หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  การอ่านกับการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  การเตรียมตัวก่อนสมัครเป็นนักการเมือง
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

...
  
พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนไร้วิชา สกุณาไร้ปีก ย่อมไปได้ไม่ไกล
คนที่จะเป็นคนพูดเก่ง พูดดี พูดเป็นและพูดจูงใจคนได้นั้น คนๆนั้นต้องมีปัญญา ซึ่งการมีปัญญาของคนเรานั้น สามารถฝึกฝนหรือสะสมกันได้หลายทาง เช่น ปัญญาเกิดจากการอ่าน , ปัญญาเกิดจากการฟัง , ปัญญาเกิดจากการคิด และปัญญาเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์
- ปัญญาเกิดจากการอ่าน หมายถึง คนที่พูดเก่ง มักจะเป็นนักอ่าน การอ่านจะทำให้มีข้อมูลในการพูด แต่สำหรับนักพูดมืออาชีพแล้ว จะไม่อ่านหนังสือแบบผ่านๆ แต่จะมีสมุดบันทึกประจำตัว ไว้จดข้อมูลต่างๆ ที่สนใจ เพื่อจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในภายภาคหน้า
- ปัญญาเกิดจากการฟัง ผู้ที่จะเป็นนักพูดที่เก่งหรือเป็นมืออาชีพ มักจะเป็นนักฟัง ถ้ามีโอกาส เขาจะตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูด ซึ่งการฟังนั้น ไม่ฟังเปล่าแต่เขาจะใช้ปัญญาวิเคราะห์ว่า ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วคนชอบ ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วน่าฟัง ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนหัวเราะ ชอบใจ ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนถึงร้องไห้ ทำไมคนๆนี้พูดแล้วคนถึงเชื่อแล้วทำตาม สำหรับในปัจจุบันนี้ เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคเทคโนโลยี เราสามารถ ฟังนักพูดที่เราชอบ หลายๆครั้งโดยผ่านทางเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น เทป ซีดี วีซีดี MP3 ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจากในยุคอดีตที่เราต้อง ตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดแต่ไม่สามารถจดจำหรือจดบันทึกได้หมด
- ปัญญาเกิดจากการคิด นักพูดบางคนมีความคิดไม่เหมือนชาวบ้าน แต่เวลาพูดทำไมคนถึงอยากฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น อาจมีความคิดที่ดีๆ อาจมีความคิดที่ทันสมัยและแง่มุมที่แปลกใหม่ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังได้ความคิดที่ดีๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำไมคนที่มีอายุบางคน ทำไมคนที่มีตำแหน่งต่างๆบางคน ทำไมเวลาพูดแล้วคนอยากฟังหรือตามไปฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น ผ่านประสบการณ์มาก่อนหรือผ่านประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน ผู้ฟังจึงสนใจฟัง เช่น ทำไมนักขายถึงอยากฟัง นักขายมืออาชีพระดับโลกพูด แต่ไม่อยากฟังนักขายสมัครเล่นพูด , ทำไมคนถึงอยากฟังนักพูดมืออาชีพระดับประเทศพูด มากกว่าอยากฟังนักพูดสมัครเล่นพูด ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ มักทำให้เกิดปัญญา เมื่อคนเรามีปัญญาแล้ว คนๆนั้นจะมีข้อมูล ในการพูด หรือ มีความรู้ มีความคิด ที่เป็นประโยชน์ในการพูด







ดังนั้น เราจะสังเกตว่านักพูดที่พูดเก่งๆ ...มักจะต้องมีปัญญา ฉะนั้น ถ้าท่านอยากเป็นนักพูด ท่านจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเรื่องของการอ่านหนังสือให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องลงทุนฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องใช้เวลาว่างในการนั่งคิด นั่งวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ และท่านจำเป็นจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อก่อให้เกิดประสบการณ์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการพูดต่อไปในภายภาคหน้า
เมื่อท่านลงทุนในสิ่งเหล่านี้แล้ว ท่านก็จะเกิดปัญญา เมื่อท่านเกิดปัญญา ท่านก็จะเป็นนักพูดที่พูดแล้วมีหลักการ มีเหตุมีผล พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วคนหัวเราะ พูดแล้วสามารถชักจูงใจคนฟังได้
และสิ่งที่ตามมา ก็คือเมื่อท่านพูดแล้วท่านจะได้เงิน เนื่องจากมีคนจ้างท่านให้ไปพูด ไปบรรยายหรือไปอบรมให้แก่หน่วยงานต่างๆ อีกทั้งท่านจะได้ชื่อเสียงและตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางด้านสังคม ตำแหน่งทางด้านการเมือง เป็นต้น

...
  
คำคม เกี่ยวกับการพูด
คำคม เกี่ยวกับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การที่คนคนหนึ่งจะเป็นนักพูดนั้น จะต้องมีความสามารถที่หลากหลายในการพัฒนาตนเองในการพูด เช่น จะต้องสามารถพูดให้สนุกได้ พูดจูงใจคนได้ พูดเพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังได้ พูดเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนได้ ซึ่งคนคนนั้นจำเป็นจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายอย่าง
ยิ่งบางคนเป็นนักพูดประเภท วิทยากร ยิ่งต้องใช้ความหลายหลากในการนำเสนอ เช่น จะต้องมีการนำเกมส์ มีการร้องเพลง มีการใช้บทประพันธ์ หรือ คำคมต่างๆในการประกอบการพูด ในบทความนี้ผมขอพูดเรื่องเกี่ยวกับคำคม ก่อนอื่นเรามาพูดถึงความสำคัญของคำคมกันก่อน
คำคม มีความสำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดของผู้ฉลาดหรือนักปราชญ์ การจำ การทำความเข้าใจ คำคม จะทำให้ความคิดเราเฉียบแหลมขึ้น ตามปกติคำคมจะมีข้อความสั้นๆ แต่กินใจ ความลึกซึ้งขยายความออกไปได้มาก คนที่ต้องการเป็นนักพูด วิทยากรจึงควรจดจำ คำคมและนำไปใช้ให้เหมาะสม ถูกกาล ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาได้
โดยมากหลักในการใช้ คำคม ประกอบการพูด ควรให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด และคำคม มีมากมาย หลายชาติ หลายภาษา บางคำคมไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าว ในบทความฉบับนี้กระผมจึงไม่สามารถอ้างอิง ในบทความนี้ได้ จึงขอนำเสนอคำคมเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพูด คำคม เกี่ยวกับการพูดมีดังนี้

 ถ้าท่านลุกขึ้นยืนพูดต่อหน้าที่ฝูงชนไม่ได้ อย่าปรารถนาเป็นผู้นำ (หลวงวิจิตรวาทการ)

ทุกคนพูดได้ แต่มีบางคนเท่านั้นที่พูดเป็น (ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์)

เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ(พุทธศาสนสุภาษิต)

กลองจะดังต้องถูกตี นักพูดจะดีต้องได้รับคำวิจารณ์

 พูดโดยไม่คิด ก็ดั่งยิงปืนโดยไม่เล็ง

อาวุธที่แสนคมยังไม่คมเท่ากับปากคน

คิดก่อนกล่าววาจา ศัตรูจะมาเป็นมิตร กล่าววาจาก่อนคิด มิตรก็อาจกลายเป็นศัตรู

ควรพูดจากใจ จริงใจ มั่นใจ สุดใจ แต่อย่าย่ามใจ

จงพูดแต่ดี อย่าดีแต่พูด

สิ่งที่ลงทุนน้อยและได้เกิดประโยชน์มากที่สุด คือ คำพูดที่ดี

ก่อนพูดเราเป็นนายมัน หลังพูดมันเป็นนายเรา

ลิ้นอ่อนนุ่มยังคงอยู่ ฟันแข็งกระด้างร่วงไปแล้ว

ยิ่งพูดมาก ความจริงก็ยิ่งน้อย
อย่าให้ลิ้นของท่านประจานตัวท่านเอง

คนคิดน้อย พูดมาก คนพูดมาก ทำน้อย

ถ้อยคำดี ถ้าน้ำเสียงไม่ดี ก็มีความหมายไปในทางตรงกันข้าม

ถ้าท่านไม่รู้จักเก็บลิ้น ลิ้นจะเก็บท่าน

กฎทองในการสนทนา คือคิดก่อนพูด

ความจริงพูดไม่ได้ในทุกโอกาส

พูดน้อย คนเกรงใจมาก

ถ้ารู้สึกว่าจะพูดอะไรให้น่าฟังไม่ได้ ก็นิ่งเสียดีกว่า

คำพูดเหน็บแนมที่เฉียบแหลมรุนแรงย่อมเชือดเฉือนได้ลึกกว่าคมอาวุธ(คติฝรั่งเศส)



นี่เป็นตัวอย่างคำคมที่เกี่ยวกับการใช้ปากหรือคำพูด ดังนั้นการใช้คำคมประกอบการพูดจึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้การพูดของเรามีความหลากหลายและผู้ฟังเกิดความศรัทธาในการฟังเราพูด การฝึกใช้คำคมในช่วงแรกๆ เราอาจจำคำคมของนักพูดต่างๆ ก่อน แล้วเราจึงคิดเองขึ้นมาบ้าง
ในบทความฉบับหน้าเราจะมาเรียนรู้เรื่องของการใช้บทกลอน บทประพันธ์ประกอบการพูด การใช้บทประพันธ์ประกอบการพูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและดึงดูดใจผู้ฟังได้มาก และยิ่งเป็นการพูดในโอกาสต่างๆ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ การสมรส การอำลา การเลี้ยงต้อนรับ ฯลฯ ถ้าใครได้ใช้บทกลอนหรือบทประพันธ์ประกอบการพูดก็จะทำให้เป็นที่จดจำและเกิดความประทับใจได้มากเลยทีเดียวครับ
...
  
นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

ก้อนหินหลายๆก้อนยังรวมกันเป็นภูเขา
น้ำหลายๆหยดยังรวมกันเป็นทะเล
นักพูดที่ฝึกฝนโดยไม่หยุดย่อมสร้างตำนาน

การจะเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่หรือนักพูดที่เป็นตำนานได้นั้น คน ๆ นั้นจะต้องมีหลักการบางอย่างถึงจะไปถึงความฝันนั้นได้ หลักการดังกล่าวนั้นคือ

1.ต้องมีเป้าหมาย ถ้าท่านอยากจะเป็นนักพูดระดับไหนท่านต้องเขียนเป้าหมายนั้นเป็นตัวหนังสือไว้ เพื่อเตือนตัวเองตลอดเวลา เช่น ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านก็ต้องเขียนไว้ในหนังสือ หรือ ต้องการเป็นแค่นักพูดระดับจังหวัด ท่านก็ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือเพื่อเป็นการเตือนตัวเตือนใจ

2.ต้องฝันหรือต้องจริงจัง กับเป้าหมายที่เราต้องการตลอดเวลา ถ้าเราจริงจังกับเป้าหมายหรือความฝัน เราก็จะมีการปรับปรุง พัฒนาตัวเอง เตรียมตัวเตรียมการพูดตลอดเวลา เพื่อที่จะเข้าสู่เป้าหมายนั้นๆ ถ้าท่านมีความจริงจังในเป้าหมายว่าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ หากท่านฝันเช่นนั้นจริงท่านจะต้อง ปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มากกว่าการเป็นนักพูดระดับจังหวัดหรือนักพูดระดับท้องถิ่น

3.วางแผน ถ้าสมมุติว่าเป้าหมายของท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านจำเป็นจะต้องมีการวางแผน เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ท่านจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร กำหนด วัน เวลา ปี ที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย ต้องมีแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งแผนสำรองไว้ด้วย

4. ต้องมีกลยุทธ์ หากท่านต้องการประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงและรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ ท่านจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อให้เข้าไปถึงแผนที่วางไว้ ท่านอาจต้องสร้างหรือใช้เครื่องมือช่วย ได้แก่ การหาสื่อต่างๆ ( การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ แล้วนำบทความ นั้นมารวมเล่มเป็นหนังสือ , การจัดรายการวิทยุเพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น , การออกรายการทางโทรทัศน์เพื่อให้คนรู้จัก และ การใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เราจำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

5.พยายามร่วมกับคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เช่น การเข้าชมรม สโมสร สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักพูด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือกัน หรือได้คำแนะนำที่ดี ๆ และสามารถเป็นกำลังใจให้แก่เราเวลาเราท้อแท้ใจเมื่อการพูดของเราประสบความล้มเหลว หรือเข้ารับการอบรมทางการพูดเพื่อให้ทราบเทคนิคใหม่ๆ

6.หาแบบอย่างมากๆ ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ ท่านต้องหาแบบอย่างมากๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีความสะดวกสบายกว่าสมัยก่อน เนื่องจากเรามีเครื่องมือต่างๆมากมาย( เครื่องถ่ายวีดีโอ เครื่องบันทึกเทป เครื่องMP 3 ) บันทึกการพูดของนักพูดที่ท่านชื่นชอบทุกครั้งเมื่อไปฟังเขาพูด หรือหากใครไม่มีโอกาสตามไปฟังนักพูดที่ตนชื่นชอบ เราก็สามารถซื้อ VCD , DVD นักพูดระดับชาติมาดูได้ เช่น ทอล์คโชว์ต่างๆ (จตุพล ชมพูนิช , โน๊ต อุดม และอีกหลายท่าน)หากท่านต้องการเป็นนักพูดประเภททอล์คโชว์ แต่หากท่านต้องการเป็นนักพูดทางการเมือง ท่านสามารถ สะสม เทป VCD,DVD ของนักการเมืองต่างๆ เช่น คุณสมัคร ,คุณเฉลิม , คุณชวน , คุณอภิสิทธิ์ หรือ นักพูดในแบบที่ท่านชื่นชอบ เพื่อเอาไว้ชมเอาไว้ศึกษาถึงลีลา น้ำเสียง ท่าทางในการพูดของนักพูดท่านนั้น แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง

7.ต้องมีการตรวจสอบ ควบคุม แผนการหรือเป้าหมายของเราตลอดเวลา ต้องทบทวนแผนการ ทบทวนเป้าหมายว่าสิ่งที่เราทำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่

การพูดโดยไม่คิด การพูดนั้นจะไม่ได้อะไร
การค้นคิดแต่ไม่ได้นำมาพูด การค้นคิดนั้นจะเปล่าประโยชน์



















...
  
การเตรียมเพื่อพูด
โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
จากประสบการณ์การเป็นวิทยากรหรือการเป็นพิธีกรของกระผม ผมมักให้ความสำคัญในการเตรียมการพูดค่อนข้างมาก เหมือนดังคนชกมวย ต้องมีการฝึกซ้อมชกทุกวัน พอถึงเวลาชกจริงจะได้มีแรงมีพลัง มีความคล่องตัวในการชกจริง หรือนักกีฬาที่ต้องการแข่งขันก็เช่นกัน ต้องมีการซ้อมอย่างเอาจริงเอาจัง ถึงจะประสบความสำเร็จ

คนที่อยากจะเป็นนักพูดก็เช่นเดียวกันกับนักกีฬา ต้องมีการฝึกฝนการพูดหรือการเตรียมตัว อยู่เป็นประจำ จึงจะประสบความสำเร็จในการขึ้นเวทีการพูด ทำให้การพูดคล่องขึ้น ไม่ติดขัด เวลาพูดสามารถจัดระเบียบความคิดได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่ประหม่าเวที (สำหรับท่านใดต้องการพูดคล่องขึ้น ไม่ติดขัด ท่านควรอ่านหนังสือออกเสียงหลายๆ เที่ยว)

ดังนั้นการเตรียมการพูดจึงมีความสำคัญเป็นอันมากจนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า “ ผลสำเร็จในการพูดแต่ละครั้งมักขึ้นอยู่กับการเตรียมถึง 70-80 % อีก 20-30 % อยู่ที่การพูดบนเวที

จากบทความนี้ กระผมขอเขียนเรื่องของการเตรียมการพูด ซึ่งการเตรียมตัวที่ดีต้องมีองค์ประกอบดังนี้

1.ในการพูดแต่ละครั้ง เราต้องตั้งเป้าหมายของการพูดของเราเสียก่อน เช่น ในการพูดครั้งนั้น เราต้องการพูดเพื่ออะไร ซึ่งเป้าหมายของการพูดมีหลายประเภท เช่น พูดเพื่อให้กำลังใจ พูดเพื่อให้ความบันเทิง พูดเพื่อให้ข่าวสารข้อมูล และพูดเพื่อให้เกิดการกระทำขึ้น เมื่อระพำไราทราบวัตถุประสงค์แล้ว เราจึงมาเตรียมการพูด ทั้งเรื่องของเนื้อหา ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง อารมณ์ในการพูด ฯลฯ

2.เตรียมเนื้อหา การพูดแต่ละครั้งเราจะต้องเตรียมเนื้อหา ว่าเราจะพูดประเด็นไหน ขึ้นต้นอย่างไร เนื้อหาอย่างไร สรุปจบอย่างไร สำหรับคนที่ฝึกพูดใหม่ๆ กระผมแนะนำให้เขียนเนื้อหาทั้งหมดลงในกระดาษ (ขึ้นต้น ต้อง ตื่นเต้น ตอนกลาง อนกลางื่นเต้น ารพูดคล่องขึ้น ไม่ติดขัด ท่านควรอ่านหนังสือออกเสียงหลายๆ เที่ยว่อท่านประสบความสำเร็จ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง ตำแหน ต้อง กลมกลืน สรุปจบ ต้อง ประทับใจ) ถ้าเวลาในการพูดเขาให้เวลาน้อย เราก็ต้องนำเนื้อหาทั้งหมดนั้นมาย่อ แต่ถ้าเขาให้เวลามาก เราก็นำเรื่องที่เราเตรียมมาขยายความ

3.ฝึกซ้อมพูดคนเดียวหรืออาจมีคนฟังในการฝึกซ้อมพูดของเรา แต่ทางที่ดีควรให้ผู้ฟัง ฟังแล้วเสนอแนะ ข้อดี ข้อเสีย แก่เรา ว่าเราควรปรับปรุงการพูดอย่างไร สำหรับการฝึกพูด เราควรจับเวลาด้วย ผู้ฝึกใหม่ๆ ควรฝึกหัดพูดสัก 2-5 นาที ก่อน เมื่อฝึกพูดจนคล่องและเกิดความมั่นใจแล้ว จึงค่อยฝึกเพิ่มเวลาในการพูดขึ้น ยิ่งท่านฝึกพูดซ้อมพูดมากครั้งเท่าไร ก็จะทำให้การพูดของท่านดีขึ้นเท่านั้น

แต่เมื่อท่านฝึกแล้วเกิดความท้อใจ ขอให้คิดถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่ท่านจะได้รับเมื่อท่านประสบความสำเร็จ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ความเป็นผู้นำในท้องถิ่น ท้องที่ หรือ เมือง ของท่าน

ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้กล่าวว่า เราไม่จำเป็นต้องไปกังวลในการฝึกของเราเลย ขอให้เราฝึกไปเรียนไป อย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุด แล้วในวันหนึ่งเราจะพบว่า เราไม่เป็นรองใครเลยในวงการที่เราฝึกไปเรียนไปนั้น บุคคลที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ไม่มีอะไรแตกต่างจากคนธรรมดาเลย แต่บุคคลสำคัญเหล่านั้น เป็นคนเอาจริงเอาจัง ไม่เคยย่อท้อเท่านั้นเอง

ถ้าท่านเตรียมตัวดี แล้วฝึกซ้อมพูดคนเดียวสัก 3 ครั้ง ท่านจะพูดได้ดี แต่ถ้าท่านเตรียมตัวดี แล้วฝึกซ้อมการพูดคนเดียวสัก 6 ครั้ง ท่านจะเกิดความมั่นใจในการพูดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าท่านซ้อมพูดคนเดียวมากเท่าไร ท่านก็จะพูดได้ดีเท่านั้น

การพูดที่ยาวเกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากการคิดหรือการเตรียมตัวที่ไม่นานพอ

...
  
อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
อัตลักษณ์ของนักพูดมีความสำคัญต่อการพูดเป็นอย่างมาก เพราะอัตลักษณ์จะทำให้คนเลื่อมใสศรัทธานิยมชมชอบนักพูด ในทางกลับกันถ้านักพูดมีอัตลักษณ์ที่ไม่ดี ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความระแวงแคลงใจ ขาดความศรัทธาในตัวของนักพูด อีกทั้งส่งผลต่อการพูดอีกด้วย
ผู้อ่านหลายคนอาจจะตั้งคำถาม แล้วอัตลักษณ์คืออะไร
อัตลักษณ์ในที่นี้ กระผมขอหมายความถึง บุคลิกลักษณะรวมไปถึงนิสัยใจคอ
ถ้ามีคนคนหนึ่งมายืนโดยไม่ต้องพูดอะไรในกลุ่มพวกเรา แล้วให้แต่ละแสดงความคิดว่าคนคนนั้นมีนิสัยอย่างไร หลายคนก็จะต้องวิเคราะห์จากบุคลิก ท่าทาง ใบหน้า โดยแต่ละคนก็จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เช่น เป็นคนใจดี เป็นคนไว้ใจได้ เป็นคนไว้ใจไม่ได้ เป็นคนมีเสน่ห์ บางคนชอบ บางคนไม่ชอบบุคคลนั้น เป็นต้น
ฉะนั้น อัตลักษณ์จึงผลเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการพูด ซึ่งมีนักปรัชญา นักศึกษา นักค้นคว้า นักวิจัย ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เห็นความสำคัญดังกล่าว กระผมขอยกตัวอย่างเพียงบางท่าน เช่น
สมัยกรีก อริสโตเติลได้พูดเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ของนักพูด โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ
1.ผู้พูดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและมีไหวพริบหรือไม่
2.ผู้พูดมีอุปนิสัยใจคอเป็นอย่างไร
3.ผู้พูดมีความตั้งใจดีต่อผู้ฟังหรือไม่
ศาสตราจารย์ เจมส์ ซี แม็กครอสกี ได้แบ่งอัตลักษณ์ออกเป็น 3 ตอน คือ
1.อัตลักษณ์เดิม(Initial ethos) คือ อัตลักษณ์ที่ผู้พูดมีอยู่ก่อนการพูดครั้งนั้นๆ ซึ่งผู้ฟังส่วนใหญ่จะทราบกิติศักดิ์หรือทราบประวัติของผู้พูดมาบ้างแล้ว ซึ่งอัตลักษณ์เดิมของผู้พูดเกิดมาจากหลายปัจจัย ดังนี้
1.1.พื้นฐานชีวิต พื้นฐานครอบครัว เช่น เกิดในตระกูลที่ดี วงศ์ตระกูล มีความซื่อสัตย์สุจริต รับใช้ชาติบ้านเมืองเป็นเวลานาน
1.2.ประวัติทางการศึกษา รางวัลทางการศึกษา เช่น ผู้พูดมีการศึกษาที่ดี จบปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา
1.3.ผลงานต่างๆที่เป็นที่ประจักษ์ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในอัตลักษณ์ของนักพูด
1.4.อุปนิสัยใจคอ เช่น เป็นคนที่ปฏิบัติตามสัญญา พูดจริง ทำจริง ไม่โกหก หลอกลวง
1.5.ตำแหน่งหน้าที่การงาน เช่น มีตำแหน่งใหญ่โตทางการทหาร ตำรวจ หรือเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
อัตลักษณ์เดิมนี้จะส่งผลต่อการพูด เพราะจะทำให้เกิดการชักจูงใจและทำให้ผู้ฟังเชื่อถือได้ง่าย
2.อัตลักษณ์ใหม่(Derived ethos) เป็นอัตลักษณ์หรือภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นในขณะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หรือกำลังส่งสาร ซึ่งนักพูดที่ต้องการพูดจูงใจคนต้องคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
2.1.การเรียบเรียงวาทะ เช่น ขึ้นต้นต้องมีความตื่นเต้น เนื้อเรื่องต้องมีความกลมกลืน สรุปจบให้มีความจับใจ การเรียบเรียงวาทะ นี้จะทำให้การพูดเกิดสุนทรพจน์ เพราะจะทำให้มีการลำดับเวลา ลำดับเหตุการณ์ ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสน
2.2.ศิลปะในการส่งสาร เช่น การแสดงท่าทางต้องมี สีหน้าท่าทางที่จริงใจ คำพูดมีความหนักแน่น พูดชัดถ้อยชัดคำ มีการออกเสียงพยัญชนะต่างๆอย่างถูกต้อง ร และ ล เช่น ลูกรอก โรงเรียน โรงแรม ปลอดโปร่ง
2.3.พูดด้วยอารมณ์ กล่าวคือ ต้องพูดด้วยอารมณ์ที่ออกมาจากใจ จริงใจ โดยมีอารมณ์ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับใบหน้า ท่าทาง เช่น พูดเรื่องเศร้าก็ต้องมีใบหน้าที่เศร้า มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้า พูดเรื่องสนุกสนาน ก็ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉง เป็นต้น
2.4.ใช้วาทศิลป์โดยคิดค้น คำคม ถ้อยคำ แปลก ใหม่ การพูดที่คำคม มีการใช้ถ้อยคำแปลก ใหม่ๆ ผสมผสานจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ เช่น โสเภณีผูกขาด ชัดเจนที่คลุมเครือ เอาคนออกจากน้ำเอาน้ำออกจากคน เป็นต้น
3.อัตลักษณ์ปลายทาง(Terminal ethos) คือ อัตลักษณ์หรือภาพลักษณ์ที่ผู้พูดมุ่งหวังอยากให้เกิดขึ้นหลังจากการฟังการพูดสิ้นสุดลง เพราะก่อนพูด ผู้พูดจะต้องตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายก่อนพูดจูงใจว่า ผู้พูดต้องการอะไรเสียก่อน ซึ่งหลังพูด นักพูดที่ดีจะต้องมาทำการวิเคราะห์ว่า ทำไมการพูดในครั้งนั้นถึงประสบความสำเร็จ ทำไมการพูดในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะสาเหตุใด
ดังนั้น อัตลักษณ์ของนักพูดจึงมีความสำคัญต่อการพูดจูงใจผู้ฟังเป็นอย่างยิ่งและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจูงใจผู้ฟัง นักพูดที่ต้องการความสำเร็จจะต้องนำเรื่องของ อัตลักษณ์ในการพูด ไปทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติต่อไปก็จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการใช้วาทศิลป์เพื่อการพูดจูงใจผู้ฟังได้
...
  
การเตรียมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่จะเป็นนักพูด นักบรรยาย วิทยากร และนักพูดทุกประเภท ที่ดี ที่เก่ง และมีชื่อเสียงได้นั้น คนๆนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ แต่คุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุด ข้อหนึ่งก็คือ

การเตรียมการพูดนั้นเอง เพราะการเตรียมการพูดจะทำให้นักพูด ท่านนั้นเกิดความมั่นใจในตนเอง การเตรียมการพูดจะทำให้รู้โครงสร้างของเรื่องที่จะพูดและเนื้อหาโดยรวม
การพูด ก็เหมือนกับการแสดง หรือ นักพูดก็เหมือนนักแสดงอย่างหนึ่ง ก็คือ ถ้ามีการเตรียมการพูด มีการฝึกซ้อมอย่างดี ก็จะทำให้การพูดครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จ นักแสดงก็เช่นกัน ดังนั้นการเตรียมการพูดจึงมีความสำคัญมากจนมีผู้กล่าวว่า ผลสำเร็จของการพูดแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับการเตรียมการพูดประมาณ 70 % เหลืออีก 30% อยู่ที่การพูดบนเวที

ซึ่งการเตรียมการพูดที่ดีนั้น จะต้องมีหลักดังนี้

1.ต้องรู้วัตถุประสงค์ของการพูด รวมทั้งผู้ฟังก่อน การรู้วัตถุประสงค์ของการพูดในครั้งนั้นๆจะทำให้เราเตรียมข้อมูล วิธีการได้ถูกต้อง เช่น การพูดในครั้งนั้นเป็นการพูดเพื่อการบันเทิง เราก็พยายามเตรียมการพูด โดยการหามุข หาเรื่องสนุกๆ ตลกๆ มาพูดให้มากหน่อย หรือการพูดครั้งนั้นเพื่อการจูงใจ ชักจูง เราก็ต้องเตรียมข้อมูลให้มีการอ้างอิง หาหลักฐาน คำพูดของผู้มีชื่อเสียง และหนังสือมาประกอบ อีกทั้งต้องวิเคราะห์ว่าผู้ฟัง เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรพูดลีลา ท่าทาง น้ำเสียง เรื่องที่จะพูดตรงต่อความสนใจของผู้ฟังไหม
2.หาข้อมูลประกอบการพูด การพูดก็เหมือนกับการทำอาหาร เราต้องหาข้อมูลเหมือนกับเราจะทำแกงเนื้อสักถ้วย เราก็ต้องไป หาพริก หาเกลือ หาน้ำ หาเนื้อ หาน้ำปลา หาเครื่องแกง หาผัก ฯลฯ สำหรับข้อมูลที่ดีจะต้องมีความหลากหลาย เช่น มีตัวเลขสถิติ , ตัวอย่าง , หลักฐาน , คำคม , สุภาษิต ดังนั้น ผู้ที่เป็นนักจดบันทึก มีสมุดบันทึกติดตัว จดคำคม ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการพูด มักจะได้เปรียบเพราะมีการเตรียม มีการหาข้อมูลตลอดเวลา
3.เขียนโครงสร้างเรื่องลงไปบนกระดาษ ขั้นตอนนี้จะต้องเขียนโดยมีโครงสร้างสุนทรพจน์คือ มีคำนำ มีเนื้อเรื่อง และมีสรุปจบ โดยเขียนรายละเอียดทั้งหมดลงไปบนกระดาษ แล้วจึงนำ มาเพิ่มเติม มาตัด มาเสริม และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน คำพูดหรือภาษาที่ใช้เพื่อนำไปพูด ไปบรรยาย (คำนำควรมีเนื้อหาประมาณ 10-15 % เนื้อเรื่องควรมีเนื้อหาประมาณ 70-80 % สรุปจบควรมีเนื้อหาประมาณ 10-15 % )
4.ซ้อมพูดหรือฝึกหัดการพูด อาจจะซ้อมพูดต่อหน้ากระจก อาจจะเป็นการซ้อมพูดคนเดียวในที่ต่างๆ ดังเช่นนักพูดดังๆในอดีตและปัจจุบันทำกัน เช่น อาจารย์จตุพล ชมพูนิช เคยให้สัมภาษณ์ว่าเคยซ้อมพูดคนเดียวตอนเดินกลับบ้านโดยเลือกเรื่องที่จะพูดแล้วเริ่มพูด ตั้งแต่ต้นซอยจนถึงบ้านที่อยู่ท้ายซอย,อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ซ้อมพูดขณะอยู่บนหลังม้า ฯลฯ

บางคนอาจไม่คุ้นกับการฝึกพูดคนเดียว อาจจะให้คนรู้จักนั่งฟังหรือให้เพื่อน ภรรยา นั่งฟังแล้วช่วยเสนอแนะข้อที่ควรปรับปรุงในการพูดก็ได้


การซ้อมพูดที่ดี ควรทำท่าทางประกอบและควรจับเวลาด้วย เนื่องจากจะได้ตัดทอนเนื้อหา หากใช้เวลามาก แต่ถ้าเวลาเหลือมากจะได้เพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไป การทำท่าทางประกอบในการซ้อมพูดจะทำให้เมื่อออกไปพูดจริงจะไปดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าท่านยิ่งซ้อมพูดมากเท่าไรก็จะยิ่งดีเท่านั้น


สรุปคือ การเตรียมการพูดเป็นสิ่งที่สำคัญ จะละเลยไม่ได้ ควรเตรียมตัวทุกครั้งเพราะความสำเร็จของการเป็นนักพูดที่ดี อยู่ที่การเตรียมการพูดนั่นเอง


...
  
คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่จะเป็นนักพูดที่ดี ผมคิดว่าเขาคนนั้น น่าจะมีอะไรดีๆในตัวอยู่หลายอย่าง ซึ่งคุณสมบัติที่กระผมคิดว่า น่าจะมีอยู่ในตัวนักพูด ก็คือ
1.ต้องเป็นนักฟัง คือคนที่จะพูดเก่งนั้น ต้องเป็นนักฟัง เพราะการฟังมากๆ จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ข้อมูล ลีลาการพูด น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทาง อีกทั้งคนที่ฟังมากๆ จะได้รับความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในอนาคตอีกต่างหาก การตามฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงหลายๆท่าน จะทำให้เราได้ข้อเปรียบเทียบว่า ทำไม นักพูดท่านนี้ เราถึง ชอบ ทำไมนักพูดท่านนี้ เราถึงไม่ชอบ
2.ต้องเป็นนักอ่าน การอ่านมากๆ จะทำให้เราได้ข้อมูลมาก เพื่อจะนำไปใช้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องพูด นักพูดที่ดีต้องอ่านให้มากๆ โดยเฉพาะ อ่านหนังสือ วารสาร ตำรา ในหัวข้อที่เราชอบหรือถนัด เพื่อที่จะนำไปใช้บรรยาย แต่ถ้าจะให้ดีควรอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า...อ่านแม้กระทั่ง..ถุงกล้วยแขก...
3.ต้องเป็นนักจำ คนที่จะพูดแล้วคนชอบ คนนั้นจะต้องมีข้อมูลมาก และที่สำคัญต้องเป็นคนพูดคล่อง พูดไม่ติดขัด ดังนั้น การจะพูดให้คล่องและไม่ติดขัด ไม่คิดนานนั้น นักพูดที่เก่งมักจะต้องมีความจำที่ดีเยี่ยม นักพูดบางคน จำกระทั่ง ตัวเลข สถิติต่างๆ กลอน คำคมต่างๆ มากมาย แล้วนำมาใช้ได้ถูกจังหวะเวลา จึงเป็นที่ประทับใจของผู้ฟัง
4.ต้องเป็นนักจด คนที่เป็นนักพูดที่ดี ต้องหมั่นตามฟัง นักพูดท่านอื่นๆให้มาก และต้องอ่านให้มาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของความจำ แต่ถ้าเราจำไม่ได้ วิธีที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ เราต้องจดครับ
หาสมุดบันทึกมาหนึ่งเล่ม มีบทกลอน คำคม หรือคำพูดที่น่าสนใจที่เราฟัง ที่เราอ่านและประทับใจให้จดไว้ เพราะสักวันหนึ่งเราต้องนำ ข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประกอบการพูดของเราในอนาคต
5.สุดท้าย นักพูดที่เก่ง จะต้องปรุงเก่ง ปรุงในที่นี้ คือ นำข้อมูลต่างๆ ที่หาได้จากการฟัง การอ่าน การจด นำมาผสมผสาน ให้เกิดความน่าสนใจเพื่อนำไปพูดหรือบรรยาย นักพูดที่ปรุงเก่งเปรียบเทียบแล้วคงเหมือนกับพ่อครัว แม่ครัว ที่ต้องมีสูตรอาหาร มีกระบวนการปรุงอาหาร แล้วคนชอบ เพราะการทำอาหาร ถ้าให้พ่อครัว แม่ครัว ทำข้าวผัดแข่งกันว่าใครทำอร่อย เรื่องนี้ คงต้องอาศัยการปรุงแหละครับ ( ถึงแม้จะมีวัตถุดิบ ที่เหมือนกัน ข้าว น้ำปลา น้ำตาล น้ำมันพืช ไข่ เนื้อหมู เนื้อไก่ หอม กระเทียม แต่การปรุงให้อร่อยคงต้องอาศัยฝีมือของพ่อครัว แม่ครัวแต่ละท่าน)

ดังนั้น การพูดที่ดี เป็นทั้งศาสตร์ ก็คือ การหาความรู้ จากการฟัง การอ่าน การจด การจำ แต่สิ่งที่ทำให้คนพูดเก่งแตกต่างกันก็คือ การใช้ศิลป์นี่เอง ศิลป์ คือ การประยุกต์ใช้ ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง บุคลิกภาพ หน้าตา


ฯลฯ และที่สำคัญผู้ที่มีความต้องการจะเป็นนักพูด จะต้อง ฝึกทักษะให้มากๆ เช่น เราชอบนักพูดท่านนี้ พูดตลกดี


แล้วเรามีวิธีไหนบ้างที่จะพูดให้ได้ตลกเหมือนเขาหรือดีกว่าเขา หรือ เราเห็นนักการเมืองคนนี้พูดปราศรัยหาเสียงเก่ง แล้วเราลองฝึกหัดปราศรัยหาเสียงกับเขาบ้าง แล้วค่อยปรับปรุง เพื่อให้ดีกว่าหรือเก่งกว่าเขา


แต่สิ่งที่สำคัญก็คือต้องฝึกบ่อยๆ ถ้าเป็นไปได้ฝึกทุกวันได้ยิ่งดี ไม่ต้องไปท้อแท้ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ไม่มีเวทีพูดก็ลองหัดพูดคนเดียวดูก็ได้ เช่น นักพูดที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายคนพูดต่อหน้ากระจกคนเดียว บางคนพูดบนหลังม้าขณะเดินทางไกล บางคนพูดขณะเดินกลับบ้าน ฯลฯ


สุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับท่านที่ต้องการเป็นนักพูดที่ดี ระยะทางหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกครับ








...
  
พูดเก่ง...รวยก่อน...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

การพูดมีความสำคัญต่อการทำงาน มีความสำคัญต่อความสำเร็จของชีวิต เป็นอย่างสูง

นักเรียน ต้องพูด.... นำเสนอรายงานหน้าห้องเรียน
นักขาย ต้องพูด... เพื่อขายสินค้า บริการ
นักบริหาร ต้องพูด... สั่งงานลูกน้อง
ครู อาจารย์ ต้องพูด... สอน บรรยาย
และนักการเมือง ต้องพูด... หาเสียงเพื่อให้ประชาชนเลือก

ดังนั้น ในชีวิตของคนเราทุกคนต้องพูด ใครที่พูดเก่ง พูดเป็น พูดดี พูดจูงใจ พูดตลกได้มากกว่า คนๆนั้น...จะประสบความสำเร็จ..สูงกว่า...คนพูดไม่เก่ง พูดไม่เป็น ผู้ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต ต้องพูดเป็น พูดเก่ง และสิ่งที่ตามมาเมื่อประสบความสำเร็จ มักจะทำให้ มีอำนาจ มีตำแหน่ง และมีเงินทองตามมา(คือ ร่ำรวยนั่นเอง)
เช่น วิทยากรที่มีชื่อเสียง พูดเก่ง มักได้ค่าตอบแทน ค่าบรรยาย ที่สูงกว่าวิทยากรที่ไม่มีชื่อเสียง พูดไม่เก่ง บางคนได้วันละหลายหมื่นเลยทีเดียว ไม่นับวิทยากรที่มาจากต่างประเทศที่มาบรรยายในไทยเรา บางคนได้วันละเป็นแสนเลยก็มีให้เห็น

ต่างจากคนที่ทำงานเก่ง แต่พูดไม่เก่ง มักจะได้ค่าตอบแทนน้อย แล้วมีคนถามผมว่าถ้าอยากเป็นนักพูดหรือพูดเก่งทำอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร ?

ถ้าอยากเป็นนักพูดหรือพูดเก่ง ไม่มีวิธีอื่นเราจะต้องเริ่มพูดครับ เวลามีประชุม มีการอภิปราย หรือเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น อย่าไปไหนมาไหนแล้วนั่งเป็นใบ้ ไม่ยอมพูดจา ไม่กล้าแสดงออก ถ้าอย่างนี้เป็นนักพูดหรือพูดเก่งไม่ได้ครับ แล้วมีคนถามผมต่อว่า ผมก็พูดเก่ง ทำไมไม่รวยสักที ? การจะเป็นนักพูดแล้วรวยหรือได้เงิน ได้ตำแหน่งนั้น จำเป็นจะต้องมีหลักการ ถ้าพูดมาก พูดเรื่อยเปื่อย ก็คงไม่รวย

แต่ถ้าเราพูดมีหลักการ ตรงตามวัตถุประสงค์ พูดตามความต้องการของผู้ฟัง รับรองว่า ได้เงินแน่นอน เช่น เขาอยากรู้เรื่องการตลาด เราก็ต้องมีความรู้ทางด้านการตลาด มีศิลปะในการนำเสนอ เมื่อถูกใจผู้ฟัง เขาก็มักจะบอกต่อ แล้วทำให้นักพูดคนนั้นมีรายได้ มีค่าตัวตามมา แต่สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้เรื่องที่เราจะบรรยายจริงๆ จังๆ

การพูดที่มีหลักการ ตรงตามวัตถุประสงค์ ในสมัยนี้ มีสถาบัน สโมสร สมาคม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สอนกันมากไม่จำเป็นจะต้องเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เหมือนในอดีต แต่ถ้าไม่มีเวลา หรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ก็ลองไปหาซื้อหนังสือ เกี่ยวกับการพูดมานั่งอ่าน แล้วลองฝึกฝน ปฏิบัติตามดู เพราะคนที่ฉลาดมักเรียนรู้จากผู้อื่น

สำหรับนักพูด...หน้าใหม่... เป็นเด็ก...อายุน้อย..ประสบการณ์น้อย...จะพูดให้ผู้ใหญ่ฟังได้หรือ..?
ได้ครับ..ได้แน่นอน คนเราไม่ได้รู้หมดทุกเรื่อง เรื่องบางเรื่อง เด็ก คนมีอายุน้อย อาจมีความรู้ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก

ดังนั้น ไม่ต้องไปตกใจให้มากนัก ขอให้มีความมั่นใจในตนเอง และมีเอกลักษณ์...เป็นของตนเอง..


การมีเอกลักษณ์...จะทำให้เรามีเสน่ห์ ทำให้คนจดจำเราได้ง่ายขึ้น


ท้ายนี้ คนที่จะเป็นนักพูดที่ดี นักพูดที่เก่ง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้


หนึ่ง...ต้องเป็นนักอ่าน ต้องอ่านมากๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้พูดในอนาคต สอง....ต้องเป็นนักจด คือเห็นเรื่องราวดีๆ คำพูดดีๆ ของนักการเมือง หรือนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ก็ต้องจดเอาไว้ในสมุดเพื่อนำมาใช้ในอนาคต สาม.... ต้องเป็นนักจำที่ดี ต้องจดจำเรื่องราวที่ได้อ่านได้ฟังมาจากอดีตแล้วนำมาใช้ได้ตามสถานการณ์ต่างๆ สี่....ต้องเป็นนักปรุงหรือพ่อครัว เมื่อมีข้อที่หนึ่งถึงสามแล้ว จำเป็นจะต้องมีการนำเสนอในรูปแบบของตนเพื่อให้คนฟังชอบ


เรามักจะเห็นว่า วิทยากร นักพูดหรือนักบรรยาย เมื่อพูดเรื่องเดียวกัน บางคนพูดแล้วคนชอบ บางคนพูดแล้วคนไม่ชอบ เนื่องมาจากการปรุงหรือการนำเสนอนั่นเอง


ดังนั้น การพูดเก่ง พูดเป็น จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จแล้วได้เงิน ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจ ตามมาแน่นอน ถ้าท่านตั้งใจ ฝึกฝน ไม่ท้อแท้ ท้อถอย ก่อนวันที่ท่านจะประสบความสำเร็จ

...
  
ศิลปะการพูดจูงใจ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจคนเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของวัตถุประสงค์ของการพูด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการพูดที่ดีมีอยู่ 3 ประเภท คือ หนึ่ง การพูดบรรยายหรือเล่าเรื่อง สอง การพูดสร้างอารมณ์ขันหรือเพื่อความบันเทิง และสาม การพูดจูงใจคน

ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของการพูดเพื่อจูงใจคน มีคนถามว่าทำไมเราจะต้องพูดจูงใจคนด้วย การพูดจูงใจคน คือ การพูดที่ทำให้คนอื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามเรา โดยลดความรู้สึกที่ต่อต้านหรือขัดแย้งลง

แน่นอน คนเราย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่การที่จะร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่จะต้องมีความคิดเห็นคล้ายกัน จึงจะสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การพูดจูงใจคนหรือการพูดที่ทำให้คนคิดเห็นคล้อยตามเราจึงสำคัญ สำหรับทุกคน ทุกวัย และทุกอาชีพ เช่น

- นักขาย ต้องพูดจูงใจเพื่อให้คนซื้อสินค้าของเรา
- ลูกค้า ต้องพูดจูงใจเพื่อให้พ่อค้า ลดราคาให้
- ผู้บริหารหรือผู้นำ ต้องพูดจูงใจเพื่อให้ลูกน้องร่วมมือร่วมใจกันทำงาน หรือ รักองค์กร รักบริษัท
- นักการเมือง ต้องพูดจูงใจหรือพูดหาเสียง อย่างไร เพื่อให้คนมาลงคะแนนเสียงให้
- รัฐบาล ต้องพูดจูงใจเพื่อให้ประชาชนเห็นผลงานหรือมีทัศนคติที่ดีต่อรัฐบาลในการบริหารประเทศชาติ

ผู้ที่จะเป็นนักพูดจูงใจคนได้ดีต้องมีปัจจัยหรือเทคนิคต่างๆ ดังนี้
1.ต้องมีเทคนิคการฟัง ผู้ที่จะพูดจูงใจผู้อื่นได้ดีต้อง เป็นนักฟังที่ดีก่อน เพราะการฟังที่ดีจะทำให้รู้ว่า ผู้พูดต้องการอะไร แล้วเราจึงพูดเพื่อสนองตอบสิ่งที่เขาต้องการ และการนั่งฟังด้วยความตั้งใจจะเป็นที่ประทับใจของผู้ฟัง
2.บุคลิกภาพ ตำแหน่ง หน้าที่ การศึกษา บุคคลที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีตำแหน่ง หน้าที่ การงานดี มีการศึกษาที่ดี เมื่อพูดออกไปแล้ว ผู้ฟังจะมีความเชื่อถือมากกว่า ผู้พูดที่มีบุคลิกภาพที่แย่ ไม่มีตำแหน่ง หน้าที่ การงานที่ดี หรือ ใครที่มีการศึกษาในระดับที่สูง ผู้ฟังย่อมมีความเชื่อถือมากกว่า ผู้พูดที่มีการศึกษาที่ต่ำกว่า
3.การพูดจูงใจคนที่ดี ผู้พูดต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง เสียงดัง ฟังชัด การพูดด้วยความเชื่อมั่น เสียงดัง ฟังชัด ผู้ฟังจะมีความเชื่อถือ มากกว่าคนที่พูดด้วยความไม่มั่นใจ เสียงเบา พูดจาไม่ชัดถ้อยชัดคำ และการพูดจูงใจคนที่ดี ผู้พูดควรใช้น้ำเสียงที่มีความหลากหลาย ไม่ใช้เสียงโทนเดียวหรือระดับเดียวกันตลอดเวลา จะทำให้ผู้ฟังเกิดอาการเบื่อหน่าย ง่วงนอน ควรพูดให้มีหลากหลายจังหวะ เช่น พูดดังบ้าง เบาบ้าง หยุดบ้าง พูดเร็วบ้าง พูดช้าบ้างและพูดซ้ำๆ บ้าง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการสนใจ
4.การมีของรางวัล หรือ ผลประโยชน์ มาเป็นเครื่องมือในการพูดจูงใจคน เราจะเห็นได้ว่า ในวงการขาย การพูดของผู้บริหาร โดยมากมักจะจูงใจโดย มีรางวัลหรือผลประโยชน์ ต่างๆ เป็นเครื่องมือล่อ เพื่อให้ผู้ฟังหรือนักขายปฏิบัติตาม เช่น ให้เงินรางวัล ให้ถ้วยรางวัล ให้ตำแหน่ง ให้อำนาจหน้าที่ ที่ดีขึ้นหรือสูงขึ้น
5.นักพูดจูงใจคนที่เก่ง ไม่ได้หมายความว่า คนๆนั้นจะต้องพูดเก่ง พูดไม่หยุด พูดมาก แต่บางคนพูดน้อยมากแต่สามารถพูดจูงใจคนได้อย่างดีเยี่ยม เลยก็มี เช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู ฯลฯ

ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นนักพูดหรือคนที่จะพูดจูงใจคนได้เก่งและดี จึงต้องอาศัย ประสบการณ์ การศึกษา ค้นคว้า ทักษะ การฝึกฝน การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เพื่อ แก้ไข ปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา ท่านก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นนักพูดประเภทจูงใจคนได้



...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.