หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ศิลปะการพูดจูงใจ
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  พูดเป็นเขียนเป็นอย่างนักพูดนักเขียน
  -  เทคนิคการเป็นพิธีกร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  การพูดเพื่อนำเสนอ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  ภาษากายกับการพูด
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  ความเชื่อมั่นในตนเองเวลาพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  การอ่านกับการพูด
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อยากเป็นนักพูด
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

การที่คนคนหนึ่งจะพูดเก่งหรือมีชื่อเสียงทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนนั้น มันไม่ได้เกิดมาแล้วมีชื่อเสียงหรือพูดเก่งหมดทุกคน ซึ่งถ้าไปถามเบื้องหลังของนักพูดคนนั้นๆ เราจะทราบว่ากว่าที่เขาจะมีชื่อเสียงหรือพูดเก่งมาได้ เขาจะต้องผ่านสิ่งต่างๆหลายอย่างด้วยกัน ถ้าท่านอยากเป็นนักพูดท่านควรปฏิบัติดังนี้
1.มีความตั้งใจปรารถนาอย่างเต็มที่ที่จะต้องเป็นนักพูดให้ได้ และต้องมีเป้าหมายด้วยว่าจะเป็นนักพูดระดับใด ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดหรือระดับชาติ การที่ท่านมีเป้าหมาย มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจะทำให้ ท่านคิดเรื่องนั้นตลอดเวลา แล้วจะทำให้ท่านได้พัฒนาตนเองตลอดเวลา ในที่สุดเมื่อท่านมีเป้าหมาย และมีความตั้งใจ ท่านก็มีโอกาสไปถึงฝั่งในที่สุด ซึ่งแต่ต่างกับคนที่ไม่มีเป้าหมายและความปรารถนาอย่างแรงกล้า

2.มีการเตรียมตัวทุกครั้งที่จะต้องขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน การเตรียมตัวมีความสำคัญมาก ถ้าเราเตรียมตัวมาก เราจะมีความมั่นใจในการพูดมากกว่าการที่เราไม่ได้เตรียมตัวเลย ดังนั้น นักพูดที่ดีอย่าได้ละเลยการเตรียมการพูดทุกครั้ง การเตรียมที่ดี เราควรเขียนลำดับเรื่องไว้ก่อน ว่าเราจะพูดอย่างไร ขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องอย่างไร สรุปอย่างไร (ให้มีสุนทรพจน์ คือ ขึ้นต้นต้องตื่นเต้น ตอนกลางต้อง กลมกลืน สรุปจบต้องประทับใจ)ตลอดจนมีตัวอย่างอะไร มีคำคมหรือมีกลอนหรือไม่ แล้วลองซ้อมพูด หัวข้อนั้นดูว่าติดขัดอะไรหรือไม่ ไม่สมบูรณ์ตรงไหน ลองขัดเกลาคำพูดและภาษาดู

3.มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง จะทำให้คนเชื่อมั่นเรามากกว่า นักพูดที่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ถ้าเรามีความมั่นใจ การปรากฏตัวของเราก็จะปรากฏตัวด้วยความมั่นใจ ตามหลักจิตวิทยา การกระทำมักเกิดขึ้นตามสิ่งที่เราคิด ถ้าเราคิดว่าเรากลัว การกระทำก็จะออกมา แต่ถ้าเราคิดว่า “ หัวข้อนี้เราเก่งที่สุด รู้ดีที่สุด วันนี้ฉันสู้ตาย ” เราก็จะเกิดกำลังใจได้ ขอให้พูดกับตัวเองในใจ
4.มีโอกาส ลองเข้าสมาคม สโมสร ชมรม ที่เกี่ยวข้องกับการพูดบ้าง เพราะการเข้ากลุ่มหรือองค์กรเหล่านี้จะทำให้เรารู้จักคนที่สนใจสิ่งเดียวกัน แล้วเกิดการเรียนรู้มากขึ้น จากการแลกเปลี่ยนความคิด เทคนิคใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ
5.มีการฝึกฝนตนเองตลอดเวลา และสม่ำเสมอ นักมวยที่ขึ้นชกมวยแล้วได้รางวัลนั้น เกิดจากการฝึกซ้อมเป็นจำนวนไม่ถ้วนถึงมาขึ้นชกจริง เช่นกัน การเป็นนักพูดที่ดีต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกซ้อม หาเวทีการพูดทุกโอกาส เมื่อเรามีชั่วโมงบินมากขึ้น ก็จะทำให้การพูดของเราคล่อง และมีการพัฒนา การขึ้นพูดบนเวทีบ่อยๆ จะทำให้เราปรับตัวมากขึ้น การประหม่าเวทีก็จะน้อยลง ทำให้เรามั่นใจในตนเองมากขึ้น การพูดก็เหมือนกับการว่ายน้ำ เราไม่สามารถว่ายน้ำเป็น ด้วยการอ่านตำราหรือหนังสือเป็นพันๆ เล่ม แต่เราสามารถว่ายน้ำเป็นก็ด้วยการลงไปว่ายน้ำนั้นเอง


เมื่อท่านท้อแท้ให้ท่านคิดถึง คนที่พอเป็นแบบอย่างที่ดีให้ท่านได้ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น เรียนหนังสือในระบบไม่ถึง 1 ปี แต่ท่านสามารถเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ได้ ก็ด้วยการที่ท่านฝึกไปเรียนไปนั้นเอง , ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนักพูดทางการเมืองของไทยคนหนึ่ง จนได้รับฉายาว่า “ ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง ” ก็เป็นลูกแม่ค้า ไม่ได้เกิดมามีฐานะร่ำรวยอะไร แต่ท่านก็ฝึกไปเรียนไป จนเป็นนักพูดทางการเมืองระดับชาติ หรือแม้แต่อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ท่านก็เป็นนักพูดการเมืองระดับชาติก็ด้วยการฝึกไปเรียนไปเหมือนกัน


ในทางจิตวิทยา ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เคยกล่าวว่า “ เราไม่จำเป็นที่จะต้องกังวล เกี่ยวกับการฝึกเลย ขอให้เราฝึกไปเรียนไป ตลอดเวลา อย่าหยุด แล้ววันหนึ่งเราก็จะพบว่า เราไม่เป็นรองใครเลยในวงการนั้นๆ ” เช่นเราอยากเป็นนักพูดก็ขอให้ฝึกไปเรียนไปตลอดเวลาอย่าหยุดยั้ง แล้ววันหนึ่งฝันของเราก็จะเป็นความจริงในที่สุด

...
  
การแต่งตัวกับนักพูด
การแต่งตัวกับนักพูด
นักพูดกับการแต่งกาย

โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์


“สำเนียงบอกภาษา กิริยาบอกสกุล”


อากัปกิริยาท่าทาง รวมถึงเครื่องแต่งกายขณะอยู่ต่อหน้าที่ชุมชนนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเครื่องแต่งกายเป็นการบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูดด้วย ซึ่งการแต่งกายที่ดีนั้น ควรแต่งกายให้ดูเรียบร้อย สะอาด เหมาะสม ถูกกาลเทศะ โดยหลักแล้ว เขามักจะยึดหลักว่า


นักพูดที่ดีควรแต่งกายให้เสมอกับผู้ฟัง หรือไม่ก็ให้เหนือกว่าผู้ฟังเล็กน้อย แต่อย่าให้ถึงกับแต่งกายให้เหนือกว่าผู้ฟังมากๆ เพราะจะเกิดการแบ่งแยก เช่น การไปพูดกับชาวไร่ชาวนา ก็ควรใส่เสื้อผ้าเป็นผ้าพื้นเมือง หรือเหมือนกับชาวไร่ ชาวนาเลย แต่ขอให้ดูสะอาด เรียบร้อยเอาไว้ ไม่ควรใส่เสื้อสูทไปพูดคุย หรือถ้าเป็นนักการเมือง ก็ไม่ควรใส่เสื้อสูท ไปหาเสียงกับชาวไร่ ชาวนา เพราะทำให้ดูแล้วแตกต่างกันมาก แต่การแต่งตัวแย่กว่า หรือโทรมกว่าผู้ฟังยิ่งเป็นความผิดร้ายแรงยิ่งกว่า เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติคนฟัง ดูถูกคนฟัง ไม่เคารพคนฟัง


การใส่เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร่างกายก็มีส่วนสำคัญ ควรยึดถือหลักง่ายๆ ว่า เราจะไปพูดไม่ได้ไปเดินแฟชั่นโชว์หรือเดินแบบ ฉะนั้น เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร่างกายก็ควรจะพอดีๆ อย่ามากไป หรือน้อยไป น้อยไปยังไม่เท่าไร แต่มากไปซิครับ อาจทำให้การพูดของเราต้องลดความสำคัญไปด้วย เพราะคนคอยแต่ดูเฟอร์นิเจอร์ ไม่สนใจฟังการพูดของเรา เช่น บางคนใส่ตุ้มหูเป็นช้าง 10 เชือก ทั้งซ้ายและขวา เวลาหันซ้ายหันขวา ช้างทั้งหมดก็วิ่งพล่านเต็มหูทั้งสองข้าง ทำให้คนคอยแต่จะดูช้าง ไม่สนใจการพูด บางคนเอาปากกาจำนวนมากติดไว้ที่กระเป๋าเสื้อ หรือกระเป๋ากางเกง ทำให้คนฟังคอยแต่จะนับจำนวนปากกาอยู่เรื่อยไป ทำให้การพูดลดความสำคัญลง สุภาพสตรีบางคนแต่งตัว โดยนำเข็มกลัดเป็นรูปเครื่องบินจำนวนมากติดไว้ที่หน้าอก ทำให้คนฟังคอยแต่จะดูเครื่องบิน บางคนนับเครื่องบิน บางคนดูเครื่องบิน แต่บางคนบอกว่าดูลานบินต่างหาก


ถุงเท้า กับรองเท้า ก็มีส่วนสำคัญ เพราะนักพูดจำนวนมากไม่ให้ความสำคัญ แล้วเวลาที่จะต้องถอดถึงรู้ว่ามันสำคัญมาก เพราะผู้เขียนเองก็เคยประสบกับตัวเอง เพราะมีบางครั้งใส่ถุงเท้าผิดข้าง ผิดสี ผิดแบบ ทำให้ผู้พบเห็นสอบถาม ครั้งนั้นผู้เขียนไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน (เลยเอาหน้าไว้ที่เดิม) ตอนหลังผู้เขียนเลยใช้วิธีดังนี้ ผู้เขียนซื้อถุงเท้าทีหนึ่ง 2 โหล แบบเดียวกัน สีเดียวกัน เพราะถ้าข้างไหนเสียหรือชำรุด ก็ทิ้ง แต่สามารถใช้อีกข้างหนึ่งใส่ได้ รองเท้าก็เหมือนกัน ผู้เขียนซื้อทีเดียว 2-3 คู่ แบบเดียวกัน สีเดียวกัน เพราะถ้าข้างไหนชำรุดยังมีอีกข้างหนึ่งใช้แทนกันได้ หรือเปลี่ยนกันใส่ ก็ทำให้ประหยัดเงินดี และไม่ขายหน้าอีกเวลาใส่ผิดข้างเหมือนในอดีต


การแต่งกาย การวางท่าในขณะเริ่มพูดให้ดี เท่ากับการพูดได้สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง









...
  
ศิลปะการพูด
ศิลปะการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า “ การพูด ” เป็นสิ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิต สำหรับมนุษย์ทุกยุค ทุกสมัย ไม่ว่าอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่ว่าจะชนชาติใด ภาษาใด วัยใด การพูดเป็นทั้งศาสตร์คือ สิ่งที่สามารถศึกษาหาความรู้ได้ การพูดเป็นศิลปะ กล่าวคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
การพูดจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ และยิ่งเป็นนักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการ นักการเมือง นักเทศน์ นักการทูต อาจารย์ วิทยากร ฯลฯ ยิ่งจะต้องใช้การพูดอย่างมีศิลปะหรือบางแห่งอาจเรียกว่ามี “ วาทศิลป์”
การพูดจึงเป็นได้ทั้งยาพิษและยาหอม หมายถึง เราสามารถใช้คำพูดไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้ การรู้จักใช้คำพูดให้ถูกกาลเทศะ จึงเป็นสิ่งสำคัญในขณะเดียวกัน ในทางกลับกัน การพูดโดยไม่คิดก็ย่อมนำพาเราไปสู่ความหายนะหรือสร้างความตกต่ำให้ชีวิตเราได้เช่นกัน
การพูดเป็นกุญแจนำทางไปสู่ความสำเร็จ นักขาย นักการเมือง นักสอนศาสนา นักจัดรายการ วิทยากร บุคคลเหล่านี้ ต้องอาศัยการพูดและต้องมีการฝึกฝนการพูด จึงจะประสบความสำเร็จในอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพูดให้คนคล้อยตามหรือการใช้อารมณ์ขันในการสอดแทรกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ พัฒนา จึงจะนำพาไปสู่ความสำเร็จในอาชีพได้
การจะพูดให้ได้ดีต้องมี “ อิทธิบาท 4 ” คือ ต้องมีฉันทะ คือมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเป็นนักพูด วิริยะ คือ ความพากเพียรบากบั่นในการฝึกฝนการพูด จิตตะ คือ ต้องมีจิตใจจดจ่อต่อเป้าหมาย ไม่ทอดทิ้งเป้าหมาย วิมังสา คือ การใช้ปัญญาตรวจสอบทบทวนแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ทำให้ดียิ่งขึ้น
การพูดที่มีส่วนผสมโดย มีวาทศิลป์ มีหลักการ มีเหตุผล มีตลกขบขัน มีตัวอย่าง มีการอ้างอิง มีไหวพริบปฏิภาณ มักเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลโดยทั่วไป และทำให้คนมีความนิยมชื่นชอบในตัวผู้พูด
บุคคลที่พูดเก่งมีวาทศิลป์ที่ดี มีความเป็นอัจฉริยะในการพูด มักเป็นคนที่มีความทะเยนทะยาน มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า มีพลังแห่งการเรียนรู้ที่สูง มีความทรงจำดี มีพลังสมาธิแน่วแน่ กล้าตัดสินใจเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ อีกทั้งยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
อยากพูดให้ได้ดี ต้องหมั่นศึกษา วิเคราะห์การพูดของนักพูดชื่อดัง โดยอาจตามไปฟังนักพูดเรืองนาม นักพูดที่มีชื่อเสียง หรือยุคปัจจุบัน เป็นยุคสารสนเทศ เราสามารถตามดูนักพูดชื่อดังได้จากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะทางอินเตอร์เน็ต Youtube หรืออาจซื้อ VCD DVD ของนักพูดมาศึกษาได้
การพูดที่ดี ต้องมีจุดมุ่งหมายปลายทางแห่งการพูด จุดมุ่งหมายในการพูดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ การพูดเพื่อบันเทิง การพูดให้ความรู้กับการพูดจูงใจ ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดควรต้องรู้ก่อนว่าจะนำพาผู้ฟังไปในจุดมุ่งหมายใด เช่น หากผู้ฟังต้องการฟัง การพูดแบบบันเทิง เราก็ต้องพูดในลักษณะทอล์คโชว์พูดให้สนุก พูดให้ตลกขบขัน ไม่ใช่พูดไปแล้วคนไม่หัวเราะเลย อย่างนี้ก็ประสบความสำเร็จยาก
บุคลิกภาพกับการพูด บุคลิกภาพมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน บุคลิกภาพจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจในตัวผู้พูด บุคลิกภาพในที่นี้รวมไปถึงบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก เช่น ภายใน นิสัยใจคอ อารมณ์ ความรู้สึก ความรอบรู้ ฯลฯ ภายนอก ได้แก่การแต่งกาย ทรงผม ท่าทาง การเคลื่อนไหว การยืน การนั่ง ฯลฯ
นักพูดที่เก่งมักใช้ภาษาได้ดี เช่น ใช้ภาษาที่มีความชัดเจน อีกทั้งมีการเลือกใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการค้นคว้า ฝึกฝน อ่าน เรียนรู้ จนจัดเจนในเรื่องของภาษาศาสตร์ เมื่อศึกษาไปมากๆ ก็จะสามารถสร้างประโยคและวลีต่างๆ ได้งดงามสละสลวยขึ้น
เสน่ห์การใช้เสียงเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งในการพูด ถ้อยคำเพียงแต่บอกความหมายแต่เสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ การพูดที่ดีต้องมีน้ำเสียงที่หลากหลาย โดยยึดหลักที่ว่า ต้องใช้เสียงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่พูด
ใช้ระดับเสียง ให้มี หนัก เบา เว้นระยะ ต่างๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่พูด
สรุปคือ ศิลปะการพูด เป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้ได้ ฝึกฝนได้ พัฒนาได้ ซึ่งการพูดแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน เรียนรู้จากอาจารย์ท่านเดียวกัน แต่สิ่งที่ทำให้การพูดพูดแล้วดูน่าฟัง คนฟังชื่นชอบ สิ่งนั้นก็คือ ศิลปะในการพูดหรือการนำศาสตร์ทางการพูดมาใช้ทำให้เกิดความแตกต่างกันนั้นเอง

...
  
ถ้อยคำการพูด
ถ้อยคำการพูด
การใช้ถ้อยคำ

โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์

ภาษาเปรียบเทียบกล้องส่องความคิด ภาพน้ำจิตอาจเห็นได้เด่นใส


ถ้าเขียนพูดปูดเปื้อนเลอะเลือนไป ก็น้ำใจหรือจะแจ่มแอร่มฤทธิ์


การรู้จักใช้ถ้อยคำ คำพูดที่ดีหรือถูกต้องตามหลักเกณฑ์ด้านภาษา ย่อมแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ชาติกำเนิดการศึกษาการอบรม วัฒนธรรมอันดีงาม การใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่เหมาะสม ทำให้ผู้ฟังวินิจฉัยถึงพื้นฐานการศึกษา ของนักพูดท่านนั้นได้


บางคนพูดไม่ชัดเจน เช่น ตัว“ร” ออกเสียงเป็นตัว“ล” (โรงเรียน เป็น โลงเลียน) (ครั้งคราว เป็น ค้างคาว ฉันไปนครสวรรค์เป็น ค้างคาว อันนี้คงหมายถึงบินไป)


ถ้าเราสังเกต จะเห็นได้ว่าการพูดไม่ชัดเจน การใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม บุคคลเช่นนี้มีมากทีเดียวในสังคมไทย แทบทุกวงการ โดยที่เมื่อมีโอกาสพูดให้ประชาชนฟัง ก็จะปล่อยออกมา เช่นนั้น ไม่ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขให้เกิดความถูกต้องและเหมาะสม ในเรื่องของการใช้ถ้อยคำมีนักพูดและนักเขียนแนะนำไว้ว่า


มาร์ค ทเว้น นักเขียนผู้มีชื่อกระฉ้อนโลก เป็นนักอ่านตัวฉกาจคนหนึ่ง ในการเขียนของเขาเขาเขียนด้วยถ้อยคำสำเนียงรื่น ชวนอ่าน สำหรับการฝึกฝนนั้น เขาได้ศึกษาค้นคว้า เขามีความบากบั่นไม่ลดละ ถึงขั้นมีพจนานุกรมติดตัวไปด้วย แลอ่านศึกษาค้นคว้า การใช้พจนานุกรม จนเป็นผู้มีความเชียวชาญทางด้านภาษา และการใช้ถ้อยคำสำนวน


จตุพล ชมพูนิช นักพูดระดับแนวหน้าของไทย ได้มีวิธีการปรับปรุงทางด้านภาษาโดยใช้การอ่านหนังสือเป็นหลัก ส่วนการติดตามฟังนักพูดท่านอื่น ก็เป็นเรื่องรองๆ มา


สำหรับตัวกระผมเอง กระผมคิดว่าการอ่านเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าทุกระดับ ไม่ว่าการทำงาน หรือ นักพูด นักเขียน การอ่านหนังสือทุกประเภท กระผมเชื่อว่าหนังสือแต่ละเล่มย่อมมีประโยชน์ โดยส่วนตัวกระผมเอง กระผมอ่านตั้งแต่ตำราดูลายมือไปจนถึงหนังสือเล่มหนาๆ แล้วหาประโยชน์จากหนังสือเหล่านั้น ผสมผสานกันจนนำมาเป็นความคิดของเราเอง (แต่ในปัจจุบันกระผมค่อนข้างจะเน้นอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะความรู้ต่างๆ จะมีนักคิด นักเขียน แต่งเป็นภาษาอักฤษก่อนแล้วแปลเป็นภาษาไทย ฉะนั้นในปัจจุบันถ้าใครเก่งภาษาอังกฤษ สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ก็จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ก่อนคนอื่น)


จะเห็นได้ว่า บุคคลที่เป็นนักพูด นักเขียน นักประพันธ์ นักการเมือง นักพัฒนา นักบริหาร นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี ที่มีถ้อยคำสำนวนภาษาอย่างดี และสละสลวย ย่อมเคยใช้ความบากบั่นมานะพยายามอย่างหนักหน่วง ทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อการอ่านหนังสือโดยแท้

...
  
พูดดี ต้องประเมิน
พูดดี ต้องประเมิน
จะรู้ว่าพูดดี ต้องมีคนประเมิน
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์


ความผิดพลาดของตนเอง เป็นบทเรียนที่นำตนไปสู่ความสำเร็จ


ปัจจุบันนี้กระผมมีงานอดิเรกคือ ไปบรรยายในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกชน ราชการ บางทีก็ไป “ทอล์กโชว์” ตามโรงเรียนต่างๆ บ้าง ไปๆ มาๆ รายได้จะดีกว่างานหลักเสียอีก


จากการบรรยายในสถานที่ต่างๆ มักมีคนถามกระผมว่า “ทำอย่างไรจึงจะบรรยายเก่ง” กระผมก็ได้อธิบายว่า อันนี้ไม่ใช่พรสวรรค์นะ มันเป็นพรแสวงต่างหาก เพราะความจริงกระผมไม่สามารถบรรยายได้ตั้งแต่เกิด กระผมมาฝึกฝนเอาทีหลังนี่เอง กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ได้ กระผมเองก็เคยเป็นนักพูดประเภท สลายม็อบ อยู่นานทีเดียว คือ พูดไปคนค่อยทยอยออกทีละคนสองคน


จุดสำคัญคือ เราต้องพยายามปรับปรุงตัวเอง และมีคนถามต่อว่าจะปรับปรุงตัวเองอย่างไร คำตอบคือ การพูดแต่ละครั้งเราควรหาคนที่รู้จัก แล้วให้เขาวิจารณ์การพูดของเรา หรือให้ผู้เข้ารับการอบรม ประเมินเราเวลาเราพูดเสร็จ เมื่อเราได้ข้อมูลหรือข้อบกพร่อง เราก็สามารถนำมมาปรับปรุง หรือแก้ไขในการพูดครั้งต่อไป

ฉะนั้น การประเมินการพูด หมายถึง การวิเคราะห์ว่าที่เราพูดหรือปาฐกถาไปนั้น ต้องแก้ไขอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ควรหาเทปไปอัด คำบรรยายของเรา ในปัจจุบันนี้มีเครื่องถ่ายภาพเคลื่อนไหว ถ้าเรานำไปถ่ายภาพการบรรยายของเราได้ยิ่งดี เพราะจะทำให้เรารู้ว่า ท่าทาง กริยา อาการ ของเราเวลาเราพูดเป็นอย่างไร พูดดีหรือไม่ ท่าทางดีหรือเปล่า น้ำเสียง จังหวะในการพูด เหมาะสมหรือเปล่า


การประเมินการพูด เปรียบเทียบก็คล้ายกับเรามีกระจกเงา ส่องดูการแต่งกายส่องบุคลิกท่าทางของเรา และถ้าไม่สวย ไม่ดี ก็มาแก้ไข มาเปลี่ยนแปลงให้ดีเสีย


เพราะฉะนั้น รักจะพูดให้คนพอใจ อยากจะเป็นนักพูดประเภทพูดแล้วคนชื่นชอบ คนชอบฟัง เมื่อพูดเสร็จแต่ละครั้งอย่าถอนหายใจโล่งอกเป็นอันขาดว่า หมดทุกข์หมดโศกแล้ว ขอให้เก็บความทรงจำนั้นไว้แล้วมานั่งคิดว่า ถ้าจะให้ดีกว่าที่ได้พูดไปเราควรทำอย่างไร เราต้องแก้ไขตรงไหน เขามีความคิดความเห็นเกี่ยวกับการพูดของเราอย่างไร อย่าปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ ถ้าเราใฝ่ใจอยากจะเป็นนักพูดที่มีอนาคต

ท่านถูกติ ต้องตรอง มองที่ติ


แล้วเริ่มริ ลงรอย คอยแก้ไข


ติเพื่อก่อ ต่อสติ ติเข้าไป


เป็นบันได ไต่เต้า ให้เราดี

...
  
บุคลิกภาพของนักพูด
บุคลิกภาพของนักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดที่ดีจะทำให้ผู้พูดขึ้นสู่ที่สูง แต่บุคลิกภาพจะทำให้ผู้พูดสามารถดำรงอยู่ได้นาน
บุคลิกภาพมีความสำคัญมากต่อการพูด โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ผู้พูดหรือนักพูดจะต้องมีบุคลิกภาพที่ต้องตาผู้ฟัง บุคลิกภาพมีความสัมพันธ์กับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนจนการฝึกอบรมในปัจจุบันหลายๆ หลักสูตรมักจะมีเนื้อหาบุคลิกภาพกับการพูด เช่น หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพกับการพูดแบบผู้นำ ฯลฯ
มีคำถามว่า แล้วบุคลิกภาพที่ดีของนักพูดหรือผู้พูดในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีอะไรบ้าง สำหรับบุคลิกภาพที่ดีของนักพูดหรือผู้พูดต่อหน้าที่ชุมชนมี 2 อย่างครับ คือ บุคลิกภาพภายนอกกับบุคลิกภาพภายใน สำหรับบทความฉบับนี้กระผมขอพูดถึงบุคลิกภาพภายในก่อนครับ บุคลิกภาพภายในของนักพูดที่ดีมีดังนี้ครับ
- มีความมั่นใจหรือเชื่อมั่นในตนเอง นักพูดหรือผู้พูดที่ขาดความมั่นใจหรือเชื่อมั่นใน
ตนเอง มักจะพูดด้วยความไม่หมั่นใจ พูดแบบไม่เต็มอารมณ์ เต็มอาการของตนเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เมื่อต้องการแสดงท่าทางประกอบการพูดมักจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร แต่ถ้าแสดงความมั่นใจหรือเชื่อมั่นจนเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้เหมือนกัน เนื่องจากผู้ฟังสามารถสัมผัสได้
- มีไหวพริบ เชาว์ปัญญา มีความรอบรู้ บุคคลที่ต้องการเป็นนักพูดหรือพูดเก่ง พูดเป็น
จำเป็นต้องเป็นคนที่มีความรอบรู้ มีเชาว์ปัญญา และมีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆได้ เนื่องจากเวลาพูดแต่ละสถานที่มักมีปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น เพศ วัย อายุ สถานที่ เครื่องเสียง ฯลฯ
- มีความหนักแน่น มีสติ ควบคุมตัวเองได้ เนื่องจากการพูดแต่ละครั้งผู้พูดต้องเผชิญกับ
เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจากตัวผู้พูดเองหรือตัวผู้ฟัง เช่น ผู้พูดอาจจะอารมณ์เสียเนื่องจากโกรธหรือโมโหใครมา แต่เวลาขึ้นพูดผู้พูดต้องควบคุมตัวเองได้ มีสติ ถ้าหากผู้พูดหลุดหรือพูดพลาด อาจจะมีผลร้ายแรง ทำให้ผู้ฟังขาดความนับถือ ศรัธทา และบางครั้งอาจร้ายแรงจนต้องติดคุกติดระรางไปเลยก็มีเนื่องจากไปพูดหมิ่นประมาทผู้อื่น
- มีความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา พวกเราคงเคยได้ฟังหรือเคยไปอบรมกับวิทยากรหรือ
อาจารย์หลายๆ ท่านมาแล้ว บางท่านเราฟังแล้วรู้สึกสนุกสนาน มีชีวิตชีวา แต่เมื่อเราฟังบางท่านพูดแล้ว เรากลับเบื่อหน่าย ง่วงไม่อยากฟัง อยากให้การพูดนั้นจบไวๆ ดังนั้น การที่จะให้ผู้ฟังเกิดความมีชีวิตชีวาหรือเกิดความกระฉับกระเฉงเวลาฟัง ตัวเราผู้พูดก็ต้องทำตัวให้มีความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวาไปด้วย เนื่องจากในทางจิตวิทยาการพูดมันสามารถสื่อสารถึงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ หากเราต้องการให้ผู้ฟังมีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร ตัวผู้พูดต้องแสดงอารมณ์และความรู้สึกอย่างนั้นก่อน
- มีความเข้าใจเห็นใจผู้ฟัง นักพูดที่สามารถพูดจูงใจคน จำเป็นจะต้องศึกษาจิตวิทยา
ฝูงชน นักพูดที่พูดแล้วคนถูกใจ พอใจ นักพูดผู้นั้นมักเป็นคนที่มีความสามารถเข้าถึงหัวใจของผู้ฟังได้ นักพูดที่ให้เกียรติผู้ฟัง ผู้ฟังก็มักจะให้เกียรติผู้พูด ดังนั้นอย่าได้ดูถูกดูหมิ่นหรือแสดงอาการยโสโอหัง แก่ผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องไม่แสดงโทสะหรืออารมณ์โกรธจนลืมตัวเพราะเราแสดงอารมณ์โทสะเวลาพูด มันก็จะสื่อให้แก่ผู้ฟังเข้าใจอารมณ์โทสะของผู้พูดได้เช่นกัน
- มีความจริงใจ ไม่พูดโกหกผู้ฟัง อดีตประธานาธิบดีลินคอนล์ เคยกล่าวไว้ว่า “ เราสามารถโกหกคน
บางคนได้ตลอดเวลา เราสามารถโกหกคนทุกคนได้บางเวลา แต่เราไม่สามารถโกหกคนทุกคนและทุกเวลาได้”
ถ้าต้องการเป็นนักพูดที่ดี อย่าได้โกหกคนเลยครับ ควรพูดแต่ความจริง
ดังนั้นเราจะเห็นว่าบุคลิกภาพภายในของนักพูดมีความสำคัญมากในการพูด สำหรับบุคลิกภาพภายนอก เช่น การแต่งตัว การเดิน การยืน การนั่ง การแสดงท่าทาง ฯลฯ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจึงมีหน้าที่ที่ต้องฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
...
  
การพูดจูงใจคน
การพูดจูงใจคน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจ เป็น การพูดประเภทหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน กล่าวคือวัตถุประสงค์ของการพูด ได้แก่ การพูดเพื่อการบอกเล่า การพูดเพื่อความบันเทิงและการพูดเพื่อการจูงใจ
การพูดจูงใจ จึงเป็นศิลปะในการพูดที่ต้องอาศัยการฝึกฝน การศึกษา และดูแบบอย่างของนักพูดที่สามารถพูดจูงใจคนได้
ก่อนที่เราจะศึกษาหรือเรียนรู้การพูดจูงใจ เราควรศึกษาธรรมชาติหรือความต้องการของคนก่อน เนื่องจากคนทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเราพูดจูงใจเด็ก กับพูดจูงใจผู้ใหญ่ เราอาจจะมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน หรือ ถ้าเราพูดให้ผู้ฟังในกลุ่มอาชีพต่างๆฟัง เราอาจจะต้องมีวิธีในการพูดจูงใจที่แตกต่างกัน เช่น พูดให้ชาวนาฟัง กับพูดให้นักวิชาการฟัง ฯลฯ
แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องความต้องการของมนุษย์หรือคนเรา กระผมคิดว่า คนเรามีความต้องการในเรื่องใหญ่ๆ ที่คล้ายกันกล่าวคือ เรื่องของ กิน กาม และเกียรติ
- กิน คนเราเมื่อเกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์จะต้องมีการบริโภคหรือการกิน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารประเภทต่างๆ การดื่มกินน้ำประเภทต่างๆ
- กาม คนเราเกิดมาแล้ว ตามสัญชาตญาณของการสืบพันธุ์ ก็ต้องมีเรื่องของเพศสัมพันธ์
- เกียรติ คนเราเกิดมา ก็อยากจะมีชื่อเสียง อำนาจ ความดัง ความมีหน้าตาในสังคม
ดังนั้น คนเราหรือมนุษย์เรา จึงได้แสวงหาเรื่องของการ กิน กาม และเกียรติ กันด้วยความกระเสือกกระสนดิ้นรน (ทั้งนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า คนเราหรือมนุษย์เราส่วนใหญ่ จึงไม่ได้หมายถึงทุกคน)
เมื่อเราศึกษาธรรมชาติความต้องการของคนเราหรือมนุษย์เราแล้ว ที่นี้ ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เทคนิคในการพูดจูงใจคน เราจำเป็นจะต้องศึกษา เรียนรู้เช่นกัน กล่าวคือ ในการพูดจูงใจให้คนคล้ายตามเรานั้น
- ผู้พูดจำเป็นจะต้องพูดด้วยอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้ผู้ฟังเศร้า ผู้พูดจะต้องมีอารมณ์เศร้าก่อนอีกทั้งต้องแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้า น้ำเสียง ท่าทาง เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังมีอารมณ์เศร้าด้วย หรือ ต้องการพูดให้ผู้ฟังมีอารมณ์เกลียดชัง ผู้พูดต้องแสดงอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง ผ่านทางภาษาพูดและภาษากายต่างๆของผู้พูด เพื่อส่งความรู้สึกอารมณ์ดังกล่าวไปยังผู้ฟัง เป็นต้น
- ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจ จากใจ ยิ่งพูดมาจากก้นบึ้งของหัวใจได้ยิ่งดี การที่จะพูดให้คนคล้ายตามหรือจูงใจคนได้นั้น ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจก่อน ซึ่งความจริงใจ ผู้ฟังสามารถสัมผัสได้ผ่านการแสดงอาการต่างๆของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา น้ำเสียง ท่าทาง กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในสิ่งใด ผู้พูดเองต้องมีความศรัธทาในสิ่งนั้นก่อน ถ้าผู้พูดไม่เชื่อถือไม่ศรัธทาก่อน ก็คงยากที่จะพูดให้ผู้ฟังเกิดความศรัธทาในสิ่งนั้นด้วย
- ผู้พูดจะต้องพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ของผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ได้บุญเพิ่ม ได้กุศลเพิ่ม ได้โลห์ ได้ชื่อเสียง เกียรติยศต่างๆ ฉะนั้น ผู้พูดสามารถชักจูงใจคนได้ด้วยการพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ เช่น หากต้องการได้เงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ท่าน(ผู้ฟัง)จะต้องขยันทำงานขึ้น
ดังนั้น คนที่ต้องการพูดจูงใจเป็น จำเป็นจะต้องเรียนรู้ จากการอ่านมาก การฟังมาก การศึกษาดูแบบอย่างมากๆ เช่น หากท่านต้องการเป็นนักพูดจูงใจทางด้านการเมืองกล่าวคือ ต้องการพูดให้คนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ท่าน ท่านก็ควรตามไปฟังนักพูดทางการเมืองหรือศึกษาจาก เทป วีซีดี ดีวีดี รวมทั้งการดูการถ่ายทอดการหาเสียง การอภิปรายทางโทรทัศน์ ดูแล้วต้องวิเคราะห์ว่าทำไม นักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนเชื่อ ทำไมนักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนไม่เชื่อ อีกทั้งต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย






...
  
ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การเป็นนักพูดที่ดีนั้น ควรพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งมีอารมณ์ขันหรือความบันเทิง สอดแทรกในการพูดแต่ละครั้ง เนื่องจากสังคมไทยเรา หนีไม่พ้นความบันเทิง เพราะสังคมไทยเราชอบความสนุกสนาน ดังเราจะสังเกตเห็นว่า นักพูดที่พูดในเชิงวิชาการอย่างเดียว ไม่สอดแทรกความบันเทิงหรืออารมณ์ขันเลย มักไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ บรรดานักพูดที่พูดเนื้อหาสาระแล้วมีการสอดแทรกความบันเทิงหรืออารมณ์ขันลงไปด้วย
ดังนั้น หากต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดในสังคมไทยเรา ท่านควรพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาในด้านหลักวิชา มีทฤษฏี มีการอ้างอิง มีเหตุผล มีทัศนะ ความเชื่อ มีปฏิภาณตอบโต้ปัญหาต่างๆ มีตลกขบขัน อีกทั้งพูดด้วยความเชื่อมั่นและมั่นใจ หากท่านสามารถพูดได้ดังนี้ จะทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับและได้รับความเคารพจากผู้ฟัง
มีคนเคยถามกระผมว่า แล้วถ้าถูกเชิญให้ไปพูดในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะพูดเนื้อหาสาระกี่เปอร์เซ็นต์ ความบันเทิงกี่เปอร์เซ็นต์ กระผมขอตอบว่า เราคงต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น ดูบรรยากาศของงาน ดูการศึกษาของผู้ฟัง ดูว่าเจ้าภาพต้องการให้เราพูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ฯลฯ
หากเจ้าภาพเชิญให้ไปพูดทอล์คโชว์ แน่นอนว่า การพูดครั้งนั้น ต้องพูดโดยมีเนื้อหาความบันเทิงอย่างเดียว สำหรับสาระคงไม่ต้องมีมาก หรือบางแห่ง ถึงกับบอกเลยว่า เราไม่ต้องการสาระ ขอบันเทิงอย่างเดียวพอ กล่าวคือ ต้องพูดให้คนหัวเราะให้ได้ตลอดงาน ( ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากผู้ฟังมีความหลากหลาย )
แต่ถ้าหากถูกเชิญให้ไปพูดบรรยายในเชิงวิชาการ การอบรมต่างๆ เราก็ควรพูดในเชิงวิชาการให้มากขึ้น สำหรับอารมณ์ขัน ก็ควรมีอยู่บ้าง สำหรับสังคมไทยเรา มักชอบฟังคนพูดแล้วคนหัวเราะ มากกว่า ฟังการพูดแล้วคนเครียด
ฉะนั้น นักพูดที่ดีจึงต้องพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาสาระและบันเทิง สำหรับเทคนิคการหาข้อมูลในเรื่องความบันเทิง นักพูดควรขยันสรรหาตัวอย่างต่างๆให้มากๆ ไม่ว่าจะได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว ต้องหมั่นจดจำ ต้องเป็นนักบันทึก ต้องเป็นนักเลียนแบบและพัฒนาตนเอง หมั่นหามุข หรือตัวอย่างสนุกๆ เพราะการยกตัวอย่างสนุกๆ เป็นเครื่องมือในการใช้ประกอบการพูดได้มาก
การยกตัวอย่างสนุกๆ ทำให้เราขยายเวลาหรือเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มเวลาในการพูดได้มากขึ้น เช่น หากมีเวลาเหลืออีก 1 ชั่วโมง เนื้อหาที่เตรียมไปหมดแล้ว เราก็สามารถเพิ่มตัวอย่างที่สนุกๆ ไปได้อีก แต่หากเวลาเกิน เราก็สามารถตัดตัวอย่างที่สนุกๆ ที่เตรียมไว้ทิ้งเสีย
สำหรับยุคปัจจุบัน การหาข้อมูลตัวอย่างที่สนุกๆ หาได้ไม่ยากเหมือนในอดีต เนื่องจากยุคปัจจุบัน เราอยู่ในสังคมของ ข้อมูลข่าวสาร เรามีระบบอินเตอร์เน็ต เราจึงสามารถหาข้อมูลได้ง่ายและมากขึ้นกว่าในอดีต ไม่ว่าการหาใน GOOGLE , YOUTUBE ฯลฯ จึงทำให้เกิดนักพูดหน้าใหม่ๆ ขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีการกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่กล้าแสดงออกกว่าในอดีต เนื่องจาก มีการแข่งขันรายการต่างๆ มากมาย โดยมีถ้วยรางวัล มีโล่ห์ มีเงิน อีกทั้งได้ออกสื่อต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักกับผู้คนมากยิ่งขึ้น
แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงของนักพูดหน้าใหม่หรือนักพูดรุ่นใหม่ กล่าวคือ เรื่องของกาลเทศะ คำบางคำหรือคำบางประโยค นักพูดรุ่นอาวุโสสามารถพูดได้ แต่นักพูดรุ่นใหม่พูดไม่ได้ เนื่องจากสังคมไทยเรายังถือเรื่องอาวุโส
ฉะนั้น การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้ ต้องไม่หยุดนิ่ง เพราะการพูดในยุคปัจจุบัน กระผมถือว่าเป็นวิชาชีพหนึ่งก็ว่าได้ เป็นวิชาชีพที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเรื่องความคิด ความรู้ ข้อมูล แนวการนำเสนอในการพูดแต่ละครั้ง เราต้องหาเพิ่มเติมตลอดเวลา จะมากินบุญเก่าหรือใช้ความรู้เก่าๆ วิธีการนำเสนอแบบเก่าๆ คงไม่มีใครอยากที่จะฟัง ดังนั้น นักพูดในยุคใหม่จึงต้องมีเครื่องมือต่างๆ ช่วย เพื่อให้การพูดแต่ละครั้งเกิดความแตกต่างกับนักพูดหรือวิทยากร ท่านอื่นๆ เช่น ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ , ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ,ใช้ระบบการเรียนรู้หรือสร้างบรรยากาศที่ทันสมัยเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังอยากที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของนักพูดหรือวิทยากร
ลิ้นเพียงสามนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้









...
  
ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ทำไมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของคนบางคนจึงประสบความสำเร็จ แต่ในทางกลับกันการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของคนบางคนจึงล้มเหลว ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดเรื่องนี้กัน ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรทำดังนี้
1.จงเตรียมการพูดให้น้อยที่สุด การเตรียมการพูดมีความสำคัญมาก หากท่านเตรียมพูดไม่มากพอ การพูดของท่านก็มักจะล้มเหลว ดังนั้นหากต้องการให้การพูดล้มเหลว ท่านควรเตรียมตัวให้น้อยหรือไม่ต้องเตรียมตัวเลย แต่หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรเตรียมการพูดให้มาก ซึ่งหมายถึง เตรียมเนื้อหา เตรียมข้อมูล เตรียมรูปแบบการนำเสนอ ฯลฯ
2.จงอย่าพยายามยกตัวอย่างประกอบ นักพูดที่ประสบความสำเร็จ มักมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นภาพ หรือเกิดการเปรียบเทียบ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น แต่ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรทำตรงกันข้าม กล่าวคือ ท่านไม่ควรยกตัวอย่างประกอบการพูด
3.จงพูดด้วยน้ำเสียงโทนเดียวหรือน้ำเสียงระดับเดียวกันตลอดการพูดของท่าน น้ำเสียงมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน สำคัญจนมีคำกล่าวว่า “ ถ้อยคำแสดงถึงภาษาความหมาย แต่น้ำเสียงทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หวั่นไหว ” ดังนั้นหากท่านต้องการล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนแต่ละครั้งในการพูดควรพูดด้วยน้ำเสียงโทนเดียวกันหรือน้ำเสียงระดับเดียวกัน
4.จงเลือกพูดในเรื่องที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน บุคคลผู้นั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดหรือบรรยายอยู่พอสมควร แต่ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเชื่อถือ หากต้องการล้มเหลวในการพูด จงเลือกหัวข้อยากๆ หรือเลือกหัวข้อที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ แล้วการพูดของท่านก็จะล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
5.จงอย่าสนใจผู้ฟัง หากต้องการความล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เวลาท่านพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านไม่ควรใส่ใจกับผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจผู้ฟัง ไม่ต้องวิเคราะห์ผู้ฟัง ( เพศ อาชีพ วัย อายุ จำนวนผู้ฟัง ประสบการณ์ของผู้ฟัง การศึกษาของผู้ฟัง)
6.จงพูดด้วยความเฉยชา ไม่ต้องกระตือรือร้น จงอย่าพูดด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง หากพูดด้วยกริยาท่าทางดังกล่าว กระผมเชื่อแน่ว่า ผู้ฟังส่วนใหญ่คงง่วงนอน หรือ ผู้ฟังส่วนใหญ่คงอยากให้การพูดในครั้งนั้นๆ จบโดยเร็ว หากทำได้ดังนี้ การพูดของท่านก็จะล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
7.จงพูดด้วยความสับสน วุ่นวาย ไม่ต้องมีลำดับขั้นตอน หรือไม่ต้องมีสุนทรพจน์ หากต้องการให้เกิดความล้มเหลวในการพูด ท่านไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับเวลา ลำดับเหตุการณ์ หากท่านนึกช่วงไหนได้ ท่านก็นำออกมาพูดเลย เช่น นึกถึง ช่วงกลางของเนื้อหาที่จะพูดได้ก็นำมาพูดขึ้นต้นในการพูด หากนึกถึงช่วงสรุปได้ ท่านก็นำมาพูดในช่วงเนื้อหาของเรื่อง จงพูดให้เกิดความสับสน จงพูดจนกระทั่งจับต้นชนปลายไม่ถูก การพูดของท่านก็จะล้มเหลวในที่สุด
8.จงถ่อมตนให้มากที่สุด หากต้องการการล้มเหลวในการพูด เมื่อท่านเริ่มพูดท่านควร ออกตัว ถ่อมตน ถ่อมตัวให้มากที่สุด เช่น ถ่อมตนว่า “ ท่านไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะบรรยายหรือพูดนี้เลย ” “ ท่านไม่ได้มีการเตรียมตัวมาพูดในวันนี้เลย ”
“ ความจริงมีคนพูดในเรื่องนี้เก่งกว่ากระผมอีกมากมาย กระผมคงพูดได้ไม่ดีพอ จึงต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า อีกทั้งการมาพูดในครั้งนี้เป็นมวยแทน ” ยิ่งถ้าท่านออกตัวมากเพียงไร ก็ทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟังสิ่งที่ท่านพูดมากเพียงนั้น
ถ้าหากท่านต้องการให้การพูดแต่ละครั้งล้มเหลว ท่านควรปฏิบัติตามทั้ง 8 ข้อ ดังกล่าวนี้ แต่ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านประสบความสำเร็จ ท่านคงไม่มีวิธีอื่นใด นอกจากทำตรงกันข้ามกับคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นนี้ แน่นอนการทำให้การพูดแต่ละครั้งล้มเหลว ย่อมง่ายกว่า การทำให้การพูดแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ ดังคำเปรียบเทียบว่า การทำความชั่วย่อมง่ายกว่าการทำความดี






...
  
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมชนในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ด้วยกันกล่าวคือ การฝึกการพูดแบบในระบบ กับ การฝึกพูดด้วยตนเอง
1.การฝึกการพูดแบบในระบบ หมายถึง การฝึกการพูดที่มีรูปแบบการฝึกที่เป็นระบบ มีขั้นมีตอน มีผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมนั่งฟัง โดยมากในยุคปัจจุบัน มักมี หน่วยงาน องค์กร ชมรม สโมสร สถาบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำหน้าที่สอนและมีการฝึกปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน
2.การฝึกการพูดด้วยตนเอง หมายถึง การฝึกพูดด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการอ่านศึกษาค้นคว้าจากตำราหนังสือการพูด การสังเกต การตามฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงพูด ซึ่งการฝึกพูดลักษณะนี้ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ต้องลองผิดลองถูกอยู่บ่อยๆ
ในบทความนี้ กระผมขอแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง.... ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกการพูดด้วยตนเองดังนี้
1.จงเป็นนักอ่าน.... ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ท่านสามารถหาหนังสือ ตำรา บทความดีๆเกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ในอินเตอร์เน็ต จงอ่านข้อแนะนำการพูดต่อหน้าที่ชุมชนในหนังสือต่างๆ และจงฝึกปฏิบัติด้วยตนเองอย่างตั้งใจ อดทน สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ท่านสามารถพัฒนาการพูดของท่านได้
2.จงเป็นนักฟัง....จงหาแบบอย่างหรือนักพูดที่ท่านชอบหรือศรัทธา แล้วติดตามไปฟังการพูดของท่านเหล่านั้นให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ แล้วลองสังเกต รูปแบบการพูด ท่าทาง น้ำเสียง กริยาต่างๆของนักพูดท่านนั้น แล้วลองมาปรับใช้กับตนเอง
3.จงใช้เครื่องบันทึกเสียง ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในยุคปัจจุบัน เรามีเครื่องบันทึกเสียงในรูปแบบต่างๆ เช่น เทป MP3 MP4 เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ท่านสามารถนำเอาไปบันทึกเสียงหรือภาพนักพูดที่ท่านชื่นชอบให้มากที่สุดแล้วนำมาเปิดฟังซ้ำอีกหลายรอบ เพื่อวิเคราะห์การพูดของนักพูดท่านนั้น อีกทั้งท่านควรบันทึกเสียงหรือภาพการพูดของตัวท่านเอง เพื่อนำมาเปิดแล้วลองดูสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงการพูดของท่านแต่ละครั้ง
4.จงฝึกการพูดด้วยตนเอง หาที่เงียบๆ แล้วลองฝึกการพูดของท่าน อาจจะฝึกต่อหน้ากระจก หรือฝึกระหว่างการเดินทางไปในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง ดังเช่น นักพูดหลายท่านทำกัน เช่น ลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ฝึกพูดบนหลังม้าระหว่างเดินทางไกล เดล คาร์เนกี อาจารย์ด้านการพูดชื่อดังของโลก เคยหัดการพูดด้วยตนเองระหว่างทำสวน เด็ดหญ้า อาจารย์จตุพล ชมพูนิช คิง ออฟสปีค ของเมืองไทย เคยฝึกการพูดด้วยตนเอง ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ฝึกพูดจากปากซอยถึงท้ายซอย การฝึกวิธีนี้ควร ทำท่าทางประกอบด้วย ไม่ต้องกระดากอาย การฝึกการพูดในรูปแบบนี้ มีประโยชน์หลายอย่าง... เป็นการฝึกลำดับความคิด เป็นการฝึกพูดให้คล่องปาก ทำให้ไม่ติดขัดเมื่อถึงเวลาต้องไปพูดบทเวทีจริงๆ
5.จงฝึกเขียนประกอบการพูด ก่อนที่ท่านจะไปพูดจริง ท่านควรหัดเขียน โครงเรื่องว่า ท่านจะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องมีอะไรบ้างและสรุปจบจะลงท้ายว่าอย่างไร แล้วจึงฝึกพูดหรือฝึกอ่าน หลายๆรอบ จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานำไปแสดงท่านไม่ควรใช้หรือดูบันทึกนั้น
6.จงฝึกพูดจากง่ายไปหายาก เช่น ฝึกพูดคำพังเพย การฝึกพูดจากสิ่งของที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงมาฝึกการพูดจากสิ่งของที่เป็นนามธรรม ฯลฯ
7.จงหาเวทีแสดงการพูด ข้อสุดท้ายนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด หากท่านปฏิบัติตามทั้ง 6 ข้อ ข้างต้นแล้ว แต่ถ้าท่านขาดในข้อที่ 7 นี้ กระผมเชื่อแน่ว่า ท่านจะไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดเลย เพราะฉะนั้น การมีเวทีการพูดต่อหน้าผู้ฟังจริง จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งท่านมีเวทีแสดงการพูดมากเพียงใด ท่านก็เข้าใกล้เป้าหมายในการเป็นนักพูดของท่านมากขึ้นทุกขณะ จงหาโอกาสต่างๆ ในการพูด
ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นข้อแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง สำหรับท่านผู้ฟังที่ขาดโอกาสในการฝึกการพูดในระบบ ท่านก็สามารถประสบความสำเร็จได้โดยคำแนะนำข้างต้นนี้ เพียงแต่ท่านต้องมีความตั้งใจจริง มีความอดทน มีความรักและมีความฝันเป็นสำคัญ
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.