หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  การพูดต่อที่ชุมชน
  -  พูดอย่างฉลาด
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  การพูดเชิงบวก
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การเลือกวิทยากร
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การฝึกพูดต่อหน้าที่ชุมชนในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ด้วยกันกล่าวคือ การฝึกการพูดแบบในระบบ กับ การฝึกพูดด้วยตนเอง
1.การฝึกการพูดแบบในระบบ หมายถึง การฝึกการพูดที่มีรูปแบบการฝึกที่เป็นระบบ มีขั้นมีตอน มีผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมนั่งฟัง โดยมากในยุคปัจจุบัน มักมี หน่วยงาน องค์กร ชมรม สโมสร สถาบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำหน้าที่สอนและมีการฝึกปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน
2.การฝึกการพูดด้วยตนเอง หมายถึง การฝึกพูดด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการอ่านศึกษาค้นคว้าจากตำราหนังสือการพูด การสังเกต การตามฟังนักพูดที่มีชื่อเสียงพูด ซึ่งการฝึกพูดลักษณะนี้ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ต้องลองผิดลองถูกอยู่บ่อยๆ
ในบทความนี้ กระผมขอแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง.... ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกการพูดด้วยตนเองดังนี้
1.จงเป็นนักอ่าน.... ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ท่านสามารถหาหนังสือ ตำรา บทความดีๆเกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ในอินเตอร์เน็ต จงอ่านข้อแนะนำการพูดต่อหน้าที่ชุมชนในหนังสือต่างๆ และจงฝึกปฏิบัติด้วยตนเองอย่างตั้งใจ อดทน สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ท่านสามารถพัฒนาการพูดของท่านได้
2.จงเป็นนักฟัง....จงหาแบบอย่างหรือนักพูดที่ท่านชอบหรือศรัทธา แล้วติดตามไปฟังการพูดของท่านเหล่านั้นให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ แล้วลองสังเกต รูปแบบการพูด ท่าทาง น้ำเสียง กริยาต่างๆของนักพูดท่านนั้น แล้วลองมาปรับใช้กับตนเอง
3.จงใช้เครื่องบันทึกเสียง ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในยุคปัจจุบัน เรามีเครื่องบันทึกเสียงในรูปแบบต่างๆ เช่น เทป MP3 MP4 เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ท่านสามารถนำเอาไปบันทึกเสียงหรือภาพนักพูดที่ท่านชื่นชอบให้มากที่สุดแล้วนำมาเปิดฟังซ้ำอีกหลายรอบ เพื่อวิเคราะห์การพูดของนักพูดท่านนั้น อีกทั้งท่านควรบันทึกเสียงหรือภาพการพูดของตัวท่านเอง เพื่อนำมาเปิดแล้วลองดูสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงการพูดของท่านแต่ละครั้ง
4.จงฝึกการพูดด้วยตนเอง หาที่เงียบๆ แล้วลองฝึกการพูดของท่าน อาจจะฝึกต่อหน้ากระจก หรือฝึกระหว่างการเดินทางไปในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง ดังเช่น นักพูดหลายท่านทำกัน เช่น ลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ฝึกพูดบนหลังม้าระหว่างเดินทางไกล เดล คาร์เนกี อาจารย์ด้านการพูดชื่อดังของโลก เคยหัดการพูดด้วยตนเองระหว่างทำสวน เด็ดหญ้า อาจารย์จตุพล ชมพูนิช คิง ออฟสปีค ของเมืองไทย เคยฝึกการพูดด้วยตนเอง ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ฝึกพูดจากปากซอยถึงท้ายซอย การฝึกวิธีนี้ควร ทำท่าทางประกอบด้วย ไม่ต้องกระดากอาย การฝึกการพูดในรูปแบบนี้ มีประโยชน์หลายอย่าง... เป็นการฝึกลำดับความคิด เป็นการฝึกพูดให้คล่องปาก ทำให้ไม่ติดขัดเมื่อถึงเวลาต้องไปพูดบทเวทีจริงๆ
5.จงฝึกเขียนประกอบการพูด ก่อนที่ท่านจะไปพูดจริง ท่านควรหัดเขียน โครงเรื่องว่า ท่านจะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องมีอะไรบ้างและสรุปจบจะลงท้ายว่าอย่างไร แล้วจึงฝึกพูดหรือฝึกอ่าน หลายๆรอบ จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานำไปแสดงท่านไม่ควรใช้หรือดูบันทึกนั้น
6.จงฝึกพูดจากง่ายไปหายาก เช่น ฝึกพูดคำพังเพย การฝึกพูดจากสิ่งของที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงมาฝึกการพูดจากสิ่งของที่เป็นนามธรรม ฯลฯ
7.จงหาเวทีแสดงการพูด ข้อสุดท้ายนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุด หากท่านปฏิบัติตามทั้ง 6 ข้อ ข้างต้นแล้ว แต่ถ้าท่านขาดในข้อที่ 7 นี้ กระผมเชื่อแน่ว่า ท่านจะไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดเลย เพราะฉะนั้น การมีเวทีการพูดต่อหน้าผู้ฟังจริง จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งท่านมีเวทีแสดงการพูดมากเพียงใด ท่านก็เข้าใกล้เป้าหมายในการเป็นนักพูดของท่านมากขึ้นทุกขณะ จงหาโอกาสต่างๆ ในการพูด
ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นข้อแนะนำการฝึกการพูดด้วยตนเอง สำหรับท่านผู้ฟังที่ขาดโอกาสในการฝึกการพูดในระบบ ท่านก็สามารถประสบความสำเร็จได้โดยคำแนะนำข้างต้นนี้ เพียงแต่ท่านต้องมีความตั้งใจจริง มีความอดทน มีความรักและมีความฝันเป็นสำคัญ
...
  
การพูดต่อที่ชุมชน
การพูดต่อที่ชุมชน
โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การพูดต่อที่ชุมชน มีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ตลอดจนผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในการทำงาน คนที่มีทักษะในการพูดต่อที่ชุมชนย่อมได้เปรียบคนที่ไม่มีทักษะในการพูดต่อที่ชุมชนหรือผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน
หลายคนบอกว่าคนที่พูดเก่ง เขามักเป็นคนที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด เพราะความคิดดังกล่าว เลยไม่สนใจฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน แต่สำหรับตัวกระผม กระผมยืนยัน นั่งยันและนอนยัน 1,000 % เลยครับว่า การพูดต่อที่ชุมชนฝึกฝนได้ และมีคนอีกจำนวนมากมายในโลกนี้ก็ได้ยืนยันเช่นกัน
แล้วจะทำอย่างไรถ้าต้องการ พูดต่อหน้าที่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระผมขอแนะนำดังต่อไปนี้ครับ
1.ต้องมีเป้าหมาย หลายๆคน เห็นว่าการพูดต่อที่ชุมชนมีความสำคัญแต่ก็ไม่มีความพยายาม ไม่มีความมุ่งมั่นในการฝึกฝน แต่ตรงกันข้ามกับคนที่มีเป้าหมายหรือมีความใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นนักพูด บุคคลเหล่านี้ก็จะทุ่มเทฝึกฝน อย่างไม่ลดละหรือไม่หยุดหย่อน ถ้าท่านขาดความกระตือรือร้นในการฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชน ท่านลองนั่งเขียนบนกระดาษดูว่า ถ้าท่านพูดต่อที่ชุมชนได้ดี ท่านจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น ได้เงินเพิ่มมากขึ้น มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น มีโอกาสเป็นนักการเมืองในระดับต่างๆ หรือทำให้เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง โด่งดัง เป็นต้น
2.ศึกษาวิธีการพูดของนักพูดชื่อดังทั้งในอดีตและปัจจุบัน การศึกษาชีวิตและวิธีการพูดของบุคคลคนดังจะทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจและมีความต้องการที่จะเลียนแบบชีวิตหรือวิธีการพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังได้เรียนรู้เทคนิคในการพูดต่อที่ชุมชนมากยิ่งขึ้น
3.ต้องเพิ่มความกล้าหาญและสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง บุคคลที่ต้องการเป็นนักพูดหรือพูดต่อที่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านจะต้องเพิ่มความกล้าหาญและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ความกลัวการพูดต่อที่ชุมชน เกิดจากหลายสาเหตุ แต่มีสาเหตุที่สำคัญๆไม่กี่อย่าง สาเหตุประการหนึ่งก็คือ เราไม่เคยชินหรือเราไม่คุ้นเคยต่อการพูดต่อที่ชุมชนนั่นเอง แล้วเราจะทำอย่างไรให้คุ้นเคยเวทีหรือการพูดต่อหน้าที่ชุมชน วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ท่านต้องขึ้นไปพูดต่อที่ชุมชนบ่อยๆนั่นเอง จงหาเวทีฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชนให้แก่ตนเอง แล้วท่านจะเกิดความเคยชินและคุ้นเคยเวทีการพูด แล้วความประหม่าของท่านก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
4.เรียนรู้หลักสุนทรพจน์ คือ เรียนรู้วิธีการเปิดฉาก การพูดเนื้อหาสาระ ตลอดจนถึงการเรียนรู้วิธีการปิดฉาก โดยส่วนใหญ่เขาจะยึดหลักดังนี้
ขึ้นต้น ตตต. เท่ากับ ต้นตื่นเต้น
ตอนกลาง กกก เท่ากับ กลางกลมกลืน
สรุปจบ จจจ เท่ากับ จบจับใจ
สุนทรพจน์ในการพูดที่ดีนั้น ก็เหมือนกับการเขียนเรียงความ ซึ่งจะต้องมี คำนำ เนื้อหา สรุป การพูดที่ดีก็เช่นกัน ก็จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียนซึ่งจะต้องมีโครงสร้างหรือโครงเรื่อง จึงจะทำให้เกิดการลำดับการพูดได้ดี และจะส่งผลให้ การพูดมีความเข้าใจง่าย ไม่สับสน เนื่องจากมีการลำดับเหตุการณ์ ลำดับช่วงเวลา
5.สร้างศิลปะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ นักพูดที่ดีเมื่อวิเคราะห์ว่าผู้ฟังนั่งฟังด้วยความเบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากที่จะฟังการพูด นักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดีจะต้องรู้จักเทคนิคในการช่วยให้ผู้ฟังเกิดความสนใจหรือเกิดความตั้งใจฟังตลอดการพูด สำหรับเทคนิคที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมีดังนี้
5.1.การใช้น้ำเสียง ถ้อยคำเป็นการสื่อความหมายแต่น้ำเสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ การพูดด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบตลอดการพูดมักจะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจ เบื่อหน่าย ดังนั้น นักพูดที่ดีจะต้องมีน้ำเสียงในการพูดที่มีความหลากหลายในระหว่างการพูดต่อที่ชุมชน คือ ต้องมีเสียงเบาบ้าง ดังบ้าง เน้นบ้าง เงียบบ้าง เร็วบ้าง ช้าบ้าง ยืดเสียงบ้าง เป็นต้น
5.2.หาตัวอย่างแปลกๆ ใหม่ๆ มานำเสนอ การพูดตัวอย่างเดิมๆ ซ้ำๆ หรือตัวอย่างที่ผู้ฟังมักเคยได้ยินแล้วนั้น ผู้ฟังเมื่อทราบว่าเคยฟังแล้วก็มักจะไม่อยากที่จะฟังซ้ำ ดังนั้น นักพูดต่อที่ชุมชนที่ดีต้องพยายามหา ตัวอย่างใหม่ๆ แปลกๆ มานำเสนอหรือมาพูด ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและใส่ใจที่จะฟังการพูดตลอดระยะเวลาในการพูด
5.3.นำอารมณ์ขันมาประกอบการพูด นักพูดเกือบทุกยุคทุกสมัย เกือบทุกชนชาติมักชื่นชอบนักพูดที่พูดแล้วสนุก มีอารมณ์ขัน เพราะทำให้การฟังเป็นไปด้วยความสนุก เกิดเสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ เกิดเสียงที่ให้กำลังใจจากผู้ฟัง ยิ่งเป็นสังคมไทยเรา ผู้ฟังยิ่งชื่นชอบนักพูดที่มีอารมณ์ขัน
5.4.นำกิจกรรมมาประกอบหรือสอดแทรก ในสถานการณ์ที่การพูดต้องใช้เวลานาน เช่นต้องพูด 6 ชั่วโมง แน่นอนคนฟังก็ไม่ต้องการจะนั่งนานๆหรือนั่งฟังตลอด 6 ชั่วโมงแบบอยู่กับที่ ดังนั้น นักพูดที่ดีควรหากิจกรรมมาประกอบหรือนำมาสอดแทรก เพื่อให้พูดฟังได้ยืนบ้างหรือเกิดการเคลื่อนไหวร่างกายบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ทั้งนี้นักพูดจะต้องหากิจกรรมมาประกอบให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องหรือสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองพูดจึงจะเกิดความเหมาะสมและผู้ฟังก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าวด้วย
6.ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน ข้อนี้เป็นข้อสุดท้ายที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าขาดข้อนี้ไปแล้ว ท่านก็ไม่สามารถพูดต่อที่ชุมชนได้ดีหรือเป็นนักพูดที่ดีได้ จงฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน บางคนอ้างว่าตนเองไม่มีเวทีเลยไม่รู้จะฝึกฝนอย่างไร คืออย่างนี้นะครับ นักพูดเรืองนามในอดีตเช่น เดล คาร์เนกี ฝึกพูดขณะรดน้ำต้นไม้หรือขณะตัดหญ้าที่รก อดีตประธานาธิบดีลินคอล์น ฝึกพูดบนหลังม้าขณะเดินทางข้ามรัฐซึ่งสมัยอดีตต้องใช้ม้าเนื่องจากยังไม่มีรถยนต์ สำหรับตัวผมเอง สมัยก่อนผมเองก็ไม่มีเวทีที่จะฝึกฝนเช่นกัน กระผมเลยฝึกฝนด้วยตนเอง ขณะเดินออกกำลังตอนเช้าหรือตอนมีเวลาว่าง ก็จะเลือกหัวข้อ แล้วลองพูดหัวข้อที่ตนเองเลือกประมาณ 2-5 นาที ต่อ1หัวข้อหรือ 1 เรื่อง การฝึกด้วยตนเองเช่นนี้ จึงทำให้กระผมพูดได้คล่องขึ้น
สุดท้ายนี้ ถ้าท่านต้องการความก้าวหน้า ถ้าท่านต้องการเป็นผู้นำ ถ้าท่านต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ถ้าท่านต้องการมีชื่อเสียงโด่งดัง การพูดต่อที่ชุมชนจะนำพาท่านไปสู่สิ่งเหล่านั้น จงเรียนรู้และจงฝึกฝนการพูดต่อที่ชุมชนแล้วท่านจะได้ดังสิ่งที่ท่านปรารถนา
...
  
พูดอย่างฉลาด
พูดอย่างไรเรียกว่าพูดอย่างฉลาด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“อันพูดนั้นไม่ยาก ปานใด เพื่อนเอย
ใครที่มีลิ้นอาจ พูดได้
สำคัญแต่ในคำ ที่พูด นั่นเอง
อาจจะทำให้ชอบ และชัง”
พระราชนิพนธ์ดุสิตสมิต

จากพระราชนิพนธ์ดุสิตสมิต ทำให้เราทราบถึงความสำคัญของคำพูด ว่าการพูดนั้นทำให้คนชอบก็ได้ หรือคนชังก็ได้ จึงขึ้นอยู่กับคนที่ใช้คำพูดนั้นๆ ซึ่งการพูดหรือคำพูดที่มีลักษณะที่ดี และคนที่ฉลาดมักเลือกใช้มักจะมีลักษณะดังนี้
1.เป็นคำพูดที่แสดงถูกกาล กล่าวคือ เป็นคำพูดที่พูดถูกจังหวะ ถูกเวลา ถูกสถานที่
1.1.การพูดถูกจังหวะ คนมักชอบ ดังคำที่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ พูดมากก็มากเรื่อง พูดน้อยก็พลอยเคียง ไม่พูดก็ไม่รู้เรื่อง แต่การพูดผิดจังหวะคนมักชัง ตัวอย่าง ในการสนทนากัน บางคน พูดไม่ถูกจังหวะ เขาพูดยังไม่จบรีบพูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูดไม่จบ การพูดที่ผิดจังหวะนี้เมื่อทำบ่อยๆ คนที่สนทนาด้วยก็มักจะไม่ชอบ แต่เขามักจะชัง
1.2.การพูดถูกเวลา คนมักชอบ แต่การพูดผิดเวลาคนมักชัง ดังนั้น ในบางกรณี ก่อนที่เราจะพูด เราควรถามอีกฝ่ายหนึ่งก่อนว่า “ ขอโทษครับ ผมขอเวลาปรึกษาเรื่อง...ไม่ทราบว่าคุณจะพอมีเวลาว่างให้ผมไหมครับ ”
1.3.การพูดถูกสถานที่ การพูดเรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ควรนำไปพูดในบางสถานที่ เช่น เขากำลังทำพิธีสวดศพอยู่ เราดันไปพูดเรื่องตลก หัวเราะชอบใจในงานศพ เมื่อเจ้าภาพเห็นเขาอาจ ไม่รู้สึกสนุกเหมือนเราสนุกก็เป็นได้
2.น้ำเสียงสอดคล้องกับเรื่องที่พูด น้ำเสียงมีความสำคัญต่อเรื่องที่พูด มีคนเคยกล่าวว่า “ ภาษาสื่อถึงความหมาย
แต่น้ำเสียงก่อให้เกิดความหวั่นไหวในใจ ” คำพูดดังกล่าวมีความเป็นจริงมากอยู่ทีเดียว เช่น เรากล่าวแสดงความเสียใจในการจากไปของบิดาของเพื่อนสนิท แต่เรากล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น ดีใจ ชอบใจ เพื่อนจะมีความรู้สึกเช่นไร ถึงแม้เราจะใช้ภาษาที่บอกว่าเราเสียใจนะ แต่น้ำเสียงเราไม่สอดคล้องกัน อาจทำให้เพื่อนเรา ชังเราได้
3.มีอารมณ์ขันบ้าง การพูดที่ทำให้คนชื่นชอบ มักเป็นคำพูดที่ทำให้คนหัวเราะ ดังนั้น หากผู้พูดท่านใดเป็นนักสะสมอารมณ์ขัน หรือ เรื่องราวที่สนุกๆ คนมักจะชื่นชอบ อีกทั้งทำให้มีเพื่อนมาก คนอยากรู้จัก แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ผู้พูดควรต้องรู้จักวิเคราะห์ เนื้อหาในข้อที่ 1 เพิ่มด้วย คือ ควรใช้อารมณ์ขันให้ถูกกาล (ถูกจังหวะ ถูกเวลาและถูกสถานที่)ด้วย
4. พูดให้เนื้อหามีความชัดเจน ชวนติดตาม ผู้พูดที่ผู้ฟังชื่นชอบ มักพูดเนื้อหาให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังทำให้เกิดการติดตาม มีการจัดลำดับในการพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผู้ฟังไม่สับสน มีการพูดเรื่องที่ใกล้ตัวผู้ฟัง ผู้ฟังจึงสนใจที่อยากจะฟัง
5.ภาษาที่มีความเหมาะสมกับเรื่องและผู้ฟัง ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศมากจนเกินไปหากพูดกับผู้ฟังที่เขาไม่มีความรู้ในภาษานั้น หรือ คำศัพท์ในวงการนั้นๆ ไม่ควรมีคำฟุ่มเฟือย คำแสลง มากจนเกินไป หลีกเลี่ยงการระบุชื่อ หากสื่อถึงผู้นั้นในทางที่เสียหาย เพราะอาจทำให้เกิดโทษมากกว่า ประโยชน์ บางครั้ง ผู้พูด ใช้คำพูดที่ระบุถึง ความเสียหายของบุคคลโดยระบุชื่อ ก็อาจจะถึงกับขึ้นโรง ขึ้นศาลไปเลยก็มีมาแล้ว เพราะอาจโดนผู้ที่เสียหายฟ้องหมิ่นประมาทได้
6.การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หากผู้พูดเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมก็จะทำให้ผู้ฟัง มีความสุขที่ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง ดังนั้น ผู้พูด เมื่อพูดไป ก็ควรตั้งคำถามให้ผู้ฟังตอบหรือขอให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวที่ผู้พูดพูด เพราะผู้ฟังอาจจะไม่สนใจในสิ่งที่ผู้พูด พูดเลย หากผู้พูดไม่ให้ความใส่ใจในตัวผู้ฟัง
การพูดที่พูดถูกกาล , การใช้น้ำเสียง ,การใช้อารมณ์ขัน , การพูดให้เกิดความชัดเจน , การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมและการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการพูด จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดที่ฉลาดควรกระทำกัน
...
  
วิธีการนำเสนอ
เทคนิคในการนำเสนอ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในการนำเสนอของแต่ละบุคคลมักมีการนำเสนอที่ไม่เหมือนกัน และมีวิธี มีเทคนิคที่แตกต่างกันไป ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดถึง วิธีในการนำเสนอ เราสามารถจะนำเสนอโดยวิธีดังต่อไปนี้
1.เทคนิคสุนทรพจน์ คือ การลำดับเหตุการณ์ เช่น เล่าเรื่องตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ไปยังอนาคต หรือ หากต้องการอธิบายประเทศไทย ก็ขอให้ไล่ลำดับตั้งแต่เหนือสุดลงไปยังใต้สุด ข้อควรระวังในการนำเสนอวิธีนี้ คือ ผู้นำเสนอไม่ควรอธิบายแบบไม่เรียงลำดับ กล่าวคือพูดย้อนไปย้อนมา จนผู้ฟังรู้สึกสับสน วกวน จนอยู่ในอาการมึนงง
2.เทคนิค เปรียบเทียบ ระหว่างสิ่ง 2 สิ่ง เช่น พวกเราอาจจะเคยไปฟังธุรกิจขายตรง บางยี่ห้อ มักจะมีการนำเสนอสินค้าของตนเอง เปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่ง ในเรื่องของคุณสมบัติ ลักษณะ ตลอดจนราคา อีกทั้งผู้นำเสนอยังมีการแสดงการสาธิตสินค้าที่เปรียบเทียบให้ผู้ฟังได้เห็นกับตาอีกด้วย
3.เทคนิค การแสดงปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิคการนำเสนอที่ผู้นำเสนอได้พูดถึงปัญหาเพื่อให้ผู้ฟังเกิดการติดตามรับฟัง การพูดของผู้นำเสนอ แล้วผู้นำเสนอจึงให้ผู้ฟังออกความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหา หรือผู้พูดนำเสนอก็ได้บอกวิธีการแก้ไขปัญหาให้แก้ผู้ฟัง
4.เทคนิค การจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งภาค สำหรับข้อมูลในยุคปัจจบันมีมากมาย การจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งเป็นภาค จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ในการนำเสนอหากผู้นำเสนอไม่ได้จัดหมวดหมู่ จัดกลุ่มหรือแบ่งเป็นภาคให้กับผู้ฟัง ผู้ฟังอาจจะไม่เข้าใจ แต่หากผู้นำเสนอได้ใช้เทคนิคการจัดหมวดหมู่ การจัดกลุ่มและแบ่งเป็นภาค แล้วก็จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เช่น บริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง มีลูกค้าทั่วประเทศ หากระบุเป็นจังหวัด ก็จะมีมากเกินไป แต่ถ้าเราจัดแบ่งลูกค้าออกเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน ก็จะทำให้ผู้ฟังรับรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้น
5.เทคนิค การใช้ตัวย่อหรือตัวอักษร นักการตลาดหรือผู้ที่อยู่ในแวดวงการตลาด หากพูดถึง เรื่อง 4P(Product , Price , Place ,Promotion) นักการตลาดก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก ในวงการขาย KASH (K = Knowledge A = Attitude S = Skill H = Habit ) นักขายหรือคนที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับการขายหลายๆท่าน ก็อาจจะเข้าใจ หรือ 5 ส. (สะอาด , สะสาง , สะดวก , สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) บุคคลที่ทำงานหรือบริหารสำนักงานก็คงเข้าใจได้ไม่ยาก ฯลฯ
6.เทคนิค การตั้งคำถาม การตั้งคำถามจะทำให้ผู้ฟังสงสัย แล้วอยากที่จะติดตามฟัง เช่น ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าท่านสามารถเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ภายใน 3 เดือน , ท่านเชื่อหรือไม่ว่า โลกจะแตกอีก 10 ปี ข้างหน้า , ท่านทราบหรือไม่ว่า ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เป็นต้น
7.เทคนิค ตัวเลข การใช้ตัวเลขในการนำเสนอจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดการติดตามฟัง อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังทราบว่าตอนนี้ตนเองอยู่ ณ เวลาใด เช่น 5 วัน นับตั้งแต่นี้เราทุกคนต้องออกไปเลือกตั้ง , 10 ล้านบาทเท่านั้น พวกเราใกล้ความจริงแล้ว เป้าหมายในการขาย 100 ล้านบาท เราเหลือแค่ 10 ล้านบาท เท่านั้น
8.เทคนิค หาอุปกรณ์ช่วย ในการนำเสนอด้วยการพูดแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายๆ แต่หากผู้นำเสนอมีอุปกรณ์ช่วย ก็จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็วและเห็นภาพได้ชัดเจน เช่น การสาธิตสินค้า , การให้ทดลองชิมสินค้า , การทดลองให้ขับรถจริงๆ , การให้ผู้ฟังร่วมใช้อุปกรณ์ช่วยเวลาสาธิตสินค้า เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่า เทคนิค 8 ประการ ข้างต้น เป็น เทคนิคที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการพูดการนำเสนอได้ ส่วนจะใช้เทคนิคใดหรืออาจจะผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน ก็คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้ง ตัวผู้พูด ตัวผู้ฟัง สถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ
...
  
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
นักการเมือง นักบริหาร นักปกครอง นักประชาสัมพันธ์ นักกฎหมาย ต้องเป็นนักพูด
การพูดต่อหน้าที่ชุมชนมีความสำคัญต่อความเป็นผู้นำและการประกอบอาชีพต่างๆ “หากท่านปรารถนาจะเป็นผู้นำ ท่านต้องลุกขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนได้” เป็นคำพูดของหลวงวิจิตราวาทการที่ได้กล่าวมาอย่างยาวนานและเป็นอมตะวาจาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
“ ลิ้นเพียงสองนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริงทีเดียว ในการทำสงครามฝ่ายที่มีกำลังมากย่อมได้เปรียบกว่าฝ่ายที่อ่อนแอ แต่ในทางกลับกัน ฝ่ายที่มีมันสมองบวกกับการรู้จักใช้คำพูดให้เป็นประโยชน์ ย่อมสร้างชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ได้ นักการทูตที่สำคัญๆ ของโลก ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศของตนเองอย่างมหาศาลก็ด้วยการใช้ลิ้นหรือคำพูดที่ก่อประโยชน์ในการเจรจาต่อรองตกลง ขอความช่วยเหลือฝ่ายต่างๆเพื่อให้ประเทศของตนเองอยู่รอดปลอดภัย
เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านหลายท่านอาจมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนหรือเข้าใจผิดคิดว่า นักพูดจะต้องคุยเก่ง พูดคล่อง พูดมาก หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่นักพูดหมายถึง คนที่สามารถใช้คำพูดให้เกิดประโยชน์ เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วสามารถโน้มน้าว ใจคนได้
เคยมีคนโทรศัพท์มาถามผมหลายคนว่า แล้วถ้าอยากจะเป็นนักพูดที่ดีต้องทำอย่างไร คำตอบคือ ท่านจำเป็นจะต้องเป็นนักอ่าน นักค้นคว้า นักคิด นักฟัง และก็หมั่นฝึกฝน พร้อมกับต้องมีการปรับปรุง พัฒนาการพูดของตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องเชื่อว่า การพูดนั้นสามารถศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนได้ จงเชื่อเรื่องของพรแสวงมากกว่าเรื่องของพรสวรรค์ ที่สำคัญนักพูดที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้
1. ต้องมีความปรารถนาอยากที่จะเป็นนักพูด เพราะ ความรัก ความชอบ จะทำให้ทำเรื่องที่รัก ที่ชอบได้ดีกว่า หากว่าเราไม่รัก ไม่ชอบ สิ่งนั้น อีกทั้งเมื่อถูกเชิญให้ไปพูดเรื่องอะไร ตัวผู้พูดจะต้องมีประสบการณ์ในเรื่องที่จะพูดอยู่พอสมควร หรือ ศึกษาเรียนรู้เรื่องนั้นมานานพอสมควร แต่หากไม่รู้เรื่องนั้นก็ควรเตรียมตัวไปให้ดี ต้องอ่านให้มาก ต้องฟังให้มาก ต้องมีการวางแผนการพูดเป็นอย่างดี ว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ช่วงกลางจะพูดอย่างไรและสรุปจบอย่างไร ควรมีตัวอย่างหรืออุปกรณ์ หลักฐาน ประกอบหรือใช้อ้างอิงในการพูดแต่ละครั้ง
2. ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร นักพูดที่ได้รับการยอมรับ มักมีเทคนิคในการพูดที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ฟัง บางคนมีมุขตลก บางคนมีแง่คิด บางคนพูดแล้วคนฟังเชื่อถือคล้อยตาม โดยมากมักต้องมีวิธีเล่าที่ง่าย น่าสนใจ ไม่ทำเรื่องง่ายให้ยาก แต่จะทำเรื่องยากให้ง่าย และเรื่องง่ายให้เป็นของสนุก
3. ต้องมีการฝึกซ้อมการพูดอยู่เสมอ นักพูดที่ยิ่งใหญ่ มักเคยผ่านการพูดเวทีสำคัญๆ และมีชั่วโมงบินในการพูดที่สูงกว่านักพูดธรรมดาสามัญ เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ คำว่า “ศาสตร์” อาจเรียนรู้กันได้ แต่คำว่า “ ศิลปะ” คงต้องขึ้นอยู่ตัวบุคคลนั้น จงพัฒนาและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4. ต้องมีการสอดใส่อารมณ์ในการพูด การพูดเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง กล่าวคือ หากผู้พูดมีความรู้สึกถึงเรื่องที่พูดอย่างไร ผู้ฟังมักจะรู้สึกและสัมผัสได้ว่าผู้พูดมีความรู้สึกถึงเรื่องนั้นอย่างนั้น กล่าวคือ หากว่าผู้พูดพูดเรื่องใด ผู้พูดต้องทำน้ำเสียง กริยา ท่าทาง สีหน้า ไปในทางเดียวกับเรื่องที่พูดด้วย
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การพูดต่อหน้าที่ชุมชน เป็นการสื่อสารที่มีอานุภาพมาก เป็นเครื่องมือ
ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้พอๆกัน ฉะนั้น หากท่านต้องการความสำเร็จ ท่านจะต้องมีการฝึกฝน ฝึกฝนและฝึกฝน การพูดอยู่เสมอ
...
  
การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การสร้างอารมณ์ขันในการพูดมีความสำคัญและมีความจำเป็น เป็นอันมากต่อการพูดต่อหน้าที่ชุมชน อารมณ์ขันนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น
1.ช่วยให้บรรยากาศในการพูดเป็นกันเอง
2.ช่วยทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย และเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องสนุก
3.ช่วยในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
4.ช่วยสร้างสีสัน สร้างเสน่ห์ในการพูด
ซึ่งการสร้างอารมณ์ขันเราสามารถสร้างได้หลายวิธี ดังนี้
1.อ่านหนังสือประเภทขำขัน เช่น หนังสือการ์ตูน หนังสือตลก หนังสือนิทาน
2. สังเกต จดจำ นำเอาคำพูด อารมณ์ขันของผู้อื่นมาดัดแปลง ปรับปรุง เพื่อใช้ในการพูด
3.ควรใช้ภาษา ท่าทาง น้ำเสียง อารมณ์ให้มีความสอดคล้องกับเรื่องที่พูด
4.หาเวทีในการพูดให้มากๆ เพื่อฝึกการพูดในการสร้างอารมณ์ขัน
สำหรับข้อควรระวังในการพูดอารมณ์ขัน คือ
1.ไม่บอกผู้ฟังว่าวันนี้จะมาพูดเรื่องตลกหรือเรื่องขำขัน
2.ผู้พูดไม่ควรหัวเราะเสียเองในเวลาที่พูดเรื่องราวขำขัน
3.ไม่ควรนำเอาเรื่องของ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ขนมธรรมเนียม หรือสิ่งที่ผู้คนเคารพมาพูดล้อเลียน
4.ไม่ควรพูดจา สองแง่สองง่าม ตลกใต้สะดือ มากจนเกินไป
ดังนั้น การสร้างอารมณ์ขันในการพูดจึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของนักพูด ซึ่งนักพูดแต่ละท่านอาจอ่านตำราการสร้างอารมณ์ขันเล่มเดียวกัน แต่การนำไปใช้ได้ไม่เท่ากัน เพราะทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับการนำเอาทฤษฏีไปปรับใช้ให้เข้ากับ ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง กริยา ภาษา บุคลิกและจังหวะในการพูดของแต่ละบุคคล
...
  
การพูดเชิงบวก
การพูดเชิงบวก
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การพูดเชิงบวกมีความสำคัญพอๆกับการคิดเชิงบวก เพราะคนที่ประสบความสำเร็จ มักเป็นคนที่คิดบวกมากกว่าเป็นคนที่คิดลบ และ คนที่ประสบความสำเร็จมักพูดเชิงบวกหรือพูดในแง่ดี มากกว่า การพูดลบหรือพูดในแง่ร้าย
โดยปกติแล้ว คนที่ชอบพูดเชิงบวก มักเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเคารพตนเอง มีความยืดหยุ่น ซึ่งตรงกันข้ามกับคนชอบพูดเชิงลบ มักเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความเคารพนับถือตนเอง และขาดความยืดหยุ่น
สำหรับคนที่ต้องการเป็นคนพูดบวก ควรหัดเป็นคนคิดบวกด้วย เนื่องจากความคิดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ อีกทั้งความคิดเป็นตัวการกำหนดการกระทำ รวมทั้งคำพูดด้วย ดังนั้น หากท่านต้องการพูดเชิงบวก ท่านจึงต้องพยายามพัฒนาความคิดให้เป็นไปในเชิงบวกด้วย
ความคิดเชิงลบและการพูดเชิงลบที่มักพบเห็นกันบ่อยๆ ได้แก่
1.การคิดแบบสุดโต่ง กล่าวคือ เป็นความคิดที่ ไม่ยืดหยุ่น มักมองอะไรเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็มองเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นหากดีก็ต้องดีสมบูรณ์แบบ(100 เปอร์เซ็นต์) หากไม่ดีก็ล้มเหลว(0 เปอร์เซ็นต์) เช่นความคิดลบหรือคำพูดเชิงลบ ก็จะออกมาในลักษณะ ฉันล้มเหลว ฉันสู้คนอื่นเขาไม่ได้ ฉันโง่เอง ฉันมันไม่ดี เป็นต้น
2.การคิดแบบคิดไปก่อน การคิดแบบนี้ มักคิดว่า อะไรที่มันร้ายๆที่เคยเกิดขึ้นแล้ว มักเกิดขึ้นอีก คำพูดเชิงลบของคนที่คิดแบบนี้ ก็มักจะเป็นคำพูดที่ว่า “ ฉันทำน้ำหกแต่เช้า วันนี้คงต้องซวยกันทั้งวัน ” หรือ “ รถเสียแต่เช้า วันนี้คงต้องมีเรื่องร้ายเข้ามาแน่นอน”
3.การคิดแบบชอบโทษตัวเอง การคิดแบบนี้ มักจะเอาตัวเองไปเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆซึ่งบางอย่างอาจจะเกี่ยวข้องกับตัวเองหรือบางเรื่องอาจไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง แล้วคิดมากจนเกินไปจนตนเองเกิดความรู้สึกต้องรับผิดชอบ ทำให้เกิดความละอาย ความสิ้นหวัง ท้อแท้ คนที่คิดแบบนี้มักใช้คำพูดที่ว่า “ ฉันมันไม่ดีจริงๆ เขาถึงทอดทิ้งฉันไป” หรือ “ถ้าฉันเรียนคณะอื่น มหาวิทยาลัยอื่น ฉันคงไม่เสียใจหรือซวยขนาดนี้”
สำหรับเทคนิคในการสร้างตนเองให้มีคำพูดเชิงบวก ได้แก่
1.มีความเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งต้อง คิดดี ทำดี แล้วคำพูดก็มักจะออกมาในแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ พูดดีหรือพูดเชิงบวกด้วย
2.แปลงขยะเป็นทองคำ กล่าวคือ นำสิ่งที่ร้ายหรือไม่ก่อประโยชน์ ให้กลับกลายเป็นดี เช่น เมื่อเจองานหนักๆ หรือถูกเจ้านายกลั่นแกล้ง ก็ขอให้คิดเสียใหม่ว่า นี่คือบททดสอบว่าเราเป็น “มืออาชีพหรือไม่” หรือ สิ่งเหล่านี้จะฝึกให้เราเป็นมืออาชีพในอนาคต
3.หมั่นให้กำลังใจตนเอง ด้วยการฝึก พูดบวกกับตนเอง ให้บวกยิ่งขึ้น มีนักวิจัยเคยวิจัยว่า อะไรก็ตาม หากว่า เราทำซ้ำๆกันให้ได้ 21 วัน วันที่ 22 เราก็มักจะมีนิสัยดังกล่าว เช่น หากเราหมั่นพูดเชิงบวกกับตัวเอง บ่อยๆ เราก็จะเกิดเป็นนิสัยขึ้นมาได้ เช่น ฉันมีพลัง ฉันมีความเชื่อมั่น ฉันทำได้ ฉันเก่งที่สุด ฉันสุดยอด ฉันสุขภาพดี ฉันยอดเยี่ยม ฉันวิเศษสุดๆ เป็นต้น
ดังนั้น หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการฝึกฝนและพัฒนาตนเองให้เป็นคนพูดเชิงบวก ท่านควรฝึกความคิดบวกและการกระทำที่บวกไปด้วย เนื่องจากมันมีความสัมพันธ์กัน อีกอย่างสิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านควรฝึกฝนด้วยความมุ่งมั่น จนเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่าน ขอให้ทุกท่าน ประสบความสำเร็จดังที่ใจปรารถนาทุกประการ
...
  
พูดเหมือนผู้นำ
พูดเหมือนผู้นำ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
บทความนี้ ผมอยากเขียนเกี่ยวกับการพูดของผู้นำระดับโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่สาธารณะชนหรือการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้นำมักจะต้องใช้การพูดเพื่อจูงใจให้คนจำนวนมากคล้อยตาม
เช่น JFK หรือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี , อับราฮัม ลินคอล์น , บารัก โอบามา ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา หรือ Tony Blair (โทนี่ แบลร์) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ หรือ - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะบุคคลระดับโลก
หากเรานำเอาคำพูดของบุคคลเหล่านี้มาวิเคราะห์ดูเราจะพบว่า พวกเขามีเทคนิคในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนและใช้เทคนิคต่างๆดังนี้
1. มี 3 คำมหัศจรรย์ หรือ มี 3 ประโยคมหัศจรรย์ เช่น
- อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐได้กล่าวในการไว้อาลัยแก่ผู้สูญเสียชีวิตในสงครามกลางเมือง ว่า “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ” หรือ “ คุณอาจจะหลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา คุณอาจจะหลอกคนบางคนได้ตลอดเวลา แต่คุณไม่สามารถหลอกคนทุกคนตลอดเวลาได้”
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะคนหนึ่งของโลก “ Learn from yesterday, live for today, hope for tomorrow.” “เรียนรู้จากวันวาน ใช้ชีวิตอยู่ในวันนี้ มีความหวังกับวันพรุ่งนี้”
2. มีการสอดใส่อารมณ์ต่างๆลงไปในน้ำเสียง เราจะเห็นว่า สุนทรพจน์ของผู้นำระดับโลกมีชีวิตชีวา เพราะเขาสอดใส่อารมณ์ ความรู้สึก ลงไปในน้ำเสียง จึงทำให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น อยากฟัง อีกทั้งมีความซาบซึ้งกินใจ ในเวลาฟังอีกด้วย
3. มีการใช้ วรรคทอง ซึ่งการใช้วรรคทองทำให้ผู้ฟังเกิดการจดจำ
- JFK หรือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี กล่าววรรคทองในวันรับตำแหน่งประธานาธิบดีว่า “ โปรดอย่าถามว่าประเทศชาติของท่านจะทำอะไรให้กับท่านได้บ้าง แต่จงถามว่า ท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติของท่าน ”
- นางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย “ถ้าท่านมีเงินหนึ่งรูปี และฉันมีเงินหนึ่งรูปี แล้วนำเงินนั้นมาแลกกัน ก็จะไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าคุณมีความเห็นหนึ่งความคิดเห็น ฉันมีหนึ่งความคิดเห็นและนำมาแลกกัน เราจะได้ความคิดเห็นเพิ่มเป็นสองความคิดเห็น”
4.มีการใช้คำอุปมาอุปไมย หรือคำเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นคำที่สั้น กะทัดรัด ซึ่งนิยมพูดกันในชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นคำพูดในเชิงต่อว่าหรือเปรียบเปรย (ทั้งในทางดีและทางร้ายก็ได้) โดยผู้นำจะพูดโดยยกเอาเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมาเทียบเคียง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพไปตามนั้น มักจะมีคำเชื่อมว่า “ เป็น , เหมือน , เท่า, ราวกับ ” เป็นคำที่ใช้เชื่อมประโยค
5.มีการยกตัวอย่าง ผู้นำที่พูดเก่งมักจะใช้ตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งตัวอย่างนั้นจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่พูด อีกทั้งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ผู้นำหลายคนมักใช้ตัวอย่างของตนเองหรือประสบการณ์ของตนเองเป็นตัวอย่าง เช่น ตนพบกับความยากลำบากมากก่อน ตนจึงเข้าใจและเห็นใจ บุคคลที่ยากลำบาก หรือ ตนได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาและเกิดการสูญเสียเพื่อนฝูง ญาตพี่น้อง ตนจึงเข้าใจเรื่องของการสูญเสียและการต่อสู้ทางการเมืองเป็นอย่างดี เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่เป็นผู้นำ หรือ ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำ ควรนำเอาเทคนิคทั้ง 5 ข้อข้างต้น ไปใช้หรือไปประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการพูดของท่านให้เหมือนกับผู้นำ เมื่อท่านพัฒนาการพูดโดยใช้เทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้โดยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง กระผมเชื่อว่า การพูดของท่านจะเหมือนกับผู้นำระดับโลก และท่านจะเป็นบุคคลหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการพูดแบบผู้นำ
...
  
การเลือกวิทยากร
การเลือกวิทยากร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ในการฝึกอบรม การคัดเลือกวิทยากรมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันมาก ซึ่งการคัดเลือกวิทยากรต้องมีความพิถีพิถัน เป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวิทยากร ควรมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในหัวข้อหรือหลักสูตรที่จะให้บรรยาย ผู้จัดการฝึกอบรมควรที่จะมีการตรวจสอบ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ของวิทยากรว่ามีความรู้และประสบการณ์ตรงกับหัวข้อนั้นๆหรือไม่
2.มีความสามารถในการถ่ายทอด สอนเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย สอนสนุก ผู้ฟังสนใจฟัง ไม่น่าเบื่อ
3.มีชื่อเสียงในวงการหรือมีชื่อเสียงในหัวข้อที่บรรยาย ซึ่งผู้จัดการฝึกอบรม สามารถดูผลงานที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ บทความ ตำรา เอกสารต่างๆ
4.มีการบรรยายหรือมีการนำเสนอเนื้อหาได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการอบรม เพราะวิทยากรหลายท่าน มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น อีกทั้งมีการบรรยายที่สนุกสนาน ผู้ฟังชื่นชอบ แต่เนื้อหาที่บรรยายไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้
5.มีบุคลิกภาพที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีอายุ มีเพศ ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการให้บรรยาย
ทั้งนี้ ผู้จัดการฝึกอบรม ควรต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของวิทยากร โดยการสอบถามพรรคพวกเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการฝึกอบรมที่ตนเองรู้จักว่า คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรท่านนี้อยู่ในระดับใด อีกทั้งหากเป็นไปได้ควรขออนุญาตวิทยากรท่านนั้น ไปนั่งฟังการบรรยาย ไปสังเกตวิธีการสอน ก่อนที่จะเชิญไปสอนจริงๆ
...
  
การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
ดร. สุทธิชัยปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
www.drsuthichai.com
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า
โฆษกหมายถึงผู้ประกาศ ผู้โฆษณา เช่นโฆษณาสถานีวิทยุ ผู้แถลงข่าว แทนเช่นโฆษกพรรคการเมือง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของคำว่า
โฆษกหมายถึง ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา หรือผู้แถลงข่าวแทน
ดังนั้น ความหมายของโฆษก โดยรวมก็คือ ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา ผู้ที่ทําหน้าที่ ส่งมอบข่าวสาร และข้อมูลต่างๆ ให้แก่สาธารณชน หรือประชาชนได้รับรู้
คุณลักษณะของการเป็นโฆษกที่ดีคือ
1 มีข้อมูลมีข่าวสารมีความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องที่ตัวเองพูด
2 มีความน่าไว้วางใจมีความน่าเชื่อถือ
3 เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชนหรือสื่อมวลชน
4 มีความสามารถทางด้านการพูดการสื่อสาร
โฆษกควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดีดังนี้
1 การใช้คำ อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2 การใช้น้ำเสียง การใช้เสียง ประกอบ การพูดให้ถูกต้องกับสถานการณ์ นั้นๆ
3 การใช้อวัจนภาษา การใช้ท่าทางประกอบการพูด อย่างสอดคล้องเหมาะสม
จากเนื้อเพลง ผู้ใหญ่ลี
พศ 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด
สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา
หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา
จากเนื้อเพลงข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการหรือทางการกับชาวบ้าน ที่มีความผิดพลาด มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เราสามารถนำมาวิเคราะห์โดยผ่าน กระบวนการสื่อสาร ว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน อย่างไร
กระบวนการสื่อสาร มีดังนี้
1 ผู้ส่งสาร 2 สาร 3 ช่องทาง 4 ผู้รับสาร
1 ผู้ส่งสาร คือ ข้าราชการ ผู้รับนโยบาย จากรัฐบาล มาส่งต่อให้กับผู้นำชุมชน
2 สาร คือ การส่งเสริมให้ชาวนาและเกษตรกร เลี้ยงเป็ดและ สุกร(หมู)
3 ช่องทาง คือ การประชุม การใช้ไมโครโฟนพูดในที่ประชุม
4 ผู้รับสาร คือ ผู้ใหญ่ลี ที่เข้าใจผิด คิดว่า คำว่าสุกร หมายถึง หมาน้อย
จากกรณีศึกษาข้างนี้ เราจะแก้ไขอย่างไร...ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดหรือไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น...
ข้อที่ 1 ผู้ส่งสาร ควรเปิดโอกาสให้มีการซักถาม ปัญหา หรือความไม่เข้าใจต่างๆ จากผู้รับสาร
ข้อที่ 2 สาร ผู้ส่งสารได้ใช้ภาษาราชการ ซึ่งมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้นชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่นมักจะ คุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่น(หมู)มากกว่าภาษาจากส่วนกลาง(สุกร) เพื่อลดความผิดพลาด ควรใช้ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาที่ชาวบ้านใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ สื่อสารจะเกิด ประสิทธิภาพ มากขึ้น
ข้อ 3 ผู้รับสาร คือผู้ใหญ่ลี เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ หรือข้อสงสัย ก็ควรสอบถาม ข้าราชการ หรือทางการ ที่ส่งสาร หรือข้อมูล
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.