับฉากบนเวที แต่ พิธีกรเป็นที่รวมของบทบาทหน้าที่อย่างน้อย 4 ประการ คือ
1. เป็นเจ้าของเวที (Stage Owner)
2. เป็นผู้ดำเนินรายการ (Program Monitor)
3. เป็นผู้แก้สถานการณ์เฉพาะหน้า (Situation Controller)
4. เป็นผู้ประสานงานบันเทิงและสังคม (Social Linkage)

ดังนั้น พิธีกร จึงต้องมีความรู้พื้นฐาน 4 อย่าง คือ
1. รู้ลำดับรายการ
2. รู้รายละเอียดของแต่ละรายการ
3. รู้จักผู้เกี่ยวข้องในแต่ละรายการ (ใครจะมารับช่วงเวทีต่อไป)
4. รู้กาลเทศะ (ไม่เล่นหรือล้อเลียนจนเกินขอบเขต ต้องมีความพอดี)

โอกาสต่าง ๆ ในการเป็นพิธีกร ได้แก่
1. ผู้ดำเนินรายการบนเวทีในงานแสดงต่างๆ เช่น ดนตรี ละคร โชว์ ฯลฯ
2. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย โต้วาที ยอวาที แซววาที
3. แนะนำองค์ปาฐก ผู้บรรยายรับเชิญ
4. จัดรายการทางวิทยุกระจายเสียง
5. จัดรายการทางโทรทัศน์
6. ดำเนินรายการในงานพระราชพิธี งานพิธี และงานมงคลต่างๆ
7. เป็นโฆษกของพรรคการเมืองในการปราศรัยหาเสียง หรือในงานต่างๆ ของพรรค


เทคนิค 7 ประการในการเป็นพิธีกร
1. ต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ (พักผ่อนเพียงพอ)
2. ต้องมาถึงบริเวณงานก่อนเวลา (อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง)
3. สำรวจความพร้อมของเวที แสง สี และเสียง (ทดสอบจนแน่ใจ)
4. เปิดรายการด้วยความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
5. ดึงดูดความสนใจมาสู่เวทีได้ตลอดเวลา (ทุกครั้งที่พูด หรือเสนอรายการ) อย่าทิ้งเวที
6. แก้ปัญหาหรือควบคุมสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างดี
7. ดำเนินรายการจนจบ หรือบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

โอกาสใดควรดื่มถวายพระพร
หลายครั้งเจ้าภาพขอร้องให้มีการเชิญชวนดื่มถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งบางครั้งก็เหมาะสม บางครั้งก็ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ เกิดจากความไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควรเมื่อไม่นานมานี้ สำนักพระราชวังได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชน เป็นคำแนะนำของสำนักพระราชวัง บอกถึงวาระการดื่มถวายพระพร ว่ามีอยู่ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. งานที่จัดวันนั้นตรงกับวันสำคัญของราชสำนัก เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา
2. สถานที่จัดงานได้รับพระบรมราชานุญาต หรือพระบรมราชานุเคราะห์
3. คู่สมรส หรือเจ้าภาพฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับใช้พระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
4. งานนั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ 3 ข้อแรก แต่มีประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีไปร่วมงาน
5. แขกที่ไปร่วมงานนั้น เป็นผู้แทนต่างประเทศระดับเอกอัครราชทูต อุปทูต หรือการจัดงานวันชาติของสถานทูตต่างๆ โดยถือเป็นการอนุโลม
สำหรับคำกล่าวในการดื่มถวายพระพร ทางสำนักพระราชวังได้ชี้แนะว่าควรจะกล่าวดังนี้

"ในโอกาสอันเป็นศุภนิมิตมงคล กระผม (หรือดิฉัน) ขอเชิญชวนท่านผู้มีเกียรติโปรดดื่มถวายพระพร"

เมื่อถึงตอนนี้ทุกคนก็ลุกขึ้นถือแก้วน้ำ แล้วผู้กล่าวนำถวายพระพรก็กล่าวต่อไปว่า

"ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย และพระสยามเทวาธิราช จงคุ้มครองให้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และพระราชวงศ์ จงทรงพระเกษมสำราญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรไปชั่วกาลนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ"

แล้วทุกคนดื่มถวายพระพรจึงนั่งลงได้สิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องจบโดยไม่ต้องมีเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือเปล่งเสียงไชโยโดยสิ้นเชิง




...
  
ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์
ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์

ให้เป็นตัวของตัวเอง ถ้าคุณคิดว่าจะพยายามตอบให้ถูก ในคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ถามคุณ คุณจะเครียดมาก และไม่เป็นตัวของตัวเอง การสัมภาษณ์จะไม่มีคำถามที่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด มีแต่คำถามที่ให้แสดงออก ถึงความเป็นคุณออกมา ถ้าคุณพยายามตอบให้ถูก ผู้สัมภาษณ์จะรู้และจะหมดความสนใจในตัวคุณ
ข้อแนะนำสำหรับการพูดในการสัมภาษณ์ มีดังนี้
1. น้ำเสียง
- เสียงดังฟังชัด ไม่อู้อี้อยู่ในลำคอ แต่ไม่ดังจนเกินไป ความดังของเสียงอยู่ในระดับที่ได้ยินชัดว่าอะไร ก็เพียงพอแล้ว
- ไม่ใช้เสียงเบาเกินไป บางคนพูดเหมือนกระซิบอยู่ตลอดต้องคอยเงี่ยหูฟัง มิฉะนั้นจะไม่ทราบว่าพูดอะไร
2. จังหวะในการพูด การพูดช้า อาจเป็นเพราะใช้เวลาในการคิดหาคำตอบ ถ้าเป็นกรณีนี้ การเตรียมตัวอย่างดีจะช่วยได้เพราะจะ ทำให้ตอบได้ทันที ดังนั้นจึงต้องศึกษาคำถามและเตรียมคำตอบไว้ก่อน
3. ระวังคำซ้ำคำเกิน เช่น เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ แล้วก็ คำต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเบื่อรำคาญได้ ใครที่ติดคำจำพวกนี้ ต้องฝึกฝนด้วย การพยายามระวังตัว ไม่พูดคำเหล่านี้
4. คำแสลง ถือว่าเป็นคำไม่สุภาพแล้ว คำแสลงยังทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้นได้ด้วย ขอให้พยายามระมัดระวังใน การใช้คำที่เป็นภาษาเฉพาะ รับรู้กันในหมู่วัยเดียวกัน
5. ไม่พูดมากเกินไป การพูดมากเกินไป อธิบายมาก แม้ในเรื่องควรตอบเพียงสั้น ๆ จึงทำให้เสียเวลา และอาจถูกมองว่า ถ้ารับเข้ามาทำงานคงจะเสียเวลาในการทำงาน ไปกับการพูดเสียมากกว่า
6. ไม่พูดน้อยเกินไป ถ้าพูดน้อยเกินไป ไม่พยายามให้ข้อมูล ไม่นำเสนอตัวเองให้เป็นที่รู้จัก ผู้สัมภาษณ์จะพิจารณาได้อย่างไรว่า เหมาะสมกับงานยิ่งถ้าเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการพูดด้วยแล้ว ถ้าพูดน้อยโอกาสที่จะผ่าน การพิจารณาก็จะน้อยตามไปด้วย
7. อย่าโกหก ขนาดตอนสัมภาษณ์ ยังไม่เข้ามาทำงาน ยังหลอกกันแล้วจะมีใครไว้วางใจให้เข้ามาทำงานหรือบางคนโกหกเก่ง จึงอาจจะหลอกได้บ้าง แต่ต้องไม่ลืมว่าผู้สัมภาษณ์มีประสบการณ์มากกว่า โอกาสที่จะหลอกไม่สำเร็จ ถูกจับโกหก ได้จึงมีอยู่สูง
8. ประสบการณ์น้อย คุณควรบอกว่าคุณมีประสบการณ์ที่จำเป็นต่องานนี้โดยไม่ต้องผ่านงานประจำมาก่อนเช่น คุณเคยผ่านงานพิเศษสมัยเรียน เคยร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหรือองค์กร และถึงแม้ว่าประสบการณ์นั้นจะไม่สัมพันธ์กับงานที่ต้องการนี้เลยก็ตาม
9. เรียนอย่างเดียว ในกรณีที่คุณเอาแต่เรียนอย่างเดียว ไม่เคยร่วมกิจกรรมใดๆ เลย คุณก็มีหนทางเดียวที่จะแก้จุดด้วยนี้คือแสดงให้เห็นว่าการเรียนก็เป็นประสบการณ์การทำงานอย่างหนึ่ง เช่น คุณมีประสบการณ์ที่ต้องทำงานส่งให้ทันกำหนดเส้นตาย หรือคุณผ่านการทำรายงานชิ้นสำคัญๆ มาแล้วหลายชิ้น
10. ผลการเรียนต่ำ GPA ไม่ใช่เรื่องสำคัญ คุณควรอย่างยิ่งที่จะให้เหตุผลว่า ถึงเกรดของคุณไม่สูงแต่คุณก็มีประสบการณ์จากชีวิตจริง หรือเน้นย้ำว่าความสำเร็จของการศึกษาและในการทำงานต้องการสิ่งอื่นมากกว่าแค่เกรดสูงอย่างเดียว คุณมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมอื่นๆ มาชดเชย
11. ร่วมกิจกรรมน้อย ถ้าถูกถามว่าทำไมถึงไม่ค่อยร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมากนัก คุณก็ควรบอกว่าต้องเรียนหนังสือหนักมาก และยังทำงานพิเศษไปด้วย จากนั้นก็รีบอ้างถึงประสบการณ์การทำงานต่างๆ ของคุณระหว่างเรียน
12. อายุน้อยเกินไป หากคุณสมัครงานในตำแหน่งสำคัญแต่ถูกติงว่าอายุยังน้อยเกินไป คุณควรอธิบายถึงประโยชน์ของการมีอายุน้อยว่า
1. ยินดีทำงานเต็มที่แม้จะได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้มีประสบการณ์
2. มีไอเดียทันสมัยสมกับที่ได้ศึกษาความรู้ใหม่ล่าสุดจากมหาวิทยาลัย
3.ไม่ต้องแก้ไขนิสัยการทำงานเก่าๆ ที่ไม่เหมาะกับงานใหม่


* บทความบางส่วนจากหนังสือ คู่มือสมัครงาน อ.ถาวร โชติชื่น สำนักพิมพ์ wisdom
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.