หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  การพูดต่อที่ชุมชน
  -  พูดอย่างฉลาด
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  การพูดเชิงบวก
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การเลือกวิทยากร
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดแบบผู้นำ
ผู้นำพูด
การพูดแบบผู้นำ

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์


บทความในวันนี้กระผมขอพูดถึงเรื่องของการพูดแบบผู้นำ ซึ่งการพูดแบบผู้นำนี้จะพูดธรรมดาเหมือนผู้ตาม หรือคนทั่วไปไม่ได้ เพราะมันจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้ตามดังนั้นคนที่ต้องการเป็นผู้นำหรือเป็นผู้นำอยู่แล้ว จึงต้องเรียนรู้หลักการวิธีการเพื่อนำไปใช้ในการพูดในแต่ละครั้ง ผมเชื่อว่าพวกเราคงเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับประโยคคำคมของผู้นำภายในประเทศและในต่างประเทศมาบ้างแล้ว คำคมเหล่านี้ทำให้เป็นที่จดจำและนำไปคิดเพิ่มแล้วก่อให้เกิดปัญญาขึ้นเช่น


“ จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่จงถามว่าท่านจะให้อะไรแก่ประเทศบ้าง ”

เป็นคำพูดสุนทรพจน์ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เคนาดี้

“ ถ้าท่านไม่สามารถลุกขึ้นพูดต่อหน้าฝูงชนได้ ก็อย่าปราถนาเป็นผู้นำ"


เป็นคำพูดของหลวงวิจิตร

หรือ “ ระบบประชาธิปไตยคือระบบที่ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

เป็นคำพูดสุนทรพจน์ของอดีตประธานาธิบดี ลินคอล์น

ดังนั้นในวันนี้เราจะมาพูดเรื่องเทคนิคการพูดแบบผู้นำ ดังนี้

- ผู้นำจะต้องพูดด้วยความมั่นใจ พูดชัด ไม่ติดติดขัดขัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ภาษาก็ต้องพูดชัดไม่ว่าจะเป็นผู้นำที่พูดภาษาอังกฤษหรือพูดภาษาไทย ผู้นำจะต้องรู้จักการใช้ภาษานั้นได้เป็นอย่างดี และมีการใช้คำได้หลากหลายมากกว่าผู้ตาม การพูดการใช้ภาษาของผู้นำจะทำให้ผู้ตามทราบว่าผู้นำมีการศึกษาดีมากน้อยแค่ไหนดังคำโบราณได้พูดไว้ว่า “ สำเนียงบอกภาษา กริยาบอกสกุล ” การพูดด้วยความมั่นใจจะทำให้ผู้ตามเกิดความมั่นใจตามด้วย

- ผู้นำจะต้องพูดให้มีคำคมอยู่บ้าง เพราะการพูดที่ไม่มีคำคมอยู่เลยจะทำให้ผู้ฟังจำเนื้อหาไม่ได้ทั้งหมดแต่ผู้นำคนใดมีคำคมอยู่บ้าง ก็จะเป็นที่น่าสนใจและเป็นที่จดจำของผู้ฟังดังคำคมประโยคข้างต้นที่กระผมได้กล่าวถึง เนื่องจากคำคมเป็นคำสั้นๆหรือประโยคสั้นๆ แต่กินใจความและสามารถขยายความได้มากขึ้น คำคมบางคำทำให้คนฟังคิดตามแล้วเกิดปัญญาขึ้นตามมาด้วย

- ผู้นำจะต้องพูดให้มีอารมณ์ขันบ้าง เพราะการพูดจริงจังตลอดเวลาจะทำให้ผู้ฟังเครียด แต่ถ้าผู้นำคนใดนำอารมณ์ขันมาใช้ คนฟังมักจะชอบโดยเฉพาะสังคมไทย ผู้ฟังมักชอบฟังอะไรที่ตลก ขบขัน มากกว่าฟังอะไรที่เครียด ดูจริงจัง

- ผู้นำจะต้องพูดให้มีไหวพริบปฏิภาณในการพูด เนื่องจากการพูด การปราศรัย บางแห่งจะมีผู้ฟังถามลองของหรือถามลองภูมิผู้พูด ดังนั้น ผู้เป็นผู้นำจะต้องตอบให้ได้หรือให้ทันเหตุการณ์ผู้นำจะต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการพูดตอบโต้

- ผู้นำจะต้องพูดด้วยอารมณ์ กระผมไม่ได้หมายถึงใช้อารมณ์ในการพูดนะครับ ไม่ใช่ไปด่าผู้ฟังอะไรทำนองนั้น แต่ผู้นำจะต้องใส่อารมณ์ในการพูด เช่นพูดเรื่องเศร้าก็ต้องใช้น้ำเสียงและสีหน้า ท่าท่างอย่างหนึ่ง พูดเรื่องตลก ก็ต้องทำสีหน้า น้ำเสียงอีกอย่างหนึ่ง พูดจูงใจ ก็ต้องใช้น้ำเสียงจริงจัง ท่าทางจริงจัง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อมั่น

และยังมีอีกหลายทักษะ ที่ผู้นำจะต้องเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ เพราะการพูดแบบผู้นำเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ก็คือสามารถเรียนรู้ได้ จากหนังสือ ตำรา ทฤษฏีต่างๆ ศิลป์คือการประยุกต์ใช้เพื่อนำศาสตร์ไปปฏิบัติ ท้ายนี้อยากฝากบทกลอนของผู้แต่งที่มีคนแต่งเอาไว้กระผมเคยเห็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อสิบกว่าปีก่อน

“ วาทะการนั้นเป็นเช่นของสูง เป็นเครื่องจูงใจคนดั่งมนต์ขลัง

เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ทรงพลัง และเป็นทั้งศาสตราเป็นอาภรณ์

เราจะใช้วิชาล้ำค่านี้ เพื่อสร้างสรรค์ สิ่งดีเป็นนุสรณ์

เพื่อเทิดธรรมพัฒนาประชากร เพื่อบ้านเกิดเมืองนอนแผ่นดินไทย”






Nov 9 /2010

51.
พูดโอกาสต่างๆ
การพูดในโอกาสต่างๆ


โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์


เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมากระผมได้มีโอกาสเป็นวิทยากรให้แก่ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลดงเจน จังหวัดพะเยา ในหัวข้อ “ การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดต่อหน้าที่ชุมชน” ณ โรงเรียนดงเจนวิทยาคม จังหวัดพะเยา ในวันที่สองของการฝึกอบรมกระผมได้บรรยายในหัวข้อการพูดโอกาสต่างๆ เนื่องจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่เป็นผู้นำท้องถิ่น จึงมีโอกาสในการขึ้นพูดในโอกาสต่างๆมาก เช่น การพูดในงานมงคลสมรส การพูดในงานขึ้นบ้านใหม่ การพูดในงานคล้ายวันเกิด การพูดในงานศพ การพูดในงานต้อนรับสมาชิกใหม่และการพูดกล่าวแสดงความยินดี ฯลฯ


สิ่งสำคัญในการพูดในโอกาสต่างๆ มีดังนี้ครับ


- ผู้พูดจะต้องรู้สถานการณ์และผู้ฟัง เช่น ถ้างานนั้นดำเนินไปด้วยความล่าช้า เราจำเป็นจะต้องพูดให้น้อยลง ทั้งๆที่เรามีอะไรต่างๆจะพูดมากมายก็ตาม โดยเฉพาะเลยเวลารับประทานอาหารไปนานแล้ว เพราะขนาด ก่องข้าวน้อยยังฆ่าแม่ได้เลย นับประสาอะไรกับผู้พูดที่ไม่ใช่ญาติมิตรกัน


- ต้องรู้ลำดับรายการผู้จะขึ้นพูดในโอกาสต่างๆ ต้องรู้ว่าลำดับของรายการต่างๆเป็นไปอย่างไรจะได้เตรียมตัวถูก ต้องรู้ว่ารายการอะไรก่อน รายการอะไรหลัง


- ต้องรู้จุดมุ่งหมายของงานนั้นๆ ว่าลักษณะของงานเป็นลักษณะงานที่บันเทิงสนุกครึกครื้น


เฮฮา หรือ เป็นงานที่เศร้าโศกสลด เราจะได้พูดให้ถูกกาลเทศะ


สำหรับโอกาสในการพูดในโอกาสต่างๆ มีดังนี้


1.การกล่าวแนะนำ โดยมากเป็นการกล่าวแนะนำ ผู้ที่อภิปราย วิทยากร ผู้โต้วาที หรือผู้เข้าร่วมอบรมหรือประชุม สัมมนาในงานนั้นๆ เป็นการกล่าวแนะนำก็เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักและสนใจ “ตัวผู้พูด” และ “เรื่องที่จะพูด”


2.การกล่าวต้อนรับ เป็นการกล่าวต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือนหรือกล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่


3.การกล่าวอวยพร ส่วนใหญ่เป็นการกล่าวในโอกาสที่เป็นงานมงคล เช่น งานมงคลสมรสหรืองานแต่งงาน งานวันคล้ายวันเกิด(ไม่ใช่งานวันเกิด เพราะวันเกิดมีวันเดียว) งานขึ้นปีใหม่ งานฉลองการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งต่างๆ ฯลฯ


4.การกล่าวไว้อาลัย โดยมากเรามักคิดถึงแต่งานศพ แต่จริงๆแล้วการกล่าวไว้อาลัยมีหลายอย่าง เช่น ไว้อาลัยผู้ตาย ไว้อาลัยผู้ที่ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ หรือที่ทำงานใหม่และไว้อาลัยในงานโอกาสไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เป็นต้น


สำหรับท้ายนี้กระผมมีตัวอย่างการกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส โดยผู้กล่าวเป็นแม่ของเจ้าบ่าวดังนี้


สวัสดีแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ชีวิตของความเป็นผู้หญิงทุกคนคงไม่แตกต่างจากดิฉัน คืออยากให้คนที่เรารักหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเราได้มีความสุขและดิฉันก็ได้ปฏิบัติต่อครอบครัวของดิฉันเสมอมา ดังนั้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปดิฉันก็เชื่อว่าสุภาพสตรีที่นิสัยดีและน่ารักคนนี้ คือสะใภ้ของดิฉันจะทำหน้าที่ภรรยาที่ดีและรักลูกชายของดิฉันได้นานแสนนานตลอดไป ขอบคุณค่ะ

หรือ พ่อของเจ้าบ่าวกล่าวดังนี้

สวัสดีแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน กระผมขอเปรียบชีวิตของคนเราเหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งที่มีความจริงใจเป็นรากแก้ว


มีความอดทนคือลำต้น มีความร่มเย็นคือร่มใบพร้อมทั้งความดีงามคือดอกผล จึงได้ชื่อว่า ต้นไม้แห่งความรัก


ความผูกพันและกระผมเชื่อว่าเจ้าบ่าวและเจ้าสาวทั้งสองจะหมั่นดูแลรับผิดชอบซึ่งกันและกัน เหมือนต้นไม้ดังกล่าวมา ส่วนครอบครัวของทั้งสองฝ่ายนั้นจะเป็นเม็ดฝนชโลมความชุ่มชื่นแด่เจ้าบ่าวเจ้าสาวตลอดไป


ท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงานแต่งงานในวันนี้(โดย อ.ภูวดล ภูภัทรโยธิน )





...
  
การพูดจูงใจคน
การพูดจูงใจคน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดจูงใจ เป็น การพูดประเภทหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน กล่าวคือวัตถุประสงค์ของการพูด ได้แก่ การพูดเพื่อการบอกเล่า การพูดเพื่อความบันเทิงและการพูดเพื่อการจูงใจ
การพูดจูงใจ จึงเป็นศิลปะในการพูดที่ต้องอาศัยการฝึกฝน การศึกษา และดูแบบอย่างของนักพูดที่สามารถพูดจูงใจคนได้
ก่อนที่เราจะศึกษาหรือเรียนรู้การพูดจูงใจ เราควรศึกษาธรรมชาติหรือความต้องการของคนก่อน เนื่องจากคนทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเราพูดจูงใจเด็ก กับพูดจูงใจผู้ใหญ่ เราอาจจะมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน หรือ ถ้าเราพูดให้ผู้ฟังในกลุ่มอาชีพต่างๆฟัง เราอาจจะต้องมีวิธีในการพูดจูงใจที่แตกต่างกัน เช่น พูดให้ชาวนาฟัง กับพูดให้นักวิชาการฟัง ฯลฯ
แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องความต้องการของมนุษย์หรือคนเรา กระผมคิดว่า คนเรามีความต้องการในเรื่องใหญ่ๆ ที่คล้ายกันกล่าวคือ เรื่องของ กิน กาม และเกียรติ
- กิน คนเราเมื่อเกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์จะต้องมีการบริโภคหรือการกิน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารประเภทต่างๆ การดื่มกินน้ำประเภทต่างๆ
- กาม คนเราเกิดมาแล้ว ตามสัญชาตญาณของการสืบพันธุ์ ก็ต้องมีเรื่องของเพศสัมพันธ์
- เกียรติ คนเราเกิดมา ก็อยากจะมีชื่อเสียง อำนาจ ความดัง ความมีหน้าตาในสังคม
ดังนั้น คนเราหรือมนุษย์เรา จึงได้แสวงหาเรื่องของการ กิน กาม และเกียรติ กันด้วยความกระเสือกกระสนดิ้นรน (ทั้งนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า คนเราหรือมนุษย์เราส่วนใหญ่ จึงไม่ได้หมายถึงทุกคน)
เมื่อเราศึกษาธรรมชาติความต้องการของคนเราหรือมนุษย์เราแล้ว ที่นี้ ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เทคนิคในการพูดจูงใจคน เราจำเป็นจะต้องศึกษา เรียนรู้เช่นกัน กล่าวคือ ในการพูดจูงใจให้คนคล้ายตามเรานั้น
- ผู้พูดจำเป็นจะต้องพูดด้วยอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้ผู้ฟังเศร้า ผู้พูดจะต้องมีอารมณ์เศร้าก่อนอีกทั้งต้องแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้า น้ำเสียง ท่าทาง เพื่อจูงใจให้ผู้ฟังมีอารมณ์เศร้าด้วย หรือ ต้องการพูดให้ผู้ฟังมีอารมณ์เกลียดชัง ผู้พูดต้องแสดงอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง ผ่านทางภาษาพูดและภาษากายต่างๆของผู้พูด เพื่อส่งความรู้สึกอารมณ์ดังกล่าวไปยังผู้ฟัง เป็นต้น
- ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจ จากใจ ยิ่งพูดมาจากก้นบึ้งของหัวใจได้ยิ่งดี การที่จะพูดให้คนคล้ายตามหรือจูงใจคนได้นั้น ผู้พูดจะต้องพูดด้วยความจริงใจก่อน ซึ่งความจริงใจ ผู้ฟังสามารถสัมผัสได้ผ่านการแสดงอาการต่างๆของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา น้ำเสียง ท่าทาง กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในสิ่งใด ผู้พูดเองต้องมีความศรัธทาในสิ่งนั้นก่อน ถ้าผู้พูดไม่เชื่อถือไม่ศรัธทาก่อน ก็คงยากที่จะพูดให้ผู้ฟังเกิดความศรัธทาในสิ่งนั้นด้วย
- ผู้พูดจะต้องพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ของผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ได้บุญเพิ่ม ได้กุศลเพิ่ม ได้โลห์ ได้ชื่อเสียง เกียรติยศต่างๆ ฉะนั้น ผู้พูดสามารถชักจูงใจคนได้ด้วยการพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ เช่น หากต้องการได้เงินเดือนเพิ่ม โบนัสเพิ่ม ท่าน(ผู้ฟัง)จะต้องขยันทำงานขึ้น
ดังนั้น คนที่ต้องการพูดจูงใจเป็น จำเป็นจะต้องเรียนรู้ จากการอ่านมาก การฟังมาก การศึกษาดูแบบอย่างมากๆ เช่น หากท่านต้องการเป็นนักพูดจูงใจทางด้านการเมืองกล่าวคือ ต้องการพูดให้คนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ท่าน ท่านก็ควรตามไปฟังนักพูดทางการเมืองหรือศึกษาจาก เทป วีซีดี ดีวีดี รวมทั้งการดูการถ่ายทอดการหาเสียง การอภิปรายทางโทรทัศน์ ดูแล้วต้องวิเคราะห์ว่าทำไม นักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนเชื่อ ทำไมนักการเมืองคนนี้พูดแล้วคนไม่เชื่อ อีกทั้งต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย






...
  
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
จำนวนหรือขนาดผู้ฟัง เพศ วัย ระดับอายุ ศาสนา ความเชื่อ อาชีพ การศึกษา ของผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ควรใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างความสนใจในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะปัจจัยต่างๆ ขั้นตอนเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
- จำนวนหรือขนาดของผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมีข้อมูลพอสมควรว่า ในวันที่จะเดินทางไปพูดมีผู้ฟัง
ประมาณกี่คน เป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีพื้นที่หรือสถานที่พอเพียงหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับสถานที่ มีความสัมพันธ์กัน ในการเตรียมการพูด เช่น พูดที่ท้องสนามหลวง มีผู้ฟังมากมาย หรือบางกรณีอาจมีผู้ฟังไม่กี่คนในท้องสนามหลวง วิธีการพูด รูปแบบการพูด เครื่องมือที่ช่วย ก็ต้องมีความแตกต่างกันไป เพราะการพูดที่มีผู้ฟังนั่งชิดกัน เบียดกัน ในห้องประชุม จะทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม มีอารมณ์ ความรู้สึก มากกว่า การพูดที่มีผู้ฟังบางตา มีจำนวนไม่มาก ในขณะที่มีสถานที่กว้างขวาง
- เพศของผู้ฟัง เพศหญิงมักชอบ ความสวยงาม การแต่งตัว การทำความสะอาดดูแลบ้าน การเข้าสังคม
ส่วนผู้ฟังเพศชายมักชอบ เรื่อง การเมือง การเล่นกีฬา การต่อสู้ รถยนต์เครื่องยนต์ โดยมากผู้หญิงมักมีความอ่อนไหวกว่าผู้ชาย การพูดจูงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ มักจะชักจูงโน้มน้าวผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย อีกทั้งการพูดกับผู้ฟังที่มีลักษณะ ชายล้วน หญิงล้วน แบบกลุ่มผู้ฟังผสมผสานทั้งเพศชาย เพศหญิง จึงต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ คำพูด ภาษา เนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป
- วัยหรือระดับอายุ มีความสำคัญมากเพราะคนที่มีอายุหรือวัยมากกว่า ย่อมมีประสบการณ์ใน
ชีวิตมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เช่น
วัยเด็ก มีลักษณะชอบความสนุกสนาน ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทนฟังเรื่องต่างๆได้นาน เบื่อง่าย และการพูดต้องใช้น้ำเสียง จินตนาการในการพูดมากกว่าวัยอื่นๆ เราลองสังเกตว่าเด็กมักชอบฟังนิทาน ผู้เล่านิทานมักใช้น้ำเสียง จินตนาการในการเล่า
วัยรุ่น มักต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบความตื่นเต้น โลดโผน อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ฉะนั้นผู้พูด ควรหาเรื่องใหม่ๆ แปลกๆ ในการนำเสนอก็จะสามารถดึงดูดความสนใจในการพูดได้
วัยชรา เป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก มีลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งพาทางใจ ชอบเรื่องศาสนา เข้าวัด ฟังธรรม เป็นห่วงลูกหลาน
- ศาสนาและความเชื่อ ผู้พูดควรระมัดระวัง ควรศึกษาความเชื่อความศรัทธาของแต่ละศาสนา
ไว้บ้าง เพราะ ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อ เป็นสิ่งที่คนเรายึดถือมาช้านาน การพูดโดยไม่คิด บางครั้งอาจเป็นเรื่องสนุกๆ แต่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังและผู้พูดได้
- อาชีพ ทุกอาชีพมีความแตกต่างกัน มีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่นพูดให้ชาวนาก็พูดเรื่องที่
แตกต่างกันกับนักธุรกิจกิจหรือคนรับราชการ อาจพูดเรื่อง กระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งทำให้ชาวนาเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพทำนา หรือพูดกับ นักธุรกิจก็ควรพูดเรื่อง เศรษฐกิจ การค้าขาย การบริหาร การจัดการ
ดังนั้น นักพูดที่ดีต้องสร้างโครงเรื่องให้สอดคล้องกับความสนใจของอาชีพผู้ฟังก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความชอบความศรัทธา ในตัวผู้พูด
- การศึกษา ถ้าไปพูดให้กลุ่มผู้ฟังที่มีการศึกษาน้อย ควรพูดเรื่องง่ายๆ แต่ถ้าไปพูดให้กลุ่มที่มี
การศึกษาสูง เราก็ควรพูดในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง พูดเน้นหนักวิชาการ บางครั้งอาจจะต้องพูดศัพท์ภาษาอังกฤษ บ้างเพราะคำบางคำ แปลเป็นภาษาไทย ความหมายอาจจะผิดได้ การพูดต้องมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง
สรุปว่า การพูดที่ประสบความสำเร็จ นักพูดหรือผู้พูด จะละเลย การวิเคราะห์ผู้ฟังไม่ได้ เพราะผู้พูด เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ ที่จะประเมินว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังพอใจ จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟังและจงพูดในสิ่งที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง แล้วท่านจะเป็นนักพูดหรือผู้พูดที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง
...
  
ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การเป็นนักพูดที่ดีนั้น ควรพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งมีอารมณ์ขันหรือความบันเทิง สอดแทรกในการพูดแต่ละครั้ง เนื่องจากสังคมไทยเรา หนีไม่พ้นความบันเทิง เพราะสังคมไทยเราชอบความสนุกสนาน ดังเราจะสังเกตเห็นว่า นักพูดที่พูดในเชิงวิชาการอย่างเดียว ไม่สอดแทรกความบันเทิงหรืออารมณ์ขันเลย มักไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ บรรดานักพูดที่พูดเนื้อหาสาระแล้วมีการสอดแทรกความบันเทิงหรืออารมณ์ขันลงไปด้วย
ดังนั้น หากต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดในสังคมไทยเรา ท่านควรพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาในด้านหลักวิชา มีทฤษฏี มีการอ้างอิง มีเหตุผล มีทัศนะ ความเชื่อ มีปฏิภาณตอบโต้ปัญหาต่างๆ มีตลกขบขัน อีกทั้งพูดด้วยความเชื่อมั่นและมั่นใจ หากท่านสามารถพูดได้ดังนี้ จะทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับและได้รับความเคารพจากผู้ฟัง
มีคนเคยถามกระผมว่า แล้วถ้าถูกเชิญให้ไปพูดในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะพูดเนื้อหาสาระกี่เปอร์เซ็นต์ ความบันเทิงกี่เปอร์เซ็นต์ กระผมขอตอบว่า เราคงต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เช่น ดูบรรยากาศของงาน ดูการศึกษาของผู้ฟัง ดูว่าเจ้าภาพต้องการให้เราพูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ฯลฯ
หากเจ้าภาพเชิญให้ไปพูดทอล์คโชว์ แน่นอนว่า การพูดครั้งนั้น ต้องพูดโดยมีเนื้อหาความบันเทิงอย่างเดียว สำหรับสาระคงไม่ต้องมีมาก หรือบางแห่ง ถึงกับบอกเลยว่า เราไม่ต้องการสาระ ขอบันเทิงอย่างเดียวพอ กล่าวคือ ต้องพูดให้คนหัวเราะให้ได้ตลอดงาน ( ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากผู้ฟังมีความหลากหลาย )
แต่ถ้าหากถูกเชิญให้ไปพูดบรรยายในเชิงวิชาการ การอบรมต่างๆ เราก็ควรพูดในเชิงวิชาการให้มากขึ้น สำหรับอารมณ์ขัน ก็ควรมีอยู่บ้าง สำหรับสังคมไทยเรา มักชอบฟังคนพูดแล้วคนหัวเราะ มากกว่า ฟังการพูดแล้วคนเครียด
ฉะนั้น นักพูดที่ดีจึงต้องพูดให้ได้ทั้งเนื้อหาสาระและบันเทิง สำหรับเทคนิคการหาข้อมูลในเรื่องความบันเทิง นักพูดควรขยันสรรหาตัวอย่างต่างๆให้มากๆ ไม่ว่าจะได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว ต้องหมั่นจดจำ ต้องเป็นนักบันทึก ต้องเป็นนักเลียนแบบและพัฒนาตนเอง หมั่นหามุข หรือตัวอย่างสนุกๆ เพราะการยกตัวอย่างสนุกๆ เป็นเครื่องมือในการใช้ประกอบการพูดได้มาก
การยกตัวอย่างสนุกๆ ทำให้เราขยายเวลาหรือเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มเวลาในการพูดได้มากขึ้น เช่น หากมีเวลาเหลืออีก 1 ชั่วโมง เนื้อหาที่เตรียมไปหมดแล้ว เราก็สามารถเพิ่มตัวอย่างที่สนุกๆ ไปได้อีก แต่หากเวลาเกิน เราก็สามารถตัดตัวอย่างที่สนุกๆ ที่เตรียมไว้ทิ้งเสีย
สำหรับยุคปัจจุบัน การหาข้อมูลตัวอย่างที่สนุกๆ หาได้ไม่ยากเหมือนในอดีต เนื่องจากยุคปัจจุบัน เราอยู่ในสังคมของ ข้อมูลข่าวสาร เรามีระบบอินเตอร์เน็ต เราจึงสามารถหาข้อมูลได้ง่ายและมากขึ้นกว่าในอดีต ไม่ว่าการหาใน GOOGLE , YOUTUBE ฯลฯ จึงทำให้เกิดนักพูดหน้าใหม่ๆ ขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีการกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่กล้าแสดงออกกว่าในอดีต เนื่องจาก มีการแข่งขันรายการต่างๆ มากมาย โดยมีถ้วยรางวัล มีโล่ห์ มีเงิน อีกทั้งได้ออกสื่อต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักกับผู้คนมากยิ่งขึ้น
แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงของนักพูดหน้าใหม่หรือนักพูดรุ่นใหม่ กล่าวคือ เรื่องของกาลเทศะ คำบางคำหรือคำบางประโยค นักพูดรุ่นอาวุโสสามารถพูดได้ แต่นักพูดรุ่นใหม่พูดไม่ได้ เนื่องจากสังคมไทยเรายังถือเรื่องอาวุโส
ฉะนั้น การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้ ต้องไม่หยุดนิ่ง เพราะการพูดในยุคปัจจุบัน กระผมถือว่าเป็นวิชาชีพหนึ่งก็ว่าได้ เป็นวิชาชีพที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเรื่องความคิด ความรู้ ข้อมูล แนวการนำเสนอในการพูดแต่ละครั้ง เราต้องหาเพิ่มเติมตลอดเวลา จะมากินบุญเก่าหรือใช้ความรู้เก่าๆ วิธีการนำเสนอแบบเก่าๆ คงไม่มีใครอยากที่จะฟัง ดังนั้น นักพูดในยุคใหม่จึงต้องมีเครื่องมือต่างๆ ช่วย เพื่อให้การพูดแต่ละครั้งเกิดความแตกต่างกับนักพูดหรือวิทยากร ท่านอื่นๆ เช่น ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ , ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ,ใช้ระบบการเรียนรู้หรือสร้างบรรยากาศที่ทันสมัยเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังอยากที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของนักพูดหรือวิทยากร
ลิ้นเพียงสามนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้









...
  
ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ทำไมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของคนบางคนจึงประสบความสำเร็จ แต่ในทางกลับกันการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของคนบางคนจึงล้มเหลว ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดเรื่องนี้กัน ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรทำดังนี้
1.จงเตรียมการพูดให้น้อยที่สุด การเตรียมการพูดมีความสำคัญมาก หากท่านเตรียมพูดไม่มากพอ การพูดของท่านก็มักจะล้มเหลว ดังนั้นหากต้องการให้การพูดล้มเหลว ท่านควรเตรียมตัวให้น้อยหรือไม่ต้องเตรียมตัวเลย แต่หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ท่านควรเตรียมการพูดให้มาก ซึ่งหมายถึง เตรียมเนื้อหา เตรียมข้อมูล เตรียมรูปแบบการนำเสนอ ฯลฯ
2.จงอย่าพยายามยกตัวอย่างประกอบ นักพูดที่ประสบความสำเร็จ มักมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นภาพ หรือเกิดการเปรียบเทียบ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น แต่ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านล้มเหลว ท่านควรทำตรงกันข้าม กล่าวคือ ท่านไม่ควรยกตัวอย่างประกอบการพูด
3.จงพูดด้วยน้ำเสียงโทนเดียวหรือน้ำเสียงระดับเดียวกันตลอดการพูดของท่าน น้ำเสียงมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน สำคัญจนมีคำกล่าวว่า “ ถ้อยคำแสดงถึงภาษาความหมาย แต่น้ำเสียงทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หวั่นไหว ” ดังนั้นหากท่านต้องการล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนแต่ละครั้งในการพูดควรพูดด้วยน้ำเสียงโทนเดียวกันหรือน้ำเสียงระดับเดียวกัน
4.จงเลือกพูดในเรื่องที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน บุคคลผู้นั้นจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดหรือบรรยายอยู่พอสมควร แต่ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเชื่อถือ หากต้องการล้มเหลวในการพูด จงเลือกหัวข้อยากๆ หรือเลือกหัวข้อที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ แล้วการพูดของท่านก็จะล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
5.จงอย่าสนใจผู้ฟัง หากต้องการความล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เวลาท่านพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านไม่ควรใส่ใจกับผู้ฟัง ไม่ต้องสนใจผู้ฟัง ไม่ต้องวิเคราะห์ผู้ฟัง ( เพศ อาชีพ วัย อายุ จำนวนผู้ฟัง ประสบการณ์ของผู้ฟัง การศึกษาของผู้ฟัง)
6.จงพูดด้วยความเฉยชา ไม่ต้องกระตือรือร้น จงอย่าพูดด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง หากพูดด้วยกริยาท่าทางดังกล่าว กระผมเชื่อแน่ว่า ผู้ฟังส่วนใหญ่คงง่วงนอน หรือ ผู้ฟังส่วนใหญ่คงอยากให้การพูดในครั้งนั้นๆ จบโดยเร็ว หากทำได้ดังนี้ การพูดของท่านก็จะล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
7.จงพูดด้วยความสับสน วุ่นวาย ไม่ต้องมีลำดับขั้นตอน หรือไม่ต้องมีสุนทรพจน์ หากต้องการให้เกิดความล้มเหลวในการพูด ท่านไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับเวลา ลำดับเหตุการณ์ หากท่านนึกช่วงไหนได้ ท่านก็นำออกมาพูดเลย เช่น นึกถึง ช่วงกลางของเนื้อหาที่จะพูดได้ก็นำมาพูดขึ้นต้นในการพูด หากนึกถึงช่วงสรุปได้ ท่านก็นำมาพูดในช่วงเนื้อหาของเรื่อง จงพูดให้เกิดความสับสน จงพูดจนกระทั่งจับต้นชนปลายไม่ถูก การพูดของท่านก็จะล้มเหลวในที่สุด
8.จงถ่อมตนให้มากที่สุด หากต้องการการล้มเหลวในการพูด เมื่อท่านเริ่มพูดท่านควร ออกตัว ถ่อมตน ถ่อมตัวให้มากที่สุด เช่น ถ่อมตนว่า “ ท่านไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะบรรยายหรือพูดนี้เลย ” “ ท่านไม่ได้มีการเตรียมตัวมาพูดในวันนี้เลย ”
“ ความจริงมีคนพูดในเรื่องนี้เก่งกว่ากระผมอีกมากมาย กระผมคงพูดได้ไม่ดีพอ จึงต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า อีกทั้งการมาพูดในครั้งนี้เป็นมวยแทน ” ยิ่งถ้าท่านออกตัวมากเพียงไร ก็ทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟังสิ่งที่ท่านพูดมากเพียงนั้น
ถ้าหากท่านต้องการให้การพูดแต่ละครั้งล้มเหลว ท่านควรปฏิบัติตามทั้ง 8 ข้อ ดังกล่าวนี้ แต่ถ้าท่านต้องการให้การพูดของท่านประสบความสำเร็จ ท่านคงไม่มีวิธีอื่นใด นอกจากทำตรงกันข้ามกับคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นนี้ แน่นอนการทำให้การพูดแต่ละครั้งล้มเหลว ย่อมง่ายกว่า การทำให้การพูดแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ ดังคำเปรียบเทียบว่า การทำความชั่วย่อมง่ายกว่าการทำความดี






...
  
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมชนในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ด้วยกันกล่าวคือ การฝึกการพูดแบบในระบบ กับ การฝึกพูดด้วยตนเอง
1.การฝึกการพูดแบบในระบบ หมายถึง การฝึกการพูดที่มีรูปแบบการฝึกที่เป็นระบบ มีขั้นมีตอน มีผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมนั่งฟัง โดยมากในยุคปัจจุบัน มักมี หน่วยงาน องค์กร ชมรม สโมสร สถาบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำหน้าที่สอนและมีการฝึกปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน
2.การฝึกการพูดด้วยตนเอง หมายถึง การฝึกพูดด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการอ่านศึกษาค้นคว้าจากตำราหนังสือการพูด การสังเกต การตามฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงพูด ซึ่งการฝึกพูดลักษณะนี้ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ต้องลองผิดลองถูกอยู่บ่อยๆ
ในบทความนี้ กระผมขอแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง.... ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกการพูดด้วยตนเองดังนี้
1.จงเป็นนักอ่าน.... ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ท่านสามารถหาหนังสือ ตำรา บทความดีๆเกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ในอินเตอร์เน็ต จงอ่านข้อแนะนำการพูดต่อหน้าที่ชุมชนในหนังสือต่างๆ และจงฝึกปฏิบัติด้วยตนเองอย่างตั้งใจ อดทน สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ท่านสามารถพัฒนาการพูดของท่านได้
2.จงเป็นนักฟัง....จงหาแบบอย่างหรือนักพูดที่ท่านชอบหรือศรัทธา แล้วติดตามไปฟังการพูดของท่านเหล่านั้นให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ แล้วลองสังเกต รูปแบบการพูด ท่าทาง น้ำเสียง กริยาต่างๆของนักพูดท่านนั้น แล้วลองมาปรับใช้กับตนเอง
3.จงใช้เครื่องบันทึกเสียง ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในยุคปัจจุบัน เรามีเครื่องบันทึกเสียงในรูปแบบต่างๆ เช่น เทป MP3 MP4 เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ท่านสามารถนำเอาไปบันทึกเสียงหรือภาพนักพูดที่ท่านชื่นชอบให้มากที่สุดแล้วนำมาเปิดฟังซ้ำอีกหลายรอบ เพื่อวิเคราะห์การพูดของนักพูดท่านนั้น อีกทั้งท่านควรบันทึกเสียงหรือภาพการพูดของตัวท่านเอง เพื่อนำมาเปิดแล้วลองดูสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงการพูดของท่านแต่ละครั้ง
4.จงฝึกการพูดด้วยตนเอง หาที่เงียบๆ แล้วลองฝึกการพูดของท่าน อาจจะฝึกต่อหน้ากระจก หรือฝึกระหว่างการเดินทางไปในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง ดังเช่น นักพูดหลายท่านทำกัน เช่น ลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ฝึกพูดบนหลังม้าระหว่างเดินทางไกล เดล คาร์เนกี อาจารย์ด้านการพูดชื่อดังของโลก เคยหัดการพูดด้วยตนเองระหว่างทำสวน เด็ดหญ้า อาจารย์จตุพล ชมพูนิช คิง ออฟสปีค ของเมืองไทย เคยฝึกการพูดด้วยตนเอง ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ฝึกพูดจากปากซอยถึงท้ายซอย การฝึกวิธีนี้ควร ทำท่าทางประกอบด้วย ไม่ต้องกระดากอาย การฝึกการพูดในรูปแบบนี้ มีประโยชน์หลายอย่าง... เป็นการฝึกลำดับความคิด เป็นการฝึกพูดให้คล่องปาก ทำให้ไม่ติดขัดเมื่อถึงเวลาต้องไปพูดบทเวทีจริงๆ
5.จงฝึกเขียนประกอบการพูด ก่อนที่ท่านจะไปพูดจริง ท่านควรหัดเขียน โครงเรื่องว่า ท่านจะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องมีอะไรบ้างและสรุปจบจะลงท้ายว่าอย่างไร แล้วจึงฝึกพูดหรือฝึกอ่าน หลายๆรอบ จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานำไปแสดงท่านไม่ควรใช้หรือดูบันทึกนั้น
6.จงฝึกพูดจากง่ายไปหายาก เช่น ฝึกพูดคำพังเพย การฝึกพูดจากสิ่งของที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงมาฝึกการพูดจากสิ่งของที่เป็นนามธรรม ฯลฯ
7.จงหาเวทีแสดงการพูด ข้อสุดท้ายนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด หากท่านปฏิบัติตามทั้ง 6 ข้อ ข้างต้นแล้ว แต่ถ้าท่านขาดในข้อที่ 7 นี้ กระผมเชื่อแน่ว่า ท่านจะไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดเลย เพราะฉะนั้น การมีเวทีการพูดต่อหน้าผู้ฟังจริง จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งท่านมีเวทีแสดงการพูดมากเพียงใด ท่านก็เข้าใกล้เป้าหมายในการเป็นนักพูดของท่านมากขึ้นทุกขณะ จงหาโอกาสต่างๆ ในการพูด
ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นข้อแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง สำหรับท่านผู้ฟังที่ขาดโอกาสในการฝึกการพูดในระบบ ท่านก็สามารถประสบความสำเร็จได้โดยคำแนะนำข้างต้นนี้ เพียงแต่ท่านต้องมีความตั้งใจจริง มีความอดทน มีความรักและมีความฝันเป็นสำคัญ
...
  
การพูดต่อที่ชุมชน
การพูดต่อที่ชุมชน
โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การพูดต่อที่ชุมชน มีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ตลอดจนผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในการทำงาน คนที่มีทักษะในการพูดต่อที่ชุมชนย่อมได้เปรียบคนที่ไม่มีทักษะในการพูดต่อที่ชุมชนหรือผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน
หลายคนบอกว่าคนที่พูดเก่ง เขามักเป็นคนที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด เพราะความคิดดังกล่าว เลยไม่สนใจฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน แต่สำหรับตัวกระผม กระผมยืนยัน นั่งยันและนอนยัน 1,000 % เลยครับว่า การพูดต่อที่ชุมชนฝึกฝนได้ และมีคนอีกจำนวนมากมายในโลกนี้ก็ได้ยืนยันเช่นกัน
แล้วจะทำอย่างไรถ้าต้องการ พูดต่อหน้าที่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระผมขอแนะนำดังต่อไปนี้ครับ
1.ต้องมีเป้าหมาย หลายๆคน เห็นว่าการพูดต่อที่ชุมชนมีความสำคัญแต่ก็ไม่มีความพยายาม ไม่มีความมุ่งมั่นในการฝึกฝน แต่ตรงกันข้ามกับคนที่มีเป้าหมายหรือมีความใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนักพูด บุคคลเหล่านี้ก็จะทุ่มเทฝึกฝน อย่างไม่ลดละหรือไม่หยุดหย่อน ถ้าท่านขาดความกระตือรือร้นในการฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน ท่านลองนั่งเขียนบนกระดาษดูว่า ถ้าท่านพูดต่อที่ชุมชนได้ดี ท่านจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น ได้เงินเพิ่มมากขึ้น มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น มีโอกาสเป็นนักการเมืองในระดับต่างๆ หรือทำให้เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง โด่งดัง เป็นต้น
2.ศึกษาวิธีการพูดของนักพูดชื่อดังทั้งในอดีตและปัจจุบัน การศึกษาชีวิตและวิธีการพูดของบุคคลคนดังจะทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจและมีความต้องการที่จะเลียนแบบชีวิตหรือวิธีการพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคในการพูดต่อที่ชุมชนมากยิ่งขึ้น
3.ต้องเพิ่มความกล้าหาญและสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง บุคคลที่ต้องการเป็นนักพูดหรือพูดต่อที่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านจะต้องเพิ่มความกล้าหาญและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ความกลัวการพูดต่อที่ชุมชน เกิดจากหลายสาเหตุ แต่มีสาเหตุที่สำคัญๆไม่กี่อย่าง สาเหตุประการหนึ่งก็คือ เราไม่เคยชินหรือเราไม่คุ้นเคยต่อการพูดต่อที่ชุมชนนั่นเอง แล้วเราจะทำอย่างไรให้คุ้นเคยเวทีหรือการพูดต่อหน้าที่ชุมชน วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ท่านต้องขึ้นไปพูดต่อที่ชุมชนบ่อยๆนั่นเอง จงหาเวทีฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชนให้แก่ตนเอง แล้วท่านจะเกิดความเคยชินและคุ้นเคยเวทีการพูด แล้วความประหม่าของท่านก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
4.เรียนรู้หลักสุนทรพจน์ คือ เรียนรู้วิธีการเปิดฉาก การพูดเนื้อหาสาระ ตลอดจนถึงการเรียนรู้วิธีการปิดฉาก โดยส่วนใหญ่เขาจะยึดหลักดังนี้
ขึ้นต้น ตตต. เท่ากับ ต้นตื่นเต้น
ตอนกลาง กกก เท่ากับ กลางกลมกลืน
สรุปจบ จจจ เท่ากับ จบจับใจ
สุนทรพจน์ในการพูดที่ดีนั้น ก็เหมือนกับการเขียนเรียงความ ซึ่งจะต้องมี คำนำ เนื้อหา สรุป การพูดที่ดีก็เช่นกัน ก็จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียนซึ่งจะต้องมีโครงสร้างหรือโครงเรื่อง จึงจะทำให้เกิดการลำดับการพูดได้ดี และจะส่งผลให้ การพูดมีความเข้าใจง่าย ไม่สับสน เนื่องจากมีการลำดับเหตุการณ์ ลำดับช่วงเวลา
5.สร้างศิลปะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ นักพูดที่ดีเมื่อวิเคราะห์ว่าผู้ฟังนั่งฟังด้วยความเบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากที่จะฟังการพูด นักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดีจะต้องรู้จักเทคนิคในการช่วยให้ผู้ฟังเกิดความสนใจหรือเกิดความตั้งใจฟังตลอดการพูด สำหรับเทคนิคที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมีดังนี้
5.1.การใช้น้ำเสียง ถ้อยคำเป็นการสื่อความหมายแต่น้ำเสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ การพูดด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบตลอดการพูดมักจะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจ เบื่อหน่าย ดังนั้น นักพูดที่ดีจะต้องมีน้ำเสียงในการพูดที่มีความหลากหลายในระหว่างการพูดต่อที่ชุมชน คือ ต้องมีเสียงเบาบ้าง ดังบ้าง เน้นบ้าง เงียบบ้าง เร็วบ้าง ช้าบ้าง ยืดเสียงบ้าง เป็นต้น
5.2.หาตัวอย่างแปลกๆ ใหม่ๆ มานำเสนอ การพูดตัวอย่างเดิมๆ ซ้ำๆ หรือตัวอย่างที่ผู้ฟังมักเคยได้ยินแล้วนั้น ผู้ฟังเมื่อทราบว่าเคยฟังแล้วก็มักจะไม่อยากที่จะฟังซ้ำ ดังนั้น นักพูดต่อที่ชุมชนที่ดีต้องพยายามหา ตัวอย่างใหม่ๆ แปลกๆ มานำเสนอหรือมาพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและใส่ใจที่จะฟังการพูดตลอดระยะเวลาในการพูด
5.3.นำอารมณ์ขันมาประกอบการพูด นักพูดเกือบทุกยุคทุกสมัย เกือบทุกชนชาติมักชื่นชอบนักพูดที่พูดแล้วสนุก มีอารมณ์ขัน เพราะทำให้การฟังเป็นไปด้วยความสนุก เกิดเสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ เกิดเสียงที่ให้กำลังใจจากผู้ฟัง ยิ่งเป็นสังคมไทยเรา ผู้ฟังยิ่งชื่นชอบนักพูดที่มีอารมณ์ขัน
5.4.นำกิจกรรมมาประกอบหรือสอดแทรก ในสถานการณ์ที่การพูดต้องใช้เวลานาน เช่นต้องพูด 6 ชั่วโมง แน่นอนคนฟังก็ไม่ต้องการจะนั่งนานๆหรือนั่งฟังตลอด 6 ชั่วโมงแบบอยู่กับที่ ดังนั้น นักพูดที่ดีควรหากิจกรรมมาประกอบหรือนำมาสอดแทรก เพื่อให้พูดฟังได้ยืนบ้างหรือเกิดการเคลื่อนไหวร่างกายบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ทั้งนี้นักพูดจะต้องหากิจกรรมมาประกอบให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องหรือสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองพูดจึงจะเกิดความเหมาะสมและผู้ฟังก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าวด้วย
6.ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน ข้อนี้เป็นข้อสุดท้ายที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าขาดข้อนี้ไปแล้ว ท่านก็ไม่สามารถพูดต่อที่ชุมชนได้ดีหรือเป็นนักพูดที่ดีได้ จงฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน บางคนอ้างว่าตนเองไม่มีเวทีเลยไม่รู้จะฝึกฝนอย่างไร คืออย่างนี้นะครับ นักพูดเรืองนามในอดีตเช่น เดล คาร์เนกี ฝึกพูดขณะรดน้ำต้นไม้หรือขณะตัดหญ้าที่รก อดีตประธานาธิบดีลินคอล์น ฝึกพูดบนหลังม้าขณะเดินทางข้ามรัฐซึ่งสมัยอดีตต้องใช้ม้าเนื่องจากยังไม่มีรถยนต์ สำหรับตัวผมเอง สมัยก่อนผมเองก็ไม่มีเวทีที่จะฝึกฝนเช่นกัน กระผมเลยฝึกฝนด้วยตนเอง ขณะเดินออกกำลังตอนเช้าหรือตอนมีเวลาว่าง ก็จะเลือกหัวข้อ แล้วลองพูดหัวข้อที่ตนเองเลือกประมาณ 2-5 นาที ต่อ1หัวข้อหรือ 1 เรื่อง การฝึกด้วยตนเองเช่นนี้ จึงทำให้กระผมพูดได้คล่องขึ้น
สุดท้ายนี้ ถ้าท่านต้องการความก้าวหน้า ถ้าท่านต้องการเป็นผู้นำ ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ถ้าท่านต้องการมีชื่อเสียงโด่งดัง การพูดต่อที่ชุมชนจะนำพาท่านไปสู่สิ่งเหล่านั้น จงเรียนรู้และจงฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชนแล้วท่านจะได้ดังสิ่งที่ท่านปรารถนา
...
  
พูดอย่างฉลาด
พูดอย่างไรเรียกว่าพูดอย่างฉลาด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“อันพูดนั้นไม่ยาก ปานใด เพื่อนเอย
ใครที่มีลิ้นอาจ พูดได้
สำคัญแต่ในคำ ที่พูด นั่นเอง
อาจจะทำให้ชอบ และชัง”
พระราชนิพนธ์ดุสิตสมิต

จากพระราชนิพนธ์ดุสิตสมิต ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของคำพูด ว่าการพูดนั้นทำให้คนชอบก็ได้ หรือคนชังก็ได้ จึงขึ้นอยู่กับคนที่ใช้คำพูดนั้นๆ ซึ่งการพูดหรือคำพูดที่มีลักษณะที่ดี และคนที่ฉลาดมักเลือกใช้มักจะมีลักษณะดังนี้
1.เป็นคำพูดที่แสดงถูกกาล กล่าวคือ เป็นคำพูดที่พูดถูกจังหวะ ถูกเวลา ถูกสถานที่
1.1.การพูดถูกจังหวะ คนมักชอบ ดังคำที่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ พูดมากก็มากเรื่อง พูดน้อยก็พลอยเคียง ไม่พูดก็ไม่รู้เรื่อง แต่การพูดผิดจังหวะคนมักชัง ตัวอย่าง ในการสนทนากัน บางคน พูดไม่ถูกจังหวะ เขาพูดยังไม่จบรีบพูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูดไม่จบ การพูดที่ผิดจังหวะนี้เมื่อทำบ่อยๆ คนที่สนทนาด้วยก็มักจะไม่ชอบ แต่เขามักจะชัง
1.2.การพูดถูกเวลา คนมักชอบ แต่การพูดผิดเวลาคนมักชัง ดังนั้น ในบางกรณี ก่อนที่เราจะพูด เราควรถามอีกฝ่ายหนึ่งก่อนว่า “ ขอโทษครับ ผมขอเวลาปรึกษาเรื่อง...ไม่ทราบว่าคุณจะพอมีเวลาว่างให้ผมไหมครับ ”
1.3.การพูดถูกสถานที่ การพูดเรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ควรนำไปพูดในบางสถานที่ เช่น เขากำลังทำพิธีสวดศพอยู่ เราดันไปพูดเรื่องตลก หัวเราะชอบใจในงานศพ เมื่อเจ้าภาพเห็นเขาอาจ ไม่รู้สึกสนุกเหมือนเราสนุกก็เป็นได้
2.น้ำเสียงสอดคล้องกับเรื่องที่พูด น้ำเสียงมีความสำคัญต่อเรื่องที่พูด มีคนเคยกล่าวว่า “ ภาษาสื่อถึงความหมาย
แต่น้ำเสียงก่อให้เกิดความหวั่นไหวในใจ ” คำพูดดังกล่าวมีความเป็นจริงมากอยู่ทีเดียว เช่น เรากล่าวแสดงความเสียใจในการจากไปของบิดาของเพื่อนสนิท แต่เรากล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น ดีใจ ชอบใจ เพื่อนจะมีความรู้สึกเช่นไร ถึงแม้เราจะใช้ภาษาที่บอกว่าเราเสียใจนะ แต่น้ำเสียงเราไม่สอดคล้องกัน อาจทำให้เพื่อนเรา ชังเราได้
3.มีอารมณ์ขันบ้าง การพูดที่ทำให้คนชื่นชอบ มักเป็นคำพูดที่ทำให้คนหัวเราะ ดังนั้น หากผู้พูดท่านใดเป็นนักสะสมอารมณ์ขัน หรือ เรื่องราวที่สนุกๆ คนมักจะชื่นชอบ อีกทั้งทำให้มีเพื่อนมาก คนอยากรู้จัก แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ผู้พูดควรต้องรู้จักวิเคราะห์ เนื้อหาในข้อที่ 1 เพิ่มด้วย คือ ควรใช้อารมณ์ขันให้ถูกกาล (ถูกจังหวะ ถูกเวลาและถูกสถานที่)ด้วย
4. พูดให้เนื้อหามีความชัดเจน ชวนติดตาม ผู้พูดที่ผู้ฟังชื่นชอบ มักพูดเนื้อหาให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังทำให้เกิดการติดตาม มีการจัดลำดับในการพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผู้ฟังไม่สับสน มีการพูดเรื่องที่ใกล้ตัวผู้ฟัง ผู้ฟังจึงสนใจที่อยากจะฟัง
5.ภาษาที่มีความเหมาะสมกับเรื่องและผู้ฟัง ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศมากจนเกินไปหากพูดกับผู้ฟังที่เขาไม่มีความรู้ในภาษานั้น หรือ คำศัพท์ในวงการนั้นๆ ไม่ควรมีคำฟุ่มเฟือย คำแสลง มากจนเกินไป หลีกเลี่ยงการระบุชื่อ หากสื่อถึงผู้นั้นในทางที่เสียหาย เพราะอาจทำให้เกิดโทษมากกว่า ประโยชน์ บางครั้ง ผู้พูด ใช้คำพูดที่ระบุถึง ความเสียหายของบุคคลโดยระบุชื่อ ก็อาจจะถึงกับขึ้นโรง ขึ้นศาลไปเลยก็มีมาแล้ว เพราะอาจโดนผู้ที่เสียหายฟ้องหมิ่นประมาทได้
6.การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หากผู้พูดเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมก็จะทำให้ผู้ฟัง มีความสุขที่ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง ดังนั้น ผู้พูด เมื่อพูดไป ก็ควรตั้งคำถามให้ผู้ฟังตอบหรือขอให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวที่ผู้พูดพูด เพราะผู้ฟังอาจจะไม่สนใจในสิ่งที่ผู้พูด พูดเลย หากผู้พูดไม่ให้ความใส่ใจในตัวผู้ฟัง
การพูดที่พูดถูกกาล , การใช้น้ำเสียง ,การใช้อารมณ์ขัน , การพูดให้เกิดความชัดเจน , การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมและการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการพูด จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดที่ฉลาดควรกระทำกัน
...
  
วิธีการนำเสนอ
เทคนิคในการนำเสนอ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในการนำเสนอของแต่ละบุคคลมักมีการนำเสนอที่ไม่เหมือนกัน และมีวิธี มีเทคนิคที่แตกต่างกันไป ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดถึง วิธีในการนำเสนอ เราสามารถจะนำเสนอโดยวิธีดังต่อไปนี้
1.เทคนิคสุนทรพจน์ คือ การลำดับเหตุการณ์ เช่น เล่าเรื่องตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ไปยังอนาคต หรือ หากต้องการอธิบายประเทศไทย ก็ขอให้ไล่ลำดับตั้งแต่เหนือสุดลงไปยังใต้สุด ข้อควรระวังในการนำเสนอวิธีนี้ คือ ผู้นำเสนอไม่ควรอธิบายแบบไม่เรียงลำดับ กล่าวคือพูดย้อนไปย้อนมา จนผู้ฟังรู้สึกสับสน วกวน จนอยู่ในอาการมึนงง
2.เทคนิค เปรียบเทียบ ระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง เช่น พวกเราอาจจะเคยไปฟังธุรกิจขายตรง บางยี่ห้อ มักจะมีการนำเสนอสินค้าของตนเอง เปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่ง ในเรื่องของคุณสมบัติ ลักษณะ ตลอดจนราคา อีกทั้งผู้นำเสนอยังมีการแสดงการสาธิตสินค้าที่เปรียบเทียบให้ผู้ฟังได้เห็นกับตาอีกด้วย
3.เทคนิค การแสดงปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิคการนำเสนอที่ผู้นำเสนอได้พูดถึงปัญหาเพื่อให้ผู้ฟังเกิดการติดตามรับฟัง การพูดของผู้นำเสนอ แล้วผู้นำเสนอจึงให้ผู้ฟังออกความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหา หรือผู้พูดนำเสนอก็ได้บอกวิธีการแก้ไขปัญหาให้แก้ผู้ฟัง
4.เทคนิค การจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งภาค สำหรับข้อมูลในยุคปัจจบันมีมากมาย การจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งเป็นภาค จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ในการนำเสนอหากผู้นำเสนอไม่ได้จัดหมวดหมู่ จัดกลุ่มหรือแบ่งเป็นภาคให้กับผู้ฟัง ผู้ฟังอาจจะไม่เข้าใจ แต่หากผู้นำเสนอได้ใช้เทคนิคการจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งเป็นภาค แล้วก็จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เช่น บริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง มีลูกค้าทั่วประเทศ หากระบุเป็นจังหวัด ก็จะมีมากเกินไป แต่ถ้าเราจัดแบ่งลูกค้าออกเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน ก็จะทำให้ผู้ฟังรับรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น
5.เทคนิค การใช้ตัวย่อหรือตัวอักษร นักการตลาดหรือผู้ที่อยู่ในแวดวงการตลาด หากพูดถึง เรื่อง 4P(Product , Price , Place ,Promotion) นักการตลาดก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก ในวงการขาย KASH (K = Knowledge A = Attitude S = Skill H = Habit ) นักขายหรือคนที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับการขายหลายๆท่าน ก็อาจจะเข้าใจ หรือ 5 ส. (สะอาด , สะสาง , สะดวก , สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) บุคคลที่ทำงานหรือบริหารสำนักงานก็คงเข้าใจได้ไม่ยาก ฯลฯ
6.เทคนิค การตั้งคำถาม การตั้งคำถามจะทำให้ผู้ฟังสงสัย แล้วอยากที่จะติดตามฟัง เช่น ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าท่านสามารถเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ภายใน 3 เดือน , ท่านเชื่อหรือไม่ว่า โลกจะแตกอีก 10 ปี ข้างหน้า , ท่านทราบหรือไม่ว่า ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เป็นต้น
7.เทคนิค ตัวเลข การใช้ตัวเลขในการนำเสนอจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดการติดตามฟัง อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังทราบว่าตอนนี้ตนเองอยู่ ณ เวลาใด เช่น 5 วัน นับตั้งแต่นี้เราทุกคนต้องออกไปเลือกตั้ง , 10 ล้านบาทเท่านั้น พวกเราใกล้ความจริงแล้ว เป้าหมายในการขาย 100 ล้านบาท เราเหลือแค่ 10 ล้านบาท เท่านั้น
8.เทคนิค หาอุปกรณ์ช่วย ในการนำเสนอด้วยการพูดแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายๆ แต่หากผู้นำเสนอมีอุปกรณ์ช่วย ก็จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็วและเห็นภาพได้ชัดเจน เช่น การสาธิตสินค้า , การให้ทดลองชิมสินค้า , การทดลองให้ขับรถจริงๆ , การให้ผู้ฟังร่วมใช้อุปกรณ์ช่วยเวลาสาธิตสินค้า เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่า เทคนิค 8 ประการ ข้างต้น เป็น เทคนิคที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการพูดการนำเสนอได้ ส่วนจะใช้เทคนิคใดหรืออาจจะผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน ก็คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้ง ตัวผู้พูด ตัวผู้ฟัง สถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ
...
  
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
นักการเมือง นักบริหาร นักปกครอง นักประชาสัมพันธ์ นักกฎหมาย ต้องเป็นนักพูด
การพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำและการประกอบอาชีพต่างๆ “หากท่านปรารถนาจะเป็นผู้นำ ท่านต้องลุกขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้” เป็นคำพูดของหลวงวิจิตราวาทการที่ได้กล่าวมาอย่างยาวนานและเป็นอมตะวาจาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
“ ลิ้นเพียงสองนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริงทีเดียว ในการทำสงครามฝ่ายที่มีกำลังมากย่อมได้เปรียบกว่าฝ่ายที่อ่อนแอ แต่ในทางกลับกัน ฝ่ายที่มีมันสมองบวกกับการรู้จักใช้คำพูดให้เป็นประโยชน์ ย่อมสร้างชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ได้ นักการทูตที่สำคัญๆ ของโลก ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศของตนเองอย่างมหาศาลก็ด้วยการใช้ลิ้นหรือคำพูดที่ก่อประโยชน์ในการเจรจาต่อรองตกลง ขอความช่วยเหลือฝ่ายต่างๆเพื่อให้ประเทศของตนเองอยู่รอดปลอดภัย
เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านหลายท่านอาจมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนหรือเข้าใจผิดคิดว่า นักพูดจะต้องคุยเก่ง พูดคล่อง พูดมาก หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่นักพูดหมายถึง คนที่สามารถใช้คำพูดให้เกิดประโยชน์ เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วสามารถโน้มน้าว ใจคนได้
เคยมีคนโทรศัพท์มาถามผมหลายคนว่า แล้วถ้าอยากจะเป็นนักพูดที่ดีต้องทำอย่างไร คำตอบคือ ท่านจำเป็นจะต้องเป็นนักอ่าน นักค้นคว้า นักคิด นักฟัง และก็หมั่นฝึกฝน พร้อมกับต้องมีการปรับปรุง พัฒนาการพูดของตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องเชื่อว่า การพูดนั้นสามารถศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนได้ จงเชื่อเรื่องของพรแสวงมากกว่าเรื่องของพรสวรรค์ ที่สำคัญนักพูดที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้
1. ต้องมีความปรารถนาอยากที่จะเป็นนักพูด เพราะ ความรัก ความชอบ จะทำให้ทำเรื่องที่รัก ที่ชอบได้ดีกว่า หากว่าเราไม่รัก ไม่ชอบ สิ่งนั้น อีกทั้งเมื่อถูกเชิญให้ไปพูดเรื่องอะไร ตัวผู้พูดจะต้องมีประสบการณ์ในเรื่องที่จะพูดอยู่พอสมควร หรือ ศึกษาเรียนรู้เรื่องนั้นมานานพอสมควร แต่หากไม่รู้เรื่องนั้นก็ควรเตรียมตัวไปให้ดี ต้องอ่านให้มาก ต้องฟังให้มาก ต้องมีการวางแผนการพูดเป็นอย่างดี ว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ช่วงกลางจะพูดอย่างไรและสรุปจบอย่างไร ควรมีตัวอย่างหรืออุปกรณ์ หลักฐาน ประกอบหรือใช้อ้างอิงในการพูดแต่ละครั้ง
2. ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร นักพูดที่ได้รับการยอมรับ มักมีเทคนิคในการพูดที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ฟัง บางคนมีมุขตลก บางคนมีแง่คิด บางคนพูดแล้วคนฟังเชื่อถือคล้อยตาม โดยมากมักต้องมีวิธีเล่าที่ง่าย น่าสนใจ ไม่ทำเรื่องง่ายให้ยาก แต่จะทำเรื่องยากให้ง่าย และเรื่องง่ายให้เป็นของสนุก
3. ต้องมีการฝึกซ้อมการพูดอยู่เสมอ นักพูดที่ยิ่งใหญ่ มักเคยผ่านการพูดเวทีสำคัญๆ และมีชั่วโมงบินในการพูดที่สูงกว่านักพูดธรรมดาสามัญ เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ คำว่า “ศาสตร์” อาจเรียนรู้กันได้ แต่คำว่า “ ศิลปะ” คงต้องขึ้นอยู่ตัวบุคคลนั้น จงพัฒนาและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4. ต้องมีการสอดใส่อารมณ์ในการพูด การพูดเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง กล่าวคือ หากผู้พูดมีความรู้สึกถึงเรื่องที่พูดอย่างไร ผู้ฟังมักจะรู้สึกและสัมผัสได้ว่าผู้พูดมีความรู้สึกถึงเรื่องนั้นอย่างนั้น กล่าวคือ หากว่าผู้พูดพูดเรื่องใด ผู้พูดต้องทำน้ำเสียง กริยา ท่าทาง สีหน้า ไปในทางเดียวกับเรื่องที่พูดด้วย
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การพูดต่อหน้าที่ชุมชน เป็นการสื่อสารที่มีอานุภาพมาก เป็นเครื่องมือ
ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้พอๆกัน ฉะนั้น หากท่านต้องการความสำเร็จ ท่านจะต้องมีการฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน การพูดอยู่เสมอ
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.