หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  การเตรียมการพูด
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ลีลานักพูด
  -  นักพูดชั้นนำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เทคนิคการเป็นพิธีกร
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  การฝึกพูด
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  การพูดทางการเมือง
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  จังหวะในการพูด
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  พูดให้ถูกสถานการณ์
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีการฝึกการพูดของ พันเอก ปิ่น มุทุกันต์
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การอ่านใจคนจากภาษากาย
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การสร้างพลังสามัคคี
การสร้างพลังสามัคคี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
นับตั้งแต่เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกระทั่งมาถึงการเหตุการณ์ความขัดแย้งทางด้านการเมือง มีการแบ่งสีแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ตลอดจนถึงฝ่ายการเมือง ข้าราชการ บางท่านมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนถึงการขาดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ปกครองประเทศ ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหาย
การสร้างพลังสามัคคีจึงถือว่าเป็นคุณธรรมที่สำคัญ ที่จะช่วยให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข เกิดความเจริญรุ่งเรือง เพราะหากคนในชาติยังแตกแยกกันอยู่ แล้วเราจะไปเอาพลังจากไหน ไปสร้างชาติ ไปแข่งขันกับประเทศอื่นๆ บรรพบุรุษของเราได้รักษาชาติ ได้รักษาเอกราช ได้กอบกู้ชาติ เอาไว้ก็ด้วยความสามัคคีไม่ใช่หรือ ในทางตรงกันข้าม กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2112 สมัยพระมหินทราธิราช และเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่ประเทศพม่าในครั้งที่ 2 ก็เพราะสาเหตุอะไร สาเหตุประการหนึ่งก็คือประชาชนชาวไทยในยุคนั้นขาดความสามัคคี เกิดความแตกแยก เกิดความชิงดีชิงเด่นกัน ไม่ใช่หรือ
สามัคคี จากพจนานุกรม หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน,ความปรองดองกัน ซึ่งความสามัคคีแยกเป็น 2 ประเภท คือ
กายสามัคคีหรือสามัคคีทางกาย ได้แก่ การที่บุคคลมาช่วยกันทำงานอย่างพร้อมเพียงกัน เช่นการลงแขกทำนา หรือบุคคลมาช่วยกันทำนาร่วมกัน , การร่วมกันสร้างหอสมุดสาธารณะ , การร่วมกันสร้างโรงเรียน เป็นต้น
จิตสามัคคีหรือสามัคคีทางใจ ได้แก่ ความพร้อมเพรียงกันด้วยน้ำใจ การไม่ทะเลาะวิวาทกัน การไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน การไม่ดูถูกเหยียดหยามกัน แต่มีความรักผูกพัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
จิตสามัคคีหรือสามัคคีทางใจ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญกว่ากายสามัคคีหรือสามัคคีทางกาย เพราะ กายสามัคคีหรือสามัคคีทางกาย บางกรณีอาจถูกบังคับให้ทำก็ได้ เช่น การถูกเจ้านายใช้อำนาจบังคับให้ทำงานร่วมกัน หรือการยกของอันหนักโดยถูกการบังคับให้ทำ โดยที่จิตสามัคคีหรือสามัคคีทางใจ ยังไม่เกิดขึ้นร่วมกันก็เป็นไปได้ กรณีที่ถูกบังคับจึงเป็นความสามัคคีในระดับที่ต่ำ เพราะไม่เป็นการทำด้วยใจและเป็นการถูกบังคับให้ทำชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ฉะนั้นจิตสามัคคีหรือสามัคคีทางใจจึงเป็นคุณธรรมที่ลึกซึ้งและส่งผลบวกมากกว่ากายสามัคคีหรือสามัคคีทางกาย
ส่วน การเล่นการพนัน การร่วมกันปล้น ร่วมกันฆ่า ร่วมกันข่มขืน ไม่จัดว่าเป็นความสามัคคี เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและยังเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย
สาเหตุของการแตกสามัคคี คือ
1.การโทษผู้อื่น พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า “ โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก” คนเรา
มักโทษคนอื่นมากกว่าโทษตนเอง ทั้งๆที่บางกรณีเราเองก็เป็นฝ่ายที่ผิด
2.การมองคนอื่นในแง่ร้าย การเป็นคนหูเบา เชื่อคนอื่นๆได้ง่าย เมื่อใครพูดยุก็หูเบาเชื่อ ท่านหลวงพ่อพุทธทาส
จึงได้สอนเป็นบทกลอน บทประพันธ์ไว้ว่า
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง”
3.การพูดเสียดสีกระทบกระทั่งเป็นเหตุทำลายความสามัคคี ปากหรือคำพูดจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ในหมู่คณะ เพราะคำพูดสามารถสร้างมิตรหรือก่อศัตรูได้ในเวลาเดียวกัน จึงมีคำสอนของคนโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังคำพูด”
4.ความโกรธ เป็นอารมณ์ที่หากผู้ใดควบคุมไม่ได้ ก็จะโดนอารมณ์โกรธควบคุมตัวท่าน หลวงพ่อชาเคยกล่าวไว้ว่า “ เวลาโกรธขึ้นมา จบด็อกเตอร์กับจบประถม 4 ก็โง่พอๆกัน” ดังนั้น เหตุที่เกิดการทะเลาะกัน การตีกัน การฆ่าฟันกัน ก็มาจากสาเหตุหนึ่งก็คือความโกรธนั่นเอง
ดังนั้นการสร้างความสามัคคีขึ้นมาในชาติจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะกระผมเชื่อว่า บ้านที่มีรอยแตกร้าวอยู่ไม่สามารถอยู่มั่นคงถาวรฉันใด ประเทศชาติที่ขาดความสามัคคีก็ไม่สามารถอยู่อย่างมั่นคงถาวรฉันนั้น


...
  
ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์คนใดในโลก หากขาดซึ่งความเชื่อมั่นในตนเอง เขาจะเป็นอะไรไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น นักพูด นักการเมือง ผู้นำ เพราะหลายๆสิ่ง เราสามารถหาหรือสร้างขึ้นมาได้ เช่น ความรู้ เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ , ทักษะต่างๆ เราสามารถฝึกฝนด้วยความเพียรพยายามได้ แต่ถ้าขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ถึงแม้เขาจะมีความรู้ ท่วมหัวก็เอาตัวไม่รอด
สำหรับบทความฉบับนี้ เราจะมาแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อง ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชนและวิธีการสร้างความเชื่อมั่นในการพูด มีดังนี้
1.เมื่อถูกเชิญให้ไปพูดเรื่องอะไรก็ตาม เราต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้เต็มที่เสียก่อน เพราะเมื่อเรามีความรู้ในเรื่องที่เราจะไปพูดเป็นอย่างดีแล้ว เราจะพูดเรื่องนั้นๆ ไปด้วยความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเอง เราจะพูดเรื่องราวไปด้วย อาการที่เต็มเสียง เต็มอารมณ์ และ เต็มอาการ
2.เตรียมการพูดอย่างเต็มที่ เมื่อได้หัวข้อเรื่องที่จะไปพูดแล้ว เราจะต้องมาเตรียมข้อมูล เตรียมโครงเรื่องในการพูด ว่า เราจะขึ้นต้นเรื่องอย่างไร เนื้อเรื่องอย่างไรและลงท้ายอย่างไร เราจะสามารถยกตัวอย่างที่สนุกๆ ประกอบการพูดในแต่ละตอนได้หรือไม่ เราจะใช้คำคม สุภาษิตอะไรบ้างในขณะที่เราขึ้นพูด เป็นต้น
3.ฝึกซ้อมการพูด มีความสำคัญมาก ซึ่งแต่ละคนมีวิธีการฝึกซ้อมการพูดที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจยืนพูดหน้ากระจก บางคนอาจจะเขียนเรื่องราวทั้งหมดแล้ว นำมาอ่านหลายๆ รอบ บางคนอาจจะทำเป็นรูปแบบนำเสนอผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาประกอบการพูด ฯลฯ
4. พูดในใจหรือให้กำลังใจตนเอง ตลอดเวลาในระหว่างพูด พยายามคิดบวกเสมอ เช่น พูดในใจว่า “วันนี้ ฉันสู้ตาย ” หรือ “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้ เราเต็มที่ไว้ก่อน” หรือ “ หัวข้อนี้ เรื่องนี้ ฉันรู้ดีที่สุด” เป็นต้น
5.อย่าคิดมากจนเกินไป คนส่วนใหญ่ เกิดความวิตก เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ก็เพราะเกิดจากความคิดของตนเอง เช่น คิดว่า ผู้ฟังบางคนอาจจะรู้ดีกว่าเรา , คิดว่าผู้ฟังจะเบื่อ จะไม่เข้าใจในเรื่องที่เราพูด ฯลฯ จึงทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือ อาการประหม่า อาการวิตก อาการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ดังนั้น เมื่อขึ้นไปพูดบนเวที เราไม่ควรคิดมากจนเกินไป แต่เราควรทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด
6.พูดอย่างกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ในเวลาที่ขึ้นพูด เพราะเวลาผู้ฟัง ฟังผู้พูด พูด ผู้ฟังมักจะรู้ผ่านความรู้สึกต่างๆในเวลาฟัง ว่า ผู้พูดอยากที่จะพูดหรือไม่ ผู้พูดมีความสุขในขณะถ่ายทอดหรือไม่ เป็นต้น
7.สูดลมหายใจ ลึกๆ ดื่มน้ำเย็นสักเล็กน้อย และเริ่มต้นการพูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติสักเล็กน้อยแล้วค่อยๆ ลดความดังลง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีสภาพร่างกายที่ผ่อนคลาย ไม่เครียดเวลาพูด การดื่มน้ำเย็นสักเล็กน้อยจะทำให้เกิดความสดชื่น แต่ขอย้ำนะครับว่าสักเล็กน้อย เพราะบางคนดื่มมากไป แทนที่จะช่วยลดอาการประหม่าได้ กลับกลายเป็นอยากฉี่ แทนตอนเวลาขึ้นไปพูดบนเวที
8.สร้างความเป็นกันเอง ผู้พูดควรไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย เพื่อไปทักทายผู้ฟัง เพื่อก่อให้เกิดความรู้จักกันและเกิดความเป็นกันเองขึ้น อีกทั้ง ควรสร้างบรรยากาศโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังสักถามผู้พูดได้ในระหว่างการบรรยายเป็นระยะๆ
ทั้ง 8 ข้อ ข้างต้นเป็นข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ถ้าขาดความเชื่อมั่นในตนเองเสียแล้ว ท่านจะเป็นนักพูดไม่ว่าระดับใดๆ ไม่ได้เลย ตรงกันข้ามท่านจะเกิดความวิตกกังวล เกิดความกลัว เกิดอาการประหม่า ดังนั้น นักพูดทุกระดับควรฝึกพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองให้เกิดขึ้นในเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน









...
  
ศิลปะการพูดในที่ประชุม
ศิลปะการพูดในที่ประชุม
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดในที่ประชุม มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากในการอยู่ร่วมกันในสังคม ยิ่งท่านใดที่มีตำแหน่งผู้บริหาร เป็นผู้นำ ก็ยิ่งจะต้องเข้าร่วมประชุมมากกว่าลูกน้องหรือผู้ตาม มารยาทการประชุมรวมทั้งการพูดในที่ประชุมจึงเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ฝึกฝน สำหรับมารยาทและการพูดในที่ประชุมที่ดีมีดังนี้
1.เราควรจะเข้าร่วมประชุมให้ตรงเวลา อีกทั้งประธานการประชุมก็ควรเปิดการประชุมในตรงเวลาด้วย สำหรับสังคมไทยมีปัญหามาก เพราะหลายแห่งเปิดประชุมช้ากว่ากำหนดการที่ได้ตั้งเอาไว้ เนื่องจากคนไทยเป็นจำนวนมากไม่ค่อยรักษาเวลา อีกทั้งยังเข้าร่วมประชุมช้า จึงทำให้เลิกประชุมช้ากว่ากำหนดการที่วางเอาไว้ ทำให้การประชุมในครั้งนั้นมีปัญหามากคือ เปิดประชุมช้า ปิดประชุมช้า
2.ก่อนแสดงความคิดเห็นแต่ละครั้ง ควรขออนุญาตประธานในที่ประชุม อาจยกมือก่อนแล้วจึงพูด แสดงความคิดเห็น อีกทั้งประธานในที่ประชุมควรบอกกฎกติกาก่อนเข้าร่วมประชุม เช่น ท่านสมาชิกท่านใด ต้องการแสดงความคิดเห็นกรุณายกมือก่อนนะครับ
3.ใช้ภาษา คำพูด น้ำเสียงที่สุภาพ ให้เกียรติต่อที่ประชุม ไม่ควรพูดจาก้าวร้าว ไม่ควรพูดเล่นจนเกินไป แต่อาจพูดสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายได้บ้าง
4.ควรพูดให้สั้น กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ หลายท่านเวลาแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม มักพูดจายาวจนเกินไป อีกทั้งยังพูดจาไม่รู้เรื่องจนผู้ฟังจับประเด็นไม่ได้ การพูดจายาวจนเกินไปอาจทำให้เสียเวลาและสมาชิกในที่ประชุมเกินการเบื่อหน่าย อีกทั้งการประชุมหลายแห่ง มักมีผู้ที่เสนอความคิดเห็นซ้ำๆ กัน บางคนยกมือพูดแสดงความคิดเห็นตั้ง 3-4 ครั้ง ดังนั้น ประธานในที่ประชุม ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกท่านอื่นที่ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นได้มีโอกาสได้พูดบ้าง
5.ควรตั้งใจฟังการประชุม หลายๆคนมักเข้าใจผิดคิดว่า คนที่พูดในที่ประชุม เก่ง ไม่มีความจำเป็นจะต้องฟังการประชุมก็ได้ แต่ความจริงแล้ว คนที่แสดงความคิดเห็นหรือพูดจาในที่ประชุมเก่ง โดนใจผู้ฟัง มักเป็นนักฟังที่ดี เขาจะฟังการประชุม แล้วหัดจับประเด็นต่างๆ อีกทั้งการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมมักไม่พูดจาหรือแสดงความคิดเห็นซ้ำกับคนที่ได้พูดไปแล้ว เพราะถ้าหากเขาไม่ฟังการประชุม เขาอาจจะต้องแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถามเหมือนกับคนที่พูดไปแล้วก็จะทำให้ผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่ศรัทธา อีกทั้งอาจถูกดูถูกเอาได้ง่ายๆ
6.ต้องทำการบ้านมาก่อนประชุม คนที่แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมได้เก่ง มักเป็นคนที่มีข้อมูลมากกว่าคนอื่น อีกทั้งยังทำการบ้านมาเป็นอย่างดี เช่น การเอาข้อมูลการประชุมเก่าๆ มาดู , อีกทั้งการประชุมบางแห่งได้ส่งจดหมายและกำหนดการต่างๆไปให้อ่านก่อน เขาก็จะทำการบ้านในประเด็นต่างๆ วาระการประชุม
7.เวลาลุกขึ้นออกไปทำธุระหรือกลับเข้ามานั่งประชุมต่อ ควรทำความเคารพประธานหรือที่ประชุม อาจจะยืนโค้งสักเล็กน้อย
สำหรับการพูดในที่ประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้พูดควรทำการศึกษารูปแบบของการประชุมแบบต่างๆด้วย เช่น การสัมมนา การอภิปราย การบรรยาย การสมัชชา สุนทรพจน์ เป็นต้น
อีกทั้งการพูดจาในที่ประชุมที่ดี เราควรต้องทราบบทบาทของเราก่อนว่าเรามีบทบาทหรือทำหน้าที่อะไร เช่น เป็นประธาน เป็นสมาชิก เพราะหากท่านเป็นประธานการพูดจาในที่ประชุมของท่านจะต้องมีลักษณะ การพูดที่เป็นการกำหนดแนวทางการประชุม กล่าวเปิด กล่าวปิดประชุม สร้างบรรยากาศที่ดี กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น หรือ หากท่านเป็นสมาชิกหรือผู้เข้าร่วมประชุม ท่านจะต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับระเบียบวาระ อีกทั้งแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ที่ประชุม เป็นต้น

...
  
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“ ในโลกนี้ยังไม่เคยปรากฏว่านักพูดคนใดที่สามารถพูดโดยไม่เตรียมตัวได้ดีกว่าเตรียมตัวนอกเสียจากเหตุบังเอิญ เท่านั้น” เป็นคำพูดที่ให้แง่คิดมากสำหรับคำพูดของ ดร.ราล์ฟ ซี.สเม็ดเล่ย์ ผู้ก่อตั้ง Toast Masters International
สำหรับการเตรียมตัว เราต้องมีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ในการพูด ว่าการพูดครั้งนั้น เราพูดเพื่ออะไร (พูดให้ความรู้ พูดเพื่อให้ความบันเทิง หรือพูดเพื่อชักชวน)
2.เรื่องที่จะพูด ไม่ควรกว้างเกินไป จนหาประเด็นสำคัญๆไม่ได้ ทั้งนี้ผู้พูดควรพูดเรื่องที่ตนเองมีความถนัด มีประสบการณ์ เพราะหากผู้พูดไม่มีความถนัดหรือมีประสบการณ์ ผู้พูดก็ควรตอบปฏิเสธการพูดในครั้งนั้น
3.รวบรวมเนื้อหาที่จะพูด ผู้พูดควรทำการรวบรวมเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมดเสียก่อนไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาจะใช้ได้หรือไม่ได้ เพราะเราสามารถนำมาตัดต่อหรือเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
4.การวางโครงเรื่อง จะขึ้นต้นอย่างไร ตอนกลางอย่างไร และจบอย่างไร
5.การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมตัว เพราะหากว่าเรารู้ว่าผู้ฟังเป็นใครเราสามารถยกตัวอย่างต่างๆหรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังมากยิ่งขึ้น
6.การฝึกซ้อม การฝึกซ้อมการพูดมีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลว ในการพูดแต่ละครั้ง ยิ่งเป็นนักพูดหน้าใหม่หรือกำลังฝึกฝนการพูดใหม่ๆ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อม แต่สำหรับนักพูดหน้าเก่า เขามักมีเวทีแสดงการพูดมากดังนั้น เขาจึงใช้เวทีต่างๆในการพูดเพื่อฝึกซ้อมการพูดไปในตัว
การฝึกซ้อมการพูดมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟัง สถานที่ที่จะไปพูด ฐานะของผู้พูด เช่น การพูดในงานโต้วาที การพูดในฐานะวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การพูดในงานปาฐกถา ฯลฯ ซึ่งแต่ละงานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ว่าผู้พูดจะเตรียมสื่อหรือมีทัศนะอุปกรณ์ช่วยในการพูดมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งจริตในการฝึกซ้อมการพูดของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ท่านผู้อ่านก็ไม่ควรเลียนแบบ แต่ควรค้นหาแนวทางของตนเอง เช่น บางคนฝึกซ้อมต่อหน้ากระจกแล้วทำให้การพูดออกมาดี , บางคนฝึกซ้อมในรถยนต์ , บางคนฝึกซ้อมต่อหน้าเพื่อน , บางคนฝึกซ้อมโดยเปิดสไลด์การนำเสนอไปด้วยเสมือนกับกำลังพูดกับผู้ฟังจริงๆ ฯลฯ ทั้งนี้การฝึกซ้อมจะได้ผลดีเพียงใด คงขึ้นอยู่กับนิสัย จริต ความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งเราต้องค้นหาจากตัวของเราเอง
การวางแผนการพูดมีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จ ตัวอย่าง เราจะขึ้นต้นอย่างไรในการนำเสนอ นักพูดหลายท่านในยุคปัจจุบันมักมีการขึ้นต้นด้วยเพลงบ้าง ด้วยคลิป VCD บ้าง ขึ้นต้นด้วยสไลด์สำคัญๆบ้าง แล้วจะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้เกิดความกลมกลืน และตอนจบจะจบอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ สิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อการพูดแต่ละครั้ง การฝึกซ้อมการพูดเราจึงควรให้ความสำคัญต่อการวางแผนการพูด
การซ้อมพูดที่ดีไม่ควรท่องจำคำต่อคำ เพราะจะทำให้ผู้ฝึกซ้อมเกิดความเบื่อหน่าย หากจำไม่ได้ก็จะเสียเวลา อีกทั้งการท่องจำแล้วนำไปพูดจะทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ เนื่องจากไม่เป็นธรรมชาติ ไร้ชีวิตชีวา ทั้งนี้ควรซ้อมพูดมาจากใจ ซ้อมพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เสมือนการพูดบนเวทีจริงๆ
สำหรับประโยชน์ของการฝึกซ้อมการพูด นักพูดที่ประสบความสำเร็จทั้งในยุคอดีต ยุคปัจจุบัน จะขาดการฝึกซ้อมไปไม่ได้เลย เพราะการฝึกซ้อมจะทำให้ท่านเกิดความมั่นใจในการพูด การฝึกซ้อมจะทำให้ท่านจำเนื้อหาในการพูดได้ดีกว่าการไม่มีการฝึกซ้อม และการฝึกซ้อมการพูดจะทำให้ท่านได้มีการแก้ไขสำนวน เนื้อหาของการพูดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การพูดที่ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวและการฝึกซ้อมที่ไม่ดีพอ
...
  
วัตถุดิบสำหรับการพูด
วัตถุดิบสำหรับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ข้อมูลวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการพูดมีความสำคัญมาก ต่อการเป็นนักพูดหรือผู้ที่ต้องการพูดให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลวัตถุดิบที่ใช้ประกอบการพูดได้แก่ ตัวเลขสถิติ นิทาน เรื่องจริง เรื่องตลกๆ ตัวอย่าง คำกลอน คำคม ทฤษฏี สุภาษิต หลักการฯลฯ
การมีข้อมูลมากๆ จะทำให้เราสามารถเลือกใช้คำพูดข้อมูลวัตถุดิบ ให้ตรงกับหัวข้อเรื่องและกลุ่มผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม อีกทั้ง ถ้าหากผู้ใดสะสมข้อมูลวัตถุดิบในการพูดเป็นจำนวนมาก ก็มักจะไม่ต้องไปเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล ถ้าหากมีคนเชิญไปพูดในหัวข้อที่เรามีข้อมูลอยู่ เราก็สามารถพูดได้โดยใช้เวลาเตรียมตัวน้อยลง
หากท่านต้องการเป็นนักพูดหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพูด ท่านจึงต้องเป็นนักอ่านและนักฟัง อ่านและฟัง เพื่อที่จะจดบันทึก หากพบเห็นเนื้อหาที่ดีๆ ท่านก็สามารถตัดเก็บเนื้อหาต่างๆได้จากหนังสือพิมพ์ วารสารหรือถ่ายเอกสาร เพื่อสะสมเป็นคลังข้อมูลของท่านได้
การพูดไปเรื่อยๆ กับการพูดโดยมีการเตรียมตัวจากวัตถุดิบที่มี ผู้ฟังหลายคนจะรู้ เพราะการพูดไปเรื่อยๆ กับการพูดโดยมีการอ้างอิงข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นพูดจนจบการพูด จะทำให้เห็นความแตกต่างกันทั้งเรื่องของความน่าเชื่อถือ สาระ ความเพลิดเพลินในการชวนให้ติดตามฟัง ฯลฯ
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นกระผมขอยกตัวอย่างของการสะสมข้อมูลวัตถุดิบโดยมีการแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้
1.คำคม เช่น คำคมเกี่ยวกับการพูด , คำคมเกี่ยวกับความรัก , คำคมเกี่ยวกับชีวิต , คำคมเกี่ยวกับความกล้า เป็นต้น
2.คำกลอน เช่น คำกลอนเกี่ยวกับพระคุณของพ่อแม่ , คำกลอนเกี่ยวกับการสอนทางศาสนา , คำกลอนเกี่ยวการท่องเที่ยว , คำกลอนสอนใจ เป็นต้น
3.นิทาน เช่น นิทานของศาสนาต่างๆ , นิทานเกี่ยวกับงานขาย , นิทานที่ให้แง่คิดเกี่ยวกับความสำเร็จ , นิทานตลกๆ เป็นต้น
4.ตัวเลข สถิติ เช่น ตัวเลขของประชากรในปัจจุบัน , ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ , ตัวเลขเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน เป็นต้น
5.ทฤษฏี เช่น ทฤษฏีทางการตลาด , ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ , ทฤษฏีที่เกิดขึ้นใหม่ๆในปัจจุบัน เป็นต้น
6.เรื่องจริง เช่น ประวัติของบุคคลสำคัญๆหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในหลายๆวงการ วงการธุรกิจ วงการศาสนา วงการการเมือง วงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
7.เรื่องตลกหรือมุขตลก เช่น มุขตลกที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ การพูด , การขาย , การทำงาน , การสื่อสาร, การคิด เป็นต้น
8.เพลงต่างๆ นักพูดอาจจะไม่ต้องร้องเพลงจนจบหรือร้องเพลงเก่ง แต่นักพูดท่านใด สามารถนำเอาเนื้อหาของเพลงที่มีความหมายและถูกใจมาประกอบการพูดก็จะทำให้การพูดน่าฟังและคนชื่นชอบมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เพลงละคร , เพลงสมัยปัจจุบัน , เพลงที่ดังๆในอดีต , เพลงสากล เป็นต้น
ดังจะสังเกตได้ว่า ข้อมูลวัตถุดิบในโลกนี้มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ก็สามารถเลือกใช้ได้ จึงอาจสรุปได้ว่า นักพูดท่านใดมีข้อมูลวัตถุดิบที่สะสมไว้มากๆ ก็จะทำให้เป็นการง่ายและสะดวกในการเลือกใช้ และถ้าหากนักพูดท่านใดสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ตามสถานการณ์ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับ สถานที่ วัยของผู้ฟัง จำนวนของผู้ฟัง อาชีพของผู้ฟัง ก็จะยิ่งทำให้การพูดนั้นประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
...
  
การพูดอย่างมีตรรกะ
การนำเสนออย่างมีตรรกะ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การนำเสนออย่างมีตรรกะ เป็นการสื่อสารด้วยคำพูด การเขียน อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งทำให้ผู้รับการฟังหรืออ่าน เกิดความเข้าใจ เกิดความศรัทธา เกิดความเชื่อถือในตัวของผู้พูดหรือผู้เขียน การนำเสนออย่างมีตรรกะจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรที่จะศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนกัน
สำหรับกระบวนการสื่อสารอย่างมีตรรกะ เราควรคำนึงถึง เรื่องของ 1.วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ 2.วิธีการนำเสนอ 3.ความสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร 4.เงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อ
1.วัตถุประสงค์ของการนำเสนอเป็นสิ่งที่ผู้นำเสนอจะต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่นำเสนอในครั้งนั้น เราต้องการอะไร เช่น เราต้องการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องของความบันเทิง , เราต้องการการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องของการจูงใจหรือเราต้องการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ให้ความรู้ ในการนำเสนอในครั้งนั้นๆ
2.วิธีการนำเสนอ เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์แล้ว สำหรับการพูด การเขียน เราจำเป็นจะต้องหาวิธีการเพื่อที่จะทำให้การนำเสนอของเราเกิดความน่าสนใจ เช่น หากเป็นการนำเสนอเพื่อให้ความรู้ในห้องฝึกอบรม เราก็ควรที่จะมีวิธีการนำเสนอที่หลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย มีกิจกรรม มีเกมส์ สลับสับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานในห้องประชุม หรือ หากเป็นการนำเสนอด้วยการเขียน หากวัตถุประสงค์ในการเขียนในครั้งนั้นๆ เป็นการเขียนเพื่อความบันเทิง เช่นการเขียน นิยาย เราก็ควรมีการใช้ภาษาที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการเขียนในงานวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ เป็นต้น
3.ความสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร มีความสำคัญมากต่อการสื่อสารเกือบทุกประเภท เพราะหากว่าเรานำเสนอได้ดีขนาดไหน แต่ผู้ฟัง ผู้อ่าน ไม่ชอบเรา มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัวเราแล้ว ผลที่ออกมาจากการประเมินก็มักจะไม่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นเราจึงไม่แปลกใจที่เราเห็นนักนำเสนอในยุคปัจจุบัน มักมีการสร้างแฟนคลับ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น Facebook , การจัดรายการทางโทรทัศน์ , การจัดรายการผ่านวิทยุ , การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
4.เงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อ ในการนำเสนอทุกแห่ง มักมีเรื่องของการกำหนดเวลาพูดให้แก่ผู้พูดหรือพื้นที่สื่อให้แก่ผู้เขียน ดังนั้น เราควรนำเสนอหรือทำการบ้าน ว่าจะทำเสนอให้สั้น ยาว ย่อ ขยาย ในส่วนใดบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องของเงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อที่มีอย่างจำกัด
Why Why Why (ทำไม ทำไม ทำไม) เป็นคำถามที่นักนำเสนออย่างมีตรรกะ ควรใช้เป็นเครื่องมือในการตั้งคำถามและตอบคำถาม เพื่อการตั้งคำถาม ทำไม จะทำให้เราทราบถึง สาเหตุ ของปัญหา ยิ่งเราถามคำถามว่า ทำไม ซ้ำไปซ้ำมา หลายๆ เที่ยว ก็จะทำให้เราทราบต้นตอที่มีความลึกซึ้งยิ่งๆขึ้น
เมื่อมีปัญหาในหน่วยงานหรือองค์กร ท่านลองตั้งคำถามว่า “ ทำไม” ดูซิครับแล้วที่จะพบคำตอบในการแก้ไขปัญหา และถ้าจะให้ดีท่านควรที่จะมีการสื่อสารโดยการพูดคุยกันต่อหน้า ซึ่งจะดีกว่าการนำเสนอโดยผ่านการรับโทรศัพท์ การส่งอีเมล์ การส่งแฟกซ์ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง บริษัทโตโยต้า ได้นำ 5 Why คือวิธีวิเคราะห์การทำงานมาใช้ในการทำงาน ซึ่งมีการถาม Why (ทำไม) ซ้ำไปซ้ำมาถึง 5 ครั้ง ทำให้เกิดกระบวนการปรับปรุงงานได้ดียิ่งขึ้น
ศาสนาพุทธ โดยพระศาสดา พระพุทธเจ้า เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำเสนอแบบตรรกะ ซึ่งเป็นการสอนแบบมีเหตุมีผล ซึ่งก่อนที่ศาสนาพุทธเกิด ก็ได้มี ศาสนา ความเชื่ออื่นๆ เกิดขึ้นมาก่อนมากมาย แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมกว้างขวางก็เพราะการสอนโดยการขาดความมีตรรกะหรือขาดความมีเหตุผล บางศาสนา บางความเชื่อ ก็สูญหายไปจากโลก ซึ่งตรงกันข้ามกับพุทธศาสนา ที่มีมาอย่างยาวนานถึง 2556 ปี
อัลเบิร์ต ไอสไตล์ นักวิทยาศาสตร์เอกระดับโลก บุคคลที่มีความเป็นอัจฉริยะได้กล่าวก่อนเสียชีวิตว่า หากให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เขาจะเลือกนับถือ ศาสนาพุทธ เขาได้ให้เหตุผลว่า เพราะศาสนาพุทธ สอนอย่างมีเหตุมีผล นั่นเอง
...
  
การพูดเชิงบวก
การพูดเชิงบวก
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การพูดเชิงบวกมีความสำคัญพอๆกับการคิดเชิงบวก เพราะคนที่ประสบความสำเร็จ มักเป็นคนที่คิดบวกมากกว่าเป็นคนที่คิดลบ และ คนที่ประสบความสำเร็จมักพูดเชิงบวกหรือพูดในแง่ดี มากกว่า การพูดลบหรือพูดในแง่ร้าย
โดยปกติแล้ว คนที่ชอบพูดเชิงบวก มักเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเคารพตนเอง มีความยืดหยุ่น ซึ่งตรงกันข้ามกับคนชอบพูดเชิงลบ มักเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความเคารพนับถือตนเอง และขาดความยืดหยุ่น
สำหรับคนที่ต้องการเป็นคนพูดบวก ควรหัดเป็นคนคิดบวกด้วย เนื่องจากความคิดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ อีกทั้งความคิดเป็นตัวการกำหนดการกระทำ รวมทั้งคำพูดด้วย ดังนั้น หากท่านต้องการพูดเชิงบวก ท่านจึงต้องพยายามพัฒนาความคิดให้เป็นไปในเชิงบวกด้วย
ความคิดเชิงลบและการพูดเชิงลบที่มักพบเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่
1.การคิดแบบสุดโต่ง กล่าวคือ เป็นความคิดที่ ไม่ยืดหยุ่น มักมองอะไรเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็มองเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นหากดีก็ต้องดีสมบูรณ์แบบ(100 เปอร์เซ็นต์) หากไม่ดีก็ล้มเหลว(0 เปอร์เซ็นต์) เช่นความคิดลบหรือคำพูดเชิงลบ ก็จะออกมาในลักษณะ ฉันล้มเหลว ฉันสู้คนอื่นเขาไม่ได้ ฉันโง่เอง ฉันมันไม่ดี เป็นต้น
2.การคิดแบบคิดไปก่อน การคิดแบบนี้ มักคิดว่า อะไรที่มันร้ายๆที่เคยเกิดขึ้นแล้ว มักเกิดขึ้นอีก คำพูดเชิงลบของคนที่คิดแบบนี้ ก็มักจะเป็นคำพูดที่ว่า “ ฉันทำน้ำหกแต่เช้า วันนี้คงต้องซวยกันทั้งวัน ” หรือ “ รถเสียแต่เช้า วันนี้คงต้องมีเรื่องร้ายเข้ามาแน่นอน”
3.การคิดแบบชอบโทษตัวเอง การคิดแบบนี้ มักจะเอาตัวเองไปเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆซึ่งบางอย่างอาจจะเกี่ยวข้องกับตัวเองหรือบางเรื่องอาจไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง แล้วคิดมากจนเกินไปจนตนเองเกิดความรู้สึกต้องรับผิดชอบ ทำให้เกิดความละอาย ความสิ้นหวัง ท้อแท้ คนที่คิดแบบนี้มักใช้คำพูดที่ว่า “ ฉันมันไม่ดีจริงๆ เขาถึงทอดทิ้งฉันไป” หรือ “ถ้าฉันเรียนคณะอื่น มหาวิทยาลัยอื่น ฉันคงไม่เสียใจหรือซวยขนาดนี้”
สำหรับเทคนิคในการสร้างตนเองให้มีคำพูดเชิงบวก ได้แก่
1.มีความเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งต้อง คิดดี ทำดี แล้วคำพูดก็มักจะออกมาในแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ พูดดีหรือพูดเชิงบวกด้วย
2.แปลงขยะเป็นทองคำ กล่าวคือ นำสิ่งที่ร้ายหรือไม่ก่อประโยชน์ ให้กลับกลายเป็นดี เช่น เมื่อเจองานหนักๆ หรือถูกเจ้านายกลั่นแกล้ง ก็ขอให้คิดเสียใหม่ว่า นี่คือบททดสอบว่าเราเป็น “มืออาชีพหรือไม่” หรือ สิ่งเหล่านี้จะฝึกให้เราเป็นมืออาชีพในอนาคต
3.หมั่นให้กำลังใจตนเอง ด้วยการฝึก พูดบวกกับตนเอง ให้บวกยิ่งขึ้น มีนักวิจัยเคยวิจัยว่า อะไรก็ตาม หากว่า เราทำซ้ำๆกันให้ได้ 21 วัน วันที่ 22 เราก็มักจะมีนิสัยดังกล่าว เช่น หากเราหมั่นพูดเชิงบวกกับตัวเอง บ่อยๆ เราก็จะเกิดเป็นนิสัยขึ้นมาได้ เช่น ฉันมีพลัง ฉันมีความเชื่อมั่น ฉันทำได้ ฉันเก่งที่สุด ฉันสุดยอด ฉันสุขภาพดี ฉันยอดเยี่ยม ฉันวิเศษสุดๆ เป็นต้น
ดังนั้น หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการฝึกฝนและพัฒนาตนเองให้เป็นคนพูดเชิงบวก ท่านควรฝึกความคิดบวกและการกระทำที่บวกไปด้วย เนื่องจากมันมีความสัมพันธ์กัน อีกอย่างสิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านควรฝึกฝนด้วยความมุ่งมั่น จนเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่าน ขอให้ทุกท่าน ประสบความสำเร็จดังที่ใจปรารถนาทุกประการ
...
  
วิธีการพูดชนะใจคน
วิธีพูดให้ชนะใจคน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ , อับราฮัม ลินคอล์ค , มุสโสลินี, ธีโอโดร์ โรสเวลต์ , จอห์น เอฟ.เคเนดี(JFK),เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลส์ , สตีฟ จอบส์ , นายควง อภัยวงศ์ , จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บุคคลเหล่านี้เป็นตัวอย่างได้อย่างดีในเรื่องของการพูดชนะใจคน เพราะบุคคลเหล่านี้ สามารถพูดเอาชนะใจคนภายในประเทศหรือบางคนสามารถพูดเอาชนะใจคนทั่วโลกได้
บุคคลที่จะสามารถพูดเอาชนะใจคนได้ บุคคลนั้นต้องมีองค์ประกอบอยู่หลายอย่าง เช่น
1.มีความเชื่อมั่นในตนเอง บุคคลหลายคนอาจมีความรู้สูง มีพรสวรรค์ มีฐานะชาติกำเนิดที่ดี แต่บุคคลนั้นหากขาดซึ่งความเชื่อมั่น เขาไม่สามารถพูดเอาชนะใจใครได้เลย เพราะการที่จะให้ผู้ฟังเชื่อมั่นในตัวเรา ตัวเราจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองเสียก่อน ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองในการพูด เราคงต้องอาศัยเรื่องของการเตรียมตัว (เตรียมเนื้อหา เตรียมการพูด เตรียมตัวอย่าง เตรียมข้อมูลหลักฐาน มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง มีการฝึกซ้อม ฝึกฝนการพูดอยู่เสมอ มีการอ่าน การฟัง ศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิจ )
2.มีจินตนาการ บุคคลที่จะสามารถพูดให้ชนะใจคนได้ บุคคลนั้นมักจะต้องมีจินตนาการ สมัยมุสโสลินี มีชีวิตอยู่ มีคนเคยเห็นมุสโสลินีเอามือเกาะหน้าต่าง แล้วมองท้องฟ้าสีครามอยู่เป็นเวลานานๆ หรือ สมัยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ยังมีชีวิตอยู่ มีคนเคยเห็นเขาชอบเหม่อมองทิวทัศน์ธรรมชาติ เป็นเวลานานๆ ไม่ใช่เพราะอะไร แต่เขากำลังสร้างจินตนาการในทางการพูดของเขาต่อคนภายในประเทศ จินตนาการจึงเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าท่านจะเป็นนักบรรยาย นักพูด วิทยากร นักโต้วาที นักอบรมสัมมนา นักจัดรายการ ฯลฯ หากขาดซึ่งจินตนาการเสียแล้ว ท่านมักไปไม่ได้ไกล
3.มีความตั้งใจอย่างแรงกล้า บุคคลที่อยากจะเป็นนักพูดที่ชนะใจคน บุคคลนั้นจะต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าเสียก่อน เขาจะต้องมีความทะเยอทะยาน เขาจะต้องมีความมุ่งมั่น จิตใจจะต้องจดจ่ออยู่กับการพูด อีกทั้งเขาได้เห็นความสำคัญของการพูดของเขาในแต่ละครั้ง เขาจึงพัฒนาอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง
4.มีศิลปะ อันที่จริงแล้ว การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ แต่บุคคลที่พูดเก่งมักจะมีการใช้ศิลปะที่เหนือชั้นกว่าบุคคลอื่นๆ ศาสตร์ท่านสามารถหาอ่านได้จาก ตำรา หนังสือ ฟังเทป ฟังวิชาการต่างๆ หรือเข้าไปอบรมเพื่อเอาความรู้ แต่ศิลปะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างผู้ที่เป็นนักพูดในแต่ละบุคคล
5.มีความเป็นอัจฉริยะ อัจฉริยะในที่นี้หมายถึง บุคคลนั้นจะต้องมีความกระหายอยากรู้เรื่องราวต่างๆที่สามารถนำไปพูดได้อย่างแรงกล้า อีกทั้งต้องทำการศึกษาเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริง และมีคุณลักษณะความทรงจำที่สูง มีสมาธิสูง มีความกล้าหาญในการแสดงการพูด
6.มีการ ฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน บุคคลนั้นจะต้องมีการฝึกฝนตนเองอยู่เป็นนิจ หาเวทีในการแสดงการพูดให้แก่ตนเอง หากไม่มีเวที ก็ต้องมีการฝึกฝนด้วยตนเอง บุคคลที่เป็นนักพูดชนะใจระดับโลก มีการฝึกฝนการพูดด้วยตนเองตามชายหาดทะเลบ้าง ฝึกฝนการพูดด้วยตนเองระหว่างเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ บ้าง
ดังนั้น ปัจจัยข้างต้นจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ของการพูดให้ชนะใจคน ซึ่งบุคคลใดต้องการพูดให้ชนะใจจึงต้องนำหลักการข้างต้นไปใช้และนำไปฝึกปฏิบัติ ก็จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดที่ชนะใจคน
...
  
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เรื่องของการสื่อสารภายในองค์กร....การพูดนับว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กรอย่างหนึ่ง ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ความสามัคคีกัน การพูดมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น
ซึ่งรูปแบบการพูดที่มักใช้กันภายในองค์กรต่างๆ มีดังนี้
1.การประชุม
2.การสัมภาษณ์
3.การออกคำสั่ง
4.การสนทนากัน
5.การพูดทางโทรศัพท์
6.การนำเสนอรายงาน การมอบหมายงาน
1.การประชุม การทำงานภายในองค์กร มักจะต้องมีการประชุมร่วมกัน เพราะการประชุมมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ , ทำให้มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น , การหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน , การรับทราบข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ฯลฯ
ลักษณะของการประชุมที่ดี
1.1.ประธานในที่ประชุมควรวางตัวให้เป็นกลาง จับประเด็นได้ดี แก้ไขปัญหาในที่ประชุมโดยไม่ให้กระทบกับความรู้สึกของผู้เข้าร่วมประชุม
1.2.มีการคัดเลือกบุคคลที่เข้าร่วมประชุม การประชุมหลายแห่ง มักมีผู้เข้าร่วมประชุมเยอะมาก แต่ผู้เข้าร่วมประชุม โดยมากมักไม่ได้มีหน้าที่ ภาระงาน ที่เกี่ยวข้องกับกับการประชุมเลย จึงทำให้ประสิทธิภาพของการประชุมลดลง ฉะนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมประชุมจึงมีความสำคัญ เพราะทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นอันมาก
1.3.ระยะเวลาในการประชุม ไม่ควรนานจนเกินไป ควรกำหนดจำนวนครั้งและความถี่
1.4.ห้องประชุม อุปกรณ์การสื่อสารในห้องประชุม ห้องประชุมก็ไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป ควรพิจารณาให้เหมาะสมระหว่างขนาดของห้องกับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
1.5.ห้วข้อ วาระการประชุม ควรเตรียมมาให้พร้อม เพราะหากไม่ได้เตรียมวาระการประชุม การประชุมก็จะวกไปเวียนมา ย้อนไปย้อนมา ทำให้เสียเวลาเป็นอันมาก
สำหรับการพูดในที่ประชุม ประธานควรกล่าวเปิด ปิดการประชุม , ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น , สรุปประเด็น สรุปผลต่างๆ ได้ ฯลฯ
การประชุมหลายแห่ง ใช้เวลามาก บรรยากาศในการประชุมเกิดปัญหา จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับตัวประธานในการที่จะต้องแก้ไขปัญหา เช่น มีการขัดจังหวะกัน , มีการด่าทอกัน , มีการเปลี่ยนเรื่องเปลี่ยนประเด็น , มีการพูดจาหัวเราะเยาะกัน เป็นต้น
2.การสัมภาษณ์ เป็นการพูดอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น การสัมภาษณ์ในการจ้างงาน , การสัมภาษณ์ในการแก้ไขปัญหา , การสัมภาษณ์ในการออกจากงาน , การสัมภาษณ์ในการประเมินผลงาน เป็นต้น สำหรับ การสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เป็นการสื่อสารโดยการพูดภายนอกองค์กร
3.การออกคำสั่ง เป็นการพูดระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในการสั่งงาน ซึ่งบางกรณีก็เกิดการผิดพลาดได้ ฉะนั้น เมื่อออกคำสั่งไปแล้ว ก็ควรให้ผู้รับคำสั่งพูดทวน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ปัญหาในการสื่อสารก็จะลดน้อยลง
4.การสนทนากัน เป็นการพูดคุยกันในงานและอาจจะไม่เกี่ยวกับงานที่ตนเองทำ เป็นการพูดอย่างไม่เป็นทางการ อีกทั้งเป็นไปโดยธรรมชาติ
5.การพูดทางโทรศัพท์ เราอาจพูดสั่งงานหรือติดตามงานภายในองค์กรหรือพูดคุยกัน ผ่านทางโทรศัพท์ได้ เนื่องจากองค์กรใหญ่ๆหลายแห่ง มีพื้นที่กว้าง มีตึกที่อยู่ห่างไกลกัน ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
6.การนำเสนอรายงาน การนำเสนองานเป็นการพูดเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ อาจจะมีลักษณะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
ทั้ง 6 ประเภทนี้ จึงเป็นการสื่อสารโดยการพูดภายในองค์กร ที่มีความสำคัญ หากผู้ใดทำงานอยู่ภายในองค์กรก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตรงกันข้าม หากว่าท่านต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ท่านมีความจำเป็นจะต้องฝึกฝน พัฒนาตนเอง ในการพูดในรูปแบบต่างๆข้างต้นนี้
...
  
บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เครื่องมือนำทางในการบริหารเวลา คือ เป้าหมาย
“ การคลาดสายตาจากเป้าหมาย ทำให้ต้องเพิ่มความพยายามขึ้นอีกเท่าตัว” (มาร์ก ทเวน)
การตั้งเป้าหมายมีความสำคัญต่อการบริหารเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งเป้าหมายทำให้เรามีทิศทางในการทำงาน ทำให้เรามีความตั้งใจทุ่มเทให้กับสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดและลดการใช้เวลากับสิ่งที่มีความสำคัญน้อยที่สุด อีกทั้งลดการใช้พลังงานทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางจิตใจ ของเราลงไปกับสิ่งที่ไม่มีความสำคัญ
เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็ควรที่จะจัดทำการวางแผนขึ้น เพราะการวางแผนเพียง 8 นาที จะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้ถึง 1 ชั่วโมง เลยทีเดียว ฉะนั้น หากใครวางแผนมาก เขาก็จะมีเวลาเหลือในการทำสิ่งที่สำคัญๆสำหรับชีวิตมากขึ้น
สำหรับการตั้งเป้าหมายที่ดี เราควรมีการร่างเป้าหมาย ร่างแผนการต่างๆลงในกระดาษ เพราะการร่าง เป้าหมายและแผนการ ลงในกระดาษมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้เราสามารถตรวจสอบเป้าหมายและแผนของเราได้ตลอดเวลา ทำให้เห็นภาพหรือทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้า ทำให้เราเกิดสมาธิในการทำงานมากกว่าการนั่งคิดไปเรื่อยๆ ทำให้เราลดภาระการจดจำของเรา การเขียนร่างนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและเตือนใจอีกด้วย ถ้าจะให้ดี เราควรมีแฟ้มใส่เป็นสัดส่วนเพื่อจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการทำงานครั้งต่อไปได้
หลายคนมักถามผมว่า “ แล้วถ้าผมมีเป้าหมายหลายอย่างละครับ ผมควรที่จะทำอย่างไร” หากว่าคุณมีเป้าหมายหลายอย่าง คุณควรเขียนเป้าหมายทุกอย่างลงในกระดาษ แล้วลองเรียงลำดับเป้าหมายที่มีความสำคัญที่สุดก่อนโดยให้คะแนนจากมากไปน้อย (เป้าหมายไหนมีความสำคัญมากให้คะแนนมาก เป้าหมายไหนมีความสำคัญน้อยให้คะแนนน้อยหรือเรียงจาก ABC ) แล้ววางแผนและให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อนตามลำดับ
เป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเครื่องมือนำทางในการบริหารเวลา ไม่ว่าคุณจะบริหารประเทศ บริหารทีมงาน บริหารองค์กร รวมถึงการบริหารตนเอง หากว่าไม่มีเป้าหมายเสียแล้ว การบริหารก็จะขาดทิศทาง ต่างคนต่างทำงาน จึงทำให้ประสิทธิภาพของตนเอง ขององค์กร ของหน่วยงาน ลดลง
ดังนั้น หากว่าคุณเป็นผู้บริหาร คุณควรตั้งเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ขึ้นภายในองค์กร ภายในหน่วยงาน ภายในทีมงาน และควรตั้งเป้าหมายสำหรับตัวของคุณเองด้วย แล้วคุณจะพบว่าคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต




...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.