หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
  -  นายชวน หลีกภัย
  -  ชวน หลีกภัย
  -  ร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม อยู่บำรุง
  -  
  -  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  -  อภิสิทธิ์
  -  นายสมัคร สุนทรเวช
  -  สมัคร สุนทรเวช
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : นักพูดทางการเมือง
นายชวน หลีกภัย
เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ [1]อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก

มีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย[2]

นายชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี

ประวัติการศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์คุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการทำงาน
นายชวน หลีกภัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้มาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย ได้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ซึ่งได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ในปี พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ ทั้งหมดดูที่ประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ และ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์


สรุปประวัติทางการเมือง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525-2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529-2531
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531-2532
รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 - 26 ส.ค.2533
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.-ธ.ค.2533)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 - 4 พ.ค. 2546)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค.2535)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย.2535 - 20 ก.ค.2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.2538)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย.2539)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.2539)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 - 8 ก.พ.2544)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ.2544)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.2544)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

การอภิปรายในสภา ของนายชวน หลีกภัยวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่มาจากการเลือกตั้ง สิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยุบสภา

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจาก พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท กองทัพไม่ได้ต่อต้านการคืนสู่ตำแหน่งของเขา นายชวนได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือจนได้รับความเชื่อถือและเห็นชอบจากสถาบันการเงินนานาชาติและสหรัฐอเมริกา มุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลผสมก็เอาชนะความพยายามของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้นายชวนจะไม่ใช่นักการเมืองที่น่าดึงดูดใจ แต่ก็ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจ เพราะถูกมองว่าซื่อสัตย์ มุ่งปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง [3]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากรัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) รวม 197 เสียง ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาล 1 เสียง[4]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมือง ที่ถูกตั้งชื่อว่า กลุ่มงูเห่า ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาล โดยคำชวนของ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ จนกระทั่งถูกพรรคประชากรไทยมีมติขับไล่ ทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด

นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล

นอกจากนี้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น

การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน

คำยกย่องและคำวิจารณ์

นายชวน หลีกภัย ขณะปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดตรัง ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งนายชวนลงสมัครเป็นครั้งแรก โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ชุดขาว) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น นั่งไขว่ห้างฟังอยู่ข้างล่างคำยกย่อง
ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย และยึดถือในเรื่องของหลักการเป็นอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง]
เป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด) [5] นอกจากนี้ภาพที่พบจากสื่อมักแสดงให้เห็นว่าใช้ชีวิตอย่างสมถะ[ต้องการอ้างอิง]
เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่กล้าประกาศว่า รมต. ว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่จำเป็นต้องเป็นทหาร แสดงให้เห็นถึงบุคลิกผู้นำและบริหารปราศจากอำนาจของทหารได้เป็นอย่างดี
คำวิจารณ์
การอนุมัติแต่งตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร หนึ่งใน 3 ทรราช เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 ท่ามกลางกระแสไม่พอใจของสังคม สื่อมวลชน และโดยเฉพาะญาติของผู้เสียชีวิต/สูญหายในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19[6]
ชวน หลีกภัยมักออกรับประกันแทนลูกพรรคที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริต เปรียบเสมือนกับการทาสีดำให้เป็นขาวจนได้รับสมญานาม "ช่างทาสี" ในการตั้งสมญาประจำปีของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2545 ชวนได้สมญาว่าเป็น "แผ่นเสียงตกร่อง" [ต้องการอ้างอิง]
ได้รับคำวิจารณ์ว่าทำงานช้า โดยมีคำพูดที่ถูกนำไปล้อเลียนประจำคือ "ผมยังไม่ได้รับรายงาน" "ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน" "อันนี้ผมกำลังพิจารณาอยู่"
ในช่วงเดือนปลายปี 2547 ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการขอใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และให้ความเห็นว่า การใช้งบประมาณนี้ ในการช่วยเหลือภาคใต้ ยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะว่ารัฐบาลละเลยไม่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวมาตลอดสี่ปี เพื่อเป็นการแก้เผ็ด ที่ไม่เลือกรัฐบาล [ต้องการอ้างอิง]
กรณีขายสินทรัพย์ ปรส. และ "กฎหมายขายชาติ" 12 ฉบับ มีการโจมตีกันอย่างมากแต่จนแล้วจนรอด ข้อกล่าวหากฎหมายเหล่านี้เป็นแค่เกมการเมือง จะเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลยุคต่อไปของทักษิณก็ยังใช้อยู่ [ต้องการอ้างอิง]
บทบาททางการเมืองภายหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544 และต้องการ ก้าวลงจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคใน 2 ปีถัดมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้รับเลือก เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้รวมแล้วนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัยเป็นเวลาทั้งสิ้น 12 ปี

ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงเพียงพอ ต่อการจัดตั้งรัฐบาล แข่งกับพรรคไทยรักไทย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

ปัจจุบัน นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

...
  
ชวน หลีกภัย
1
...
  
ร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม อยู่บำรุง
อดีตประธาน ส.ส. พรรคเพื่อไทย ส.ส. สัดส่วน กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตหัวหน้าพรรคมวลชน และ ส.ส.ฝั่งธนบุรีหลายสมัย

เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 จบการศึกษาทั้งระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยรับราชการตำรวจมีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบฯ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "เหลิม" หรือ "เหลิมดาวเทียม" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า "บรรณาธิการเฉลิม"[1]

สมรสกับ นางลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ นายอาจหาญ, นายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง (ภายหลังนายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม เปลี่ยนชื่อเป็น นายวัน และนายดวง ตามลำดับ) ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า "ลูกเหลิม"

มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นายนวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม

ร.ต.อ.เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมืองที่โดดเด่นด้านการพูด และลีลาการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ที่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเชื่อได้ และหลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า "ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม"

ในช่วงที่ร.ต.อ.เฉลิม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯได้ให้ฉายาว่า "เป็ดเหลิม" ซึ่งเปรียบเทียบว่า ร.ต.อ.เฉลิมกับเป็ดทำหลายอย่างได้ แต่ไม่สามารถทำได้ดีสักอย่าง เช่น บินได้ แต่ไม่สามารถบินได้อย่างยาวนานและดีเท่ากับนก หรือเรียกว่า "ไอ้ปื้ด" ซึ่งเป็นบุคคลนิรนามที่มาจากคำกล่าวอ้างของเฉลิมเพื่อปัดคนทำผิดแทนลูกของเขา

เนื้อหา [ซ่อน]
1 บทบาททางการเมืองในช่วงแรก
2 ร.ต.อ.เฉลิม กับคดีความของลูกชาย
3 เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4 ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน
4.1 บทบาทในช่วงเลือกตั้ง 2550
4.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
5 ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
5.1 ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย
6 อ้างอิง

[แก้] บทบาททางการเมืองในช่วงแรก
ร.ต.อ.เฉลิม เริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้ง พรรคมวลชน และดำรงตำแหน่ง เป็น หัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะ เขตภาษีเจริญ และ เขตบางบอน ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม เป็น ส.ส. ผูกขาดในพื้นที่ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เคยไม่ได้รับเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว คือในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2535 ครั้งที่ 1

ร.ต.อ.เฉลิม เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุนหะวัณ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อสมท. โดยบทบาทของ ร.ต.อ.เฉลิม ในขณะนั้นถูกมองว่า เข้าไปแทรกแซง การเสนอข่าวของสื่อมวลชน และมีปัญหาขัดแย้งกับกลุ่มทหาร จนถูกนำมาเป็นเหตุผลประการหนึ่ง ในการทำ รัฐประหาร ปี พ.ศ. 2534 ของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

ภายหลังการรัฐประหารดังกล่าว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท [2] และต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ โดยเดินทางไปพำนักอยู่ที่ ประเทศสวีเดน และประเทศเดนมาร์ก

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ร.ต.อ.ได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา และต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบ พรรคมวลชน รวมเข้ากับ พรรคความหวังใหม่ ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น หลังจากนั้นบทบาททางการเมืองของ ร.ต.อ.เฉลิม ก็เงียบหายไปเป็นเวลานาน

บทบาทการเป็นฝ่ายค้านของ ร.ต.อ.เฉลิม ในพรรคชาติไทย มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการอภิปลายไม่ไว้วางใจ สุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย เรื่อง สปก.4-01 ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องตัดสินใจยุบสภาก่อนที่จะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ และเหตุการณ์ดังกล่าวยังถูกนำมาใช้อ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด

[แก้] ร.ต.อ.เฉลิม กับคดีความของลูกชาย

ร.ต.อ.เฉลิม ขณะให้สัมภาษณ์ตอบโต้สื่อ โดยมีนายวันเฉลิม หรือนายวัน อยู่บำรุง บุตรชายคนรอง (เสื้อดำ) ยืนอยู่ด้านหลัง ทางขวามือของภาพร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ นายอาจหาญ นายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ ว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง โดยเฉพาะในสถานบันเทิงยามค่ำคืน และทำให้เกิดประโยคคำถาม ล้อเลียนคำพูดของลูก ร.ต.อ.เฉลิม ขณะก่อเหตุทำนองว่า "รู้ไหมว่ากูลูกใคร" โดยคดีต่าง ๆ ล้วนได้รับการยอมความจากผู้เสียหาย โดยไม่มีการลงโทษ ซึ่งถูกสังคมมองว่าเกิดจากการใช้อิทธิพล ของ ร.ต.อ.เฉลิม ผู้เป็นบิดา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ นายดวงเฉลิม ลูกคนเล็กตกเป็นผู้ต้องหาสังหาร ด.ต.สุวิชัย รอดวิมุติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ดาบยิ้ม" ในผับกลางโรมแรม ย่านถนนรัชดาภิเษก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544 โดยหลบหนีไปหลังเกิดเหตุ และมอบตัวหลังจากนั้นกว่าครึ่งปี ซึ่งบทบาทของ ร.ต.อ.เฉลิม ขณะนั้น ถูกมองว่าเป็นพ่อที่พยายามปกป้องลูกอย่างถึงที่สุด จนถึงขนาดมีวิวาทะกับสื่อ โดยมีประโยคเด็ด เป็นคำขู่ว่า "ระวังคนฝั่งธนฯ จะกระทืบ" อันเป็นเหตุให้ถูกสื่อมวลชน บอยคอต งดนำเสนอข่าวของ ร.ต.อ.เฉลิม ไประยะหนึ่ง หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิมและลูกๆ ได้ออกนิตยสารของตัวเอง ในแนววิจารณ์การเมือง โดยอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสื่อ แต่ดำเนินการได้ไม่นานก็ปิดตัวลง

วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ:
เฉลิม อยู่บำรุงต่อมาคดีนายดวงเฉลิม มีคำตัดสินของศาลอาญาชั้นต้นให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นายดวงเฉลิมเป็นผู้สังหารดาบยิ้ม จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้สังหารดาบยิ้มเป็นใคร นอกจากคำให้การของฝ่าย ร.ต.อ.เฉลิม ที่ว่าเป็นฝีมือของ นายเฉลิมชนม์ บุริสมัย หรือ "ไอ้ปื๊ด" คนสนิทผู้ติดตามนายดวงเฉลิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธที่จะนำมาเป็นสาระสำคัญในคดี

[แก้] เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 ร.ต.อ.เฉลิมได้ลงรับสมัครด้วย โดยได้เบอร์ 3 แม้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 4 (รองจาก นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่ได้ที่ 3) แต่คะแนนของทุกเขต ร.ต.อ.เฉลิมจะอยู่ในลำดับที่ 3 หรือที่ 4 ตลอด ยกเว้นเขตบางบอนเท่านั้นที่ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 1

[แก้] ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน
[แก้] บทบาทในช่วงเลือกตั้ง 2550

ร.ต.อ.เฉลิม และนายสมัคร สุนทรเวช ในการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งปี 2550ดูบทความหลักที่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550
ร.ต.อ.เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร.ต.อ.เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก

[แก้] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
ภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาถึง 233 ที่นั่ง ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมัครได้ให้ ร.ต.อ.เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่าเป็นตำแหน่งที่ตนต้องการที่จะดำรงตำแหน่งมากที่สุดด้วย

แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร.ต.อ.เฉลิม[4]

[แก้] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 58 ของไทย
ต่อมานายสมัครได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมชายได้เลือกให้ ร.ต.อ.เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[5]

แต่ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน,พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จึงส่งผลให้นายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

[แก้] ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

ร.ต.อ.เฉลิม ขณะปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมทั่วประเทศหลังยุบพรรคพลังประชาชน[แก้] ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย
ภายหลังจากมีการยุบพรรค ร.ต.อ.เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร.ต.อ.เฉลิมเป็นประธาน ส.ส. เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของ ส.ส.ภายในพรรคต่อไป โดย ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธาน ส.ส. เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร[6] พรรคเพื่อไทยตั้ง ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธาน ส.ส. เพราะยังไม่สามารถหาผู้นำฝ่ายค้านได้ กล่าวกันว่าไม่มีใครที่กล้าเป็นผู้นำฝ่ายค้านเลย เพราะเกรงว่าถ้ามีคดียุบพรรคอีกครั้ง จะติดข่ายเว้นวรรคทางการเมืองห้าปี เนื่องจากผู้นำฝ่ายค้านจะต้องเป็นกรรมการบริหารพรรคนั่นเอง

ร.ต.อ.เฉลิมเป็นผู้นำ ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร.ต.อ.เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง[7]

ในปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ให้ฉายา ร.ต.อ.เฉลิมว่า "ดาวดับ" อันเนื่องจากวาทะที่แก้ตัวให้กับการกระทำที่ส่อทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม" ซึ่งได้กลายเป็นวาทะประจำปีด้วย[8]

ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2553 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้มีวิวาทะกับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วยกันเอง ถึงขนาดตำหนิออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องจากเรื่องการที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่เห็นแตกต่างกันและมีความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการพรรคที่แตกต่างกัน[9]
...
  

2
...
  
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และคนปัจจุบันของประเทศไทย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ภายหลังการก่อรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี เขาถูกจัดอันดับเป็นนักการเมืองแถวหน้าของพรรคอย่างรวดเร็ว แต่แพ้การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2544 นายอภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2548

ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองในไทย ราว พ.ศ. 2548-2549 นายอภิสิทธิ์ได้เสนอแนวคิด จนกลายเป็นข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกี่ยวกับการทูลเกล้าขอ "นายกรัฐมนตรีพระราชทาน" จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ดำรงตำแหน่งแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..."[2][3] ภายใต้การบริหารพรรคของนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อาวุโสกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นผู้สมคบคิดแผนฟินแลนด์ เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี และก่อตั้งสาธารณรัฐ นายอภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจาก[4] นายอภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้ใช้วิธีต่อต้านแบบเดียวกับกลุ่ม นปช ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคอื่น ๆ ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่านายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด และตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาเดียวกัน อภิสิทธิ์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวว่าเป็นการปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540[5] พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ให้แก่พรรคพลังประชาชน

ในเหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สมาชิกประชาธิปัตย์บางคนกลายเป็นแกนนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่มีการปะทะกันระหว่าง พธม. กับตำรวจและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง นายอภิสิทธิ์แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้ การปิดล้อมดังกล่าวได้ยุติลงภายหลังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค ผู้บัญชาการทหารบกและหนึ่งในคณะก่อการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกกล่าวหาว่าได้บีบบังคับให้สมาชิกพรรคพลังประชาชนหลายคน รวมทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน ให้มาสนับสนุนอภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[6][7]

นายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำประเทศระหว่างวิกฤตการณ์การเงินโลก และเผชิญหน้ากับความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ระหว่างเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้ประท้วง แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้าขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งที่ 4[8] รวมทั้งเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงในกรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เซ็นเซอร์สื่อ และสั่งการให้ทหารสลายการชุมนุมของผู้ประท้วง สมาชิกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีส่วนเกี่ยวข้องในความพยายามสังหารแกนนำ พธม. นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะกล่าวโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ[9][10][11] นายอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญสูงสุดในการเซ็นเซอร์และฟ้องร้องบุคคลผู้ตั้งคำถามต่อบทบาทของสภาองคมนตรีไทย และพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ว่า อภิสิทธิ์ตอบโต้เกี่ยวกับข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทช้าเกินไป[12] จากรายงานปี พ.ศ. 2553 Human Rights Watch ได้ชมเชยอภิสิทธิ์ว่าเป็นคนที่มีวาทศิลป์ในการพูด แต่แย้งกลับในบันทึกของเขาว่า "รัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการดำเนินคดีตามกฎหมายในประเทศไทย"[13]

การทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัย[14] ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง จึงได้ประกาศลาออก[15] นายอภิสิทธิ์ยังเผชิญกับความตึงเครียดซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากประเทศกัมพูชา ในหลายประเด็น รวมทั้งการแต่งตั้งแกนนำ พธม. นายกษิต ภิรมย์ อันเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปะทะตามแนวชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร และการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา

ปัจจุบันการบริหารเศรษฐกิจและการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทยในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2553 ขยายตัวถึงร้อยละ 10 มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศ และตลาดหลักทรัพย์ได้มีมูลค่าตลาดถึง 7.6 ล้านล้านบาทมากเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่ตั้งตลาดหลักทรัพย์มาด้วย

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 ตระกูลเวชชาชีวะ
1.2 ข้อกล่าวหาการหนีราชการทหาร
2 เข้าสู่แวดวงการเมือง
3 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
3.1 บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง 2549
3.2 ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง ปี 2549
3.3 นโยบายทางการเมืองที่ตรงกันข้าม
3.4 สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550
3.5 เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
3.6 ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
4 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
4.1 ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา
4.2 ข้อกล่าวหาเรื่องทุจริต
4.3 ความมั่นคง
4.4 กรณีสิทธิบัตรยา
4.5 การออกกฎหมาย
4.6 การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
4.7 ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
4.7.1 กัมพูชา
4.7.2 เวียดนาม
4.8 เช็คช่วยชาติ
4.9 การสั่งฟ้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
4.10 ความไม่สงบในช่วงสงกรานต์ในปีพุทธศักราช 2552
4.11 ความไม่สงบในช่วงก่อนสงกรานต์ในปีพุทธศักราช 2553
4.12 ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
4.13 มาตรการปราบปรามการประท้วง
4.14 ความนิยม
5 ความสนใจ
5.1 กีฬา
5.2 ดนตรี
6 ผลงานหนังสือ
7 หนังสือที่เกี่ยวกับนายอภิสิทธิ์
8 เกียรติยศ
8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
8.2 การได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ
9 อ้างอิง
10 ดูเพิ่ม
11 แหล่งข้อมูลอื่น
11.1 หนังสืออ่านเพิ่มเติม

ประวัติ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลกับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน

ในขณะที่อภิสิทธิ์ยังมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธร ระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา[16]

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) จังหวัดนครนายก ระหว่าง พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศว่าที่ร้อยตรี[17] ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของนายอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[17] หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย[17]

ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[18] จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[19]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และ นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[20]

ตระกูลเวชชาชีวะ
ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากฮากกา ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับชนชั้นสูงมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[21][22] มีแซ่ในภาษาจีนว่า หยวน (จีน: 袁; พินอิน: Yuán) [23][24] ในสมัยรัชกาลที่ 6 สกุล "เวชชาชีวะ" (Vejjajiva) เป็นนามสกุลพระราชทานให้กับพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับนายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย[25]

นายอภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันทน์เป็นบุตรของนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของอภิสิทธิ์[26]

ข้อกล่าวหาการหนีราชการทหาร
ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร[27][28] พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน[29] เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1) โดยอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[27] คำแถลงของอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร[30] จึงเกิดข้อกังขาว่า หากอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ ซึ่งอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีความเห็นว่า ในครั้งนั้น อภิสิทธิ์สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมโดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ แต่ยอมรับว่าอภิสิทธิ์เข้ารับราชการทหารแล้ว[31]

ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็นจากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้อภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น[32]

การโจมตีเรื่องอภิสิทธิ์ไม่ได้เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร เกิดขึ้นอีกครั้งประมาณปลายปี พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค และอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสจะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยประเด็นเกี่ยวกับการรับราชการทหารของนายอภิสิทธิ์ได้เป็นหัวข้อหนึ่งที่ฝ่ายค้านใช้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่ออภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่ถึง 3 เดือน

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ได้ตอบกระทู้อภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับการรับราชการทหารว่า มีความเข้าใจผิดว่าตนสมัครเข้ารับราชการทหาร หลังจากไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร แต่ในความเป็นจริง ได้สมัครเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดเกณฑ์ทหารแล้ว การสมัครเข้ารับราชการทหารในขณะนั้นจึงไม่ต้องใช้ สด.๔๓ แต่ใช้ สด.๙ และหนังสือผ่อนผันฯ แทน ซึ่งอภิสิทธิ์ยืนยันว่าขณะที่สมัครเข้า รร.จปร. ตนมีเอกสาร สด.๙ ที่ได้รับประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและกลับมาถึงประเทศไทย และมีรายชื่อได้รับการผ่อนผันฯ เพื่อเรียนต่อปริญญาโท ช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2532 ตามบัญชีของ ก.พ. ที่จัดทำตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2529 การสมัครเข้า รร.จปร. ของตนจึงเป็นการสมัครโดยมีคุณสมบัติครบถ้วน หลังจากสมัครเข้า รร.จปร. ได้ผ่านการฝึกทหารคล้ายการฝึก รด. จนครบตามหลักสูตรจึงได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ในการขอติดยศร้อยตรีนั้นตนได้ทำเอกสาร สด.๙ หายจึงได้ไปขอออกใบแทน แต่ในการสมัครเข้า รร.จปร. ได้ใช้ สด.๙ ตัวจริงสมัคร แล้วเอกสารมีการสูญหายในภายหลัง ในการอภิปรายครั้งนี้อภิสิทธิ์ได้แสดง สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการยกเว้นผ่อนผันฯ และ สำเนา สด.๙ ฉบับแรกของตน ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย[33]

เข้าสู่แวดวงการเมือง
อภิสิทธิ์ เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ พิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น[19] และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร[19] ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญ คือการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[34] ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่อภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[35] ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทยในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแลทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดันให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษาประกาศใช้

ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า อภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง[19]

นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก[36] อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 [37]

บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง 2549
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

ข้อเสนอของอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย[38] ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..."[2] และหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ กลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้ตั้งฉายาให้กับอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ว่า "มาร์ค ม.7"

ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร[39][40] เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง[41][42] และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย[43][44]

ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง ปี 2549
พรรคไทยรักไทยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่าให้สินบนกับพรรคเล็กเพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าไม่มีความผิด เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สมาชิกคณะกรรมการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อสรรหาข้อเท็จจริง ที่นำโดยรองอัยการสูงสุดชัยเกษม นิติสิริ (ปัจจุบัน อัยการสูงสุด) มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยและอีก 3 พรรคการเมือง) ขึ้นอยู่กับหลักฐานให้สินบนกับพรรคเล็กต่างๆ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ประชุมกับสายสัมพันธ์ทางการเมืองจาก 20 ประเทศเพื่อที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง[45][46]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในกรณีก่อนที่กองทัพแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าสาบานตนว่าพวกเขาถูกหลอกให้สมัครเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งเดือนเมษายน[47]

พยาน 3 คนยืนยันว่าเลขาพรรคประชาธิปัตย์ถาวร เสนเนียม, วิรัต กัลยาสิริ และ เจือ ราชสีห์ สนับสนุนให้ผู้ประท้วงขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งซ่อม[48] หลังจากการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 อัยการยืนยันว่าพรรคพยายามตัดสิทธิ์ผลการเลือกตั้งและบังคับให้จัดการเลือกตั้งซ่อมต่อไป ข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ถูกต้องซึ่งพยายานกลุ่มเดียวกันนี้ถูกว่าจ้างโดยกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์พ้นความผิด ขณะที่พรรคไทยรักไทยมีความผิด[49][50]

นโยบายทางการเมืองที่ตรงกันข้าม
วันที่ 29 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศเป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ เขาสัญญาว่าจะทำให้เป็นแผนงานเพื่อประชาชน ซึ่งเน้นการศึกษาเป็นหลัก โดยที่เขาใช้สโลแกนหาเสียงว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เขายังได้สัญญาว่าจะไม่นำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา เอามาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำมาแล้ว[51] แต่เขาจะทำให้เป็นประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง การพิจารณาถึงแก่นหลักของความรู้เบื้องต้นที่เรียกกันว่า ทักษิโณมิค อภิสิทธิให้สัญญาว่า "ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, และโครงการ SML จะไม่ถูกยกเลิก แต่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม" อภิสิทธิ์ออกมากระตุ้นในภายหลังว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นควรจะเข้าใช้บริการทางการแพทย์ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่เสียค่าบริการ[52] อภิสิทธิ์แถลงว่าอนาคตของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทุกคนจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพยสิน และธุรกิจที่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด (กฎหมายกำหนดให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีทุกคนต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน) [53]

อภิสิทธิ์รวบรวมเงินจำนวน 200 ล้านบาทในงานเลี้ยงอาหารเย็นเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ภายในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขาสรุปนโยบายด้านพลังงาน รวมถึงเพิ่มจำนวนการจ่ายเงินปันผลจากปตท. และการใช้กองทุนชดใช้หนี้ให้แก่กองทุนน้ำมัน และอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระงับราคาเชื้อเพลิงที่กำลังพุ่งสูงขึ้น[54] เขาสรุปแผนทีหลังว่าจะลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินโดยลดภาษี 2.50 บาท/ลิตรออกไปจากที่เคยใช้ปรับปรุงกองทุนน้ำมันของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม แผนของเขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นการบิดเบือนตลาดการค้าและขัดขวางไม่ให้ลดการบริโภคน้ำมัน.[55]

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์สัญญาว่าจะจัดการปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการทำปัญหานี้ให้อยู่ในระเบียบวาระของสังคมของจังหวัดภาคใต้[45] อีกทั้งสัญญาจะใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่างรวมถึงนโยบายเรียนฟรี, ตำราเรียน, นมและอาหารเสริมสำหรับโรงเรียนอนุบาล และการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ[56]

สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550
อภิสิทธิ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พิจาณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เหมือนกับที่เคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญปี 40 แต่ปรับปรุงพร้อมกับจุดบกพร่อง "ถ้าเราขอร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เราจะปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันจะเป็นสิ่งที่ชี้นำไปยัง (คมช.) เราเสนอจุดยืนตรงนี้ เพราะว่าเราเป็นห่วงเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียของชาติ และต้องการประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว" เขากล่าวอย่างนั้น[57] การรับทราบถึงจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อภิสิทธิ์ได้เสนอพร้อมกับเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ให้ร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่เขามีอำนาจ[58]

เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียง 163 เสียง ซึ่งน้อยกว่าสมัครที่ได้ 310 เสียง[59]

ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ดูเพิ่มที่ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สมัคร สุนทรเวชพ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น[60] เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง และศาลยังตัดสินให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ร่วมก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถูกสื่อมวลชนรายงานว่าเขาเป็นผู้ที่สนับสนุนหรือบีบบังคับให้ ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามแปรพักตร์มาอยู่ฝ่ายอภิสิทธิ์[61] ส.ส.เหล่านั้นมาจากพรรคเพื่อไทย (พรรคที่สืบทอดต่อจากพรรคพลังประชาชน) สมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนานำโดยสนั่น ขจรประศาสน์ (พรรคที่สืบทอดต่อจากพรรคชาติไทย) และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่ม"เพื่อนเนวิน" อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ทำให้ให้พรรคประชาธิปัตย์มีเสียงข้างมากในสภา[62] สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[63][64][65] และชนะการโหวตการเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีประชา พรหมนอกเป็นคู่แข่ง[66]

ทางด้านคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการที่อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "เป็นชัยชนะของพันธมิตรฯ ที่แท้จริง" และ "รัฐประหารสไตล์อนุพงษ์"[67] โอกาสที่อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็นนายกครั้งนี้ได้รับความเห็นชนชั้นกลาง[68]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย และ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับสนองพระบรมราชโองการเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ที่พรรคประชาธิปัตย์
นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ การศึกษาไร้พรมแดน เพื่อพลเมืองและผู้นำโลกในอนาคต พร้อมฟังการอภิปราย และถามคำถาม ในงานนิทรรศการศึกษาต่อสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552ในวันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 17.19 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำร่างพระบรมราชโองการแต่งตั้งอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน[69]

การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีที่มีความสำคัญรวมไปถึงกษิต ภิรมย์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการนายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกรณ์ จาติกวณิช อดีตนายทุนนายธนาคารและอดีตเพื่อนร่วมคณะเศรษฐศาสตร์กับนายอภิสิทธิ์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[70] อภิสิทธิ์ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากกรณีที่แต่งตั้งนายกษิตมาเป็นรมว.ต่างประเทศ อภิสิทธิ์ออกมากล่าวปกป้องนายกษิตว่า "คุณกษิตได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานของเขามาอย่างดี เคยเป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญของประเทศ มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าเขาเคยร่วมแถลงการณ์ต่างๆหรือร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ แต่ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกฎหมายเขาก็จะไม่ถูกดำเนินคดี"[71] พรทิวา นาคาศัย อดีตเจ้าของธุรกิจอาบอบนวด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้มีการเจรจาต่อรองตำแหน่งทางการเมืองแต่อย่างใด[72]

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกราชนาวีไทยจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้อภิสิทธิ์ออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[73]

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ออกมาขอร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเข้าถึงตัวผู้รอดชีวิตบนเรือ 126 คนจากการดูแลของไทย[74] อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมงานกับองค์กรระหว่างประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้วองค์กรนี้จะต้องทำงานบนพื้นฐานของความร่วมมือกับวิธีปฏิบัติของรัฐบาลไทยที่ถูกต้อง กองทัพกล่าวว่าทางกองทัพเองไม่มีข้อมูลที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในการควบคุมของกองทัพ[75]

นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน ทางเจ้าหน้าที่ราชนาวีไทยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[76] จากนั้นอภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด การสอบสวนถูกนำโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ จากนั้นได้ทบทวนเพื่อดำเนินการกับกลุ่มคนที่โฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร[77] นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เสนอแนะว่าสถานการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นมาทั้งนั้น เพื่อทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศไทย[78] นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวหาซีเอ็นเอ็นว่า รายงานข่าวไม่เป็นความจริงและยังเรียกร้องให้ประชาชนอย่าไปหลงเชื่อ[79][80]

แองเจลินา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ วิจารณ์รัฐบาลไทยว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮิงยา และเสนอแนะว่ารัฐบาลไทยควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิ UNHCR มีการบันทึกว่า UNHCR ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศ และอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ[81][82] นายอภิสิทธิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งนักวิเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างชาติ จากการที่ออกมาปกป้องกองทัพที่ใช้จ่ายเงินในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา "เราจะไม่เห็นรัฐบาลอภิสิทธิ์เจริญก้าวหน้าหลังจากกองทัพ เพราะมันเป็นผลประโยชน์ในตำแหน่งของเขา" ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์กล่าว[83][84]

ข้อกล่าวหาเรื่องทุจริต
รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาว่ามีการคอรัปชั่นหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง หลังจากที่ถูกกดดันจากสาธารณชนอย่างมากแล้ว อภิสิทธิ์จึงแต่งตั้ง บรรลุ ศิริพานิช เป็นหัวหน้าคณะกรรมการสอบสวนข้อกล่าวหาต่างๆ ภายในกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการของบรรลุได้พบว่า

อดีตเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้รับสินบนจากผู้ให้สัมปทานรถพยาบาล
การซื้อพัดลมยูวีในราคาสูงกว่าราคาต้นทุนกว่า 10-20 เท่า
งบประมาณในการก่อสร้างอาคารสูงเกินความจำเป็น
มีหลายกรณีที่ทำให้ราคาเรื่องจักรและอุปกรณ์ทางการแพทย์มีราคาสูงขึ้น
วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณะสุข ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีตเลขารัฐมนตรี และกฤษดา มนูญวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้งหมดถูกพบว่ามีความผิด ต่อมา วิทยา ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่ความผิดถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม มานิตย์ ปฏิเสธที่จะลาออก[15][85] หลังจากการลาออก วิทยา ถูกสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าวิปฝ่ายรัฐบาล

หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดพัทลุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ใช้ทุนของรัฐบาลและเงินบริจาครวมกัน ไปซื้อสินค้าช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับชาวบ้านที่ประสบภัย ปลากระป๋องที่แจกจ่ายออกไปต่อมาถูกพบว่าเน่าเสีย นำไปสู่ข้อกล่าวหาในการทุจริตจัดซื้อปลากระป๋อง วิฑูรย์ นามบุตร รมว.พม.ออกมาปฏิเสธว่าการทุจริตได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ให้ข้อมูลว่าปลากระป๋องถูกซื้อโดยใช้เงินบริจาคค่อนข้างมากกว่าเงินทุนของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ต่อมาเขาลาออกจากตำแหน่งภายใต้สภาวะที่กดดัน และถูกแทนที่ด้วยสมาชิกพรรคคนอื่น[14][86]

รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาบริหารประเทศภายใต้ข้อกล่าวหาที่ว่า โครงการชุมชนพอเพียงมูลค่า 26 พันล้านบาทเป็นโครงการที่ปนเปื้อนไปด้วยการทุจริต โครงการนี้เป็นนโยบายประชานิยมต่อต้านโครงการยุคทักษิณที่ทำในชนบทของเมืองไทย[87] อภิสิทธิ์ชี้แจงข้อกล่าวหาว่า “สิ่งที่กล่าวหาว่าบกพร่องต่อหน้าที่นั้นอาจเริ่มมาจากโครงการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ (SML)... โครงการเอสเอ็มแอลนี้กำเนิดมาจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร”[88] กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และน้องชายของเขา ประพจน์ สภาวสุ เป็นรองผู้อำนวยการ เรื่องอื้อฉาวนี้ขยายออกไปเป็นวงกว้าง เป็นสาเหตุให้กอร์ปศักดิ์ลาออกจากตำแหน่ง แต่ยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ขึ้นมา คณะกรรมการพบว่าทั้งกอร์ปศักดิ์และน้องชายของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต[89][90] ต่อมากอร์ปศักดิ์ถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาของอภิสิทธิ์

ความมั่นคง
อภิสิทธิ์ได้ลงนามอนุมัติให้ซื้อเครื่องบินรบยาส 39 จำนวน 6 ลำ จากประเทศสวีเดน ในวงเงิน 19,500 ล้านบาท ซึ่งมีแผนที่จะซื้อตั้งแต่สมัย รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์[91]

กรณีสิทธิบัตรยา
อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[92]

การออกกฎหมาย
พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอร่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[93] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์.[94]

การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การตรวจตราความเลวร้ายภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร[95] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[96]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[97]

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

อภิสิทธิ์ กับ ยุกิโอะ ฮะโตะยะมะ ในปี 2552
อภิสิทธิ์ กับ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติพิตส์เบิร์กกัมพูชา
อภิสิทธิ์แต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประท้วงประเทศกัมพูชาที่กระตุ้นให้บรรยากาศต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรดำเนินไปข้างหน้า ความสำคัญลำดับแรกในการแต่งตั้งเขา กษิตเคยเรียกสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ว่า "นักเลง" (ต่อมานายกษิตให้ความหมายว่านักเลง หมายถึง เป็นคนที่ใจกล้า เป็นสุภาพบุรุษที่กล้าหาญและใจกว้าง) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพกัมพูชาบริเวณปราสาทเขาพระวิหารบริเวณใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา รัฐบาลกัมพูชาอ้างว่าได้สังหารทหารไทยไป 4 ศพและถูกจับกุมมากกว่า 10 คน ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาปฏิเสธว่าทหารไทยไม่ได้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บก็ตาม ทหารกัมพูชา 2 คนถูกสังหาร กองทัพทั้ง 2 ฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายยิงนัดแรกและรุกล้ำเข้ามายังเขตแดนก่อน.[98][99]

เวียดนาม
อภิสิทธิ์เดินไปทางไปพบเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อพิจารณาถึงหนทางแก้ปัญหาวิกฤตการณ์การเงินโลก อภิสิทธิ์ไปถึงฮานอยใช้เวลาหนึ่งวันไปเยียมเยียน เหวียน เติ๋น ยวุ๋ง "การมาเยี่ยมเยียนของคุณจะช่วยให้มิตรภาพขยายกว้างและลึกซึ้งมากขึ้นและความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยซึ่งมีหลายแง่มุม" เหวียน เติ๋น ยวุ๋ง กล่าวกับแขกในโอกาสที่ได้ถ่ายรูปเป็นเวลา 5 นาที

เช็คช่วยชาติ
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[100] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[101] อภิสิทธิ์ตอบรับวิกฤตเศรษฐกิจนี้โดยการแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท (ประมาณ $75) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (ประมาณ $500) [102]

การสั่งฟ้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
อภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะใช้หลักนิติรัฐและสั่งฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 21 คน ที่ต้องรับผิดชอบจากการยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งยังไม่ได้มีการออกหมายจับคดียึดสนามบิน[103] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 รัฐบาลซึ่งเป็นโจทย์ยังคงเลื่อนการตัดสินใจออกไปเป็นครั้งที่ 8 ว่าจะสั่งฟ้องแกนนำพันธมิตรทั้ง 9 คนหรือไม่ หลังจากที่ยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลากว่า 7 เดือน ทางรัฐบาลอ้างว่ายังตัดสินใจไม่ได้เพราะว่าแกนนำพันธมิตร "งานยุ่งอยู่ที่ต่างจังหวัด" ในเวลานั้น

ความไม่สงบในช่วงสงกรานต์ในปีพุทธศักราช 2552

นายกรัฐมนตรี เดินทางไปแถลงถึงกรณีตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงในเขตกทม. และปริมณฑล ที่กระทรวงมหาดไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวหาผ่านทางวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้สั่งให้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และยังกล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องมนตรีว่ามีส่วนรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหารขึ้นเพื่อรับรองให้อภิสิทธิ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหา กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงจำนวน 100 คนจาก 1,000 คนในกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนเมษายนมีความต้องการให้อภิสิทธิ์ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และต้องการให้ พล.อ.เปรม สุรยุทธิ์ และชาญชัย ลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี[104] พ.ต.ท. ทักษิณเรียกร้องให้มีการปฏิวัติโดยประชาชนอย่างเปิดเผย เพื่อให้มีชัยชนะต่อชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผู้ประท้วงเสื้อแดงแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติไปขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยา ความรุนแรงจากการปะทะกันได้เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับกลุ่มเสื้อน้ำเงินที่สนับสนุนรัฐบาล และมีรายงานว่ากลุ่มคนเสื้อน้ำเงินได้ขว้างระเบิดมายังกลุ่มคนเสื้อแดง[105] การบุกรุกเข้าไปในที่ประชุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นสาเหตุให้การประชุมอาเซียนซัมมิทเป็นอันต้องยกเลิกไป ต่อมาอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยาและชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน[106] ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้มีการรวมตัวกันมากกว่า 5 คนถูกห้ามไม่ให้นำเสนอข่าวที่ยุยงให้เกิดความวิตกกังวล[107]

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เริ่มต้นขึ้นนั้น ผู้ประท้วงได้ยกระดับการชุมนุมสูงขึ้นในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงใช้รถยนต์ รถเมล์ และรถบรรทุกแก๊ส LPG จอดขวางตามถนนหลายจุดในใจกลางกรุงเทพมหานคร การต่อสู้ได้ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านรัฐบาล กลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาล และประชาชนทั่วไป การเดินขบวนไปยังหน้าบ้านสี่เสาว์เทเวศน์ มีผู้สนับสนุนพันธมิตรคนหนึ่งขับรถเข้าชนกลุ่มนปช. ก่อนที่จะขับรถหนีไป[108] อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อแดงยกระดับความตึงเครียดสูงขึ้นและกล่าวหาว่าผู้ที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นศัตรูของประเทศไทย[109] อภิสิทธิ์ยังได้ออกพระราชกำหนดมอบอำนาจให้รัฐบาลตรวจสอบการออกอากาศทางโทรทัศน์[110] ก่อนที่จะมีเหตุการณ์นองเลือด พ.ต.ท. ทักษิณ เรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาแทรกแซงไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากัน[111]

ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน ทหารใช้แก๊สน้ำตาและปืนที่บรรจุกระสุนซ้อมปนกับกระสุนจริงและปืนM16แบบพับฐาน,M-60,M-249สลายการชุมนุมจากแยกดินแดง ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 70 คนสูญหาย2คน[112] [113] ผู้ประท้วงที่ต่อสู้กับกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ให้เข้ามาวางเพลิงในชุมชนของตัวเองถูกปืนจากคนเสื้อแดงยิงตาย 1 คน[114][115] ในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลสั่งให้ระงับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ช่องดีสเตชัน และสมาชิกของกลุ่มนปช.ในเวลานั้น ถูกเผยแพร่ภาพที่มีการปะทะกันขึ้น และวิทยุชุมชนหลายแห่งถูกปิด[116] ความรุนแรงจากการปะทะมีจำนวนมากในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำอีก 13 คน ต่อมาแกนนำนปช.เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 14 เมษายน ภายหลังจากที่ความรุนแรงได้สิ้นสุดลง[117] หลังจากนั้นไม่นาน อภิสิทธิ์ได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และออกหมายจับแกนนำเพิ่มอีก 12 คน[118]

รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลของผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบนี้จำนวนมากกว่า 120 คนเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มนปช.[119] ทางกลุ่มนปช.ประกาศว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและถูกทหารนำศพไปโยนทิ้ง รัฐบาลได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ มีการตั้งข้อสงสัยว่า มีกลุ่มนปช.ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คนที่ดินแดงโดยมีบาดแผลที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เกิดจากอาวุธสงคราม ถึงแม้ว่ากองทัพจะออกมาปฏิเสธ[120] อภิสิทธิ์มอบหมายให้สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ออกมายืนยันว่าผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลถูกเสื้อแดงยิงตาย 2 คนที่ดินแดง[121] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประมาณมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รวมถึงรถเมล์ที่ถูกเผาจำนวน 31 คัน[122]

วันที่ 21 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศ “สงครามสื่อ” มุ่งหมายจะเล่นงานข้อกล่าวหาของ นปช. อภิสิทธิ์ยังประกาศด้วยว่าจะแจกจ่ายวีซีดีเอกสารของรัฐบาลเกี่ยวกับสถานการณ์หลายล้านแผ่นไปยังประชาชน[123][124] ในเวลานั้น คำสั่งการตรวจสอบและฉุกเฉินของรัฐบาลยังคงอยู่ในที่ตั้ง ต่อมาประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 เมษายน[125]

การปฏิบัติต่อกลุ่ม นปช. ของอภิสิทธิ์โดยฉับพลันนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาใช้มาตรฐานอย่างหนึ่งต่อฝ่ายตรงข้าม และอีกอย่างหนึ่งต่อพันธมิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่าไว้ว่า “มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดว่าเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลอย่างไร จะเพียงแค่กระตุ้นให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลหันไปพึ่งการทำผิดกฎหมายมากขึ้น” ในเวลานั้น ยังไม่มีหมายจับพันธมิตรที่ไปยึดสนามบินเมื่อหลายเดือนก่อนหน้า ขณะที่หมายจับ นปช. เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังจากเหตุรุนแรงปะทุขึ้น[126] ในการไปให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ อภิสิทธิ์กล่าวว่า “ผมเข้าใจความรู้สึก (นปช.) ในกรณีที่ดูขัดแย้งกับของพันธมิตรฯที่ล่าช้า ปัญหาคือการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ผมเป็นรัฐบาล และกำลังอยู่ในขั้นตอนสืบสวน” เมื่อผู้สัมภาษณ์สังเกตว่าการยึดสนามบินยุติลงเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก่อนที่อภิสิทธิ์จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขายืนยันว่า “ผมได้เรียกหัวหน้าตำรวจมาประชุมและแสดงความเป็นห่วงที่คดีกำลังตัดสินเป็นไปอย่างล่าช้า และพวกเขาทำคดีนี้คืบหน้าไปแล้ว”[127]

ความไม่สงบในช่วงก่อนสงกรานต์ในปีพุทธศักราช 2553
ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 อภิสิทธิ์ยืนยันว่าสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยลดลงตั้งแต่รัฐบาลของเขาเข้ามามีอำนาจเมื่อเดือนธันวาคม แต่คำยืนยันของเขาถูกโต้แย้งโดย ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรุนแรง แท้ที่จริงแล้วเพิ่มขึ้นต่างหาก ตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมา[128]

มาตรการปราบปรามการประท้วง
อภิสิทธิ์เผชิญหน้ากับจำนวนผู้ที่ไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลของเขาเอง และท่ามกลางข่าวลือที่ว่าจะมีการยึดอำนาจเกิดขึ้น ในเดือนธันวาคม 2009 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.อ่างทอง เขียนบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าโดยบอกว่า ประเทศอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองแล้ว แม้ว่ายังไม่มีการสังหารหมู่แต่อย่างใด อภิสิทธิ์ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงหลายฉบับตลอดช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม เพื่อปราบปรามผู้ประท้วง

ความนิยม
ตามที่ผลสำรวจโดยเอแบคโพลในรอบเดือนพฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา อภิสิทธ์ได้รับเปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจที่ 70% ซึ่งสูงสุดในคณะรัฐมนตรี ส่วนเปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจของคณะรัฐมนตรีอยู่ที่ 59% ถือว่า”ค่อนข้างมากหรือมาก” และ 9.4% พึงพอใจ “มากๆ” ภาพรวมของคณะรัฐมนตรีถูกประเมินจากเต็ม 10 ได้ 6.5 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก[129]

ความสนใจ
กีฬา
อภิสิทธิ์สนใจกีฬาฟุตบอลตั้งแต่เด็ก เขาคิดว่าเป็นกีฬาที่มีเสน่ห์เป็นพิเศษ เวลาที่ดูเขาจะเชียร์เต็มที่ เขาบอกว่ามันเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต แต่คงไม่ถึงขั้นกับว่า มากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน สโมสรฟุตบอลที่เขาชื่นชอบคือ นิวคาสเซิล อภิสิทธิ์เคยให้สัมภาษณ์ประมาณว่ารักทีมนี้สุดจิตสุดใจและยังเคยกล่าวด้วยว่า "ผมไม่ค่อยจะเครียดเรื่องอะไรมาก จะมีเรื่องเดียวคือเวลานิวคาสเซิ่ลแพ้ ซึ่งก็บ่อยซะด้วย"[130] เขายังบอกด้วยว่าสาเหตุที่ฟุตบอลไทยไม่เคยพัฒนาได้ถึงบอลโลก ก็เพราะว่า "ประเทศไทยขาดการพัฒนาการแข่งขันมาจากรากฐานของท้องถิ่น ลีกที่ดีๆต้องมีคนเชียร์เป็นเรื่องเป็นราว มีความผูกพันอยู่กับทีมสร้างทีมขึ้นมา ของไทยเราไม่ใช่ ของเรามาจากส่วนกลาง ถ้าเทียบลีกในยุโรปช่วงที่มีแข่งทุกวันเสาร์ เขาจะไปเชียร์มันเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตเลย เด็กที่โตในเมืองนั้นก็จะโตมากับความฝันที่จะได้เล่นในทีม เป็นฮีโร่ของทีม ของไทยเราไม่ได้กระจายแบบนั้น" และมีความคิดที่จะส่งเสริมค่านิยมในการดูฟุตบอลที่ถูกต้อง และมีทัศนคติว่า การที่เล่นกีฬาเป็นประจำมันก็สอนเราเกี่ยวกับเรื่องการทำงานกับคนอื่น เกี่ยวกับเรื่องการแพ้การชนะแต่ละคน[131]

ดนตรี
อภิสิทธิ์เริ่มฟังดนตรีตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก หากไม่ฟังประชุมสภาก็จะฟังเพลง อภิสิทธิ์ชอบพกพาวิทยุ เครื่องเล่นเทป ติดตัวไปสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนประจำ อภิสิทธิ์เริ่มจากการฟังเพลงป็อป เช่น แอ็บบ้า ต่อมาเป็นดิ อีเกิลส์ เฮฟวีเมทัล แต่แนวก็จะเป็นเพลงร็อกและแนวเพลงร่วมสมัย เพราะชอบจังหวะ ชอบความหนักแน่นของมัน ส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง เนื้อเพลง ที่บ่งบอกความร่วมสมัย ตั้งแต่ผ่านยุคทศวรรษ 80 ผ่านยุคกรันจ์ ผ่านยุคผสมกับอีเลกโทรนิกแร็ป เป็นต้นมา จะมีเรื่องของภาพลักษณ์ตามมาด้วย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของมิวสิก วีดิโอ และจะเริ่มนึกถึงเสื้อผ้า นึกถึงทรงผมได้เหมือนกัน วงดนตรีที่ชื่นชอบคือ อาร์.อี.เอ็ม.[132] กรีนเดย์ และโอเอซิส[133]

ผลงานหนังสือ
มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9
การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-88195-1-8
เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-7310-66-5
ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-8494-81-4
หนังสือที่เกี่ยวกับนายอภิสิทธิ์
สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม อภิสิทธิ์
กานธนิกา ชุณหะวัต, เฉลิมชน คงประวัติ. อภิสิทธิ์ คนเหนือดวง
สุเมธ จึงเลิศสถิตพงศ์. ผ่าทางตัน อภิสิทธิ์สู่บัลลังก์นายกฯ
ทีมข่าวหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้รายวัน. ระบอบอภิสิทธิ์
พิชัยยุทธ์ สยามพันธกิจ. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ... นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง
ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรคประชาธิปัตย์. คำให้การอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (คดีพรรคประชาธิปัตย์)
ส. สะเลเต. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำเลือดใหม่ หัวใจผู้กล้า
ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ..อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เกียรติยศ
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะได้รับความชื่นชมและรางวัลต่าง ๆ ดังนี้[134]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2535 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2536 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2538 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2540 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2541 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2542 : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
การได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2535 : 1 ใน 100 ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้, โดย World Economic Forum (องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองของโลก)
พ.ศ. 2540 : 1 ใน 6 นักการเมืองที่เป็นความหวังของเอเซีย, โดย นิตยสารไทม์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2540, “เสียงใหม่ๆ เพื่อเอเซียใหม่”
พ.ศ. 2542 : 1 ใน 20 ผู้นำสำหรับสหัสวรรษ ด้านการเมือง, โดย นิตยสารเอเซียวีค 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2552 : ไดรับเชิญให้เข้าร่วมประชุม World Economics Forume ที่เมือง Davosโดยเป็นผู้นำประเทศคนที่สองที่ได้รับเชิญ ถัดจากนายชวน หลีกภัย
อ้างอิง
1.^ Los Angeles Times, Thailand parliament chooses economist as prime minister Retrieved 15-12-08
2.^ 2.0 2.1 [1] พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
3.^ HM the King's April 26 speeches. The Nation. สืบค้นวันที่ 2006-07-05
4.^ Straits Times, In for 'roughest ride', 15 December 2008
5.^ The Nation, Draft gets Democrats' vote, 9 July 2007
6.^ The Nation, “สนธิ” เปิดใจครั้งแรก เบื้องลึกปมลอบยิง โยงทหารฮั้วการเมืองเก่า, 1 May 2009
7.^ The Telegraph, Thai army to 'help voters love' the government, 18 December 2008
8.^ Korea Times, Class War in Thailand, 17 April 2009
9.^ The Nation, Sondhi's son alleges "Gestapo" behind his father's assassination attempt
10.^ Spiegle, 'I'm Like a Rat', 20 April 2009
11.^ Taiwan News, Thai diplomat accuses ousted leader in shootings, 22 April 2009
12.^ Bangkok Post, PM pledges new drive to protect King, 7 February 2010
13.^ The Nation, Abhisit sets human rights record poorer : HRW
14.^ 14.0 14.1 Bangkok Post, Witoon quits over fish, 4 February 2009
15.^ 15.0 15.1 Thai-Asean News Network, New Health Minister to be Named after New Year, 29 December 2009
16.^ BBC News. Profile: Abhisit Vejjajiva. สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม 2553.
17.^ 17.0 17.1 17.2 Professional Experience abhisit.org
18.^ บัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ฝ่ายศิษย์เก่าและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม 2553.
19.^ 19.0 19.1 19.2 19.3 อภิสิทธิ์ 360° - บนเส้นทางการเมือง
20.^ The Nation, Abhisit, Chuan's young protege gets his turn at last, retrieved 15-12-2008
21.^ Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
22.^ Lynn Pan. The Encyclopedia of the Chinese Overseas. Harvard University Press. p. 220, Thailand–Changes-laos in its economic future. ISBN 0674252101. http://www.amazon.com/Encyclopedia-Chinese-Overseas-Lynn-Pan/dp/0674252101/ref=sr_1_1/002-4601878-9323256?ie=UTF8&s=books&qid=1191934412&sr=1-1.
23.^ 袁姓华裔当选泰新总理 (Chinese-descendant of Yuan clan elected new Prime Minister of Thailand)
24.^ 老鳥沙馬vs.溫文阿披實 兩黨魁風格殊異
25.^ นามสกุลพระราชทาน หมวด ว.แหวน
26.^ สาแหรก... "เวชชาชีวะ". หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, ปีที่ 31, ฉบับที่ 11238 (16 ธันวาคม พ.ศ. 2551). สืบค้นวันที่ 26 เมษายน 2552
27.^ 27.0 27.1 ซัด 'อภิสิทธิ์' หนีทหาร ข่าวจากไทยรัฐ 9 ก.ค. 50
28.^ วีระเตรียมแฉอภิสิทธิ์หนีทหาร วิ่งเต้นเป็นอาจารย์รร.จปร.
29.^ จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคประชาธิปัตย์ (กระทู้เก็บถาวร จากพันทิปดอตคอม)
30.^ อภิสิทธิ์หนีทหาร ข้าราชการชาย ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารจริงหรือ
31.^ แนวหน้า-วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542
32.^ ไทยโพสต์ - วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542
33.^ อภิสิทธิ์แจงกรณีไม่เกณฑ์ทหาร
34.^ ๑ ปี หลัง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
35.^ ๒ ปีกับรัฐมนตรี...อภิสิทธิ์ The Official Abhisit Vejjajiva Website
36.^ หนังสือ มาร์ค...เขาชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
37.^ สัมภาษณ์พิเศษ บัญญัติ บรรทัดฐาน ประชาธิปัตย์มีหวังมากขึ้น
38.^ Prem stays silent on Democrats' latest call
39.^ ทรท.เมินฝ่ายค้านเล่นบทบอยคอต
40.^ ฝ่ายค้านบอยคอตต์ปชป.-มหาชน-ชาติไทยไม่ส่งคนสมัครส.ส.ลั่นล้ม'ระบอบทักษิณ'
41.^ รายงาน : เปิดคำให้การเทปฉาวจ้างพรรคเล็ก
42.^ “สุเทพ”แฉเส้นทางเงินจ้างพรรคเล็กสมัครส.ส.
43.^ ทรท.ตายยกเข่ง! สั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี 111 คน 30 พฤษภาคม 2550
44.^ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน 30 พฤษภาคม 2550
45.^ 45.0 45.1 Bangkok's Independent Newspaper The Nation
46.^ The Nation, OAG proposes dissolution of Democrat, Thai Rak Thai, 3 other parties, 27 June 2006
47.^ The Nation, 2 February 2007
48.^ The Nation, Witnesses link Democrats to registration delay, 23 February 2007
49.^ The Nation, Historical rulings unfold, 30 May 2007
50.^ The Left/Right Debate Thai Tribunal: Democrat Party Cleared Of Electoral Violations (Nasdaq), 30 May 2007
51.^ Abhisit vows fresh start, honest govt The Nation, 30 April 2006
52.^ http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7780309.stm BBC Profile
53.^ Abhisit announces candidacy for PM The Nation, 29 April 2006
54.^ Can Abhisit lead Thailand? The Nation, 30 May 2006
55.^ Economy to be the top priority for Abhisit govt The Nation, 29 December 2008
56.^ Abhisit pressures PM to TV debate The Nation, 7 August 2006
57.^ Time Magazine [2] Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
58.^ Time Magazine, Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
59.^ "Thailand's king officially endorses new prime minister", Associated Press (Taipei Times), 30 January 2008.
60.^ Somchai elected new prime minister The Nation
61.^ The Telegraph, Thai army to 'help voters love' the government, 18 December 2008
62.^ Democrats claim majority to form government The Nation, 7 December 2008
63.^ Newin embraces Abhisit, but rejecting Thaksin "was tough" The Nation, 10 December 2008
64.^ Abhisit poised to be PM as democrats seek house vote The Nation, 8 December 2008
65.^ Thai opposition 'set for power' BBC News, 10 December 2008
66.^ "New Thai prime minister elected", BBC news, 05:53 GMT, Monday, 15 December 2008. สืบค้นวันที่ 2008-12-15
67.^ The Nation, Question loom over new Prime Minister's legitimacy, 17 December 2008
68.^ AsiaNews.IT, Abhisit Vejjajiva is the new prime minister of Thailand, 15 December 2008
69.^ "ในหลวง" ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่งตั้ง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกฯคนที่ 27 แล้ว เว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
70.^ Asia One, [http://news.asiaone.com/News/Latest%2BNews/Asia/Story/A1Story20081221-109415.html Finance minister from Thai elite faces raft of economic woes ], 21 December 2008
71.^ Far Eastern Economic Review, New Thai Prime Minister Says People Must Wait for Democracy, 24 January 2008
72.^ BBC, Thai PM rules out cabinet deals, 18 December 2008
73.^ Bangkok Post, [3], 20 January 2009
74.^ The Nation, [4], 21 January 2009
75.^ The Nation, Thailand 'happy to cooperate', but Army plays dumb on detainees, 22 January 2009
76.^ Al Jazeera, Thais admit boat people set adrift, 27 January 2009
77.^ ABC, Thailand promises army-led probe of Rohingya scandal, 29 January 2009
78.^ Reuters, Burmese Boat People Scandal Exposes Thai PM's Debt to Army, 26 January 2009
79.^ The Nation, Don't believe what the world says about Rohingya, 4 February 2009
80.^ Matichon, "กษิต"เมินซีเอ็นเอ็นตีข่าวโรฮิงญา ยันยึดสิทธิมนุษยชน , 27 January 2009
81.^ The Nation, UNHCR warned over Angelina Jolie's criticism on Rohingya
82.^ The Nation, Thai govt warns Jolie and UNHCR over comments on Rohingyas, 11 February 2009
83.^ Reuters, Burmese Boat People Scandal Exposes Thai PM's Debt to Army 26 January 2009
84.^ Bangkok Post, Military Obligation: Thai PM's Baggage Confronts His Political Inheritance, 30 January 2009
85.^ Bangkok Post, Cabinet job swap could save Manit from the axe, 3 January 2010
86.^ Suranand Live, PM Abhisit is monopolizing the moral high ground, 8 Jan 2010
87.^ Bangkok Post, Robbing the Poor Blind, 7 August 2009
88.^ Bangkok Post, Abhisit moves to hose down sufficiency projects scandal, 6 August 2009
89.^ KPI, Thai Politics Monitor August 2009
90.^ Bangkok Post, Korbsak quits sufficiency project, 19 August 2009
91.^ The Nation, Air Force to earmark next year's tie-over budget to buy Grippen fighters
92.^ Bangkok Post, [5], 5 March 2009
93.^ The Nation, Democrats propose law to crack down on lese majeste, 19 November 2008
94.^ The Nation, List of 29 controversial websites
95.^ The Telegraph, Thailand analysis: 'land of smiles' becomes land of lies, 5 April 2009
96.^ Telegraph, Ten years jail for "insulting" Thai king, 3 April 2009
97.^ The Nation, Better ways to save thai online freedom, 6 April 2009
98.^ The Telegraph, Troops from Thailand and Cambodia fight on border, 3 April 2009
99.^ Bloomberg, Thai, Cambodian Border Fighting Stops, Thailand Says, 3 April 2009
100.^ MCOT, Thailand's January unemployment soars to 880,000, 17 March 2009
101.^ MCOT, Thai economy to contract 4.5-5 per cent: Finance Minister, 16 April 2009
102.^ MCOT, Bt2,000 cheque dispersals end at Bangkok City Hall, 28 March 2009
103.^ The Malaysian Insider, Thousands of Thaksin supporters rally against Thai government, 15 April 2009
104.^ The Telegraph, Thai protesters bring Bangkok to a halt, 8 April 2009
105.^ Nirmal Ghosh, “Live: Flashpoint Pattaya,” Straits Times, 11 April 2009
106.^ New York Times, Thailand’s Failed Experiment?, 16 April 2009
107.^ MCOT, Armour, troops on streets; Gunfire in scuffle after PM declares emergency, 12 April 2009
108.^ MCOT, Hit-and-run driver plunges car into UDD protesters, 9 April 2009
109.^ The Age, Sacrificing democracy won't end Thailand's chaos, 15 April 2009
110.^ Committee to Protect Journalists, Thai government issues censorship decree, 14 April 2009
111.^ The Economist, The trouble with the king, 16 April 2009
112.^ The Times, Abhisit Vejjajiva won the media battle but the hardest job is yet to come,14 April 2009
113.^ The Times, Thai troops open fire on protesters in Bangkok 13 April 2009
114.^ Bangkok Post, “Red in retreat,” 14 April 2009
115.^ Bangkok Post, “Red revolt,” 14 April 2009
116.^ MCOT, Community radio stations ordered to close temporarily, 16 April 2009
117.^ The Guardian, Thailand issues Thaksin arrest warrant over Bangkok violence, 14 April 2009
118.^ The Telegraph, [6]
119.^ BBC News, “Army pressure ends Thai protest,” 14 April 2009
120.^ Bangkok Pundit, “It Begins,” 13 April 2009
121.^ The Nation, One shot dead by red-shirted protesters
122.^ MCOT, Bt10 million BMA property damage from protest; religious rites to be held, 16 April 2009
123.^ The Nation, Govt to launch media war countering red shirts
124.^ Bangkok Post, UDD's planned video show self-defeating, 21 April 2009
125.^ Reuters, Thailand lifts emergency, plans charter reforms, 24 April 2009
126.^ AHRC, Thai courts’ use of legal double standards encourages extralegal means by opposition, 25 April 2009
127.^ Financial Times, Interview with Abhisit Vejjajiva, 23 April 2009
128.^ Asia Times, Old and new massacres in Thailand, 10 July 2009
129.^ The Nation Most satisfied with Abhisit govt, poll finds May 29, 2009
130.^ ผลสรุปวันเสาร์ - อภิสิทธิ์....เศร้านาทีสุดท้าย
131.^ อภิสิทธิ์ 360° - โลกฟุตบอล The Official Abhisit Vejjajiva Website
132.^ อภิสิทธิ์ 360° - โลกดนตรี The Official Abhisit Vejjajiva Website
133.^ นายกอภิสิทธิ์ @ วู้ดดี้เกิดมาคุย part 2 คลิปบนยูทูบ
134.^ อภิสิทธิ์ 360° - Biography The Official Abhisit Vejjajiva Website
ดูเพิ่ม
พรรคประชาธิปัตย์
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ:
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะwww.pm.go.th เว็บไซต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรีไทย
www.abhisit.org เว็บไซต์ส่วนตัวของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประวัติของอภิสิทธิ์ บน เว็บไซต์ ปชป.
เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com
เรื่องเล็ก ๆ แต่น่ารู้ ของนายกฯ คนที่ 27 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
abhisitvejjajiva.hi5.com Hi5 ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
www.youtube.com/abhisitorg Youtube Channel ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทวิตเตอร์ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (@PM_Abhisit)
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์. QUESTION MARK. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-6230-4
ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. กรุงเทพฯ : กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547. ISBN 978-974-92093-3-2
สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม "อภิสิทธิ์" ?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-0492-2
...
  
อภิสิทธิ์
3
...
  
นายสมัคร สุนทรเวช
(ชื่อจีน: 李沙馬 Lǐ Shāmǎ[1]; 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 — 9 กันยายน พ.ศ. 2551) หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น

นายสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537

นายสมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม ๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น

ความคิดและบทบาทของนายสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 ประวัติการศึกษา
2.1 ศึกษาเพิ่มเติม
3 ประวัติการทำงาน
4 ประวัติทางการเมือง
5 การดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
6 การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
7 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
7.1 การปฏิบัติงาน
7.2 ความมั่นคง
7.3 เศรษฐกิจ
7.4 สิทธิมนุษยชน
8 ข้อวิพากษ์วิจารณ์
8.1 คดีหมิ่นประมาทนายดำรง ลัทธพิพัฒน์
8.2 กรณีสเตตเมนต์ปลอม
8.3 การจัดรายการโทรทัศน์
8.4 คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
8.5 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
9 ความสนใจ
9.1 สัตว์เลี้ยง
9.2 โภชนาการ
10 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
11 ผลงาน
11.1 ผลงานหนังสือ
12 อ้างอิง
13 ดูเพิ่ม
14 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ประวัติ
นายสมัคร สุนทรเวชเป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช:2435-2521) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร:2445-2524) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล "สุนทรเวช"และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้องๆของท่าน ) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก

นายสมัครเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้

1.พ.อ. (พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
2.นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
3.พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)
4.นายสมัคร สุนทรเวช
5.นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
6.นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง หัวหน้าพรรคประชากรไทย
นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภาและกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยาจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัครเลยมิได้ทำงานประจำให้กับหน่วยงานใดและได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมัครเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ โดยไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อมวลชนมากนัก จนกระทั่ง นายกฤษณะ ไชยรัตน์ พิธีกรโทรทัศน์ เดินทางไปถ่ายทำรายการถึงโรงพยาบาล อาการป่วยของนายสมัครจึงเป็นที่เปิดเผยในวงกว้าง[2] ต่อมา นายสมัคร จึงเดินทางไปรักษาต่อที่ สหรัฐอเมริกา[3] และเดินทางกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[4] เวลา 08.48 น. ด้วยวัย 74 ปี

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม น้ำหลวงอาบศพ และเครื่องอัฐบริขารทั้งหมด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 7 คืน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพนายสมัคร ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

[แก้] ประวัติการศึกษา
ก่อนประถมศึกษา : โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม[ต้องการอ้างอิง]
ระดับประถมศึกษา : โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา[ต้องการอ้างอิง]
ระดับมัธยมศึกษา : โรงเรียนเซนต์คาเบรียล [5][6]
ระดับอาชีวศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ [7]
ระดับอุดมศึกษา : นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] ศึกษาเพิ่มเติม
ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2496 : เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496-2497)
พ.ศ. 2497 : เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497-2502)
พ.ศ. 2502 : ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502-2504)
พ.ศ. 2504 : Free Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504-2506)
พ.ศ. 2507 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507-2509)
พ.ศ. 2510 : Dietary Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510-2511)
พ.ศ. 2512 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512-2513)
พ.ศ. 2513 : ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ. 2513-2514)
พ.ศ. 2514 : เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)
พ.ศ. 2516 : ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว
[แก้] ประวัติทางการเมือง
นายสมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้

พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ. 2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520) ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535) (ก.ย. 2535)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 - 30 ก.ย. 2551)
พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 มกราคม - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
[แก้] การดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยผู้ได้คะแนนอันดับ 2 คือ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ไดัรับคะแนนเสียงเพียง 521,184 คะแนน

นายสมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน[8]

[แก้] การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
หลังพ้นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อครบวาระ 4 ปี นายสมัครตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 แต่เบนเข็มมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2549

ผลการนับคะแนน นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียง เป็นอันดับสองของประเทศ รองจาก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิ ยังไม่ทันได้รับการรับรองตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียน เรื่องการไปขึ้นเวทีปราศัยของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาจถือได้ว่าเป็นการ "หาเสียง" และขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนที่จะมีการชี้ขาดเรื่องดังกล่าว การเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ก็ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา

[แก้] การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายสมัคร สุนทรเวช ทำพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก
นายสมัคร สุนทรเวช แถลงข่าว ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาลดูเพิ่มที่ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2551 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ นายสมัครยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ แต่ยังถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช นี้ว่าเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกในข้อหาเซ็นชื่อยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินตามกฎหมาย

ต่อมาวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 (7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัครยังได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ (ยังไม่มีเอกสารยื่นใบลาออก) โดยให้เหตุผลว่า ได้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคและรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว จึงขอยุติบทบาททางการเมือง ส่วนการดำเนินการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับพรรค

[แก้] การปฏิบัติงาน
เสนอนโยบายการผันแม่น้ำโขงผ่านอุโมงค์ โดยการสร้างใช้หัวเจาะกระสุนกันน้ำซึมเข้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเจาะอุโมงค์แบบรถไฟใต้ดิน คาดว่าปริมาณแม่น้ำโขงจะไหลผ่านอุโมงค์นี้ และแจกจ่ายไปตามโครงข่ายลำน้ำอื่นๆ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรและการอุปโภคในภาคอีสาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ถ้าอีสานมีน้ำ อีสานหายจน" [9]
รื้อฟื้นนำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลทักษิณทำไว้กลับมาใช้อีกครั้ง[10]
เสนอแนวคิดสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
[แก้] ความมั่นคง
การประนีประนอมกับทหาร โดยนายสมัคร กล่าวว่า มีความตั้งใจที่จะออกพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 อยู่แล้ว และจะไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการเรื่องโผการโยกย้ายนายทหาร โดยจะปล่อยให้ทางทหารนั้นจัดการกันเอง ซึ่งทำให้ทางทหารแสดงท่าทีเป็นมิตรกับนายสมัครด้วย [11]
เสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นหนักในเรื่องการสร้างความเข้าใจ ความเป็นธรรม การพัฒนาการศึกษา พัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่[12]
[แก้] เศรษฐกิจ
ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% [13]
ลดราคาสินค้าหมูเนื้อแดงขายจาก 120 บาท ต่อ กก. เหลือเพียง 98 บาท ต่อ กก.[14]
มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ[15]
มาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมโดยการทำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนรัฐบาลที่นำโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา
[แก้] สิทธิมนุษยชน
ใช้นโยบายปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาด
เสนอให้มีเปิดการบ่อนกาสิโนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับทั้งความเห็นชอบและคัดค้านจากหลาย ๆ ฝ่ายเป็นอย่างมาก[16]
[แก้] ข้อวิพากษ์วิจารณ์
[แก้] คดีหมิ่นประมาทนายดำรง ลัทธพิพัฒน์
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมานายสมัคร ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้ให้ข่าวในทำนองว่า นายดำรงฆ่าตัวตายเพราะความเครียด เนื่องจากการยักยอกงบประมาณของ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยานายดำรง [17] มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทนายสมัคร สุนทรเวช [18] ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 [19] ว่า "นายสมัครกล่าวข้อความเป็นเท็จและหมิ่นประมาทจริง" และได้มีคำสั่งให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวชเป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา [20]

[แก้] กรณีสเตตเมนต์ปลอม
เมื่อ พ.ศ. 2530 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในครม.คณะที่ 43 [21] และได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 44) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบนโดยนำสำเนาสเตตเมนต์แสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาและอภิปรายว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท [20] นายจิรายุได้ปฏิเสธและระบุว่าข้อกล่าวหาของนายสมัครเป็นเท็จและตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา

ต่อมา จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่า สเตตเมนต์ที่นายสมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และนายจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับนายสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ [22] ต่อมา นายสมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง [23]

[แก้] การจัดรายการโทรทัศน์
สมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯ นายสมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป

ก่อนหน้านั้น สมัครได้จัดรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ร่วมกับนายดุสิต ศิริวรรณ ในเวลา 11.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งนายสมัครได้กล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ "เลือกข้างใช่ไหม" จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า พล.อ.เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย และเป็นถึงประธานองคมนตรี[24] ทำให้นายสมัครขอยุติรายการดังกล่าวไปด้วยตนเอง

[แก้] คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
สมัคร และ ดุสิต ศิริวรรณ ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่ช่อง 5" ทาง ททบ.5 และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์[25]

ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้นายสมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่นายสมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[26] ขณะนี้คดีกำลังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์

25 กันยายน 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป

[แก้] เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สมัครได้เคยกล่าวไว้ในรายการ สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนตายเพียงคนเดียว และคนนั้นเป็นญวนอีกด้วย ซึ่งนายสมัครได้ย้ำอีกครั้ง ในการให้สัมภาษณ์กับ แดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 [27][28] และยังกล่าวอีกว่า "ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้องไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก"[29]

บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์[30] กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของนายสมัครว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่ปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เท่านั้น เขายังปฏิเสธว่าการสังหารหมู่ไม่ได้เกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งที่มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้เสียชีวิตหลายคน และสมัครเองก็ทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าให้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [31]

ซึ่งประเด็นนี้ ได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่มีวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัครก็ได้ตอกย้ำสิ่งที่ตนพูดอีกครั้ง ซึ่งเป็นการตอบโต้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายชวน หลีกภัย ฝ่ายค้าน พร้อมกับกล่าวว่า ตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปิดหนังสือพิมพ์หลังเหตุการณ์นี้ และได้สาบานด้วยว่า ถ้าสิ่งที่ตนพูดไม่เป็นความจริง ขอให้ตนพบกับความวิบัติ ถ้าไม่จริง ขอให้เจริญรุ่งเรือง[32] [33]

อีกทั้งสมัครยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด ขณะที่สื่อมวลชนรายหนึ่ง ได้โชว์รูปถ่ายที่นายสมัครยืนอยู่ข้างหลังจอมพลประภาส จารุเสถียร ในครั้งนั้นแล้วชี้ให้นายสมัครดู แต่สมัครปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นรูปดังกล่าวมาก่อน

ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 “แม่ลูกจันทร์” แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันว่าภาพดังกล่าวถ่ายไว้ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ถึง 4 ปี โดยเป็นภาพถ่ายเมื่อ เมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ขณะเกิดเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์ กลุ่มแบล็กเซปเทมเบอร์ บุกยึด สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ถนนชิดลม และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยโจรปาเลสไตน์ที่ถูกจับกุม ภายใน 12 ชั่วโมง ขณะนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็น นายกรัฐมนตรี และ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็น รมว. มหาดไทย โดยที่ นายสมัคร สุนทรเวช ขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอล ทำหน้าที่ประสานงานในเหตุการณ์ และ "แม่ลูกจันทร์" เป็นนักข่าวการเมืองที่อยู่ในเหตุการณ์ รูปดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 [34]

[แก้] ความสนใจ
[แก้] สัตว์เลี้ยง
นับได้ว่านายสมัครเป็นบุคคลที่ชื่นชอบแมวมากที่สุดคนหนึ่ง เขาเริ่มเลี้ยงแมวตั้งแต่วัยเด็ก และเคยเลี้ยงแมวหลายตัวด้วยกัน โดยแมวตัวที่นายสมัครรักที่สุดมีชื่อว่า เหวิน เหวิน ซึ่งเมื่อเหวิน เหวินตายจากไปนายสมัครก็ได้ประพันธ์กลอนสุภาพ จำนวน 3 บท ไว้ดังนี้[35]

ถึงเหวินจะเป็นแมวแถวถนน แต่ทุกคนรักเจ้าเฝ้าถามหา
ให้กินข้าวเช้าเย็นเป็นเวลา อยู่กันมาผูกพันนานหลายปี
เมื่อยามเจ้ายังสบายได้เชยชม เจ้าป่วยไข้ทรุดโทรมไม่สุขี
รักษาเจ้ารอดตายได้ทุกที มาครั้งนี้โรครุมหนักจำจากไป
ถึงเป็นแมวก็แมวดีกว่าที่เห็น เคยล้อเล่นอุ้มชูรู้นิสัย
แม้จากกันเจ้ายังอยู่คู่หัวใจ รักแมวไหนไม่เกินเจ้าเหวินเอย


[แก้] โภชนาการ
นายสมัครเป็นบุคคลที่ชอบจ่ายตลาด และทำอาหารมาก โดยเป็นผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศนายสมัครมักจะใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเริ่มพิธีการในการจ่ายตลาด และดูความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศนั้นๆ[36] นอกจากนี้นายสมัครยังเคยทำข้าวผัดให้กับทหารในบริเวณชายแดนด้วย

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
[แก้] ผลงาน
เขียนบทความ และความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำใน สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง 2516
เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2520)
เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง พ.ศ. 2537
ผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป
ผู้ดำเนินรายการ ยกโขยง6โมงเช้า ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ผู้ดำเนินรายการ เกมนักชิม ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
ผู้ดำเนินรายการ เช้าวันนี้..ที่เมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ผู้ดำเนินรายการ สมัคร ดุสิต คิดตามวัน ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนท์ทีวี
ผู้ดำเนินรายการ สนทนาประสาสมัคร ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
[แก้] ผลงานหนังสือ

หน้าปกหนังสือ จากสนามไชยถึงสนามหลวงสมัคร สุนทรเวช พูด. (ม.ป.ท.), (ม.ป.ป.).
สันดานหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บูรพาศิลป์, 2520.
การเมืองเรื่องตัณหา. กรุงเทพฯ : บูรพาศิลปการพิมพ์, 2521.
จวกลูกเดียว. กรุงเทพฯ : เบญจมิตร, 2522.
จากสนามไชยถึงสนามหลวง. (ม.ป.ท.), 2522.
การเมืองเรื่องตัณหา 2. (ม.ป.ท.), 2532.
เรื่องไม่อยากเล่า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟิกอาร์ต, 2530. (พิมพ์ครั้งหลัง : ฐากูรพับลิชชิ่ง, 2543. ISBN 978-974-85986-2-8)
สมัคร ๖๐. กรุงเทพฯ : ซี.พี.การพิมพ์, 2538.
ชิมไปบ่นไป. กรุงเทพฯ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, 2543. ISBN 978-974-387-054-5
คนรักแมว. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์, 2547. ISBN 978-974-8280-21-9
จดหมายเหตุกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547. ISBN 978-974-272-920-2
ใครๆ ก็ชอบไทยฟู้ด. กรุงเทพฯ : ครัวบ้านและสวน, 2548. ISBN 978-974-387-048-4
สมัคร สุนทรเวช และ ดุสิต ศิริวรรณ. ตำนานหนองงูเห่า และการเมืองเรื่อง CTX. กรุงเทพฯ : 2548. ISBN 978-974-93447-5-0
[แก้] อ้างอิง
1.^ [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (April 2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. pp. 187. ISBN 962-620-127-4.
2.^ สมัคร ผ่ามะเร็งที่ขั้วตับ กลับบ้านหลัง 25 ต.ค.
3.^ สมัคร สุนทรเวชป่วยเป็นมะเร็งขั้วตับ
4.^ สมัคร สุนทรเวช ถึงแก่อนิจกรรม
5.^ รายชื่อศิษย์เก่าของสถาบันในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ นิตยสารผู้จัดการ 360°
6.^ งานเชิดชูเกียรติชาวเซนต์คาเบรียล ฯพณฯ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
7.^ ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ หน้า 5
8.^ 'คตส.'ยันหลักฐานคดีรถดับเพลิงมัด'สมัคร'ไม่ใช่เลือกปฏิบัติ
9.^ Samak's Mekong plan could hurt trade ties
10.^ http://www.bangkokpost.com/News/25Feb2008_news02.php
11.^ จากมติชน 10 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 10 คอลัมน์ การเมือง
12.^ เว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย
13.^ เบญจพร วงศ์. ยกเลิกกันสำรอง 30%ปลดล็อกเศรษฐกิจแล้วปลด (ล็อก) อะไรอีก?. กรุงเทพฯ : เนชั่นสุดสัปดาห์, 2551.
14.^ เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์
15.^ http://www.mof.go.th/News2008/014.pdf
16.^ “หมัก” ฟิวส์ขาด ลั่นไม่บ้าพอแก้ รธน.ตั้งกาสิโน
17.^ นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2526
18.^ เปิดใจ "บัณฑิต ศิริพันธุ์" ขอทำงานเพื่อความถูกต้อง หนังสือพิมพ์แนวหน้า 14 กันยายน 2550
19.^ [1] คำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก สมัคร 6 เดือนฐานหมิ่นประมาทดำรง, สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ (26 ก.พ.-4 มี.ค.32), (5-11 มี.ค.32)
20.^ 20.0 20.1 กองบรรณาธิการมติชน.289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
21.^ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 43
22.^ คอลัมน์ เรียงคนมาเป็นข่าว สำเนาจาก มติชน 25 ตุลาคม 2550
...
  
สมัคร สุนทรเวช
4
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.