หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  เทคนิคการเขียนบทความ
  -  อยากเป็น นักเขียนต้องเขียน
  -  ทำอย่างไร.....ให้เขียนเก่ง
  -  บทความที่ลงตะกร้า
  -  นักเขียนบทความ
  -  เส้นทางสู่นักเขียน
  -  หลักการเขียน
  -  อยากเขียนเก่งต้องเขียน
  -  ทำไมถึงต้องอ่านหนังสือ
  -  คุณสมบัตินักเขียน
  -  เขียนสู่อิสรภาพ
  -  เขียนให้เก่งอย่างนักเขียน
  -  การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หนังสือ
  -  ความสำเร็จในงานเขียน
  -  ปัญหาในการเขียนหนังสือ
  -  การพัฒนาทักษะการเขียน
  -  ก้าวสู่อาชีพนักเขียน
  -  เขียนหนังสือเก่ง..ชีวิตดีขึ้น
  -  เทคนิคการทำให้ผู้อ่านสนใจ
  -  เขียนอย่างไรให้ผู้อ่านชื่นชอบ
  -  ความสำคัญของงานเขียน
  -  หัวใจนักเขียน
  -  การฝึกการเขียน
  -  Leadership On Paper
  -  ศิลปะการเขียน
  -  ประโยชน์ของการเขียนมีมากกว่าที่คุณคิด
  -  จงยกระดับงานเขียน
  -  ABCD กับการเขียน
  -  คุณประโยชน์ของการอ่าน คือ หน้าต่างแห่งโลกกว้าง
  -  เขียนสู่อิสระภาพ
  -  สร้างจิตวิญญาณเพื่องานเขียน
  -  ลีลาการเขียน
  -  การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
เทคนิคการเขียนบทความ
เทคนิคการเขียนบทความ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
คนบางคนมีหนังสือเล่มเดียวในตัวเอง แต่บางคนมีหนังสือเป็นห้องสมุด
กระผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเขียนมาหลายบทความแล้วในตอนนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องสิ่งที่ต้องทราบก่อนการเขียนบทความ ซึ่งถ้าใครต้องการเขียนบทความท่านควรทราบสิ่งเหล่านี้ก่อน ท่านจึงจะสามารถเขียนบทความได้ดี
- ต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย ในการเขียนบทความแต่ละบทท่านต้องท่านก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของท่านคือใคร ใครคือผู้อ่านและผู้อ่านของท่านเป็นคนกลุ่มไหน (เช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักการเมือง นักวิชาการ และชนชั้นกลาง ดังนั้นท่านจึงเขียนบทความเกี่ยวข้องกับ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม) อีกทั้งต้องทราบว่าหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ใดที่กลุ่มเป้าหมายของท่านอ่าน เช่น ถ้าต้องการให้คนสนใจการเมืองอ่านก็ต้องเขียนบทความทางการเมืองลงในหนังสือพิมพ์ “ มติชน ” หรือหากต้องการให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ศิลปะวัฒนธรรมก็ต้องเขียนลงในนิตยสาร “ ศิลปะวัฒนธรรม” หากเป็นกลุ่มเป้าหมายชาวบ้านอ่านก็ต้องเขียนบทความของท่านลงในหนังสือพิมพ์ “ ไทยรัฐ ,เดลินิวส์,บ้านเมือง” หากว่าเป็นนักธุรกิจหรือคนชั้นกลางอ่านท่านก็ต้องเขียนบทความของท่านลงในหนังสือพิมพ์ “ ผู้จัดการ หรือ กรุงเทพธุรกิจ ”
- เมื่อท่านทราบกลุ่มเป้าหมายแล้วท่านต้องมาเรียนรู้เรื่องของเทคนิคในการนำเสนอ เช่นเรื่องของการ ย่อหน้าจะทำให้ผู้อ่านอ่านบทความของท่านได้ง่ายขึ้น การจับอารมณ์ของสังคมหรือการจับกระแสของสังคมในช่วงสถานการณ์ต่างๆ มีความสำคัญมาก เช่น การเขียนบทความ ตามเรื่องที่ผู้คนในสังคมกำลังสนใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลที่มีผลกระทบกับสังคม เรื่องของการทำแท้ง เรื่องของอุบัติเหตุต่างๆในช่วงนั้นๆ หากท่านสามารถเขียนบทความได้ตามกระแส ท่านก็จะได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากกว่าการที่ท่านเขียนสิ่งที่ท่านต้องการนำเสนอแต่ไม่ได้อยู่ในกระแสหรืออารมณ์ของคนในสังคม
- สำหรับเนื้อหาของตัวบทความมีความสำคัญมาก สำคัญตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องจะตั้งชื่อเรื่องอย่างไรให้คนสนใจ การขึ้นต้นบทความอย่างไร ถึงจะเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน เนื้อหาอย่างไรให้สอดคล้องกลมกลืนกับการขึ้นต้นและสรุปจบบทความ
- การนำเสนอความคิดเห็นอย่างไรถึงจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกถึงองค์ความรู้ของผู้เขียนเพราะบทความมักเน้นเรื่องความคิดเห็นของผู้เขียนมากกว่าเอกสารอ้างอิงหรือหลักฐานต่างๆ ฉะนั้นผู้เขียนบทความที่มีความแหลมคมทางความคิดมากย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านเช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ท่านเขียนบทความได้แหลมคมและมีแง่คิดหลายชั้น หลายมุมมอง มาก กระผมเองเคยได้มีโอกาสสอบถามอาจารย์โดยกระผมได้รอพบท่านหลังจากท่านลงจากเวทีสัมมนาทางวิชาการแห่งหนึ่ง กระผมถามว่า อาจารย์ทำอย่างไร ความคิดถึงแหลมคมเหมือนอาจารย์ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กรุณาให้คำตอบกระผมและกระผมขออนุญาตนำเสนอ ณ บทความนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า “ เราต้องกล้าเถียงตัวเอง ”
สำหรับบทความนี้กระผมขอนำเสนอเพียงแค่นี้ก่อน แล้วหากมีโอกาสกระผมจะทยอยเขียนบทความเกี่ยวกับด้านการเขียนอีก เพื่อจะได้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านผู้อ่าน มีคนถามกระผมว่า อยากเป็นนักเขียนเหมือนกันแต่ไม่มีเวลาเขียน ความจริงแล้วกระผมว่ามันอยู่ที่ใจรัก หากว่าเรารักในงานเขียนเราย่อมมีเวลาให้ แม้ว่างานจะมีมากมายแค่ไหน ลองถามใจตนเองว่าเรารักการเขียนมากน้อยแค่ไหน
ถ้าท่านต้องการเป็นนักเขียนที่ดี ท่านจำเป็นต้องเขียน เขียนและเขียน




...
  
อยากเป็น นักเขียนต้องเขียน
อยากเป็น...นักเขียนต้องเขียน เขียนและเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

มีคนเคยถามผมว่า ถ้าอยากเขียนบทความ เขียนสารคดี เขียนนิยาย เขียนเรื่องสั้น ต้องทำอย่างไร จึงจะเขียนเก่ง คำตอบที่ผมตอบไป ไม่ว่าจะเขียนบทความ เขียนสารคดี เขียนนิยาย เขียนเรื่องสั้น หรือแม้แต่การเขียนตำรา เขียนหนังสือต่างๆ คนๆนั้นจะต้องเป็นคนที่ชอบเขียน เขียน และเขียน ยิ่งเขียนบ่อยๆ ยิ่งเขียนมากๆ ยิ่งเขียนได้ทุกวันยิ่งดี


เพราะการเขียนก็เหมือนกับการฝึกทักษะด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพูด การอ่าน และการฟัง เมื่อเราฝึกพูดบ่อยๆ เราฝึกอ่านบ่อยๆ และเราฝึกการฟังบ่อยๆ จะทำให้เราเรียนรู้ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะนั้นๆ มากขึ้น ทำให้เราสามารถเรียนรู้ ปรับปรุง ได้ดียิ่งขึ้น


แต่ขออย่างเดียวคือ ท่านที่ต้องการเป็นนักเขียน อยากท้อถอย ท้อแท้ เสียก่อนเวลาอันควร ไม่มีใครไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียน เพียงแต่คนๆนั้น เลิกก่อนเวลาที่จะประสบความสำเร็จเสียก่อน ดังนั้น ท่านที่ต้องการประสบความสำเร็จในด้านการเขียน จำเป็นจะต้องอดทน ฝึกฝนการเขียนอยู่เสมอ บางครั้ง อาจเขียนไม่ออก หรือไม่รู้จะเอาเรื่องอะไรมาเขียน ก็เป็นปกติของคนที่เริ่มเขียนใหม่ๆ


เราก็ต้องมีความอดทน หาข้อมูลจากการอ่านเยอะๆ ถ้าเป็นไปได้ ควรมีห้องสมุดส่วนตัวอยู่ที่บ้าน ยิ่งดี เพราะเวลาต้องการข้อมูลสามารถค้นคว้าหามาได้เลยโดยไม่ต้องไปยืมห้องสมุดหรือหาซื้อมาเพื่อที่จะนำมาเป็นข้อมูล บางท่านอาจคิดว่า ยุคปัจจุบันมีอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาทางอินเตอร์เน็ตได้ แต่ข้อมูลบางอย่าง การหาทางอินเตอร์เน็ตไม่สามารถหาข้อมูลได้ในเรื่องของเนื้อหาหรือรายละเอียด ในอินเตอร์เน็ตอาจมีข้อมูลบางส่วนของหนังสือที่เราต้องการ ฉะนั้น นักเขียนมืออาชีพส่วนใหญ่จะมีห้องสมุดส่วนตัวอยู่ที่บ้าน อาจไม่ใหญ่มากก็ได้


อีกประการหนึ่ง สำหรับผู้ต้องการเป็นนักเขียนโดยเฉพาะมือใหม่ คือ การแบ่งเวลาหรือการกำหนดเวลาเป็นสิ่งที่จำเป็นในการฝึกฝนด้านการเขียน การกำหนดเวลาจะทำให้เกิดการสร้างนิสัยและเกิดวินัย ซึ่งการกำหนดเวลาในการเขียนของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เช่น บางคนอาจจะใช้เวลาตอนเช้ามืด ตี 4- ตี 5 ตื่นขึ้นมาเขียน บางคนอาจใช้เวลาตอนกลางคืน ช่วงดึกๆ ฯลฯ


และที่สำคัญที่สุดคือ ท่านที่ต้องการเป็นนักเขียน ท่านจะต้องมีใจรักในงานเขียน แน่นอนในช่วงต้นๆ ของงานเขียน รายได้จากงานเขียนอาจน้อย ทำให้นักเขียนหลายๆท่าน ต้องหางานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานเขียนก่อน แล้วใช้ช่วงเวลาว่างในการเขียน ซึ่งเป็นลักษณะของงานอดิเรก แต่ถ้าท่านต้องการเป็นนักเขียนจริงๆ กระผมแนะนำว่า ท่านควรหางานที่เกี่ยวข้องกับงานเขียนโดยตรง ท่านก็จะได้ทั้งเงินและงานเขียนในเวลาเดียวกัน เช่น งานด้านการข่าว งานด้านการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ วารสาร หรืองานด้านประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับการเขียนข่าว ส่งข่าว ฯลฯ


งานเขียนมีหลากหลายประเภท เช่น บทความ สารคดี นิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล กลอน ฯลฯ การที่เราจะรู้ว่าเราชอบงานด้านไหนบางทีอาจจะต้องลองผิดลองถูก แต่เท่าที่สังเกต ใครที่ชอบอ่านหนังสือในแนวนั้นมักชอบงานเขียนในแนวนั้น เช่น บางคนชอบอ่านบทความ ก็มักจะเขียนบทความได้ดีกว่างานเขียนประเภทอื่น หรือบางคนชอบนิยาย ก็มักจะเขียนนิยายได้ดีกว่าการเขียนกลอนหรือบทความ


ท้ายนี้ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งการเขียนให้ได้ดี เราจำเป็นจะต้องฝึกเขียน เขียน และเขียน การเขียนหนังสือ ก็เหมือนกับการที่เราขี่จักรยานหรือว่ายน้ำ ไม่มีใครขี่จักรยานเป็นหรือว่ายน้ำเป็น เพียงแค่การอ่านหนังสือ ดังนั้น ถ้าท่านต้องการที่จะเป็นนักเขียน ท่านต้องฝึกเขียน เขียน และเขียน ถ้าท่านเอาแต่อ่านท่านจะเป็นได้แค่นักอ่านเท่านั้น

...
  
ทำอย่างไร.....ให้เขียนเก่ง
โดย...
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร เช่น การพูดและการเขียน ในระดับที่ดีกว่าคนทั่วไป บทความนี้เรามาพูดถึงเรื่องของการเขียน ทำอย่างไร....ให้เขียนเก่ง...เคยมีคนถามผมว่า ทำอย่างไรถึงจะเขียนเก่ง หรือเขียนให้เก่งอย่างนักเขียน เท่าที่กระผมอ่านหนังสือและสอบถาม รวมทั้งอบรมการเขียนมาบ้าง กระผมขอเสนออย่างนี้ครับ คนที่ต้องการเป็นนักเขียนที่เก่งหรืออยากเขียนเก่ง ต้องเป็นคนมีลักษณะดังนี้


1.ต้องเป็นคนอ่านเยอะๆ อ่านมากๆ เอาความรู้ข้อมูลเข้าไปในสมองมากๆ เก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเยอะๆหรือสต๊อกข้อมูลเยอะๆ และรู้จักจัดวางระบบข้อมูล เพื่อที่จะนำมาเขียน เช่น การตัดหนังสือพิมพ์ไว้ในแฟ้มหัวข้อต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเขียนอาจแบ่งเป็นเรื่อง การเมือง , การพูด, การเขียน , การขาย , การบริการ ฯลฯ


2.ต้องเป็นคนที่รู้จัก ประยุกต์ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆ ที่เราเก็บไว้ นำมาเขียนในรูปแบบการเขียนตามแบบฉบับของเรา เปรียบเสมือนคนทำกับข้าวหรืออาหาร (ข้อมูลเปรียบเสมือน วัตถุดิบในการทำกับข้าวหรืออาหาร เช่น ข้าว , ไข่ , พริก , น้ำปลา , น้ำตาล , เกลือ , ปลา , ผัก ฯลฯ) แต่ การทำกับข้าวหรืออาหารให้อร่อย มันขึ้นอยู่กับการปรุง การที่คนๆหนึ่งจะเขียนเก่ง มันขึ้นอยู่กับการปรุงหรือการนำข้อมูลมาประยุกต์ ในรูปแบบของตนเอง ทำอย่างไรถึงจะเขียนให้คนชอบ จึงต้องอาศัย ศิลปะ


3.ต้องเป็นคนที่ เขียน เขียน และเขียน ถ้าอยากถูกหวย ท่านจำเป็นต้องลงทุนซื้อหวย ถ้าอยากเป็นนักพูด ท่านจำเป็นต้องฝึกการพูด เช่นกัน ถ้าท่านอยากเป็นนักเขียน ไม่มีทางอื่น ท่านต้องเขียน เขียนและเขียน ดังนั้น หนทางที่จะเป็นนักเขียน ท่านต้องฝึกเขียน เขียนและเขียน ถ้าฝึกได้ทุกวันยิ่งดี แต่ถ้าท่านเอาแต่อ่าน อ่านและอ่าน ไม่ลงมือ เขียน ท่านก็เป็นได้แค่นักอ่านเท่านั้น


4.ต้องเป็นคนที่ไม่ท้อ การปลูกต้นไม้ให้ต้นไม้ใหญ่ จำเป็นต้อง รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ดูแลรักษา ต้นไม้นั้นถึงจะโต เช่นกัน การจะเป็นนักเขียนได้ ไม่ใช่ใช้เวลาแค่ ชั่วโมงเดียว วันเดียว คืนเดียว แต่ต้องใช้เวลานาน บางคนใช้เวลานานถึง 10 ปี ในการเก็บสะสมประสบการณ์ จนเป็นนักเขียนที่ดังระดับประเทศ


5.ต้องเป็นคนที่รู้จักพัฒนาตนเอง เราจะสังเกตว่า บางคนฝึกเขียนแล้ว รู้สึกว่างานเขียนของตนไม่พัฒนา ดังนั้น ข้อเสนอของกระผมคือ เราต้องรู้จักลงทุน ไปฝึกอบรมกับนักเขียนรุ่นพี่ที่เขาประสบความสำเร็จ เราจะได้เทคนิคใหม่ๆ หรือ ลงทุนเข้าชมรม สมาคม สโมสร ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกเขียน เพื่อจะได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน


6.ต้องเป็นคนที่มีใจรัก คนที่มีใจรักในงานนั้นๆ มักจะประสบความสำเร็จในงานนั้นๆ บางคนมีใจรักในการเล่นกีฬา ก็มักจะประสบความสำเร็จในด้านกีฬา ดังเช่น ภราดร ศรีชาพันธุ์ ที่มีใจรักในกีฬาประเภทเทนนิส จนได้รับถ้วยรางวัลต่างๆ ใน ระดับจังหวัด ระดับชาติและระดับโลก หรือ อาจารย์จตุพล ชมพูนิช รักในงานพูด งานบรรยาย จริงฝึกฝนตนเองอย่างหนักจนกระทั่งเป็นนักพูดระดับประเทศ เช่นกัน ถ้าท่านอยากเป็นนักเขียนท่านต้องมีใจรักในการเป็นนักเขียนก่อน หากท่านไม่มีใจรัก ท่านจะทำงานด้านการเขียนแบบไม่สนุก และรู้สึกเบื่อๆ ในการเขียนของตน แต่ถ้าท่านรักในงานเขียน ท่านก็สามารถฝึกเขียนหรือหัดเขียน ได้ทุกๆวัน


ข้อความข้างต้นเป็นข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียน และยังมีอีกมากมายสำหรับคำแนะนำของผู้รู้ท่านอื่นๆ ดังนั้น ท่านที่ต้องการเป็นนักเขียนไม่มีสูตรตายตัว แต่เป็นเรื่องที่ท่านต้องนำไปพัฒนา ฝึกฝน เรียนรู้ ประยุกต์ ปรับปรุง จนเกิดความชำนาญ ขอให้ท่านที่ต้องการเป็นนักเขียนประสบความสำเร็จทุกๆคน ตามที่ตนเองปรารถนา และขอให้งานเขียนของท่านโลดแล่นในสื่อต่างๆ เพื่อให้ความรู้ ความบันเทิง และแง่คิดกับผู้อ่านครับ

...
  
บทความที่ลงตะกร้า
บทความที่ลงตะกร้า
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
http://www.drsuthichai.com
การเขียนบทความที่ดี นักเขียนบทความจะต้องคิดให้ลึก คิดให้คมและคิดให้รอบด้าน
มีคำถามว่าทำไมเราเขียนบทความส่งแล้ว ทำไมถึงไม่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ งานเขียนของเรามีความบกพร่องอย่างไรหรือ ? ความจริงแล้วการเขียนบทความแล้ว บรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้พิจารณาลงในหนังสือพิมพ์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ แต่กลับลงในตะกร้าแทน(ในอดีตมีการส่งบทความทางไปรษณีย์โดยการพิมพ์หรือเขียนลงในกระดาษเพื่อให้บรรณาธิการพิจารณาแต่ยุคปัจจุบันมีการส่งบทความทางอินเตอร์เน็ต) มีหลายปัจจัย เช่น
- ความไม่ทันสมัยหรือไม่ทันเหตุการณ์ สมัยก่อนมีปัญหามากเมื่อพูดถึงประเด็นนี้
เนื่องจากว่าสมัยก่อนเครื่องมือสื่อสารไม่ทันสมัยเหมือนยุคปัจจุบัน เมื่อนักเขียนบทความในอดีตเขียนเสร็จ ก็ส่งบทความใส่จดหมายแล้วส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งต้องใช้เวลา 3-7 วัน ทำให้สถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เขียนเปลี่ยนไป ทำให้บทความนั้นแทนที่จะทันสมัยทันเหตุการณ์กับเป็นบทความที่เชย แต่ในยุคปัจจุบันเราสามารถส่งทางอินเตอร์เน็ตหรือแฟกซ์ได้ จึงทำให้บทความที่เราเขียนมีโอกาสได้รับการพิจารณามากขึ้น
- มีเนื้อหาของบทความไม่สอดคล้องกับแนวทางของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เช่น หาก
ท่านเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ท่านควรส่งบทความของท่านไปที่หนังสือพิมพ์มติชน ท่านจะมีโอกาสได้รับพิจารณามากกว่าท่านส่งบทความทางการเมืองไปยังหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- เนื้อหา สำนวนภาษา ชื่อบทความ การย่อหน้า เทคนิคในการเขียนไม่ดีพอ นักเขียนหน้าใหม่มักไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความ จึงลำดับเรื่องไม่ดีพอ อีกทั้งการใช้สำนวนภาษาไม่ถูกต้อง ชื่อบทความก็ไม่ดึงดูดใจ ไม่เด่นพอ ไม่มีย่อหน้า เทคนิคการเขียนก็ออกไปในลักษณะขาดๆ เกินๆ เนื่องจากบรรณาธิการไม่ค่อยมีเวลา เพราะบทความที่ส่งมามีจำนวนมาก อีกทั้งยังมีงานอื่นๆ ต้องทำ หากเนื้อหา สำนวนภาษา ชื่อบทความไม่เด่น เทคนิคการเขียนไม่ดีพอ นักเขียนบทความหน้าใหม่จึงมีโอกาสได้รับการพิจารณาน้อยกว่านักเขียนบทความหน้าเก่าที่ผู้อ่านรู้จักอยู่แล้ว
- ชื่อผู้เขียนบทความยังใหม่ไม่ติดตลาดหรือยังไม่มีใครรู้จัก หากเทียบกับนักเขียนบทความที่มีชื่อเสียงระดับประเทศแล้ว เช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ , อาจารย์วิทยากร เชียงกูล , อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ฯลฯ หนังสือพิมพ์มักจะพิจารณาบุคคลดังกล่าวมากกว่านักเขียนบทความหน้าใหม่ เนื่องจากบุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านี้มีทุนทางสังคมเป็นที่รู้จักของผู้อ่านจึงมักมีแฟนประจำติดตามอ่านบทความของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม
ในการเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ กระผมมีข้อเสนอเพิ่มเติมอย่างนี้ครับ สำหรับคนที่หัดเขียนบทความ หากท่านต้องการให้บทความได้ลงในหนังสือพิมพ์ ท่านควรเลือกเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตามจังหวัดที่ท่านอยู่ก่อน อย่าได้คาดหวังว่าจะต้องเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ระดับประเทศ หากไม่ได้ลงก็จะไม่เขียนอีก หากคิดอย่างนั้น ท่านอาจต้องผิดหวัง เนื่องจาก หนังสือพิมพ์ระดับประเทศ เช่น นสพ.ไทยรัฐ , นสพ.มติชน, นสพ.เดลินิวส์ ฯลฯ มีนักเขียนบทความประจำอยู่แล้ว มีพื้นที่น้อยมากสำหรับนักเขียนบทความภายนอก อีกทั้งเมื่อท่านเขียนส่งไป ท่านก็ต้องแข่งขันกับนักเขียนบทความระดับประเทศ ดังนั้นควรเริ่มต้นจาก หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดของท่านก่อน หากมีหลายฉบับควรเลือกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เปิดใหม่ บทความของท่านจะมีโอกาสได้ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับใหม่มากกว่าหนังสือพิมพ์ฉบับเก่าครับ และอีกช่องทางหนึ่งที่ท่านสามารถเขียนบทความลงได้ก็คือ ทางอินเตอร์เน็ต ดังนั้นขออย่าได้ดูถูกเวทีเล็กหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับเล็ก หรือ ช่องทางทางอินเตอร์เน็ต เมื่อท่านฝึกฝนการเขียนบทความจนดีเยี่ยมแล้ว อีกทั้งชื่อเสียงของท่านมีพอสมควร โอกาสที่ท่านจะเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ระดับประเทศย่อมมีโอกาสมากยี่งขึ้น
ถ้าไม่ได้เป็นนักอ่านบทความ อย่าริเป็นนักเขียนบทความ
...
  
นักเขียนบทความ
นักเขียนบทความ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ก่อนที่จะเป็นนักเขียนบทความที่ดี ท่านต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับการเขียนบทความประเภทต่างๆก่อน จึงจะทำให้ท่านเป็นนักเขียนบทความที่ดี ซึ่งการแยกประเภทของบทความต่างๆมีดังนี้ บทความเชิงวิชาการ บทความสัมภาษณ์ บทความแนะนำ บทความปกิณกะ บทความวิเคราะห์ บทความวิจารณ์ บทความแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
เมื่อท่านทำความเข้าใจและเรียนรู้ ประเภทของบทความแล้ว ท่านควรถามตนเองว่าท่านชอบเขียนบทความประเภทไหน หากไม่รู้ว่าตนเองชอบเขียนบทความประเภทไหน วิธีการง่ายๆ ท่านลองสังเกตตนเองว่า ตนเองชอบอ่านบทความประเภทไหนหรืออ่านบทความประเภทไหนแล้วมีความสุข
คนที่จะเขียนบทความได้ดีนั้น ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร กล่าวคือคนที่จะเขียนบทความได้ดีนั้น ควรมีคุณสมบัติ 3 นัก คือ
1.นักอ่าน ท่านต้องอ่านหนังสือทุกประเภท อ่านเพื่อสะสมข้อมูล การอ่านมากๆ โดยเฉพาะการอ่านบทความมากๆ จะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนบทความของนักเขียนบทความคนนั้นๆ ท่านอาจเลือก ต้นแบบคือนักเขียนบทความที่ท่านชอบหรือประทับใจ แล้วขยันติดตามอ่านผลงานของเขา แล้วจึงศึกษารูปแบบ การใช้คำ การใช้สำนวนต่างๆ วิธีการนำเสนอของเขาเป็นอย่างไรแล้วนำมาปรับเพื่อเป็นแนวการเขียนของตัวท่านเอง
2.นักนำเสนอหรือนักเล่าเรื่อง ผู้จะเขียนบทความได้ดี ต้องเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี กล่าวคือ การเขียนบทความที่ดีต้องมีการนำเสนอที่เป็นระบบ มีความกระชับในเนื้อหา เนื่องจากการเขียนบทความที่ดีมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ ไม่เหมือนกับการเขียนนวนิยายซึ่งท่านสามารถเขียนได้จำนวนมากหน้า แต่การเขียนบทความ โดยเฉพาะการเขียนบทความที่ลงตามหนังสือพิมพ์นั้น มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ของหน้าหนังสือพิมพ์ อีกทั้งยังต้องนำเสนอในเรื่องที่ทันสมัยหรือเป็นเรื่องที่น่าสนใจของคนส่วนมาก จึงจะทำให้บทความของท่าน เป็นที่รู้จักของผู้อ่าน
3.นักพัฒนาตนเอง นักเขียนบทความที่ดีต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องมีแรงขับภายในตนเองสูง กล่าวคือ เมื่อท่านได้อ่านมาก ฟังมาก ท่านก็อยากที่จะเขียนเพื่ออยากระบายข้อมูลภายในตัวท่านเองออกมา นักเขียนบทความที่เก่งมักจะเรียนรู้ ปรับปรุงการเขียนบทความของตนเองอยู่เสมอ ฝึกคิดให้รอบด้าน ฝึกการคิดให้เกิดความแหลมคม ฝึกการใช้สำนวนภาษาต่างๆ ฝึกการจัดระบบความคิดและการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากตนเองและผู้อื่น
เมื่อท่านมีคุณสมบัติ 3 นัก หรือ หากไม่มีก็ต้องแสวงหา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องลงมือเขียนครับ อย่ากลัวหรือมีข้ออ้างต่างๆ เช่น กลัวจะถูกวิจารณ์ กลัวว่าจะไม่ได้รับการตีพิมพ์ หรือ อ้างว่าไม่มีเวลา อ้างว่าไม่มีความสามารถในด้านนี้ เมื่อท่านมีความกลัวหรือมีข้ออ้างต่างๆ แล้ว ท่านก็ไม่สามารถที่จะเขียนบทความออกมาสู่สายตาของสาธารณะชนได้ จงลบความกลัวและข้ออ้างต่างๆ ออกจากความคิดของท่าน
ดังนั้น นักเขียนบทความที่ดีและมีผลงานออกสู่สายตาสาธารณะชนมากๆ จะต้องสร้างแรงจูงใจ จากภายในและภายนอก เช่น การคิดถึงค่าตอบแทน การคิดถึงชื่อเสียง ความต้องการเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และความรักความชอบ จึงทำให้นักเขียนบทความ ท่านนั้น สร้างผลงานออกมาอย่างมากมาย
การเขียนบทความที่ดีคือการเขียนบทความเพื่อสังคม
...
  
เส้นทางสู่นักเขียน
เส้นทางความสำเร็จของนักเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การเป็นนักเขียนที่ดีต้องมีความอดทน มีความตั้งใจและต้องมีใจรัก
เส้นทางสู่การเป็นนักเขียน เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่มีคนต้องการหรือปรารถนาอยากจะเป็น ซึ่งหลายๆท่านมีวิธีการต่างๆ ในการเดินสู่ความสำเร็จในการเป็นนักเขียนที่แตกต่างกัน ท่านผู้อ่านเองก็สามารถสร้างเส้นทางของท่านได้เช่นกัน ในบทความฉบับนี้ กระผมขอแนะนำหลักคิดคือ 6 ต.
1.ต้องเริ่มก่อน “ ระยะทางหมื่นลี้ ย่อมเริ่มจากก้าวแรก ” ในการเขียนบทความหรือการเขียนงานเขียนประเภทต่างๆ เราจะต้องเริ่มก่อน ถ้าเราเขียนบทความฉบับแรกได้ บทความฉบับที่สองก็มักจะตามมา หรือถ้าเราทำหนังสือเล่มแรกออกมาวางขายได้ในท้องตลาด หนังสือเล่มที่สองก็จะทำได้ง่ายขึ้น
2.ต้องศรัทธาและมุ่งมั่น ถ้าท่านมีความศรัทธาในตนเองและมีความมุ่งมั่น พยายาม อดทน ท่านก็จะได้ผลงานเขียนที่ออกมาดี ฉะนั้น ท่านอย่าได้ท้อแท้เสียก่อนเวลาอันควร นักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง ไม่ใช่ใช้เวลาเขียนแค่วันสองวัน บางคนใช้เวลาสะสมประสบการณ์ในการเขียนเป็นสิบๆ ปี ถึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นอย่าใจเร็วด่วนได้ จงสร้างความศรัทธาในตัวเองและมุ่งมั่น ในการสร้างผลงานเขียนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
3.ต้องเลือกเรื่องที่ตนเองชอบหรือถนัด การเขียนและงานเขียนมีหลายแนว นักเขียนจะต้องรู้จักตนเองก่อนว่าตนชอบการเขียนและงานเขียนในแนวไหน หากเรารู้ว่าตนชอบงานเขียนในแนวไหน เราก็มักจะเขียนได้ดีกว่า การเขียนหรือแนวเขียนที่เราไม่ชอบหรือมีความถนัด หากไม่รู้ว่าตนเองชอบงานเขียนในแนวไหน กระผมแนะนำให้ลองเข้าห้องสมุดแล้วสังเกตดูว่าตนเองชอบอ่านหนังสือประเภทไหน แนวไหน คนเรามักชอบอ่านหนังสือในแนวที่ตนเองชอบและถนัด
4.ต้องสะสมข้อมูล ไม่ว่าจากการอ่านหรือการฟัง โดยเฉพาะเรื่องของการอ่านมีความสำคัญมากๆ สำหรับผู้ต้องการเป็นนักเขียนมืออาชีพ “ ถ้าไม่ได้เป็นนักอ่าน ก็อย่าได้ริเป็นนักเขียน ” ดังนั้นท่านต้องอ่านมาก อ่านเพื่อสะสมข้อมูล อ่านอย่างเดียวไม่พอ หากท่านเอาแต่อ่าน อ่านและอ่าน ท่านก็เป็นได้แค่นักอ่าน แต่หากท่านต้องการเป็นนักเขียน ท่านจำเป็นจะต้อง เขียน เขียน และเขียน การเขียนก็เหมือนกับการว่ายน้ำ หากอ่านหนังสือว่ายน้ำอย่างเดียวโดยไม่ยอมลงไปว่ายน้ำ ท่านก็ไม่สามารถว่ายน้ำเป็น งานเขียนก็เช่นกันท่านจำเป็นจะต้องเขียน ไม่ใช่ได้แต่อยาก ได้แต่คิด แต่ไม่ยอมลงมือเขียน
5.ต้องกล้าที่จะถูกวิจารณ์ บางท่านไม่ยอมเขียน เนื่องจากเกิดความกลัวว่าจะถูกคนวิจารณ์ว่าเขียนได้ไม่ดี บางท่านเขียนแล้วไม่กล้าที่จะไปให้คนดูหรือไม่ยอมพิมพ์ เนื่องจากกลัวเสียงวิจารณ์ต่างต่าง นานา ดังนั้นท่านจะต้องกล้าเสี่ยงต่อคำวิจารณ์ต่างๆ
6.ต้องคิดพัฒนางานเขียนอยู่เสมอ เมื่อท่านมีงานเขียนออกมาสู่ตลาดแล้ว ท่านควรพัฒนางานเขียนในเล่มต่อๆ ไป ให้มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เนื้อหา การใช้ภาษา การพิสูจน์ตัวอักษร การเพิ่มคุณค่าของหนังสือ และการตลาด
ดังนั้น บุคคลที่ต้องการเดินบนเส้นทางของนักเขียนจึงต้องมี 6 ต. คือ ต้องเริ่มต้น ต้องศรัธทาและมุ่งมั่น ต้องเลือกเรื่องที่ตนเองชอบหรือถนัด ต้องสะสมข้อมูล ต้องกล้าที่จะถูกวิจารณ์ และต้องคิดพัฒนางานเขียนอยู่เสมอ หากท่านผู้อ่านมีเป้าหมายที่ชัดเจนและต้องการเดินในเส้นทางนี้ 6 ต. จึงเป็นคำแนะนำที่กระผมเชื่อว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ผมหวังว่าสักวันหนึ่งท่านคงประสบความสำเร็จในการเขียนหรือเป็นนักเขียนดังเจตนาที่ท่านต้องการทุกท่านครับ
เขียนวันนี้ให้ดีที่สุดและเขียนพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวานนี้
...
  
หลักการเขียน
หลักการเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
สิ่งที่สำคัญในการที่จะเป็นนักเขียนที่ดี ก็คือ การรักการอ่าน มีความอยากที่จะเขียนแล้วพัฒนาฝึกฝนอย่างสม่ำเสมออย่าหยุดยั้ง
การเขียนเป็นการสื่อสารของมนุษย์ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูล สารสนเทศ การเขียนจึงยิ่งเพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก ในบทความฉบับนี้ เราจะมาเรียนรู้เรื่อง “ หลักการเขียน ” ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเขียน วัตถุประสงค์ของการเขียน และแนวการเขียนหรือขั้นตอนในการเขียนที่ดีก่อน
การเขียน คือ การใช้สัญลักษณ์ทางภาษาซึ่งมีลักษณะเป็นข้อความ เพื่อสื่อความรู้สึก ความรู้ ความคิดต่างๆ ของผู้เขียน ให้ไปสู่ผู้อ่าน
ดังนั้น การเขียนจะแตกต่างจากการพูด กล่าวคือ การเขียนใช้สัญลักษณ์มีลักษณะเป็นข้อความ แต่การพูด จะใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง อากัปกิริยาที่แสดงประกอบ แต่ทั้งการเขียนและการพูดมีความเหมือนกันก็คือ เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ( ผู้ส่งคือ ผู้เขียน ผู้พูด , ผู้รับสาร คือ ผู้อ่าน ผู้ฟัง)
วัตถุประสงค์ของการเขียน ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้แบ่งแยกไว้หลายประเภทต่างๆกัน เช่น เพื่อเล่าเรื่อง เพื่อการโฆษณาจูงใจ เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อการสร้างจินตนาการ ฯลฯ
ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์ของการเขียน จะต้องมีการฝึกฝนที่แตกต่างกัน ทั้งทางด้านภาษา สำนวนโวหาร เพื่อบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างกัน เช่น การเขียนเพื่อสร้างจินตนาการกล่าวคือ การเขียนงานประเภทนวนิยาย บทภาพยนตร์ เรื่องสั้น มีความจำเป็นจะต้องใช้ การพรรณาโวหารและการอุปมาโวหาร มากกว่าการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น ซึ่งการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นก็ต้องใช้การบรรยายโวหารหรือสาธกโวหาร(การแสดงความชัดเจนอาจจะต้องมีการยกตัวอย่าง)
สำหรับแนวการเขียนหรือขั้นตอนในการเขียนที่ดี ก่อนที่ผู้เขียนจะเขียน ผู้เขียนควรต้องมีการวางแผนงานเขียนก่อน เช่น
- การเลือกเรื่องที่จะเขียน ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อเรื่อง ต้องมีลักษณะกล่าวคือ ต้องอยู่ในความสนใจของผู้อ่าน มีความน่าสนใจแปลกใหม่ทันสมัย อีกทั้งหัวข้อดังกล่าวต้องมีข้อมูลเพียงพอ พอที่จะเขียนหากข้อมูลมีไม่เพียงพอก็ต้องหามาเพิ่มจากแหล่งต่างๆ
- การวางโครงเรื่องก็มีความสำคัญ ลักษณะของเรื่องที่ดีจะต้องมีความสอดคล้องกันทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการลำดับเรื่อง การเขียนให้ตรงแนวทางเดียวกันกับวัตถุประสงค์
- การใช้สำนวนภาษา ถ้อยคำ มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากภาษาไทยเรามีความได้เปรียบกว่าภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาเนื่องจากภาษาไทยมีเรื่องของระดับภาษา อีกทั้งความหมายหนึ่งความหมาย เราสามารถใช้คำต่างๆในภาษาไทยแทนได้มากมาย เช่น คำว่า กิน ทาน ฉันท์ ฯลฯ
- การนำเสนองานเขียนให้มีเนื้อหาเหมาะสมกับผู้อ่าน เนื่องจากงานเขียนมีหลายประเภท เช่น งานเขียนบทความ งานเขียนนวนิยาย งานเขียนบทละคร งานเขียนเรื่องสั้น งานเขียนสารคดี งานเขียนนิทาน งานเขียนตำรา ฯลฯ ดังนั้น นักเขียนควรทำความเข้าใจงานเขียนประเภทต่างๆ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้อ่าน
สำหรับบทความฉบับนี้ ได้พูดถึงหลักการเขียนไว้เบื้องต้น ท่านผู้อ่านสามารถไปหารายละเอียด อ่านได้เพิ่มเติมเนื่องจากการเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียนหรือมีอาชีพในการเขียนจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น จะต้องสร้างนิสัยให้รักการอ่าน รักการค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ ต้องเป็นคนช่างคิด และต้องเป็นคนขยันฝึกฝนในการเขียนอยู่เสมอ
ถ้าอยากเป็นนักเขียน ท่านจำเป็นจะต้อง เขียน เขียน และเขียน


...
  
อยากเขียนเก่งต้องเขียน
อยากเขียนเก่งต้องเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
อยากพูดเก่งต้องพูด อยากว่ายน้ำเก่งต้องลงไปว่ายน้ำ อยากขายเก่งต้องไปขาย และถ้าอยากเขียนเก่งต้องเขียนครับ การเขียนเป็นศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ฝึกปฏิบัติ เมื่อฝึกฝน ฝึกปฏิบัติ บ่อยๆ ก็จะเขียนได้เก่ง เขียนได้ดียิ่งขึ้น
บางคนเคยถามผมว่า เขาเขียนไม่เป็น ทำอย่างไรถึงเขียนได้ คำตอบที่ผมตอบกลับไปเหมือนกำปั้นทุบดินก็คือ คุณต้องเขียนครับ แล้วมีคำถามต่อว่าแล้วจะให้ผมเขียนอะไร คุณจะเขียนอะไรก็ได้ ทางที่ดีควรเลือกแนวทางหรือเรื่องที่คุณถนัดหรือสนใจจริงๆ ในการฝึกการเขียนใหม่ๆ
บางคนแทนที่จะลงมือเขียนได้แล้ว กลับถามผมอีกว่า แล้วผมไม่รู้ว่าถนัดแนวไหน (แล้วผมจะรู้ไหมเนี่ย ผมคิดในใจ) ถ้าไม่รู้ว่าถนัดแนวไหน คุณลองสังเกตดูว่าคุณชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวไหน เพราะคนส่วนใหญ่มักอ่านหนังสือในแนวที่ตนเองสนใจ เมื่อคุณอ่านหนังสือแนวนั้นเยอะๆ ก็จะทำให้คุณเกิดฐานข้อมูลในการเขียน จะทำให้การฝึกการเขียนนั้นง่ายกว่าการเขียนในแนวที่ตนเองไม่ถนัดหรือเรื่องที่คุณไม่รู้
การเขียนมีหลายแนวหรือหลายประเภท เช่น การเขียนบทความ การเขียนนวนิยาย การเขียนรายงาน การเขียนสารคดี การเขียนเรียงความ การเขียนข่าว ฯลฯ หากว่าคุณอยากเขียนให้ได้ดีหรืออยากพัฒนางานเขียนให้พัฒนาได้ไวขึ้น คุณจำเป็นจะต้องรู้เทคนิคต่างๆ การรู้เทคนิคจะทำให้งานเขียนออกมาดียิ่งขึ้น
การเขียนได้ต้องเริ่มจากการอ่าน การอ่านมีความสำคัญและจำเป็นมาก สำหรับคนที่ต้องการฝึกฝนในการเขียน เพราะการอ่านมากๆ จะทำให้เรามีข้อมูลในการเขียน การอ่านมากๆ จะทำให้รู้วิธีการต่างๆ ของนักเขียน เช่น การใช้สำนวนภาษา การเว้นวรรค การเล่นคำ การใช้อารมณ์ การสอดแทรกอารมณ์ต่างๆในการเขียน ฯลฯ
อยากประสบความสำเร็จในการเขียนต้องมีใจรัก การทำงานทุกอย่างต้องเริ่มที่ใจรักก่อน หากไม่มีใจรักเสียแล้ว เมื่อเกิดปัญหา เกิดอุปสรรคต่างๆ คนๆนั้นก็จะล้มเลิกกลางคัน งานอาชีพทางการเขียนก็เช่นกัน คนที่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียน เราลองไปอ่านประวัติของนักเขียน ก็จะทราบได้ว่า เขาเริ่มต้นจากหัวใจที่รักในการเขียน ในการอ่าน หนังสือ ฉะนั้นเมื่อบุคคลใดมีใจรักที่อยากเขียน เมื่อมีความปรารถนาอยากเป็นนักเขียน บุคคลนั้นก็จะทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด เพื่อให้บรรลุในสิ่งที่ตนต้องการ
เขียนเก่ง ประสบความสำเร็จก่อน คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพต่างๆ มักเกิดจากคนๆนั้น มีความสามารถที่หลากหลาย ความสามารถทางการเขียนก็เป็นความสามารถหนึ่งที่ส่งผลให้คนประสบความสำเร็จในอาชีพการทำงานได้ เช่น นักเรียน นักศึกษาที่เขียนเก่ง มักสอบได้คะแนนดี เนื่องจากเขียนข้อสอบได้เข้าใจหรือสื่อสารได้ชัดเจนกว่านักเรียน นักศึกษาที่เขียนไม่เก่ง , พนักงานที่เขียนเก่ง มักได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งและได้รับเงินเดือนมากกว่าพนักงานที่เขียนไม่เก่ง กล่าวคือ เมื่อผู้บริหารให้เขียนรายงานส่ง เขียนแผน เขียนโครงงานต่างๆ พนักงานที่มีความสามารถทางการเขียนมักสื่อให้ผู้บริหารเข้าใจได้ง่ายกว่าพนักงานที่เขียนไม่เก่ง ฯลฯ
เขียนเก่ง...รวยก่อน... คนที่เขียนเก่งมักก่อให้เกิดความร่ำรวย เช่น นักเขียนบางคนมีฐานะร่ำรวยมาจากงานเขียนถึงขั้นเป็นมหาเศรษฐีหรือเศรษฐีไปเลยก็มี เจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีทรัพย์สินร่วม 2,000 ล้านบาท ขึ้นทำเนียบบุคคลรวยที่สุดอันดับที่ 122 ของประเทศอังกฤษ หรือนักเขียนชาวไทย สมคิด ลวางกูร เขามักเรียกตัวเขาเองว่าเป็นนักจัดการข้อมูล ก็ร่ำรวยมาจากการเป็นคนเขียนหนังสือขาย
ท้ายนี้กระผมขอสรุปอีกครั้งว่า อยากเขียนเก่งต้องเขียนครับ ถ้ามัวแต่อ่านแล้วไม่ลงมือเขียน เราก็จะได้แค่เป็นนักอ่าน นักเขียนต้องเขียน เขียน และเขียน จึงจะประสบความสำเร็จในการเขียนครับ

...
  
ทำไมถึงต้องอ่านหนังสือ
ทำไมถึงต้องอ่านหนังสือ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
คนส่วนใหญ่ต้องการประสบความสำเร็จ คนส่วนใหญ่ต้องการความร่ำรวย คนส่วนใหญ่ต้องการชีวิตที่ดีขึ้น คนส่วนใหญ่ต้องการสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และคนส่วนใหญ่ต้องการความสุข
ถามว่าทั้งหมดนี้ ถ้าเราต้องการมันจริงๆ เราสามารถหาได้จากที่ใด คำตอบก็คือ เราสามารถหาได้จากการอ่านหนังสือครับ
ถ้าเราอยากเริ่มต้นทำธุรกิจแบบ บิล เกตส์ ในการทำบริษัทไมโครซอฟท์ เราสามารถทราบประสบการณ์ต่างๆที่เขา ทำผิดพลาดและสิ่งที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จได้จากหนังสือที่เขาเขียน
ถ้าเราอยากเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ อย่าง วอเรน บัฟเฟต นักลงทุนหุ้นระดับโลก เราสามารถเล่นหุ้นโดยการเลียนแบบได้จากการอ่านหนังสือที่เขาเขียน และเราสามารถรู้เทคนิคต่างๆที่เขาใช้ในการทำกำไรจากตลาดหลักทรัพย์
ถ้าเราอยากเป็นนักการเมืองและนักต่อสู้ทางการเมือง แบบ มหาตมา คานธี ที่ต่อสู้แบบอหิงสา จนประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะจนประเทศอินเดียได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ เราสามารถอ่านหนังสือของเขาหรือหนังสือที่มีคนเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวการต่อสู้ของเขาได้
ถ้าเราอยากมีความสุข ท่านไดลามะ(เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต) สามารถสอนท่านได้โดยผ่านตัวหนังสือต่างๆที่เขาเขียน
ถ้าเราอยากเป็นดารา นักแสดง นักร้อง อย่างฮอลลีวูด เราสามารถอ่านหนังสือของ ดารา นักแสดง นักร้อง ที่เขาเขียนถึงชีวประวัติของเขาได้ ซึ่งจะทำให้เราเกิดพลัง ในการต่อสู้และเกิดความฝัน ความทะเยอทะยานในการพัฒนาตนเอง
ถ้าเราอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ เราสามารถหาอ่านจากหนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ หรือถ้าเราเป็นโรคใดโรคหนึ่ง เราก็สามารถอ่านหนังสือเกี่ยวกับโรคที่เราเป็นได้เพื่อที่จะได้ป้องกันและดูแลสุขภาพของเราให้ดีขึ้น
ดังนั้น เราจะเห็นว่า หนังสือมีความสำคัญมากต่อบุคคลที่ต้องการประสบความสำเร็จ เมื่อเราต้องการร่ำรวย จงอ่านหนังสือของนักเขียนที่เขาร่ำรวยมาจากการต่อสู้และการทำงาน แน่นอนครับ นักเขียนเหล่านี้ ไม่สามารถมาสอนท่านได้ด้วยตนเอง หรือ ท่านไม่มีปัญหาจ้างเขามาสอนท่านให้รู้เทคนิคต่างๆ หรือไอเดียต่างๆได้ แต่ ทุกอย่างที่ท่านอยากรู้อยู่ในหนังสือครับ เพียงแต่ท่านลงทุนซื้อหนังสือหรือยืมหนังสือที่ห้องสมุด แล้วก็เริ่มต้นอ่านมัน อ่านมัน อ่านมัน อ่านให้มากๆ
สรุป ถ้าท่านต้องการความร่ำรวย จงอ่านหนังสือ ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต จงอ่านหนังสือ ถ้าท่านต้องการมีความสุข จงอ่านหนังสือ ถ้าท่านต้องการมีเป้าหมายมีความฝันและต้องการรู้จักตนเองมากขึ้น จงอ่านหนังสือ จงอ่านหนังสือให้มากๆ แล้วท่านจะได้สิ่งที่ท่านต้องการ

...
  
คุณสมบัตินักเขียน
คุณสมบัตินักเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
เมื่อกล่าวถึงเรื่องคุณสมบัติของนักเขียน บางคนก็บอกว่าเป็นนักเขียนต้องทำตัวเหมือนศิลปิน บางคนบอกว่าเป็นนักเขียนจะต้องมีวินัย บางคนบอกว่าเป็นนักเขียนจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ ซึ่งจะตอบอย่างไรก็ถูกหมด เพราะนักเขียนแต่ละท่านมีคุณสมบัติหรือลักษณะที่ดีที่แตกต่างกัน หรืออาจจะมีนักเขียนบางท่านอาจจะมีคุณสมบัติหรือลักษณะที่ดีที่เหมือนกัน ซึ่งลักษณะที่ดีของนักเขียนมีดังนี้
1.เป็นคนที่รักในงานเขียน คนเราจะทำอะไร ควรเริ่มต้นจากความรักในสิ่งนั้นๆ ก่อน ถ้าอยากจะเป็นนักเขียน เราก็ต้องเริ่มต้นที่ความรักในงานเขียนก่อน เมื่อมีความรักในงานเขียน เราก็มีทัศนคติที่ดีต่องานเขียน
2.เป็นนักอ่าน อยากเป็นนักเขียนต้องอ่านหนังสือให้มากๆ การอ่านจะช่วยให้เขียนได้ดีขึ้น การอ่านจะทำให้มีข้อมูลต่างๆที่ใช้สำหรับเขียน ดังนั้นผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียนควรอ่านหนังสือต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่มีโอกาสอ่านได้ โดยเฉพาะหนังสือประเภทที่เราจะเขียน
3.เป็นคนที่มีวินัย นักเขียนที่จะประสบความสำเร็จ หรือ นักเขียนที่สร้างผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ มักเป็นคนที่มีวินัยในตนเอง เช่น ต้องกำหนดเวลาทำงาน แล้วต้องทำงานให้มีผลงานออกมาตามแผนที่ตนเองได้วางไว้
4.เป็นคนที่มีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร การจะเขียนหนังสือให้ได้ดี นักเขียนที่ดีควรมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ อยู่บ้างพอสมควรจึงจะสามารถเขียนหรืออธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ หากไม่มีก็คงต้องลงไปศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง เช่น เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเรือนจำ ก็ควรไปศึกษาดูสถานที่จริงก่อนเขียน การไปดูสถานที่จริงจะทำให้เขียนอธิบายความได้ชัดเจนขึ้น คนอ่านเข้าใจสิ่งที่ตรงการสื่อได้ชัดเจนขึ้น
5.เป็นคนที่มีความสามารถในการใช้สำนวน ภาษา ถ้อยคำได้ดี การเขียนมีความแตกต่างกับการสื่อสารด้านการพูด เพราะการพูดให้คนเศร้า หรือ พูดให้คนหัวเราะ ผู้พูดสามารถใช้ลีลาท่าทาง สีหน้า การเคลื่อนไหว น้ำเสียง ฯลฯ แต่การเขียนไม่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ได้ จึงต้องอาศัยการใช้ ภาษา ถ้อยคำ สำนวน ช่วยในการสื่อเพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ต่างๆ
6.เป็นคนที่ต้องทุ่มเท ขยัน เขียนอย่างต่อเนื่อง ไม่ท้อแท้ ไม่เลิกกลางคัน นักเขียนที่ดีต้องมีหัวใจที่อดทน ต้องขยัน ทุ่มเท ไม่เลิกล้ม จนกว่าที่จะประสบความสำเร็จ
7.เป็นคนที่ฝึกฝนตนเอง พัฒนาตนเอง แก้ไขปรับปรุง ตัวเองตลอดเวลา นักเขียนที่ดีต้องมีการพัฒนางานเขียนของตนเองสม่ำเสมอ ต้องศึกษาหาความรู้ เทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงจะทำให้งานเขียนของตนเองเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
8.เป็นตัวของตัวเอง การเป็นนักเขียนที่ดีต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ควรเลียนแบบใคร จงเขียนงานของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติหรือความเป็นตัวตนของตนเอง และจงเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองเขียน
9.เป็นคนที่มีสมาธิดี และเป็นคนที่ควบคุมตนเองได้ดี งานเขียนหนังสือเป็นงานที่ต้องใช้ความคิด ฉะนั้นสมาธิจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการเป็นนักเขียน นักเขียนที่มีสมาธิดีมักจะนั่งเขียนได้เป็นเวลาที่นานๆ โดยไม่ลุกขึ้น เขียนจนกว่างานที่วางแผนไว้เสร็จแล้วจึงลุก ตรงกันข้ามกับนักเขียนที่ไม่มีสมาธิ เขียนได้ไม่เท่าไรก็จะลุกขึ้นทำนั่นทำนี่ คิดสิ่งนั้นคิดสิ่งนี้ จนผลงานเขียนไม่ออกมาดังแผนที่ตั้งใจไว้
10.เป็นนักจำ นักจด นักเขียนที่ดีต้องมีความจำที่ดี แต่หากจำไม่ได้ทั้งหมดก็ควร หาปากกา กระดาษ สมุด จดในสิ่งต่างๆ ที่ตนคิด หรือ เมื่ออ่านเจอถ้อยคำ สำนวน ภาษาที่เราสนใจก็ควรจดบันทึกไว้ เพื่อนำข้อมูลที่จดไปใช้เขียนในอนาคตได้
11.เป็นผู้ทีมีใจกว้าง ยอมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่นได้ การจะเป็นนักเขียนที่ได้รับการยอมรับ นักเขียนควรเต็มใจรับฟังคำวิจารณ์จากผู้อ่าน รับฟังคำวิจารณ์เพื่อทางแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงงานเขียนชิ้นต่อๆไป
สิ่งเหล่านี้ข้างต้นเป็นคุณสมบัติที่ดีหรือลักษณะที่ดีของคนที่ต้องการเป็นนักเขียน ถ้าหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเป็นนักเขียน ท่านควรศึกษา เรียนรู้ แนวทางที่กล่าวไปในข้างต้น พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านก็สามารถเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จได้ในอนาคตอันใกล้ ไม่มีใครช่วยให้ท่านเป็นนักเขียนได้ นอกจากตัวของท่านเอง



...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.