หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  พูดแล้วดัง...ทำแล้วรวย....
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  ลีลานักพูด
  -  ปาก
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  ครบเครื่องนักพูด
  -  ยอวาที
  -  การพูดต่อที่ชุมชน
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  การปิดฉากการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  การพูดที่ล้มเหลว
  -  จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  พูดอย่างฉลาด
  -  การฝึกพูด
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  จงระวังความเคยชินในการพูด
  -  คิดอย่างสร้างสรรค์
  -  ภาษากายกับการพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์
  -  การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  ศิลปะการพัฒนาการพูด
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  คำพูดเจาะจิต
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  จังหวะในการพูด
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  การพูดเป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้
  -  วิธีฝึกการพูดของ หลวงวิจิตรวาทการ
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  โฆษกกับการพูดที่ดี
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การอ่านใจคนจากภาษากาย
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การเปิดฉากการพูด
การเปิดฉากการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดที่ดีมักจะต้องมีการสร้างโครงเรื่อง กล่าวคือจะต้องมีการเปิดฉากการพูด มีเนื้อเรื่อง และมีสรุปจบ ในการพูดแต่ละครั้ง จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ในบทความนี้เราจะมากล่าวกันในเรื่องของการเปิดฉากการพูด
การเปิดฉากการพูดมีความสำคัญมากเพราะถ้าหากนักพูดท่านใด เปิดฉากการพูดให้เป็นที่น่าสนใจ ก็จะทำให้ผู้ฟังชวนติดตามฟังเนื้อหาของการพูด ซึ่งการเปิดฉากที่ดี นักพูดควรเปิดฉากดังนี้
1.เปิดฉากการพูดแบบพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ โดยปกติแล้ว การพาดหัวข่าวโดยเฉพาะหน้าที่หนึ่งของหนังสือพิมพ์ มักเป็นที่สนใจของผู้อ่าน หากนักพูดนำข้อความจากหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์มาเปิดฉากการพูด ก็จะได้รับความสนใจ แต่ทั้งนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่พูด เช่น จับพ่อข่มขืนลูกแท้ๆ วัย 13 ปี , ครูพละข่มใจเด็ก 15 ปี ผูกคอตายหนีความผิด !!! ฯลฯ (กรณีเราจะพูดถึงเรื่องของปัญหาทางเพศหรือการแก้ไขปัญหาสังคมในยุคปัจจุบัน)
2.เปิดฉากแบบกล่าวคำถาม เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ฟังได้ฉุกคิด เช่น ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนเราสามารถมีอายุยืนยาวนาน 120 ปี หรือ ท่านเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ระยะทางหมื่นลี้ย่อมต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกหรือไม่ หรือ ท่านทราบหรือไม่ว่า ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการสูญเสียเงินทองและทรัพยากรต่างๆ เป็นจำนวนเท่าไรต่อปี
3.เปิดฉากแบบชั้นเชิงกวีหรืออ้างอิงวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นการนำเอาบทกวีหรือวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียงมาขึ้นต้น แต่ต้องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะพูด ชั้นเชิงกวีในที่นี้รวมถึง คำกลอน สำนวน โวหาร คำคม คำพังเพย สุภาษิต ฯลฯ หรือ การนำวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ควรกล่าวชื่อของเจ้าของวาทะด้วยเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของวาทะ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยหมายถึง การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชนและของประชาชน
4.เปิดฉากแบบให้ความรื่นเริง เป็นการเปิดฉากโดยการนำเอาอารมณ์ขัน มุขสนุกสนาน ขึ้นมาเพื่อเรียกความสนใจจากผู้ฟัง เป็นการเปิดฉากแบบเป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศไม่เคร่งเครียดจนเกินไป แต่ข้อควรระวังไม่ควรใช้มุขที่ไปกระทบกระเทือนผู้ฟัง อีกทั้งการใช้มุขต่างๆ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากผู้ฟังอาจจะไม่หัวเราะ หากสามารถขึ้นต้นโดยวิธีอื่นได้ ก็ไม่ควรเสี่ยงในการใช้มุขหรืออารมณ์ขันในการขึ้นต้นในการพูด
ฉะนั้นการเปิดฉากที่ดี ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ความเหมาะสม อีกทั้งต้องพิจารณาเรื่องราวที่จะพูด สำหรับข้อควรระวังในการการเปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้
1.ไม่ควรพูดออกตัว การได้พูดแต่ละงาน หรือ แต่ละครั้งไม่ควรพูดออกตัว ว่าเราไม่ได้เตรียมตัวมาพูด งานนี้น่าจะมีคนที่เหมาะสมกว่าเราพูด เมื่อวานนี้นอนหลับดึกไปหน่อยไม่รู้ว่าวันนี้จะพูดออกมาเต็มที่หรือไม่ ฉะนั้นการพูดออกตัวควรหลีกเลี่ยง เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง
2.ไม่ควรพูดอ้อมค้อม วกไปเวียนมา จงพูดให้ตรงประเด็น เข้าประเด็น ไม่ใช่ไปพูดเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เขาเชิญพูด การเกริ่นยาวเกินไปจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญ ไม่อยากฟัง ไม่ควรขี่ม้าเลียบค่าย
3.ไม่ควรพูดขออภัย เช่น หากกระผมพูดอะไรผิดพลาดก็คงต้องขออภัยด้วย หรือ ขออภัยหากวันนี้พูดได้ไม่ดีนัก ฉะนั้น หากเตรียมการพูดมาดี ก็ไม่ต้องขออภัย จงพูดไปด้วยความมั่นใจในตนเอง
4.ไม่ควรพูดโอ้อวด เช่น ท่านผู้ฟังครับ สำหรับหัวข้อนี้ที่กระผมจะพูดในวันนี้เป็นหัวข้อที่กระผมรู้มากที่สุดในโลก ไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่ากระผม การพูดโอ้อวดตนเองมากๆ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความหมั่นไส้ อีกทั้งมองผู้พูดในทางไม่ดีมากกว่าจะมีความรู้สึกที่ดีๆกับผู้พูด
5.ไม่ควรถ่อมตัว เมื่อพูดโอ้อวดไม่ดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้พูดถ่อมตัว เช่น ความจริงการพูดในหัวข้อนี้ กระผมมีความรู้น้อยมาก ท่านผู้ฟังในที่นี้เสียอีกที่มีความรู้มากกว่ากระผม แต่ถึงอย่างไรก็ดีเมื่อถูกเชิญมาพูดแล้ว กระผมก็ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยฟังกระผมพูดด้วยครับ การพูดถ่อมตัวจะทำให้ผู้ฟังเกิดการขาดศรัทธา เกิดความไม่เชื่อมั่นว่าวิทยากรหรือผู้พูด จะมีความรู้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเป็นการสร้างความน่ารำคาญให้แก่ผู้ฟังอีกด้วย
ฉะนั้น การเปิดฉากการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ท่านผู้อ่านจึงควรเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ โอกาส ควรเปิดฉากให้มีเสน่ห์ น่าตื่นเต้น ไม่ควรเปิดฉากให้บรรยากาศเกิดความน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ ไม่น่าฟัง
ทั้งนี้ การเปิดฉากที่ดีคงขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะในการพูดของแต่ละท่าน







...
  
การดำเนินเรื่องในการพูด
การดำเนินเรื่องในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การสร้างโครงเรื่องในการพูด การสร้างโครงสร้างที่ดีควรมีโครงสร้างกล่าวคือ ส่วนของคำขึ้นต้น ส่วนของการดำเนินเรื่อง และส่วนสรุป ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของการดำเนินเรื่องในการพูด การดำเนินเรื่องที่ดีจะต้องมีความสอดคล้องกับคำขึ้นต้นและส่วนสรุป ลักษณะของการดำเนินเรื่องในการพูดที่ดีมีดังนี้
1.เรียงตามลำดับ ของเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ การพูดที่ดีควรมีการเรียบเรียงตามเหตุการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่สับสน เช่น เรียงตามอดีต ปัจจุบัน ไปอนาคต หรือ เรียงตามวัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา หรือ เรียงจากจากจังหวัดทางด้านเหนือสุดแล้วพูดไล่ลงไปยังจังหวัดใต้สุด ฯลฯ การเรียงตามเวลา เรียงตามวัย เรียงตามจังหวัดตามข้อความข้างต้นจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจมากกว่า การไม่ได้มีการลำดับ
2.เน้นย้ำประเด็นเดียว การดำเนินเรื่องที่ดี ควรมีการเน้นย้ำประเด็นเดียว ไม่ควรพูดหลายประเด็นจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสน ผู้พูดไม่ควรพูดในหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น หากเขาเชิญให้ไปพูดเรื่อง “ ยาเสพติด ” ก็ควรพูดถึง ปัญหาของยาเสพติด ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติด ฯลฯ แต่บางคนไม่ได้พูดอย่างนั้นดันไปพูดถึงเรื่องของ น้ำท่วม การเมือง สิ่งแวดล้อม มลพิษ กีฬา ฯลฯ
3.ใช้ตัวอย่างประกอบ การใช้ตัวอย่างประกอบมีความสำคัญมาก เพราะตัวอย่างประกอบจะทำให้การพูดเห็นภาพพจน์และเข้าใจได้มากกว่าไม่มีตัวอย่างประกอบ อีกทั้งช่วยขยายความให้มากขึ้น การใช้ตัวอย่างประกอบที่ดีควรใช้ตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องที่พูด ยิ่งหากเป็นตัวอย่างที่เป็นของจริงหรือเป็นประสบการณ์จริงของผู้พูดก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเคารพ ศรัทธา เชื่อมั่น เชื่อถือ ผู้พูดได้มากขึ้น
4.ต้องสามารถตัดทอนหรือขยายความได้ การพูดเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากเราเตรียมเนื้อหาในการพูดแล้วมีเวลาน้อยไป หรือมีเวลามากเกินไปกว่าเนื้อหา นักพูดที่ดีต้องสามารถตัดทอนเนื้อหาบางส่วนหรือเพิ่มเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ผู้จัดเขากำหนดให้
5.ควรมีการใช้ น้ำเสียง ท่าทาง บุคลิกลักษณะ สายตา ภาษา ถ้อยคำ สีหน้า ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด การพูดที่ดีต้องมีการใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด หากพูดเรื่องเศร้า ควรพูดเสียงเบาๆ ช้าๆ แต่หากพูดเรื่องที่ตื่นเต้น ควรใช้น้ำเสียงที่ดังกว่าปกติ ไวกว่าปกติ อีกทั้งหากเป็นเรื่องเศร้า ควรใช้สีหน้าที่สอดคล้องกับเรื่อง ไม่ควรหัวเราะหรือยิ้มเวลาพูด
6.ขั้นตอนการเตรียมการพูดหรือการตรวจสอบการพูด นักพูดที่ดีต้องมีการเตรียมตัวทุกครั้งก่อนขึ้นพูด การเตรียมเนื้อหาก็มีส่วนสำคัญ เมื่อเตรียมการพูดโดยการเขียนโครงเรื่องแล้ว ต้องมีการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ตัดทอน ว่าส่วนไหนควรเพิ่ม ส่วนไหนควรตัดทอน อีกทั้ง ถ้าจะให้ดีควรฝึกการพูดดังๆ สักสองสามรอบ ก่อนไปพูดจริง
การตรวจสอบการพูดนี้จะทำให้เราจำเนื้อหาของเรื่องได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงคำพูดหรือถ้อยคำให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง วัยของผู้ฟังอีกด้วย
สำหรับการสร้างเนื้อหาของเรื่องที่ดี ท่านควรปฏิบัติดังนี้ ท่านควรรวบรวมเนื้อหาของเรื่องที่จะพูดทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำเนื้อหามาตัดต่อกัน ดูว่าเนื้อหาอะไรเป็นประเด็นหลัก เนื้อหาอะไรเป็นประเด็นรอง หรือเป็นประเด็นย่อย จงพิจารณาประเด็นในการพูดให้มีเพียงประเด็นใหญ่เพียงประเด็นเดียว อีกทั้งควรเตรียมถ้อยคำให้เหมาะสมกับเนื้อหา แล้วจึงมาดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน เนื้อหาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ท้ายนี้ อยากฝากบทประพันธ์ที่เกี่ยวกับการสร้างโครงเรื่อง ของอาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
“ จงพูดดี มีมากล้น คนชื่นชอบ ตามระบอบ ต้นตื่นเต้น เห็นเหมาะสม
ให้กลมกลืน ลื่นกลาง ช่างน่าชม จบให้คม สมรับ จับจิตใจ ”









...
  
การปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การปิดฉากการพูด เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของการสร้างโครงเรื่องในการพูด การปิดฉากเป็นส่วนสุดท้ายของโครงเรื่อง ซึ่งมีการลำดับคือ การเปิดฉากการพูด การดำเนินเรื่อง และการปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูดที่ดี เดล คาร์เนกี นักพูดชื่อดังเคยให้คำแนะนำไว้ว่า “ จงบอกเขาอีกครั้งหนึ่งว่าท่านได้บอกอะไรแก่เขาบ้าง ” แต่อย่างไรก็ตามวิธีการปิดฉากการพูดที่ดีมีดังนี้
1.ปิดฉากแบบสรุปใจความสำคัญ เป็นการสรุปเนื้อหาของเรื่องที่พูดอีกครั้งโดยย่อ ว่าสิ่งที่พูดมามีกี่ข้อ เช่น ส่วนประสมทางการตลาดสรุปแล้วมีทั้งหมด 4 P (Marketing Mix) ได้แก่ 1. Product ผลิตภัณฑ์ 2. Price ราคา 3. Place ช่องทางหรือสถานที่ 4. Promotion การส่งเสริมการตลาด
2.ปิดฉากแบบ คำคม กวี สุภาษิต หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ เป็นการปิดฉากโดยยกคำคม กวี สุภาษิต สำนวน โวหาร หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ แต่ข้อควรระวัง ผู้พูดต้องจดจำ คำคม กวี กลอน สุภาษิต สำนวน โวหารหรือวาทะของบุคคลสำคัญให้แม่นยำ ไม่ควรพูดผิด เนื่องจากการปิดฉากมีความสำคัญมากในการพูด เราจะต้องปิดฉากด้วยความมั่นใจ ปิดฉากด้วยความหนักแน่น หากพูดผิดๆถูกๆ ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเคารพ นับถือ ไม่ศรัทธาได้
3.ปิดฉากแบบชักชวน เรียกร้อง กล่าวคือ เมื่อพูดถึงเนื้อหาของเรื่องเสร็จแล้ว ควรสรุปจบโดยการชักชวน เรียกร้องหรือรณรงค์ ให้ผู้ฟังได้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การชักชวนให้เลิกบุหรี่ การรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย การเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น
4.ปิดฉากแบบฝากให้คิด เป็นการปิดฉากแบบไม่ได้ชี้นำผู้ฟัง แต่เป็นการปิดฉาก โดยพูดถึงเนื้อหาของเรื่องโดยให้ข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล เสนอปัญหา แต่ฝากให้ผู้ฟังไปคิดต่อ เช่น ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นปัญหาที่พูดถึงกันมายาวนาน เราจะปล่อยให้ปัญหาคอรัปชั่นมีกันอีกนานเท่าไร เมื่อพูดจบประโยคก็ลงจากเวทีไปโดยไม่ต้องรอคำตอบจากผู้ฟังหรือผู้พูดพูดตอบ
5.ปิดฉากแบบอารมณ์ขัน เป็นการปิดฉากที่นำเอาเรื่องราวที่ขำขันมาใช้ เนื่องจากสังคมไทยส่วนใหญ่ชอบความสนุกสนาน รื่นเริง ไม่ค่อยชอบการพูดที่มีลักษณะเคร่งเครียด หากนักพูดท่านใด พูดตลก พูดสนุกสนาน มักเป็นที่ยอมรับนับถือ อีกทั้งยังสร้างความศรัทธาให้แก่ผู้ฟังได้ด้วย แต่ข้อควรระวัง กล่าวคือ เรื่องที่เรานำมาปิดฉากในการพูด อาจทำให้ผู้ฟังไม่หัวเราะได้ แทนที่ผู้ฟังจะหัวเราะ กลับนั่งเงียบกันทั้งห้อง กระสุนเกิดด้านขึ้น ดังนั้นหากหลีกเลี่ยงได้ ควรปิดฉากด้วยวิธีการอื่นได้ก็จะเป็นการดีกว่า
สำหรับการปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง หรือไม่ควรพูด เพราะเป็นการปิดฉากที่ฟังแล้ว เรียบๆ ไม่ทรงพลัง เช่น
- ขอจบแต่เพียงแค่นี้ , ขออภัยหรือขอโทษหากพูดอะไรผิดพลาด , ขอขอบคุณท่านผู้ฟังที่มาฟังกันในวันนี้
ฯลฯ ความจริงการปิดฉากในลักษณะไม่ถือว่าผิดพลาด เสียหายอะไร แต่เป็นการปิดฉากที่ไม่ค่อยจะทรงพลัง หรือ เป็นการปิดฉากที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ
ดังนั้นลักษณะการปิดฉากที่ดี ควรคำนึงถึง ความสอดคล้องระหว่าง การเปิดฉากการพูด และ การดำเนินเรื่อง การปิดฉากที่ดีควรมีความกระฉับ อีกทั้งต้องมีโครงเรื่องเป็นสุนทรพจน์
โดยสรุป การปิดฉากการพูด เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ อีกทั้งต้องใส่ใจในการเตรียมการพูดว่าเราจะปิดฉากอย่างไรให้เป็นที่ประทับใจผู้ฟัง เราจะปิดฉากอย่างไรให้ตรึงใจผู้ฟัง การปิดฉากที่ดีสามารถสร้างความศรัทธา ความน่าเชื่อถือของผู้พูดได้ ฉะนั้น นักพูดที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉาก ไม่ใช่เปิดฉากดี ดำเนินเนื้อเรื่องดี แต่หากปิดฉากไม่ดี ก็จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ไม่เป็นที่ประทับใจผู้ฟังมากนัก หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ก็ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉากการพูดครับ

...
  
วิธีการฝึกฝนการพูด
วิธีการฝึกฝนการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในสมัยที่กระผมฝึกฝนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนใหม่ๆ กระผมมีความประหม่า ตื่นเต้น พูดวกไปเวียนมา พูดแล้วผู้ฟังงง แต่เดี๋ยวนี้ เมื่อฝึกฝนการพูดบ่อยๆ ทำให้ความประหม่าลดน้อยลง ความตื่นเต้นลดน้อยลง การพูดมีโครงเรื่อง มีระบบมากขึ้น พูดแล้วจากผู้ฟังงง เริ่มเปลี่ยนเป็นผู้ฟังมีความเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งบางหัวข้อที่พูด ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือศรัทธาอีกต่างหาก
ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึง วิธีการฝึกฝนการพูด ซึ่งวิธีการฝึกฝนเป็นศิลปะของแต่ละคน ในช่วงต้นๆ อาจลองผิดลองถูกก่อน เพราะวิธีการฝึกฝนการพูดของนักพูดท่านหนึ่ง เราฝึกฝนตามวิธีดังกล่าวเราอาจไม่ชอบหรือไม่ถูกกับจริตหรือนิสัยใจคอของเราก็ได้ เช่น เดล คาร์เนกี้ ครูสอนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนระดับโลก เคยฝึกฝนการพูดตอนถอนหญ้าในสนามหญ้าภายในบ้าน , อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดี เคยฝึกฝนการพูดตอนอยู่บนหลังม้า เนื่องจากต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ต้องใช้เวลาในการเดินนานจึงใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โดยการฝึกฝนการพูด , อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เคยให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ “ เจาะใจ ” เคยฝึกพูดในระหว่างเดินทางกลับบ้าน โดยฝึกพูดคนเดียว ในช่วงเดินเข้าบ้านตั้งแต่ต้นซอยจนถึงปลายซอย โดยเลือกหัวข้อเรื่อง แล้วจึงพูด เป็นต้น
ซึ่งการฝึกการพูดของบุคคลดังกล่าว หากเราเลียนแบบ บางคนอาจประสบความสำเร็จ บางคนอาจไม่ประสบความสำเร็จ โดยส่วนตัวกระผม วิธีการของบุคคลสำคัญๆ ข้างต้น หากกระผมนำไปฝึกฝนปฏิบัติ คงประสบความสำเร็จได้ยาก เนื่องจาก การฝึกพูดโดยไม่มีผู้ฟัง กระผมมักพูดไม่ออก พูดได้ไม่ดี แต่หากการฝึกฝนการพูดโดยมีผู้ฟัง ตาม สถาบัน สโมสร ชมรม การพูดต่างๆ กระผมมักพูดได้ดีกว่า ทั้งนี้การฝึกฝนการพูดไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว บางคนฝึกพูดต่อหน้ากระจกแล้วฝึกพูดได้ดีมาก
การฝึกฝนการพูดในยุคปัจจุบัน เราสามารถทำได้ง่ายกว่าในอดีต เนื่องจากมี สโมสร สถาบัน ชมรมต่างๆ ที่สอนอีกทั้งเปิดโอกาสให้ท่านไปฝึกพูดได้เป็นประจำ สำหรับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ที่ใช้ในการพูด ท่านสามารถค้นหาได้มากกว่าในอดีต เนื่องจากมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งถ้าเป็นในสมัยก่อน หากท่านได้พูดในหัวข้อหนึ่งๆ ท่านจำเป็นจะต้องเดินทางไปหาข้อมูลตามแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดในสถาบันการศึกษา แต่ปัจจุบันท่านอยู่ที่ไหนท่านก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องประชุม ห้องสัมมนา โดยหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
การฝึกฝนการพูดในยุคปัจจุบัน มีแบบอย่างให้ดูมากมาย มีเครื่องมือช่วยให้การพูดของเราพัฒนาปรับปรุงได้มากขึ้น ท่านสามารถดูตัวอย่างการพูดได้จาก Youtube ท่านสามารถปรับปรุงพัฒนาการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้โดยวิธีการใช้กล้องวีดีโออัดหรือบันทึกภาพในการพูดของท่านแต่ละครั้งเพื่อนำไปดู ข้อดี ข้อเด่น ข้อด้อย ข้อควรพัฒนาปรับปรุง ในการพูดแต่ละครั้ง
การฝึกฝนการพูดเป็น ทั้งศาสตร์และศิลปะ กล่าวคือ การฝึกฝนการพูดท่านควรรู้ศาสตร์หรือองค์ความรู้ในเรื่องการพูดต่อหน้าที่ชุมชนอยู่บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดก็คือ ท่านต้องขึ้นเวที หรือ ฝึกฝนบ่อยๆ หากท่านมีทักษะหรือผ่านเวทีมากๆ ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดได้ในอนาคต
หรือหากท่านอยู่ในวงการขาย ถ้าท่านต้องการเป็นนักขาย ท่านมัวเอาแต่อ่านหนังสือการขาย ท่านมัวแต่ศึกษาวิธีการของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ท่านจะไม่มีวันประสบความสำเร็จในการเป็นนักขาย ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักขายท่านไม่มีทางอื่น นอกจากท่านจะต้องออกไปขายเท่านั้น การศึกษาทฤษฏีมีความสำคัญแต่ท่านควรให้ความสำคัญเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่การปฏิบัติ การฝึกฝนมีค่ามากกว่า ท่านควรให้น้ำหนักความสำคัญถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น อยากเป็นนักขายต้องออกไปขายครับ
เช่นกันถ้าอยากเป็นนักพูด การอ่านหนังสือการพูด การเรียนรู้เทคนิคต่างๆ การถามคนที่ประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรให้ความสำคัญเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่การขึ้นเวที การหาเวที การฝึกฝน เป็นทักษะที่ท่านต้องให้ความสำคัญ โดยการฝึกฝนและปฏิบัติให้มากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ หากต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูด ท่านไม่มีวิธีการอื่น ท่านต้องกล้าขึ้นไปพูดบนเวทีให้มากที่สุด
เช่นกันหากท่านอยากว่ายน้ำเป็น อยากว่ายน้ำเก่ง หากท่านมัวแต่อ่านหนังสือวิธีการว่ายน้ำ เทคนิคต่างๆ ในการว่ายน้ำ ท่านจะไม่มีทางว่ายน้ำเป็นเลย วิธีการก็คือ ท่านจะต้องลงไปในสระว่ายน้ำแล้วลงมือว่ายน้ำเลย ท่านอาจมีโอกาสจมน้ำบ้าง ท่านอาจมีโอกาสสำลักน้ำบ้าง แต่ท่านจะว่ายน้ำเป็นก่อนคนที่เอาแต่อ่านหนังสือวิธีการว่ายน้ำ โดยไม่เคยลงไปในสระว่ายน้ำเลย
ดังนั้น วิธีการฝึกฝนการพูด กระผมไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีการฝึกฝนการพูด วิธีไหนดีที่สุด ทั้งนี้ วิธีการฝึกฝนการพูดที่ดี คงต้องขึ้นอยู่กับ จริต นิสัย ใจคอ วิธีการ ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล แต่ถ้าหากท่านมีความปรารถนาที่จะพูดเป็น พูดเก่ง ท่านจะขาดการฝึกฝนการพูดไปไม่ได้
...
  
การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เคยมีคนตั้งคำถามกับกระผมว่า ทำไมคนนี้พูดแล้วเกิดความน่าเชื่อถือ แต่ทำไมอีกคนหนึ่งพูดแล้วไม่เกิดความน่าเชื่อถือ ความจริงแล้วการพูดให้เกิดความน่าเชื่อมีหลายปัจจัยคือ
1.ตัวผู้พูด กล่าวคือ หากต้องการให้ผู้ฟังเชื่อถือ ตัวผู้พูดเองต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้ หากผู้พูดพูดโกหกบ่อยๆ ผู้ฟังก็คงยากที่จะเชื่อ การสร้างความน่าเชื่อถือในตัวผู้พูดยังรวมไปถึง อาชีพ ตำแหน่ง ฐานะทางสังคม รายได้ทางเศรษฐกิจ และบุคลิกภาพ(ทั้งภายในและภายนอก)
2.เนื้อหาในการพูด มีความสำคัญ หากการพูดนั้นวกไปวนมาฟังแล้วไม่เข้าใจผู้ฟังเกิดสับสน ไม่มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ สถานที่ ขาดเหตุผล ขาดการอ้างอิง ขาดการเปรียบเทียบ ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก ขาดการวิเคราะห์ ขาดการสรุป ขาดการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว สิ่งเหล่านี้มักเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ผู้ฟังขาดความเชื่อถือ
3.วิธีการนำเสนอในการพูด มีส่วนสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือขึ้น เช่น มีหลักฐานเป็นภาพ คลิปเสียง คลิปภาพ ในการประกอบการพูด เพื่อให้เห็นของจริง หากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือที่ทันสมัยก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ ความเชื่อถือได้ ทั้งนี้คงรวมถึงการต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย เช่น วิเคราะห์เพศ วัย อาชีพ ช่วงอายุของผู้ฟัง ฯลฯ
สำหรับองค์ประกอบการพูดที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือหรือคล้ายตาม เราควรมีเทคนิคดังนี้
- สถิติ เป็นข้อเท็จจริงที่หน่วยงานต่างๆทำไว้ ควรหาข้อมูล สถิติจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือในการนำเสนอ
การพูด ตัวอย่างในการพูดให้เกิดความคล้อยตามหรือทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีคุณสมัคร สนุทรเวช เป็นบุคคลที่นำเอาตัวเลข สถิติ มาใช้เป็นจำนวนมากในการพูดหาเสียงแต่ละครั้ง
- ความคล้ายคลึงกัน ความคล้ายคลึงกันของผู้พูดกับผู้ฟังก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
หรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้พูดกับผู้ฟังนับถือศาสนาเดียวกัน ก็จะได้รับความไว้วางใจมากกว่า , มีอาชีพเดียวกัน ก็จะสร้างความยอมรับจากผู้ฟังได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันบางอย่างอาจจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้มากกว่าความคล้ายคลึงกัน เช่น บุคคลที่มีฐานะดีกว่าหรือตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่า ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุการณ์ เงื่อนเวลาในการพูดด้วย
- พูดให้ตรงความต้องการของผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังมีความต้องการสิ่งใด เราก็พูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจหรือพูดในสิ่งที่
ผู้ฟังมีความต้องการ เขาก็จะมีความเชื่อถือและคล้อยตามผู้พูด ซึ่งหลักจิตวิทยา อับราฮัม เอช มาสโลว์ ได้วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1.ความต้องการปัจจัยสี่ 2.ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย 3.ความต้องการความรักและมีส่วนร่วม 4.ความต้องการได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติ 5.ความต้องการบรรลุความหวังในชีวิต ซึ่งผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟังว่าอยู่ระดับขั้นตอนใด
- เสียงคำพูดต้องชัดเจน หนักแน่น การจะพูดให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม เกิดความเชื่อถือ เกิดความมั่นใจ ผู้
พูดจะต้องพูดด้วยความมั่นใจก่อน ควรพูดด้วยความกระตือรือร้น พูดด้วยความคล่องแคล่ว อีกทั้งเมื่อมีการถามคำถามก็ควรตอบด้วยความรวดเร็ว หนักแน่น ชัดเจน เสียงดัง มีการเน้นระดับเสียงสูงต่ำ
- ต้องมีการเตรียมตัวมาอย่างดี เช่น เตรียมหลักฐานต่างๆ มาประกอบการพูด เช่น ภาพ คลิป ข่าว หลักฐาน
การอ้างอิง คำพูดของคนสำคัญ ตลอดถึงการเตรียมเนื้อหาในการพูด การเลือกใช้คำกลอน ถ้อยคำ คำคม เพลง มาประกอบการพูด
แต่อย่างไรก็ตาม การจะพูดให้คนเกิดความคล้อยตามหรือเชื่อถือ คงขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดเป็นหลัก หากผู้พูดไม่เชื่อถือตามสิ่งที่พูดไป หากผู้พูดพูดโกหกในสิ่งที่พูด หากผู้พูดไม่มั่นใจในสิ่งที่พูด ก็คงยากที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เกิดความมั่นใจในสิ่งที่ผู้พูดพูด เช่น ผู้พูดพูดให้ผู้ฟังเชื่อว่าผีมีจริง แต่ตัวผู้พูดเองไม่เชื่ออีกทั้งยังไม่เคยเห็นผี ก็คงพูดให้พูดฟังเชื่อได้ยากเนื่องจากตัวผู้พูดเองยังไม่เชื่อหรือพูดให้ผู้ฟังเลิกสูบบุหรี่แต่ตัวผู้พูดเองสูบบุหรี่แบบมวนต่อมวนผู้ฟังก็คงเชื่อหรือคล้อยตามได้ยากเช่นกัน













...
  
การพูดที่ล้มเหลว
การพูดที่ล้มเหลว
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดที่ล้มเหลว มักเป็นการพูดที่ผู้พูดพูดกับผู้ฟังโดยผู้ฟังฟังแล้วรู้สึกสับสน ผู้ฟังฟังแล้วจับใจความไม่ได้ว่าผู้พูดต้องการสื่อสารอะไรกับผู้ฟัง เป็นการพูดที่ผู้ฟังฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ซึ่งสาเหตุของการพูดที่ล้มเหลว มีหลายสาเหตุ เช่น
1.ขาดการเตรียมการพูด การเตรียมการพูดมีความสำคัญมากต่อการพูดแต่ละครั้ง โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หากขาดการเตรียมตัวจะทำให้ผู้พูดขาดความมั่นใจ ขาดข้อมูลในการพูด ขาดเนื้อหาที่จะนำไปใช้ในการพูด ขาดการอ้างอิง ขาดการลำดับเหตุการณ์ ขั้นตอนของเรื่องที่พูด
2.ขาดเป้าหมายในการพูด การพูดหากขาดเป้าหมาย ขาดวัตถุประสงค์ในการพูด จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ เต็มไปด้วยความน่าเบื่อ เพราะผู้พูดจะพูดไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าการพูดครั้งนั้นๆ ต้องการบอกอะไรกับผู้ฟัง เช่น ต้องการจูงใจให้ผู้ฟังเลิกสูบบุหรี่ ต้องการพูดขำขันหรือทอล์คโชว์ให้แก่ผู้ฟัง หรือ ต้องการบอกเล่าประสบการณ์ของผู้พูดเป็นต้น
3.ขาดการสอดใส่อารมณ์ การพูดที่เต็มไปด้วยน้ำเสียงที่ เบา ราบเรียบ จะทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย ทั้งทำให้บรรยากาศในการฟัง ชวนให้ง่วงนอนมากยิ่งขึ้น การพูดที่สอดใส่อารมณ์จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดต้องนำไปปรับปรุงพัฒนา ควรฝึกการพูดให้มีจังหวะจะโคน จงพูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่ราบเรียบ โดยให้มีน้ำเสียงดัง เบา หยุด เน้น ย้ำ ตามเนื้อเรื่องที่พูด
4.ขาดความชัดเจนในการพูด การพูดที่พูดผิดพูดถูก ขาดความชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ถ้อยคำ ภาษา คำควบกล้ำ หากขาดความชัดเจนจะทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา ฉะนั้น หากท่านต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรหาโอกาสฝึกฝนตนเอง โดย การอ่านหนังสือออกเสียง อีกทั้งควรหาเทปหรือ MP3 มาอัดเสียงของตนเองเพื่อฟังแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
5.ขาดการวิเคราะห์ผู้ฟัง การพูดเก่งไม่ได้หมายความว่าผู้พูดเอาแต่พูดโดยไม่สนใจผู้ฟัง แต่คนที่ต้องการเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ผู้พูดคนนั้นจะต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง สนใจผู้ฟัง วิเคราะห์ว่าผู้ฟังเป็นคนวัยไหน ผู้ฟังมีอาชีพอะไรผู้ฟังมีความต้องการอะไร ผู้ฟังคุยกันระหว่างการพูดหรือไม่ ผู้ฟังขาดความสนใจในการพูดเพราะเหตุใด
6.ขาดการทำเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ แต่มีผู้พูดจำนวนมากมักทำเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องยากๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการ มักใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษมากมายในการพูด อีกทั้งยังเป็นคำศัพท์เฉพาะกลุ่ม ทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่เข้าใจในการฟัง แต่ทำให้ผู้พูดบางท่านเข้าใจผิดคิดว่า ตนเป็นคนมีภูมิรู้มากมาย ฉะนั้นหากต้องการประสบความสำเร็จจงทำเรื่องยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ และสนุก
7.ขาดความรู้ในเชิงลึกในเรื่องที่พูด การพูดหากว่าผู้พูดรู้ไม่ลึกพอ หรือไม่รู้จักหาข้อมูล มาศึกษาเพิ่มเติม รู้แค่เปลือกนอก เมื่อผู้ฟังถามคำถาม หากผู้พูดตอบไม่ได้ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธาและขาดความเชื่อถือได้ ฉะนั้น ก่อนจะไปพูดแต่ละครั้งควรเตรียมข้อมูล ควรศึกษาเรื่องดังกล่าวให้รู้ลึก รู้จริง ก่อนไปพูด เพราะยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูล ข่าวสาร ยุคของความรู้ ท่านสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆมากมาย
8.ขาดความเป็นธรรมชาติ การพูดที่เกร็งไม่เป็นปกติหรือเป็นธรรมชาติ มักทำให้ผู้ฟังรู้สึกเกร็งไปด้วย ความไม่เป็นปกติของผู้พูดเรามักสังเกตได้จาก ท่าทางที่นิ่งเฉย ไม่มีการแอกชั่น เป็นการพูดที่ขาดซึ่งอารมณ์ ขาดความรู้สึกในการพูด ฉะนั้นควรทำตนให้เป็นปกติหรือธรรมชาติในการพูดจะทำให้การพูดดูเป็นกันเอง ไม่น่าเบื่อหน่าย
ฉะนั้น หากท่านไม่ต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรงดจากการกระทำทั้ง 8 ข้อ ดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งควรปรับเปลี่ยน พัฒนา ให้ตรงกันข้ามกัน เช่น ขาดการเตรียมการพูด ท่านควรเตรียมการพูดให้มากๆ , ขาดเป้าหมายในการพูด ท่านต้องมีเป้าหมายในการพูดทุกครั้ง , ขาดการสอดใส่อารมณ์ ท่านต้องสอดใส่อารมณ์ในการพูดแต่ละครั้ง , ขาดความชัดเจนในการพูด ท่านควรฝึกฝนการพูดในมีความชัดเจนยิ่งขึ้น , ขาดการวิเคราะห์ผู้ฟัง ท่านควรมีการวิเคราะห์ผู้ฟัง , ขาดการทำเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ท่านต้องรู้จักทำเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องง่าย , ขาดความรู้ในเชิงลึกในเรื่องที่พูด ท่านจะต้องศึกษาให้มีความลึกซึ้งในเรื่องที่พูด และขาดความเป็นธรรมชาติ ท่านจะต้องทำตัวให้เป็นธรรมชาติในการพูดแต่ละครั้ง








...
  
จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)

www.drsuthichai.com

กระผมเชื่อว่า การเริ่มต้นเป็นวิทยากรของวิทยากรในอดีตและปัจจุบัน มีเส้นทางที่แตกต่างกัน สำหรับตัวกระผมเอง เรียนจบปริญญาตรีมาก็ไม่เคยคิดประกอบอาชีพนี้ แต่ดันไปทำงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) เกือบ 5 ปี แล้วไปเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยพะเยา เกือบ 13 ปี แล้วจึงลาออกมาเป็นวิทยากรอิสระ ซึ่งอาชีพอาจารย์ประจำกับวิทยากรอิสระมีความแตกต่างกัน เช่น การนำเอาวิธีการสอนของนิสิต นักศึกษา ในห้องเรียน มาใช้กับคนทำงานในห้องฝึกอบรม มักใช้ไม่ค่อยได้ผล , การบรรยายในห้องเรียน 3 ชั่วโมง มีหนังสือ ตำรา อุปกรณ์ต่างๆ แต่พอเป็นวิทยากรใหม่ๆถูกเชิญไปพูดหัวข้อสั้น เช่น “ การใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข ” 3 ชั่วโมง กระผมขอสารภาพว่า นั่งกลุ้มเลย ไม่รู้จะเอาอะไรไปพูด เพราะกระผมเคยฝึกพูดที่ สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย , ชมรมปาฐกถาและโต้วาที (มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ,สโมสรฝึกการพูดต่างๆ เขาให้ฝึกพูดแค่ 5-8 นาที เป็นต้น

แต่เมื่อกระผมได้ผ่านเวทีต่างๆมามาก ผ่านประสบการณ์มามาก บางเวทีอาจประสบความสำเร็จ บางเวทีก็อาจจะล้มเหลว มันต้องทดลองหลายแบบ จนในที่สุด ประสบการณ์ต่างๆ ก็จะสะสม จนเราเองเกิดความชำนาญ หากถูกเชิญให้พูดเรื่องเดียวกัน เช่น “ การใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข ” 3 ชั่วโมง ในปัจจุบัน กระผมอาจขอสัก 6 ชั่วโมง เพราะไหนๆก็จะไปพูดทั้งทีแล้ว เสียค่าเดินทาง เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ไปแล้วต้องเอาให้คุ้ม แต่สำหรับคนที่ต้องการจะเป็นวิทยากรอิสระกระผมขอแนะนำดังนี้

1.ท่านควรเลือกหัวข้อหรือหลักสูตรที่ท่านมีความถนัด ท่านมีความรู้ ที่จะสามารถถ่ายทอดได้ เช่น การพูดต่อหน้าที่ชุมชน , ขายอย่างเซียน , ครบเครื่องนักบริหาร , การบริการสู่ความเป็นเลิศ ฯลฯ

2.หาโอกาส หลังจากนั้นควรหาเวทีบรรยายหรือนำเสนอตัวต่อหน่วยงานต่างๆ ที่มีความต้องการที่จะฟัง หัวข้อหรือหลักสูตรที่ท่านบรรยาย ช่วงเปิดตัวใหม่ๆ ท่านอาจจะรับบรรยายให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง พัฒนาเนื้อหาของหลักสูตรของท่าน เช่น ไปบรรยายที่ วัด สถาบันการศึกษา สโมสร สถาบัน ชมรม ฯลฯ

3.นำเสนอหลักสูตรแก่สถาบันต่างๆหรือบริษัทรับจัดฝึกอบรม เมื่อท่านมีความมั่นใจว่าหลักสูตรที่ท่านไปบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ท่านสามารถบรรยายด้วยความเชื่อมั่น ลำดับต่อไปท่านควรนำเสนอหลักสูตรนั้น แก่ สถาบันหรือบริษัทรับจัดฝึกอบรม เพื่อให้สถาบันหรือบริษัทรับจัดฝึกอบรมหาลูกค้าให้แก่ท่าน

4.สร้างเครือข่าย แสวงหากลุ่ม หรือ บุคคลที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อช่วยเหลือกัน ท่านควรสมัครเข้า สถาบันหรือองค์กรต่างๆ ที่สามารถนำพาท่านให้มีโอกาสได้ไปบรรยายหรือได้เป็นวิทยากรมากยิ่งขึ้น เช่น สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย , สโมสรฝึกการพูดต่างๆ , สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ฯลฯ

5.ถือกระเป๋า เดินตามวิทยากรรุ่นพี่ หากท่านมีความมุ่งมั่นในเส้นทางวิทยากรอิสระจริง ท่านอาจจะต้องลงทุนเพิ่มพูนประสบการณ์ ด้วยการเรียนรู้ คอยรับใช้ คอยให้ความช่วยเหลือ วิทยากรมืออาชีพ เพื่อจะได้เรียนรู้ เทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการนำเสนอ เนื้อหา ตัวอย่าง แบบฝึกหัด ฯลฯ

6.โปรโมทตัวเองบ้าง สินค้าที่ดีหากไม่มีใครรู้จักก็มักจะขายสู้สินค้าที่ไม่ดีแต่มีคนรู้จักไม่ ได้ จงจัดหางบประมาณในการลงทุนโปรโมทตนเองบ้าง เช่น ลงทุนทำเว็บไซต์ส่วนตัว , ลงทุนโฆษณาตามสื่อต่างๆ , ลงทุนทำหนังสือที่ตนเองแต่งขาย ฯลฯ หรือ อาจจะลงทุนโปรโมทตัวเองแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การเขียนบทความลงตามสื่อต่างๆ อาทิ ในหนังสือพิมพ์ ในวารสาร ในอินเตอร์เน็ต ฯลฯ

ดังนั้น ท่านสามารถเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอิสระได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ โดยการเลือกหัวข้อหรือหลักสูตรที่ท่านต้องการบรรยาย , หาโอกาสให้กับตัวเอง , นำเสนอหลักสูตรแก่สถาบันต่างๆหรือบริษัทรับจัดฝึกอบรม , สร้างเครือข่าย , ถือกระเป๋า เดินตามวิทยากรรุ่นพี่ และ รู้จักที่จะโปรโมทตัวเอง ...
  
ความเชื่อมั่นในการพูด
จะพูดให้ดี…ต้องรู้จักสร้างความเชื่อมั่น...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
บุคคลไม่ว่าจะมีความรู้มากมายขนาดไหน มีการศึกษาสูงเพียงไร แต่หากขาดซึ่งความเชื่อมั่นแล้ว เขาก็ไม่สามารถนำเอาความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่ผู้อื่นและประเทศชาติได้ เข้าทำนองคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ”
ตรงกันข้ามกับบุคคลที่ไม่มีการศึกษาสูง ไม่มีปริญญา มีการศึกษาน้อยนิด แต่เขาสามารถเป็นผู้นำและเปลี่ยนแปลงโลกได้ ดังเช่น ฮิตเลอร์ อดีตผู้นำของเยอรมัน ไม่ได้เรียนจบปริญญา แต่ด้วยความเชื่อมั่น เขาสามารถพูดชนะใจ ประชาชนชาวเยอรมัน และสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปในแนวทางที่เขาวางไว้ได้
ซึ่งความเชื่อมั่นนี้ ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูด จะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเชื่อมั่นในข้อมูลหรือความรู้ที่ตนเองได้เตรียมไว้ มีความเชื่อมั่นในความคิดความอ่านของตนเอง เพราะว่าหากท่านมีความเชื่อมั่นในตนเอง ท่านสามารถเป็นอะไรก็ได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งเป็นนักพูด
ความเชื่อมั่นนี้มีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะถ้าหากผู้พูดไม่เชื่อมั่นในตนเองแล้ว ผู้ฟังก็มักจะไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีความศรัทธาในตัวของผู้พูด ความเชื่อมั่นนี้ยังรวมถึงการแสดงออกภายนอกของผู้พูดอีกด้วย เช่น ท่าทาง บุคลิกภาพ น้ำเสียงในการพูด สีหน้า ฯลฯ
ความประหม่า ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวทำลายความเชื่อมั่น ซึ่งวิธีแก้ความประหม่า เคยมีครูอาจารย์หลายท่านที่ได้แนะนำไว้ว่า ผู้พูดควรพูดเสียงดังกว่าปกติเพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้น แล้วค่อยเบาเสียงลงให้อยู่ในภาวะปกติ หรือ ก่อนพูดควรดื่มน้ำเย็นเพียงสักเล็กน้อย ต้องขอย้ำนะครับว่า เพียงสักเล็กน้อย เพราะถ้าบางท่านนำคำแนะนำไปใช้แต่ดันดื่มมาก จะทำให้เกิดการปวดฉี่ได้ในเวลาพูดบนเวที หรือ ก่อนขึ้นพูดควรพูดปลุกกำลังใจตนเองในใจ เช่น สู้ตาย , การพูดในหัวข้อนี้ข้าพเจ้ารู้ดีที่สุด , ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้เราเต็มที่ไว้ก่อน ฯลฯ
ฉะนั้น หากใครสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้นนี้ ก็จะช่วยลดความประหม่าไปได้บางส่วน แต่ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุด ในการแก้ความประหม่าก็คือ ท่านต้องขึ้นพูดบ่อยๆ นั้นเอง เพราะ ถ้าเรากลัวสิ่งไหนแล้วเราทำสิ่งนั้น ความกลัว ความประหม่า ก็จะลดน้อยลงไปเอง
และไม่ควรเชื่อคำแนะนำที่ผิดๆ เนื่องจากบางท่านมีอาการประหม่า จึงไปถามเพื่อนฝูงว่าจะแก้ไขอย่างไร เพื่อนฝูงบางท่านจึงแนะนำให้ไปดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ หรือ เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ซึ่ง หากท่านใดปฏิบัติตามอาจก่อให้เกิดปัญหาได้มากกว่าที่จะแก้ปัญหา เนื่องจากเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เมื่อดื่มไปมากๆ มักทำให้ผู้พูด ขาดสติหรือมีสติลดน้อยลง อาจทำให้เกิดการผิดพลาดในการพูดได้
แต่ หากว่าเรามองโลกในแง่ดี ความจริงความประหม่า ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เพราะเจ้าตัวประหม่านี้จะทำให้นักพูดท่านนั้น เกิดพัฒนาตนเองได้มากขึ้น เนื่องจากหากข้อมูลไม่พร้อม การเตรียมตัวไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดความประหม่าหรือความกลัว ฉะนั้น เพื่อลดความประหม่าและลดความกลัว จึงทำให้เกิดการเตรียมข้อมูลมากขึ้น เตรียมการพูดมากขึ้น เมื่อเตรียมการพูดมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจในการพูดยิ่งขึ้น
ตรงกันข้าม หากผู้ใดไม่มีความประหม่า ไม่วิตกกังวลเลย ก็จะทำให้ผู้นั้นประมาท ซึ่งมีผลทำให้ขาดการเตรียมข้อมูล ขาดการเตรียมตัว ไม่ทำการบ้าน กล่าวคือมีความรู้แค่ไหนก็พูดแค่นั้น ทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ไม่มีคุณภาพ ไม่มีข้อมูลใหม่ๆ มานำเสนอ ขาดตัวอย่างประกอบ

ดังนั้น หากท่านปรารถนาจะเป็นนักพูด ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ไม่มีใครหรืออิทธิพลอันใดที่จะช่วยท่านได้ นอกจากตัวของท่านเอง ตัวเราเองต่างหากที่กำหนดชะตาชีวิตของเราเอง ว่าเราจะเป็นนักพูด ตามที่เราใฝ่ฝันได้หรือไม่ ตัวเราเองต่างหากต้องสร้างความเชื่อมั่น สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับตัวเราเอง เราจะเป็นนักพูดระดับธรรมดาสามัญ หรือ นักพูดที่ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นและความปรารถนาอย่างแรงกล้าในตัวของเรา




...
  
6 W 1 H สำหรับการพูด
6 W 1 H สำหรับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดการนำเสนอที่ดี ผู้พูดควรรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ และควรมีหลักการในการนำเสนอ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและนำไปประยุกต์ใช้ ในบทความนี้ กระผมขอนำเสนอในเรื่อง 6 W 1 H สำหรับการพูด มีดังนี้
1 What คือ เราต้องตอบคำถามก่อนว่า เราจะนำเสนอเรื่องอะไร การที่เราจะไปพูดในงานต่างๆ เราต้องทราบก่อนว่า เจ้าของงานต้องการให้เราพูดเรื่องอะไร ฉะนั้นเราต้องถามรายละเอียดต่างๆก่อนที่จะไปพูด เนื่องจากบางแห่ง ต้องการให้เราไปพูดเรื่องสัตว์ปีก แต่ในความเป็นจริงเรื่องสัตว์ปีกมีจำนวนมาก ผู้พูดจึงควรถามให้ลึกลงไปว่า ที่ว่าจะให้พูดเรื่องสัตว์ปีกจะให้พูดเน้นไปในสัตว์ปีกชนิดไหน เช่น ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ เพราะในสมัยอดีต เคยมีเรื่องเล่ากันว่า ชาวบ้านหมู่บ้านแห่งหนึ่งต้องการให้อาจารย์ท่านหนึ่งไปพูดเรื่องสัตว์ปีก แต่อาจารย์ท่านนี้เคยมีประสบการณ์ทางด้านการพูดอยู่มาก จึงถามผู้เชิญไปพูดว่า ที่ต้องการให้พูดเรื่องสัตว์ปีกเป็นสัตว์ปีกประเภทไหน ปรากฏว่าชาวบ้านต้องการให้ผู้พูดพูดเกี่ยวกับสัตว์ปีกประเภท จิ้งหรีด แมงมัน เพราะชาวบ้านคิดว่า จิ้งหรีด แมงมันคือสัตว์ปีก ดังนั้น ผู้พูดต้องถามเจ้าของงานให้ชัดเจนถึงเรื่องที่จะให้พูด
2 Why คือ นำเสนอทำไม มีวัตถุประสงค์อย่างไร การพูดที่ดี เราควรรู้ว่างานที่ให้ไปพูดเขามีวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น ต้องการได้รับความรู้จากผู้พูด หรือต้องการได้รับความบันเทิงสนุกสนานในการพูดหรือต้องการให้ผู้พูดพูดจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและนำไปปฏิบัติ หากว่าผู้พูดทราบวัตถุประสงค์ของเจ้าของงานแล้ว ก็จะทำให้ผู้พูดพูดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
3 Whom นำเสนอต่อใคร ใครเป็นผู้ฟัง ในการพูดแต่ละครั้ง ผู้ฟังมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จในการพูด หากผู้พูดต้องการความสำเร็จในการพูด ผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟังเป็นใคร อายุ เพศ วัย การศึกษา การนับถือศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีอะไร
4 Who ผู้พูดต้องทราบว่าตนเองนำเสนอหรือพูดในฐานะใด เนื่องจากคนเราส่วนใหญ่มีบทบาทต่างๆ มากมาย เช่น เป็นผู้บริหาร เป็นนักขาย เป็นนักเขียน เป็นนักจัดรายการ เป็นนักศึกษา เป็นนักร้อง ฯลฯ ดังนั้น หากเราสวมบทบาทนักศึกษา การนำเสนอก็ต้องออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราสวมบทนักขายเราก็ต้องพูดนำเสนออีกรูปแบบหนึ่งแก่ลูกค้า เป็นต้น
5 Where นำเสนอการพูดที่ไหน สถานที่ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เช่น พูดในวัด พูดในห้องประชุม พูดกลางท้องสนามหลวง พูดในห้องอบรมบรรยาย ฯลฯ การวิเคราะห์สถานที่จะทำให้เราเตรียมการพูดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานที่นั้นๆ
6 When นำเสนอเมื่อไร สถานการณ์เป็นอย่างไร การพูดที่ดีต้องรู้จัก วิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด ว่าเราควรพูดด้วยคำพูดอย่างไร ถึงจะเข้าถึงใจผู้ฟัง เช่น สถานการณ์การชุมชนทางการเมือง ควรพูดด้วยท่าทางที่จริงจัง เสียงดัง ฟังชัด ไม่ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่เบา เนื่องจากการพูดทางด้านการเมืองต้องใช้ ท่าทาง น้ำเสียง ภาษา การอ้างอิง เพื่อที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและยอมรับ
1 How เสนออย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จในการพูด การนำเสนอมีส่วนสำคัญมากต่อการพูด ยิ่งในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย คอยช่วยในการนำเสนอ เช่น มีคลิปวีดีโอ มีเสียง มีคอมพิวเตอร์ มีโปรแกรมต่างๆ ที่จะทำให้การนำเสนอของเราเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น จงกล้าที่จะเรียนรู้ เทคโนโลยี เพื่อที่จะนำมาใช้ในการพูด
6 W 1 H จึงเป็นหลักการที่สามารถนำมาใช้หรือนำมาประยุกต์ใช้ในการพูดของท่านได้ หากท่านต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ขอให้ท่านได้โปรดเรียนรู้ พัฒนา ตนเองเพิ่มเติม อีกทั้ง หลักการ 6 W 1 H ยังสามารถนำไปใช้ในศาสตร์ต่างๆ เช่น ศาสตร์ทางด้านการขาย 6 W 1 H สามารถนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์ลูกค้า หรือ 6 W 1 H สามารถนำไปใช้สำหรับเป็นหลักในการเขียนหนังสือได้อีกด้วย

...
  
พูดอย่างฉลาด
พูดอย่างไรเรียกว่าพูดอย่างฉลาด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“อันพูดนั้นไม่ยาก ปานใด เพื่อนเอย
ใครที่มีลิ้นอาจ พูดได้
สำคัญแต่ในคำ ที่พูด นั่นเอง
อาจจะทำให้ชอบ และชัง”
พระราชนิพนธ์ดุสิตสมิต

จากพระราชนิพนธ์ดุสิตสมิต ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของคำพูด ว่าการพูดนั้นทำให้คนชอบก็ได้ หรือคนชังก็ได้ จึงขึ้นอยู่กับคนที่ใช้คำพูดนั้นๆ ซึ่งการพูดหรือคำพูดที่มีลักษณะที่ดี และคนที่ฉลาดมักเลือกใช้มักจะมีลักษณะดังนี้
1.เป็นคำพูดที่แสดงถูกกาล กล่าวคือ เป็นคำพูดที่พูดถูกจังหวะ ถูกเวลา ถูกสถานที่
1.1.การพูดถูกจังหวะ คนมักชอบ ดังคำที่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ พูดมากก็มากเรื่อง พูดน้อยก็พลอยเคียง ไม่พูดก็ไม่รู้เรื่อง แต่การพูดผิดจังหวะคนมักชัง ตัวอย่าง ในการสนทนากัน บางคน พูดไม่ถูกจังหวะ เขาพูดยังไม่จบรีบพูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูดไม่จบ การพูดที่ผิดจังหวะนี้เมื่อทำบ่อยๆ คนที่สนทนาด้วยก็มักจะไม่ชอบ แต่เขามักจะชัง
1.2.การพูดถูกเวลา คนมักชอบ แต่การพูดผิดเวลาคนมักชัง ดังนั้น ในบางกรณี ก่อนที่เราจะพูด เราควรถามอีกฝ่ายหนึ่งก่อนว่า “ ขอโทษครับ ผมขอเวลาปรึกษาเรื่อง...ไม่ทราบว่าคุณจะพอมีเวลาว่างให้ผมไหมครับ ”
1.3.การพูดถูกสถานที่ การพูดเรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ควรนำไปพูดในบางสถานที่ เช่น เขากำลังทำพิธีสวดศพอยู่ เราดันไปพูดเรื่องตลก หัวเราะชอบใจในงานศพ เมื่อเจ้าภาพเห็นเขาอาจ ไม่รู้สึกสนุกเหมือนเราสนุกก็เป็นได้
2.น้ำเสียงสอดคล้องกับเรื่องที่พูด น้ำเสียงมีความสำคัญต่อเรื่องที่พูด มีคนเคยกล่าวว่า “ ภาษาสื่อถึงความหมาย
แต่น้ำเสียงก่อให้เกิดความหวั่นไหวในใจ ” คำพูดดังกล่าวมีความเป็นจริงมากอยู่ทีเดียว เช่น เรากล่าวแสดงความเสียใจในการจากไปของบิดาของเพื่อนสนิท แต่เรากล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น ดีใจ ชอบใจ เพื่อนจะมีความรู้สึกเช่นไร ถึงแม้เราจะใช้ภาษาที่บอกว่าเราเสียใจนะ แต่น้ำเสียงเราไม่สอดคล้องกัน อาจทำให้เพื่อนเรา ชังเราได้
3.มีอารมณ์ขันบ้าง การพูดที่ทำให้คนชื่นชอบ มักเป็นคำพูดที่ทำให้คนหัวเราะ ดังนั้น หากผู้พูดท่านใดเป็นนักสะสมอารมณ์ขัน หรือ เรื่องราวที่สนุกๆ คนมักจะชื่นชอบ อีกทั้งทำให้มีเพื่อนมาก คนอยากรู้จัก แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ผู้พูดควรต้องรู้จักวิเคราะห์ เนื้อหาในข้อที่ 1 เพิ่มด้วย คือ ควรใช้อารมณ์ขันให้ถูกกาล (ถูกจังหวะ ถูกเวลาและถูกสถานที่)ด้วย
4. พูดให้เนื้อหามีความชัดเจน ชวนติดตาม ผู้พูดที่ผู้ฟังชื่นชอบ มักพูดเนื้อหาให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังทำให้เกิดการติดตาม มีการจัดลำดับในการพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผู้ฟังไม่สับสน มีการพูดเรื่องที่ใกล้ตัวผู้ฟัง ผู้ฟังจึงสนใจที่อยากจะฟัง
5.ภาษาที่มีความเหมาะสมกับเรื่องและผู้ฟัง ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศมากจนเกินไปหากพูดกับผู้ฟังที่เขาไม่มีความรู้ในภาษานั้น หรือ คำศัพท์ในวงการนั้นๆ ไม่ควรมีคำฟุ่มเฟือย คำแสลง มากจนเกินไป หลีกเลี่ยงการระบุชื่อ หากสื่อถึงผู้นั้นในทางที่เสียหาย เพราะอาจทำให้เกิดโทษมากกว่า ประโยชน์ บางครั้ง ผู้พูด ใช้คำพูดที่ระบุถึง ความเสียหายของบุคคลโดยระบุชื่อ ก็อาจจะถึงกับขึ้นโรง ขึ้นศาลไปเลยก็มีมาแล้ว เพราะอาจโดนผู้ที่เสียหายฟ้องหมิ่นประมาทได้
6.การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หากผู้พูดเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมก็จะทำให้ผู้ฟัง มีความสุขที่ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง ดังนั้น ผู้พูด เมื่อพูดไป ก็ควรตั้งคำถามให้ผู้ฟังตอบหรือขอให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวที่ผู้พูดพูด เพราะผู้ฟังอาจจะไม่สนใจในสิ่งที่ผู้พูด พูดเลย หากผู้พูดไม่ให้ความใส่ใจในตัวผู้ฟัง
การพูดที่พูดถูกกาล , การใช้น้ำเสียง ,การใช้อารมณ์ขัน , การพูดให้เกิดความชัดเจน , การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมและการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการพูด จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดที่ฉลาดควรกระทำกัน
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.