หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  การตรึงอารมณ์ผู้ฟัง
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  ถ้าอยากเป็นนักพูด...เชิญทางนี้....
  -  การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  การเตรียมเพื่อพูด
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  จะพูดให้ดี...ต้องมีครู...
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  อยากเป็นนักพูด
  -  ลีลานักพูด
  -  ปาก
  -  การแต่งตัวกับนักพูด
  -  พูดเพื่อให้ได้
  -  นักพูดชั้นนำ
  -  พูดดีเป็นศรีแก่งาน
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  ครบเครื่องนักพูด
  -  พูดเป็นเขียนเป็นอย่างนักพูดนักเขียน
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  การปิดฉากการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  สู่วิทยากรมืออาชีพ
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  การพูดหาเสียงเลือกตั้ง
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การสร้างเสน่ห์ในการพูด
  -  ก้าวสู่นักพูดมืออาชีพ
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  วิทยากรที่ดีต้องรู้จักผสมผสาน
  -  การเลือกวิทยากร
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  วิธีการฝึกพูดของ ดิสราเอลี
  -  วิธีฝึกพูดของ เดล คาร์เนกี
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ศิลปะการพูดว่าความในศาล
  -  การเตรียมตัวก่อนสมัครเป็นนักการเมือง
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  จงพูดอย่างกระตือรือร้น
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การเขียนสคิปในการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  การใช้โน๊ตย่อในการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  สอนอย่างไรให้ง่ายและสนุก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดกับการเป็นผู้นำ
ผู้นำกับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน (เป็นคำพูดของอดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ของสหรัฐอเมริกา)
โปรดอย่าถามว่าประเทศชาติของท่านจะทำอะไรให้แก่ท่านได้บ้าง แต่ขอให้ถามว่าเราจะทำอะไรบ้างสำหรับประเทศชาติของท่าน(เป็นคำพูดของอดีตประธานาธิบดี จอห์น ฟิตซ์เจอราล เคนเนดี้)
ถ้าคุณมีเงินหนึ่งรูปปี และฉันมีเงินหนึ่งรูปี แล้วนำเงินนั้นมาแลกกัน ก็จะไม่มีความหมายอะไร เพราะเราก็จะมีเงินแค่หนึ่งรูปีเท่าเดิม แต่ถ้าคุณมีหนึ่งความเห็น และฉันมีหนึ่งความเห็น แล้วเรานำความเห็นนั้นมาแลกกัน เราทั้งคู่ก็จะได้กำไร เพราะเราต่างก็มีความเห็นเพิ่มขึ้นเป็นสองความเห็น (เป็นคำพูดของ นางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย)
จากข้อความในประโยคข้างต้น ทำให้เราทราบว่าคำพูดแค่ประโยคเดียว สามารถเป็นที่จดจำของคนทั้งโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนที่เป็นผู้นำคำพูดของบุคคลนั้น มักเป็นที่สนใจของสาธารณะ ผู้ที่เป็นผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ต้องระมัดระวังคำพูด คำพูดแค่ประโยคเดียวสามารถเป็นที่จดจำของบุคคลต่างๆ ได้ทั้งในแง่ดีและในแง่ไม่ดี ดังคำพูดของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยของเราที่กล่าวไว้ว่า “ ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูดคำพูดเป็นนายเรา”
การเป็นผู้นำที่ดีมักมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น ความรอบรู้ , ความอดทน ,เป็นคนดี มีศีลธรรม , มีไหวพริบ ฯลฯ แต่คุณสมบัติหนึ่งที่ผู้นำพึงมีก็คือ การพูดนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูดในชีวิตประจำวันและที่สำคัญการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ต้องมีการพัฒนาและฝึกฝนการพูดอยู่เสมอ
การพูดของผู้นำที่ดี ผู้นำควรพูดให้มีความหลากหลาย เช่น มีคำคมในการพูด , คำพูดนั้นมีความชัดเจน , มีจิตวิทยาทางการพูด , รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด , รู้จักใช้ศาสตร์และศิลปะในการพูดฯลฯ
มีคำคมในการพูด ผู้นำที่ดีมักจะต้องเป็นผู้ที่สะสมคำคมของบุคคลสำคัญๆ มักเป็นผู้รวบรวมคำคมต่างๆ เพื่อที่จะนำไปใช้ในอนาคต เนื่องจากคำคมเป็นคำสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้ลึกซึ้ง ผู้นำที่พูดคำคมได้ดีมักเป็นผู้ที่ใช้ภาษาได้ดี รู้จักใช้คำต่างๆ ดั้งนั้น หากผู้นำต้องการฝึกฝนใช้คำคมต่างๆ ผู้นำควรจดจำ บันทึก คำคมของบุคคลต่างๆ ที่ตนชื่นชอบ แล้วว่างๆ ผู้นำควรหัดคิดคำคมหรือปรับเปลี่ยนคำคมของผู้อื่นมาเป็นของตนเพื่อนำไปใช้ในอนาคตในการพูด
คำพูดนั้นมีความชัดเจน ผู้นำควรฝึกพูดให้มีความชัดเจนหรือหัดสื่อความหมายจากความคิดของตนเองให้ผู้ฟังมีความเข้าใจที่ตรงกัน อีกทั้งเวลาพูดก็ต้องพูดให้มีความชัดเจน หนักแน่น ไม่ใช่พูดด้วยความไม่มั่นใจ
มีจิตวิทยาทางการพูด ผู้นำควรเรียนรู้ ศึกษา เรื่องของจิตวิทยาทางการพูด ว่าเวลาพูดกับผู้ฟังในวัย อายุ เพศ อาชีพ จำนวนคนฟังมากน้อย ควรมีการพูดที่แตกต่างกันไป เพื่อจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจในการพูดของผู้นำ
รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ในการพูด ผู้นำควรรู้จักพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะการพูดเรื่องเดียวกัน แต่ต่างสถานที่ ต่างเวลา ต่างเหตุการณ์ ก็ควรใช้คำพูดที่มีความแตกต่างกัน
รู้จักใช้ศาสตร์และศิลปะในการพูด ผู้นำควรอ่านหรือฟัง เทคนิคต่างๆ ในการพูดให้มากๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้
อีกทั้งการนำไปใช้หรือเรียกว่า ศิลปะในการพูด ควรมีการพัฒนาตนเอง ทั้งมีการปรับปรุงน้ำเสียง ท่าทาง บุคลิกภาพ การใช้ถ้อยคำภาษา การแสดงออกทางใบหน้า การเดิน การใช้ไมโครโฟน ฯลฯ จะต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นหรือให้เหมาะกับตนเอง
ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำจึงต้องหัดฝึกฝนการพูด อีกทั้งต้องหมั่นศึกษา เรียนรู้ เทคนิคใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ผู้นำควรมีการพัฒนาตนเอง ปรับปรุง แก้ไข ตนเอง เพื่อให้การพูดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คำพูด เป็นทั้งของขวัญที่ล้ำค่า และ คำพูด เป็นทั้งหอกดาบที่ทิ่มแทง











...
  
ศิลปะการพูดในงานบริการ
ศิลปะการพูดในงานบริการ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในยุคปัจจุบันการบริการลูกค้ามีความสำคัญมาก หากลูกค้าประทับใจในการบริการ ลูกค้ามักจะซื้อสินค้าและบริการซ้ำ หรือ ลูกค้าบางรายอาจบอกเพื่อนฝูง คนสนิทให้มาซื้อสินค้าและบริการต่อ
การบริการลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญในยุคของการแข่งขันในปัจจุบัน ซึ่งเทคนิคในการบริการลูกค้ามีหลากหลาย แต่สิ่งที่บริษัท ห้างร้าน สามารถทำได้ง่าย อีกทั้งไม่จำเป็นต้องลงทุน หรือลงทุนน้อยที่สุด ก็คือ
การฝึก พนักงาน ลูกน้อง ให้รู้จักพูดในการต้อนรับ หรือ บริการ ลูกค้า เพื่อสร้างความประทับใจนั้นเอง
การพูดในงานบริการหรือการพูดในการทำงานขาย จึงต้องควรมีการอบรม ฝึกฝน และพัฒนา เพื่อให้พนักงานหรือลูกน้อง เกิดความมั่นใจในการพูด ในการสื่อสารกับลูกค้า เช่น การพูดเพื่อเพิ่มยอดขาย
ในระหว่างบริการลูกค้า “ คุณลูกค้าจะรับทานเครื่องดื่มเป็นน้ำส้มหรือน้ำอัดลม ดีค่ะ ” กล่าวคือ การพูดเพื่อให้ลูกค้าเลือกไม่ว่าจะเลือกอะไร เราก็สามารถเพิ่มยอดขายได้จากสิ่งที่ลูกค้าเลือกในสินค้านั้น
การพูดในงานบริการ หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าคนที่พูดเก่งมักจะใช้คำพูดในการทำงานบริการที่เก่งไปด้วย แต่ความจริงไม่ใช่ครับ การสื่อสารหรือการพูดในงานบริการ ผู้ให้บริการควรเป็นฝ่ายรับฟังให้มากกว่าพูด ฟังเพื่อหาความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง และเมื่อลูกค้าต้องการแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ควร พูดด้วยเหตุผล อีกทั้งควรใช้น้ำเสียงทุ้มต่ำ
การพูดในงานบริการที่ดี หลีกเลี่ยงการพูดจาไม่สุภาพ การพูดจาไม่สุภาพเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารับไม่ได้ หากมีพนักงานพูดจาไม่สุภาพก็ไม่ควรให้ทำงานด้านฝ่ายต้อนรับหรือให้ทำงานในฝ่ายบริการลูกค้า
การพูดในงานบริการที่ดี ควรหลีกเลี่ยงคำพูดในเชิงกล่าวตำหนิลูกค้า ถึงแม้ลูกค้าจะเป็นฝ่ายผิดก็จริง พนักงานหรือคนที่ทำงานด้านบริการก็ไม่ควรพูดในเชิงกล่าวตำหนิ อีกทั้งควรระลึกเสมอว่า หากไม่มีลูกค้าก็ไม่มีเรา
การพูดในงานบริการที่ดี ควรพูดให้มี ปิยวาจา ซึ่งเป็นข้อหนึ่งในสี่ของสังคหวัตถุ 4 กล่าวคือ การพูดด้วยคำพูดที่อ่อนหวานไพเราะ จริงใจ ไม่พูดจาก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งควรพูดให้ถูกกาลเทศะ การพูดที่ดีจึงเป็นประตูด่านแรกของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์และสำคัญต่อการทำงานด้านการบริการ
การพูดในงานบริการที่ควรพูดจนติดปาก คือ “ สวัสดี ” “ ขอบคุณครับ ” “ ขอโทษครับ” “ มีอะไรให้ผมรับใช้ครับ” อีกทั้งควรจำชื่อลูกค้าให้ได้ด้วย การจำชื่อลูกค้าและเรียกชื่อลูกค้าได้อย่างถูกต้องจะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจได้เช่นกัน
ผู้ทำงานด้านบริการที่ดี ควรพูดอย่างมีสติ เนื่องจาก การทำงานด้านบริการอาจถูกคำพูดหรือถูกกระทำด้วยพฤติกรรมของลูกค้าในแบบต่างๆ ผู้ให้บริการจึงควรอดทน อีกทั้งต้องระวังคำพูด เพราะลูกค้าบางคนไม่พอใจสินค้า หรือลูกค้าบางรายต้องการใช้สินค้าด่วน แต่บริษัท ห้างร้าน เราส่งให้ไม่ได้ จึงทำให้ลูกค้าโกรธ พูดจาไม่ดี กล่าวว่าต่างๆ ดังนั้น พนักงานหรือผู้ให้บริการ ควรมีสติในการควบคุมอารมณ์ อีกทั้งไม่ควรใช้อารมณ์ตอบ จงระวังคำพูด
ผู้ทำงานด้านบริการที่ดี ควรพูดให้ตรงประเด็น ไม่พูดจาวกวนจนลูกค้าฟังไม่เข้าใจ จงพูดให้ลูกค้าเกิดความกระจ่างชัด อีกทั้งเมื่อลูกค้าสั่งสินค้า ควรพูดจาสรุปคำพูดของลูกค้าอีกครั้งเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ และช่วยลดความผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้า บริการ อีกด้วย
ดังนั้น การพูดในการทำงานด้านบริการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ ควรใส่ใจ เนื่องจาก การใช้คำพูด เป็นสิ่งที่ลงทุนด้วยเงินน้อยที่สุด แต่ในทางกลับกัน การใช้คำพูดในงานบริการ กลับทำให้บริษัทเกิดกำไร เกิดลูกค้าเพิ่ม ขึ้นอีกมากมาย
สินค้าดี ถ้าคนขายพูดไม่ดี ก็อาจเป็นสินค้าที่ไม่ดี
สินค้าไม่ดี ถ้าหากคนขายพูดจาดี สินค้านั้นก็อาจเป็นสินค้าที่ดีในสายตาของผู้บริโภคได้


...
  
ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดแบบฉับพลันหรือการพูดแบบกะทันหัน เป็นศิลปะการพูดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งผู้รักความก้าวหน้า ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ต้องควรฝึกฝนกัน เพราะการพูดแบบฉับพลันหรือการพูดกะทันหัน เป็นการพูดแบบไม่ได้มีการเตรียมตัวมาพูด แต่เป็นการพูดแบบไม่รู้ตัวมาก่อนว่าจะต้องพูดเรื่องอะไร หัวข้ออะไร หรือต้องพูดในสถานการณ์ใด
รูปแบบการพูดแบบฉับพลันหรือการพูดแบบกะทันหัน เช่น การพูดให้สัมภาษณ์ทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าทางโทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น นักการเมืองส่วนใหญ่มักถูกตั้งคำถามโดยผู้สื่อข่าว ก็ถือว่าเป็นการพูดแบบฉับพลันหรือการพูดแบบกะทันหัน อีกรูปแบบหนึ่ง หรือ การพูดในโอกาสต่างๆ ไม่ว่า พูดในงานแต่งงาน พูดในงานศพ พูดในงานเลี้ยงงานมงคลต่างๆ ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นการพูดแบบฉับพลันหรือการพูดแบบกะทันหันเช่นกัน
เมื่อท่านต้องเป็นผู้นำ อีกทั้งต้องถูกเชิญให้มีการพูดแบบฉับพลันหรือพูดแบบกะทันหัน ขั้นแรกทั้งต้องทำใจให้สบาย ทำใจให้มีสติ แล้วลองปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ คือ
ประการแรก ให้ท่านคิดถึงประโยคแรกๆ ที่จะพูด ในระหว่างที่ท่านต้องเดินขึ้นมาพูดบนเวที เมื่อท่านพูดประโยคแรกๆ ได้ ประโยคต่อไปมันจะค่อยๆ คิดได้เอง
ประการที่สอง ให้ท่านพูดให้ตรงกับงานหรือสถานการณ์ที่จัดงาน เช่น พูดในงานมงคลสมรสก็ควรพูดถึงเจ้าภาพ คู่บ่าวสาว หรือ พูดในสถานการณ์งานศพก็ควรพูดถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับ
ประการที่สาม สรุปจบหรือตอนจบ ท่านควรพูดให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ อาจฝากแง่คิด คำคม บทประพันธ์ต่างๆให้เหมาะสมกับงาน
สำหรับข้อควรระวัง เมื่อท่านถูกเชิญให้ขึ้นไปพูดหรือมีคนตั้งคำถามให้ท่าน เพื่อให้ท่านได้พูดแบบฉับพลัน ท่านไม่ควรไปต่อว่า ต่อขาน ผู้เชิญ เช่น ไปต่อว่าว่าทำไมไม่บอกก่อนจะได้ไม่มา หรือ ต่อว่าคนอื่นมาตั้งเยอะแยะ ทำไมไม่เชิญ แต่ท่านควรกล่าวขอบคุณ เจ้าภาพหรือผู้เชิญ
ในการพูดแบบกะทันหันหรือการพูดแบบฉับพลัน ท่านควรพูดให้สั้นที่สุด กระฉับ เข้าใจง่าย ไม่ควรพูดแบบวกไปวนมา ไม่ควรกล่าวออกตัว
เมื่อท่านไปร่วมงานบางงาน หากท่านคิดว่าท่านอาจมีโอกาสจะถูกเชิญให้ขึ้นไปพูด ท่านควรเตรียมการพูดแบบฉับพลันหรือเตรียมการพูดแบบกะทันหัน ภายในใจ เช่น งานมงคลสมรส หากท่านนั่งร่วมงาน แล้วท่านมีโอกาสจะได้ขึ้นไปกล่าวในฐานะผู้ใหญ่ของเจ้าบ่าว ขอให้ท่านเตรียมการพูดภายในใจ และเมื่อท่านถูกเชิญพูด ท่านจะพูดด้วยความมั่นใจ แต่หากไม่มีใครเชิญท่าน ท่านก็นั่งทานอาหารด้วยความสบายใจได้
สำหรับแนวการฝึกพูดแบบฉับพลันหรือการพูดแบบกะทันหัน หากมีเวลา ท่านอาจหาหัวข้อต่างๆ เขียนไว้ในสมุด อาจเป็นคำถามต่างๆ หรือ อาจตั้งสถานการณ์สมมุติ แล้วท่านลองตอบโดยไม่ต้องมีการเตรียมการพูด การหาข้อมูล อาจจะต้องมีการใช้นาฬิกาจับเวลา เพื่อจับเวลาในการพูดแต่ละหัวข้อโดยให้เวลา 2 นาที ในการฝึกแต่ละครั้ง ท่านควรฝึกพูดโดยมีโครงสร้างในการพูด กล่าวคือ ต้องมีการขึ้นต้น เนื้อเรื่อง และสรุปจบ (คือ ต้นตื่นเต้น กลางกลมกลืน จบประทับใจ)
วัตถุประสงค์ของการฝึกพูดแบบฉับพลันหรือการพูดแบบกะทันหันนี้ ก็คือ เพื่อให้เราได้ฝึกการใช้ความคิด ให้เป็นระบบ ฝึกไหวพริบปฏิภาณ ฝึกสมาธิ หากมีคนอื่นๆ ช่วยตั้งคำถาม ก็จะช่วยฝึกในการเป็นผู้ฟังได้อีกทางหนึ่ง เพราะหากไม่ตั้งใจฟัง ท่านก็ไม่สามารถจับประเด็นในการตอบคำถามได้
สุดท้ายนี้อยากฝากแง่คิดเกี่ยวกับการพูด ของชมรมปาฐกถาและโต้วาที มหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่า “ ริจะเป็นนักพูด จงพูดเพื่อชีวิต ริจะเป็นนักคิด จงคิดเพื่อสังคม ”




...
  
การเปิดฉากการพูด
การเปิดฉากการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดที่ดีมักจะต้องมีการสร้างโครงเรื่อง กล่าวคือจะต้องมีการเปิดฉากการพูด มีเนื้อเรื่อง และมีสรุปจบ ในการพูดแต่ละครั้ง จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ในบทความนี้เราจะมากล่าวกันในเรื่องของการเปิดฉากการพูด
การเปิดฉากการพูดมีความสำคัญมากเพราะถ้าหากนักพูดท่านใด เปิดฉากการพูดให้เป็นที่น่าสนใจ ก็จะทำให้ผู้ฟังชวนติดตามฟังเนื้อหาของการพูด ซึ่งการเปิดฉากที่ดี นักพูดควรเปิดฉากดังนี้
1.เปิดฉากการพูดแบบพาดหัวข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ โดยปกติแล้ว การพาดหัวข่าวโดยเฉพาะหน้าที่หนึ่งของหนังสือพิมพ์ มักเป็นที่สนใจของผู้อ่าน หากนักพูดนำข้อความจากหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์มาเปิดฉากการพูด ก็จะได้รับความสนใจ แต่ทั้งนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องที่พูด เช่น จับพ่อข่มขืนลูกแท้ๆ วัย 13 ปี , ครูพละข่มใจเด็ก 15 ปี ผูกคอตายหนีความผิด !!! ฯลฯ (กรณีเราจะพูดถึงเรื่องของปัญหาทางเพศหรือการแก้ไขปัญหาสังคมในยุคปัจจุบัน)
2.เปิดฉากแบบกล่าวคำถาม เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ฟังได้ฉุกคิด เช่น ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนเราสามารถมีอายุยืนยาวนาน 120 ปี หรือ ท่านเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ระยะทางหมื่นลี้ย่อมต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกหรือไม่ หรือ ท่านทราบหรือไม่ว่า ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการสูญเสียเงินทองและทรัพยากรต่างๆ เป็นจำนวนเท่าไรต่อปี
3.เปิดฉากแบบชั้นเชิงกวีหรืออ้างอิงวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นการนำเอาบทกวีหรือวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียงมาขึ้นต้น แต่ต้องให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะพูด ชั้นเชิงกวีในที่นี้รวมถึง คำกลอน สำนวน โวหาร คำคม คำพังเพย สุภาษิต ฯลฯ หรือ การนำวาทะบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ควรกล่าวชื่อของเจ้าของวาทะด้วยเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าของวาทะ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยหมายถึง การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชนและของประชาชน
4.เปิดฉากแบบให้ความรื่นเริง เป็นการเปิดฉากโดยการนำเอาอารมณ์ขัน มุขสนุกสนาน ขึ้นมาเพื่อเรียกความสนใจจากผู้ฟัง เป็นการเปิดฉากแบบเป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศไม่เคร่งเครียดจนเกินไป แต่ข้อควรระวังไม่ควรใช้มุขที่ไปกระทบกระเทือนผู้ฟัง อีกทั้งการใช้มุขต่างๆ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากผู้ฟังอาจจะไม่หัวเราะ หากสามารถขึ้นต้นโดยวิธีอื่นได้ ก็ไม่ควรเสี่ยงในการใช้มุขหรืออารมณ์ขันในการขึ้นต้นในการพูด
ฉะนั้นการเปิดฉากที่ดี ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โอกาส ความเหมาะสม อีกทั้งต้องพิจารณาเรื่องราวที่จะพูด สำหรับข้อควรระวังในการการเปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้
1.ไม่ควรพูดออกตัว การได้พูดแต่ละงาน หรือ แต่ละครั้งไม่ควรพูดออกตัว ว่าเราไม่ได้เตรียมตัวมาพูด งานนี้น่าจะมีคนที่เหมาะสมกว่าเราพูด เมื่อวานนี้นอนหลับดึกไปหน่อยไม่รู้ว่าวันนี้จะพูดออกมาเต็มที่หรือไม่ ฉะนั้นการพูดออกตัวควรหลีกเลี่ยง เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง
2.ไม่ควรพูดอ้อมค้อม วกไปเวียนมา จงพูดให้ตรงประเด็น เข้าประเด็น ไม่ใช่ไปพูดเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เขาเชิญพูด การเกริ่นยาวเกินไปจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญ ไม่อยากฟัง ไม่ควรขี่ม้าเลียบค่าย
3.ไม่ควรพูดขออภัย เช่น หากกระผมพูดอะไรผิดพลาดก็คงต้องขออภัยด้วย หรือ ขออภัยหากวันนี้พูดได้ไม่ดีนัก ฉะนั้น หากเตรียมการพูดมาดี ก็ไม่ต้องขออภัย จงพูดไปด้วยความมั่นใจในตนเอง
4.ไม่ควรพูดโอ้อวด เช่น ท่านผู้ฟังครับ สำหรับหัวข้อนี้ที่กระผมจะพูดในวันนี้เป็นหัวข้อที่กระผมรู้มากที่สุดในโลก ไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่ากระผม การพูดโอ้อวดตนเองมากๆ จะทำให้ผู้ฟังเกิดความหมั่นไส้ อีกทั้งมองผู้พูดในทางไม่ดีมากกว่าจะมีความรู้สึกที่ดีๆกับผู้พูด
5.ไม่ควรถ่อมตัว เมื่อพูดโอ้อวดไม่ดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้พูดถ่อมตัว เช่น ความจริงการพูดในหัวข้อนี้ กระผมมีความรู้น้อยมาก ท่านผู้ฟังในที่นี้เสียอีกที่มีความรู้มากกว่ากระผม แต่ถึงอย่างไรก็ดีเมื่อถูกเชิญมาพูดแล้ว กระผมก็ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยฟังกระผมพูดด้วยครับ การพูดถ่อมตัวจะทำให้ผู้ฟังเกิดการขาดศรัทธา เกิดความไม่เชื่อมั่นว่าวิทยากรหรือผู้พูด จะมีความรู้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเป็นการสร้างความน่ารำคาญให้แก่ผู้ฟังอีกด้วย
ฉะนั้น การเปิดฉากการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ท่านผู้อ่านจึงควรเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ โอกาส ควรเปิดฉากให้มีเสน่ห์ น่าตื่นเต้น ไม่ควรเปิดฉากให้บรรยากาศเกิดความน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ ไม่น่าฟัง
ทั้งนี้ การเปิดฉากที่ดีคงขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะในการพูดของแต่ละท่าน







...
  
การดำเนินเรื่องในการพูด
การดำเนินเรื่องในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การสร้างโครงเรื่องในการพูด การสร้างโครงสร้างที่ดีควรมีโครงสร้างกล่าวคือ ส่วนของคำขึ้นต้น ส่วนของการดำเนินเรื่อง และส่วนสรุป ในบทความฉบับนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของการดำเนินเรื่องในการพูด การดำเนินเรื่องที่ดีจะต้องมีความสอดคล้องกับคำขึ้นต้นและส่วนสรุป ลักษณะของการดำเนินเรื่องในการพูดที่ดีมีดังนี้
1.เรียงตามลำดับ ของเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ การพูดที่ดีควรมีการเรียบเรียงตามเหตุการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่สับสน เช่น เรียงตามอดีต ปัจจุบัน ไปอนาคต หรือ เรียงตามวัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา หรือ เรียงจากจากจังหวัดทางด้านเหนือสุดแล้วพูดไล่ลงไปยังจังหวัดใต้สุด ฯลฯ การเรียงตามเวลา เรียงตามวัย เรียงตามจังหวัดตามข้อความข้างต้นจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจมากกว่า การไม่ได้มีการลำดับ
2.เน้นย้ำประเด็นเดียว การดำเนินเรื่องที่ดี ควรมีการเน้นย้ำประเด็นเดียว ไม่ควรพูดหลายประเด็นจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสน ผู้พูดไม่ควรพูดในหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น หากเขาเชิญให้ไปพูดเรื่อง “ ยาเสพติด ” ก็ควรพูดถึง ปัญหาของยาเสพติด ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติด ฯลฯ แต่บางคนไม่ได้พูดอย่างนั้นดันไปพูดถึงเรื่องของ น้ำท่วม การเมือง สิ่งแวดล้อม มลพิษ กีฬา ฯลฯ
3.ใช้ตัวอย่างประกอบ การใช้ตัวอย่างประกอบมีความสำคัญมาก เพราะตัวอย่างประกอบจะทำให้การพูดเห็นภาพพจน์และเข้าใจได้มากกว่าไม่มีตัวอย่างประกอบ อีกทั้งช่วยขยายความให้มากขึ้น การใช้ตัวอย่างประกอบที่ดีควรใช้ตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องที่พูด ยิ่งหากเป็นตัวอย่างที่เป็นของจริงหรือเป็นประสบการณ์จริงของผู้พูดก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเคารพ ศรัทธา เชื่อมั่น เชื่อถือ ผู้พูดได้มากขึ้น
4.ต้องสามารถตัดทอนหรือขยายความได้ การพูดเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากเราเตรียมเนื้อหาในการพูดแล้วมีเวลาน้อยไป หรือมีเวลามากเกินไปกว่าเนื้อหา นักพูดที่ดีต้องสามารถตัดทอนเนื้อหาบางส่วนหรือเพิ่มเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ผู้จัดเขากำหนดให้
5.ควรมีการใช้ น้ำเสียง ท่าทาง บุคลิกลักษณะ สายตา ภาษา ถ้อยคำ สีหน้า ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด การพูดที่ดีต้องมีการใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด หากพูดเรื่องเศร้า ควรพูดเสียงเบาๆ ช้าๆ แต่หากพูดเรื่องที่ตื่นเต้น ควรใช้น้ำเสียงที่ดังกว่าปกติ ไวกว่าปกติ อีกทั้งหากเป็นเรื่องเศร้า ควรใช้สีหน้าที่สอดคล้องกับเรื่อง ไม่ควรหัวเราะหรือยิ้มเวลาพูด
6.ขั้นตอนการเตรียมการพูดหรือการตรวจสอบการพูด นักพูดที่ดีต้องมีการเตรียมตัวทุกครั้งก่อนขึ้นพูด การเตรียมเนื้อหาก็มีส่วนสำคัญ เมื่อเตรียมการพูดโดยการเขียนโครงเรื่องแล้ว ต้องมีการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ตัดทอน ว่าส่วนไหนควรเพิ่ม ส่วนไหนควรตัดทอน อีกทั้ง ถ้าจะให้ดีควรฝึกการพูดดังๆ สักสองสามรอบ ก่อนไปพูดจริง
การตรวจสอบการพูดนี้จะทำให้เราจำเนื้อหาของเรื่องได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงคำพูดหรือถ้อยคำให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง วัยของผู้ฟังอีกด้วย
สำหรับการสร้างเนื้อหาของเรื่องที่ดี ท่านควรปฏิบัติดังนี้ ท่านควรรวบรวมเนื้อหาของเรื่องที่จะพูดทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำเนื้อหามาตัดต่อกัน ดูว่าเนื้อหาอะไรเป็นประเด็นหลัก เนื้อหาอะไรเป็นประเด็นรอง หรือเป็นประเด็นย่อย จงพิจารณาประเด็นในการพูดให้มีเพียงประเด็นใหญ่เพียงประเด็นเดียว อีกทั้งควรเตรียมถ้อยคำให้เหมาะสมกับเนื้อหา แล้วจึงมาดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน เนื้อหาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ท้ายนี้ อยากฝากบทประพันธ์ที่เกี่ยวกับการสร้างโครงเรื่อง ของอาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
“ จงพูดดี มีมากล้น คนชื่นชอบ ตามระบอบ ต้นตื่นเต้น เห็นเหมาะสม
ให้กลมกลืน ลื่นกลาง ช่างน่าชม จบให้คม สมรับ จับจิตใจ ”









...
  
การปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การปิดฉากการพูด เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของการสร้างโครงเรื่องในการพูด การปิดฉากเป็นส่วนสุดท้ายของโครงเรื่อง ซึ่งมีการลำดับคือ การเปิดฉากการพูด การดำเนินเรื่อง และการปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูดที่ดี เดล คาร์เนกี นักพูดชื่อดังเคยให้คำแนะนำไว้ว่า “ จงบอกเขาอีกครั้งหนึ่งว่าท่านได้บอกอะไรแก่เขาบ้าง ” แต่อย่างไรก็ตามวิธีการปิดฉากการพูดที่ดีมีดังนี้
1.ปิดฉากแบบสรุปใจความสำคัญ เป็นการสรุปเนื้อหาของเรื่องที่พูดอีกครั้งโดยย่อ ว่าสิ่งที่พูดมามีกี่ข้อ เช่น ส่วนประสมทางการตลาดสรุปแล้วมีทั้งหมด 4 P (Marketing Mix) ได้แก่ 1. Product ผลิตภัณฑ์ 2. Price ราคา 3. Place ช่องทางหรือสถานที่ 4. Promotion การส่งเสริมการตลาด
2.ปิดฉากแบบ คำคม กวี สุภาษิต หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ เป็นการปิดฉากโดยยกคำคม กวี สุภาษิต สำนวน โวหาร หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ แต่ข้อควรระวัง ผู้พูดต้องจดจำ คำคม กวี กลอน สุภาษิต สำนวน โวหารหรือวาทะของบุคคลสำคัญให้แม่นยำ ไม่ควรพูดผิด เนื่องจากการปิดฉากมีความสำคัญมากในการพูด เราจะต้องปิดฉากด้วยความมั่นใจ ปิดฉากด้วยความหนักแน่น หากพูดผิดๆถูกๆ ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเคารพ นับถือ ไม่ศรัทธาได้
3.ปิดฉากแบบชักชวน เรียกร้อง กล่าวคือ เมื่อพูดถึงเนื้อหาของเรื่องเสร็จแล้ว ควรสรุปจบโดยการชักชวน เรียกร้องหรือรณรงค์ ให้ผู้ฟังได้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การชักชวนให้เลิกบุหรี่ การรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย การเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น
4.ปิดฉากแบบฝากให้คิด เป็นการปิดฉากแบบไม่ได้ชี้นำผู้ฟัง แต่เป็นการปิดฉาก โดยพูดถึงเนื้อหาของเรื่องโดยให้ข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล เสนอปัญหา แต่ฝากให้ผู้ฟังไปคิดต่อ เช่น ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นปัญหาที่พูดถึงกันมายาวนาน เราจะปล่อยให้ปัญหาคอรัปชั่นมีกันอีกนานเท่าไร เมื่อพูดจบประโยคก็ลงจากเวทีไปโดยไม่ต้องรอคำตอบจากผู้ฟังหรือผู้พูดพูดตอบ
5.ปิดฉากแบบอารมณ์ขัน เป็นการปิดฉากที่นำเอาเรื่องราวที่ขำขันมาใช้ เนื่องจากสังคมไทยส่วนใหญ่ชอบความสนุกสนาน รื่นเริง ไม่ค่อยชอบการพูดที่มีลักษณะเคร่งเครียด หากนักพูดท่านใด พูดตลก พูดสนุกสนาน มักเป็นที่ยอมรับนับถือ อีกทั้งยังสร้างความศรัทธาให้แก่ผู้ฟังได้ด้วย แต่ข้อควรระวัง กล่าวคือ เรื่องที่เรานำมาปิดฉากในการพูด อาจทำให้ผู้ฟังไม่หัวเราะได้ แทนที่ผู้ฟังจะหัวเราะ กลับนั่งเงียบกันทั้งห้อง กระสุนเกิดด้านขึ้น ดังนั้นหากหลีกเลี่ยงได้ ควรปิดฉากด้วยวิธีการอื่นได้ก็จะเป็นการดีกว่า
สำหรับการปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง หรือไม่ควรพูด เพราะเป็นการปิดฉากที่ฟังแล้ว เรียบๆ ไม่ทรงพลัง เช่น
- ขอจบแต่เพียงแค่นี้ , ขออภัยหรือขอโทษหากพูดอะไรผิดพลาด , ขอขอบคุณท่านผู้ฟังที่มาฟังกันในวันนี้
ฯลฯ ความจริงการปิดฉากในลักษณะไม่ถือว่าผิดพลาด เสียหายอะไร แต่เป็นการปิดฉากที่ไม่ค่อยจะทรงพลัง หรือ เป็นการปิดฉากที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ
ดังนั้นลักษณะการปิดฉากที่ดี ควรคำนึงถึง ความสอดคล้องระหว่าง การเปิดฉากการพูด และ การดำเนินเรื่อง การปิดฉากที่ดีควรมีความกระฉับ อีกทั้งต้องมีโครงเรื่องเป็นสุนทรพจน์
โดยสรุป การปิดฉากการพูด เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ อีกทั้งต้องใส่ใจในการเตรียมการพูดว่าเราจะปิดฉากอย่างไรให้เป็นที่ประทับใจผู้ฟัง เราจะปิดฉากอย่างไรให้ตรึงใจผู้ฟัง การปิดฉากที่ดีสามารถสร้างความศรัทธา ความน่าเชื่อถือของผู้พูดได้ ฉะนั้น นักพูดที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉาก ไม่ใช่เปิดฉากดี ดำเนินเนื้อเรื่องดี แต่หากปิดฉากไม่ดี ก็จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ไม่เป็นที่ประทับใจผู้ฟังมากนัก หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ก็ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉากการพูดครับ

...
  
การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เคยมีคนตั้งคำถามกับกระผมว่า ทำไมคนนี้พูดแล้วเกิดความน่าเชื่อถือ แต่ทำไมอีกคนหนึ่งพูดแล้วไม่เกิดความน่าเชื่อถือ ความจริงแล้วการพูดให้เกิดความน่าเชื่อมีหลายปัจจัยคือ
1.ตัวผู้พูด กล่าวคือ หากต้องการให้ผู้ฟังเชื่อถือ ตัวผู้พูดเองต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้ หากผู้พูดพูดโกหกบ่อยๆ ผู้ฟังก็คงยากที่จะเชื่อ การสร้างความน่าเชื่อถือในตัวผู้พูดยังรวมไปถึง อาชีพ ตำแหน่ง ฐานะทางสังคม รายได้ทางเศรษฐกิจ และบุคลิกภาพ(ทั้งภายในและภายนอก)
2.เนื้อหาในการพูด มีความสำคัญ หากการพูดนั้นวกไปวนมาฟังแล้วไม่เข้าใจผู้ฟังเกิดสับสน ไม่มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ สถานที่ ขาดเหตุผล ขาดการอ้างอิง ขาดการเปรียบเทียบ ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก ขาดการวิเคราะห์ ขาดการสรุป ขาดการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว สิ่งเหล่านี้มักเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ผู้ฟังขาดความเชื่อถือ
3.วิธีการนำเสนอในการพูด มีส่วนสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือขึ้น เช่น มีหลักฐานเป็นภาพ คลิปเสียง คลิปภาพ ในการประกอบการพูด เพื่อให้เห็นของจริง หากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือที่ทันสมัยก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ ความเชื่อถือได้ ทั้งนี้คงรวมถึงการต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย เช่น วิเคราะห์เพศ วัย อาชีพ ช่วงอายุของผู้ฟัง ฯลฯ
สำหรับองค์ประกอบการพูดที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือหรือคล้ายตาม เราควรมีเทคนิคดังนี้
- สถิติ เป็นข้อเท็จจริงที่หน่วยงานต่างๆทำไว้ ควรหาข้อมูล สถิติจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือในการนำเสนอ
การพูด ตัวอย่างในการพูดให้เกิดความคล้อยตามหรือทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีคุณสมัคร สนุทรเวช เป็นบุคคลที่นำเอาตัวเลข สถิติ มาใช้เป็นจำนวนมากในการพูดหาเสียงแต่ละครั้ง
- ความคล้ายคลึงกัน ความคล้ายคลึงกันของผู้พูดกับผู้ฟังก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
หรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้พูดกับผู้ฟังนับถือศาสนาเดียวกัน ก็จะได้รับความไว้วางใจมากกว่า , มีอาชีพเดียวกัน ก็จะสร้างความยอมรับจากผู้ฟังได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันบางอย่างอาจจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้มากกว่าความคล้ายคลึงกัน เช่น บุคคลที่มีฐานะดีกว่าหรือตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่า ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุการณ์ เงื่อนเวลาในการพูดด้วย
- พูดให้ตรงความต้องการของผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังมีความต้องการสิ่งใด เราก็พูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจหรือพูดในสิ่งที่
ผู้ฟังมีความต้องการ เขาก็จะมีความเชื่อถือและคล้อยตามผู้พูด ซึ่งหลักจิตวิทยา อับราฮัม เอช มาสโลว์ ได้วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1.ความต้องการปัจจัยสี่ 2.ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย 3.ความต้องการความรักและมีส่วนร่วม 4.ความต้องการได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติ 5.ความต้องการบรรลุความหวังในชีวิต ซึ่งผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟังว่าอยู่ระดับขั้นตอนใด
- เสียงคำพูดต้องชัดเจน หนักแน่น การจะพูดให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม เกิดความเชื่อถือ เกิดความมั่นใจ ผู้
พูดจะต้องพูดด้วยความมั่นใจก่อน ควรพูดด้วยความกระตือรือร้น พูดด้วยความคล่องแคล่ว อีกทั้งเมื่อมีการถามคำถามก็ควรตอบด้วยความรวดเร็ว หนักแน่น ชัดเจน เสียงดัง มีการเน้นระดับเสียงสูงต่ำ
- ต้องมีการเตรียมตัวมาอย่างดี เช่น เตรียมหลักฐานต่างๆ มาประกอบการพูด เช่น ภาพ คลิป ข่าว หลักฐาน
การอ้างอิง คำพูดของคนสำคัญ ตลอดถึงการเตรียมเนื้อหาในการพูด การเลือกใช้คำกลอน ถ้อยคำ คำคม เพลง มาประกอบการพูด
แต่อย่างไรก็ตาม การจะพูดให้คนเกิดความคล้อยตามหรือเชื่อถือ คงขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดเป็นหลัก หากผู้พูดไม่เชื่อถือตามสิ่งที่พูดไป หากผู้พูดพูดโกหกในสิ่งที่พูด หากผู้พูดไม่มั่นใจในสิ่งที่พูด ก็คงยากที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เกิดความมั่นใจในสิ่งที่ผู้พูดพูด เช่น ผู้พูดพูดให้ผู้ฟังเชื่อว่าผีมีจริง แต่ตัวผู้พูดเองไม่เชื่ออีกทั้งยังไม่เคยเห็นผี ก็คงพูดให้พูดฟังเชื่อได้ยากเนื่องจากตัวผู้พูดเองยังไม่เชื่อหรือพูดให้ผู้ฟังเลิกสูบบุหรี่แต่ตัวผู้พูดเองสูบบุหรี่แบบมวนต่อมวนผู้ฟังก็คงเชื่อหรือคล้อยตามได้ยากเช่นกัน













...
  
Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
Actions Speak Lound Than Words
(ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
ท่าทางหรือบุคลิกภาพ มีความสำคัญในการพูด บุคลิกภาพ หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะคน ซึ่งอาจรวมถึง รูปร่าง หน้าตา การแสดงออก ท่าทาง การนั่ง การยืน การเดิน เสื้อผ้า ทรงผม กริยาอาการ ตลอดจนเครื่องประทับต่างๆ ฯลฯ
นักพูด วิทยากร นักบรรยาย จึงควรเอาใจใส่ในเรื่องบุคลิกภาพ โดยต้องมีการปรับปรุง พัฒนาบุคลิกภาพดังนี้
1.อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เคยกล่าวไว้ว่า วิธีการสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการพูด ควรงดแสดงอาการ 1.ล้วง 2.แคะ 3.แกะ 4.เกา 5.หาว 6.ยัก 7.โยก 8.ถอน 9.ค้อนและ 10.กะพริบ
2.ควรเดินขึ้นเวทีการพูดและพูด อย่างกระตือรือร้น เบิกบานแจ่มใสและกระฉับกระเฉง การที่ผู้พูดพูดด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ผู้ฟังก็จะมีความรู้สึกตามที่ผู้พูดพูด แต่เมื่อการพูดครั้งใดที่ผู้พูด เดินขึ้นเวทีพูดและพูดด้วยความเฉื่อยชา เศร้าสร้อย ผู้ฟังก็จะรับรู้ถึงอารมณ์ดังกล่าวของผู้พูด อีกทั้งทำให้บุคลิกภาพของผู้พูดไม่เป็นที่ประทับใจอีกด้วย
3.ควรพัฒนาการใช้สายตา เมื่อต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชน การใช้สายตาต้องมองไปให้ทั่วถึง วิธีการใช้สายตาที่ดี ต้องค่อยๆ กวาดสายตาไปยังผู้พูด ไม่ควรมองเพดาน ไม่ควรมองพื้น หรือมองไปยังที่ผู้ฟังคนใดคนหนึ่งมากเป็นพิเศษ ควรสบตาผู้ฟังและแสดงออกซึ่งความจริงใจในการพูด
4.การแสดงออกทางใบหน้า ควรยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาพูด การยิ้มจะทำให้บรรยากาศในการพูดไม่ตึงเครียดจนเกินไป การใช้สีหน้าในการพูดก็ควรให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด เช่นพูดเรื่องเศร้า ก็ไม่ควรยิ้มหรือหัวเราะ แต่ควรทำหน้าเศร้า ทำน้ำเสียงเศร้า ไปตามเนื้อเรื่องที่พูด
5.การแต่งกายต้องให้เหมาะสมกับตัวเอง ต้องแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ยึดหลักสะอาด เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับสถานที่ที่จะไปพูด การแต่งกายที่ดีควรแต่งกายเสมอผู้ฟังหรือสูงกว่าพูดฟังสักเล็กน้อย แต่ไม่ควรแต่งกายต่ำกว่าผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังใส่สูทแต่เราเป็นผู้พูดดันใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ อย่างนี้ก็ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง
6.การใช้ไมโครโฟน ควรให้ปากห่างไมโครโฟนประมาณ 1 ฝ่ามือ เพราะถ้าปากใกล้ไมโครโฟนมากเกินไปก็จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าปากห่างไมโครโฟนมากไปก็จะทำให้เสียงที่พูดเบา ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่ค่อยจะได้ยิน แต่ทั้งนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลอีกเช่นกันเพราะบางคนอาจเป็นคนพูดเสียงดัง บางคนอาจจะเป็นคนพูดเสียงเบา ผู้พูดจึงต้องรู้จักประมาณระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟนด้วย
7.ฝึกการใช้ภาษากาย ภาษากายเป็นการสื่อสารของมนุษย์โดยผ่านความเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การพยักหน้าทันทีที่มีความเห็นด้วย หรือ ส่ายหน้าทันทีที่เห็นขัดแย้ง ฯลฯ อีกทั้งต้องระวังการใช้ภาษากายที่เป็นไปในลักษณะลบ เช่น การไม่กล้าสบตาผู้ฟัง การแสดงออกซึ่งความกระวนกระวายใจ การดูนาฬิกาบ่อย ฯลฯ
ดังนั้น Actions Speak Lound Than Words หรือ ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด มีความเป็นจริงมากที่เดียว ดังจะเห็นได้จากนักพูดบางท่าน ที่พูดเก่ง แต่ใช้ภาษาท่าทางที่แสดงออกด้วยความไม่จริงใจ จึงทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธา เช่น ไม่กล้าสบตาผู้ฟัง ชี้นิ้วใส่หน้าผู้ฟัง กัดฟัน ใช้เท้าเตะสิ่งของต่อหน้าผู้ฟัง เป็นต้น
สรุปก็คือ ท่าทางเป็นภาษาหนึ่งในหมวดของอวัจนภาษา(Non-Verbal Communication) ซึ่งภาษาท่าทางสามารถสื่อไปยังผู้ฟังได้ นักพูด วิทยากร นักบรรยาย ที่ดีจึงควรมีการปรับปรุง พัฒนาภาษาท่าทาง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรักความศรัทธาและเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ฟังได้ง่ายขึ้น




...
  
มาเป็นวิทยากรกันเถอะ
มาเป็นวิทยากรกันเถอะ

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

ในปัจจุบันนี้กระผมประกอบอาชีพวิทยากรอิสระ ซึ่งอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ดีมากๆ กระผมหวังว่าผู้อ่านอีกหลายท่านคงมีความสนใจจะประกอบอาชีพนี้เช่นกัน ซึ่งข้อดีของอาชีพวิทยากรอิสระมีหลายอย่าง เช่น

1.เป็นอาชีพที่ท่านสามารถบริหารเวลาได้เอง เป็นอาชีพที่ไม่เหมือนกับการทำงานประจำซึ่งจะต้องมีการลงเวลาทำงาน อีกทั้งท่านไม่ต้องไปทำงานทุกวัน ท่านสามารถเลือกงาน เลือกวันทำงานได้ ว่าท่านจะรับไปบรรยายหรือไม่ไปก็ได้

2. เป็นอาชีพที่ทำให้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาตนเองหลายๆด้าน คนที่จะเป็นวิทยากรต้องเรียนรู้มาก ต้องเข้ารับการอบรม ต้องอ่านหนังสือมาก อีกทั้งยังต้องฝึกฝนพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน , ทักษะการนำเสนอ ,ทักษะในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ , ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ฯลฯ

3.เป็นอาชีพที่ได้รู้จักคนเป็นจำนวนมาก รู้จักคนหลากหลายอาชีพ มีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมากมาย ทำให้เป็นที่เคารพแก่บุคคลทั่วไป

4.เป็นอาชีพที่ได้ท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น กินฟรี เดินทางฟรี พักฟรี โดยมีคนออกค่าใช้จ่ายให้ อาชีพวิทยากรมักถูกเชิญให้ไปบรรยายในสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสานและภาคกลาง หรือเกือบทั่วทุกจังหวัด ท่านสามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ในระหว่างเดินทาง หรือ หลังจากการบรรยายท่านสามารถใช้เวลาว่างไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยผู้จัดการอบรมออกค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง ค่าโรงแรมที่พัก และค่าอาหารให้แก่ท่าน

5.เป็นอาชีพที่ให้ความช่วยเหลือ อุทิศตน และช่วยพัฒนาประเทศชาติ อาชีพวิทยากรเป็นอาชีพที่ให้ความรู้ ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรต่างๆ เป็นอาชีพที่ส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะ มีศักยภาพในการทำงาน จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่ถือว่าเป็นการช่วยเหลือ อุทิศตนและช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกอาชีพหนึ่ง

6.เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ตามสมควร แต่หากว่าท่านสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่ยอมรับของผู้คน ท่านก็สามารถสร้างรายได้อย่างมากมายมหาศาลจากอาชีพนี้ ฉะนั้น ชั่วโมงบินจึงมีความสำคัญมากสำหรับอาชีพนี้ ยิ่งมีเวทีมาก ยิ่งพูดได้ดี ยิ่งคนรู้จักมาก โอกาสสร้างรายได้ยิ่งมีมากขึ้น

7.เป็นอาชีพที่สามารถสร้างสายสัมพันธ์กับผู้คนต่างๆ ท่านสามารถคบหาบุคคลที่ประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างโอกาสในการทำธุรกิจได้ในอนาคต

8.เป็นอาชีพที่ไม่ต้องมีเจ้านาย มีลูกน้อง ท่านจึงไม่ต้องไปกระทบหรือมีความขัดแย้งกับใคร ทำให้เกิดความสบายใจในการทำงาน ท่านจึงสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มที่

9.เป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก ทำให้ลดความเสี่ยงในการขาดทุนหรือล้มละลาย

10.เป็นอาชีพที่ขายองค์ความรู้ ซึ่งมีอยู่ในตัวของท่านเอง จึงเป็นสินค้าที่ไม่มีวันขายหมด แต่จะมีเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ หากว่าท่านได้อ่านมากขึ้น อบรมมากขึ้น หาความรู้มากขึ้น

เมื่อท่านได้อ่านข้อดีของอาชีพวิทยากรแล้ว กระผมเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านมีความสนใจ อยากที่จะประกอบอาชีพนี้ ซึ่งหากว่าท่านมีความสนใจ มีความรักในอาชีพนี้ และท่านมีการฝึกฝน พัฒนาตนเอง อย่างไม่หยุดยั้ง กระผมเชื่อแน่ว่าท่านสามารถประสบความสำเร็จในอาชีพวิทยากรได้เหมือนวิทยากรที่เก่งๆ ในระดับประเทศ

...
  
วิทยากรสมัยใหม่
วิทยากรยุคใหม่ควรเป็นอย่างไร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ความสำเร็จในการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง เราคงไม่ปฏิเสธว่า วิทยากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การฝึกอบรมในครั้งนั้นๆ เป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ หรือ เกิดความล้มเหลวในการฝึกอบรม ยุคอดีต การศึกษา สื่อต่างๆ เรามีโอกาสได้รับน้อยมาก แต่ในยุคปัจจุบัน คนจำนวนมากได้รับการศึกษา ได้รับการบริโภคสื่อต่างๆ อีกทั้งยังได้รับการอบรมในหลักสูตรต่างๆอีกมากมาย ฉะนั้น การคัดเลือกวิทยากรจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งวิทยากรยุคใหม่ ที่ได้รับการยอมรับในวงการฝึกอบรมควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.มีการนำเสนอที่หลากหลาย วิทยากรยุคใหม่ควรนำเสนอในการอบรมด้วยความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายในการใช้สื่อ(การใช้คลิปภาพยนตร์ประกอบ , การใช้เพลงประกอบการฝึกอบรม , การใช้โปสเตอร์ในการประกอบการฝึกอบรม, การใช้อุปกรณ์ต่างๆในการประกอบการฝึกอบรม เป็นต้น) ความหลากหลายในเนื้อหา (มีการอ้างอิงวิชาการ มีการอ้างอิงตัวอย่างจริง มีการใช้มุขตลกมาสอดแทรก มีการใช้แง่มุมความคิดเห็นของตนเองในการนำเสนอ มีการแนะนำหนังสือหรือเนื้อหาอื่นๆ ให้ไปอ่านเพิ่มเติม เป็นต้น)
2.มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการบรรยาย นี่คือความแตกต่างระหว่าง วิทยากรสมัยใหม่กับวิทยากรในสมัยก่อน เลยทีเดียว เนื่องจากยุคนี้ เรามีการแข่งขันสูง การใช้เทคโนโลยี จึงมีการนำมาใช้ทุกวงการ ไม่ว่า วงการธุรกิจ วงการการเมือง วงการทหาร วงการตำรวจ ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่วงการวิทยากรเอง เราจะเห็นได้ว่า วิทยากรหนุ่มๆ มีความสามารถเป็นที่ดึงดูดใจ หรือผู้ฟังอยากฟัง มากกว่าวิทยากรสมัยเก่าบางท่าน ก็เนื่องมาจากปัจจัยหนึ่ง ก็คือ วิทยากรท่านนั้น มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ประกอบการฝึกอบรมนั่นเอง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันในวงการวิทยากร
3.มีการนำเสนอที่ชัดเจน เข้าใจง่าย สนุก ไม่สับสน การเป็นวิทยากรสมัยใหม่ มักจะต้องทำเรื่องยากๆ ให้ดูเป็นเรื่องง่าย เรื่องง่ายๆ ให้เป็นเรื่องที่สนุก ไม่เครียด ตัวอย่าง สดๆร้อนๆ เมื่อสักครู่นี้เอง ก่อนที่กระผมจะเขียนบทความฉบับนี้ ได้มี โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ติดต่อให้กระผมไปเป็นวิทยากร แล้วก็บอกว่า “ อาจารย์ ขอให้พูดแบบสนุกๆ ไม่เครียด ไม่ต้องเอาสาระก็ได้ เอาฮาอย่างเดียว” ผมก็เกือบถามไปว่า “ถ้าวันไปบรรยาย ก็ขอให้เตรียมถาดให้หน่อย จะได้ไปตีหัวและเล่นตลกให้ดูเลย ” 555)
4.มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมกลับไปทำงานตามปกติแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน เช่น พนักงานขายเมื่อก่อนขายไม่เคยขายเข้าเป้าหมาย แต่เมื่ออบรมไปแล้ว พนักงานขายคนดังกล่าวมียอดขายเกินเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ หรือ พนักงานส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ในการทำงาน แต่เมื่อได้รับการอบรมไปแล้ว พนักงานส่วนใหญ่มีความขยันทำงาน มีความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
5.มีความรู้กว้างและรู้ลึก วิทยากรสมัยใหม่ ต้องมีความรู้ที่รอบด้าน รู้กว้างและรู้ลึก ในเรื่องราวต่างๆ เนื่องจาก สังคมยุคปัจจุบัน เป็นสังคมเปิด เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน เป็นสังคมข่าวสาร หากว่า วิทยากรมีความรู้น้อยกว่าผู้เข้ารับการอบรม อีกทั้งไม่สามารถตอบคำถาม หรือ แก้ปัญหาให้เขาได้ วิทยากรท่านนั้นก็คงสำเร็จได้ยากในแวดวงวิทยากรสมัยใหม่
6.มีความรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ยุคสมัยใหม่ หรือยุคสมัยนี้ เราคงได้ฟังได้ยินว่า มีวิทยากรระดับโลก ได้มาบรรยายในหัวข้อต่างๆ ให้กับนักธุรกิจไทย หรือ ผู้สนใจฟัง ซึ่งวิทยากรระดับโลกได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ในการอบรมบางหัวข้ออาจมีคนไทยแปลให้ จึงทำให้เราทราบว่า การที่ท่านจะเป็นวิทยากรยุคใหม่ ท่านจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ ท่านจึงจะได้เปรียบกว่าวิทยากรรุ่นเก่าๆ ที่ไม่สามารถสื่อภาษาต่างประเทศได้ เพราะท่านอย่าลืมว่า ประเทศไทยเราได้ไปทำสัญญาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศต่างๆ ภาษาอังกฤษจึงเป็นสื่อกลางที่มีความสำคัญมาก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อีกทั้งหากท่านเป็นวิทยากรที่เก่งภาษาต่างประเทศ ท่านก็อาจจะได้มีโอกาสไปบรรยายในต่างประเทศ
สรุปคือ วิทยากรยุคใหม่ต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ความคิดในการนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย , การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการฝึกอบรม , มีการดัดแปลง ประยุกต์ เนื้อหาเพื่อให้เกิดความชัดเจน เข้าใจง่าย สนุกไม่สับสนในเนื้อหาที่บรรยาย , มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อบรมในทางที่ดีขึ้นในการทำงาน , ต้องเรียนรู้ให้มากและหนัก ต้องรู้ลึก รู้กว้าง ในหัวข้อต่างๆ และต้องมีความรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อที่จะนำไปใช้ในการบรรยายหากท่านได้มีโอกาสไปบรรยายในต่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.