หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  การเตรียมการพูด
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ลีลานักพูด
  -  นักพูดชั้นนำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เทคนิคการเป็นพิธีกร
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  การฝึกพูด
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  การพูดทางการเมือง
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  จังหวะในการพูด
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  พูดให้ถูกสถานการณ์
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีการฝึกการพูดของ พันเอก ปิ่น มุทุกันต์
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การอ่านใจคนจากภาษากาย
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

...
  

...
  
พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนไร้วิชา สกุณาไร้ปีก ย่อมไปได้ไม่ไกล
คนที่จะเป็นคนพูดเก่ง พูดดี พูดเป็นและพูดจูงใจคนได้นั้น คนๆนั้นต้องมีปัญญา ซึ่งการมีปัญญาของคนเรานั้น สามารถฝึกฝนหรือสะสมกันได้หลายทาง เช่น ปัญญาเกิดจากการอ่าน , ปัญญาเกิดจากการฟัง , ปัญญาเกิดจากการคิด และปัญญาเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์
- ปัญญาเกิดจากการอ่าน หมายถึง คนที่พูดเก่ง มักจะเป็นนักอ่าน การอ่านจะทำให้มีข้อมูลในการพูด แต่สำหรับนักพูดมืออาชีพแล้ว จะไม่อ่านหนังสือแบบผ่านๆ แต่จะมีสมุดบันทึกประจำตัว ไว้จดข้อมูลต่างๆ ที่สนใจ เพื่อจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในภายภาคหน้า
- ปัญญาเกิดจากการฟัง ผู้ที่จะเป็นนักพูดที่เก่งหรือเป็นมืออาชีพ มักจะเป็นนักฟัง ถ้ามีโอกาส เขาจะตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูด ซึ่งการฟังนั้น ไม่ฟังเปล่าแต่เขาจะใช้ปัญญาวิเคราะห์ว่า ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วคนชอบ ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วน่าฟัง ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนหัวเราะ ชอบใจ ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนถึงร้องไห้ ทำไมคนๆนี้พูดแล้วคนถึงเชื่อแล้วทำตาม สำหรับในปัจจุบันนี้ เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคเทคโนโลยี เราสามารถ ฟังนักพูดที่เราชอบ หลายๆครั้งโดยผ่านทางเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น เทป ซีดี วีซีดี MP3 ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจากในยุคอดีตที่เราต้อง ตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดแต่ไม่สามารถจดจำหรือจดบันทึกได้หมด
- ปัญญาเกิดจากการคิด นักพูดบางคนมีความคิดไม่เหมือนชาวบ้าน แต่เวลาพูดทำไมคนถึงอยากฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น อาจมีความคิดที่ดีๆ อาจมีความคิดที่ทันสมัยและแง่มุมที่แปลกใหม่ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังได้ความคิดที่ดีๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำไมคนที่มีอายุบางคน ทำไมคนที่มีตำแหน่งต่างๆบางคน ทำไมเวลาพูดแล้วคนอยากฟังหรือตามไปฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น ผ่านประสบการณ์มาก่อนหรือผ่านประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน ผู้ฟังจึงสนใจฟัง เช่น ทำไมนักขายถึงอยากฟัง นักขายมืออาชีพระดับโลกพูด แต่ไม่อยากฟังนักขายสมัครเล่นพูด , ทำไมคนถึงอยากฟังนักพูดมืออาชีพระดับประเทศพูด มากกว่าอยากฟังนักพูดสมัครเล่นพูด ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ มักทำให้เกิดปัญญา เมื่อคนเรามีปัญญาแล้ว คนๆนั้นจะมีข้อมูล ในการพูด หรือ มีความรู้ มีความคิด ที่เป็นประโยชน์ในการพูด







ดังนั้น เราจะสังเกตว่านักพูดที่พูดเก่งๆ ...มักจะต้องมีปัญญา ฉะนั้น ถ้าท่านอยากเป็นนักพูด ท่านจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเรื่องของการอ่านหนังสือให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องลงทุนฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องใช้เวลาว่างในการนั่งคิด นั่งวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ และท่านจำเป็นจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อก่อให้เกิดประสบการณ์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการพูดต่อไปในภายภาคหน้า
เมื่อท่านลงทุนในสิ่งเหล่านี้แล้ว ท่านก็จะเกิดปัญญา เมื่อท่านเกิดปัญญา ท่านก็จะเป็นนักพูดที่พูดแล้วมีหลักการ มีเหตุมีผล พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วคนหัวเราะ พูดแล้วสามารถชักจูงใจคนฟังได้
และสิ่งที่ตามมา ก็คือเมื่อท่านพูดแล้วท่านจะได้เงิน เนื่องจากมีคนจ้างท่านให้ไปพูด ไปบรรยายหรือไปอบรมให้แก่หน่วยงานต่างๆ อีกทั้งท่านจะได้ชื่อเสียงและตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางด้านสังคม ตำแหน่งทางด้านการเมือง เป็นต้น

...
  
การเตรียมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่จะเป็นนักพูด นักบรรยาย วิทยากร และนักพูดทุกประเภท ที่ดี ที่เก่ง และมีชื่อเสียงได้นั้น คนๆนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่คุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุด ข้อหนึ่งก็คือ

การเตรียมการพูดนั้นเอง เพราะการเตรียมการพูดจะทำให้นักพูด ท่านนั้นเกิดความมั่นใจในตนเอง การเตรียมการพูดจะทำให้รู้โครงสร้างของเรื่องที่จะพูดและเนื้อหาโดยรวม
การพูด ก็เหมือนกับการแสดง หรือ นักพูดก็เหมือนนักแสดงอย่างหนึ่ง ก็คือ ถ้ามีการเตรียมการพูด มีการฝึกซ้อมอย่างดี ก็จะทำให้การพูดครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จ นักแสดงก็เช่นกัน ดังนั้นการเตรียมการพูดจึงมีความสำคัญมากจนมีผู้กล่าวว่า ผลสำเร็จของการพูดแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับการเตรียมการพูดประมาณ 70 % เหลืออีก 30% อยู่ที่การพูดบนเวที

ซึ่งการเตรียมการพูดที่ดีนั้น จะต้องมีหลักดังนี้

1.ต้องรู้วัตถุประสงค์ของการพูด รวมทั้งผู้ฟังก่อน การรู้วัตถุประสงค์ของการพูดในครั้งนั้นๆจะทำให้เราเตรียมข้อมูล วิธีการได้ถูกต้อง เช่น การพูดในครั้งนั้นเป็นการพูดเพื่อการบันเทิง เราก็พยายามเตรียมการพูด โดยการหามุข หาเรื่องสนุกๆ ตลกๆ มาพูดให้มากหน่อย หรือการพูดครั้งนั้นเพื่อการจูงใจ ชักจูง เราก็ต้องเตรียมข้อมูลให้มีการอ้างอิง หาหลักฐาน คำพูดของผู้มีชื่อเสียง และหนังสือมาประกอบ อีกทั้งต้องวิเคราะห์ว่าผู้ฟัง เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรพูดลีลา ท่าทาง น้ำเสียง เรื่องที่จะพูดตรงต่อความสนใจของผู้ฟังไหม
2.หาข้อมูลประกอบการพูด การพูดก็เหมือนกับการทำอาหาร เราต้องหาข้อมูลเหมือนกับเราจะทำแกงเนื้อสักถ้วย เราก็ต้องไป หาพริก หาเกลือ หาน้ำ หาเนื้อ หาน้ำปลา หาเครื่องแกง หาผัก ฯลฯ สำหรับข้อมูลที่ดีจะต้องมีความหลากหลาย เช่น มีตัวเลขสถิติ , ตัวอย่าง , หลักฐาน , คำคม , สุภาษิต ดังนั้น ผู้ที่เป็นนักจดบันทึก มีสมุดบันทึกติดตัว จดคำคม ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการพูด มักจะได้เปรียบเพราะมีการเตรียม มีการหาข้อมูลตลอดเวลา
3.เขียนโครงสร้างเรื่องลงไปบนกระดาษ ขั้นตอนนี้จะต้องเขียนโดยมีโครงสร้างสุนทรพจน์คือ มีคำนำ มีเนื้อเรื่อง และมีสรุปจบ โดยเขียนรายละเอียดทั้งหมดลงไปบนกระดาษ แล้วจึงนำ มาเพิ่มเติม มาตัด มาเสริม และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน คำพูดหรือภาษาที่ใช้เพื่อนำไปพูด ไปบรรยาย (คำนำควรมีเนื้อหาประมาณ 10-15 % เนื้อเรื่องควรมีเนื้อหาประมาณ 70-80 % สรุปจบควรมีเนื้อหาประมาณ 10-15 % )
4.ซ้อมพูดหรือฝึกหัดการพูด อาจจะซ้อมพูดต่อหน้ากระจก อาจจะเป็นการซ้อมพูดคนเดียวในที่ต่างๆ ดังเช่นนักพูดดังๆในอดีตและปัจจุบันทำกัน เช่น อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เคยให้สัมภาษณ์ว่าเคยซ้อมพูดคนเดียวตอนเดินกลับบ้านโดยเลือกเรื่องที่จะพูดแล้วเริ่มพูด ตั้งแต่ต้นซอยจนถึงบ้านที่อยู่ท้ายซอย,อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ซ้อมพูดขณะอยู่บนหลังม้า ฯลฯ

บางคนอาจไม่คุ้นกับการฝึกพูดคนเดียว อาจจะให้คนรู้จักนั่งฟังหรือให้เพื่อน ภรรยา นั่งฟังแล้วช่วยเสนอแนะข้อที่ควรปรับปรุงในการพูดก็ได้


การซ้อมพูดที่ดี ควรทำท่าทางประกอบและควรจับเวลาด้วย เนื่องจากจะได้ตัดทอนเนื้อหา หากใช้เวลามาก แต่ถ้าเวลาเหลือมากจะได้เพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไป การทำท่าทางประกอบในการซ้อมพูดจะทำให้เมื่อออกไปพูดจริงจะไปดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าท่านยิ่งซ้อมพูดมากเท่าไรก็จะยิ่งดีเท่านั้น


สรุปคือ การเตรียมการพูดเป็นสิ่งที่สำคัญ จะละเลยไม่ได้ ควรเตรียมตัวทุกครั้งเพราะความสำเร็จของการเป็นนักพูดที่ดี อยู่ที่การเตรียมการพูดนั่นเอง


...
  
ศิลปะการพูดจูงใจ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจคนเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของวัตถุประสงค์ของการพูด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการพูดที่ดีมีอยู่ 3 ประเภท คือ หนึ่ง การพูดบรรยายหรือเล่าเรื่อง สอง การพูดสร้างอารมณ์ขันหรือเพื่อความบันเทิง และสาม การพูดจูงใจคน

ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของการพูดเพื่อจูงใจคน มีคนถามว่าทำไมเราจะต้องพูดจูงใจคนด้วย การพูดจูงใจคน คือ การพูดที่ทำให้คนอื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามเรา โดยลดความรู้สึกที่ต่อต้านหรือขัดแย้งลง

แน่นอน คนเราย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่การที่จะร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่จะต้องมีความคิดเห็นคล้ายกัน จึงจะสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การพูดจูงใจคนหรือการพูดที่ทำให้คนคิดเห็นคล้อยตามเราจึงสำคัญ สำหรับทุกคน ทุกวัย และทุกอาชีพ เช่น

- นักขาย ต้องพูดจูงใจเพื่อให้คนซื้อสินค้าของเรา
- ลูกค้า ต้องพูดจูงใจเพื่อให้พ่อค้า ลดราคาให้
- ผู้บริหารหรือผู้นำ ต้องพูดจูงใจเพื่อให้ลูกน้องร่วมมือร่วมใจกันทำงาน หรือ รักองค์กร รักบริษัท
- นักการเมือง ต้องพูดจูงใจหรือพูดหาเสียง อย่างไร เพื่อให้คนมาลงคะแนนเสียงให้
- รัฐบาล ต้องพูดจูงใจเพื่อให้ประชาชนเห็นผลงานหรือมีทัศนคติที่ดีต่อรัฐบาลในการบริหารประเทศชาติ

ผู้ที่จะเป็นนักพูดจูงใจคนได้ดีต้องมีปัจจัยหรือเทคนิคต่างๆ ดังนี้
1.ต้องมีเทคนิคการฟัง ผู้ที่จะพูดจูงใจผู้อื่นได้ดีต้อง เป็นนักฟังที่ดีก่อน เพราะการฟังที่ดีจะทำให้รู้ว่า ผู้พูดต้องการอะไร แล้วเราจึงพูดเพื่อสนองตอบสิ่งที่เขาต้องการ และการนั่งฟังด้วยความตั้งใจจะเป็นที่ประทับใจของผู้ฟัง
2.บุคลิกภาพ ตำแหน่ง หน้าที่ การศึกษา บุคคลที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีตำแหน่ง หน้าที่ การงานดี มีการศึกษาที่ดี เมื่อพูดออกไปแล้ว ผู้ฟังจะมีความเชื่อถือมากกว่า ผู้พูดที่มีบุคลิกภาพที่แย่ ไม่มีตำแหน่ง หน้าที่ การงานที่ดี หรือ ใครที่มีการศึกษาในระดับที่สูง ผู้ฟังย่อมมีความเชื่อถือมากกว่า ผู้พูดที่มีการศึกษาที่ต่ำกว่า
3.การพูดจูงใจคนที่ดี ผู้พูดต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง เสียงดัง ฟังชัด การพูดด้วยความเชื่อมั่น เสียงดัง ฟังชัด ผู้ฟังจะมีความเชื่อถือ มากกว่าคนที่พูดด้วยความไม่มั่นใจ เสียงเบา พูดจาไม่ชัดถ้อยชัดคำ และการพูดจูงใจคนที่ดี ผู้พูดควรใช้น้ำเสียงที่มีความหลากหลาย ไม่ใช้เสียงโทนเดียวหรือระดับเดียวกันตลอดเวลา จะทำให้ผู้ฟังเกิดอาการเบื่อหน่าย ง่วงนอน ควรพูดให้มีหลากหลายจังหวะ เช่น พูดดังบ้าง เบาบ้าง หยุดบ้าง พูดเร็วบ้าง พูดช้าบ้างและพูดซ้ำๆ บ้าง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการสนใจ
4.การมีของรางวัล หรือ ผลประโยชน์ มาเป็นเครื่องมือในการพูดจูงใจคน เราจะเห็นได้ว่า ในวงการขาย การพูดของผู้บริหาร โดยมากมักจะจูงใจโดย มีรางวัลหรือผลประโยชน์ ต่างๆ เป็นเครื่องมือล่อ เพื่อให้ผู้ฟังหรือนักขายปฏิบัติตาม เช่น ให้เงินรางวัล ให้ถ้วยรางวัล ให้ตำแหน่ง ให้อำนาจหน้าที่ ที่ดีขึ้นหรือสูงขึ้น
5.นักพูดจูงใจคนที่เก่ง ไม่ได้หมายความว่า คนๆนั้นจะต้องพูดเก่ง พูดไม่หยุด พูดมาก แต่บางคนพูดน้อยมากแต่สามารถพูดจูงใจคนได้อย่างดีเยี่ยม เลยก็มี เช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู ฯลฯ

ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นนักพูดหรือคนที่จะพูดจูงใจคนได้เก่งและดี จึงต้องอาศัย ประสบการณ์ การศึกษา ค้นคว้า ทักษะ การฝึกฝน การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เพื่อ แก้ไข ปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา ท่านก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นนักพูดประเภทจูงใจคนได้



...
  
วิเคราะห์ผู้ฟัง
วิเคราะห์ผู้ฟัง
นักพูดที่ดีต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง


โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์


การที่จะพูดให้ถูกใจผู้ฟัง ต้องทราบในเบื้องต้นก่อนว่าผู้ฟังคือใคร มีความต้องการอะไร มีจำนวนเท่าไร เสมือนหนึ่งเราทำอาหารต้องทราบในเบื้องต้นก่อนว่าผู้ทานต้องการอาหารประเภทไหน รสชาติเป็นอย่างไร


การวิเคราะห์ผู้ฟังจึงมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน การวิเคราะห์ผู้ฟังเราสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้


1.จำนวนผู้ฟัง มีความสำคัญมากเพราะการพูดกับคนจำนวนน้อย เราต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกับวิธีการพูดที่มีคนจำนวนมาก รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ในการพูดก็สำคัญไม่น้อย เช่น เอกสารประกอบการบรรยาย ห้องสำหรับใช้บรรยายหรือใช้ในการพูด ถ้าคนน้อยแต่ใช้ห้องประชุมที่ใหญ่มากๆ หรือ ถ้าคนมากแต่ดันใช้ห้องประชุมขนาดเล็กๆ ทำให้บรรจุคนไม่พอ ดังนั้นนักพูดต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย


2.เพศและวัย เรื่องของเพศและวัย เพศชายส่วนใหญ่ชอบ การผจญภัย การต่อสู้ กีฬา ส่วนเพศหญิงชอบเรื่องของ ความสวยงาม แฟชั่น ดังนั้นการพูดต้องพูดให้มีความสำคัญกับเพศของผู้ฟัง สำหรับวัยเด็ก มักชอบเรื่องที่สนุกสนาน มักมีสมาธิสั้นในการฟัง มักชอบนิทาน วัยรุ่นชอบเรื่องเกี่ยวกับรักๆใคร่ๆ ชอบเรื่องที่มีความท้าทาย วัยผู้ใหญ่สนใจเรื่องของอาชีพ การสร้างฐานะ และวัยชรา สนใจเรื่องศาสนา เป็นต้น


3.พื้นฐานการศึกษาของผู้ฟัง การพูดให้ผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน เราจะต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน ถ้าผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาสูง เราสามารถใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษได้บ้าง แต่ถ้าพูดให้ผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาต่ำ ไม่ควรพูดทับศัพท์ และต้องเตรียมเนื้อหา วิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันด้วย ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสม ในบางครั้งนักพูดคิดไปเองว่า การพูดโดยใช้ภาษาที่สวยงามหรือภาษาวรรณกรรมจะทำให้ผู้ฟังชอบ แต่เปล่าเลย ผู้ฟังที่มีพื้นฐานการศึกษาที่ต่ำ มักจะไม่เข้าใจ ทำให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพในที่สุด


4.อาชีพ ของผู้ฟัง เช่น อาชีพทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข จะมีศัพท์ในการพูดที่ใช้สื่อสารกันในโรงพยาบาลหรือที่ทำงาน บางครั้งตัวคนไข้หรือผู้ป่วยจะไม่ว่าแพทย์ พยาบาลหมายถึงอะไร ดังนั้น ถ้าเรานำศัพท์ในทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข ไปบรรยายให้วงการทหาร วงการเกษตร ผู้ฟังจะไม่ทราบความหมาย หรือใช้ศัพท์ในวงการทหาร ไปพูดในแวดวงแพทย์ สาธารณสุข ก็มักจะไม่ได้ผลเช่นกัน


5.ต้องทราบความคาดหวังของผู้ฟัง การบรรยายบางแห่ง ผู้ฟังถูกเกณฑ์ให้มาฟังโดยหัวหน้างานหรือเจ้าของ ดังนั้น ผู้ฟังกลุ่มดังกล่าวมักไม่มีความสนใจหรือความคาดหวังว่าจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างจริงจัง ในการบรรยายบางแห่งผู้ฟังมักเกิดอารมณ์เบื่อหน่ายเสียมากกว่าเพราะผู้ฟังเหมือนถูกบังคับให้มานั่งฟังการบรรยาย


6.ทัศนคติของผู้ฟัง มีความสำคัญมากในการพูด เช่น การพูดเรื่องการเมือง เรื่องศาสนา ต้องระวังมากๆเพราะ ถ้าจะพูดดี หรือ เราคิดว่าความคิดของเราถูกต้องอย่างไรก็ตาม ผู้ฟังมักจะไม่เชื่อ เพราะเรื่องการเมือง เรื่องศาสนา เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล รวมถึงทัศนคติของผู้ฟังต่อผู้พูดด้วย ถ้าผู้ฟังไม่ชอบผู้พูดเป็นการส่วนตัวแล้ว จะพูดให้ดีอย่างไร ก็คงยากที่ผู้ฟังคนนั้นจะชอบเรา


7.ต้องหมั่นสังเกตผู้ฟัง เวลาฟังบรรยายหรือพูด ถ้าผู้ฟัง เกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่สนใจ หลับ และสนใจเรื่องอื่นๆ เราต้องเปลี่ยนวิธีการพูดให้เหมาะสม เช่น ต้องนำเรื่องที่ขำขันที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องที่บรรยายมาเล่า เพื่อให้บรรยากาศดีขึ้น หรือ เรื่องที่แปลกๆ ที่ทันสมัย สิ่งที่ผู้ฟังยังไม่เคยได้ยิน มาเล่า เพื่อสอดแทรกการบรรยายให้ผู้ฟังหันมาสนใจการพูดของเรา หรือไม่อย่างนั้น ก็อาจจะมีเกมส์ มีเพลง หรือกิจกรรมต่างๆมาสอดแทรกการพูดหรือการบรรยาย


ดังนั้น ถ้าต้องการเป็นนักพูดที่ดีต้องหมั่นวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟังของเราเป็นใคร มาจากไหน มีพื้นฐานความรู้แค่ไหน มีทัศนคติอย่างไร เป็นเพศไหน วัยไหน เสมือนหนึ่งนักพูดเป็นพ่อครัว ต้องรู้ว่าผู้ทานชอบอาหารรสชาติอะไร อยู่ในวัยไหน จะได้ทำอาหารให้ถูกปากผู้ทาน



...
  
ลีลานักพูด
...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่เป็นนักพูด เป็นวิทยากร เป็นอาจารย์นั้น คนส่วนใหญ่มักมีความนับถือ แต่การเป็นนักพูด เป็นวิทยากร เป็นอาจารย์ ใช่ว่าจะเป็นกันง่ายๆ บางครั้งก็อาจเจอลองของอยู่บ้าง ฉะนั้นผู้เป็นนักพูด วิทยากร หรือ อาจารย์ ก็ควรมีลวดลายไว้บ้างก็จะดีไม่ใช่น้อย เพราะถ้าเราสังเกต เราจะเห็นว่า การอบรมบางแห่งนั้น ตัวของผู้เข้ารับการอบรมดูเหมือนจะอาวุโสกว่าคนที่เป็นวิทยากรหรือคนที่เป็นอาจารย์เสียอีก

ฉะนั้นเมื่อเราไปเจอกับผู้ฟังที่อยากจะลองของ เราก็ควรจะมีของให้เขาลอง เพราะถ้าเราบ่มีของดีไว้บ้าง ก็เห็นทีจะเอาดีในทางเป็นนักพูด วิทยากร อาจารย์ไม่ได้เสียแล้ว ดังนั้น เราก็ต้องตอบให้สมศักดิ์ศรี จะเป็นการดีอย่างยิ่ง นอกจากเราจะสะสมความรู้ในหัวเรื่องที่เขาให้บรรยายแล้ว เราก็ควรเตรียมการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆไว้ด้วยถึงจะดี ไม่ใช่ถ้าผู้เข้ารับ การอบรม มีคำถาม วิทยากรหรืออาจารย์สารภาพแบบตรงไปตรงมาว่า " ไม่รู้ครับ " ลองเจอ คำถามแบบนี้สัก 2-3 คำถาม แล้วตอบ " ไม่รู้ครับ " รับรองได้เลยว่า ความศรัทธาของผู้ฟังที่มีต่อวิทยากรจะค่อยๆ น้อยลงๆ จนหมดความศรัทธาในที่สุด

ดังนั้น ถ้าเราเจอคำถามเป็นหินๆ อย่าตอบสั้นๆ ง่ายๆ เป็นอันขาด " ไม่ทราบ " " ไม่รู้ครับ " ควรตั้งสติแล้วใช้ไหวพริบปฏิภาณให้เต็มที่ ถ้าตอบไม่ได้จริงๆ ก็ควรตอบแบบเลี่ยงๆ เช่น " อาจารย์ทราบไหมระยะทางจากใต้ขึ้นมาทางเหนือนี่สักกี่กิโลครับ "

เราก็ควรตอบเลี่ยงๆ " ผมไม่แน่ใจ แต่จะลองประมาณดูนะจากกรุงเทพฯ ไปนราธิวาส ถ้ากระผมจำไม่ผิดก็ประมาณ 1,200 กิโลเมตร แล้วจาก กรุงเทพฯ ขึ้นไปจังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย ก็ประมาณ 800 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นถ้านำมารวมกันก็จะประมาณ 2,000 กิโลเมตร " อย่างนี้ก็พอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่ข้อควรระวัง เมื่อเราเจอคำถามประเภทลองของหรือโดนยั่วยุจากผู้ฟัง เราอย่าออกอาการ ไม่ใช่ด่ากราดเลยอย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เพราะทำให้เสียบรรยากาศในการอบรม แล้วผู้ฟังคนอื่นๆที่ไม่รู้เรื่องก็พลอยรับความซวยไปด้วย

โดยส่วนตัว กระผมก็เคยเจอคนฟังประเภทลองของ เราก็ควรตั้งสติ พยายามตอบ ถ้าเขาไม่หยุดถามหรือคอยก่อกวน บางสถานการณ์เราไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะนิสัยคนไทย ส่วนใหญ่ขี้สงสารคน เมื่อวิทยากรถูกก่อกวนมากๆ คนฟังเขาก็จะช่วยเราเอง เช่น อาจตะโกน " พอแล้ว " บ้าง " นั่งลง " บ้าง

สรุปคือ วิทยากร อาจารย์ ต้องใช้ภาษาสุภาพ พยายามควบคุมอารมณ์ ไม่วางตัวเป็นศัตรูกับผู้ฟัง เมื่อเจอลองของควรควบคุมอารมณ์ พยายามรักษาภาพพจน์ของตนเองต่อคนฟังส่วนใหญ่เอาไว้ อย่าให้คนเพียง 1หรือ2 คน มาทำลายเรา ต่อหน้ามวลชนเป็นอันขาด




...
  
นักพูดชั้นนำ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

นักพูดชั้นนำไม่ว่าในอดีตหรือในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ลินคอล์น, โรสเวลท์ หรือแม้แต่นักพูด อ.ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ อดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ย่อมมีวิธีการของตนแต่ละแบบแต่ละวิธีแตกต่างกันไป
ลินคอล์น จะใช้วิธีการค้นหาข้อเท็จจริง ประมวลความเป็นจริงทั้งหลาย แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าคำที่เขาพูดออกไปและเหตุผลที่เขาอ้างออกไปนั้น เป็นคำพูดที่เหมาะสมถูกต้องกับความเป็นจริงประการใด

โรสเวล์ท ในการแสดงสุนทรพจน์หรือปาฐกถา เขาจะขุดค้นหาประมวลข้อเท็จจริงทั้งหมดมาพิจารณาใคร่ครวญถึงคุณค่าของข้อเท็จจริงเหล่านั้น ต่อจากนั้นเขาก็พูดออกมาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เลขานุการของเขาจด แล้วจึงพิมพ์ดีด และแก้ไขบางตอนที่เขาเห็นว่าไม่เหมาะสม

อ.ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เจ้าตำรับทอล์คโชว์เมืองไทยก็มีเคล็ดลับ อ.ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ จะมีกล่องอยู่ใบหนึ่ง ได้อะไรมาแต่ละวันก็จะเขียนลงกระดาษแผ่นเล็กๆ แล้วมาใส่ไว้ในกล่อง ใส่แทบทุกวัน เมื่อถึงเวลาจะแสดงทอล์คโชว์ ก็จะเปิดกล่องแล้วเขียนเรื่องราวขึ้นบนกระดาษทำเป็นต้นเป็นกิ่ง แล้วก็จะเอากระดาษลูกเล่นไปตามกิ่ง

ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเอง ก็มีเคล็ดลับคือ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมคำพูด ท่านจะมีสมุดอยู่เล่มหนึ่ง เวลาอ่านเจอคำพูดของใครที่น่าสนใจก็จะจดไว้เป็นข้อมูลสำหรับใช้อภิปรายหรือใช้พูด แล้วท่านก็เขียนโครงเรื่อง แล้วซ้อมพูด แล้วอัดใส่เทป แล้วเปิดฟังแล้วแก้ไข แก้ไขจนท่านพอใจถึงได้นำออกไปพูด


นี่ก็เป็นเคล็ดลับของนักพูดแต่ละท่าน เราจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันไป ฉะนั้นอาจสรุปได้ว่า การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ซึ่งแต่ละคนมักจะมีวิธีการฝึก การคิด การปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้แล้วแต่ละวิธีการของแต่บุคคล บางบุคคลเราสามารถเลียนแบบได้ บางบุคคลเราไม่สามารถเลียนแบบได้ เพราะ เช่น เดล คาร์เนกี้ อาจารย์สอนด้านการพูดระดับโลกเคยซ้อมพูดในขณะถอนหญ้า ซ้อมพูดให้หญ้าฟัง ลินคอล์น ขณะที่ขี่หลังม้าเดินทางเป็นระยะเวลาไกลๆ ก็ซ้อมพูดขณะนั่งบนหลังม้า บางคน ฝึกพูดต่อหน้ากระจก ทำท่าทำทางต่างๆ แต่วิธีการดังกล่าว กระผมเองมักไม่ชอบ เพราะไม่มีผู้ฟัง จะให้บ้าพูดกับต้นหญ้า ขี่หลังม้าแล้วซ้อมพูด หรือ ฝึกพูดต่อหน้ากระจกคงไม่ไหว เพราะถ้าไม่มีผู้นั่งฟัง โดยส่วนตัวกระผมคงทำไม่ได้ แต่ท่านผูอ่านบางท่านอาจนำไปใช้แล้วได้ผล บางคนชอบฝึกซ้อมต่อหน้ากระจกแล้วได้ผลดีด้วย อย่างนี้มันแล้วแต่บุคคล ขอรับ

...
  
การพูดจูงใจคน
การพูดจูงใจคน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจ เป็น การพูดประเภทหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน กล่าวคือวัตถุประสงค์ของการพูด ได้แก่ การพูดเพื่อการบอกเล่า การพูดเพื่อความบันเทิงและการพูดเพื่อการจูงใจ
การพูดจูงใจ จึงเป็นศิลปะในการพูดที่ต้องอาศัยการฝึกฝน การศึกษา และดูแบบอย่างของนักพูดที่สามารถพูดจูงใจคนได้
ก่อนที่เราจะศึกษาหรือเรียนรู้การพูดจูงใจ เราควรศึกษาธรรมชาติหรือความต้องการของคนก่อน เนื่องจากคนทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเราพูดจูงใจเด็ก กับพูดจูงใจผู้ใหญ่ เราอาจจะมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน หรือ ถ้าเราพูดให้ผู้ฟังในกลุ่มอาชีพต่างๆฟัง เราอาจจะต้องมีวิธีในการพูดจูงใจที่แตกต่างกัน เช่น พูดให้ชาวนาฟัง กับพูดให้นักวิชาการฟัง ฯลฯ
แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องความต้องการของมนุษย์หรือคนเรา กระผมคิดว่า คนเรามีความต้องการในเรื่องใหญ่ๆ ที่คล้ายกันกล่าวคือ เรื่องของ กิน กาม และเกียรติ
- กิน คนเราเมื่อเกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์จะต้องมีการบริโภคหรือการกิน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารประเภทต่างๆ การดื่มกินน้ำประเภทต่างๆ
- กาม คนเราเกิดมาแล้ว ตามสัญชาตญาณของการสืบพันธุ์ ก็ต้องมีเรื่องของเพศสัมพันธ์
- เกียรติ คนเราเกิดมา ก็อยากจะมีชื่อเสียง อำนาจ ความดัง ความมีหน้าตาในสังคม
ดังนั้น คนเราหรือมนุษย์เรา จึงได้แสวงหาเรื่องของการ กิน กาม และเกียรติ กันด้วยความกระเสือกกระสนดิ้นรน (ทั้งนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า คนเราหรือมนุษย์เราส่วนใหญ่ จึงไม่ได้หมายถึงทุกคน)
เมื่อเราศึกษาธรรมชาติความต้องการของคนเราหรือมนุษย์เราแล้ว ที่นี้ ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เทคนิคในการพูดจูงใจคน เราจำเป็นจะต้องศึกษา เรียนรู้เช่นกัน กล่าวคือ ในการพูดจูงใจให้คนคล้ายตามเรานั้น
- ผู้พูดจำเป็นจะต้องพูดด้วยอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้ผู้ฟังเศร้า ผู้พูดจะต้องมีอารมณ์เศร้าก่อนอีกทั้งต้องแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้า น้ำเสียง ท่าทาง เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังมีอารมณ์เศร้าด้วย หรือ ต้องการพูดให้ผู้ฟังมีอารมณ์เกลียดชัง ผู้พูดต้องแสดงอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง ผ่านทางภาษาพูดและภาษากายต่างๆของผู้พูด เพื่อส่งความรู้สึกอารมณ์ดังกล่าวไปยังผู้ฟัง เป็นต้น
- ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจ จากใจ ยิ่งพูดมาจากก้นบึ้งของหัวใจได้ยิ่งดี การที่จะพูดให้คนคล้ายตามหรือจูงใจคนได้นั้น ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจก่อน ซึ่งความจริงใจ ผู้ฟังสามารถสัมผัสได้ผ่านการแสดงอาการต่างๆของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา น้ำเสียง ท่าทาง กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในสิ่งใด ผู้พูดเองต้องมีความศรัธทาในสิ่งนั้นก่อน ถ้าผู้พูดไม่เชื่อถือไม่ศรัธทาก่อน ก็คงยากที่จะพูดให้ผู้ฟังเกิดความศรัธทาในสิ่งนั้นด้วย
- ผู้พูดจะต้องพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ของผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ได้บุญเพิ่ม ได้กุศลเพิ่ม ได้โลห์ ได้ชื่อเสียง เกียรติยศต่างๆ ฉะนั้น ผู้พูดสามารถชักจูงใจคนได้ด้วยการพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ เช่น หากต้องการได้เงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ท่าน(ผู้ฟัง)จะต้องขยันทำงานขึ้น
ดังนั้น คนที่ต้องการพูดจูงใจเป็น จำเป็นจะต้องเรียนรู้ จากการอ่านมาก การฟังมาก การศึกษาดูแบบอย่างมากๆ เช่น หากท่านต้องการเป็นนักพูดจูงใจทางด้านการเมืองกล่าวคือ ต้องการพูดให้คนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ท่าน ท่านก็ควรตามไปฟังนักพูดทางการเมืองหรือศึกษาจาก เทป วีซีดี ดีวีดี รวมทั้งการดูการถ่ายทอดการหาเสียง การอภิปรายทางโทรทัศน์ ดูแล้วต้องวิเคราะห์ว่าทำไม นักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนเชื่อ ทำไมนักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนไม่เชื่อ อีกทั้งต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย






...
  
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
จำนวนหรือขนาดผู้ฟัง เพศ วัย ระดับอายุ ศาสนา ความเชื่อ อาชีพ การศึกษา ของผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ควรใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างความสนใจในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะปัจจัยต่างๆ ขั้นตอนเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
- จำนวนหรือขนาดของผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมีข้อมูลพอสมควรว่า ในวันที่จะเดินทางไปพูดมีผู้ฟัง
ประมาณกี่คน เป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีพื้นที่หรือสถานที่พอเพียงหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับสถานที่ มีความสัมพันธ์กัน ในการเตรียมการพูด เช่น พูดที่ท้องสนามหลวง มีผู้ฟังมากมาย หรือบางกรณีอาจมีผู้ฟังไม่กี่คนในท้องสนามหลวง วิธีการพูด รูปแบบการพูด เครื่องมือที่ช่วย ก็ต้องมีความแตกต่างกันไป เพราะการพูดที่มีผู้ฟังนั่งชิดกัน เบียดกัน ในห้องประชุม จะทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม มีอารมณ์ ความรู้สึก มากกว่า การพูดที่มีผู้ฟังบางตา มีจำนวนไม่มาก ในขณะที่มีสถานที่กว้างขวาง
- เพศของผู้ฟัง เพศหญิงมักชอบ ความสวยงาม การแต่งตัว การทำความสะอาดดูแลบ้าน การเข้าสังคม
ส่วนผู้ฟังเพศชายมักชอบ เรื่อง การเมือง การเล่นกีฬา การต่อสู้ รถยนต์เครื่องยนต์ โดยมากผู้หญิงมักมีความอ่อนไหวกว่าผู้ชาย การพูดจูงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ มักจะชักจูงโน้มน้าวผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย อีกทั้งการพูดกับผู้ฟังที่มีลักษณะ ชายล้วน หญิงล้วน แบบกลุ่มผู้ฟังผสมผสานทั้งเพศชาย เพศหญิง จึงต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ คำพูด ภาษา เนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป
- วัยหรือระดับอายุ มีความสำคัญมากเพราะคนที่มีอายุหรือวัยมากกว่า ย่อมมีประสบการณ์ใน
ชีวิตมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เช่น
วัยเด็ก มีลักษณะชอบความสนุกสนาน ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทนฟังเรื่องต่างๆได้นาน เบื่อง่าย และการพูดต้องใช้น้ำเสียง จินตนาการในการพูดมากกว่าวัยอื่นๆ เราลองสังเกตว่าเด็กมักชอบฟังนิทาน ผู้เล่านิทานมักใช้น้ำเสียง จินตนาการในการเล่า
วัยรุ่น มักต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบความตื่นเต้น โลดโผน อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ฉะนั้นผู้พูด ควรหาเรื่องใหม่ๆ แปลกๆ ในการนำเสนอก็จะสามารถดึงดูดความสนใจในการพูดได้
วัยชรา เป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก มีลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งพาทางใจ ชอบเรื่องศาสนา เข้าวัด ฟังธรรม เป็นห่วงลูกหลาน
- ศาสนาและความเชื่อ ผู้พูดควรระมัดระวัง ควรศึกษาความเชื่อความศรัทธาของแต่ละศาสนา
ไว้บ้าง เพราะ ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อ เป็นสิ่งที่คนเรายึดถือมาช้านาน การพูดโดยไม่คิด บางครั้งอาจเป็นเรื่องสนุกๆ แต่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังและผู้พูดได้
- อาชีพ ทุกอาชีพมีความแตกต่างกัน มีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่นพูดให้ชาวนาก็พูดเรื่องที่
แตกต่างกันกับนักธุรกิจกิจหรือคนรับราชการ อาจพูดเรื่อง กระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งทำให้ชาวนาเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพทำนา หรือพูดกับ นักธุรกิจก็ควรพูดเรื่อง เศรษฐกิจ การค้าขาย การบริหาร การจัดการ
ดังนั้น นักพูดที่ดีต้องสร้างโครงเรื่องให้สอดคล้องกับความสนใจของอาชีพผู้ฟังก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความชอบความศรัทธา ในตัวผู้พูด
- การศึกษา ถ้าไปพูดให้กลุ่มผู้ฟังที่มีการศึกษาน้อย ควรพูดเรื่องง่ายๆ แต่ถ้าไปพูดให้กลุ่มที่มี
การศึกษาสูง เราก็ควรพูดในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง พูดเน้นหนักวิชาการ บางครั้งอาจจะต้องพูดศัพท์ภาษาอังกฤษ บ้างเพราะคำบางคำ แปลเป็นภาษาไทย ความหมายอาจจะผิดได้ การพูดต้องมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง
สรุปว่า การพูดที่ประสบความสำเร็จ นักพูดหรือผู้พูด จะละเลย การวิเคราะห์ผู้ฟังไม่ได้ เพราะผู้พูด เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ ที่จะประเมินว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังพอใจ จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟังและจงพูดในสิ่งที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง แล้วท่านจะเป็นนักพูดหรือผู้พูดที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.