หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  การตรึงอารมณ์ผู้ฟัง
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  จะพูดให้ดี...ต้องมีครู...
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ปาก
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  พูดเพื่อให้ได้
  -  นักพูดชั้นนำ
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  พูดเป็นเขียนเป็นอย่างนักพูดนักเขียน
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  ศิลปะการพูด
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การเตรียมความพร้อมในการพูด
  -  คำพูดประเภทต่างๆ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  การพูดทางการเมือง
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  วิทยากรที่ดีต้องรู้จักผสมผสาน
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีการฝึกพูดของ ดิสราเอลี
  -  วิธีการฝึกการพูดของ พันเอก ปิ่น มุทุกันต์
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณก็เป็นนักพูดได้
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

...
  
การตรึงอารมณ์ผู้ฟัง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจะต้องมีความสามารถหลายอย่าง การตรึงอารมณ์ผู้ฟังให้สามารถตั้งใจฟังเราพูดได้ตลอดเวลา ถือว่าเป็นศิลปะหนึ่งในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ดังที่เราเคยเห็นนักพูดเก่งๆ จากเวทีทอล์คโชว์ หรือ นักพูดทางการเมืองที่เก่งๆ นักพูดเหล่านั้นสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ตลอดเวลา
นักพูดเหล่านั้น สามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟัง ให้หัวเราะก็ได้ ให้ร้องไห้ก็ได้ ให้โกรธแค้นก็ได้ ซึ่งพวกเราก็สามารถทำเช่นนั้นได้ หากพวกเราต้องศึกษาอย่างจริงจัง อีกทั้งต้องฝึกฝนการพูดบนเวทีต่างๆให้มาก เมื่อเรามีประสบการณ์ในการพูดมาก เราก็จะสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ เราจะสามารถพูดแล้วผู้ฟังหัวเราะได้ พูดแล้วผู้ฟังร้องไห้ได้ พูดแล้วสร้างความโกรธแค้นให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้
เราสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ตั้งแต่การเริ่มต้นการพูด นับตั้งแต่การเปิดฉากการพูด เราจะเปิดฉากการพูดอย่างไรให้ตื่นเต้น เร้าใจ ไม่เปิดฉากด้วยความจืดชืด เย็นชา เช่นต้องเปิดฉากด้วยบทกวี เปิดฉากการพูดด้วยสุภาษิต เปิดฉากการพูดด้วยคำกลอน เปิดฉากการพูดด้วยอารมณ์ขัน ฯลฯ
เมื่อเข้าในส่วนของเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องต้องกลมกลืน สอดคล้องกับการเปิดฉากอีกทั้งการพูดต้องมีชีวิตชีวา ดังเราจะสังเกตเห็นว่า เมื่อเราไปฟังนักพูดที่พูดไม่มีชีวิตชีวา เราซึ่งเป็นผู้ฟังมักจะเบื่อหน่าย ง่วงนอน แต่ถ้านักพูดพูดเสียงดังฟังชัด มีชีวิตชีวา มีเสียงสูงเสียงต่ำ มีจังหวะในการพูด มีอารมณ์ขันสอดแทรกตลอดเวลา เรามักไม่อยากหลับ เราจะมีความสนุกสนานกับการฟังนักพูดผู้นั้น
ดังนั้นถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดเมื่อท่านต้องการให้ผู้ฟังร้องไห้ ท่านจะต้องแสดงความโศกเศร้าให้ปรากฏแก่ผู้ฟัง ไม่ว่าจะสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ซึ่งต้องสอดคล้องกับเรื่องพูดที่โศกเศร้า แต่หากท่านต้องการให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น ท่านซึ่งเป็นผู้พูดจำเป็นจะต้องปลุกตัวเองให้ตื่นเต้นก่อน แล้วผู้ฟังก็จะรู้สึกตื่นเต้นตามผู้พูด จงพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เพราะความรู้สึกของผู้พูดมักสื่อไปถึงผู้ฟังด้วย
อีกทั้งการพูดที่ดี ต้องมีลักษณะพูดชัด ไม่มีการออกเสียง “ ร ” เป็น “ ล” พูดคล่อง ไม่พูดติดขัด ผู้ฟังมักชอบนักพูดที่พูดคล่องไม่ติดขัด น่ารำคาญ นักพูดที่ดีจึงต้องมีการฝึกฝนการพูดให้คล่อง จดจำคำกลอนคำสุภาษิตให้แม่นถึงเวลานำมาใช้ต้องมั่นใจ ไม่พูดคำกลอน คำคมที่ผิดเพราะการพูดผิดหรือจำคำสุภาษิตคำกลอนผิด ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเลื่อมใส ขาดศรัทธา
การพูดแล้วตรึงอารมณ์ผู้ฟัง นักพูดจะต้องมีไหวพริบปฏิณาณพอสมควร เนื่องจากการพูดแต่ละครั้งมีบรรยากาศหรือสถานที่แตกต่างกัน มีคนฟังไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย อายุที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดจะต้องรู้จัก สร้างมุข หรือพูดสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองกับผู้ฟัง
การตรึงอารมณ์ผู้ฟังจะต้องตรึงตั้งแต่เริ่มต้นการพูด จนสรุปจบ การสรุปจบในการพูดก็มีความสำคัญไม่น้อย ทำอย่างไรจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ เมื่อฟังนักพูดท่านนี้แล้วอยากที่จะตามไปฟังอีก ดังนั้นการสรุปจบจึงมีความสำคัญมากในการพูดแต่ละครั้ง การพูดสรุปจบเราสามารถพูดสรุปจบได้หลายแบบ เช่น จบแบบสรุปความ จบแบบฝากให้ไปคิดต่อ จบแบบคำคม สุภาษิต คำพังเพย จบแบบชักชวนหรือเรียกร้อง ฯลฯ
ดังนั้นการพูดแล้วสามารถตรึงอารมณ์ผู้ฟังได้ตลอดเวลาของการพูด จึงมีความสำคัญไม่น้อย
เพราะเป็นความปรารถนาของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง ที่ต้องการพูดหรือฟังแล้วเกิดความสุข เกิดความสนุก จะดีกว่าไหม
หากเราพูดแล้วคนตั้งใจฟังย่อมดีกว่าพูดแล้วคนไม่สนใจฟัง จะดีกว่าไหมหากผู้ฟังฟังผู้พูดด้วยความสุข ความสนุกสนานย่อมดีกว่าฟังผู้พูดพูดด้วยความเบื่อหน่าย ทรมาน ไม่อยากฟัง
...
  
บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนเราจะพูดเก่งพูดเป็นนั้น จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานและเรียนรู้หลักเกณฑ์เพื่อที่จะนำไปใช้ปฏิบัติในการเรียนรู้และฝึกฝน ในตอนนี้ เราจะมาพูดเรื่อง บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด กัน บัญญัติทั้ง 7 มีดังนี้
1.ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักพูด การที่คนเรามีแรงปรารถนาอยู่ในหัวใจจะทำให้คนๆ นั้น เกิดความมานะ พยายามในสิ่งเหล่านั้น คนที่ต้องการเป็นนักพูดก็เช่นกัน ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นนักพูดให้ได้ ถ้าท่านปรารถนามาก ท่านก็จะทุ่มเทมาก แต่ถ้าความปรารถนาของท่านมีน้อย ท่านก็จะทุ่มเทในการฝึกฝน เรียนรู้ น้อยเช่นกัน
2.ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการพูดทุกครั้ง การเตรียมพร้อมจะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในการพูด ทำให้การพูดของเราเป็นสุนทรพจน์คือมีการลำดับ การขึ้นต้น เนื้อเรื่องและสรุปจบ ทำให้เราบรรยายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถหาข้อมูลใหม่ๆ ข้อมูลแปลกๆ มาใช้ในการบรรยาย ทำให้การพูดของเราใหม่อยู่เสมอ
3.ต้องมีความเชื่อมั่นในการพูด ความเชื่อมั่นจะทำให้เราพูดได้ดียิ่งขึ้น กระผมเองเคยไปฟังคำบรรยายเรื่องการพูด กับ อาจารย์อุสมาน ลูกหยี ได้คาถาดี มาประโยคหนึ่งคือ “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ” ตั้งแต่บัดนั้น ทำให้ผมเกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาอย่างมาก พอจะขึ้นเวที พูดกับตัวเองในใจ ว่า “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน ” แล้วก็ขึ้นไปพูดด้วยความมั่นใจทำให้การพูดแต่ละครั้ง ของกระผมออกท่าทางอย่างเต็มที่ พูดเสียงดังฟังชัดกว่าแต่ก่อนในอดีต อาการประหม่า ลดลงอย่างมาก
4.ต้องมีลีลา ประกอบการพูด การพูดที่ดีต้องแสดง ลีลา ท่าทางประกอบการพูดด้วย รวมไปถึงน้ำเสียงต้องสอดคล้องกับเรื่องที่พูด การใช้ท่าทาง หน้าตา สายตา การยืน การเคลื่อนไหว ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด อีกทั้งภาษาที่มีความสุภาพบ้าง ภาษาที่เป็นกันเองเหมือนกับเราพูดกับเพื่อนบ้าง เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้ภาษา รวมถึงบุคลิกภาพ การเดินขึ้นเวที จะต้องมีความเชื่อมั่น กระฉับกระเฉง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ
5.ต้องมีความหลากหลายในการพูด การพูดที่ดี ต้องมีความหลากหลาย เช่น ต้องมีเรื่องตลกหรือมีอารมณ์ขันประกอบ ต้องมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจหรือสนใจมากขึ้น ต้องมีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ฟังแล้วเกิดความคิด ต้องมีเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การพูดที่หลากหลายจะทำให้ผู้ฟังเกิดความชื่นชอบ





6.ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ทำให้คนในยุคปัจจุบันฉลาดกว่าคนในสมัยอดีต เพราะสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น ได้มากขึ้น เรามีสื่อที่ทันสมัยกว่าในอดีต เช่น อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ วีซีดี ดีวีดี ฯลฯ และที่สำคัญคือสิ่งเหล่านี้มีจำนวนมากและไม่สามารถปิดกั้นได้เหมือนอย่างในอดีต ดังนั้น ใครอ่านมาก ฟังมาก คนๆนั้นจะเป็นนักพูดที่คนเชื่อถือ ศรัทธา เพราะความที่รู้มากกว่าผู้ฟัง
7.ต้องฝึกฝนตลอดเวลา การฝึกฝนตลอดเวลาจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ เกิดการแก้ไข ปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ ทำให้เราต้องตื่นตัว ทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น และลดความกลัวต่างๆ ลง ถามว่าทำไมถึงกลัว เหตุที่กลัวเพราะ เราขาดความมั่นใจ ถามว่าทำไมถึงไม่มั่นใจก็เพราะเราไม่แน่ใจ ว่าจะทำสิ่งเหล่านั้นได้ และความไม่แน่ใจว่าจะพูดได้หรือไม่ เกิดจากเหตุผลคือ การที่เราไม่ได้ฝึกนั่นเอง ดังนั้นจงฝึกพูดทุกโอกาส และเมื่อมีโอกาสก็ควร อาสาขึ้นพูด เพราะโอกาสจะมีสำหรับผู้ที่แสวงหาโอกาสเสมอ
ท้ายนี้ หลักการพูดหรือหลักเกณฑ์ที่จะทำให้เราพูดได้ดี ยังมีอีกมากมาย ฉะนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคต่างๆ มากขึ้น สำหรับกระผมคิดว่า ถ้าท่านใช้หลักเกณฑ์ “บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด ”ที่กระผมกล่าวไปข้างต้น จะทำให้การพูดของท่านดีขึ้นมาอย่างแน่นอน






...
  
พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนไร้วิชา สกุณาไร้ปีก ย่อมไปได้ไม่ไกล
คนที่จะเป็นคนพูดเก่ง พูดดี พูดเป็นและพูดจูงใจคนได้นั้น คนๆนั้นต้องมีปัญญา ซึ่งการมีปัญญาของคนเรานั้น สามารถฝึกฝนหรือสะสมกันได้หลายทาง เช่น ปัญญาเกิดจากการอ่าน , ปัญญาเกิดจากการฟัง , ปัญญาเกิดจากการคิด และปัญญาเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์
- ปัญญาเกิดจากการอ่าน หมายถึง คนที่พูดเก่ง มักจะเป็นนักอ่าน การอ่านจะทำให้มีข้อมูลในการพูด แต่สำหรับนักพูดมืออาชีพแล้ว จะไม่อ่านหนังสือแบบผ่านๆ แต่จะมีสมุดบันทึกประจำตัว ไว้จดข้อมูลต่างๆ ที่สนใจ เพื่อจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในภายภาคหน้า
- ปัญญาเกิดจากการฟัง ผู้ที่จะเป็นนักพูดที่เก่งหรือเป็นมืออาชีพ มักจะเป็นนักฟัง ถ้ามีโอกาส เขาจะตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูด ซึ่งการฟังนั้น ไม่ฟังเปล่าแต่เขาจะใช้ปัญญาวิเคราะห์ว่า ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วคนชอบ ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วน่าฟัง ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนหัวเราะ ชอบใจ ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนถึงร้องไห้ ทำไมคนๆนี้พูดแล้วคนถึงเชื่อแล้วทำตาม สำหรับในปัจจุบันนี้ เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคเทคโนโลยี เราสามารถ ฟังนักพูดที่เราชอบ หลายๆครั้งโดยผ่านทางเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น เทป ซีดี วีซีดี MP3 ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจากในยุคอดีตที่เราต้อง ตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดแต่ไม่สามารถจดจำหรือจดบันทึกได้หมด
- ปัญญาเกิดจากการคิด นักพูดบางคนมีความคิดไม่เหมือนชาวบ้าน แต่เวลาพูดทำไมคนถึงอยากฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น อาจมีความคิดที่ดีๆ อาจมีความคิดที่ทันสมัยและแง่มุมที่แปลกใหม่ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังได้ความคิดที่ดีๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำไมคนที่มีอายุบางคน ทำไมคนที่มีตำแหน่งต่างๆบางคน ทำไมเวลาพูดแล้วคนอยากฟังหรือตามไปฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น ผ่านประสบการณ์มาก่อนหรือผ่านประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน ผู้ฟังจึงสนใจฟัง เช่น ทำไมนักขายถึงอยากฟัง นักขายมืออาชีพระดับโลกพูด แต่ไม่อยากฟังนักขายสมัครเล่นพูด , ทำไมคนถึงอยากฟังนักพูดมืออาชีพระดับประเทศพูด มากกว่าอยากฟังนักพูดสมัครเล่นพูด ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ มักทำให้เกิดปัญญา เมื่อคนเรามีปัญญาแล้ว คนๆนั้นจะมีข้อมูล ในการพูด หรือ มีความรู้ มีความคิด ที่เป็นประโยชน์ในการพูด







ดังนั้น เราจะสังเกตว่านักพูดที่พูดเก่งๆ ...มักจะต้องมีปัญญา ฉะนั้น ถ้าท่านอยากเป็นนักพูด ท่านจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเรื่องของการอ่านหนังสือให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องลงทุนฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องใช้เวลาว่างในการนั่งคิด นั่งวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ และท่านจำเป็นจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อก่อให้เกิดประสบการณ์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการพูดต่อไปในภายภาคหน้า
เมื่อท่านลงทุนในสิ่งเหล่านี้แล้ว ท่านก็จะเกิดปัญญา เมื่อท่านเกิดปัญญา ท่านก็จะเป็นนักพูดที่พูดแล้วมีหลักการ มีเหตุมีผล พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วคนหัวเราะ พูดแล้วสามารถชักจูงใจคนฟังได้
และสิ่งที่ตามมา ก็คือเมื่อท่านพูดแล้วท่านจะได้เงิน เนื่องจากมีคนจ้างท่านให้ไปพูด ไปบรรยายหรือไปอบรมให้แก่หน่วยงานต่างๆ อีกทั้งท่านจะได้ชื่อเสียงและตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางด้านสังคม ตำแหน่งทางด้านการเมือง เป็นต้น

...
  
การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผมเห็นคนที่ถูกเชิญขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชนหลายคน อยู่ในอาการประหม่า บางคนสั่น บางคนพูดเสียงเบาเพราะความไม่มั่นใจหรือเชื่อมั่นในการพูดของตนเอง ในวันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าการที่เราไม่มีความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชนเนื่องมาจากสาเหตุอะไร ผมเคยถามคำถามนี้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนโดยที่กระผมเป็นวิทยากร คำตอบที่มักจะได้รับก็คือ การไม่รู้จะพูดอะไรเนื่องจากไม่มีข้อมูลหรือไม่ได้เตรียมการพูดมา บางคนบอกว่า ไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟังหรือว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน บางคนบอกว่า ไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ บางคนบอกว่า กลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี ฯลฯ

สรุปแล้วคือผู้อบรมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหลายท่าน อ้างสิ่งต่างๆนานา หรือคิดไปต่างๆนานา แท้ที่จริงแล้ว เราสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชนได้ โดยการทำสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น คือ

1.บางคนอ้างว่าไม่ได้เตรียมตัวมาหรือไม่รู้จะพูดอะไร เราก็ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามก็คือ เราต้องเตรียมการพูดให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลำดับเรื่อง การใช้ถ้อยคำ การหาข้อมูล การวิเคราะห์ผู้ฟังว่าเป็นกลุ่มไหนมาฟัง เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น เป็นวัยทำงานหรือเป็นวัยชรา เพื่อเราจะเลือกใช้ภาษาถ้อยคำให้ถูกกับวัยของผู้ฟังหรือ ตัวอย่างของเรื่องให้สอดคล้องกับวัยของผู้ฟัง รวมไปถึงเวลาในการพูด ถ้าพูดช่วงเช้า กับช่วงบ่าย ก็ต้องใช้กลยุทธ์ในการพูดที่แตกต่างกัน เนื่องจากช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่นักพูดมักพูดว่า เป็นช่วง “ ปราบเซียน ” จึงต้องพูดให้มีความตื่นเต้น มีชีวิตชีวา เนื่องจากคนกินอาหารอิ่ม ง่วง ถ้าขืนไปพูดเสียงเบา ไม่เร้าใจ ผู้ฟังก็อาจหลับกันหมด
2.บางคนอ้างว่าไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟังหรือว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน เมื่อรู้เช่นนี้ ว่าเราไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟัง กระผมขอแนะนำว่า ผู้พูดควรไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย ไปทำไม ไปเพื่อทำความรู้จักกับผู้ฟัง ชวนผู้ฟังพูดคุยบ้าง ทำความรู้จัก ทำความคุ้นเคย ก่อนที่จะบรรยายเพื่อให้เกิดการลดอาการประหม่าเนื่องจากการไม่คุ้นเคยหรือกลัวผู้ฟัง สำหรับบางคนกลัวว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน เราก็ควรคิดในแง่ดีว่า สิ่งที่เราบรรยาย ผู้ฟังอาจไม่รู้ เพราะความรู้เรื่องหนึ่งๆ มันมีหลายแง่มุม ตอนนี้เราเป็นผู้พูด เรามาพูดแง่มุมของเรา ถ้าผู้ฟังมีความรู้อะไรก็ช่วยเติมเต็มได้

3.บางคนอ้างว่า ไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ บางคนบอกว่า กลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี สำหรับข้อนี้ง่ายมาก เมื่อเรารู้ว่าเราไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ เราก็ควรทำสิ่งที่ตรงข้ามคือ เราต้องหาโอกาสในการฝึกการพูดบ่อยๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองในการพูดในที่ชุมชน

ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน มีความสำคัญมาก เราจะเห็นได้ว่า บางคนมีความรู้มาก แต่ไม่กล้าพูดหรือพูดด้วยความไม่มั่นใจ ก็ทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา ตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งที่มีองค์ความรู้น้อยกว่า แต่มีความมั่นใจในตนเอง มีความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน ทำให้คนๆนั้น เป็นที่ยอมรับและมีคนศรัทธาในคำพูดหรือการพูดของเขา

ฉะนั้น นักพูดที่ดีต้องฝึกความกล้า โดยคิดว่า ความกลัวมักทำให้เสื่อม หรือ ถ้ากลัวสิ่งไหนให้เข้าไปหาสิ่งนั้นแล้วจะทำให้หายกลัว (ถ้ากลัวการพูดต่อหน้าที่ชุมชนท่านก็ต้องเข้าหาแล้วท่านจะหายกลัวในที่สุด)ท้ายนี้ขอฝากคำกลอนที่มีผู้แต่งซึ่งแต่งได้ไพเราะมากซึ่งกระผมไม่ทราบว่าใครแต่งจึงขออนุญาตนำมาปิดท้ายครับ

พูดทั้งที ต้องให้มี ความเชื่อมั่น
อย่ามัวสั่น หวั่นผวา น่าสงสาร
จงเตรียมกาย เตรียมใจ ให้เบิกบาน
ความกล้าหาญ บันดาลให้ พูดได้ดี





...
  
นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

ก้อนหินหลายๆก้อนยังรวมกันเป็นภูเขา
น้ำหลายๆหยดยังรวมกันเป็นทะเล
นักพูดที่ฝึกฝนโดยไม่หยุดย่อมสร้างตำนาน

การจะเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่หรือนักพูดที่เป็นตำนานได้นั้น คน ๆ นั้นจะต้องมีหลักการบางอย่างถึงจะไปถึงความฝันนั้นได้ หลักการดังกล่าวนั้นคือ

1.ต้องมีเป้าหมาย ถ้าท่านอยากจะเป็นนักพูดระดับไหนท่านต้องเขียนเป้าหมายนั้นเป็นตัวหนังสือไว้ เพื่อเตือนตัวเองตลอดเวลา เช่น ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านก็ต้องเขียนไว้ในหนังสือ หรือ ต้องการเป็นแค่นักพูดระดับจังหวัด ท่านก็ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือเพื่อเป็นการเตือนตัวเตือนใจ

2.ต้องฝันหรือต้องจริงจัง กับเป้าหมายที่เราต้องการตลอดเวลา ถ้าเราจริงจังกับเป้าหมายหรือความฝัน เราก็จะมีการปรับปรุง พัฒนาตัวเอง เตรียมตัวเตรียมการพูดตลอดเวลา เพื่อที่จะเข้าสู่เป้าหมายนั้นๆ ถ้าท่านมีความจริงจังในเป้าหมายว่าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ หากท่านฝันเช่นนั้นจริงท่านจะต้อง ปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มากกว่าการเป็นนักพูดระดับจังหวัดหรือนักพูดระดับท้องถิ่น

3.วางแผน ถ้าสมมุติว่าเป้าหมายของท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านจำเป็นจะต้องมีการวางแผน เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ท่านจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร กำหนด วัน เวลา ปี ที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย ต้องมีแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งแผนสำรองไว้ด้วย

4. ต้องมีกลยุทธ์ หากท่านต้องการประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงและรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ ท่านจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อให้เข้าไปถึงแผนที่วางไว้ ท่านอาจต้องสร้างหรือใช้เครื่องมือช่วย ได้แก่ การหาสื่อต่างๆ ( การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ แล้วนำบทความ นั้นมารวมเล่มเป็นหนังสือ , การจัดรายการวิทยุเพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น , การออกรายการทางโทรทัศน์เพื่อให้คนรู้จัก และ การใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เราจำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จัก

5.พยายามร่วมกับคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เช่น การเข้าชมรม สโมสร สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักพูด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือกัน หรือได้คำแนะนำที่ดี ๆ และสามารถเป็นกำลังใจให้แก่เราเวลาเราท้อแท้ใจเมื่อการพูดของเราประสบความล้มเหลว หรือเข้ารับการอบรมทางการพูดเพื่อให้ทราบเทคนิคใหม่ๆ

6.หาแบบอย่างมากๆ ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ ท่านต้องหาแบบอย่างมากๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีความสะดวกสบายกว่าสมัยก่อน เนื่องจากเรามีเครื่องมือต่างๆมากมาย( เครื่องถ่ายวีดีโอ เครื่องบันทึกเทป เครื่องMP 3 ) บันทึกการพูดของนักพูดที่ท่านชื่นชอบทุกครั้งเมื่อไปฟังเขาพูด หรือหากใครไม่มีโอกาสตามไปฟังนักพูดที่ตนชื่นชอบ เราก็สามารถซื้อ VCD , DVD นักพูดระดับชาติมาดูได้ เช่น ทอล์คโชว์ต่างๆ (จตุพล ชมพูนิช , โน๊ต อุดม และอีกหลายท่าน)หากท่านต้องการเป็นนักพูดประเภททอล์คโชว์ แต่หากท่านต้องการเป็นนักพูดทางการเมือง ท่านสามารถ สะสม เทป VCD,DVD ของนักการเมืองต่างๆ เช่น คุณสมัคร ,คุณเฉลิม , คุณชวน , คุณอภิสิทธิ์ หรือ นักพูดในแบบที่ท่านชื่นชอบ เพื่อเอาไว้ชมเอาไว้ศึกษาถึงลีลา น้ำเสียง ท่าทางในการพูดของนักพูดท่านนั้น แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง

7.ต้องมีการตรวจสอบ ควบคุม แผนการหรือเป้าหมายของเราตลอดเวลา ต้องทบทวนแผนการ ทบทวนเป้าหมายว่าสิ่งที่เราทำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่

การพูดโดยไม่คิด การพูดนั้นจะไม่ได้อะไร
การค้นคิดแต่ไม่ได้นำมาพูด การค้นคิดนั้นจะเปล่าประโยชน์



















...
  
อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
อัตลักษณ์ของนักพูดมีความสำคัญต่อการพูดเป็นอย่างมาก เพราะอัตลักษณ์จะทำให้คนเลื่อมใสศรัทธานิยมชมชอบนักพูด ในทางกลับกันถ้านักพูดมีอัตลักษณ์ที่ไม่ดี ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความระแวงแคลงใจ ขาดความศรัทธาในตัวของนักพูด อีกทั้งส่งผลต่อการพูดอีกด้วย
ผู้อ่านหลายคนอาจจะตั้งคำถาม แล้วอัตลักษณ์คืออะไร
อัตลักษณ์ในที่นี้ กระผมขอหมายความถึง บุคลิกลักษณะรวมไปถึงนิสัยใจคอ
ถ้ามีคนคนหนึ่งมายืนโดยไม่ต้องพูดอะไรในกลุ่มพวกเรา แล้วให้แต่ละแสดงความคิดว่าคนคนนั้นมีนิสัยอย่างไร หลายคนก็จะต้องวิเคราะห์จากบุคลิก ท่าทาง ใบหน้า โดยแต่ละคนก็จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เช่น เป็นคนใจดี เป็นคนไว้ใจได้ เป็นคนไว้ใจไม่ได้ เป็นคนมีเสน่ห์ บางคนชอบ บางคนไม่ชอบบุคคลนั้น เป็นต้น
ฉะนั้น อัตลักษณ์จึงผลเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จในการพูด ซึ่งมีนักปรัชญา นักศึกษา นักค้นคว้า นักวิจัย ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เห็นความสำคัญดังกล่าว กระผมขอยกตัวอย่างเพียงบางท่าน เช่น
สมัยกรีก อริสโตเติลได้พูดเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ของนักพูด โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ
1.ผู้พูดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและมีไหวพริบหรือไม่
2.ผู้พูดมีอุปนิสัยใจคอเป็นอย่างไร
3.ผู้พูดมีความตั้งใจดีต่อผู้ฟังหรือไม่
ศาสตราจารย์ เจมส์ ซี แม็กครอสกี ได้แบ่งอัตลักษณ์ออกเป็น 3 ตอน คือ
1.อัตลักษณ์เดิม(Initial ethos) คือ อัตลักษณ์ที่ผู้พูดมีอยู่ก่อนการพูดครั้งนั้นๆ ซึ่งผู้ฟังส่วนใหญ่จะทราบกิติศักดิ์หรือทราบประวัติของผู้พูดมาบ้างแล้ว ซึ่งอัตลักษณ์เดิมของผู้พูดเกิดมาจากหลายปัจจัย ดังนี้
1.1.พื้นฐานชีวิต พื้นฐานครอบครัว เช่น เกิดในตระกูลที่ดี วงศ์ตระกูล มีความซื่อสัตย์สุจริต รับใช้ชาติบ้านเมืองเป็นเวลานาน
1.2.ประวัติทางการศึกษา รางวัลทางการศึกษา เช่น ผู้พูดมีการศึกษาที่ดี จบปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา
1.3.ผลงานต่างๆที่เป็นที่ประจักษ์ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในอัตลักษณ์ของนักพูด
1.4.อุปนิสัยใจคอ เช่น เป็นคนที่ปฏิบัติตามสัญญา พูดจริง ทำจริง ไม่โกหก หลอกลวง
1.5.ตำแหน่งหน้าที่การงาน เช่น มีตำแหน่งใหญ่โตทางการทหาร ตำรวจ หรือเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
อัตลักษณ์เดิมนี้จะส่งผลต่อการพูด เพราะจะทำให้เกิดการชักจูงใจและทำให้ผู้ฟังเชื่อถือได้ง่าย
2.อัตลักษณ์ใหม่(Derived ethos) เป็นอัตลักษณ์หรือภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นในขณะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หรือกำลังส่งสาร ซึ่งนักพูดที่ต้องการพูดจูงใจคนต้องคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
2.1.การเรียบเรียงวาทะ เช่น ขึ้นต้นต้องมีความตื่นเต้น เนื้อเรื่องต้องมีความกลมกลืน สรุปจบให้มีความจับใจ การเรียบเรียงวาทะ นี้จะทำให้การพูดเกิดสุนทรพจน์ เพราะจะทำให้มีการลำดับเวลา ลำดับเหตุการณ์ ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสน
2.2.ศิลปะในการส่งสาร เช่น การแสดงท่าทางต้องมี สีหน้าท่าทางที่จริงใจ คำพูดมีความหนักแน่น พูดชัดถ้อยชัดคำ มีการออกเสียงพยัญชนะต่างๆอย่างถูกต้อง ร และ ล เช่น ลูกรอก โรงเรียน โรงแรม ปลอดโปร่ง
2.3.พูดด้วยอารมณ์ กล่าวคือ ต้องพูดด้วยอารมณ์ที่ออกมาจากใจ จริงใจ โดยมีอารมณ์ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับใบหน้า ท่าทาง เช่น พูดเรื่องเศร้าก็ต้องมีใบหน้าที่เศร้า มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้า พูดเรื่องสนุกสนาน ก็ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่กระฉับกระเฉง เป็นต้น
2.4.ใช้วาทศิลป์โดยคิดค้น คำคม ถ้อยคำ แปลก ใหม่ การพูดที่คำคม มีการใช้ถ้อยคำแปลก ใหม่ๆ ผสมผสานจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ เช่น โสเภณีผูกขาด ชัดเจนที่คลุมเครือ เอาคนออกจากน้ำเอาน้ำออกจากคน เป็นต้น
3.อัตลักษณ์ปลายทาง(Terminal ethos) คือ อัตลักษณ์หรือภาพลักษณ์ที่ผู้พูดมุ่งหวังอยากให้เกิดขึ้นหลังจากการฟังการพูดสิ้นสุดลง เพราะก่อนพูด ผู้พูดจะต้องตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายก่อนพูดจูงใจว่า ผู้พูดต้องการอะไรเสียก่อน ซึ่งหลังพูด นักพูดที่ดีจะต้องมาทำการวิเคราะห์ว่า ทำไมการพูดในครั้งนั้นถึงประสบความสำเร็จ ทำไมการพูดในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะสาเหตุใด
ดังนั้น อัตลักษณ์ของนักพูดจึงมีความสำคัญต่อการพูดจูงใจผู้ฟังเป็นอย่างยิ่งและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการจูงใจผู้ฟัง นักพูดที่ต้องการความสำเร็จจะต้องนำเรื่องของ อัตลักษณ์ในการพูด ไปทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติต่อไปก็จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการใช้วาทศิลป์เพื่อการพูดจูงใจผู้ฟังได้
...
  
คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่จะเป็นนักพูดที่ดี ผมคิดว่าเขาคนนั้น น่าจะมีอะไรดีๆในตัวอยู่หลายอย่าง ซึ่งคุณสมบัติที่กระผมคิดว่า น่าจะมีอยู่ในตัวนักพูด ก็คือ
1.ต้องเป็นนักฟัง คือคนที่จะพูดเก่งนั้น ต้องเป็นนักฟัง เพราะการฟังมากๆ จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ข้อมูล ลีลาการพูด น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทาง อีกทั้งคนที่ฟังมากๆ จะได้รับความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในอนาคตอีกต่างหาก การตามฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงหลายๆท่าน จะทำให้เราได้ข้อเปรียบเทียบว่า ทำไม นักพูดท่านนี้ เราถึง ชอบ ทำไมนักพูดท่านนี้ เราถึงไม่ชอบ
2.ต้องเป็นนักอ่าน การอ่านมากๆ จะทำให้เราได้ข้อมูลมาก เพื่อจะนำไปใช้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องพูด นักพูดที่ดีต้องอ่านให้มากๆ โดยเฉพาะ อ่านหนังสือ วารสาร ตำรา ในหัวข้อที่เราชอบหรือถนัด เพื่อที่จะนำไปใช้บรรยาย แต่ถ้าจะให้ดีควรอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า...อ่านแม้กระทั่ง..ถุงกล้วยแขก...
3.ต้องเป็นนักจำ คนที่จะพูดแล้วคนชอบ คนนั้นจะต้องมีข้อมูลมาก และที่สำคัญต้องเป็นคนพูดคล่อง พูดไม่ติดขัด ดังนั้น การจะพูดให้คล่องและไม่ติดขัด ไม่คิดนานนั้น นักพูดที่เก่งมักจะต้องมีความจำที่ดีเยี่ยม นักพูดบางคน จำกระทั่ง ตัวเลข สถิติต่างๆ กลอน คำคมต่างๆ มากมาย แล้วนำมาใช้ได้ถูกจังหวะเวลา จึงเป็นที่ประทับใจของผู้ฟัง
4.ต้องเป็นนักจด คนที่เป็นนักพูดที่ดี ต้องหมั่นตามฟัง นักพูดท่านอื่นๆให้มาก และต้องอ่านให้มาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของความจำ แต่ถ้าเราจำไม่ได้ วิธีที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ เราต้องจดครับ
หาสมุดบันทึกมาหนึ่งเล่ม มีบทกลอน คำคม หรือคำพูดที่น่าสนใจที่เราฟัง ที่เราอ่านและประทับใจให้จดไว้ เพราะสักวันหนึ่งเราต้องนำ ข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประกอบการพูดของเราในอนาคต
5.สุดท้าย นักพูดที่เก่ง จะต้องปรุงเก่ง ปรุงในที่นี้ คือ นำข้อมูลต่างๆ ที่หาได้จากการฟัง การอ่าน การจด นำมาผสมผสาน ให้เกิดความน่าสนใจเพื่อนำไปพูดหรือบรรยาย นักพูดที่ปรุงเก่งเปรียบเทียบแล้วคงเหมือนกับพ่อครัว แม่ครัว ที่ต้องมีสูตรอาหาร มีกระบวนการปรุงอาหาร แล้วคนชอบ เพราะการทำอาหาร ถ้าให้พ่อครัว แม่ครัว ทำข้าวผัดแข่งกันว่าใครทำอร่อย เรื่องนี้ คงต้องอาศัยการปรุงแหละครับ ( ถึงแม้จะมีวัตถุดิบ ที่เหมือนกัน ข้าว น้ำปลา น้ำตาล น้ำมันพืช ไข่ เนื้อหมู เนื้อไก่ หอม กระเทียม แต่การปรุงให้อร่อยคงต้องอาศัยฝีมือของพ่อครัว แม่ครัวแต่ละท่าน)

ดังนั้น การพูดที่ดี เป็นทั้งศาสตร์ ก็คือ การหาความรู้ จากการฟัง การอ่าน การจด การจำ แต่สิ่งที่ทำให้คนพูดเก่งแตกต่างกันก็คือ การใช้ศิลป์นี่เอง ศิลป์ คือ การประยุกต์ใช้ ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง บุคลิกภาพ หน้าตา


ฯลฯ และที่สำคัญผู้ที่มีความต้องการจะเป็นนักพูด จะต้อง ฝึกทักษะให้มากๆ เช่น เราชอบนักพูดท่านนี้ พูดตลกดี


แล้วเรามีวิธีไหนบ้างที่จะพูดให้ได้ตลกเหมือนเขาหรือดีกว่าเขา หรือ เราเห็นนักการเมืองคนนี้พูดปราศรัยหาเสียงเก่ง แล้วเราลองฝึกหัดปราศรัยหาเสียงกับเขาบ้าง แล้วค่อยปรับปรุง เพื่อให้ดีกว่าหรือเก่งกว่าเขา


แต่สิ่งที่สำคัญก็คือต้องฝึกบ่อยๆ ถ้าเป็นไปได้ฝึกทุกวันได้ยิ่งดี ไม่ต้องไปท้อแท้ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ไม่มีเวทีพูดก็ลองหัดพูดคนเดียวดูก็ได้ เช่น นักพูดที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายคนพูดต่อหน้ากระจกคนเดียว บางคนพูดบนหลังม้าขณะเดินทางไกล บางคนพูดขณะเดินกลับบ้าน ฯลฯ


สุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับท่านที่ต้องการเป็นนักพูดที่ดี ระยะทางหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกครับ








...
  
จะพูดให้ดี...ต้องมีครู...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

การที่คนเราจะพูดให้ได้ดี พูดเป็น พูดเก่ง จำเป็นจะต้องมีครู เพราะการเรียนรู้ด้วยตนเอง

อาจทำให้เกิดการผิดพลาด เสียหาย และประสบความสำเร็จช้ากว่าการเรียนรู้จากครู ในยุคปัจจุบัน ครูหรือผู้สอน วิทยากร มีมากมาย หลายสถาบัน รวมทั้งหนังสือ ตำรา แหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น การเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ ข้างต้น ก็เป็นการเรียนรู้อีกทางหนึ่งที่จะ ทำให้เราพูดได้ดี พูดได้เก่งขึ้นกว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง

ทั้งนี้ การเรียนรู้จากครู นั้น ในเบื้องต้น เราต้องทราบก่อนว่า ครู หนังสือ ตำรา แหล่งเรียนรู้มีมากมายในปัจจุบัน แต่ครูที่ดี ที่ถูกใจเราของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะชอบเรียนรู้จากครูคนนี้ บางคนไม่ชอบ ดังนั้น การจะเอาใครมาเป็นครู ของแต่ละคน จึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น นิสัยใจคอ เทคนิคการสอน เครื่องมือช่วยสอน ฯลฯ

แต่การจะพูดให้ได้ดีนั้น ผู้ฝึกใหม่ๆ ควรมีแบบอย่างหรือมีครู เช่น ถ้าเรารักชอบ นักพูดท่านใดเราก็ควร เรียนรู้จากเขา สังเกต เลียนแบบ เพื่อพัฒนาให้เป็นตัวของตนเองในอนาคต ดังเช่น นักพูดหลายคน ชอบคุณสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็สามารถนำเทปหรือฝึกสำนวน ลีลา การพูดของคุณสมัครในตอนต้นๆ แล้วจึงพัฒนาเป็นของตนเอง บางคนชอบคุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ก็สามารถตามไปฟังคุณชวน หลีกภัย หาเสียงบ่อยๆ แล้วจึงพัฒนาเป็นตัวเองในที่สุด

บางคนชอบอาจารย์จตุพล ชมภูนิช ก็สามารถฟังเทป เลียนแบบกิริยาท่าทางของอาจารย์ แล้วค่อยพัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง ดังนั้น การจะเป็นนักพูดที่ดี... จำเป็นต้องมีครูครับ.... มีเพื่อเป็นตัวอย่างของตัวเอง มีเพื่อเป็นต้นแบบของตนเอง แต่ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเพียงแค่คนๆเดียว เช่น ตัวกระผมเอง ถ้าต้องการเรียนรู้การพูดแบบบันเทิง ต้นแบบก็มีอาจารย์จตุพล ชมภูนิช คุณโน้ต อุดม แต้พานิช ถ้าเป็นการพูดแบบจูงใจ หาเสียง การขายประกัน ก็มี อาจารย์อุสมาน ลูกหยี คุณเฉลิม อยู่บำรุง คุณกฤษณา กฤตมโนรถและ คุณชวน หลีกภัย หรือการพูดในรูปแบบบรรยาย ก็จะมีอาจารย์สุขุม นวลสกุล เป็นต้น

ถามว่า ทำไม ต้องมีครูหลายคน ก็เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการพูดมีหลายแบบ เช่น การพูดเพื่อความบันเทิง การพูดบรรยาย การเล่าเรื่อง และการพูดจูงใจ ฉะนั้น ถ้าเราเรียนรู้จากอาจารย์เพียงคนเดียว เราก็ประสบความสำเร็จในการพูดได้น้อยกว่าคนที่มีครูหลายคน เช่น การพูดในสภา การพูดหาเสียง การพูดขายของ เราก็ต้องพูดแบบจูงใจ แต่เราไม่ได้เรียนรู้มา แล้วเราไปใช้วิธีการพูดแบบ อาจารย์จตุพล ชมภูนิช คนฟังหัวเราะ ตลกแต่เป็นการพูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง แต่จูงใจไม่ได้ ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการพูด


หรือ ถ้าเราจะพูดเพื่อความบันเทิง แต่เราไปใช้ลีลา การพูดแบบ อดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ก็ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จในการพูดในสถานการณ์นั้นๆ ดังนั้น เราควรมีครูหลายคน เพื่อเรียนรู้ การพูดให้มีความหลากหลาย แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ


แม้แต่หนังสือ ท่านก็ต้องหาหนังสือการพูดที่แต่งโดย อาจารย์หลายคนๆ เพราะ หนังสือเพียงหนึ่งเล่ม ท่านอาจได้ความคิดเพียงแค่ประโยคเดียวเอง แต่สามารถเปลี่ยนความคิด ความฝันของท่านได้ ถ้าได้อ่านหลายเล่มยิ่งดีกว่าการอ่านหนังสือเพียงเล่มเดียว ดังนั้น ควรหาอ่านหนังสือ ตำรา การพูด จากอาจารย์หลายๆ ท่านที่แต่ง


เวลาอ่านไม่ควร อ่านแบบผ่านๆ ควรขีดเส้นใต้ในประโยคสำคัญๆ หรือที่เราประทับใจ หรือจดประโยคนั้นๆ ไว้ในสมุดจดบันทึกของเรา เพื่อนำมาใช้ในอนาคตได้


สรุปคือ การที่ท่านจะพูดให้ได้ดี....ท่านจำเป็นจะต้องมีครู....และควรหาครูหลายๆคน รวมทั้งเรียนรู้จากหนังสือหลายๆ เล่ม เพื่อหาจุดดี จุดเด่นของครูท่านนั้นๆ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง แล้วในที่สุดท่านจะพูดได้ดี พูดได้เก่งในที่สุด เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
...
  
อยากเป็นนักพูด
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

การที่คนคนหนึ่งจะพูดเก่งหรือมีชื่อเสียงทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนนั้น มันไม่ได้เกิดมาแล้วมีชื่อเสียงหรือพูดเก่งหมดทุกคน ซึ่งถ้าไปถามเบื้องหลังของนักพูดคนนั้นๆ เราจะทราบว่ากว่าที่เขาจะมีชื่อเสียงหรือพูดเก่งมาได้ เขาจะต้องผ่านสิ่งต่างๆหลายอย่างด้วยกัน ถ้าท่านอยากเป็นนักพูดท่านควรปฏิบัติดังนี้
1.มีความตั้งใจปรารถนาอย่างเต็มที่ที่จะต้องเป็นนักพูดให้ได้ และต้องมีเป้าหมายด้วยว่าจะเป็นนักพูดระดับใด ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดหรือระดับชาติ การที่ท่านมีเป้าหมาย มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจะทำให้ ท่านคิดเรื่องนั้นตลอดเวลา แล้วจะทำให้ท่านได้พัฒนาตนเองตลอดเวลา ในที่สุดเมื่อท่านมีเป้าหมาย และมีความตั้งใจ ท่านก็มีโอกาสไปถึงฝั่งในที่สุด ซึ่งแต่ต่างกับคนที่ไม่มีเป้าหมายและความปรารถนาอย่างแรงกล้า

2.มีการเตรียมตัวทุกครั้งที่จะต้องขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน การเตรียมตัวมีความสำคัญมาก ถ้าเราเตรียมตัวมาก เราจะมีความมั่นใจในการพูดมากกว่าการที่เราไม่ได้เตรียมตัวเลย ดังนั้น นักพูดที่ดีอย่าได้ละเลยการเตรียมการพูดทุกครั้ง การเตรียมที่ดี เราควรเขียนลำดับเรื่องไว้ก่อน ว่าเราจะพูดอย่างไร ขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องอย่างไร สรุปอย่างไร (ให้มีสุนทรพจน์ คือ ขึ้นต้นต้องตื่นเต้น ตอนกลางต้อง กลมกลืน สรุปจบต้องประทับใจ)ตลอดจนมีตัวอย่างอะไร มีคำคมหรือมีกลอนหรือไม่ แล้วลองซ้อมพูด หัวข้อนั้นดูว่าติดขัดอะไรหรือไม่ ไม่สมบูรณ์ตรงไหน ลองขัดเกลาคำพูดและภาษาดู

3.มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง จะทำให้คนเชื่อมั่นเรามากกว่า นักพูดที่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ถ้าเรามีความมั่นใจ การปรากฏตัวของเราก็จะปรากฏตัวด้วยความมั่นใจ ตามหลักจิตวิทยา การกระทำมักเกิดขึ้นตามสิ่งที่เราคิด ถ้าเราคิดว่าเรากลัว การกระทำก็จะออกมา แต่ถ้าเราคิดว่า “ หัวข้อนี้เราเก่งที่สุด รู้ดีที่สุด วันนี้ฉันสู้ตาย ” เราก็จะเกิดกำลังใจได้ ขอให้พูดกับตัวเองในใจ
4.มีโอกาส ลองเข้าสมาคม สโมสร ชมรม ที่เกี่ยวข้องกับการพูดบ้าง เพราะการเข้ากลุ่มหรือองค์กรเหล่านี้จะทำให้เรารู้จักคนที่สนใจสิ่งเดียวกัน แล้วเกิดการเรียนรู้มากขึ้น จากการแลกเปลี่ยนความคิด เทคนิคใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ
5.มีการฝึกฝนตนเองตลอดเวลา และสม่ำเสมอ นักมวยที่ขึ้นชกมวยแล้วได้รางวัลนั้น เกิดจากการฝึกซ้อมเป็นจำนวนไม่ถ้วนถึงมาขึ้นชกจริง เช่นกัน การเป็นนักพูดที่ดีต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกซ้อม หาเวทีการพูดทุกโอกาส เมื่อเรามีชั่วโมงบินมากขึ้น ก็จะทำให้การพูดของเราคล่อง และมีการพัฒนา การขึ้นพูดบนเวทีบ่อยๆ จะทำให้เราปรับตัวมากขึ้น การประหม่าเวทีก็จะน้อยลง ทำให้เรามั่นใจในตนเองมากขึ้น การพูดก็เหมือนกับการว่ายน้ำ เราไม่สามารถว่ายน้ำเป็น ด้วยการอ่านตำราหรือหนังสือเป็นพันๆ เล่ม แต่เราสามารถว่ายน้ำเป็นก็ด้วยการลงไปว่ายน้ำนั้นเอง


เมื่อท่านท้อแท้ให้ท่านคิดถึง คนที่พอเป็นแบบอย่างที่ดีให้ท่านได้ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น เรียนหนังสือในระบบไม่ถึง 1 ปี แต่ท่านสามารถเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ได้ ก็ด้วยการที่ท่านฝึกไปเรียนไปนั้นเอง , ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนักพูดทางการเมืองของไทยคนหนึ่ง จนได้รับฉายาว่า “ ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง ” ก็เป็นลูกแม่ค้า ไม่ได้เกิดมามีฐานะร่ำรวยอะไร แต่ท่านก็ฝึกไปเรียนไป จนเป็นนักพูดทางการเมืองระดับชาติ หรือแม้แต่อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ท่านก็เป็นนักพูดการเมืองระดับชาติก็ด้วยการฝึกไปเรียนไปเหมือนกัน


ในทางจิตวิทยา ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เคยกล่าวว่า “ เราไม่จำเป็นที่จะต้องกังวล เกี่ยวกับการฝึกเลย ขอให้เราฝึกไปเรียนไป ตลอดเวลา อย่าหยุด แล้ววันหนึ่งเราก็จะพบว่า เราไม่เป็นรองใครเลยในวงการนั้นๆ ” เช่นเราอยากเป็นนักพูดก็ขอให้ฝึกไปเรียนไปตลอดเวลาอย่าหยุดยั้ง แล้ววันหนึ่งฝันของเราก็จะเป็นความจริงในที่สุด

...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.