หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
  -  โค้ช สิริลักษณ์ ตันศิริ
  -  สิริลักษณ์
  -  ดร.อภิชาติ ดำดี
  -  อ.สมชาย หนองฮี
  -  รัชเขต วีสเพ็ญ
  -  รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล
  -  อ.จตุพล ชมภูนิช
  -  อาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
  -  นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
  -  ศุภกิจ รุ่งโรจน์'
  -  ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ต้นตำรับนักพูดเมืองไทย...
  -  ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร
  -  อาจารย์พะเยาว์ พัฒนพงศ์
  -  พระมหาสมปอง
  -  พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
  -  พระพยอม กัลยาโณ
  -  หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
  -  หลวงพ่อพุทธทาส
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : ประวัติอาจารย์นักพูด
ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ต้นตำรับนักพูดเมืองไทย...
ปากเป็นเอก
เลขเป็นโท
หนังสือเป็นตรี
ชั่วดีเป็นตรา

ข้อความที่ผมยกมากล่าวข้างต้นนี้ เป็นสุภาษิตโบราณของสังคมไทย ที่ให้การยกย่องการพูดว่าเป็นสิ่งสำคัญกว่าอะไรทั้งหมดของคนเรา
แม้กวีเอกท่านสุนทรภู่ก็ยังเขียนถึงความสำคัญเกี่ยวกับการพูดไว้ ในงานเขียนของท่านหลายแห่ง อาทิ นิราศเรื่องหนึ่งท่านกล่าวว่า "ถึงบางพูด พูดดีเป็นศรีศักดิ์" เป็นต้น แม้ในปัจจุบันนี้การพูดก็ยังมีบทบาทเป็นอย่างมาก สำหรับบางอาชีพเช่น นักการเมือง เพราะถ้านักการเมืองพูดไม่เป็นก็อันตรายอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าในอาชีพ

วันนี้ผมจะมาเขียนถึงบุคคลท่านหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นต้นตำรับของนักพูดในเมืองไทย ท่านคือ




ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์


ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ วันนี้อายุ 63 ปี เขาเกิดวันที่ 19 มกราคม 2487 เป็นคนอำเภอนครชัยศรี นครปฐม

ชีวิตของเขาที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับการทำงานด้านการพูดอย่างแยกไม่ออก ทั้งๆที่เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

เขาอาจจะเป็นคนไทยคนแรกที่ไปศึกษาเกี่ยวกับการพูดและด้านมนุษยสัมพันธ์ที่สถาบันเดล คาเนกี้ กลับมาเมืองไทยก็จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่ชุมชน และยังดำเนินกิจการมาจนถึงวันนี้ มีผู้สำเร็จการฝึกอบรมไปแล้วกว่าหมื่นคน จากหลากหลายสาขาอาชีพ




บนเส้นทางของนักพูดอาชีพของเขามิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เขาต้องพยายามพิสูจน์ให้สังคมยอมรับว่า การพูดเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถหาความก้าวหน้ายึดเป็นอาชีพที่ทำรายได้อย่างงดงาม จนมีนักพูดรุ่นหลังแจ้งเกิดตามมาอีกจำนวนไม่น้อย ผมขออนุญาตเอ่ยนามเช่น จตุพล ชมภูนิช เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ถาวร โชติชื่น พนม ปีย์สุวรรณ ฯลฯ เป็นต้น

ทินวัฒน์ ยังเป็นคนแรกในวงการนักพูดเมืองไทย ที่สามารถจัดทอล์คโชว์เดี่ยวที่มีผู้คนติดตามชมอย่างล้นหลามทุกรอบ ทอล์คโชว์ชุดนี้มีชื่อว่า "สาระแห่งชีวิต" และต่อมายังจัดทำเป็นเทปบันทึกเสียงจำหน่ายให้กับผู้ที่ไม่สามารถเข้าชมได้ จำนวน 4 ชุด










หลังจากที่ประสบความสำเร็จเป็นนักพูดระดับชาติแล้ว ทินวัฒน์ ยังมีความสามารถในการเขียนหนังสือได้อย่างดี จน นสพ.มติชน เชิญให้เป็นนักเขียนคอลัมน์ประจำในนามว่า "พูดได้ พูดเป็น" และต่อมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือขนาดพ็อคเก็ตบุ๊ค วางจำหน่ายทั่วไป



ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล พูดถึงทินวัฒน์ว่า......

"ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ไม่ใช่นักพูดธรรมดา เพราะเป็นนักพูดที่รู้จักพูด รู้จักหยุด และรู้จักเขียน เมื่อพูดก็ได้ความสุนทรีย์ เมื่อเขียนก็ได้ความงดงาม หนังสือ พูดได้ พูดเป็น อยุ่ในความทรงจำของผู้อ่านมานานหลายปี และจะอยู่ยืนยงต่อไปเกินอายุของคนอ่าน เพราะคนเราเกิดมาพูดได้กันทุกคนแต่การจะพูดเป็นนั้น เพราะในประเทศไทยนั้นมี ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ คนเดียวเท่านั้นที่ทั้งพูดได้ พูดเป็น หยุดพูดเป็น และ เขียนเป็น"

ทินวัฒน์ ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง และดูเหมือนเขาจะประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และยังก้าวสู่ตำแหน่ง รมช.กระทรวงสาธารณสุข

แต่เหมือนเขาจะก้าวพลาดไปไม่ถึงดวงดาวทางการเมือง ในกรณีที่เขาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องการยุติสงครามในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่งผลให้เขาต้องจบบทบาททางการเมืองไปอย่างน่าเสียดาย.....
สุภาษิตโบราณของไทยเรามีอยู่บทหนึ่งว่า "หมองู ตายเพราะงู" ทินวัฒน์ ก็เช่นกัน เขาตายเพราะคำพูดเพียงไม่กี่คำเท่านั้น.....

แต่วันนี้ผู้คนก็ยังไม่ลืมเขา ...ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ต้นตำรับนักพูดเมืองไทย...

...
  
ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร
" เสียชีวิตด้วยโรคชรา สิริอายุ 78 ปี

กรุงเทพฯ 19 พ.ค. 2552 - ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) คนที่ 2 เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา ด้วยโรคชรา สิริอายุ 78 ปี ตั้งศพ ณ ศาลา 3 วัดธาตุทอง กำหนดพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ วันนี้ (19 พ.ค. 2552) เวลา 15.00 น.

สำหรับประวัติ ศ.ดร.นิพนธ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2474 ที่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ด้านการศึกษาจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ 1 ของรุ่น 3 ปริญญาตรีนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากโรงเรียนการทูตเฟลทเชอร์ มหาวิทยาลัยทัฟท์ ปริญญาโท-เอก รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐ ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา ที่ AUTONOMNUS UNIVERSITY OF GUUNDALUJARO สาธารณรัฐเม็กซิโก ปี 2530 รับราชการเริ่มตั้งแต่อาจารย์โท และเติบโตด้านหน้าที่ เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี มศว 2 สมัย ลาออกจากราชการปี 2518 สมัครเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.ราชบุรี ตำแหน่งด้านการเมือง เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย.

...
  
อาจารย์พะเยาว์ พัฒนพงศ์
การศึกษา
ปริญญาโท ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (Thai studies) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยครูสวนสุนันทา กรมการฝึกหัดครู
วุฒิบัตร ศิลปะการพูดขั้นสูง สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
[แก้] เกียรติคุณ
นักพูดเข็มทองฝังเพชร ผู้มีสาระยอดเยี่ยม จากมติมหาชน
นักพูดดีเด่น ของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ
ผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
บุคคลผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย คณะกรรมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
สตรีผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมที่ควรยกย่อง โรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน “โรงเรียนประสาทศิลป์”
ศิษย์เก่าดีเด่นสาขาอาชีพอิสระ นักพูด โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
ผู้ปกครองดีเด่น โรงเรียนสตรีวิทยา 2
แม่ดีเด่น เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2542 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
[แก้] ประสบการณ์
วิทยากรหลักสูตรนักบริการการแพทย์ และสาธารณสุขระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2529-2542
ผู้บรรยายวิชา การพูดในที่สาธารณะ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
ผู้บรรยายในการสัมมนา “ประชาคมเมือง” กรุงเทพมหานคร
วิทยากรการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ศิลปะการพูดที่มีคุณภาพ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
[แก้] ผู้บรรยายพิเศษ
คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ฯลฯ
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%8C_%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C".
หมวดหมู่: บทความเหมือนเรซูเม | พิธีกรไทย | นักพูด | บุคคลจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง | บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | บุคคลจากสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเครื่องมือส่วนตัว
คุณลักษณะใหม่ล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้เนมสเปซ
บทความอภิปรายสิ่งที่แตกต่างดู
เนื้อหาแก้ไขประวัติการกระทำ
สืบค้น

ป้ายบอกทาง
หน้าหลักเหตุการณ์ปัจจุบันถามคำถามบทความคัดสรรบทความคุณภาพสุ่มบทความมีส่วนร่วม
ศาลาประชาคมปรับปรุงล่าสุดเรียนรู้การใช้งานติดต่อวิกิพีเดียบริจาคให้วิกิพีเดียวิธีใช้พิมพ์/ส่งออก
สร้างหนังสือดาวน์โหลดในชื่อ PDFหน้าสำหรับพิมพ์
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มาปรับปรุงที่เกี่ยวโยงอัปโหลดหน้าพิเศษลิงก์ถาวรอ้างอิงบทความนี้หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 เวลา 13:03 น.
อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน; เงื่อนไขอื่นอาจใช้ประกอบด้วย โปรดศึกษาเงื่อนไขการใช้งาน
...
  
พระมหาสมปอง
ชื่อ พระมหาสมปอง (ใช้ในการกล่าวเวลาบรรยายธรรม) ฉายา ตาลปุตฺโต นามสกุล นครไธสง อายุ 32 พรรษา

ที่อยู่ปัจจุบัน
วัดสร้อยทอง (พระอารามหลวง) แขวงบางซื่อ
เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

การศึกษา
การศึกษา เปรียญธรรม ๗ ประโยค
ปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.) เอกปรัชญา
(เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปริญญาโท สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต (สส.ม.)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาโท พุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ม.)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รางวัลที่ได้รับ
- รางวัล“เสาเสมาธรรมจักรทองคำ” ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ ประจำปี ๒๕๕๑
จาก..สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- รางวัล “จำนง ทองประเสริฐ”
“ฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาพระพุทธศาสนา” ประจำปี ๒๕๕๑
- รางวัล“คนดีศรีแผ่นดิน” ประจำปี ๒๕๕๐ จากหนังสือพิมพ์สื่อสารธุรกิจ
และได้รับการยกย่องให้เป็น “50 ผู้ทรงอิทธิพล แห่งปี 2550”
จากนิตยสาร Positioning ฯลฯ


ผลงานผ่านสื่อ
ผลงานผ่านสื่อโทรทัศน์
พระวิทยากรประจำรายการ
- รายการ “หลวงพี่มาแล้ว” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ๐๙.๕๐ น. ช่อง ๓
- รายการ "ชุมชนนิมนต์ยิ้ม" ทุกวันศุกร์ ๑๘.๐๐ น. ช่อง ๓
และเป็นพระวิทยากรในรายการ
- “ธรรมะเดลิเวอรี่”
- “คุณพระช่วย”,“ตีสิบ”,“วีไอพี”,“เจาะใจ” “สยามทูเดย์” ฯลฯ
ผลงานต่างๆ ได้แก่
วีซีดี “ธรรมะเดลิเวอรี่” ,
หนังสือ"หลวงพี่มาแล้ว"
หนังสือ"ธรรมะฮาเฮ"
หนังสือ"เย็นเถิดโยม"
หนังสือ"ธรรมะเดลิเวอรี่ Talk24ชม.
หนังสือ “ธรรมะเดลิเวอรี่”
หนังสือ “ธรรมะเดลิเวอรี่ ฉบับอมยิ้มอิ่มใจ”
หนังสือ “สุขกันเถอะโยม”
หนังสือ “โยมเอ้ยสิบอกไห่?”
หนังสือ “หลงทางเสียเวลา เดินตามอาตมามีอนาคต(นะโยม)”
หนังสือ “ธรรมะเดลิเวอรี่ แฮบปี้ 24 ชั่วโมง” ฯลฯ


ประสบการณ์การทำงาน
- วิทยากรบรรยายข้าราชบริพารในสมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ
สยามกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์
พระวรชายาฯ ในสมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- วิทยากรบรรยายข้าราชบริพารในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
- หัวหน้าค่ายพุทธธรรมนำชีวิต “วัดสร้อยทอง”
- อนุกรรมการขจัดสื่อร้ายขยายสื่อดี กระทรวงพัฒนาสังคมฯ
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์
- ที่ปรึกษาชมรม ทูบี นัมเบอร์ วัน (บริษัทเวลลอย)
- วิทยากรบรรยายพิเศษ สถาบันการศึกษา
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ฯลฯ ...
  
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (บุญถึง)[1] หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ว.วชิรเมธี" เกิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516 บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ โดยมี พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยจำพรรษาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร[2]

ท่าน ว. วชิรเมธี เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียนพระพุทธศาสนารุ่น ใหม่ เป็นนักปฏิบัติธรรม และนักบรรยายธรรมที่ผลิตผลงานออกมาในรูปสื่อโทรทัศน์ และหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ การประพันธ์บทละครโทรทัศน์และหนังสือเรื่อง "ธรรมะติดปีก" และเพลงประกอบละครธรรมะมากมาย จนได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2550
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 การศึกษา
* 2 คุณค่าแห่งการงาน
* 3 ผลงานการประพันธ์
o 3.1 ผลงานหนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ ภาษาไทย
o 3.2 ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
* 4 จุดเริ่มต้นของ"ธรรมะอินเทรนด์"
* 5 อ้างอิง
* 6 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] การศึกษา

* พ.ศ. 2543 สอบไล่ได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
* พ.ศ. 2543 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
* พ.ศ. 2546 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

[แก้] คุณค่าแห่งการงาน

* อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
* อาจารย์พิเศษ สถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
* อาจารย์พิเศษและวิทยากรบรรยายตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

* วิทยากรบรรยายธรรมตามสถาบัน หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
* บรรณาธิการวารสารเบญจมบพิตรสัมพันธ์
* วิทยากรพิเศษบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนา สอนวิปัสสนากรรมฐานให้กับหน่วยงานของรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ โรงเรียน และมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนหลายแห่ง
* ประธานกลุ่มธรรมะการ์ตูน (ผลิตการ์ตูนแมนิเมชั่น ชุด “พุทธประวัติ” เพื่อทูลเกล้าในมงคลวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
* ผู้เขียนตำราหมวดวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
* กรรมการตรวจนักธรรม บาลี สนามหลวง
* เขียนบทความให้กับหนังสือพิมพ์ นิตยสารรายเดือน รายปักษ์ รายสัปดาห์ อาทิ เนชั่นสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ ชีวจิต ศักดิ์สิทธิ์ WE, HEALTH & CUISINE,Secret เป็นต้น
* เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย (Vimuttayalaya Institute) อันเป็นสถาบันที่ศึกษา วิจัย ภาวนา และเผยเเพร่ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก ภายใต้หลักการ "พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก"
* ท่านมีเว็บไซต์ www.dhammatoday.com เพื่อเป็นวัดออนไลน์ในโลกเสมือนจริงทางอินเตอร์เน็ต และสื่อทางอินเทอร์เน็ตมากมาย อาทิ Facebook,Twitter เป็นต้น
* เป็นวิทยากรรับเชิญหลายรายการ อาทิ ที่นี่หมอชิต(ช่อง 7),ธรรมะติดปีก(ทีวีไทย),Club7(ช่อง 7),ธรรมาภิวัฒน์(ASTV),การเดินทางของความคิด(96.5FM คลื่นความคิด)เป็นต้น

[แก้] ผลงานการประพันธ์
[แก้] ผลงานหนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ ภาษาไทย

* ดีเอ็นเอ ทางวิญญาณ
* ปรัชญาหน้ากุฏิ
* คิดอย่างเซ็น
* ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยมิลินทปัญหา
* ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา
* พระสงฆ์กับทางออกจากทุกขสัจของสังคม
* ครูกัลยาณมิตรของชีวิตดีงาม
* อารยมรรคา : มรรควิธีเพื่อชีวิตดีงาม
* พระพุทธคุณ 100 บาท
* กรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
* ในหลวงครองราชย์ พุทธทาสครองธรรม
* กำลังใจแด่ชีวิต
* ทุกข์กระทบ ธรรมกระเทือน
* ธรรมะติดปีก
* ธรรมะหลับสบาย
* ธรรมะดับร้อน
* ธรรมะบันดาล
* ธรรมะรับอรุณ
* ธรรมะราตรี
* ธรรมะทำไม
* ธรรมะเกร็ดแก้ว
* ธรรมะสบายใจ
* ธรรมะทอรัก
* ธรรมะงอกงาม
* ธรรมะน้ำเอก
* ธรรมะคลายใจ
* ธรรมะพารวย
* ธรรมะศักดิ์สิทธิ์
* คนสำราญงานสำเร็จ
* สบตากับความตาย
* เชิญตะวัน
* มหัศจรรย์แห่งชีวิต 7 หลักคิดจาก ว.วชิรเมธี
* ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง
* เรารักแม่
* หนังสือธรรมะชาล้นถ้วย
* ลายแทงแห่งความสุข
* มองลึก นึกไกล ใจกว้าง
* รู้ก่อนตาย ไม่เสียดายชาติเกิด
* เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโชค เปลี่ยนโรคให้เป็นครู
* งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์
* ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย
* Love Analysis 1&2
* เข็นธรรมะขึ้นภูเขา
* ตะเเกรงร่อนทอง
* ว่ายทวนน้ำ(เขียนร่วมกับพระไพศาล วิสาโล)
* ธรรมา ค้าขึ้น
* ธรรมาธิปไตย
* การเดินทางของความคิด(ร่วมกับ สรรเสริญ ปัญญาธิวงศ์,นิรุตติ์ ศิริจรรยา,อารียา ศิริโสดา)
* หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา มัธยมศึกษาปีที่ 1-6

[แก้] ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ

แปลโดยนพมาศ แววหงษ์

* Anger Management (ธรรมะหลับสบาย)
* Looking Death in the Eye (สบตากับความตาย)
* Love Management (ธรรมะทอรัก)
* Mind Management (ธรรมะสบายใจ)

[แก้] จุดเริ่มต้นของ"ธรรมะอินเทรนด์"

ในปีพ.ศ.2547ท่าน ว.วชิรเมธีได้ออกหนังสือธรรมะติดปีกมาสู่สายตาประชาชนแล้วปรากฎว่า ได้รับความนิยมมาก จึงได้มีผลงานทางธรรมะออกมาอีก 2 เล่มคือ ธรรมะหลับสบายและธรรมะดับร้อน'ซึ่งทั้งหมด ล้วนได้รับความนิยมเป็ยอย่างสูง จากกระแสความนิยมของหนังสือทั้ง 3 เล่ม จึงทำให้ช่อง 3นำเนื้อหาจากธรรมะติดปีกมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ จากจุดนี้เองทำให้เกิดกระแสที่ธรรมะกลับมานิยมกันอีกครั้งโดยส่วนมากเรียกว่าธรรมะอินเทรนด์ หรือ ธรรมะติดปีก
[แก้] อ้างอิง

1. ^ คู่มือการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี 2551
2. ^ การนิมนต์พระมหาวุฒิชัย จากเว็บบอร์ดวัดเบญจมบพิตร

ธรรมะติดปีก ว.วชิรเมธี หนังสือธรรมะอ่านง่ายเข้าใจง่าย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiquote-logo-th.png
วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ:
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

* ประวัติย่อ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จากเว็บไซด์ ทำดี.เน็ต
* ฟังเสียงธรรม ว.วชิรเมธี เว็บไซด์ทำดี.เน็ต
* สัมภาษณ์ : อินเทรนด์ อินธรรม กับ ว. วชิรเมธี นิตยสาร สารคดี ...
  
พระพยอม กัลยาโณ
พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ)

เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 ปีฉลู

บิดา นายเปล่ง จั่นเพชร

มารดา นางสำเภา จั่นเพชร

ภูมิลำเนา อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

การศึกษา

พ.ศ. 2500 เข้ารับการศึกษา ที่โรงเรียนสังวรพิมลไพบูลย์

พ.ศ. 2513 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสังวรพิมลไพบูลย์

พ.ศ. 2514 จบนักธรรมตรี ที่วัดอัมพวัน จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ. 2515 จบนักธรรมโท ที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ 2516 จบนักธรรมเอกที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัด นนทบุรี




ชีวิตในวัยเด็ก

พระพยอมเกิดในครอบครัวที่ยากจน การใช้ชีวิตจึงไม่เหมือนกับเด็กทั่วไป ในวันที่โรงเรียนหยุด หรือ ช่วงเย็นหลังจากเลิกเรียนเด็กชายพยอมจะออกหางานพิเศษรับจ้างดายหญ้าตามร่อง สวน

บางครั้งรับจ้างขึ้นต้นหมาก และเก็บมะพร้าวหล่นด้วยการมีไหวพริบฉลาดเฉลียว ทำให้เด็กชายพยอมคิดวิธีขึ้นต้นหมากวิธีลัด คือ ขึ้นต้นหนึ่งเสร็จแล้ว จะโหนยอดหมากไปอีกต้นหนึ่ง โดยไม่ต้องลงและขึ้นทุกต้น ทำให้ได้รับค่าแรงเพิ่ม ขึ้นกว่าปกติ ที่เด็กวัยเดียวกันทำได้

ในสมัยนั้นจะได้รับค่าจ้างต้นละ 3 - 5 บาท แต่เด็กชายพยอมก็มิได้เกี่ยงงานประการใด เพียงขอให้ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และให้สิ่งที่ได้มานั้นโดยชอบธรรมงานดายหญ้าบริเวณร่องสวน ที่เด็กชายพยอมรับจ้างนั้น จะได้รับค่าจ้างวันละ 20-30 บาท

ความขยันขันแข็ง ความมีน้ำใจ ทำให้ชาวบ้านรักและสงสาร และมอบงานพิเศษให้ทำอยู่เสมอ




วัยหนุ่ม

พระพยอมไม่เคยใช้ชีวิตวัยหนุ่มเยี่ยงชายหนุ่มทั่วไป ท่านใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาโดยสุจริต ด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ เพื่อน ๆ ของท่านจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามยุคสมัย แต่ท่านยังคงสวม เสื้อยืดกล้าม กางเกงแบบชาวสวน

ทั่วไปส่วนเรื่องเพศตรงข้าม ท่านเป็นที่สนใจแก่ผู้หญิงทั่วไป แต่ท่านก็ยังคงยึดมั่นในการประกอบอาชีพทำมาหากิน โดยไม่ได้ให้ความสนใจแก่ผู้ใดเป็นพิเศษ

พระดีศรีสังคม

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492เด็กชายคนหนึ่งที่ถือกำเนิดจากแม่สำเภา จั่นเพชร แม่ที่ยากจนแต่มีความรักลูกสุดประมาณ จากวันนั้น . . . จนถึง . . . วันนี้ เด็กยากจนนั้น คือ .

. . พระนักเทศน์ผู้มีคุณภาพพระดีศรีสังคม พ่อพระของผู้ยากจน พระผู้ร่ำรวยงาน แต่ยากจนเวลา พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) มูลนิธิสวนแก้ว


ในปี 2529 พระพยอม กัลยาโณ จัดตั้ง มูลนิธิสวนแก้วเพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ ให้แก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสัญชาติ กิจกรรมของมูลนิธิสวนแก้ว มี 18 โครงการ


ประกาศเกียรติคุณ และรางวัล

พ.ศ. 2528 ■ รางวัลสังข์เงิน สาขาใช้ศิลปะในการเผยแพร่
จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2531 ■ โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2535 ■ โล่เกียรติคุณบารมี “พระผู้มีคุณต่อแผ่นดินและสังคม” จากสมเด็จพระสังฆราชฯ

■ โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

พ.ศ. 2536 ■ โล่บุคคลดีเด่นแห่งวงการศึกษาของชาติ สาขาการศึกษานอกระบบ
จากสมาคมศึกษานิเทศแห่งประเทศไทย

■ โล่ผลงานดีเด่นด้านวิชาภาษาไทย จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2537 ■ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสน์
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

■ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาสังคม
จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า)

พ.ศ. 2538 ■ รางวัลเหรียญอนามัยโลก การรณรงค์เลิกบุหรี่ จากองค์การอนามัยโลก

■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 3
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ รางวัลโล่ผู้สนับสนุนกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่นปี 2538
จากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี

■ รางวัลชมเชยที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก (เอสแคป) ประจำปี พ.ศ.2538

พ.ศ. 2539 ■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 2
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่”
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2540 ■ เกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติในด้าน
“อภิปรายถ่ายทอดเสียงวิชาการทางพระพุทธศาสนา”
จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

■ ประกาศนียบัตรทองคำเชิดชูเกียรติ “พระดีศรีสังคม”
จากสมาคมสื่อมวลชนส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)

■ โล่ประกาศเกียรติคุณ “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชน” จากกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2541 ■ ได้รับการคัดเลือกเป็น อุทยานการศึกษาในวัดประจำปี 2541
จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์
เพื่อพัฒนาชุมชนจากสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

■ ปริญญานิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

พ.ศ. 2542 ■ “เสาเสมาธรรมจักร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

■ รางวัลชมเชย ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “เรียนผูกเรียนแก้”
จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2543 ■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ โล่รางวัล "มหิดลวรานุสรณ์"
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ

พ.ศ. 2544 ■ โล่เกียรติคุณ “ผู้สนับสนุนงานกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี 2544”
จาก พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

■ โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่นพิเศษ ปี 2544 จากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี

■ รางวัลมูลนิธิภาคดีเด่น ประจำปี 2543-2544 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2545 ■ โล่รางวัลการสนับสนุนโครงการการจัดการสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

■ เกียรติบัตรยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

■ โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่น
จากนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

■ โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรดีเด่นที่ให้การสนับสนุนคนพิการ
จากรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง

พ.ศ. 2546 ■ โล่รางวัล PCD Awards 2002 ด้านบุคคลดีเด่นด้านการจัดการขยะมูลฝอย จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

■ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

■ เกียรติบัตรสาขาการอภิปรายถ่ายทอดเสียง วิชาการทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

■ โล่เกียรติยศผู้มีส่วนร่วมถวายความจงรักภักดีในการจัดงาน 5 ธันวามหาราชและงาน 12 สิงหาราชินีนาถ
จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ

■ โล่เกียรติยศบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน
จากพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

■ รางวัลพระภิกษุผู้อุทิศตนในการป้องกันและต่อต้านยาเสพติด
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ

...
  
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) และผู้อุทิศชีวิตให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต

พระพรหมมังคลาจารย์กำเนิดที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จังหวัดระนอง โดยมี พระรณังคมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมี พระจรูญกรณีย์ เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474

ท่านมรณภาพวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ด้วยอาการปอดอักเสบและไตวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 96 ปี
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 ศึกษาหาหลักธรรม
* 2 เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
* 3 สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
* 4 ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่
* 5 วัดชลประทานรังสฤษฎ์
* 6 ผลงานและเกียรติคุณ
o 6.1 งานด้านการปกครอง
o 6.2 งานด้านการศึกษา
o 6.3 งานด้านการเผยแผ่
o 6.4 การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ
o 6.5 งานด้านสาธารณูปการ
o 6.6 งานด้านสาธารณประโยชน์
o 6.7 งานพิเศษ
o 6.8 งานด้านวิทยานิพนธ์
o 6.9 เกียรติคุณที่ได้รับ
o 6.10 สมณศักดิ์ที่ได้รับ
* 7 มรณภาพ
* 8 อ้างอิง

[แก้] ศึกษาหาหลักธรรม

หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
[แก้] เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

* พ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ
* ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป

[แก้] สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

พ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
[แก้] ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่

* ในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ"
* ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย

[แก้] วัดชลประทานรังสฤษฎ์

* ในปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
* พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ได้ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
* นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของ โลกเป็นประจำอีกด้วย
* โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอด จนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและ สังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน

[แก้] ผลงานและเกียรติคุณ
Crystal Clear teamwork.png
บทความนี้มีลักษณะเหมือนประวัติสมัครงาน คุณสามารถร่วมแก้ไขปรับปรุงได้ โดยเขียนให้มีลักษณะเป็นสารานุกรมมากยิ่งขึ้น
[แก้] งานด้านการปกครอง

* พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์
* พ.ศ. 2506 ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
o เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9
o เป็นรองเจ้าคณะภาค 18
* พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

[แก้] งานด้านการศึกษา

* พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์
* พ.ศ. 2512 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา
* พ.ศ. 2524 เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์
o เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์

[แก้] งานด้านการเผยแผ่

* พ.ศ. 2492-2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
* พ.ศ. 2500 เป็นประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิ" จังหวัดเชียงใหม่
o เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่
* พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์
o เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
o เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน พ.ศ. 2520
o เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา
* พ.ศ. 2525 รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
* พ.ศ. 2534 เป็นผู้ริเริ่ม ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน เรียกว่า "ค่ายพุทธบุตร" ในโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ
* พ.ศ. 2536 จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

[แก้] การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ

* พ.ศ. 2497 เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
* ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน
* เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิกาโก สหรัฐอเมริกา

[แก้] งานด้านสาธารณูปการ

* พ.ศ. 2516 เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่
* พ.ศ. 2518 เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม
* เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
* พ.ศ. 2537 เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์

[แก้] งานด้านสาธารณประโยชน์

* พ.ศ. 2533 เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
* สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
* พ.ศ. 2534 บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่
* พ.ศ. 2537 บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อ.เมือง จ.พัทลุง
* บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต
* รับมอบที่ดินและเป็นประธานหาทุนสร้างและอุปถัมภ์ วัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี
* บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่างๆ หลายจังหวัด
* ได้แสดงธรรมเพื่อหาเงินสบทบทุนในจัดสร้างอาคารเรียน 100ปี โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง
* แสดงธรรมเพื่อหาเงินสมบทในจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
* เป็นประธานหาทุนปรับปรุงและยกฐานะโรงพยาบาลชลประทานเป็นศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ-ชลประทาน

[แก้] งานพิเศษ

* พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
* พ.ศ. 2518 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
* เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
* เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น
* พ.ศ. 2529 ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)
* พ.ศ. 2536 ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภาศาสนาโลก 1993 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion)

[แก้] งานด้านวิทยานิพนธ์

ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น

1. ทางสายกลาง
2. คำถามคำตอบพุทธศาสนา
3. คำสอนในพุทธศาสนา
4. หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์
5. รักลูกให้ถูกทาง
6. ทางดับทุกข์
7. อยู่กันด้วยความรัก
8. อุดมการณ์ของท่านปัญญา
9. ปัญญาสาส์น
10. ชีวิตและผลงาน
11. มรณานุสติ
12. ทางธรรมสมบูรณ์แบบ
13. 72 ปี ปัญญานันทะ
14. กรรมสนองกรรม เป็นต้น

[แก้] เกียรติคุณที่ได้รับ

* พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
* พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัล "นักพูดดีเด่น" ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย
* พ.ศ. 2525 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล คือ ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)
* พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
* พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
* พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์
* พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสงานครบรอบ 100 ปี โรงเรียนพัทลุง จากโรงเรียนพัทลุง
* พ.ศ. 2550 ได้รับยกย่องเชิดชู ในฐานะ "ผู้สูงอายุแห่งชาติ" ประจำปี 2550 ผู้มีผลงานดีเด่นคนแรก (รูปแรก) ของประเทศ

[แก้] สมณศักดิ์ที่ได้รับ

* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระปัญญานันทมุนี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชนันทมุนี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ "พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

[แก้] มรณภาพ

พระพรหมังคลาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อเวลา 9.09 น. ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริรวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์
[แก้] อ้างอิง

* หนังสือชีวประวัติปัญญานันทภิกขุ (สนพ.ธรรมสภา)
* วัดชลประทานรังสฤษฎ์

สมัยก่อนหน้า พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) สมัยถัดไป
พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) 2leftarrow.png พระธรรมโกษาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท)
(พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2547) 2rightarrow.png พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_(%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B8%9B%E0%B8%8D%E0%B8%BA%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%97)".
หมวดหมู่: บทความเหมือนเรซูเม | บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2454 | บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550 | พระภิกษุสงฆ์ | พระสงฆ์ไทย | ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ | เปรียญธรรม ๔ ประโยค | ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง | ชาวพัทลุง | ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร | พระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ | ผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ...
  
หลวงพ่อพุทธทาส
. กำเนิดแห่งชีวิต

พ.ศ. ๒๔๕๓ ด.ช.เงื่อม วัย ๔ ขวบท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา

ด.ช.เงื่อม กับ นายเซี้ยง บิดาและ ด.ช.ยี่เก้ย น้องชายส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ
ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้น
เรื่องความประหยัด เรื่องละเอียดละออในการ
ใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำ
ให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่
ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดาซึ่ง
เสียชีวิต





พระเงื่อม เมื่อแรกบวช ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของ
ชายไทยที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ"
แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน
ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง
ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดง
ธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคย
ถามท่าน ขณะที่ เป็นพระเงื่อม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร
ในการใช้ชีวิตท่านตอบว่า "ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็น
ประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด"
"..แต่ถ้ายี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"
ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่าน
ควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมี
ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้น
เกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด

นาย ยี่เก้ย ต่อมาก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะ
ธรรมทาน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม ...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.