หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  กฎหมายกับหนี้สิน
  -  กฏหมายธุรกิจ
  -  ค้ำประกัน
  -  เรามีโอกาสรอดคุกรอดตะรางได้อย่างไร
  -  ดูหมิ่น
  -  ความผิดฐาน หมิ่นประมาท
  -  หมิ่นประมาททั่วไป
  -  ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
  -  การค้ามนุษย์ภัยร้ายในสังคมไทย
  -  เขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิด
  -  Marketing Mindset
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
กฎหมายกับหนี้สิน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การไม่เป็นหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ , มีคนกล่าวว่าคนเราถ้าเสียเรื่องเงินจะทำให้เรื่องอื่นเสียไปด้วย
ในวันนี้เราจะมาพูดเรื่องของหนี้สิน ซึ่งเรื่องของการเป็นหนี้ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทย จนมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่มีหนี้ก็ไม่มีหน้า เพราะบางคนหน้าใหญ่ชอบเลี้ยงเพื่อนฝูง จนต้องก่อหนี้หรือนำเงินในอนาคตมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากในเรื่องของการบริหารเงิน คนไทยก่อหนี้กันมากในปัจจุบันทำให้วินัยในการใช้เงินของคนไทย เรามีปัญหามาก ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหนี้และวิธีแก้ไขปัญหา
เคยมีคนตั้งคำถามกับผมว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ต่างคนต่างทำธุรกิจและมีหนี้สิน เมื่อจดทะเบียนสมรสกันแล้ว หนี้สินนั้นจะเป็นหนี้สินส่วนตัวหรือเป็นหนี้สินร่วมกัน ผมขอตอบว่า หากสามีภรรยาคู่นี้ มีหนี้สินอยู่แล้ว แล้วจึงแต่งงานกันและจดทะเบียนสมรส หนี้สินนั้นเป็นหนี้สินส่วนตัวครับ
แต่หากเป็นหนี้ในระหว่างสมรส โดยหลักแล้ว คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบกันเองเป็นการส่วนตัว เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมกันหรือที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหนี้ร่วมกันแล้วจึงจะรับผิดชอบร่วมกัน
เช่นจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ทำธุรกิจร่วมกันโดยกู้หนี้มา ถือว่า ต้องเป็นหนี้สินรวมต้องใช้หนี้ร่วมกันโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ก่อหนี้เพื่อซื้อบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ซื้อรถ นำเงินจากการกู้หนี้มาใช้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายหนึ่ง การอุปการะเลี้ยงดูครอบครัว การนำเงินไปลงทุนร่วมกัน หรือ
การที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไปกู้เงินแล้วอีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญายินยอม ก็ถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันจึงถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับรู้ การก่อหนี้อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว อาจจะรับรู้โดยการเซ็นยินยอมคู่สมรส หรือเซ็นพยานหรือรับรู้โดยปากเปล่าก็ถือว่าทราบแล้ว จึงต้องรับหนี้ร่วมกัน
ดังนั้นถ้าคิดจะกู้หนี้หรือนำเงินในอนาคตมาใช้ต้องคิดใคร่ครวญให้ดีครับ จากประสบการณ์ของผมเคยทำงานธนาคารฯ แห่งหนึ่งโดยอยู่ฝ่ายสินเชื่อ อีกทั้งปัจจุบันกระผมเป็นทนายความจึงได้มีโอกาสเห็นการฟ้องร้องคดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของหนี้สินต่างๆ ในโอกาสนี้อย่างแนะนำเรื่องของการบริหารหนี้กันซักเล็กน้อยครับ หากคุณเป็นหนี้อยู่แล้ว คุณไม่ควรเป็นหนี้เพิ่มหรือหยุดก่อหนี้เพิ่มครับ เช่น
การยกเลิกการใช้บริการบัตรเครดิต ความจริงโดยส่วนตัวกระผมคิดว่าทุกสิ่งในโลกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การใช้บัตรเครดิตก็ถือว่ามีข้อดีทำให้เกิดความสะดวกสบาย แต่ถ้าหากเราไม่มีวินัยในการใช้เงิน อยากได้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลา เราก็ควรยกเลิกดีกว่าครับ เพราะถ้าฝืนมีอาจจะทำให้เป็นหนี้สินมากขึ้นก็ได้
ที่สำคัญควรทำบัญชีครัวเรือน(บัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัว) อีกทั้งควรแยกบัญชีหนี้สินต่างๆ ควรใช้หนี้เจ้าหนี้ที่เสียดอกเบี้ยแพงๆ ก่อน หากเป็นไปได้ควรเจรจาต่อรองเจ้าหนี้หากเราจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย สามารถลดเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้ได้ไหม ควรประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวลง ผมหวังว่าขอแนะนำต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ท่านลดการเป็นหนี้ลงได้บ้าง
ความจริงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเรานี้มีมากมาย ส่วนใหญ่สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาก็คือคนเรานี้เองแหละครับ กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในแก้ปัญหาและลดปัญหา แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ เราจะเห็นปัญหาเรื่องหนี้สินเกิดขึ้นตามหน้าหนึ่งในสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ เช่น การทวงหนี้โหด การฆ่าเจ้าหนี้ การลักขโมยของหรือการเล่นการพนันเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ ฯลฯ ดังนั้นปัญหาจะลดน้อยลงถ้าหากพวกเรามาช่วยกันแก้ไขปัญหา ลดความอยากเพื่อลดการก่อหนี้สินของตนเองและครอบครัว ก็เป็นวิธีหนึ่งในการช่วยลดปัญหาเรื่องหนี้สินไปได้ไม่มากก็น้อย




...
  
กฏหมายธุรกิจ
กฏหมายธุรกิจ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ถ้าพูดถึงกฎหมายธุรกิจแล้ว มักจะมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะ บรรพ 3 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญถึง 23 ลักษณะ คือ ลักษณะ 1 ซื้อขาย ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน ลักษณะ 3 ให้ ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ลักษณะ 5 เช่าซื้อ ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ลักษณะ 7 จ้างทำของ ลักษณะ 8 รับขน ลักษณะ 9 ยืม ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์ ลักษณะ 11 ค้ำประกัน ลักษณะ 12 จำนอง ลักษณะ 13 จำนำ ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า ลักษณะ 15 ตัวแทน ลักษณะ 16 นายหน้า ลักษณะ 17 ประนีประนอม ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด ลักษณะ 20 ประกันภัย ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท ลักษณะ 23 สมาคม
ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุรกิจหรือเอกเทศสัญญาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจ และกระผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนคงมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับกฎหมายเอกเทศสัญญาไม่มากก็น้อย เช่น เรื่องของการค้ำประกัน จำนองและจำนำ
การค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ระบุว่า อันว่าค้ำประกันนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ฉะนั้นเรื่องของการค้ำประกันเป็นเรื่องที่ต้องควรศึกษาและทำความเข้าใจเพราะบางคนต้องใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นคนก่อหนี้ แต่ต้องใช้หนี้แทนผู้อื่น ซึ่งการค้ำประกันมี 2 ชนิด คือ 1.การประกันด้วยบุคคล และ 2.การประกันด้วยทรัพย์สิน
1.การประกันด้วยบุคคล คือ การที่บุคคลหนึ่งเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว เขาจะเป็นผู้ชำระแทนให้ ฉะนั้น สิ่งที่เป็นประกันให้แก่เจ้าหนี้ก็คือ ตัวบุคคลผู้นั้นเอง(ธนวัฒน์ เนติโพธิ์ 2539: 386)
2.การประกันด้วยทรัพย์สิน คือ การที่เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้เป็นการประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งทรัพย์ที่เป็นประกันนี้อาจเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เอง หรือเป็นทรัพย์ของบุคคลภายนอกก็ได้ ซึ่งการประกันด้วยทรัพย์มี 2 ประการ คือ 1.การจำนอง 2.การจำนำ
(ธนวัฒน์ เนติโพธิ์ 2539: 386)
ส่วนการจำนอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 ระบุว่า คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
สำหรับทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้จำนองกันได้คือ อสังหาริมทรัพย์(ที่ดินและบ้านเรือน) , เรือกำปั่น ,แพ , สัตว์พาหนะ(ช้าง ม้า วัว ควาย )
ส่วนการจำนำ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 747 อันว่าจำนำนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้


สำหรับบทความข้างต้นถามว่าทำไมต้องอ้าง ประมวลกฎหมาย มาตราต่างๆ เพราะ กฎหมายเป็นข้อบังคับ ดังนั้นผู้ศึกษากฎหมายจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายมาตราต่างๆ มาให้เข้าใจ อีกทั้งคำบางคำหรือถ้อยคำบางคำ เราอ่านแล้วฟังแล้ว อาจไม่เข้าใจซึ่งต้องอาศัยการตีความตามกฏหมาย
ดังนั้นการศึกษากฏหมายเอกเทศสัญญาจึงมีความสำคัญมากในการดำรงชีพและการประกอบธุรกิจ เพราะจะทำให้เราไม่เสียเปรียบผู้อื่น และที่สำคัญคือเมื่อเรารู้กฏหมายแล้วเราก็ไม่ควรนำความรู้กฎหมายไปเอาเปรียบผู้อื่นด้วย




...
  
ค้ำประกัน
ค้ำประกัน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน หรือ
เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ
ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินสำนวนไทยโบราณ สองประโยคข้างต้นดังกล่าว และต้องยอมรับว่าสองประโยคข้างต้นมีความเป็นจริงอยู่มาก ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของการค้ำประกันกัน
มีคนเคยถามกระผมว่า ค้ำประกันคืออะไร การค้ำประกันคือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอก เรียกว่า “ ผู้ค้ำประกัน ” ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้
ฉนั้นการค้ำประกันตนเองเพื่อชำระหนี้ของตนเองไม่สามารถทำได้ ต้องให้บุคคลภายนอกค้ำประกัน เพราะ ลูกหนี้ย่อมค้ำประกันตนเองอยู่แล้ว
คำว่าบุคคลภายนอกในที่นี้รวมไปถึง นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท สมาคม มูลนิธิ (ซึ่งต้องดูวัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนด้วยว่า มีอำนาจในการทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่) ส่วนบุคคลธรรมดาที่สามารถค้ำประกันได้จะเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลวิกลจริต บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
ฉะนั้นเราจะเห็นนักกฏหมายส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมค้ำประกันให้ใครง่ายๆ ถ้าหากจะให้ค้ำประกันใครขอค้ำประกันเป็นเงินสดยังจะดีกว่า เพราะหากท่านได้ทำสัญญาค้ำประกันให้กับใคร ท่านจะบอกเลิกไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้เขาไว้ใจคนค้ำประกัน เขาถึงยอมให้เงินแก่ลูกหนี้ กฏหมายจึงไม่ยอมให้คนค้ำประกันบอกเลิกสัญญา หากกฏหมายยอมให้บอกเลิกสัญญาได้ความเสียหายก็จะตกแก่เจ้าหนี้นั้นเอง
ฏีกา 980/2513 หากเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกัน โดยไม่เรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน ถือว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้องจากจำเลยผู้ค้ำประกันได้
ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจึงถือว่าเป็นลูกหนี้ลำดับสองหรือชั้นสอง ถ้าหากเจ้าหนี้เรียกผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยไม่ได้ไปบังคับเอาหนี้กับลูกหนี้ลำดับหนึ่งหรือชั้นหนึ่งก่อน ผู้ค้ำประกันสามารถที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปบังคับกับลูกหนี้ก่อน แต่เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ครบ ผู้ค้ำประกันจึงจะต้องชำระหนี้แทน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องดูรายละเอียดของสัญญาค้ำประกันด้วย ถ้าหากในสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้เงินแทนลูกหนี้ในทันทีที่ได้รับการทวงถามโดยมิพักต้องเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ก่อน ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน คนใดคนหนึ่งชำระจนสิ้นเชิงสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา ตามฏีกา3553/2533
สำหรับการระงับของสัญญาค้ำประกันสามารถระงับได้โดย เมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับ เมื่อผู้ค้ำประกันบอกเลิกการค้ำประกัน ทั้งนี้ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าหนี้ก่อน เมื่อระยะเวลาในการค้ำประกันสิ้นสุดลง และเมื่อเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ถามว่าแล้วอย่างนี้ การเป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิจะหลุดหรือไม่เวลาถูกฟ้องร้อง บางคดีหลุดครับ แต่มีน้อยมาก หลุดเพราะ ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 “ การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวในอนาคตได้ โดยบอกกล่าวความประสงค์ไปยังเจ้าหนี้ ในกรณีเช่นนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในกิจการที่ลูกหนี้กระทำลงภายหลังคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงเจ้าหนี้ ”
กิจการต่อเนื่องหลายคราวที่ผู้ค้ำประกันสามารถบอกเลิกได้ เช่น สัญญาการค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง ที่ไม่มีกำหนดเวลา , สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี(OD) ที่กำหนดให้ลูกค้าเบิกเงินเป็นคราวๆ (ฏีกา 500/2507,1945/2537)
ดังนั้นหากท่านถูกฟ้องดำเนินคดีในฐานค้ำประกัน ท่านลองไปศึกษา มาตรา 699 ดูครับ อาจเป็นทางออกของท่านได้อีกทางหนึ่ง “ สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ” ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ก็อาจพลาดและพลั้งได้เช่นกันครับ






...
  
เรามีโอกาสรอดคุกรอดตะรางได้อย่างไร
เรามีโอกาสรอดคุกรอดตะรางได้อย่างไร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
การกระทำความผิด โดยเฉพาะการกระทำความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 มี 5 สถาน คือ 1.ประหารชีวิต 2.จำคุก 3.กักขัง 4.ปรับ และ 5.ริบทรัพย์สิน หมายเหตุ โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี และ ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษ ดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี
แต่ถ้าท่านหรือญาติของท่านเป็นคนหนึ่งที่ถูกคดีฟ้องร้องถึงขั้นจำคุก ท่านสามารถรอดคุกรอดตะรางได้ โดยมีปัจจัยที่ทำให้ท่านรอดคุกรอดตะรางดังนี้
- หากว่าท่านเป็นจำเลย ถ้าหากพยานโจทก์เบิกความไม่ดีหรือผิดพลาด ท่านอาจรอดคุกรอดตะรางได้ กระผม
ขออธิบายเพิ่มเติม ในการทำคดีอาญา จะมี 2 ฝ่ายเสมอ คือมีโจทก์เป็นผู้ฟ้อง และมีจำเลยคือผู้ถูกฟ้อง และการสืบพยานก็มักจะมีพยาน 2 ฝ่าย คือ พยานโจทก์และพยานจำเลย โดยที่พยานโจทก์จะเบิกความเพื่อกล่าวหาว่าจำเลยมีความผิดและพยานจำเลยก็มักจะเบิกความว่าจำเลยไม่ผิด ดังนั้น พยานโจทก์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้จำเลยติดคุกได้ หากว่าพยานโจทก์เบิกความไม่ดีหรือผิดพลาด จำเลยก็มีสิทธิหลุดได้ อีกทั้งแนวทางการต่อสู้ของทนายความจำเลยก็มีความสำคัญ กล่าวคือหากทนายความจำเลยสามารถถามค้านพยานโจทก์ เพื่อให้พยานโจทก์ตอบให้เกิดความสงสัยได้ยิ่งมากยิ่งดีจะทำให้ศาลมีโอกาสยกฟ้องได้สูงขึ้น
- เด็กมีสิทธิรอดคุกรอดตะรางหรือไม่ มีครับ ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษพนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หมายเหตุ : มาตรา 73 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
มาตรา 74 เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(2) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดซึ่งต้อง ไม่เกินสามปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละหนึ่งหมื่นบาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
- ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาวางข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาสอบถามว่า จะยอมรับข้อกำหนดทำนองที่บัญญัติไว้สำหรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมาข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ยอมรับข้อกำหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้แก่บุคคลนั้น ไปโดยวางข้อกำหนดดังกล่าว
(3) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ตาม (2) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้นเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 56 ด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น
(4) ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กนั้นได้ หรือถ้าเด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวใน (2) ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูแลอบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม ในกรณีเช่นว่านี้ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่นผู้ปกครองเฉพาะเพื่อ ดูแล อบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการกำหนดที่อยู่และการจัดให้เด็กมีงานทำตามสมควร หรือให้ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ได้ หรือ
(5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี
- คำสั่งของศาลดังกล่าวใน (2) (3) (4) และ (5) นั้น ถ้าใน ขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ความปรากฏแก่ศาลโดย ศาลรู้เอง หรือตามคำเสนอของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือ บุคคลหรือองค์การที่ศาลมอบตัวเด็กเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอนหรือ เจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปก็ให้ ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้น หรือมีคำสั่งใหม่ตามอำนาจ ใน มาตรานี้
หมายเหตุ : มาตรา 74 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2551
สำหรับ เรามีโอกาสรอดคุกรอดตะรางได้อย่างไร กระผมจะทยอยเขียนเป็นตอนๆ เพราะยังมีอีกหลายกรณีที่เราสามารถรอดคุกรอดตะรางซึ่งสามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น คนบ้ามีสิทธิรอดคุกรอดตะรางได้ , ครอบครัวสามีภรรยาพี่น้องลูกหลานพ่อแม่ทำผิดอาญาต่อกันสามารถรอดคุกรอดตาราง(ในบางกรณีครับ) ฯลฯ


...
  
ดูหมิ่น
ดูหมิ่น
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ตามประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติไว้ใน มาตรา 393 “ ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ซึ่งองค์ประกอบความผิดของมาตรา 393 มีดังนี้
1.ดูหมิ่น
2.ผู้อื่น
3.ซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา
4.โดยเจตนา
จากองค์ประกอบข้างต้นกระผมขออธิบายเพิ่มเติม
1.ดูหมิ่น จากพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดย นายมานิต มานิตเจริญ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ ดูหมิ่น” คือ เหยียดหยาม , ดูถูก,เหยียบย่ำ,ดูหมิ่นดูแคลน,ดูหมิ่นถิ่นแคลน
เช่นฏีกาที่ 1623/2551 คำว่า ทนายเฮงซวย ตามพจนานุกรม คำว่า “ เฮงซวย” หมายถึง เอาแน่นอนไม่ได้ , เลว , ไม่ดี ฉะนั้น คำว่า “ทนายเฮงซวย” จึงเป็นถ้อยคำคำด่าที่ทำให้โจกท์เกิดความเสียหาย เป็นการทำให้ถูกเหยียดหยาม จึงมีความผิดตาม ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 393
2.ผู้อื่น คือ ผู้เสียหายหรือบุคคลซึ่งถูกดูหมิ่น โดยมากมักจะเป็นบุคคลธรรมดา
3.ซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา
ซึ่งหน้า หมายถึง ทำต่อหน้า ไม่ทำลับหลัง กับผู้ที่ถูกดูหมิ่น
ด้วยการโฆษณา หมายถึง กระทำอย่างเผยแพร่เพื่อให้คนอื่นรู้ เช่น ลงสื่อต่างๆ (หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต)
4.โดยเจตนา คือ ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนา ต้องตั้งใจ จงใจ ที่ดูหมิ่น
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการตีความที่มากขึ้น ขอให้ท่านลองเข้าไปดู ฏีกาต่างๆ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าการตีความจะเข้าความผิดฐานดูหมิ่นหรือไม่ เช่น ฏีกาที่ 5772/2542 , ฏีกาที่ 3800/2527 , ฏีกาที่ 2220/2518,ฏีกาที่ 2089/2511 , ฏีกาที่ 3176/2516 , ฏีกาที่ 259/2514 เป็นต้น)
...
  
ความผิดฐาน หมิ่นประมาท
ความผิดฐาน หมิ่นประมาท
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
หากพูดถึง เรื่องความผิดฐาน หมิ่นประมาท แล้ว อาชีพที่ดูเหมือนจะต้องมีส่วนเกี่ยวพันกับกฏหมายหมิ่นประมาท ส่วนมากจะเป็นผู้ที่ใช้ ปาก หรือ ปากกา หรือ อาชีพที่ใช้คำพูดและการเขียน เช่น นักการมือง , นักหนังสือพิมพ์ , สื่อมวลชน , บุคคลที่มีชื่อเสียง ฯลฯ
สำหรับการดำเนินคดี ผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีได้ 2 วิธี คือ
1.ผู้เสียหายสามารถ แจ้งความ “ร้องทุกข์” ต่อเจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน แล้ว เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็จะส่งเรื่องไปที่พนักงานอัยการ แล้วพนักงานอัยการ ก็จะเป็น “ โจทก์” ฟ้องคดีต่อศาลให้แก่ท่าน ซึ่งการดำเนินคดีวิธีนี้ อาจมีความล่าช้า เนื่องจากพนักงานสอบสวน และ พนักงานอัยการ อาจมีงานมาก อีกทั้ง บางคดี เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนและอัยการมีความเห็นไม่ตรงกันหรือแตกต่างกัน เช่น หลักฐานยังมีไม่มากพอ , การพูดหรือการเขียนยังขาดเจตนา , การตีความต่างกันว่าผู้ต้องหาผิดหรือไม่ผิด ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการฟ้องร้องคดีให้แก่ท่านได้ หรือ ท่านต้องการให้ฟ้องร้องหลายคดี หลายมาตรา แต่พนักงานอัยการ พิจารณาฟ้องเฉพาะบางข้อหา บางคดี หรือบางกระทง ไม่สามารถฟ้องคดีต่อศาล ตามที่ท่านต้องการให้ฟ้องได้
2.ผู้เสียหายสามารถว่าจ้างทนายความฟ้องคดีต่อศาลเองได้ สำหรับผู้ที่มีเงิน มีฐานะ มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่จะเลือกวิธีนี้ เพราะผู้เสียหาย สามารถให้ทนายความยื่นฟ้องต่อศาลได้ทุกข้อหา ทุกมาตรา ทุกกระทง ทนายความอาจยื่นฟ้องต่อศาลพร้อมๆกัน หลายคดี หลายท้องที่ หลายศาล ที่เกิดความผิดฐาน หมิ่นประมาท
โดยปกติคดีหมิ่นประมาท เป็นคดีที่ไม่ใหญ่โตมาก ไม่เหมือนคดีอาญาประเภท ยาเสพติดให้โทษ ฆ่ากันตาย แต่เป็นคดีที่ผู้เสียหายต้องการที่จะ “รักษาชื่อเสียง เกียรติยศ หน้าตา” ของตนเอง โดยเฉพาะ นักการเมือง ดารา สื่อมวลชน
ฉะนั้น ก่อนจะที่พูดหรือเขียนอะไรลงไป พึงมีสติ ว่าคำพูดนั้น จะก่อความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่ และมีอีกหลายกรณี ที่ผู้พูดหรือผู้เขียน มีสติ จงใจ พูดหรือเขียน เนื่องจากความโกรธเคืองกัน การอาฆาตพยาบาท ซึ่งในการพุทธศาสนา สอนไว้ว่าควรให้ อภัยด้วยการแผ่เมตตา เพื่อลดโทสะ ไม่ให้พยาบาทต่อกัน
ซึ่งกฏหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับการหมิ่นประมาทมีดังนี้
1.หมิ่นประมาททั่วไป(ม.326)
2.ดูหมิ่น(ม.393)
3.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ(ม.112,ม.133,ม.134)
4.ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน(ม.136)
5.ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา(ม.198)
6.ละเมิคอำนาจศาล(ป.วิแพ่ง ม.30-33)
7.หมิ่นประมาทผู้ตาย(ม.327)
8.หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา(ม.328)
9.ข้อยกเว้นไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท(ม.329,ม.330)
10.ข้อยกเว้นไม่เป็นความผิดในการดำเนินคดีในศาล(ม.331)
11.เอกสิทธิ์เด็ดขาดและไม่เด็ดขาด(รัฐธรรมนูญ มาตรา 130,มาตรา 135)
ดังนั้น บุคคลที่ใช้ ปากหรือปากกา บุคคลที่ใช้ คำพูดหรือข้อเขียน ในการประกอบอาชีพ ควรที่จะศึกษากฏหมายหมิ่นประมาท โดยเฉพาะ อาชีพนักการเมืองซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ปากหรือคำพูด เพื่อใช้ในการปราศัย หาเสียงเลือกตั้ง หากเราลองสังเกตดู จากเวทีหาเสียงหรือเวทีการพูดทางการเมือง บางคนด่าคนอื่นจนสาดเสียเทเสีย ผู้ฟังสะใจ แต่ไม่เข้าข่ายความผิดหมิ่นประมาท แต่บางคน พูดธรรมดาๆ แต่กลับโดนข้อหาหมิ่นประมาท
เช่นกัน นักหนังสือพิมพ์ บางคน เขียนข้อความด่าผู้อื่น แต่ไม่เข้าข่ายความผิดหมิ่นประมาท แต่นักหนังสือพิมพ์อีกคน ให้ข้อมูลพื้นๆ ทั่วๆไป แต่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท
ฉะนั้น นักการเมือง จึงต้องมีศิลปะในการพูด เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าคุก นักหนังสือพิมพ์ก็เช่นกัน ควรมีศิลปะในการเขียน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าตะราง และที่สำคัญควรที่จะศึกษา กฏหมาย ความผิดฐาน หมิ่นประมาท เอาไว้ด้วย


...
  
หมิ่นประมาททั่วไป
หมิ่นประมาททั่วไป
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 ระบุว่า “ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 เราสามารถแยกองค์ประกอบของความผิดได้ดังนี้
1.ใส่ความ
2.ผู้อื่น
3.ต่อบุคคลที่สาม
4.โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น( เสียชื่อเสียง,ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง)
5.โดยเจตนา
ซึ่งจะขออธิบายในรายละเอียดแยกเป็นข้อๆ ดังนี้
1.ใส่ความ จากพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดย นายมานิต มานิตเจริญ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ ใส่ความ ” หมายถึง “ กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย” ซึ่งอาจจะกระทำโดยทางคำพูด ทางการเขียน หรือ ทางการโฆษณา ก็ได้ (ทั้งนี้ อาจไม่ต้องได้รับโทษ ถ้าพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริง และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ตามมาตรา 330)
หมายเหตุ: มาตรา 330 “ ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน )
2.ผู้อื่น คำว่าผู้อื่นในที่นี้คือ ผู้ที่เสียหายหรือผู้ที่ถูกใส่ความ จะเป็นบุคคล องค์กร หน่วยงาน นิติบุคคล กลุ่มคน ก็ได้
3.ต่อบุคคลที่สาม ถ้าเป็นการด่ากันตรงๆ ทำให้เสียหาย กันเพียง 2 คน จะไม่เข้าความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะจะไปเข้าความผิดฐานดูหมิ่น ฉะนั้น ถ้าจะเข้าความผิดฐานหมิ่นประมาท จะต้องกระทำผิดต่อหน้าบุคคลที่สาม อีกทั้งบุคคลที่สาม ต้องเข้าใจข้อความที่ใส่ความด้วย แต่ถ้าเป็นคนต่างประเทศที่ไม่รู้ภาษาไทย เด็กเล็กๆที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง คนหูหนวก ก็ไม่ถือว่าเป็นบุคคลที่สาม
4.โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น( เสียชื่อเสียง,ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง)
องค์ประกอบข้อนี้
เสียชื่อเสียง หมายถึง ทำให้สูญเสีย ความน่าเชื่อถือ เสียคุณค่า ทำให้ขายหน้า ต่อบุคคลหรือประชาชนในสังคมที่อาศัยอยู่
ถูกดูหมิ่น หมายถึง ถูกเหยียดหยาม ถูกสบประมาท ถูกดูแคลน ถูกทำให้เห็นว่าเป็นคนเลว
ถูกเกลียดชัง หมายถึง ทำให้ผู้อื่นไม่ชอบจนขนาดไม่อยากพบเห็น
5.โดยเจตนา
ผู้กระทำผิดต้องทำ “ โดยเจตนา” กล่าวคือ ต้องทำด้วยความตั้งใจ ความจงใจ หรือมีความมุ่งหมาย เพื่อให้คนอื่น เสียงชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หากว่า ได้ทำไปโดยขาดเจตนาแล้ว ถือว่าไม่เป็นความผิด
ทั้งนี้ หากว่าต้องการทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ขอให้ผู้อ่านลองเข้าไปดูแนวฏีกา ที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาททั่วไป ก็จะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
...
  
ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136 “ ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ตามมาตรานี้ เราจะเห็นได้ว่า อัตราโทษจะมากกว่าการดูหมิ่นทั่วไป(มาตรา 393)
องค์ประกอบความผิด มาตรา 136 มีองค์ประกอบความผิดดังนี้
1. ดูหมิ่น
2. เจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่
3. โดยเจตนา
ฏีกาที่ 2246/2515 “ พนักงานที่ดินหมาๆ ชอบกินแต่เบี้ย” (ชอบกินสินบน) เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
ตามเลขที่ฎีกา 2246/2515 มีผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน พนักงาน
สอบสวนจึงมีหนังสือถึงนายอำเภอ ขอให้สั่งพนักงานที่ดินไปร่วมตรวจพิสูจน์ นายอำเภอสั่งให้ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเสมียนที่ดินอำเภอไปทำการรังวัดสอบเขต การที่ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งของนายอำเภอย่อมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ เมื่อจำเลยกล่าวดูหมิ่นผู้เสียหายด้วยถ้อย
คำว่า "พนักงานที่ดินหมา ๆ ชอบกินแต่เบี้ย (ชอบกินสินบน)" จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อาญา มาตรา 136
ฏีกาที่ 316/2517 “อ้ายจ่า ถ้ามึงจับกู กูจะเอามึงออก” เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
เรื่องย่อๆ ถ้อยคำว่า 'อ้ายจ่า ถ้ามึงจับกู กูจะเอามึงออก' ซึ่งจำเลยกล่าวต่อจ่าสิบตำรวจในขณะที่จะเข้าจับกุมจำเลยในข้อหาฐานบุกรุกอันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายเป็นถ้อยคำที่กล่าวสบประมาท เหยียดหยาม และข่มขู่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นมิให้จับกุมจำเลยอันเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่แล้ว และมิใช่เป็นเพียงการประท้วงการกระทำของเจ้าพนักงาน
ฏีกาที่ 860/2521 “ คุณเป็นนายอำเภอได้อย่างไรไม่รับผิดชอบ” เป็นแค่คำไม่สุภาพ ไม่ถึงเป็นดูหมิ่นตามมาตรา 136
คำพิพากษาฎีกาที่ 860/2521 (สบฎ เน 5617) จำเลยกล่าวว่า "คุณเป็นนายอำเภอได้อย่างไร ไม่รับผิดชอบ" ไม่ได้กล่าวโดยเมาสุรา หรือทุบโต๊ะชวนวิวาท เป็นแต่คำไม่สุภาพ ไม่ถึงดูหมิ่นตาม มาตรา 136
เรื่องย่อๆ มีอยู่ว่า : จำเลยซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดผู้หนึ่งได้ไปสอบถามผู้เสียหายซึ่งเป็นนายอำเภอ ถึงเรื่องที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ทางการปิดประกาศไว้ ผู้เสียหายให้ไปสอบถาม ป. ปลัดอำเภอซึ่งผู้เสียหายมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่เรื่องนี้ แต่จำเลยจะขอสอบถามผู้เสียหายเท่านั้น ผู้เสียหายก็ยืนกรานให้ไปถาม ป. จำเลยจึงพูดว่า "คุณเป็นนายอำเภอได้อย่างไรไม่รับผิดชอบ" ดังนี้เป็นการกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพต่อเจ้าพนักงานเท่านั้น ไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 (ประชุมใหญ่ครั้งที่9/2521)
...
  
การค้ามนุษย์ภัยร้ายในสังคมไทย
การค้ามนุษย์ภัยร้ายในสังคมไทย
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจาย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
สถานการณ์การค้ามนุษย์ของสังคมไทย ในภาวะปัจจุบันมีความรุนแรง มีมากขึ้น กว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการบังคับเด็กเพื่อบังคับใช้แรงงาน บังคับค้าประเวณี ขอทาน ไม่เว้นแม้กระทั่ง ผู้ใหญ่ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นเหยื่อในการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ก็มีเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าชาวต่างชาติที่มาจากประเทศ จีน พม่า ลาว เวียดนาม รัสเซีย ฟิจิและอุซเบกิสถาน ซึ่งชาวต่างชาติเหล่านี้เข้ามาในไทยด้วยความเต็มใจ ก็ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ความยากจน การต้องการเงินทอง โดยส่วนใหญ่ก็จะเข้ามาในรูป การขอทาน การถูกบังคับ ขู่เข็ญ ล่อลวงเพื่อบังคับใช้แรงงานและการขายตัวหรือค้าประเวณี
สำหรับ ความหมายของ การค้ามนุษย์ คือ การจัดหา การส่ง การทำให้เคลื่อนที่ของมนุษย์ โดยบุคคลด้วยวิธีการใช้กำลัง การข่มขู่ การบังคับ โดยการทำเพื่อการค้า การหารายได้ โดยมิชอบ หรือการรับผลประโยชน์ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน การเอาคนมาใช้งานเยี่ยงทาส การนำคนมาขอทาน
ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์มีหลายฉบับมากมาย เช่น
1.ประมวลกฏหมายอาญา 2.พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
3.พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
4.พ.ร.บ.ปราบปรามการทำให้แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามก พ.ศ.2471
5.พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
6.พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 7.พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
8.พ.ร.บ.จัดหางาน และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 9.พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472
10.พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535
11.พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 12.พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2484
ซึ่งหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องและร่วมแก้ไขปัญหาได้แก่
ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครอง,พนักสอบสวน,โรงพยาบาล,นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์,พนักงานอัยการ,ทนายความ,องค์กรพัฒนาเอกชน,กระทรวงยุติธรรม,สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด,ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด,บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ฯลฯ
สำหรับรูปแบบการค้ามนุษย์หรือรูปแบบการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ คือ
1.การค้าประเวณี 2.แสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น 3.การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก (ข้อ 1-3 เน้นเรื่องทางเพศ) 4.การเอาคนลงเป็นทาส 5.การนำคนมาขอทาน 6.การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ 7.การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
ฉะนั้น การค้ามนุษย์ กระบวนการค้ามนุษย์ จึงเป็นภัยร้ายของสังคมไทย ที่พวกเราต้องคอยช่วย สอดส่อง ดูแล เพราะถ้าปัญหา ที่เกิดจากการค้ามนุษย์มีมากขึ้น ก็จะกระทบและก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆตามมา
...
  
เขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิด
เขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ในอดีตใครที่เป็นนักเขียน เวลาจะลงผลงานให้คนอ่านนั้นยากมาก เพราะมีข้อจำกัดอย่างมากมาย เช่น เขียนเสร็จส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา หากไม่ได้รับการพิจารณาก็ไม่รู้จะเอาผลงานเขียนไปเผยแพร่ที่ไหน ถ้าหากจะลงทุนพิมพ์เองก็มีต้นทุนที่แพงมากเมื่อเทียบกับยุคปัจจุบัน
แต่ในยุคปัจจุบัน นักเขียนทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น นักเขียนสามารถหาข้อมูลได้อย่างง่ายดายโดยผ่านอินเตอร์เน็ต นักเขียนสามารถพิมพ์ได้สะดวกขึ้น พิมพ์ผิดก็แก้ไขได้อย่างง่ายดายโดยใช้เครื่องมือคือคอมพิวเตอร์ที่มาทดแทนการใช้พิมพ์ดีด และนักเขียนสามารถเผยแพร่งานเขียนได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะผ่านช่องทาง ทางอินเตอร์เน็ต เช่น ทาง Facebook , Blog , เว็บไซต์ ฯลฯ
ดังเราจะเห็นได้จากยุคแรกๆ เว็ปไซต์พันทิพย์(pantip) ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยได้ไปเขียนกัน ในขณะเดี๋ยวกันก็มีคนอ่าน ต่อมาได้มี Blog ซึ่ง Blog นี้ มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สำหรับนักเขียน เพราะBlog แต่ละ Blog เป็นของตนเอง สิ่งเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้คนได้มีการฝึกฝนการเขียน ซึ่งทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมาอย่างมากมาย เมื่อเราเข้าไปในร้านขายหนังสือเราก็จะพบเห็นผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ๆ หรือออกหนังสือเล่มแรก เป็นต้น
สิ่งที่ตามมาก็คือ นักเขียนสร้างผลงานขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว ก่อให้เกิดชื่อเสียง รายได้ ตามมา แต่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือผิดกฎหมายก็คือ นักเขียนบางคนที่ขาดจริยธรรม ขาดคุณธรรม ขาดจิตสำนึกก็จะไปละเมิดงานเขียนของผู้อื่น ก่อให้เกิดการฟ้องร้องกันขึ้นมา
ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดในการเขียนในได้แก่ การหมิ่นประมาท , การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล, Hate Speech (วาจาที่สร้างความเกลียดชัง),การเขียนสื่อลามกเด็ก ,ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
การหมิ่นประมาท คือ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ระบุถึงการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คือ บุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิส่วนบุคคลตามกฏหมาย
เช่นการได้รับการคุ้มครองจากการเขียนข้อมูลประเภทดูถูก/ดูหมิ่นทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียงผ่านสื่อบนอินเทอร์เน็ต หรือโดยการเผยแพร่/ ปลอมแปลงข้อมูลส่วนบุคคล หรือการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
Hate Speech (วาจาที่สร้างความเกลียดชัง) ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับสังคมที่มีการแตกแยก ดังประเทศไทยเราที่มีการแบ่งสีเสื้อต่างๆ หรือมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ซึ่งมักจะประดิษฐ์ถ้อยคำหรือวาทกรรมที่มีความดุเดือด รุนแรง เพื่อออกมาโจมตีกัน ทางด้านคำพูดและทางด้านการเขียน เช่นคำว่า "ไพร่", "สลิ่ม", "วิปริตทางเพศ" ฯลฯ
การเขียนสื่อลามกเด็ก คือ การเขียนหรือใช้เอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งสื่อหรือแสดงให้รู้หรือเห็นถึงการกระทำทางเพศของเด็ก ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี (กำหนดอายุไม่เกิน 18 ปี เนื่องจากประเทศไทยต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ)
ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลงานที่ประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมถึงการเขียน โดยเน้นการผลิตด้วยสติปัญญา ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธ์ ซึ่งกฏหมายลิขสิทธิ์ (Copyright)
จะเกี่ยวข้องกับผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังนี้ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ เป็นต้น
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ในยุคของสังคมอินเตอร์เน็ต เราสามารถทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ได้อย่างง่ายดายโดยบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าตนเองทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ เช่น บางคนตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อแชร์ข้อมูลต่างๆ โดยการสแกนหนังสือขาย บางคนซื้อหนังสือ E-book มาได้แล้ว ก็เสนอขาย E-book ต่อซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นมาอย่างมากมาย จึงทำให้นักเขียนและนักลงทุน(สำนักพิมพ์)เสียหาย แล้วจึงเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นมา
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.