หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ ทั้งหมด
การสนทนา
3
...
  
ทอล์คโชว์2
3
...
  
ทอล์คโชว์2
3
...
  
โต้วาที 3 นางร้ายในวรรณคดีไทยน่าพิศมัยกว่านางเอก
3
...
  
ขาย
3
...
  
ปลุกยักษ์ ปลุกพลังในตัวคุณ part 2
3
...
  
รัชเขต วีสเพ็ญ
วันเกิด 14 กันยายน 2509
ภูมิลำเนา จังหวัดอุบลราชธานี

การศึกษา
A ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอาเวมารีอา จ.อุบลราชธานี
A ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอุบลวิทยาคม จ.อุบลราชธานี
A มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี
A มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กรุงเทพมหานคร
A นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
A บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการตลาด) มหาวิทยาลัยเซาส์อีสเทิร์น
กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา


การทำงาน
Aกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทลลิเจนท์ ครีเอชั่น จำกัด

Aบรรณาธิการ สำนักพิมพ์สร้างความสุข

Aประธานสถาบันฝึกอบรม อินเทลลิเจนท์ ครีเอชั่น

Aที่ปรึกษา บริษัท คนไทเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

Aนักพูดประจำรายการ “สภาโจ๊ก”

Aวิทยากรบรรยายตามภาครัฐและเอกชนต่างๆ


หลักสูตรที่เชี่ยวชาญ
A ขายแบบมืออาชีพ, การบริการเพื่อความเป็นเลิศ, วิทยากรมืออาชีพ, การสร้างทีมงาน, การสร้างพลังและแรงจูงใจในการทำงาน, การทำงานให้สนุกและมีความสุขกับงาน, ศิลปะการพูดต่อที่ชุมนุมชน, เทคนิคการเป็นพิธีกร เป็นต้น


ผลงาน
A หนังสือ "พูดอย่างเซียน

A หนังสือ "ขายแบบมืออาชีพ"



สถานที่ทำงาน

บริษัท อินเทลลิเจนท์ ครีเอชั่น จำกัด



...
  
หนังสือพูดอย่างเซียน คุณรัชเขต วีสเพ็ญ
5 ส. เพื่อความสำเร็จบนเส้นทางนักพูด
1. เสาะหาเวที
การเป็นสุดยอดมืออาชีพต้องท่องคำว่า “ฝึกฝน….และฝึกฝน”
อย่าลังเลที่จะได้พูด การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ย่อมเกิดความชำนาญและบรรลุความฝันที่เราต้องการได้
2. เสริมสร้างคุณวุฒิ
ไม่ว่าจะทางด้านประสบการณ์ อายุ การศึกษา
สิ่งเหล่านี้ผู้พูดจะต้องเสริมสร้างให้ตัวเองเพื่อให้เกิดการยอมรับ
ก็จะทำให้เราเดินไปสู่ทางแห่งความสำเร็จ
3. สะสมข้อมูล
ข้อมูล คือบ่อเกิดแห่งปัญญา ถ้ามีข้อมูลในสมองมาก
เมื่อพูดอะไรก็จะเกิดความมั่นใจ ต้องหาข้อมูลใหม่ ๆ ตลอดเวลา
4. สร้างสรรค์ความคิด
ใช้ความคิดให้บ่อย นำความคิดออกมาใช้ให้มาก ๆ
ก็จะทำให้ภูมิปัญญามีมากขึ้น ฉลาดขึ้น เก่งขึ้น การที่ได้ประลองความคิด
หรือได้ฟังผู้ที่รู้กว่า จะทำให้เราได้ความรู้และฉลาดมากขึ้นในที่สุด
5. แสวงหาโอกาส
เสาะหาโอกาส จงเดินเข้าไปเสาะหาโอกาส อย่ารอให้โอกาส
เดินเข้ามาหา รักทางไหนมุ่งมั่นไปทางนั้น สร้างโอกาสคือการสร้าง
หรือหาช่องทางในการพูด ถ้าโอกาสยังไม่มาจงหาหนทางใหม่ ถ้าไม่มี
สร้างมันขึ้นมาเอง แล้วโอกาสนั้นย่อมจะเป็นของเราอย่างแน่นอน
เส้นสายแห่งโอกาส คือการสร้างสัมพันธ์กับทุกคน เพราะการที่เราจะสำเร็จได้นั้น
ถ้าขาดเพื่อนหรือพันธมิตรที่หวังดี ย่อมจะเดินไปถึงจุดหมายได้ยากยิ่งนัก
“คิดด้วยหัวใจ…..ทำด้วยหัวใจ……และพูดด้วยหัวใจ”
จงลงมือทำด้วยหัวใจที่ศรัทธาในลานนั้น
แสวง มลศิลป์ / สรรหามาฝาก
ขอบคุณครับ….สวัสดี
ที่มา วารสารแด๊กซิน (หนังสือพูดอย่างเซียน คุณรัชเขต วีสเพ็ญ)
...
  
นายสมัคร สุนทรเวช
(ชื่อจีน: 李沙馬 Lǐ Shāmǎ[1]; 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 — 9 กันยายน พ.ศ. 2551) หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น

นายสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537

นายสมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม ๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น

ความคิดและบทบาทของนายสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 ประวัติการศึกษา
2.1 ศึกษาเพิ่มเติม
3 ประวัติการทำงาน
4 ประวัติทางการเมือง
5 การดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
6 การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
7 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
7.1 การปฏิบัติงาน
7.2 ความมั่นคง
7.3 เศรษฐกิจ
7.4 สิทธิมนุษยชน
8 ข้อวิพากษ์วิจารณ์
8.1 คดีหมิ่นประมาทนายดำรง ลัทธพิพัฒน์
8.2 กรณีสเตตเมนต์ปลอม
8.3 การจัดรายการโทรทัศน์
8.4 คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
8.5 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
9 ความสนใจ
9.1 สัตว์เลี้ยง
9.2 โภชนาการ
10 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
11 ผลงาน
11.1 ผลงานหนังสือ
12 อ้างอิง
13 ดูเพิ่ม
14 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ประวัติ
นายสมัคร สุนทรเวชเป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช:2435-2521) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร:2445-2524) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล "สุนทรเวช"และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้องๆของท่าน ) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก

นายสมัครเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้

1.พ.อ. (พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
2.นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
3.พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)
4.นายสมัคร สุนทรเวช
5.นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
6.นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง หัวหน้าพรรคประชากรไทย
นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภาและกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยาจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัครเลยมิได้ทำงานประจำให้กับหน่วยงานใดและได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมัครเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ โดยไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อมวลชนมากนัก จนกระทั่ง นายกฤษณะ ไชยรัตน์ พิธีกรโทรทัศน์ เดินทางไปถ่ายทำรายการถึงโรงพยาบาล อาการป่วยของนายสมัครจึงเป็นที่เปิดเผยในวงกว้าง[2] ต่อมา นายสมัคร จึงเดินทางไปรักษาต่อที่ สหรัฐอเมริกา[3] และเดินทางกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[4] เวลา 08.48 น. ด้วยวัย 74 ปี

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม น้ำหลวงอาบศพ และเครื่องอัฐบริขารทั้งหมด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 7 คืน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพนายสมัคร ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

[แก้] ประวัติการศึกษา
ก่อนประถมศึกษา : โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม[ต้องการอ้างอิง]
ระดับประถมศึกษา : โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา[ต้องการอ้างอิง]
ระดับมัธยมศึกษา : โรงเรียนเซนต์คาเบรียล [5][6]
ระดับอาชีวศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ [7]
ระดับอุดมศึกษา : นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] ศึกษาเพิ่มเติม
ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2496 : เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496-2497)
พ.ศ. 2497 : เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497-2502)
พ.ศ. 2502 : ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502-2504)
พ.ศ. 2504 : Free Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504-2506)
พ.ศ. 2507 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507-2509)
พ.ศ. 2510 : Dietary Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510-2511)
พ.ศ. 2512 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512-2513)
พ.ศ. 2513 : ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ. 2513-2514)
พ.ศ. 2514 : เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)
พ.ศ. 2516 : ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว
[แก้] ประวัติทางการเมือง
นายสมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้

พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ. 2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520) ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535) (ก.ย. 2535)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 - 30 ก.ย. 2551)
พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 มกราคม - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
[แก้] การดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยผู้ได้คะแนนอันดับ 2 คือ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ไดัรับคะแนนเสียงเพียง 521,184 คะแนน

นายสมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน[8]

[แก้] การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
หลังพ้นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อครบวาระ 4 ปี นายสมัครตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 แต่เบนเข็มมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2549

ผลการนับคะแนน นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียง เป็นอันดับสองของประเทศ รองจาก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิ ยังไม่ทันได้รับการรับรองตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียน เรื่องการไปขึ้นเวทีปราศัยของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาจถือได้ว่าเป็นการ "หาเสียง" และขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนที่จะมีการชี้ขาดเรื่องดังกล่าว การเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ก็ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา

[แก้] การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายสมัคร สุนทรเวช ทำพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก
นายสมัคร สุนทรเวช แถลงข่าว ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาลดูเพิ่มที่ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2551 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ นายสมัครยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ แต่ยังถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช นี้ว่าเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกในข้อหาเซ็นชื่อยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินตามกฎหมาย

ต่อมาวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 (7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัครยังได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ (ยังไม่มีเอกสารยื่นใบลาออก) โดยให้เหตุผลว่า ได้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคและรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว จึงขอยุติบทบาททางการเมือง ส่วนการดำเนินการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับพรรค

[แก้] การปฏิบัติงาน
เสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสุนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน" [9]
รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้ง[10]
เสนอแนวคิดสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
[แก้] ความมั่นคง
การประนีประนอมกับทหาร โดยนายสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วย [11]
เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่[12]
[แก้] เศรษฐกิจ
ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% [13]
ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.[14]
มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ[15]
มาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา
[แก้] สิทธิมนุษยชน
ใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาด
เสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก[16]
[แก้] ข้อวิพากษ์วิจารณ์
[แก้] คดีหมิ่นประมาทนายดำรง ลัทธพิพัฒน์
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมานายสมัคร ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้ให้ข่าวในทำนองว่า นายดำรงฆ่าตัวตายเพราะความเครียด เนื่องจากการยักยอกงบประมาณของ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยานายดำรง [17] มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทนายสมัคร สุนทรเวช [18] ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 [19] ว่า "นายสมัครกล่าวข้อความเป็นเท็จและหมิ่นประมาทจริง" และได้มีคำสั่งให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวชเป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา [20]

[แก้] กรณีสเตตเมนต์ปลอม
เมื่อ พ.ศ. 2530 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในครม.คณะที่ 43 [21] และได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 44) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบนโดยนำสำเนาสเตตเมนต์แสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาและอภิปรายว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท [20] นายจิรายุได้ปฏิเสธและระบุว่าข้อกล่าวหาของนายสมัครเป็นเท็จและตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา

ต่อมา จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่า สเตตเมนต์ที่นายสมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และนายจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับนายสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ [22] ต่อมา นายสมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง [23]

[แก้] การจัดรายการโทรทัศน์
สมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯ นายสมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป

ก่อนหน้านั้น สมัครได้จัดรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ร่วมกับนายดุสิต ศิริวรรณ ในเวลา 11.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งนายสมัครได้กล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ "เลือกข้างใช่ไหม" จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า พล.อ.เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย และเป็นถึงประธานองคมนตรี[24] ทำให้นายสมัครขอยุติรายการดังกล่าวไปด้วยตนเอง

[แก้] คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
สมัคร และ ดุสิต ศิริวรรณ ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่ช่อง 5" ทาง ททบ.5 และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์[25]

ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้นายสมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่นายสมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[26] ขณะนี้คดีกำลังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์

25 กันยายน 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป

[แก้] เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สมัครได้เคยกล่าวไว้ในรายการ สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนตายเพียงคนเดียว และคนนั้นเป็นญวนอีกด้วย ซึ่งนายสมัครได้ย้ำอีกครั้ง ในการให้สัมภาษณ์กับ แดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 [27][28] และยังกล่าวอีกว่า "ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้องไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก"[29]

บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์[30] กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของนายสมัครว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่ปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เท่านั้น เขายังปฏิเสธว่าการสังหารหมู่ไม่ได้เกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งที่มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้เสียชีวิตหลายคน และสมัครเองก็ทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าให้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [31]

ซึ่งประเด็นนี้ ได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่มีวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัครก็ได้ตอกย้ำสิ่งที่ตนพูดอีกครั้ง ซึ่งเป็นการตอบโต้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายชวน หลีกภัย ฝ่ายค้าน พร้อมกับกล่าวว่า ตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปิดหนังสือพิมพ์หลังเหตุการณ์นี้ และได้สาบานด้วยว่า ถ้าสิ่งที่ตนพูดไม่เป็นความจริง ขอให้ตนพบกับความวิบัติ ถ้าไม่จริง ขอให้เจริญรุ่งเรือง[32] [33]

อีกทั้งสมัครยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด ขณะที่สื่อมวลชนรายหนึ่ง ได้โชว์รูปถ่ายที่นายสมัครยืนอยู่ข้างหลังจอมพลประภาส จารุเสถียร ในครั้งนั้นแล้วชี้ให้นายสมัครดู แต่สมัครปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นรูปดังกล่าวมาก่อน

ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 “แม่ลูกจันทร์” แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันว่าภาพดังกล่าวถ่ายไว้ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ถึง 4 ปี โดยเป็นภาพถ่ายเมื่อ เมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ขณะเกิดเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์ กลุ่มแบล็กเซปเทมเบอร์ บุกยึด สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ถนนชิดลม และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยโจรปาเลสไตน์ที่ถูกจับกุม ภายใน 12 ชั่วโมง ขณะนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็น นายกรัฐมนตรี และ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็น รมว. มหาดไทย โดยที่ นายสมัคร สุนทรเวช ขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอล ทำหน้าที่ประสานงานในเหตุการณ์ และ "แม่ลูกจันทร์" เป็นนักข่าวการเมืองที่อยู่ในเหตุการณ์ รูปดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 [34]

[แก้] ความสนใจ
[แก้] สัตว์เลี้ยง
นับได้ว่านายสมัครเป็นบุคคลที่ชื่นชอบแมวมากที่สุดคนหนึ่ง เขาเริ่มเลี้ยงแมวตั้งแต่วัยเด็ก และเคยเลี้ยงแมวหลายตัวด้วยกัน โดยแมวตัวที่นายสมัครรักที่สุดมีชื่อว่า เหวิน เหวิน ซึ่งเมื่อเหวิน เหวินตายจากไปนายสมัครก็ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ จำนวน 3 บท ไว้ดังนี้[35]

ถึงเหวินจะเป็นแมวแถวถนน แต่ทุกคนรักเจ้าเฝ้าถามหา
ให้กินข้าวเช้าเย็นเป็นเวลา อยู่กันมาผูกพันนานหลายปี
เมื่อยามเจ้ายังสบายได้เชยชม เจ้าป่วยไข้ทรุดโทรมไม่สุขี
รักษาเจ้ารอดตายได้ทุกที มาครั้งนี้โรครุมหนักจำจากไป
ถึงเป็นแมวก็แมวดีกว่าที่เห็น เคยล้อเล่นอุ้มชูรู้นิสัย
แม้จากกันเจ้ายังอยู่คู่หัวใจ รักแมวไหนไม่เกินเจ้าเหวินเอย


[แก้] โภชนาการ
นายสมัครเป็นบุคคลที่ชอบจ่ายตลาด และทำอาหารมาก โดยเป็นผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศนายสมัครมักจะใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเริ่มพิธีการในการจ่ายตลาด และดูความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศนั้นๆ[36] นอกจากนี้นายสมัครยังเคยทำข้าวผัดให้กับทหารในบริเวณชายแดนด้วย

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
[แก้] ผลงาน
เขียนบทความ และความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำใน สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง 2516
เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2520)
เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง พ.ศ. 2537
ผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป
ผู้ดำเนินรายการ ยกโขยง6โมงเช้า ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ผู้ดำเนินรายการ เกมนักชิม ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
ผู้ดำเนินรายการ เช้าวันนี้..ที่เมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ผู้ดำเนินรายการ สมัคร ดุสิต คิดตามวัน ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนท์ทีวี
ผู้ดำเนินรายการ สนทนาประสาสมัคร ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
[แก้] ผลงานหนังสือ

หน้าปกหนังสือ จากสนามไชยถึงสนามหลวงสมัคร สุนทรเวช พูด. (ม.ป.ท.), (ม.ป.ป.).
สันดานหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บูรพาศิลป์, 2520.
การเมืองเรื่องตัณหา. กรุงเทพฯ : บูรพาศิลปการพิมพ์, 2521.
จวกลูกเดียว. กรุงเทพฯ : เบญจมิตร, 2522.
จากสนามไชยถึงสนามหลวง. (ม.ป.ท.), 2522.
การเมืองเรื่องตัณหา 2. (ม.ป.ท.), 2532.
เรื่องไม่อยากเล่า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟิกอาร์ต, 2530. (พิมพ์ครั้งหลัง : ฐากูรพับลิชชิ่ง, 2543. ISBN 978-974-85986-2-8)
สมัคร ๖๐. กรุงเทพฯ : ซี.พี.การพิมพ์, 2538.
ชิมไปบ่นไป. กรุงเทพฯ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, 2543. ISBN 978-974-387-054-5
คนรักแมว. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์, 2547. ISBN 978-974-8280-21-9
จดหมายเหตุกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547. ISBN 978-974-272-920-2
ใครๆ ก็ชอบไทยฟู้ด. กรุงเทพฯ : ครัวบ้านและสวน, 2548. ISBN 978-974-387-048-4
สมัคร สุนทรเวช และ ดุสิต ศิริวรรณ. ตำนานหนองงูเห่า และการเมืองเรื่อง CTX. กรุงเทพฯ : 2548. ISBN 978-974-93447-5-0
[แก้] อ้างอิง
1.^ [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (April 2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. pp. 187. ISBN 962-620-127-4.
2.^ สมัคร ผ่ามะเร็งที่ขั้วตับ กลับบ้านหลัง 25 ต.ค.
3.^ สมัคร สุนทรเวชป่วยเป็นมะเร็งขั้วตับ
4.^ สมัคร สุนทรเวช ถึงแก่อนิจกรรม
5.^ รายชื่อศิษย์เก่าของสถาบันในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ นิตยสารผู้จัดการ 360°
6.^ งานเชิดชูเกียรติชาวเซนต์คาเบรียล ฯพณฯ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
7.^ ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ หน้า 5
8.^ 'คตส.'ยันหลักฐานคดีรถดับเพลิงมัด'สมัคร'ไม่ใช่เลือกปฏิบัติ
9.^ Samak's Mekong plan could hurt trade ties
10.^ http://www.bangkokpost.com/News/25Feb2008_news02.php
11.^ จากมติชน 10 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 10 คอลัมน์ การเมือง
12.^ เว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย
13.^ เบญจพร วงศ์. ยกเลิกกันสำรอง 30%ปลดล็อกเศรษฐกิจแล้วปลด (ล็อก) อะไรอีก?. กรุงเทพฯ : เนชั่นสุดสัปดาห์, 2551.
14.^ เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์
15.^ http://www.mof.go.th/News2008/014.pdf
16.^ “หมัก” ฟิวส์ขาด ลั่นไม่บ้าพอแก้ รธน.ตั้งกาสิโน
17.^ นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2526
18.^ เปิดใจ "บัณฑิต ศิริพันธุ์" ขอทำงานเพื่อความถูกต้อง หนังสือพิมพ์แนวหน้า 14 กันยายน 2550
19.^ [1] คำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก สมัคร 6 เดือนฐานหมิ่นประมาทดำรง, สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ (26 ก.พ.-4 มี.ค.32), (5-11 มี.ค.32)
20.^ 20.0 20.1 กองบรรณาธิการมติชน.289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
21.^ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43
22.^ คอลัมน์ เรียงคนมาเป็นข่าว สำเนาจาก มติชน 25 ตุลาคม 2550
...
  
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
การพูดในที่ชุมชนโดย เดล คาร์เนกี แปลโดย อาษา ขอจิตต์เมตต์ เป็นหนังสือแนะนำการพูดในที่ชุมชน วิธีการพูด การสร้างความเชื่อมั่นในการพูด วิธีการจูงใจและการสร้างความประทับใจในการพูด และวิธีการปาฐกถา

เป็นสุดยอดหนังสือการพูดเล่มหนึ่งครับ และเป็นหนังสือที่นักพูดนำไปใช้อ้างอิงในยุคปัจจุบัน

...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]  [16]  [17]  [18]  [19]  [20]  [21]  [22]  [23]  [24]  [25]  [26]  [27]  [28]  [29]  [30]  [31]  [32]  [33]  [34]  [35]  [36]  [37]  [38]  [39]  [40]  [41]  [42]  [43]  [44]  [45]  [46]  [47]  [48]  [49]  [50]  [51]  [52]  [53]  [54]  [55]  [56]  [57]  [58]  [59]  [60]  [61]  [62]  [63]  [64]  [65]  [66]  [67]  [68]  [69]  [70]  [71]  [72]  [73]  [74]  [75]  [76]  [77]  [78]  [79]  [80]  [81]  [82]  [83]  [84]  [85]  [86]  [87]  [88]  [89]  [90]  [91]  [92]  [93]  [94]  [95]  [96]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.