หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  เทคนิคการเขียนบทความ
  -  อยากเป็น นักเขียนต้องเขียน
  -  ทำอย่างไร.....ให้เขียนเก่ง
  -  บทความที่ลงตะกร้า
  -  นักเขียนบทความ
  -  เส้นทางสู่นักเขียน
  -  หลักการเขียน
  -  อยากเขียนเก่งต้องเขียน
  -  ทำไมถึงต้องอ่านหนังสือ
  -  คุณสมบัตินักเขียน
  -  เขียนสู่อิสรภาพ
  -  เขียนให้เก่งอย่างนักเขียน
  -  การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หนังสือ
  -  ความสำเร็จในงานเขียน
  -  ปัญหาในการเขียนหนังสือ
  -  การพัฒนาทักษะการเขียน
  -  ก้าวสู่อาชีพนักเขียน
  -  เขียนหนังสือเก่ง..ชีวิตดีขึ้น
  -  เทคนิคการทำให้ผู้อ่านสนใจ
  -  เขียนอย่างไรให้ผู้อ่านชื่นชอบ
  -  ความสำคัญของงานเขียน
  -  หัวใจนักเขียน
  -  การฝึกการเขียน
  -  Leadership On Paper
  -  ศิลปะการเขียน
  -  ประโยชน์ของการเขียนมีมากกว่าที่คุณคิด
  -  จงยกระดับงานเขียน
  -  ABCD กับการเขียน
  -  คุณประโยชน์ของการอ่าน คือ หน้าต่างแห่งโลกกว้าง
  -  เขียนสู่อิสระภาพ
  -  สร้างจิตวิญญาณเพื่องานเขียน
  -  ลีลาการเขียน
  -  การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
เขียนสู่อิสรภาพ
เขียนสู่อิสรภาพ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การเขียนหนังสือ การเขียนตำรา การเขียนแผนธุรกิจ การเขียนโครงการ การเขียนโปรแกรม การเขียนเรียงความ การเขียนบทความ การเขียนนิยาย การเขียนสารคดี การเขียนรายงาน ฯลฯ การเขียนเหล่านี้ ได้สร้างชื่อเสียง ได้สร้างความร่ำรวยให้แก่ผู้คนมามากต่อมากแล้ว
คนที่มีความคิดดีๆ แต่ถ้าเขียนไม่ดี เขียนไม่เก่ง เขาก็ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจและชื่นชอบได้
คนที่มีความรู้มากมาย แต่ไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการเขียนให้ผู้คนอ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ ความรู้นั้น ก็เปล่าประโยชน์
คนที่ต้องการเป็นนักหนังสือพิมพ์ แต่ไม่สามารถถ่ายทอดการเขียนข่าว การเขียนบทความ การเขียนสารคดี ให้คนติดตามหรือสนใจได้ นักหนังสือพิมพ์คนนั้นก็ไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าในสายงานของตนได้
ฉะนั้นงานเขียน จึงมีความสำคัญมาก งานเขียนจะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ กับผู้คน ผู้อ่าน อีกทั้งตัวนักเขียนเอง
บุคคลที่ต้องการความก้าวหน้า ต้องการประสบความสำเร็จจึงควรพัฒนางานเขียนให้ก้าวหน้าตลอดเวลา ฝึกฝน ฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างชื่อเสียง ให้แก่ตนเอง
เขียนสู่อิสรภาพ เราสามารถใช้การเขียนเพื่อปลดปล่อยสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขององค์ความรู้ ความคิด ความฝัน หรือสิ่งต่างๆ ที่ท่านต้องการเล่าเรื่อง เล่าประสบการณ์
เขียนสู่อิสรภาพ เราสามารถใช้งานเขียนเพื่อสร้างรายได้ เมื่อท่านมีรายได้มากๆ ท่านก็สามารถปลดปล่อยตนเองจากภาระต่างๆ ได้ เช่น การทำงานประจำที่ต้องมีระบบในการทำงาน ซึ่งหลายๆท่านไม่ชอบ
เขียนสู่อิสรภาพ เราสามารถใช้งานเขียนเพื่อปลดปล่อย ผู้คนหรือผู้อ่าน ออกจากความคิดที่เป็นลบเช่น การหมดกำลังใจ , การไม่พัฒนาตนเอง , การใฝ่ต่ำ , การขี้เกียจ , การขาดเป้าหมายในชีวิต ฯลฯ
โดยใช้งานเขียนปลดปล่อยหรือเปลี่ยนแปลง ให้ผู้อ่าน เปลี่ยนความคิดจากลบมาเป็นคิดบวก เช่น ทำให้ขยันยิ่งขึ้น , ทำให้มีเป้าหมายในชีวิต , ทำให้เป็นคนกระตือรือร้น , ทำให้เป็นคนมีความทะเยอทะเยน ฯลฯ
เคยมีคนถามผมว่า แล้วผมจะเริ่มต้นอย่างไรละ ในการเขียน เราควรเริ่มต้นเขียนในสิ่งที่เรามีความรู้ มีประสบการณ์ หรือ มีความอยากที่จะเขียนในเรื่องนั้นๆ ก่อน ไม่ควรเขียนในสิ่งที่ตนไม่รู้ ไม่เข้าใจ
ซึ่งองค์ความรู้ของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน อีกทั้งประสบการณ์ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน จงเริ่มต้นเขียน และไม่ควรกังวลมากจนเกินไป เช่น คิดว่าตนเองเขียนได้ไม่ดี หรือ คิดว่าจะมีใครอ่านผลงานของเราหรือเปล่า (กล่าวคือ ไม่ควรคิดในแง่ลบ การคิดในแง่ลบมากๆ จะทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจในตนเองได้ จงคิดในแง่บวกเสมอ)
เพราะการเขียนเริ่มจากความคิด ประสบการณ์ ความรู้ของคนนั้นๆ หากมีคนพันคน เขียนเหมือนกันพันคน แล้วจะเป็นอย่างไรครับ ฉะนั้นเราจงมั่นใจในตนเอง เขียนไปตามแบบฉบับของเราเอง
สุดยอดนักเขียน อาชีพใดๆ ก็ตาม หากมีความมุ่งมั่น ขยัน พยายาม อดทน รักในอาชีพในนั้น ก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จและเป็นสุดยอดของวงการนั้นๆ ได้ อาชีพนักเขียนก็เช่นกัน ตอนเขียนใหม่ๆ เราอาจจะไม่มีรายได้จากงานเขียนหรือมีรายได้น้อยมาก แต่หากว่าเรามุ่งมั่น พยายาม เรียนรู้ ฝึกฝน อดทน มีวินัย ก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับทุกอาชีพ หากว่าคนนั้นๆ มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
ทำอย่างไรให้เป็นนักเขียนมืออาชีพ หากต้องการเป็นนักเขียนมืออาชีพ เราก็ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง เช่น อ่านหนังสือประเภทต่างๆ ให้มาก หาความรู้หาเทคนิคเกี่ยวกับประเภทงานเขียนที่เราถนัด ในบางครั้งเราก็ควรยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อมาปรับปรุงงานเขียนของเรา และสิ่งที่สำคัญคือ ท่านต้องเขียนทุกวัน เขียนจนเป็นนิสัย
ท้ายนี้ หากว่าท่านผู้อ่านต้องการอิสรภาพ กระผมเชื่อว่าการเขียนก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะนำพาท่านไปสู่อิสรภาพได้ หากว่าท่านต้องการอย่างแท้จริง จงปลดปล่อยความคิด ประสบการณ์ ความรู้ดีๆ ในตัวท่านด้วยการเขียน หากท่านเขียนได้ดีเป็นที่ยอมรับ มีผู้อ่านซื้อหนังสือของท่านมากๆ ท่านก็สามารถปลดปล่อยตนเองจากงานประจำที่หลายๆท่านเบื่อหน่ายได้เช่นกัน






...
  
เขียนให้เก่งอย่างนักเขียน
เขียนให้เก่งอย่างนักเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
งานเขียนเป็นอาชีพอิสระ งานเขียนเป็นอาชีพที่สามารถบริหารเวลาในการทำงานด้วยตนเองได้ งานเขียนสามารถสร้างรายได้มากมายมหาศาล สำหรับคนที่เขียนเก่งและสามารถเขียนในแนวที่ตลาดมีความต้องการได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม งานเขียนเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องอาศัยองค์ความรู้อยู่พอสมควร ถ้าไม่มีองค์ความรู้ท่านก็ไม่สามารถเขียนถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ที่ท่านต้องการถ่ายทอดได้
ทำอย่างไรถึงจะเขียนให้เก่งอย่างนักเขียน เคยมีคนตั้งคำถามนี้กับกระผมอยู่บ่อยๆ โดยส่วนตัวกระผมคิดว่า การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตามในโลกนี้ บุคคลที่ประกอบอาชีพนั้นๆ หากต้องการความสำเร็จ ท่านจำเป็นจะต้องมีการพัฒนา ทั้งการพัฒนาตนเอง การพัฒนาทักษะ การพัฒนาความรู้ การพัฒนาความคิด การพัฒนาจิตใจ เป็นต้น
หากว่าท่านต้องการประสบความสำเร็จในวิชาชีพต่างๆ แต่ท่านขาดการพัฒนา ชีวิตการทำงานของท่านก็จะนิ่ง ไม่มีความก้าวหน้า แต่ถ้าหากท่านมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การประกอบอาชีพนั้นๆ ก็จะเจริญก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพและปริมาณ
การจะเขียนให้เก่งอย่างนักเขียนก็เช่นกัน ท่านควรเริ่มต้นจากการฟังหรืออ่าน แนวความคิดของนักเขียนแต่ละท่านว่านักเขียนเหล่านั้นมีเทคนิคอย่างไรเวลาเขียน มีแรงบันดาลใจอย่างไรถึงได้สร้างผลงานที่มีคุณภาพและปริมาณออกมาอย่างมากมาย เมื่อท่านได้เทคนิค วิธีการ ต่างๆจากบรรดานักเขียนแล้ว ท่านลองนำไปปฏิบัติ นำไปปรับปรุง ดัดแปลง วิธีการต่างๆ เหล่านั้น ท่านก็จะเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียนภายในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่บรรดานักเขียนที่ประสบความสำเร็จมีเหมือนกันก็คือ
1.การอ่าน การอ่านเป็นเส้นทางของการเป็นนักเขียน นักอ่านทุกคนอาจไม่ใช่นักเขียน แต่นักเขียนทุกคนจะต้องเป็นนักอ่าน การอ่านหนังสือต่างๆ จะทำให้งานเขียนนั้นเกิดการพัฒนา หากไม่ชอบอ่านเราก็จะไม่รู้แนวทางในการเขียนรูปแบบต่างๆ หรือประเภทต่างๆ เช่น การใช้ภาษา การใช้สำนวน การใช้โวหาร การใช้ถ้อยคำ การเว้นวรรค การเล่นคำ การใช้รูปแบบตัวอักษร การสร้างเอกลักษณ์ของนักเขียนแต่ละท่าน เป็นต้น
2.แรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะเป็นนักเขียน เป็นสิ่งหนึ่งที่บรรดานักเขียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี กล่าวคือ เมื่อนักเขียนมีแรงบันดาลใจ มีเป้าหมายในชีวิตในการทำงานที่อยากเป็นนักเขียน นักเขียนผู้นั้นก็จะมีความขยันขันแข็งที่จะเขียน มีความตั้งใจที่จะพยายามพัฒนางานเขียนของตนเอง มีความอดทนต่ออุปสรรค การประกอบอาชีพหรือการทำกิจการใดๆ ก็ตาม หากต้องการประสบความสำเร็จจะต้องใช้เวลา เช่น นักมวยแชมป์โลก ไม่ได้ชกแค่ครั้งเดียวแล้วได้เป็นแชมป์โลก แต่ต้องฝึกซ้อม ฝึกฝน พยายาม มานะ อดทน กว่าจะประสบความสำเร็จในการเป็นแชมป์โลก นักเขียนก็เช่นกัน ไม่ใช่เขียนหนังสือออกมาแล้ว 1 เล่ม แล้วไม่ดัง ก็เลิกล้ม หากมีนิสัยอย่างนี้ก็คงประสบความสำเร็จได้ยาก
3.แนวคิดหรือการคิด การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตามหากทำเหมือนคนอื่น ผลที่ออกมาก็จะไม่แตกต่างจากคนอื่นๆ แต่หากเรากล้าที่จะทำให้สิ่งที่ต่างแตก ผลที่ออกมาเราก็จะได้รับผลสำเร็จที่แตกต่างจากคนอื่นๆ เช่นกัน จงสร้างความแตกต่างแล้วจะมีคนตามอ่านหนังสือของท่านเป็นจำนวนมาก
4.ทำทันที สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นนักเขียนก็คือ ทำทันที “ จงอย่าบอกโลกว่าท่านทำอะไรได้บ้างแต่จงแสดงมันออกมา” มีคนเป็นจำนวนมากอยากเป็นนักเขียน แต่ไม่ยอมลงมือที่จะเขียน หากท่านไม่ย่อมเดินก้าวแรก ท่านก็ไม่มีวันที่จะถึงจุดหมายปลายทาง เช่นกัน หากว่าท่านอ่านมากแต่ไม่ยอมเขียน ท่านได้เป็นแค่นักอ่านไม่ใช่นักเขียน , หากว่าท่านมีแรงบันดาลใจแต่ท่านก็ไม่ลงมือที่จะกระทำคือลงมือเขียน แรงบันดาลใจแทบจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย และหากท่านมีแนวคิดที่ดีๆ แต่ท่านไม่ยอมลงมือที่จะถ่ายทอด แนวคิดนั้นก็ไม่สามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้
โดยสรุปท่านสามารถเขียนให้เก่งอย่างนักเขียนได้ ถ้าท่านชอบอ่านหนังสือ ท่านมีแรงบันดาลใจ ท่านมีแนวความคิดที่ดีๆ แปลกๆ ใหม่ๆ และสิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านต้องลงมือเขียน ถ้าอยากเป็นนักเขียนต้องเขียนครับ




...
  
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หนังสือ
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หนังสือ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การทำหนังสือขาย การเขียนหนังสือขาย หากต้องการให้มีมูลค่าเพิ่มในใจผู้อ่านหรือผู้ซื้อ ผู้จัดทำหนังสือควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ด้วย บางครั้งเราจะเห็นได้ว่า งานเขียนของคนบางคนเขียนได้ดีมากแต่ไม่ค่อยจะมีคนซื้ออ่าน เนื่องจากการออกแบบปกหนังสือไม่สวยไม่โดนใจผู้อ่านหรือผู้ซื้อ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หนังสือจึงมีความสำคัญ เมื่อหนังสือมีมูลค่าเพิ่มจะทำให้หนังสือเล่มนั้น สามารถตั้งราคาสูงขึ้นได้อีก อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หนังสือมีดังนี้
1.ปกหนังสือ ปกหนังสือมีความสำคัญมากเนื่องจากเมื่อผู้อ่านหรือผู้ซื้อ เข้าไปในร้านหนังสือซึ่งมีหนังสือเป็นจำนวนมาก หากปกหนังสือออกแบบไม่โดนใจ ลูกค้าก็มีโอกาสน้อยมากที่จะหยิบหนังสือเล่มนั้นมาดู แต่หากออกแบบปกหนังสือให้มีรูปแบบ ที่ทันสมัย แปลก ใหม่ ก็จะทำให้ผู้อ่านหรือผู้ซื้อมีโอกาสหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาอ่านดูได้มากกว่า
2.การพิสูจน์อักษร มีความสัมพันธ์กับคุณค่าของหนังสือ หากว่าลูกค้าหรือผู้อ่านเปิดอ่านหนังสือ แล้วลองอ่านดู เกิดพบคำผิดมากๆ ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นไม่มีคุณภาพ อีกทั้งหนังสือบางเล่มแทรกการแก้คำผิดเพิ่มเติมเสียยาวเหยียด ถ้าท่านเป็นผู้อ่านหรือลูกค้า ท่านย่อมทึกทักได้ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยมีคุณภาพได้
3.ตัวหนังสือและภาพ ขาดความคมชัด เมื่อคุณภาพของการพิมพ์ไม่ดี ทำให้ตัวอักษรต่างๆ ภาพต่างๆ ไม่ชัดเจน ก็มักจะมีผลต่อการอ่านของผู้อ่าน อีกทั้งเมื่อผู้อ่านได้อ่านหนังสือที่ไม่ชัดเจนแล้ว ก็ทำให้ผู้อ่านตัดสินใจไม่ซื้อหนังสือได้
4.ราคาของหนังสือ เป็นปัจจัยหนึ่งของการที่ลูกค้าหรือผู้อ่านจะตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนั้นหรือไม่ ถ้าหนังสือมีราคาแพงหรือถูกเกินไปก็จะมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของลูกค้า สำหรับการคำนวณในการตั้งราคาหนังสือแบบง่ายๆ คือ เมื่อเราทราบต้นทุนที่เกิดจากการพิมพ์ รวมราคาออกแบบปก การจัดรูปแบบภายในเล่มแล้ว เราเอาราคาดังกล่าวมาคูณด้วย 4 จะเป็นราคาของหนังสือเล่มนั้นๆ โดยประมาณ
5.คุณภาพของกระดาษ สำหรับกระดาษในการทำหนังสือแต่ละเล่มก็มีความสำคัญ เช่น ความหนาความเบาของกระดาษ โดยมากสำนักพิมพ์มักใช้กระดาษ 70 แกรม หรือ 80 แกรม ซึ่งหากใช้กระดาษ 80 แกรม ราคาอาจจะแพงกว่ากระดาษ 70 แกรม ไปสักเล็กน้อยแต่ก็ทำให้หนังสือเล่มนั้นๆ มีคุณค่ามากขึ้น หรือ การใช้กระดาษธรรมดากับกระดาษถนอมสายตาในการพิมพ์ ราคาอาจจะแตกต่างกันเพียงแค่เล็กน้อย แต่สามารถทำให้หนังสือเล่มนั้นมีคุณค่าสูงขึ้นได้
6.สำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ อาจจะเป็นที่เดียวกันก็ได้ หรือ เราพิมพ์ที่โรงพิมพ์หนึ่งแต่ใช้บริการอีกสำนักพิมพ์หนึ่งก็ได้ โรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ ที่มีมาตรฐาน จะช่วยให้หนังสือเรามีมูลค่า อีกทั้งยังช่วยเรื่องของภาพลักษณ์ของผู้เขียนด้วย
7.โฆษณา ด้านหลังหนังสือ สำนักพิมพ์บางแห่งถือโอกาสโฆษณาหนังสืออื่นๆ ของสำนักพิมพ์ ลงในหนังสือของเรา แต่ถ้าหากเป็นการโฆษณาหนังสือของผู้เขียนเอง ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่ม แต่หากเป็นหนังสือของผู้อื่น ก็จะลดคุณค่าภายในใจลูกค้าบางคนได้ ทั้งนี้หากว่าเราไม่ต้องการให้หนังสืออื่นมาโฆษณาด้านหลังเราก็สามารถต่อรองกับสำนักพิมพ์ได้
8.สร้างความแปลกใหม่ หากทำหนังสือเหมือนๆกับหนังสือโดยทั่วไปในท้องตลาด หนังสือของท่านจะไม่ค่อยมีมูลค่าเพิ่ม แต่หากท่านทำหนังสือที่แปลกใหม่ ทันสมัย อีกทั้งไม่ค่อยเหมือนใคร หนังสือของท่านก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทันที เช่นการออกแบบปก การออกแบบภาพแปลกๆ ประกอบภายในหนังสือ การใช้งานศิลป์เข้ามาช่วยในการทำหนังสือ การสร้างรูปทรงของหนังสือให้ออกมาในแนวแปลกๆ เป็นต้น
โดยสรุป การสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นการเพิ่มคุณค่าภายในใจของลูกค้า แต่สิ่งที่มีคุณค่าที่แท้จริงของหนังสือก็คือ เนื้อหาของหนังสือนั้นเอง




...
  
ความสำเร็จในงานเขียน
ความสำเร็จในงานเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
งานเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือสามารถศึกษาได้ เรียนรู้ได้ ศิลป์คือเป็นเทคนิควิธีการรูปแบบเฉพาะของแต่ละบุคคล ดังนั้นงานเขียนจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่สามารถฝึกฝนพัฒนาได้ กล่าวคือ หากอยากเขียนเก่ง ท่านจะต้องเขียนบ่อยๆ เขียนมากๆ เมื่อเขียนบ่อยๆ เขียนมากๆ งานเขียนของท่านก็จะเกิดการพัฒนาให้ดีขึ้น
งานเขียนจึงไม่แตกต่างกับการเล่นดนตรี การว่ายน้ำ การปั่นรถจักรยาน หากท่านเล่นดนตรีบ่อยๆ หากท่านว่ายน้ำบ่อยๆ หากท่านปั่นรถจักรยานบ่อยๆ ท่านก็จะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้เช่นกัน สำหรับข้อแนะนำที่จะทำให้งานเขียนของท่านเกิดการพัฒนา หากท่านสามารถทำเป็นนิสัยหรือทำได้ทุกๆวันจะเป็นการดี มีดังนี้
1.จงเขียนให้มากๆ หากท่านต้องการเป็นนักพูดท่านต้องขึ้นไปพูด หากท่านต้องการเป็นนักขายท่านต้องลงไปขาย หากท่านต้องการเป็นนักเขียนไม่มีวิธีอื่นใด ท่านจะต้องเขียนให้มากๆ เขียนได้ทุกวันยิ่งเป็นการดี หากไม่รู้จะเขียนอะไรก็ขอให้เขียนบันทึกประจำวันว่าท่านทำอะไรไปบ้างในแต่ละวัน เล่าเหตุการณ์ต่างๆในแต่ละวัน หรือในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร โลกของอินเตอร์เน็ตท่านสามารถเขียนเหตุการณ์ต่างๆ มุมมองของท่านต่อข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่นเรื่องของการเมือง , เรื่องของเศรษฐกิจ ,เรื่องของสังคม ฯลฯ ในปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ให้เพื่อนๆในอินเตอร์เน็ต โดยท่านอาจใช้เวลาเขียนเพียงแค่สักวันละ 20-30 นาที โดยทำต่อเนื่องให้ได้ทุกๆวัน ก็จะทำให้งานเขียนของท่านพัฒนาได้ โดยท่านต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 21 วัน (ทำต่อเนื่องทุกๆวัน จนกลายเป็นนิสัยต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 21 วัน วันที่ 22 จะกลายเป็นนิสัย จากงานวิจัยของต่างประเทศชิ้นหนึ่ง) ท่านก็จะเกิดนิสัยในการรักการเขียนขึ้น
2.จงอ่านให้มากๆ หากท่านต้องการเป็นนักเขียน แต่ท่านมีข้อมูลไม่มาก การอ่านจะเป็นตัวช่วยเพิ่มข้อมูลในคลังสมองของท่าน จงอ่านหนังสือให้มากเพื่อเป็นการสะสมความรู้ ท่านควรอ่านหนังสือประเภทต่างๆให้มากๆ เพื่อเป็นการช่วยให้ท่านเกิดแง่มุมความคิดใหม่ๆ ขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่องานเขียนของท่าน หากท่านไม่ได้เป็นนักอ่าน ท่านก็ไม่ควรริเป็นนักเขียน เพราะการอ่านจะทำให้ท่านรู้เทคนิคต่างๆ ในการเขียนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการอ่านงานของนักเขียนดังๆ อีกทั้งนักเขียนดังๆ ในอดีตก็มีนิสัยรักการอ่านมากๆ อ่านหนังสือทุกประเภทจนกระทั่งอ่านเนื้อหาในถุงใส่กล้วยทอดก็เคยมี
3.จงฟังมากๆ หากท่านเป็นคนที่อ่านหนังสือน้อยหรือมีเวลาอ่านหนังสือน้อย การฟังก็เป็นทักษะอีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้ท่านได้ ข้อมูล องค์ความรู้ เพื่อใช้ในงานเขียน หากท่านทำงานประจำ โดยมีงานเขียนเป็นงานอดิเรก ทำให้มีเวลาน้อยลงในการอ่าน การเขียน การฟังจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ท่านประหยัดเวลาได้มาก ท่านสามารถฟังเทป MP3 ได้ ในระหว่างการขับรถยนต์ ในระหว่างการนั่งในรถโดยสารประจำทาง ในระหว่างนั่งโดยสารบนเครื่องบิน หรือฟังระหว่างการวิ่งหรือเดินไปยังสถานที่ต่างๆ การฟังก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำให้ท่านนำข้อมูล องค์ความรู้ เข้าคลังสมองได้อีกวิธีหนึ่ง
4.จงรู้จักผู้อ่านมากๆ บางครั้งนักเขียนเขียนได้ดีมากๆ แต่มีคนซื้อหนังสือหรืออ่านหนังสือน้อยมาก ก็เพราะนักเขียนผู้นั้นขาดความรู้ทางด้านการตลาด ซึ่งหากนักเขียนต้องการให้มีผู้ซื้อหนังสืออ่านมากๆ ผู้เขียนควรพัฒนาหนังสือของตนให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยการหมั่นสำรวจความต้องการทางด้านการตลาดในธุรกิจหนังสือ มีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มผู้อ่านของเราคือใคร มีการโฆษณา มีประชาสัมพันธ์หนังสือของตนเอง อีกทั้งหนังสือที่เราผลิตจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้ การออกแบบปก , ราคาหนังสือ , การสร้างความแตกต่างของหนังสือ เป็นต้น
ดังนั้น หากต้องการประสบความสำเร็จในงานเขียน ท่านจงเขียนมากๆ ท่านจงอ่านมากๆ ท่านจงฟังมากๆ และท่านจงทำความรู้จักกับผู้อ่านให้มากๆ ท่านก็จะเป็นอีกผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียน
...
  
ปัญหาในการเขียนหนังสือ
ปัญหาในการเขียนหนังสือ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การเขียนไม่ว่าจะเป็นการเขียนผลงานทางวิชาการ งานเขียนสารคดี งานเขียนบทความ งานเขียนตำรา งานเขียนเรียงความ ฯลฯ มีคนเคยถามกระผมว่า เราควรเริ่มต้นอย่างไรดี การเริ่มต้นงานเขียนที่ดีนั้น ในความคิดของกระผมเราควรเริ่มต้นจากเรื่องที่เรารู้ก่อนเป็นอันดับแรก
เพราะการเริ่มต้นจากสิ่งที่เรารู้ ไม่ว่าโดยผ่านประสบการณ์จริง ผ่านการอ่าน ผ่านการวิจัย ผ่านการศึกษาค้นคว้า จะทำให้เรามีข้อมูลในการเขียน โดยไม่ต้องเสียเวลาไปค้นคว้า เพื่อหาข้อมูลอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างกับการเริ่มต้นในสิ่งที่ตนเองชอบ หรือเริ่มต้นการเขียนจากการเลือกเรื่องที่กำลังได้รับความนิยม จะทำให้เราต้องค้นคว้าหาข้อมูลจำนวนมาก อีกทั้งเราไม่มีประสบการณ์ในเรื่องราวนั้นๆ จะเป็นการยากลำบากมากกว่าการเลือกเรื่องในสิ่งที่เรารู้ สำหรับปัญหาในการเขียนหนังสือ มีดังนี้
1.ขาดแรงบันดาลใจในการเขียน แรงบันดาลใจมีความสำคัญต่อทุกอาชีพโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องทำงานอิสระ ขาดการควบคุมตามกฎระเบียบเหมือนทำงานในบริษัท แต่การเป็นนักเขียนเราสามารถกำหนดเวลาเองได้ว่าเราจะทำงานเวลาไหน เมื่อไร ฉะนั้นหากขาดซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียน จะทำให้เราไม่มีวินัย เราเขียนไป หยุดไปก็ได้โดยไม่มีใครมาดุด่าต่อว่า ดังนั้นการสร้างแรงบันดาลใจจึงเป็นสิ่งสำคัญมากต่อบุคคลที่ต้องการประสบความสำเร็จในงานเขียน สำหรับวิธีสร้างแรงบันดาลใจเราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกำหนดเป้าหมายว่าเราต้องการเป็นนักเขียนระดับใด จงเขียนเป้าหมายบ่อยๆเพื่อเตือนความทรงจำ , การสร้างภาพหรือหารางวัลแห่งความสำเร็จกล่าวคือให้หาภาพที่เราต้องการในอนาคตไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ เงินทอง ที่ตนเองต้องการติดตามบ้าน อีกทั้งควรจินตนาการถึงภาพเหล่านั้น บ่อยๆ , การอ่านหนังสือของนักเขียนดังๆ ที่ตนเองชอบ เป็นต้น
2.ขาดสมาธิ ขาดการอดทนและฝึกฝน งานเขียนหนังสือเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิและความอดทน รวมทั้งการฝึกฝน ยิ่งถ้าต้องการเป็นนักเขียนระดับแนวหน้าของประเทศ ยิ่งต้องอาศัยความอดทนและการฝึกฝนอย่างมาก การไม่มีสมาธิและความอดทนจะทำให้ผลงานมีความไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน บางคนเขียนได้ครึ่งๆ กลางๆ แล้วก็หยุด ทิ้งงานเขียนชิ้นนั้นไปเลยก็มี
3.ขาดความมั่นใจในตนเอง หรือมีความกลัวต่างๆเกิดขึ้น เช่น กลัวว่าตนเองไม่เก่ง , กลัวว่าตนเองจบไม่สูง , กลัวว่าจะไม่มีคนอ่าน , กลัวเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้น ฉะนั้น หากต้องการเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จจงทำลายความกลัวต่างๆนั้นเสีย อีกทั้งต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ว่า เราทำได้ และไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิดโดยไม่มีการฝึกฝน ผิดพลาดใดๆ จงกล้าที่จะล้มเหลว อย่าได้กลัวหรือท้อแท้ ท้อถอย จงอ่านประวัตินักเขียนดังๆ แล้วจะเห็นว่านักเขียนที่ดังๆ มักเคยผ่านอุปสรรคต่างๆมาอย่างมากมาย
4. ขาดการวางแผน การวางแผนมีความสำคัญต่อบุคคลที่ต้องการประสบความสำเร็จ คนเรามีเวลาเท่ากันแต่บุคคลที่ประสบความสำเร็จกับบุคคลธรรมดา มักมีความแตกต่างกันในเรื่องของปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่ประสบความสำเร็จมักมีการวางแผน ซึ่งการวางแผนนั้น ท่านจะต้องกำหนดเวลาทำงานในการเขียนว่าท่านจะทำงานกี่โมงถึงกี่โมง โดยต้องมีวินัยในการปฏิบัติตามแผนนั้น อีกทั้งหากท่านมีงานประจำที่ต้องทำ แต่งานเขียนเป็นงานอดิเรก ท่านจงใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยให้เกิดประโยชน์เช่น ควรพก ปากกา สมุด ดินสอ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องบันทึกต่างๆ เอาไว้เขียนหรือบันทึกในสิ่งที่ท่านต้องการเขียนแล้วนำไปเรียบเรียงในภายหลังก็จะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก
สำหรับปัญหาในการเขียนหนังสือ หากเราวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ปัญหาที่แท้จริงมักเกิดกับตัวเราเองทั้งสิ้น ฉะนั้น หากท่านต้องการเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ ท่านจึงควรแก้ไข พัฒนา ปรับปรุง ตนเอง อีกทั้งท่านต้องเชื่อว่าท่านสามารถเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จได้ สำหรับปัจจัยอื่นก็เป็นแค่ส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างบรรยากาศในการเขียน , การมีเครื่องมือที่ทันสมัยช่วยในงานเขียน , การมีครูหรือวิทยากรดีๆมาแนะนำงานเขียน เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญทั้งหมดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครหรือสิ่งใด แต่ขึ้นอยู่กับตัวท่านเองเป็นสำคัญ


...
  
การพัฒนาทักษะการเขียน
การพัฒนาทักษะการเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
การพัฒนาทักษะการเขียน มีความสำคัญมากต่ออาชีพนักเขียนหรือผู้ซึ่งต้องการพัฒนาตนเองในงานเขียน การพัฒนาทักษะการเขียนก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การพัฒนาทักษะการพูด การพัฒนาทักษะการฟัง การพัฒนาทักษะการอ่าน กล่าวคือ มี 3 ขั้นตอน มีขั้นตอนก่อนการเขียน มีขั้นตอนลงมือเขียนและขั้นตอนหลังการเขียน
ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนก่อนการเขียน
1.1.ผู้เขียนควรทำความเข้าใจรูปแบบต่างๆ ในงานเขียน เนื่องจากงานเขียนแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบการนำเสนอ ลักษณะ ความหมาย เช่น การเขียนบทความ การเขียนสารคดี การเขียนรายงาน การเขียนเรียงความ การเขียนจดหมาย การเขียนเรื่องสั้น การเขียนนวนิยาย ฯลฯ
1.2.การเลือกเรื่องที่จะเขียน ควรคำนึงถึงองค์ความรู้ ประสบการณ์ ของผู้เขียน , ความสนใจของผู้อ่าน , ความแปลกใหม่ที่จะนำเสนอ , ความสามารถในการหาข้อมูลมาประกอบ
1.3.การรวบรวมข้อมูลมาประกอบ การเขียนทุกประเภทข้อมูลประกอบการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็น ข้อมูลอาจจะมาจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือ , การสัมภาษณ์บุคคล , การไปหาข้อมูลจากแหล่งที่เกิดข้อมูลโดยตรง และการค้นหาจากอินเตอร์เน็ต(Internet)
1.4.การวางโครงเรื่อง ในการเขียนเราควรมีการวางโครงเรื่องว่าในหนังสือของเรา 1 เล่ม หรือ ในบทความของเรา 1 บท เราต้องการวางโครงเรื่องอย่างไร

ตัวอย่างการวางโครงเรื่อง
ปัญหายาเสพติด
1.ความหมายของคำว่า “ ยาเสพติด ”
2.สภาพปัญหาของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย
3.ลักษณะของปัญหา
4.สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาและป้องกัน
5.ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นลงมือเขียน
เมื่อได้เตรียมการในขั้นตอนที่ 1 เสร็จแล้วให้ลงมือเขียนรายละเอียดตามโครงเรื่องที่วางเอาไว้ โดยมีการขยายความ การอธิบาย การยกตัวอย่าง ให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ โดยต้องคำนึงถึง ลักษณะ รูปแบบ การนำเสนอของงานแต่ละประเภท เช่น การเขียนบทความต้องมีส่วนประกอบคือ การตั้งชื่อเรื่อง คำนำ เนื้อเรื่องและสรุป อีกทั้งต้องแสดงความคิดเห็น สอดแทรกข้อเสนอ และการวิพากษ์วิจารณ์ลงไปด้วย เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนหลังการเขียน
สำหรับผู้ฝึกหัดเขียนใหม่ๆ เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ควรอ่านทบทวนหลายๆ
รอบ อาจจะอ่านเสร็จแล้ว ทิ้งไว้สัก 1 อาทิตย์แล้วนำมาอ่านใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมงานเขียนให้สมบูรณ์ขึ้น
แล้วพิจารณาว่างานเขียนของตนเองมีรูปแบบ ลักษณะ การนำเสนอตรงกับประเภทของงานเขียนหรือไม่ ตรวจดูคำผิด การใช้คำ การใช้ประโยค ภาษา งานเขียนบางประเภทต้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบหรืออ่านก่อน เมื่อแก้ไขสมบูรณ์แล้วจึงจัดส่งเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
การพัฒนาทักษะการเขียนจึงเป็นสิ่งที่ผู้ต้องการพัฒนางานเขียนของตนควรได้ทำความเข้าใจ ทำการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเขียน


...
  
ก้าวสู่อาชีพนักเขียน
ก้าวไปสู่อาชีพนักเขียน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
อาชีพนักเขียนเป็นอาชีพอิสระ เป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่จำกัดจำนวน เช่น นักเขียนนิยายท่านหนึ่งมีผลงานรวมเล่ม 50 ปก เฉลี่ยราคาปก 300 บาท จำนวนพิมพ์แต่ละปก 3,000 เล่ม ค่าเรื่องของนักเขียน 10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาปก ดังนั้นนักเขียนท่านนี้จะมีรายได้ เท่ากับ 50 คูณ 300 คูณ 3,000 คูณ 10 เปอร์เซ็นต์ รวมแล้วเท่ากับ 4,500,000 บาท หรือ นักเขียนอีกท่านหนึ่งซึ่งกระผมไม่ขอเอ๋ยนาม เขียนเรื่องลงในนิตยสาร วารสาร หลายแห่ง มีการใช้นามปากกาถึง 20 นามปากกา นักเขียนท่านนี้เขียนงานได้หลายประเภท เช่น เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เรื่องสั้น โดยเฉพาะนิยาย นักเขียนท่านนี้ต้องเขียนทุกๆวันจำนวนถึง 3 ตอนหรือ 3 เรื่อง บางวันต้องเขียนถึง 4 ตอนหรือ 4 เรื่อง ทำให้ได้ผลงานประมาณ 100 ตอนหรือ 100 เรื่องต่อเดือน โดยได้รับค่าเรื่องหรือค่าบทความในความยาวประมาณ 1 หน้า A4 ประมาณ 300-1.500 บาท (แล้วแต่ความยากง่ายและการกำหนดค่าเรื่องหรือค่าบทความของนิตยสาร วารสารนั้น) นักเขียนท่านนี้ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 40,000-60,000บาทต่อเดือน ท่านอาจตกใจว่าเป็นความจริงหรือ เป็นความจริงครับ
ท่านก็เป็นคนหนึ่งที่สามารถทำรายได้จากการเขียนได้ดังบุคคลตัวอย่างข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ ความขยันและการพัฒนางานเขียนของตนเอง ยิ่งในปัจจุบันการเปิดโอกาสในการสร้างรายได้จากงานเขียนยิ่งมีมาก เพราะในปัจจุบันมีนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ จำนวนมากมาย ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปักษ์ มีทุกประเภททุกแนว
จากตัวอย่างและปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่าเราสามารถประกอบอาชีพนักเขียนได้ แต่ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน คงมีความคิดที่สวนทางหรือได้รับข้อมูลจากอดีตว่า การเป็นนักเขียนมักไส้แห้งหรือไม่มีเงิน คำกล่าวเหล่านี้เป็นความจริงบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หากว่างานเขียนของท่านขาดการพัฒนา งานเขียนของท่านไม่เป็นที่ต้องการของตลาด งานเขียนของท่านไม่สามารถเอาชนะใจบรรณาธิการได้ งานเขียนของท่านไม่สามารถรวมเล่มขายได้ คำว่า “ ไส้แห้ง ” อาจเป็นความจริงสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่า งานเขียนของท่านมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง งานเขียนของท่านมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง งานเขียนของท่านเป็นที่ต้องการของตลาด งานเขียนของท่านสามารถเอาชนะใจบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ได้ และงานเขียนของท่านมีสำนักพิมพ์ติดต่อเพื่อขอรวมเล่มขายได้ ท่านก็เป็นคนหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้หรือความร่ำรวยหรือสร้างชื่อเสียงได้ดังนักเขียนที่ดังๆ เช่น ทมยันตี โบตั๋น สมคิด ลวางกูร ฯลฯ
สำหรับนักเขียนต่างประเทศที่สร้างรายได้มากมายมหาศาล ดังเช่น เจ.เค.โรว์ลิ่ง นักเขียนชุดนวนิยายแฟนตาซี “ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ” นักเขียนที่เป็นระดับมหาเศรษฐีเลยทีเดียว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับการพิมพ์ไปทั่วโลก มีการแปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 67 ภาษา

เจ.อาร์.อาร์.โทลคีน ผู้แต่งหนังสือ เดอะลอร์คออฟเดอะริงส์ ได้สร้างรายได้จากการขายหนังสือเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการแปลหนังสือเป็นภาษาต่างๆไม่น้อยกว่า 38 ภาษา อีกทั้งยังได้เงินค่าลิขสิทธิ์จากการนำหนังสือเรื่อง “เดอะลอร์คออฟเดอะริงส์” ไปทำเป็นภาพยนตร์อีกด้วย
บุคคลดังกล่าวข้างต้นเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียนอาชีพ อีกทั้งยังเป็นผู้มีรายได้มากมายมหาศาลจากงานเขียน ขอย้ำอีกครั้ง ท่านก็สามารถเป็นเช่นนั้น หากท่านมีความทะเยอทะยาน มีความมานะอดทน ต่อสู้มีความขยันขันแข็ง มีเป้าหมายในชีวิตว่าต้องการเป็นนักเขียนไม่ใช่เขียนแค่สิบเรื่องยี่สิบเรื่องหรือเขียนบทความแค่ 100 เรื่องแล้วไม่ประสบความสำเร็จก็ล้มเลิกไป อย่างนี้คงใช้ไม่ได้ หากต้องการความสำเร็จเราจะต้องไม่ยอมแพ้ ถึงแม้จะใช้เวลานานสักเท่าไร จะเขียนมากมายขนาดไหน เราจะต้องสู้จนกว่าจะเป็นนักเขียนมืออาชีพ
ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ นักประพันธ์ชื่อดังของโลกหรือนักอ่านทั่วโลกรู้จัก กว่าเขาจะประสบความสำเร็จ เขาต้องลำบากยากเย็นในชีวิตมาก เขาวางแผนว่าทุกวันเขาจะต้องเขียนหนังสือให้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 หน้ากระดาษ เขาต้องเขียนหนังสืออย่างต่ำวันละ 5 หน้ากระดาษ เขาได้ส่งผลงานเขียนของเขาไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ แต่ก็จนปฏิเสธ ท่ามกลางความผิดหวัง ท่ามกลางความล้มเหลว แต่เขาไม่ยอมแพ้เขาคงตั้งหน้าตั้งตาเขียนหนังสือทุกวันไม่ต่ำกว่า 5 หน้ากระดาษ ตลอดระยะเวลานานถึง 9 ปี เขามีรายได้น้อยมากๆเขาได้รายรับได้เพียงวันละเซนต์สองเซนต์ แต่เขาก็อดทนเขียนต่อไป จนในที่สุดภายหลัง 9 ปี แห่งความลำบาก เขาก็มีชื่อเสียงขึ้นมาเรื่อยๆ ผลงานของเขาก็เป็นที่ต้องการขึ้นเรื่อยๆ นี่ถ้าเขาหยุดเขียนตั้งแต่ปีที่ 5 ผู้อ่านทั่วโลกคงไม่ได้อ่านผลงานการเขียนของนักเขียนชื่อดังระดับโลกผู้นี้
ดังนั้น หากท่านต้องการเป็นนักเขียนมืออาชีพหรือมีอาชีพนักเขียน ท่านต้องมีเป้าหมาย แล้วรีบลงมือทำทันที ลงมือเขียนเรื่องราวต่างๆ เขียนทุกวัน เขียนจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักเขียนอาชีพหรือมีอาชีพนักเขียนในที่สุด
...
  
เขียนหนังสือเก่ง..ชีวิตดีขึ้น
เขียนหนังสือเก่ง...ชีวิตดีขึ้น
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
บุคคลที่เขียนหนังสือเก่งมักมีความได้เปรียบคนที่เขียนหนังสือไม่เก่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเขียนเป็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง หากท่านต้องการเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ท่านจึงควรฝึกฝนการเขียน พัฒนาการเขียนของท่าน เพราะการเขียนหนังสือเก่งจะทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้นอย่างแน่นอน เช่น
- คนที่ตกงานคนไหนที่เขียนเก่งสามารถเขียนจดหมายสมัครงานแล้วได้งานทำ ตรงกันข้ามกับคนที่เขียนไม่เก่งเมื่อเขียนจดหมายสมัครงานแล้ว มักจะไม่มีใครเรียกสัมภาษณ์ เนื่องจากการเขียนจดหมายสมัครงานเราต้องมีเทคนิคบางประการ กล่าวคือ เขียนแล้วทำอย่างไรให้คนอ่านถูกใจและอยากเรียกเราสัมภาษณ์เพื่อทำงาน
- พนักงาน คนที่เขียนเก่งสามารถเขียนรายงานแล้วได้เลื่อนตำแหน่ง คนที่เขียนรายงานเก่ง ผู้บริหารมักชื่นชมในผลงาน การเขียนรายงานส่งให้ผู้บริหารอ่าน ผู้บริหารจะทราบว่าบุคคลที่เขียนมีประสบการณ์ มีความคิดที่ดีมากน้อยขนาดไหนก็ด้วยการพิจารณาจากรายงานที่ส่งไปให้อ่าน
- ครู อาจารย์ นักวิชาการ คนที่เขียนเก่งสามารถเขียนผลงานทางวิชาการ ทำให้ได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน มีความก้าวหน้าทางอาชีพต่อไปเป็นลำดับขั้น
- นักการเมืองที่เขียนเก่ง มักเขียนผลงานของตนเองตามสื่อต่างๆ ผ่านงานเขียนบทความ งานเขียนรายงานข่าว มักทำให้ตนมีชื่อเสียง ประชาชนรักใคร่ศรัทธา มากกว่านักการเมืองที่เขียนไม่เก่ง
- นักธุรกิจ นักบริหาร ที่เขียนเก่ง มักเขียนแผนงานของตนด้วยความเป็นมืออาชีพจนได้รับการยอมรับจากเจ้าของกิจการ หรือ เขียนแผนธุรกิจเก่ง มักได้รับการพิจารณาให้เงินกู้จากธนาคารก่อนคนที่เขียนไม่เก่ง
- นักการตลาดที่เขียนเก่ง มักได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น นักการตลาดบางคนทำงานเก่ง แต่พอให้เขียนแผนการตลาด ให้เขียนคำโฆษณา เขียนถ้อยคำประชาสัมพันธ์ ให้เขียนข่าวลงหนังสือพิมพ์ กับเขียนไม่ได้เรื่อง ทำให้เสียอนาคตไปหลายคนแล้ว
การเขียนหนังสือเก่งยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น การเขียนหนังสือเก่ง มักทำให้พูดเก่งด้วย เพราะ
การจะพูดเก่งต้องมีการเตรียมการพูดโดยการเขียนสคริปต์ก่อน แล้วจึงนำเอาสคริปต์มาท่อง มาเตรียมการพูด อีกทั้งคนเขียนเก่งยังสามารถหารายได้ได้เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น เขียนหนังสือประเภทต่างๆขาย การรับจ้างเขียนสคริปต์รายการต่างๆทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ การรับจ้างเขียนแผนต่างๆ การรับจ้างเขียนผลงานวิชาการ การรับจ้างเขียนบทละคร บทภาพยนตร์ การรับจ้างเขียนข้อความโฆษณา ข้อความประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
จึงขอสรุปอีกครั้งหนึ่งว่า หากปัจจุบันท่านเขียนหนังสือไม่เก่ง แต่ท่านมุ่งมั่นฝึกฝน อดทน พยายาม เรียนรู้ ศึกษาการเขียน ชีวิตของท่านจะดีขึ้น รุ่งเรือง รุ่งโรจน์ อย่างแน่นอน เขียนหนังสือเก่ง...ชีวิตดีขึ้นครับ

...
  
เทคนิคการทำให้ผู้อ่านสนใจ
เทคนิคการทำให้ผู้อ่านสนใจ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
งานเขียนโดยมากมักมีความยาวและถ้าเป็นงานเขียนในเชิงวิชาการด้วยแล้ว อาจทำให้ผู้อ่านโดยทั่วไปเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นได้ ดังนั้นถึงแม้งานเขียนของเราจะมีสาระ เนื้อหา แง่มุมดีขนาดไหน แต่ถ้าผู้อ่านไม่มีความสนใจอยากที่จะอ่านหรือไม่อ่าน งานเขียนของเราเลย งานเขียนนั้นก็ไร้ค่า สู้งานเขียนที่มีสาระน้อยกว่า แต่คนหยิบอ่านไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรให้งานเขียนของเราเป็นที่สนใจของผู้อ่าน เราสามารถสร้างความสนใจในงานเขียนของเราได้ด้วยวิธีดังนี้
1. การใช้รูปภาพประกอบ การใช้รูปภาพประกอบจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพราะเนื้อหาบางอย่าง
อาจซับซ้อน สับสน ซึ่งยากต่อการอธิบาย เช่น การแสดงขั้นตอนต่างๆ ในการผสมพันธ์พืชหรือสัตว์ , ภาพแสดงชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆของยานอวกาศ , ภาพโมเดลกระบวนการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น การใช้ภาพประกอบจึงมีความสำคัญดังคำกล่าวที่ว่า “ ภาพเพียง 1 ภาพ แทนคำพูดเป็น 1,000 คำ)
2. การใช้ตาราง เราสามารถใช้ตารางได้ในกรณีที่เรามีความต้องการเปรียบเทียบข้อมูล เปรียบเทียบตัวเลข การ
ใช้ตารางที่ดีไม่ควรมีความยาวเกิน 1 หน้า กระดาษ แต่หากมีความจำเป็นก็ควรทำตารางให้อยู่ในหน้าที่คู่กัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการอ่านของผู้อ่าน
3. การใช้กราฟ แผนภูมิแท่ง ประกอบการเขียน การใช้กราฟ แผนภูมิแท่ง จะทำให้ผู้อ่านทราบทันทีว่า อันไหน
มากกว่าอันไหน อันไหนสูงกว่าอันไหน อีกทั้งยังมีประโยชน์คือ เป็นการดึงดูดความสนใจ ประหยัดเวลา สร้างความแตกต่าง ในการนำเสนออีกด้วย
4. ตัวหนังสือและการเน้นคำ ควรใช้รูปแบบที่อ่านง่าย อีกทั้งยังต่อมีการพิสูจน์คำผิดให้มีการผิดพลาดให้น้อย
ที่สุด เพราะถ้าหากหนังสือมีคำผิดมากๆ ผู้อ่านหรือผู้ซื้อ อาจทักว่าเป็นหนังสือที่ไม่ดี การเน้นคำ ก็มีความสำคัญ ถ้าเราต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้ว่า ข้อมูลนี้มีความสำคัญ เราก็ควรเน้นคำให้มีความเด่นชัดขึ้น ซึ่งการเน้นคำให้ผู้อ่านทราบมีเครื่องมือหลายอย่าง เช่น อาจใช้วิธีขีดเส้นใต้ , การทำให้เป็นอักษรตัวทึบหรือแรเงา , การมีสัญญาลักษณ์ต่างๆ(ลูกศร ,ดอกจัน,สี่เหลี่ยม ,วงกลม , จุดกลมทึบ เป็นต้น)
5.ขนาดของหนังสือและกระดาษ มีความสำคัญต่อนักอ่านมาก มีคนตั้งคำถามกับกระผมว่า ขนาดของหนังสือ ขนาดไหนดี กระผมคงตอบให้ไม่ได้ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับ ประเภทของหนังสือเป็นหลัก เพราะถ้าหากเป็นหนังสือดนตรีสำหรับเด็กหรือนิทานสำหรับเด็ก ก็ไม่ควรทำหนังสือให้เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้ตัวโน้ตดนตรีหรืออักษรเล็ก จนเด็กๆ มองไม่เห็นแล้วจะไม่ชอบอ่าน การเลือกกระดาษก็สามารถดึงดูดใจผู้อ่านได้ไม่ใช่น้อย เช่น สีของกระดาษ , ความหนาความบาง , กระดาษสะท้อนแสง เคลือบมัน เป็นต้น แต่สำหรับคนที่เป็นนักการตลาดหรือมีความคิดสร้างสรรค์ อาจจะออกแบบขนาดของหนังสือเอง ซึ่งอาจแตกต่างจากหนังสือทั่วไป ก็สามารถดึงดูดใจผู้อ่านได้ไม่ใช้น้อย เช่น ออกแบบขนาดหนังสือให้ใหญ่กว่าปกติหรือเล็กกว่าปกติ , ออกแบบหนังสือให้มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งสามารถสร้างความแตกต่างหรือทำให้เกิดความแตกต่างของสินค้าคือหนังสือได้
6.ปกหนังสือ ปกหนังสือมีความสำคัญมาก เพราะเป็นประตูด่านแรกที่ทำให้คนอยากเปิดอ่านหนังสือของเราหรือไม่ การออกแบบปกจึงมีความสำคัญ ปกต้องเด่น ชวนให้ผู้อ่านอยากหยิบขึ้นมาอ่านเมื่อได้เห็น ซึ่งการออกแบบปกจะต้องทำให้เกิดความแตกต่างกับปกหนังสือเล่มอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน อีกทั้งยังต้องยอมที่จะลงทุนเพิ่ม เนื่องจาก การพิมพ์สี่สีแพงกว่าการพิมพ์สองสี การเคลือบมันปก การทำให้เป็นอักษรตัวนูน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องลงทุนเพิ่มทั้งสิ้น
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงมีความสำคัญ แต่ความสนใจของผู้อ่าน และยังคงมีรายละเอียดต่างๆ อีกมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึงแต่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ เช่น สำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ที่พิมพ์ , คำนำ คำนิยม , ราคา , ความชัดเจนของอักษรในการพิมพ์ เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและมีคุณค่าอย่างแท้จริงสำหรับผู้อ่านก็คือ เนื้อหาสาระ ประโยชน์ของงานที่เราเขียนนั้นเอง
...
  
เขียนอย่างไรให้ผู้อ่านชื่นชอบ
เขียนอย่างไรให้ผู้อ่านชอบ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การเขียนไม่ว่าเราจะเขียนในประเภทไหน เช่น บทความ สารคดี เรื่องสั้น นิยาย ตำรา ฯลฯ เรามักอยากให้ผู้อ่านชอบงานเขียนของเรา อยากติดตามผลงานเขียนของเรา ซึ่งวิธีที่จะทำให้เขาติดตามหรือชอบงานเขียนของเราได้นั้น สามารถทำได้โดย
1.จงเขียนเรื่องที่เรารู้ การเขียนเรื่องที่เรารู้ จะทำให้ผู้เขียนสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งผู้เขียนได้อ่านมามากพอสมควร แล้ว มาทำการต่อยอดความรู้ให้มีความรู้ที่กว้างขึ้น ลึกขึ้น มากขึ้น อีกทั้งผู้เขียนควรเขียนให้เกิดความแตกต่างจากงานเขียนของผู้อื่น เช่น ต้องมีการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกหรือแง่มุมที่แปลกแตกต่างจากนักเขียนท่านอื่น เพราะหากผู้เขียน เขียนคล้ายคลึงกัน งานเขียนนั้นก็คงไม่ได้มีความแตกต่างจากงานเขียนของคนอื่นมากนัก แต่หากผู้เขียนเสนอแง่มุมที่ตลก แง่มุมที่คนไม่คิดกัน งานเขียนของผู้เขียนก็จะเกิดความแตกต่างขึ้นมาทันที และทำให้ผู้อ่านชื่นชอบในความคิดอ่านของผู้เขียนได้
2.รู้จักจังหวะเวลา การจะทำหนังสือให้ขายดีหรือให้คนซื้อเป็นจำนวนมากนั้น ผู้เขียนอาจต้องเลือกจังหวะ ในการขายหนังสือ เช่น เมื่อสังคมเกิดภาวะวิกฤต คนต้องการกำลังใจ เราก็ควรเขียนหนังสือในแนวทางการให้กำลังใจ การพัฒนาตนเอง ธรรมะ ฯลฯ เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในสภาพสังคมในขณะนั้น หากทำได้ดังนี้ ผู้อ่านก็จะซื้อหนังสือของเรามากขึ้น เมื่อมีโอกาสได้อ่านก็มักจะชอบหนังสือที่เราเขียนมากขึ้นไปด้วย
3.ต้องเขียนให้เกิดความหลากหลาย เช่น ใช้คำ เล่นคำ มีโวหาร มีสำนวน มีอุปมาอุปมัย การเขียนตัวอย่างต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพพจน์ มีลีลาในการนำเสนอที่มีความหลากหลายในแบบฉบับของตัวเอง มีการสอดใส่อารมณ์เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกถึงอารมณ์นั้น กล่าวคือ เมื่ออ่านแล้ว เกิดความประทับใจจนทำให้เกิดน้ำตาไหลออกมาได้
4. ต้องเขียนให้เกิดความชัดเจน กระชับ ไม่ยืดยาด ซับซ้อน งานเขียนที่ผู้อ่านชื่นชอบ มักสื่อความหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่ประเภท ที่อ่านเสร็จแล้ว เกิดอาการ งง สับสน ไม่เข้าใจ ว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรกับผู้อ่าน ฉะนั้น ควรเขียนให้สั้น กระชับ มีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ
5.เขียนในสิ่งที่ผู้เขียนเชื่อ การเขียนก็มีลักษณะเดียวกันกับการพูด กล่าวคือ หากผู้พูดต้องการโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อถือ ศรัทธา ผู้พูดต้องมีความเชื่อในเรื่องนั้นๆ ก่อน การเขียนก็เช่นกัน หากผู้เขียนมีความเชื่อ มีความศรัทธา ในเรื่องที่ตนเองเขียน งานเขียนนั้นก็สามารถโน้มน้าวหรือชักจูงในผู้อ่านเชื่อถือ ศรัทธาได้เช่นกัน
6.จงเขียนในแนวทางของตนเอง เนื่องจากงานเขียนมีหลายประเภท เช่น นิยาย สารคดี บทความ ข่าว ตำรา ฯลฯ ผู้เขียนควรเขียนในแนวทางที่ตนเองถนัด หากมีความถนัดการเขียนบทความ ก็ควรพัฒนางานเขียนของตนเองในแนวประเภทของบทความให้มากขึ้น อีกทั้งไม่ควรไปลอกเลียนสไตล์การเขียนของผู้อื่น จงเป็นตัวของตัวเอง
7.จงพัฒนาความคิด ให้คิดนอกกรอบ คิดแตกต่าง คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดวิจารณ์ คิดเปรียบเทียบ คิดจินตนาการ การพัฒนาความคิดจะทำให้งานเขียนของเราดีขึ้น เราคงไม่ปฏิเสธว่า งานเขียนของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้เขียน Harry Potter จนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี หรือแม้แต่นักเขียนชาวไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น ท่านสุนทรภู่ กับงานเขียนเรื่องพระอภัยมณี ก็เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้เขียนทั้งสิ้น จงพัฒนาความคิดแล้วงานเขียนของท่านจะดีขึ้น ผู้อ่านก็จะชื่นชอบในความคิดของท่าน
และอีกหลากหลายปัจจัย ที่ท่านสามารถพัฒนางานเขียนของท่านเพื่อให้เกิดความประทับใจ เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา ในงานเขียนของท่าน เพราะงานเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ท่านสามารถหาความรู้ได้ ฝึกฝนได้ มีแบบฉบับ เทคนิค วิธีการของตนเองได้
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.