หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
  -  การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  -  แม่ไม้นักบริหาร
  -  
  -  กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
  -  กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
  -  ผู้นำกับการจัดการ
  -  7 วิธีคิดอย่างคนเก่ง
  -  5 วิธีทำงานรวมกับคนที่ไม่ชอบหน้า
  -  เรื่องของ “อาวุธ” กับเรื่องของ “กลยุทธ์” เป็นของคู่กัน
  -  การจัดการกับความขัดแย้ง
  -  รับมือกับลูกทีมที่มีทัศนคติด้านลบ
  -  ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : คลิป เรื่องการบริหาร
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
1
...
  
แม่ไม้นักบริหาร
2
...
  

3
...
  
กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
Blue Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
Wednesday, 18 November 2009 01:01
.....เป็นแนวคิดที่มาจากนักวิชาการสองคนชื่อ W. Chan Kim และ Renee Mauborgne ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์จาก INSEAD สถาบันทางด้านบริหารธุรกิจชื่อดังในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับพัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการอื่นๆ ที่โด่งดัง นักวิชาการทั้งสองท่านได้ร่วมกันเขียนบทความที่นำไปสู่เรื่องของ Blue Ocean ในวารสาร Harvard Business Review

.....หลักการของ Blue Ocean นั้น จะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่ของตลาด แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ หรือที่เรียกว่า Demand Creation โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ความแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในตลาด ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร

.....หลักการของ Blue Ocean Strategy นำเสนอว่า แทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือด(red ocean) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่ 4 ข้อได้แก่

1.การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
2.การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริงๆ อาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด
3.การเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
4.การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน


กลยุทธ์ทะเลสีคราม (Blue Ocean Strategy) เป็นการมองเรื่องการเติบโตด้วยแนวทางใหม่ เป็นการโต้แย้งหลังการกลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy) ซึ่งการมุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่งและการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่แตกต่างกัน จะทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บตัวกันขึ้นทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันกันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร

กลยุทธ์ทะเลสีคราม มุ่งหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบการกลยุทธ์ทะเลสีแดง โดยต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างหรือต้องสร้างความต้องการใหม่ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอโดยใช้ นวตกรรมใหม่ๆ (Innovation) หรือเป็นทะเลใหม่ซึ่งเป็นทะเลสีครามนั่นเอง และที่กลยุทธ์ทะเลสีครามได้รับการตอบรับดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนครบ บริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทย์นี้มาใช้ ได้แก่ สตาร์บัค ซีเอ็นเอ็น เป็นต้น และถ้าเราต้องการสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นแบบทะเลสีครามนั้น ต้องมาพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของเราในตอนนี้ซื้อสินค้าหรือบริการเราเนื่องจากราคาที่ต่ำหรือซื้อที่ความแตกต่าง แล้วจึงมาเริ่มมองว่าใครคือ Non-customer ซึ่ง Non-customer นี้ไม่ได้หมายถึงคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของเรา แต่มองว่าเป็นคนที่ไม่ใช่ลูกค้าของดลาดในปัจจุบัน



ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลคราม

• เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีอยู่ในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามีอุตสาหกรรมประเภทนี้อยู่ด้วย
• สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มาก
• ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่ปรียบเทียบกัน
• สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)
• มองภาพใหญ่ โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึดติดกับผลการวิเคราะห์
• ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากรอบข้าง

...
  
กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
Blue Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
Wednesday, 18 November 2009 01:01
.....เป็นแนวคิดที่มาจากนักวิชาการสองคนชื่อ W. Chan Kim และ Renee Mauborgne ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์จาก INSEAD สถาบันทางด้านบริหารธุรกิจชื่อดังในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับพัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการอื่นๆ ที่โด่งดัง นักวิชาการทั้งสองท่านได้ร่วมกันเขียนบทความที่นำไปสู่เรื่องของ Blue Ocean ในวารสาร Harvard Business Review

.....หลักการของ Blue Ocean นั้น จะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่ของตลาด แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ หรือที่เรียกว่า Demand Creation โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ความแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในตลาด ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร

.....หลักการของ Blue Ocean Strategy นำเสนอว่า แทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือด(red ocean) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่ 4 ข้อได้แก่

1.การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
2.การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริงๆ อาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด
3.การเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
4.การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน


กลยุทธ์ทะเลสีคราม (Blue Ocean Strategy) เป็นการมองเรื่องการเติบโตด้วยแนวทางใหม่ เป็นการโต้แย้งหลังการกลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy) ซึ่งการมุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่งและการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่แตกต่างกัน จะทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บตัวกันขึ้นทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันกันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร

กลยุทธ์ทะเลสีคราม มุ่งหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบการกลยุทธ์ทะเลสีแดง โดยต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างหรือต้องสร้างความต้องการใหม่ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอโดยใช้ นวตกรรมใหม่ๆ (Innovation) หรือเป็นทะเลใหม่ซึ่งเป็นทะเลสีครามนั่นเอง และที่กลยุทธ์ทะเลสีครามได้รับการตอบรับดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนครบ บริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทย์นี้มาใช้ ได้แก่ สตาร์บัค ซีเอ็นเอ็น เป็นต้น และถ้าเราต้องการสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นแบบทะเลสีครามนั้น ต้องมาพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของเราในตอนนี้ซื้อสินค้าหรือบริการเราเนื่องจากราคาที่ต่ำหรือซื้อที่ความแตกต่าง แล้วจึงมาเริ่มมองว่าใครคือ Non-customer ซึ่ง Non-customer นี้ไม่ได้หมายถึงคนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของเรา แต่มองว่าเป็นคนที่ไม่ใช่ลูกค้าของดลาดในปัจจุบัน



ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลคราม

• เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีอยู่ในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามีอุตสาหกรรมประเภทนี้อยู่ด้วย
• สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มาก
• ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่ปรียบเทียบกัน
• สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)
• มองภาพใหญ่ โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึดติดกับผลการวิเคราะห์
• ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากรอบข้าง

...
  
ผู้นำกับการจัดการ
Leadership vs. Management
Tuesday, 28 July 2009 00:02
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง การจัดการ และ ความเป็นผู้นำ?

นี้เป็นคำถามที่ถูกถามอย่างมากในหลายต่อหลายครั้ง และเป็นคำถามที่มีคำตอบในหลายๆทาง ความแตกต่างที่มากที่สุดระหว่าง การจัดการ และ ความเป็นผู้นำ คือวิธีการที่เราใช้ในการกระตุ้นหนุนใจคนที่ทำงานให้กับเขา และการกระตุ้นนี้เป็นเหตุให้คนพูดถึงสิ่งต่างที่เขาได้ทำ

คนจำนวนมากต้องเป็นทั้งผู้จัดการ และเป็นผู้นำ พวกเขาจัดการกับการงานสิ่งต่างๆ แต่พวกเขาได้ตระหนักสิ่งหนึ่งที่เขาไม่สามารถซื้อใจคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีความคิดเห็นที่ต่างกัน

ผู้จัดการมีลูกน้องโดยคำจำกัดความ ผู้จัดการคือคนที่มีลูกน้อง ยกเว้นคนที่ได้รับเกียรติให้เป็นผู้จัดการโดยตำแหน่ง ในกรณีนี้ตำแหน่งมักจะไม่มีอิทธิพลอย่างแท้จริงและอำนาจหน้าที่จะมีไม่มากเหมือนกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับตามตำแห่นงโดยปกติ

อำนาจในการสั่งการของผู้จัดการ
ผู้จัดการตำแหน่งที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่จากบริษัท และพวกลูกน้องของเขาจะทำงานให้กับเขามากเท่ากับที่เขาได้บอกให้กระทำ พวกลูกน้องทำงานให้แก่ผู้จัดการไม่เพราะพวกเขาเป็นหุ่นยนต์ แต่เพราะพวกเขาได้รับค่าตอบแทน (หรือได้รับค่าแรง) ในการทำงาน

จดจ่อที่งาน
ผู้จัดการได้รับการจ้างเพื่อทำงานให้สำเร็จ (เป็นลูกจ้างแบบหนึ่งด้วย) บ่อยครั้งที่มีเงื่อนไขของเวลาที่จำกัดมาเกี่ยวข้องด้วยพร้อมกับเงื่อนไขของค่าจ้าง โดยธรรมชาติแล้วพวกเขาจะส่งงานต่างๆให้กับลูกน้องของเขาเป็นผู้กระทำ

แสวงหาความสะดวกสบาย
มีผลการวิจัยที่น่าสนใจได้พบว่า พวกผู้จัดการมีแนวโน้มที่มาจากกลุ่มที่รักความสะดวกสบาย พวกเขามักหลบเลี่ยงความเสี่ยงและการเผชิญหน้ามากเท่าที่เขาจะทำได้ ในการเปรียบเทียบแล้วพวกเขาเป็นเหมือนพวกที่ชองแล่นเรือสำราญ


ผู้นำจะมีผู้ตาม

ผู้นำจะไม่มีลูกน้อง อย่างน้อยเมื่อพวกเขากำลังนำทีมงาน ในหลายๆหน่วยงานผู้นำจะมีลูกทีมของตนด้วย ไม่เพียงเพราะว่าเขามีตำแหน่งเป็นผู้จัดการ แต่เพราะเมื่อเขามีความสามารถในการนำทีมงาน การนำในแบบนี้จะไม่ขึ้นกับรูปแบบที่กำหนดตามตำแหน่งหน้าที่ แต่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกทีมหรืออาสาสมัคร เขานำทีมโดยมีคนยอมเป็นผู้ตาม

คาริสเมติก(Charismatic) และรูปแบบบริหารสู่การเปลี่ยนแปลง (transformational)
การบอกหรือสั่งให้คนทำงานไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจในการติดตามคุณ แต่คุณต้องขอร้องพวกเขา แสดงถึงความต้องการให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของคุณแล้วคุณจะได้หัวใจของเขา พวกเขาจะมีความต้องการที่จะติดตามคุณอย่างเพียงพอที่จะหยุดสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ และบางครั้งอาจจะเดินไปสู่ที่อันตรายโดยไม่คิดถึงความเสี่ยงภัย

ผู้นำที่มี charisma สูงจะพบว่าเป็นสิ่งง่ายในการดึงดูดผู้คนในเข้าหา ในโดยการพวกเขายอมติดตามผู้นำแบบนี้มักก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เป็นประโยชน์ในตัวเขา พวกเขาไม่เพียงได้รับค่าเหนื่อยเป็นการตอบแทนเท่านั้นแต่จะได้รับบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้เขากลายเป็นคนที่ดีขึ้นด้วย

จดจ่อที่คน

ถึงแม้ว่าผู้นำจำนวนมากมายมีคาริสเมติก (charismatic) ที่มักแสดงออกมา แต่สิ่งนี้ไม่จำเป็นจะต้องถูกพูดออกจากปาก พวกเขาจะทำดีกับคนอื่นและยอมเงียบเพื่อให้คนอื่นได้รับการยกย่องการชมเชย (และยอมรับคำตำหนิต่างๆไว้กับตัว) สิ่งนี้จะมีผลอย่างมากการสร้างความจงรักภักดีที่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะได้รับ

ถึงแม้ว่าปู้นำจะทำดีต่อคนอื่นก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาเป็นมิตรกับคนนั้น เพื่อที่จะต้องสร้างบรรยากาศของการนำ ในบ่อยครั้งที่พวกเขาสร้างระยะห่างขนาดหนึ่ง

การจดจ่อที่คนไม่ได้หมายความว่าผู้นำไม่ได้ให้ความสนใจต่อภาระหน้าที่ ตามจริงแล้วพวกเขามักจะเน้นในการทำภาระกิจให้สำเร็จอย่างสูง สิ่งที่พวกเขาตระหนักถึงก็คือการให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นผู้อื่นให้ทำงานโดยมุ่งไปสู่นิมิตรของพวกเขา

กระโดดเข้าหาความเสี่ยง
ในการศึกษาอันเดียวกันที่พบว่าผู้จัดการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ในทางตรงกันข้ามพบว่าผู้นำมีกระโดดเข้าหาความเสี่ยง เมื่อพวกเขาพุ่งตรงไปยังนิมิตร พวกเขาจะพิจารณาในการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่อยู่ระหว่างทาง พวกเขาไม่รู้สึกวิตกที่จะพบกับความเสี่ยงและเขามักจะพบกับทางที่คนอื่นๆพยายามหลีกเลี่ยงว่าเป็นโอกาสที่เปิดให้ และจะมีความสุขเมื่อทำงานได้สำเร็จ

มีตัวเลขที่น่าประหลาดใจที่พบว่าคนที่เป็นผู้นำมักจะมีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติหรือพิการในตัวของเขาที่ต้องการเอาชนะหรือขจัดออกไป บางคนมีความเจ็บป่วยในวัยเด็ก บางคนมีความผิดปกติบางอย่างเช่นด้านการฟัง, ตัวเตี้ยกว่ามาตรฐานเป็นต้น สิ่งเหล่านี้บางที่เป็นตัวสอนให้พวกเขามีจิตใจที่เข้มแข็งไม่ย่อถ้อต่ออุปสรรค และไม่สนใจต่อความคิดของผู้อื่น

บทสรุปตารางด้านล่างเป็นข้อสรุปของความเป็นผู้จัดการและความเป็นผู้นำ สำหรับบางคนสามารถเป็นผู้จัดการและเป็นผู้นำได้ในเวลาเดียวกัน และได้แสดงถึงพฤติกรรมร่วม


Subject
Leader
Manager

Essence
เปลี่ยน
ความมั่นคง

ความจดจ่อ
การนำคน
การจัดการงาน

สิ่งที่มี
ผู้ยอมติดตาม
ผู้ใต้บังคับบัญชา

ช่วงเวลา
ระยะยาว
ระยะสั้น

มุ่งสู่
นิมิตร
เป้าหมาย

การดำเนินการ
กำหนดทิศทาง
วางแผนอย่างละเอียด

การตัดสินใจ
ทำให้เกิดประโยชน์
ทำให้เสร็จ

อำนาจ
อิทธิพลเหนือคนอื่น (Chrisma)
อำนาจตามหน้าที่

คำนึงถึง
จิตใจความรู้สึก
เหตุผล

พลังงาน
ความปราถนา
อำนาจการควบคุม

การทำงาน
Proactive
Reactive

การชักชวน
หว่านล้อม
บอก/สั่ง

รูปแบบ
Transformational
Transactional

ข้อแลกเปลี่ยน
ความตื่นเต้นกับงาน
ค่าจ้าง

ความชอบ
Striving
Action

ความต้องการ
Achievement
Results

Risk
Takes
Minimizes

กฎเกณฑ์
อยู่นอกกฏ
ชอบตั้งกฏ

ความขัดแย้ง
ใช้เป็นประโยชน์
หลบหลีก

ทิศทาง
New roads
Existing roads

Truth
Seeks
Establishes

Concern
What is right
Being right

Credit
Gives
Takes

Blame
Takes
Blames





...
  
7 วิธีคิดอย่างคนเก่ง
7 วิธีคิดอย่างคนเก่ง
Tuesday, 14 July 2009 02:18
คนจะเก่งได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีพรแสวงด้วย คือหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม หมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง สิ่งเหล่านี้แหละที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนเก่งด้านการปฎิบัติ การฝึกฝนทุกคนคงจะพอทำกันได้ แต่ในด้านความคิดล่ะ คนเก่งเขาคิดกันอย่างไร แล้วคิดอย่างไรถึงจะเป็นคนเก่งมาลองดู 7 วิธีนี้ดู เราว่ามันให้อะไรมากกว่าการเป็นคนเก่งอีกนะ



1. คิดในทางมองโลกในแง่ดี
และทำทุกสิ่งอย่างเต็มกำลังด้วยรอยยิ้มและความเบิกบาน ทำตัวให้สดชื่นมีชีวิตชีวาและกระตือรือร้นอยู่เสมอ พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามา ได้อย่างอยู่มือ



2. มีศรัทธาในตัวเอง
ถ้าแม้แต่คุณเองยังไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวเอง แล้วจะมีมนุษย์หน้าไหนล่ะ จะเชื่อมั่นในความเก่งของคุณ อยากให้ใครๆ เขาชื่นชอบ และทึ่งในตัวคุณ คุณก็ต้องมั่นใจในตัวคุณก่อน

3. ขอท้าคว้าฝัน
ไม่มีอะไรที่จะทรงพลังมากเท่ากับความตั้งใจจริงและทุ่มสุดตัว จะเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้คุณสานฝันสู่ความจริงได้


4. ค้นหาบุคคลต้นแบบ
ใครก็ได้ที่คุณชื่นชมเพื่อเป็นมาตรฐานที่ดีในการดำเนินรอยตาม ศึกษาแนวคิด วิธีการทำงาน จุดเด่นในตัวเขา แล้วอาจนำมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตได้บ้าง


5. เริ่มต้นงานใหม่ทุกวันด้วยรอยยิ้มสดใส
คนที่มีรอยยิ้มระบายไว้บนใบหน้า เสมือนประตูที่เปิดกว้าง ให้ใคร ๆ อยากเข้ามาคบหาด้วย การเจรจา ติดต่องานก็มักจะลงเอยด้วยความสำเร็จ


6. เรียนรู้จากความผิดพลาด
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง จะเป็นอะไรเชียวถ้าเราจะทำอะไร แล้วจะยังไม่สำเร็จอย่างที่หวังไว้ เพียงแต่ขอให้ทำเต็มที่ และเปิดใจให้กว้าง ยอมรับความจริง หันมาทบทวนดูว่ามีขั้นตอนไหนที่ผิดพลาดไป เพื่อที่จะเริ่มต้นใหม่ให้ดีกว่าเดิม


7. ทนุถนอมมิตรสัมพันธ์เก่าๆ
คงไม่มีใครที่จะอยู่อย่างมีความสุขโดยปราศจากเพื่อนหรือมิตรที่รู้ใจหรอกนะ แม้ว่าชีวิตของคุณในแต่ละวันจะวุ่นวายแค่ไหนก็ตาม คุณควรจะมีเวลาให้กับเพื่อนซี้ที่รู้จักมักจี่กันมานานซะบ้าง แวะไปหากัน เมื่อโอกาสอำนวย ชวนกันออกมาทานข้าวในช่วงวันหยุด ส่งการ์ดปีใหม่ หรือร่อนการ์ดวันเกิดไปให้ เผื่อในยามที่คุณเปล่าเปลี่ยวหงอยเหงา เศร้าทุกข์ใจ ก็ยังมีเพื่อนซี้ไว้ พึ่งพาและให้กำลังใจกันได้นะ


นอกจากนี้ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ยังสร้างความเบิกบานและคลายทุกข์ แถมยังเป็นยาอายุวัฒนะชั้นดีอีกด้วย


ที่มา : http://guru.sanook.com/pedia/topic/7 วิธีคิดอย่างคนเก่ง/


...
  
5 วิธีทำงานรวมกับคนที่ไม่ชอบหน้า
1. ห้ามปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมายเด็ดขาด หากไม่เหลือบ่ากว่าแรง

เพราะการปฏิเสธงานตั้งแต่ได้รับมอบหมาย แสดงให้เห็นว่า
เริ่มต้นคุณก็ไม่เคารพในการตัดสินใจของผู้ที่มอบหมายงานเสียแล้ว เพราะในฐานะผู้ที่มอบหมาย
งานให้ แสดงว่าเขาย่อมมีขอบเขตและอำนาจในการมอบหมายหรือสั่งให้คุณไปทำ
ไม่ว่าจะเป็นในฐานะหัวหน้า หรือวัยวุฒิที่มากกว่า

2. ให้ตัดอคติและความไม่ชอบส่วนตัวออกไป
เมื่อรับงานมาแล้วคำนึงถึงผลของงานที่จะออกเป็นหลัก ให้บอกกับตัวเองเสมอว่า ในโลกใบนี้
ไม่ว่าจะเป็นแวดวงบันเทิง แวดวงกีฬาหรือแวดลงธุรกิจ คนที่มีความเป็นมืออาชีพมากพอ เขา
สามารถทำงานร่วมกับใครก็ได้ เพราะฉะนั้นสามารถสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับตัวเองให้ได้
ด้วยการแบ่งความรู้สึก แยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง

3. บอกกับผู้ร่วมงานก่อนลงมือทำงาน (คนที่คุณไม่ชอบขี้หน้านั่นแหละ)ว่า
ถ้าคุณมีความคิดเห็นหรือมีข้อเสนอแนะในงานอย่างไรเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร
สามารถพูดได้ทุกเรื่องเพราะผม (หรือดิฉัน)ถือว่าเราสองคนร่วมมือกันทำงานนี้
ก็เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุดซึ่งนั่นก็หมายถึงศักยภาพของคุณและเขานั่นเอง

4. ใช้วิธีเอาน้ำเย็นเข้าลูบถ้าเกิดปัญหา
กรณีที่ทำงานด้วยกันแล้วมีข้อผิดพลาดหรือเกิดปัญหา เช่น งานชิ้นนั้นไม่สามารถหาบทสรุปที่ลง
ตัวของทั้งสองฝ่ายได้ ให้ใช้วิธีเอาน้ำเย็นเข้าลูบค่อยคิดและหาเหตุผลท่องไว้ในใจ ห้ามใจร้อน
ผลีผลาม อย่าให้การแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน เป็นชนวนต้นเหตุให้คุณกับเขาไม่ชอบขี้หน้า
(กันมากขึ้นอีกหนึ่งเรื่อง) อย่าด่วนวีนแตกเป็นอันขาดเพราะนอกจากงานจะไม่สำเร็จ งานนั้นๆ
อาจจะพังตั้งแต่ยังไปไม่ถึงครึ่งทาง

5. ให้มองในแง่ดี

ถ้าไม่ใช่คนที่โกรธแค้นกันมาแต่ชาติปางก่อน การได้มีโอกาสทำงานร่วมกันก็เหมือนกับเป็น
โอกาสที่คุณจะได้ปรับความเข้าใจเพราะการมีเพื่อนย่อมดีกว่าศัตรู คนเราเกิดมามีทั้งคนที่เราชอบ
และคนที่เราไม่ชอบ เพราะฉะนั้น ถ้ามีโอกาสควรปรับความเข้าใจเสีย
ยิ่งถ้าเป็นคนที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน ต้องอยู่ด้วยกันทุกวัน วันละ 8ชั่วโมง
ถ้ายังเป็นคนไม่ชอบหน้ากันงานก็ไปไม่รอด…ที่สำคัญคนเป็นนายคงไม่ปลื้มแน่นอน


ที่มา นิตยสารบันทึกคุณแม่

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=02-2009&date=09&group=27&gblog=44
...
  
เรื่องของ “อาวุธ” กับเรื่องของ “กลยุทธ์” เป็นของคู่กัน
เรื่องของ “อาวุธ” กับเรื่องของ “กลยุทธ์” เป็นของคู่กัน ถ้ามีอาวุธ แต่ปราศจาก กลยุทธ์ อาวุธที่มีนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว บ่อยครั้งอาวุธที่มีมากมายเกินไป ยังมักพลาดพลั้งทำลายตัวเอง!








อาวุธในที่นี้ มีหลายความหมาย แต่วันนี้อาวุธที่จะเน้นก็คือ เครื่องมือทางการตลาด เครื่องมือทางการขาย เครื่องมือทางการบริการ และเน้นเป็นพิเศษก็คือ…Call Center และ Tele-Sales ไปจนถึง PC พนักงานขาย ณ จุดขาย เหตุผลหลักที่เน้น 3 เครื่องมือนี้เป็นอันดับแรกก็เพราะมีองค์กรจำนวนมากที่มีเครื่องมือทั้ง 3 อย่างนี้ครบครัน แต่ใช้อาวุธ โดยปราศจาก กลยุทธ์







…Call Center







...Tele-Sales








...PC



ตัวอย่างเช่น มีหน่วยงาน Call Center เพื่อให้ลูกค้าโทรเข้าไปติดต่อ สอบถาม ตามเรื่องต่างๆ มีหน่วยงาน Tele-Sales ทำหน้าที่โทรติดต่อลูกค้ามีทีมงาน PC ที่ทำหน้าที่ขาย ณ จุดขายตามสาขา หรือพื้นที่ขายตามห้างต่างๆ

เรื่องที่น่าทึ่งก็คือ ทั้ง 3 หน่วยงาน ต่างก็ทำหน้าที่ ที่ตั้ง “แตกต่าง จนสับสน” และ “ซับซ้อน จนวุ่นวาย” ทั้งที่ทั้ง 3 หน่วยงานต่างก็มีภารกิจเดียวกันคือ สร้างยอดขายจากลูกค้า และสร้างความพึงพอใจ แต่ผลที่ได้ตรงข้าม

ตัวอย่างเช่น ลูกค้าใหม่โทรเข้าไปสอบถามข้อมูล กับทาง Call Center พนักงานก็ให้ข้อมูลไป แล้วก็จบกันไปแบบไม่มีอะไรน่าสนใจ และลูกค้ารายนี้วันดีคืนดีก็จะได้รับการติดต่อจากทีม Tele-Sales เพื่อโทรมาเสนอสินค้า-บริการ และลูกค้ารายเดียวกันนี้ ก็มีโอกาสที่จะแวะเข้าไปถามรายละเอียดสินค้า-บริการกับ PC พนักงานขาย ณ จุดขาย ดูเผินๆ ไม่มีอะไรผิดปรกติ แต่ดูดีๆ ลูกค้ารายนี้ติดต่อครบทั้ง 3 ช่องทาง โดยที่ทั้ง 3 ช่องทางต่างคนต่างทำโดยไม่รู้ว่า “เคย” ติดต่อลูกค้ารายเดียวกัน!

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ความซ้ำซ้อนที่ปราศจากประสิทธิภาพของทั้ง 3 หน่วยงานที่มักจะสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับลูกค้าที่เป็นฝ่ายติดต่อ หรือ ได้รับการติดต่อ

แต่ถ้าใช้ อาวุธ อย่างมี กลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสนใจโทรไปสอบถามรายละเอียด สินค้า-บริการที่ Call Center…ถ้าเป็นมืออาชีพ Call Center จะทำหน้าที่ให้บริการและปิดการขาย แต่ถ้าลูกค้ายังไม่ตัดสินใจใช้บริการ ฝ่าย Call Center จะประสาน “ส่งต่อ” ให้ทีม Tele-Sales โทร ติดตามลูกค้ารายนี้ในโอกาสต่อไป เพื่อปิดการขาย หรือเชิญลูกค้ามาสัมผัสประสบการณ์ สินค้าและการให้บริการกับ PC ณ จุดขาย !

การประสาน อาวุธทั้ง 3 ช่องทางอย่างมีประสิทธิภาพ กับลูกค้าแต่ละราย สามารถใช้ทั้ง 3 เครื่องมือ หรือ ใช้เพียง Call Center ประสานเชื่อมโยงกับ PC ณ จุดขาย ก็จะสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดี และมีโอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจใช้บริการหรือซื้อสินค้า

จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็น หน่วยงาน Call Center หรือ ทีมงาน Tele-Sales และทีม PC ณ จุดขาย ทั้ง 3 ส่วนแม้ใช้เพียงช่องทางเดียวก็ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูง ถ้าใช้เป็น และถ้าสามารถ ผสมผสานทั้ง 3 ช่องทางให้บริหาร “ลูกค้าเก่า” และ “ลูกค้าใหม่” ได้ ก็เท่ากับเป็นการใช้ “อาวุธ” อย่างมี “กลยุทธ์”

เรื่องที่น่าเศร้าก็คือ ทั้ง 3 หน่วยงานในเกือบทุกองค์กรที่มีในทุกวันนี้กลับใช้อาวุธทั้ง 3 อย่างในการทำลายโอกาสและทำลายลูกค้า…น่าเสียดาย


--------------------------------------------------------------------------------
...
  
การจัดการกับความขัดแย้ง
การจัดการกับความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเป็นเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดตามมา(Arnold and Fledman : อ้างถึงใน แก้ววิบูลย์ แสงพลสิทธ์,2534 : 35 ) ได้กล่าวว่า ผลของความขัดแย้งนั้นสามารถจะเป็นไปได้ทั้งประโยชน์และผลเสียต่องค์การ การจัดการกับความขัดแย้งจึงควรเป็นไปในทางที่จะทำให้ได้ผลตามมา เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด โดยปราศจากการเป็นศัตรูกันของกลุ่มที่ขัดแย้งและพฤติกรรมการทำลาย

การที่จะจัดการกับความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยทักษะในการบริหาร และต้องมีการวินิจฉัย ความขัดแย้งได้ถูกต้อง ผู้ที่จัดการกับความขัดแย้ง ต้องมีศิลปะในการจูงใจคน ต้องมีความใจเย็น และความ อดทนเพียงพอ ความสามารถในการตัดสินใจ จินตนา ยูนิพันธ์ (อ้างถึงใน แก้ววิบูลย์ แสงพลสิทธิ์ ,2534)ได้ให้ความคิดเห็นไว้ดังนี้

ผู้ที่จัดการกับความขัดแย้งได้ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและต้องประเมินตนเองก่อนว่าจะลงมือจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร

Kenneth Thomas ได้พัฒนารูปแบบ 2 มิติของเทคนิคการจัดการกับความขัดแย้ง(อ้างถึงใน ทองหล่อ เดชไชย ,2540 :264-265) ที่สะท้อนถึงความกังวลเป็นห่วงเป็นใยในผลประโยชน์ทั้งฝ่ายตนเองและคู่กรณีซึ่งมีกลยุทธ์ที่จะเป็นไปได้ ดังนี้ คือ

1.ถ้าความกังวลหรือความสนใจในผลลัพธ์ของทั้งตนเองและคู่กรณีต่ำ กลยุทธ์ที่มีความเป็นไปได้สูงคือการหลีกเลี่ยง (Avoidance Strategy)

2. ถ้ามีความกังวลหรือสนใจต่อผลลัพธ์ต่อตนเองสูง แต่ไม่สนใจในผลลัพธ์ของคู่กรณีกลยุทธ์ที่ใช้ คือ การบังคับหรือกดดัน

3. ถ้าความกังวล หรือความสนใจในผลลัพธ์ต่อตนเองต่ำ แต่กังวลและสนใจผลลัพธ์ต่อคนอื่นสูง กลยุทธ์ที่นำมาใช้คือ ความปรองดอง (Accommodation) หรือการยินยอม

4.ถ้าความกังวลหรือความสนใจสูงทั้งต่อผู้ผลลัพธ์ของตนเองและคู่กรณี กลยุทธ์ที่เหมาะสมก็คือ ความร่วมมือ(Collaborative)

5. ถ้าความกังวลหรือความสนใจต่อผลลัพธ์ทั้งต่อตนเองและในคู่กรณีอยู่ในระดับปานกลางคือ ไม่สูง ไม่ต่ำ กลยุทธ์ที่เหมาะสม คือ การประนีประนอม (Compromise)

ทองหล่อ เดชไชย (2540)ได้อธิบายว่าในการจัดการกับความขัดแย้งนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารหรือหัวหน้าที่จะต้องทราบและเข้าใจทั้งสาเหตุและวิธีการจัดการ ซึ่งอาจจะพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1.ให้ความสนใจกับประเภทต่างของความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ภายในบุคคลความขัดแย้งภายในหน่วยงาน ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มงาน ความขัดแย้งขององค์การ จะได้ทราบความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเสมอ

2.การติดต่อสื่อสารที่ชัดเจนต่อเนื่อง(Atriculate Communication) ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องพยายามหาวิธีการจัดการที่จะช่วยให้มีการติดต่อสื่อสารกันขึ้นมาใหม่ เน้นการติดต่อสื่อสารที่เป็นประเด็นปัญหาสำคัญและอยู่บนพื้นฐานแห่งความถูกต้องและเป็นจริง

3.การสร้างเป้าประสงค์ หรือค่านิยมร่วม (Build a superodinate Gold)ในบางครั้ง ต้องพยายามทำให้เกิดความรวมตัวกันหรือมีค่านิยมหรือเป้าประสงค์ของบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งและเป้าประสงค์หลักของอค์การ เพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์การในอนาคต ซึ่งวิธีการได้มาซึ่งเป้าประสงค์หลักหรือค่านิยมร่วมนั้นจะมาจากการที่บุคคลมีส่วนร่วมในการกำหนดขึ้น โดยมีการยอมรับและความพึงพอใจเป็นที่ตั้ง

4.พิจารณาธรรมชาติของความเป็นอิสระซึ่งกันและกัน(Examine the nature of Independence) ผู้บริหารต้องพยายามเปลี่ยนลักษณะความเป็นอิสระที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกัน เพราะการยอมรับในเป้าประสงค์หรือค่านิยมร่วมของบุคคลและการส่งเสริมสนับสนุนนั้นมักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าทั้งสองสิ่งนี้เกิดการแยกกันก็จะเกิดเป็นแนวโน้มการเกิดความขัดแย้ง

5.ต้องพร้อมที่จะเสี่ยง(Take Risk) ขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ความขัดแย้งให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันก็คือ ต้องเสี่ยงต่อความสูญเสียหรือความผิดหวัง ดังนั้นต้องเตรียมบุคคลให้เกิดความรู้สึกมั่นใจ และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานด้วย โดยเฉพาะบุคคลที่มีความอ่อนไหวและไม่มีความมั่นใจในตัวเองจำเป็นจะต้องใช้วิธีการที่แยบยล ซึ่งก็คือการทำให้เกิดการยอมรับนับถือซึ่งกันและกันในความพยายามเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งมั่นคงให้แก่ผู้ที่มีความอ่อนไหว และอ่อนแอกว่า

6.แสดงความมีอำนาจ (Demonstrate Power) เพื่อการยุติการเอาเปรียบซึ่งกันและกันบริหารต้องพยายามหาทางป้องกันสิ่งเหล่านั้น ด้วยการใช้กำลังอำนาจที่มีอยู่

7.ต้องจำกัดขอบเขตในสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว(Confine to fail accompli) เมื่อกลุ่มที่มีความขัดแย้งยอมรับสถานการณ์ที่เขาสามารถอยู่ร่วมกันได้แล้ว ความรู้สึกแห่งความร่วมมือก็จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเริ่ม รู้สึกพึงพอใจซึ่งกันและกัน การจำกัดขอบเขตร่วมกันจะช่วยในการพัฒนาการติดต่อสื่อสารและความเข้าใจที่
ดี ยอมรับซึ่งกันและกันลดอคติต่างๆ สาเหตุแห่งความขัดแย้งก็จะลดลง

8.การสร้างความเชื่อมั่นร่วมกัน(Build Mutual Trust) แต่ละคนต้องแลกเปลี่ยนความเชื่อและความ คิดเห็น เปิดใจซึ่งกันและกัน พร้อมที่ให้และรับแนวคิดต่างๆอย่างจริงใจ

9.ความสมดุลถูกต้องในการจูงใจ(Legitimize complex Motivation) เนื่องจากบุคคลแต่ละคนมี ความต้องการและการจูงใจที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งเมื่อการจูงใจของกลุ่มสองกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

10.การสร้างความเห็นอกเห็นใจ (Build Empathy) ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งนั้นแต่ละกลุ่มจะตระหนักถึงเป้าประสงค์ ความสนใจและความรู้สึกสำหรับกลุ่มตนเอง น้อยครั้งที่กลุ่มอื่นจะเข้าใจด้วย ดังนั้นต้องให้แต่ละคนสามารถที่จะคิดเข้าใจความต้องการของผู้อื่นก็จะสามารถลดความขัดแย้งได้ ...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.