หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  พูดแล้วดัง...ทำแล้วรวย....
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  ถ้าอยากเป็นนักพูด...เชิญทางนี้....
  -  การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ลีลานักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  การพูดต่อที่ชุมชน
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  พูดอย่างฉลาด
  -  การฝึกพูด
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  จงระวังความเคยชินในการพูด
  -  คิดอย่างสร้างสรรค์
  -  ภาษากายกับการพูด
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  ศิลปะการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์
  -  การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  คำพูดเจาะจิต
  -  การสร้างเสน่ห์ในการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  จังหวะในการพูด
  -  วิทยากรที่ดีต้องรู้จักผสมผสาน
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  พูดให้ถูกสถานการณ์
  -  การพูดเป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  โฆษกกับการพูดที่ดี
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

...
  
พูดแล้วดัง...ทำแล้วรวย....
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

ก้อนหินหลายๆก้อนยังรวมกันเป็นภูเขา
น้ำหลายๆหยดยังรวมกันเป็นทะเล
นักพูดที่ฝึกฝนโดยไม่หยุดหย่อนย่อมสร้างตำนาน

การจะเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่หรือนักพูดที่เป็นตำนานได้นั้น คน ๆ นั้นจะต้องมีหลักการบางอย่างถึงจะไปถึงความฝันนั้นได้ หลักการดังกล่าวนั้นคือ
1.ต้องมีเป้าหมาย ถ้าท่านอยากจะเป็นนักพูดระดับไหนท่านต้องเขียนเป้าหมายนั้นเป็นตัวหนังสือไว้ เพื่อเตือนตัวเองตลอดเวลา เช่น ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านก็ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือไว้ในสมุดบันทึก หรือ ต้องการเป็นแค่นักพูดระดับจังหวัด ท่านก็ต้องเขียนเป็นตัวหนังสือไว้ในสมุดบันทึก เพื่อเป็นการเตือนใจตนเอง
2.ต้องฝันหรือต้องจริงจัง กับเป้าหมายที่เราต้องการตลอดเวลา ถ้าเราจริงจังกับเป้าหมายหรือความฝัน เราก็จะมีการปรับปรุง พัฒนาตัวเอง เตรียมตัวเตรียมการพูดตลอดเวลา เพื่อที่จะเข้าสู่เป้าหมายนั้นๆ ถ้าท่านมีความจริงจังในเป้าหมายว่าท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ หากท่านฝันเช่นนั้นจริงท่านจะต้อง ปรับปรุงพัฒนาตนเองให้มากกว่าการเป็นนักพูดระดับจังหวัดหรือนักพูดระดับท้องถิ่น
3.วางแผน ถ้าสมมุติว่าเป้าหมายของท่านต้องการเป็นนักพูดระดับชาติ ท่านจำเป็นจะต้องมีการวางแผน เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ท่านจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร กำหนด วัน เดือน ปี ที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย ต้องมีแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งแผนสำรองไว้ด้วย
4. ต้องมีกลยุทธ์ หากท่านต้องการประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงและรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ ท่านจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อให้เข้าไปถึงแผนที่วางไว้ ท่านอาจต้องสร้างหรือใช้เครื่องมือช่วย ได้แก่ การหาสื่อต่างๆ ( การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ แล้วนำบทความ นั้นมารวมเล่มเป็นหนังสือ , การจัดรายการวิทยุเพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น , การออกรายการทางโทรทัศน์เพื่อให้คนรู้จัก และ การใช้อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เราจำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จัก





5.พยายามร่วมกับคนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เช่น การเข้าชมรม สโมสร สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักพูด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือกัน หรือได้คำแนะนำที่ดี ๆ และสามารถเป็นกำลังใจให้แก่เราเวลาเราท้อแท้ใจเมื่อการพูดของเราประสบความล้มเหลว หรือเข้ารับการอบรมทางการพูดเพื่อให้ทราบเทคนิคใหม่ๆ
6.หาแบบอย่างมากๆ ถ้าท่านต้องการเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ ท่านต้องหาแบบอย่างมากๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ มีความสะดวกสบายกว่าสมัยก่อน เนื่องจากเรามีเครื่องมือต่างๆมากมาย( เครื่องถ่ายวีดีโอ เครื่องบันทึกเทป เครื่องเล่น MP 3 ) เพื่อบันทึกการพูดของนักพูดที่ท่านชื่นชอบทุกครั้งเมื่อไปฟังเขาพูด หรือหากใครไม่มีโอกาสตามไปฟังนักพูดที่ตนชื่นชอบ เราก็สามารถซื้อ VCD , DVD ของ
นักพูดระดับชาติมาดูได้ เช่น ทอล์คโชว์ต่างๆ (จตุพล ชมภูนิช , โน๊ต อุดม และอีกหลายท่าน)หากท่านต้องการเป็นนักพูดประเภททอล์คโชว์ แต่ถ้าหากท่านต้องการเป็นนักพูดทางการเมือง ท่านสามารถ สะสม เทป VCD,DVD ของนักการเมืองต่างๆ เช่น คุณสมัคร ,คุณเฉลิม , คุณชวน , คุณอภิสิทธิ์ หรือ นักพูดในแบบที่ท่านชื่นชอบ เพื่อเอาไว้ชมเอาไว้ศึกษาถึงลีลา น้ำเสียง ท่าทางในการพูดของนักพูดท่านนั้น แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง
7.ต้องมีการตรวจสอบ ควบคุม แผนการหรือเป้าหมายของเราตลอดเวลา ต้องทบทวนแผนการ ทบทวนเป้าหมายว่าสิ่งที่เราทำนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่
สำหรับหลักการข้างต้นที่กระผมได้แนะนำ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใด ได้นำไปใช้กระผมเชื่อว่าจะทำให้ท่านเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดัง พอท่านมีชื่อเสียงโด่งดังก็จะมีคนเชิญท่านไปพูดในที่ต่างๆ แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะไหลมาเทมา ดังนั้นท่านสามารถมีชื่อเสียงโด่งดังและร่ำรวยเงินทองจากการเป็นนักพูดของท่าน
การพูดโดยไม่คิด การพูดนั้นจะไม่ได้อะไร
การค้นคิดแต่ไม่ได้นำมาพูด การค้นคิดนั้นจะเปล่าประโยชน์

...
  
พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนไร้วิชา สกุณาไร้ปีก ย่อมไปได้ไม่ไกล
คนที่จะเป็นคนพูดเก่ง พูดดี พูดเป็นและพูดจูงใจคนได้นั้น คนๆนั้นต้องมีปัญญา ซึ่งการมีปัญญาของคนเรานั้น สามารถฝึกฝนหรือสะสมกันได้หลายทาง เช่น ปัญญาเกิดจากการอ่าน , ปัญญาเกิดจากการฟัง , ปัญญาเกิดจากการคิด และปัญญาเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์
- ปัญญาเกิดจากการอ่าน หมายถึง คนที่พูดเก่ง มักจะเป็นนักอ่าน การอ่านจะทำให้มีข้อมูลในการพูด แต่สำหรับนักพูดมืออาชีพแล้ว จะไม่อ่านหนังสือแบบผ่านๆ แต่จะมีสมุดบันทึกประจำตัว ไว้จดข้อมูลต่างๆ ที่สนใจ เพื่อจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในภายภาคหน้า
- ปัญญาเกิดจากการฟัง ผู้ที่จะเป็นนักพูดที่เก่งหรือเป็นมืออาชีพ มักจะเป็นนักฟัง ถ้ามีโอกาส เขาจะตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูด ซึ่งการฟังนั้น ไม่ฟังเปล่าแต่เขาจะใช้ปัญญาวิเคราะห์ว่า ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วคนชอบ ทำไมคนๆนี้ พูดแล้วน่าฟัง ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนหัวเราะ ชอบใจ ทำไมคนๆนี้พูดแล้ว คนถึงร้องไห้ ทำไมคนๆนี้พูดแล้วคนถึงเชื่อแล้วทำตาม สำหรับในปัจจุบันนี้ เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคเทคโนโลยี เราสามารถ ฟังนักพูดที่เราชอบ หลายๆครั้งโดยผ่านทางเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น เทป ซีดี วีซีดี MP3 ฯลฯ ซึ่งแตกต่างจากในยุคอดีตที่เราต้อง ตามไปฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดแต่ไม่สามารถจดจำหรือจดบันทึกได้หมด
- ปัญญาเกิดจากการคิด นักพูดบางคนมีความคิดไม่เหมือนชาวบ้าน แต่เวลาพูดทำไมคนถึงอยากฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น อาจมีความคิดที่ดีๆ อาจมีความคิดที่ทันสมัยและแง่มุมที่แปลกใหม่ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังได้ความคิดที่ดีๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
- ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำไมคนที่มีอายุบางคน ทำไมคนที่มีตำแหน่งต่างๆบางคน ทำไมเวลาพูดแล้วคนอยากฟังหรือตามไปฟัง เพราะนักพูดท่านนั้น ผ่านประสบการณ์มาก่อนหรือผ่านประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน ผู้ฟังจึงสนใจฟัง เช่น ทำไมนักขายถึงอยากฟัง นักขายมืออาชีพระดับโลกพูด แต่ไม่อยากฟังนักขายสมัครเล่นพูด , ทำไมคนถึงอยากฟังนักพูดมืออาชีพระดับประเทศพูด มากกว่าอยากฟังนักพูดสมัครเล่นพูด ฯลฯ
สิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ มักทำให้เกิดปัญญา เมื่อคนเรามีปัญญาแล้ว คนๆนั้นจะมีข้อมูล ในการพูด หรือ มีความรู้ มีความคิด ที่เป็นประโยชน์ในการพูด







ดังนั้น เราจะสังเกตว่านักพูดที่พูดเก่งๆ ...มักจะต้องมีปัญญา ฉะนั้น ถ้าท่านอยากเป็นนักพูด ท่านจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเรื่องของการอ่านหนังสือให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องลงทุนฟังนักพูดที่เก่งๆ เขาพูดให้มากๆ ท่านจำเป็นจะต้องใช้เวลาว่างในการนั่งคิด นั่งวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ และท่านจำเป็นจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อก่อให้เกิดประสบการณ์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการพูดต่อไปในภายภาคหน้า
เมื่อท่านลงทุนในสิ่งเหล่านี้แล้ว ท่านก็จะเกิดปัญญา เมื่อท่านเกิดปัญญา ท่านก็จะเป็นนักพูดที่พูดแล้วมีหลักการ มีเหตุมีผล พูดแล้วคนเชื่อถือ พูดแล้วคนหัวเราะ พูดแล้วสามารถชักจูงใจคนฟังได้
และสิ่งที่ตามมา ก็คือเมื่อท่านพูดแล้วท่านจะได้เงิน เนื่องจากมีคนจ้างท่านให้ไปพูด ไปบรรยายหรือไปอบรมให้แก่หน่วยงานต่างๆ อีกทั้งท่านจะได้ชื่อเสียงและตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางด้านสังคม ตำแหน่งทางด้านการเมือง เป็นต้น

...
  
คำคม เกี่ยวกับการพูด
คำคม เกี่ยวกับการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การที่คนคนหนึ่งจะเป็นนักพูดนั้น จะต้องมีความสามารถที่หลากหลายในการพัฒนาตนเองในการพูด เช่น จะต้องสามารถพูดให้สนุกได้ พูดจูงใจคนได้ พูดเพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังได้ พูดเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนได้ ซึ่งคนคนนั้นจำเป็นจะต้องใช้ศิลปะในการพูดหลายอย่าง
ยิ่งบางคนเป็นนักพูดประเภท วิทยากร ยิ่งต้องใช้ความหลายหลากในการนำเสนอ เช่น จะต้องมีการนำเกมส์ มีการร้องเพลง มีการใช้บทประพันธ์ หรือ คำคมต่างๆในการประกอบการพูด ในบทความนี้ผมขอพูดเรื่องเกี่ยวกับคำคม ก่อนอื่นเรามาพูดถึงความสำคัญของคำคมกันก่อน
คำคม มีความสำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดของผู้ฉลาดหรือนักปราชญ์ การจำ การทำความเข้าใจ คำคม จะทำให้ความคิดเราเฉียบแหลมขึ้น ตามปกติคำคมจะมีข้อความสั้นๆ แต่กินใจ ความลึกซึ้งขยายความออกไปได้มาก คนที่ต้องการเป็นนักพูด วิทยากรจึงควรจดจำ คำคมและนำไปใช้ให้เหมาะสม ถูกกาล ก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาได้
โดยมากหลักในการใช้ คำคม ประกอบการพูด ควรให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด และคำคม มีมากมาย หลายชาติ หลายภาษา บางคำคมไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าว ในบทความฉบับนี้กระผมจึงไม่สามารถอ้างอิง ในบทความนี้ได้ จึงขอนำเสนอคำคมเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพูด คำคม เกี่ยวกับการพูดมีดังนี้

 ถ้าท่านลุกขึ้นยืนพูดต่อหน้าที่ฝูงชนไม่ได้ อย่าปรารถนาเป็นผู้นำ (หลวงวิจิตรวาทการ)

ทุกคนพูดได้ แต่มีบางคนเท่านั้นที่พูดเป็น (ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์)

เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ(พุทธศาสนสุภาษิต)

กลองจะดังต้องถูกตี นักพูดจะดีต้องได้รับคำวิจารณ์

 พูดโดยไม่คิด ก็ดั่งยิงปืนโดยไม่เล็ง

อาวุธที่แสนคมยังไม่คมเท่ากับปากคน

คิดก่อนกล่าววาจา ศัตรูจะมาเป็นมิตร กล่าววาจาก่อนคิด มิตรก็อาจกลายเป็นศัตรู

ควรพูดจากใจ จริงใจ มั่นใจ สุดใจ แต่อย่าย่ามใจ

จงพูดแต่ดี อย่าดีแต่พูด

สิ่งที่ลงทุนน้อยและได้เกิดประโยชน์มากที่สุด คือ คำพูดที่ดี

ก่อนพูดเราเป็นนายมัน หลังพูดมันเป็นนายเรา

ลิ้นอ่อนนุ่มยังคงอยู่ ฟันแข็งกระด้างร่วงไปแล้ว

ยิ่งพูดมาก ความจริงก็ยิ่งน้อย
อย่าให้ลิ้นของท่านประจานตัวท่านเอง

คนคิดน้อย พูดมาก คนพูดมาก ทำน้อย

ถ้อยคำดี ถ้าน้ำเสียงไม่ดี ก็มีความหมายไปในทางตรงกันข้าม

ถ้าท่านไม่รู้จักเก็บลิ้น ลิ้นจะเก็บท่าน

กฎทองในการสนทนา คือคิดก่อนพูด

ความจริงพูดไม่ได้ในทุกโอกาส

พูดน้อย คนเกรงใจมาก

ถ้ารู้สึกว่าจะพูดอะไรให้น่าฟังไม่ได้ ก็นิ่งเสียดีกว่า

คำพูดเหน็บแนมที่เฉียบแหลมรุนแรงย่อมเชือดเฉือนได้ลึกกว่าคมอาวุธ(คติฝรั่งเศส)



นี่เป็นตัวอย่างคำคมที่เกี่ยวกับการใช้ปากหรือคำพูด ดังนั้นการใช้คำคมประกอบการพูดจึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้การพูดของเรามีความหลากหลายและผู้ฟังเกิดความศรัทธาในการฟังเราพูด การฝึกใช้คำคมในช่วงแรกๆ เราอาจจำคำคมของนักพูดต่างๆ ก่อน แล้วเราจึงคิดเองขึ้นมาบ้าง
ในบทความฉบับหน้าเราจะมาเรียนรู้เรื่องของการใช้บทกลอน บทประพันธ์ประกอบการพูด การใช้บทประพันธ์ประกอบการพูดจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและดึงดูดใจผู้ฟังได้มาก และยิ่งเป็นการพูดในโอกาสต่างๆ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ การสมรส การอำลา การเลี้ยงต้อนรับ ฯลฯ ถ้าใครได้ใช้บทกลอนหรือบทประพันธ์ประกอบการพูดก็จะทำให้เป็นที่จดจำและเกิดความประทับใจได้มากเลยทีเดียวครับ
...
  
ถ้าอยากเป็นนักพูด...เชิญทางนี้....
ถ้าอยากเป็นนักพูด...เชิญทางนี้....
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การที่คนคนหนึ่งจะพูดเก่งหรือมีชื่อเสียงทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนนั้น มันไม่ได้เกิดมาแล้วมีชื่อเสียงหรือพูดเก่งหมดทุกคน ซึ่งถ้าไปถามเบื้องหลังของนักพูดคนนั้นๆ เราจะทราบว่ากว่าที่เขาจะมีชื่อเสียงหรือพูดเก่งมาได้ เขาจะต้องผ่านสิ่งต่างๆหลายอย่างด้วยกัน ถ้าท่านอยากเป็นนักพูดท่านควรปฏิบัติดังนี้
1.มีความตั้งใจปรารถนาอย่างเต็มที่ที่จะต้องเป็นนักพูดให้ได้ และต้องมีเป้าหมายด้วยว่าจะเป็นนักพูดระดับใด ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดหรือระดับชาติ การที่ท่านมีเป้าหมาย มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจะทำให้ ท่านคิดเรื่องนั้นตลอดเวลา แล้วจะทำให้ท่านได้พัฒนาตนเองตลอดเวลา ในที่สุดเมื่อท่านมีเป้าหมาย และมีความตั้งใจ ท่านก็มีโอกาสไปถึงฝั่ง ซึ่งแตกต่างกับคนที่ไม่มีเป้าหมายและความปรารถนาอย่างแรงกล้า
2.มีการเตรียมตัวทุกครั้งที่จะต้องขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน การเตรียมตัวมีความสำคัญมาก ถ้าเราเตรียมตัวมาก เราจะมีความมั่นใจในการพูดมากกว่าการที่เราไม่ได้เตรียมตัวเลย ดังนั้น นักพูดที่ดีอย่าได้ละเลยการเตรียมการพูดทุกครั้ง การเตรียมการที่ดี เราควรเขียนลำดับเรื่องไว้ก่อน ว่าเราจะพูดอย่างไร ขึ้นต้นอย่างไร เนื้อเรื่องอย่างไร สรุปจบอย่างไร (ให้มีสุนทรพจน์ คือ ขึ้นต้นต้องตื่นเต้น ตอนกลางต้อง กลมกลืน สรุปจบต้องประทับใจ)ตลอดจนมีตัวอย่างประกอบ มีคำคมหรือมีกลอนประกอบบ้าง แล้วลองซ้อมพูด หัวข้อนั้นดูว่าติดขัดตรงไหนหรือไม่ ไม่สมบูรณ์ตรงไหน ลองขัดเกลาคำพูดและภาษาดู
3.มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง จะทำให้คนเชื่อมั่นเรามากกว่า นักพูดที่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ถ้าเรามีความมั่นใจ การปรากฏตัวของเราก็จะปรากฏตัวด้วยความมั่นใจ ตามหลักจิตวิทยา การกระทำมักเกิดขึ้นตามสิ่งที่เราคิด ถ้าเราคิดว่าเรากลัว การกระทำก็จะออกมา แต่ถ้าเราคิดว่า “ หัวข้อนี้เราเก่งที่สุด รู้ดีที่สุด วันนี้ฉันสู้ตาย ” เราก็จะเกิดกำลังใจได้ ขอให้พูดกับตัวเองในใจ
4.มีโอกาส ลองเข้าสมาคม สโมสร ชมรม ที่เกี่ยวข้องกับการพูดบ้าง เพราะการเข้ากลุ่มหรือองค์กรเหล่านี้จะทำให้เรารู้จักคนที่สนใจสิ่งเดียวกัน แล้วเกิดการเรียนรู้มากขึ้น จากการแลกเปลี่ยนความคิด เทคนิคใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ







5.มีการฝึกฝนตนเองตลอดเวลา และสม่ำเสมอ นักมวยที่ขึ้นชกมวยแล้วได้รางวัลนั้น เกิดจากการฝึกซ้อมเป็นจำนวนนับไม่ถ้วนถึงขึ้นชกจริง เช่นกัน การเป็นนักพูดที่ดีต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกซ้อม หาเวทีการพูดทุกโอกาส เมื่อเรามีชั่วโมงบินมากขึ้น ก็จะทำให้การพูดของเราคล่อง และมีการพัฒนา การขึ้นพูดบนเวทีบ่อยๆ จะทำให้เราปรับตัวมากขึ้น การประหม่าเวทีก็จะน้อยลง ทำให้เรามั่นใจในตนเองมากขึ้น การพูดก็เหมือนกับการว่ายน้ำ เราไม่สามารถว่ายน้ำเป็น ด้วยการอ่านตำราหรือหนังสือเป็นพันๆ เล่ม แต่เราสามารถว่ายน้ำเป็นก็ด้วยการลงไปว่ายน้ำนั้นเอง
เมื่อท่านฝึกการพูดแล้วเกิดอาการท้อแท้ให้ท่านคิดถึง คนที่พอเป็นแบบอย่างที่ดีให้ท่านได้ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น เรียนหนังสือในระบบไม่ถึง 1 ปี แต่ท่านสามารถเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ได้ ก็ด้วยการที่ท่านฝึกไปเรียนไปนั้นเอง , ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนักพูดทางการเมืองของไทยคนหนึ่ง จนได้รับฉายาว่า “ ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง ” ก็เป็นลูกแม่ค้า ไม่ได้เกิดมามีฐานะร่ำรวยอะไร แต่ท่านก็ฝึกไปเรียนไป จนเป็นนักพูดทางการเมืองระดับชาติ หรือแม้แต่อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ท่านก็เป็นนักพูดการเมืองระดับชาติก็ด้วยการฝึกไปเรียนไปเหมือนกัน
ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เคยกล่าวว่า “ เราไม่จำเป็นที่จะต้องกังวล เกี่ยวกับการฝึกเลย ขอให้เราฝึกไปเรียนไป ตลอดเวลา อย่าหยุด แล้ววันหนึ่งเราก็จะพบว่า เราไม่เป็นรองใครเลยในวงการนั้นๆ ” เช่นเราอยากเป็นนักพูดก็ขอให้ฝึกไปเรียนไปตลอดเวลาอย่าหยุดยั้ง แล้ววันหนึ่งฝันของเราก็จะเป็นความจริงในที่สุด




...
  
การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผมเห็นคนที่ถูกเชิญขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชนหลายคน อยู่ในอาการประหม่า บางคนสั่น บางคนพูดเสียงเบาเพราะความไม่มั่นใจหรือเชื่อมั่นในการพูดของตนเอง ในวันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าการที่เราไม่มีความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชนเนื่องมาจากสาเหตุอะไร ผมเคยถามคำถามนี้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนโดยที่กระผมเป็นวิทยากร คำตอบที่มักจะได้รับก็คือ การไม่รู้จะพูดอะไรเนื่องจากไม่มีข้อมูลหรือไม่ได้เตรียมการพูดมา บางคนบอกว่า ไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟังหรือว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน บางคนบอกว่า ไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ บางคนบอกว่า กลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี ฯลฯ

สรุปแล้วคือผู้อบรมการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหลายท่าน อ้างสิ่งต่างๆนานา หรือคิดไปต่างๆนานา แท้ที่จริงแล้ว เราสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชนได้ โดยการทำสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น คือ

1.บางคนอ้างว่าไม่ได้เตรียมตัวมาหรือไม่รู้จะพูดอะไร เราก็ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามก็คือ เราต้องเตรียมการพูดให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลำดับเรื่อง การใช้ถ้อยคำ การหาข้อมูล การวิเคราะห์ผู้ฟังว่าเป็นกลุ่มไหนมาฟัง เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น เป็นวัยทำงานหรือเป็นวัยชรา เพื่อเราจะเลือกใช้ภาษาถ้อยคำให้ถูกกับวัยของผู้ฟังหรือ ตัวอย่างของเรื่องให้สอดคล้องกับวัยของผู้ฟัง รวมไปถึงเวลาในการพูด ถ้าพูดช่วงเช้า กับช่วงบ่าย ก็ต้องใช้กลยุทธ์ในการพูดที่แตกต่างกัน เนื่องจากช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่นักพูดมักพูดว่า เป็นช่วง “ ปราบเซียน ” จึงต้องพูดให้มีความตื่นเต้น มีชีวิตชีวา เนื่องจากคนกินอาหารอิ่ม ง่วง ถ้าขืนไปพูดเสียงเบา ไม่เร้าใจ ผู้ฟังก็อาจหลับกันหมด
2.บางคนอ้างว่าไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟังหรือว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน เมื่อรู้เช่นนี้ ว่าเราไม่คุ้นเคยผู้ฟัง กลัวผู้ฟัง กระผมขอแนะนำว่า ผู้พูดควรไปก่อนเวลาสักเล็กน้อย ไปทำไม ไปเพื่อทำความรู้จักกับผู้ฟัง ชวนผู้ฟังพูดคุยบ้าง ทำความรู้จัก ทำความคุ้นเคย ก่อนที่จะบรรยายเพื่อให้เกิดการลดอาการประหม่าเนื่องจากการไม่คุ้นเคยหรือกลัวผู้ฟัง สำหรับบางคนกลัวว่าผู้ฟังที่มานั่งฟังอาจมีความรู้มากกว่าตน เราก็ควรคิดในแง่ดีว่า สิ่งที่เราบรรยาย ผู้ฟังอาจไม่รู้ เพราะความรู้เรื่องหนึ่งๆ มันมีหลายแง่มุม ตอนนี้เราเป็นผู้พูด เรามาพูดแง่มุมของเรา ถ้าผู้ฟังมีความรู้อะไรก็ช่วยเติมเต็มได้

3.บางคนอ้างว่า ไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ บางคนบอกว่า กลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี สำหรับข้อนี้ง่ายมาก เมื่อเรารู้ว่าเราไม่กล้าเนื่องจากไม่ได้ขึ้นฝึกพูดบ่อยๆ เราก็ควรทำสิ่งที่ตรงข้ามคือ เราต้องหาโอกาสในการฝึกการพูดบ่อยๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเองในการพูดในที่ชุมชน

ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน มีความสำคัญมาก เราจะเห็นได้ว่า บางคนมีความรู้มาก แต่ไม่กล้าพูดหรือพูดด้วยความไม่มั่นใจ ก็ทำให้ผู้ฟังขาดความศรัทธา ตรงกันข้ามกับอีกคนหนึ่งที่มีองค์ความรู้น้อยกว่า แต่มีความมั่นใจในตนเอง มีความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน ทำให้คนๆนั้น เป็นที่ยอมรับและมีคนศรัทธาในคำพูดหรือการพูดของเขา

ฉะนั้น นักพูดที่ดีต้องฝึกความกล้า โดยคิดว่า ความกลัวมักทำให้เสื่อม หรือ ถ้ากลัวสิ่งไหนให้เข้าไปหาสิ่งนั้นแล้วจะทำให้หายกลัว (ถ้ากลัวการพูดต่อหน้าที่ชุมชนท่านก็ต้องเข้าหาแล้วท่านจะหายกลัวในที่สุด)ท้ายนี้ขอฝากคำกลอนที่มีผู้แต่งซึ่งแต่งได้ไพเราะมากซึ่งกระผมไม่ทราบว่าใครแต่งจึงขออนุญาตนำมาปิดท้ายครับ

พูดทั้งที ต้องให้มี ความเชื่อมั่น
อย่ามัวสั่น หวั่นผวา น่าสงสาร
จงเตรียมกาย เตรียมใจ ให้เบิกบาน
ความกล้าหาญ บันดาลให้ พูดได้ดี





...
  
พูดเก่ง...รวยก่อน...
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

การพูดมีความสำคัญต่อการทำงาน มีความสำคัญต่อความสำเร็จของชีวิต เป็นอย่างสูง

นักเรียน ต้องพูด.... นำเสนอรายงานหน้าห้องเรียน
นักขาย ต้องพูด... เพื่อขายสินค้า บริการ
นักบริหาร ต้องพูด... สั่งงานลูกน้อง
ครู อาจารย์ ต้องพูด... สอน บรรยาย
และนักการเมือง ต้องพูด... หาเสียงเพื่อให้ประชาชนเลือก

ดังนั้น ในชีวิตของคนเราทุกคนต้องพูด ใครที่พูดเก่ง พูดเป็น พูดดี พูดจูงใจ พูดตลกได้มากกว่า คนๆนั้น...จะประสบความสำเร็จ..สูงกว่า...คนพูดไม่เก่ง พูดไม่เป็น ผู้ที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต ต้องพูดเป็น พูดเก่ง และสิ่งที่ตามมาเมื่อประสบความสำเร็จ มักจะทำให้ มีอำนาจ มีตำแหน่ง และมีเงินทองตามมา(คือ ร่ำรวยนั่นเอง)
เช่น วิทยากรที่มีชื่อเสียง พูดเก่ง มักได้ค่าตอบแทน ค่าบรรยาย ที่สูงกว่าวิทยากรที่ไม่มีชื่อเสียง พูดไม่เก่ง บางคนได้วันละหลายหมื่นเลยทีเดียว ไม่นับวิทยากรที่มาจากต่างประเทศที่มาบรรยายในไทยเรา บางคนได้วันละเป็นแสนเลยก็มีให้เห็น

ต่างจากคนที่ทำงานเก่ง แต่พูดไม่เก่ง มักจะได้ค่าตอบแทนน้อย แล้วมีคนถามผมว่าถ้าอยากเป็นนักพูดหรือพูดเก่งทำอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร ?

ถ้าอยากเป็นนักพูดหรือพูดเก่ง ไม่มีวิธีอื่นเราจะต้องเริ่มพูดครับ เวลามีประชุม มีการอภิปราย หรือเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น อย่าไปไหนมาไหนแล้วนั่งเป็นใบ้ ไม่ยอมพูดจา ไม่กล้าแสดงออก ถ้าอย่างนี้เป็นนักพูดหรือพูดเก่งไม่ได้ครับ แล้วมีคนถามผมต่อว่า ผมก็พูดเก่ง ทำไมไม่รวยสักที ? การจะเป็นนักพูดแล้วรวยหรือได้เงิน ได้ตำแหน่งนั้น จำเป็นจะต้องมีหลักการ ถ้าพูดมาก พูดเรื่อยเปื่อย ก็คงไม่รวย

แต่ถ้าเราพูดมีหลักการ ตรงตามวัตถุประสงค์ พูดตามความต้องการของผู้ฟัง รับรองว่า ได้เงินแน่นอน เช่น เขาอยากรู้เรื่องการตลาด เราก็ต้องมีความรู้ทางด้านการตลาด มีศิลปะในการนำเสนอ เมื่อถูกใจผู้ฟัง เขาก็มักจะบอกต่อ แล้วทำให้นักพูดคนนั้นมีรายได้ มีค่าตัวตามมา แต่สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้เรื่องที่เราจะบรรยายจริงๆ จังๆ

การพูดที่มีหลักการ ตรงตามวัตถุประสงค์ ในสมัยนี้ มีสถาบัน สโมสร สมาคม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สอนกันมากไม่จำเป็นจะต้องเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เหมือนในอดีต แต่ถ้าไม่มีเวลา หรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ก็ลองไปหาซื้อหนังสือ เกี่ยวกับการพูดมานั่งอ่าน แล้วลองฝึกฝน ปฏิบัติตามดู เพราะคนที่ฉลาดมักเรียนรู้จากผู้อื่น

สำหรับนักพูด...หน้าใหม่... เป็นเด็ก...อายุน้อย..ประสบการณ์น้อย...จะพูดให้ผู้ใหญ่ฟังได้หรือ..?
ได้ครับ..ได้แน่นอน คนเราไม่ได้รู้หมดทุกเรื่อง เรื่องบางเรื่อง เด็ก คนมีอายุน้อย อาจมีความรู้ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก

ดังนั้น ไม่ต้องไปตกใจให้มากนัก ขอให้มีความมั่นใจในตนเอง และมีเอกลักษณ์...เป็นของตนเอง..


การมีเอกลักษณ์...จะทำให้เรามีเสน่ห์ ทำให้คนจดจำเราได้ง่ายขึ้น


ท้ายนี้ คนที่จะเป็นนักพูดที่ดี นักพูดที่เก่ง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้


หนึ่ง...ต้องเป็นนักอ่าน ต้องอ่านมากๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้พูดในอนาคต สอง....ต้องเป็นนักจด คือเห็นเรื่องราวดีๆ คำพูดดีๆ ของนักการเมือง หรือนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ก็ต้องจดเอาไว้ในสมุดเพื่อนำมาใช้ในอนาคต สาม.... ต้องเป็นนักจำที่ดี ต้องจดจำเรื่องราวที่ได้อ่านได้ฟังมาจากอดีตแล้วนำมาใช้ได้ตามสถานการณ์ต่างๆ สี่....ต้องเป็นนักปรุงหรือพ่อครัว เมื่อมีข้อที่หนึ่งถึงสามแล้ว จำเป็นจะต้องมีการนำเสนอในรูปแบบของตนเพื่อให้คนฟังชอบ


เรามักจะเห็นว่า วิทยากร นักพูดหรือนักบรรยาย เมื่อพูดเรื่องเดียวกัน บางคนพูดแล้วคนชอบ บางคนพูดแล้วคนไม่ชอบ เนื่องมาจากการปรุงหรือการนำเสนอนั่นเอง


ดังนั้น การพูดเก่ง พูดเป็น จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จแล้วได้เงิน ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจ ตามมาแน่นอน ถ้าท่านตั้งใจ ฝึกฝน ไม่ท้อแท้ ท้อถอย ก่อนวันที่ท่านจะประสบความสำเร็จ

...
  
ลีลานักพูด
...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

คนที่เป็นนักพูด เป็นวิทยากร เป็นอาจารย์นั้น คนส่วนใหญ่มักมีความนับถือ แต่การเป็นนักพูด เป็นวิทยากร เป็นอาจารย์ ใช่ว่าจะเป็นกันง่ายๆ บางครั้งก็อาจเจอลองของอยู่บ้าง ฉะนั้นผู้เป็นนักพูด วิทยากร หรือ อาจารย์ ก็ควรมีลวดลายไว้บ้างก็จะดีไม่ใช่น้อย เพราะถ้าเราสังเกต เราจะเห็นว่า การอบรมบางแห่งนั้น ตัวของผู้เข้ารับการอบรมดูเหมือนจะอาวุโสกว่าคนที่เป็นวิทยากรหรือคนที่เป็นอาจารย์เสียอีก

ฉะนั้นเมื่อเราไปเจอกับผู้ฟังที่อยากจะลองของ เราก็ควรจะมีของให้เขาลอง เพราะถ้าเราบ่มีของดีไว้บ้าง ก็เห็นทีจะเอาดีในทางเป็นนักพูด วิทยากร อาจารย์ไม่ได้เสียแล้ว ดังนั้น เราก็ต้องตอบให้สมศักดิ์ศรี จะเป็นการดีอย่างยิ่ง นอกจากเราจะสะสมความรู้ในหัวเรื่องที่เขาให้บรรยายแล้ว เราก็ควรเตรียมการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆไว้ด้วยถึงจะดี ไม่ใช่ถ้าผู้เข้ารับ การอบรม มีคำถาม วิทยากรหรืออาจารย์สารภาพแบบตรงไปตรงมาว่า " ไม่รู้ครับ " ลองเจอ คำถามแบบนี้สัก 2-3 คำถาม แล้วตอบ " ไม่รู้ครับ " รับรองได้เลยว่า ความศรัทธาของผู้ฟังที่มีต่อวิทยากรจะค่อยๆ น้อยลงๆ จนหมดความศรัทธาในที่สุด

ดังนั้น ถ้าเราเจอคำถามเป็นหินๆ อย่าตอบสั้นๆ ง่ายๆ เป็นอันขาด " ไม่ทราบ " " ไม่รู้ครับ " ควรตั้งสติแล้วใช้ไหวพริบปฏิภาณให้เต็มที่ ถ้าตอบไม่ได้จริงๆ ก็ควรตอบแบบเลี่ยงๆ เช่น " อาจารย์ทราบไหมระยะทางจากใต้ขึ้นมาทางเหนือนี่สักกี่กิโลครับ "

เราก็ควรตอบเลี่ยงๆ " ผมไม่แน่ใจ แต่จะลองประมาณดูนะจากกรุงเทพฯ ไปนราธิวาส ถ้ากระผมจำไม่ผิดก็ประมาณ 1,200 กิโลเมตร แล้วจาก กรุงเทพฯ ขึ้นไปจังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย ก็ประมาณ 800 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นถ้านำมารวมกันก็จะประมาณ 2,000 กิโลเมตร " อย่างนี้ก็พอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่ข้อควรระวัง เมื่อเราเจอคำถามประเภทลองของหรือโดนยั่วยุจากผู้ฟัง เราอย่าออกอาการ ไม่ใช่ด่ากราดเลยอย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เพราะทำให้เสียบรรยากาศในการอบรม แล้วผู้ฟังคนอื่นๆที่ไม่รู้เรื่องก็พลอยรับความซวยไปด้วย

โดยส่วนตัว กระผมก็เคยเจอคนฟังประเภทลองของ เราก็ควรตั้งสติ พยายามตอบ ถ้าเขาไม่หยุดถามหรือคอยก่อกวน บางสถานการณ์เราไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะนิสัยคนไทย ส่วนใหญ่ขี้สงสารคน เมื่อวิทยากรถูกก่อกวนมากๆ คนฟังเขาก็จะช่วยเราเอง เช่น อาจตะโกน " พอแล้ว " บ้าง " นั่งลง " บ้าง

สรุปคือ วิทยากร อาจารย์ ต้องใช้ภาษาสุภาพ พยายามควบคุมอารมณ์ ไม่วางตัวเป็นศัตรูกับผู้ฟัง เมื่อเจอลองของควรควบคุมอารมณ์ พยายามรักษาภาพพจน์ของตนเองต่อคนฟังส่วนใหญ่เอาไว้ อย่าให้คนเพียง 1หรือ2 คน มาทำลายเรา ต่อหน้ามวลชนเป็นอันขาด




...
  
ศิลปะการพูด
ศิลปะการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า “ การพูด ” เป็นสิ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิต สำหรับมนุษย์ทุกยุค ทุกสมัย ไม่ว่าอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่ว่าจะชนชาติใด ภาษาใด วัยใด การพูดเป็นทั้งศาสตร์คือ สิ่งที่สามารถศึกษาหาความรู้ได้ การพูดเป็นศิลปะ กล่าวคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
การพูดจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ และยิ่งเป็นนักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการ นักการเมือง นักเทศน์ นักการทูต อาจารย์ วิทยากร ฯลฯ ยิ่งจะต้องใช้การพูดอย่างมีศิลปะหรือบางแห่งอาจเรียกว่ามี “ วาทศิลป์”
การพูดจึงเป็นได้ทั้งยาพิษและยาหอม หมายถึง เราสามารถใช้คำพูดไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้ การรู้จักใช้คำพูดให้ถูกกาลเทศะ จึงเป็นสิ่งสำคัญในขณะเดียวกัน ในทางกลับกัน การพูดโดยไม่คิดก็ย่อมนำพาเราไปสู่ความหายนะหรือสร้างความตกต่ำให้ชีวิตเราได้เช่นกัน
การพูดเป็นกุญแจนำทางไปสู่ความสำเร็จ นักขาย นักการเมือง นักสอนศาสนา นักจัดรายการ วิทยากร บุคคลเหล่านี้ ต้องอาศัยการพูดและต้องมีการฝึกฝนการพูด จึงจะประสบความสำเร็จในอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพูดให้คนคล้อยตามหรือการใช้อารมณ์ขันในการสอดแทรกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ พัฒนา จึงจะนำพาไปสู่ความสำเร็จในอาชีพได้
การจะพูดให้ได้ดีต้องมี “ อิทธิบาท 4 ” คือ ต้องมีฉันทะ คือมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเป็นนักพูด วิริยะ คือ ความพากเพียรบากบั่นในการฝึกฝนการพูด จิตตะ คือ ต้องมีจิตใจจดจ่อต่อเป้าหมาย ไม่ทอดทิ้งเป้าหมาย วิมังสา คือ การใช้ปัญญาตรวจสอบทบทวนแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ทำให้ดียิ่งขึ้น
การพูดที่มีส่วนผสมโดย มีวาทศิลป์ มีหลักการ มีเหตุผล มีตลกขบขัน มีตัวอย่าง มีการอ้างอิง มีไหวพริบปฏิภาณ มักเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลโดยทั่วไป และทำให้คนมีความนิยมชื่นชอบในตัวผู้พูด
บุคคลที่พูดเก่งมีวาทศิลป์ที่ดี มีความเป็นอัจฉริยะในการพูด มักเป็นคนที่มีความทะเยนทะยาน มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า มีพลังแห่งการเรียนรู้ที่สูง มีความทรงจำดี มีพลังสมาธิแน่วแน่ กล้าตัดสินใจเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ อีกทั้งยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
อยากพูดให้ได้ดี ต้องหมั่นศึกษา วิเคราะห์การพูดของนักพูดชื่อดัง โดยอาจตามไปฟังนักพูดเรืองนาม นักพูดที่มีชื่อเสียง หรือยุคปัจจุบัน เป็นยุคสารสนเทศ เราสามารถตามดูนักพูดชื่อดังได้จากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะทางอินเตอร์เน็ต Youtube หรืออาจซื้อ VCD DVD ของนักพูดมาศึกษาได้
การพูดที่ดี ต้องมีจุดมุ่งหมายปลายทางแห่งการพูด จุดมุ่งหมายในการพูดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ การพูดเพื่อบันเทิง การพูดให้ความรู้กับการพูดจูงใจ ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดควรต้องรู้ก่อนว่าจะนำพาผู้ฟังไปในจุดมุ่งหมายใด เช่น หากผู้ฟังต้องการฟัง การพูดแบบบันเทิง เราก็ต้องพูดในลักษณะทอล์คโชว์พูดให้สนุก พูดให้ตลกขบขัน ไม่ใช่พูดไปแล้วคนไม่หัวเราะเลย อย่างนี้ก็ประสบความสำเร็จยาก
บุคลิกภาพกับการพูด บุคลิกภาพมีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน บุคลิกภาพจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจในตัวผู้พูด บุคลิกภาพในที่นี้รวมไปถึงบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก เช่น ภายใน นิสัยใจคอ อารมณ์ ความรู้สึก ความรอบรู้ ฯลฯ ภายนอก ได้แก่การแต่งกาย ทรงผม ท่าทาง การเคลื่อนไหว การยืน การนั่ง ฯลฯ
นักพูดที่เก่งมักใช้ภาษาได้ดี เช่น ใช้ภาษาที่มีความชัดเจน อีกทั้งมีการเลือกใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการค้นคว้า ฝึกฝน อ่าน เรียนรู้ จนจัดเจนในเรื่องของภาษาศาสตร์ เมื่อศึกษาไปมากๆ ก็จะสามารถสร้างประโยคและวลีต่างๆ ได้งดงามสละสลวยขึ้น
เสน่ห์การใช้เสียงเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งในการพูด ถ้อยคำเพียงแต่บอกความหมายแต่เสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ การพูดที่ดีต้องมีน้ำเสียงที่หลากหลาย โดยยึดหลักที่ว่า ต้องใช้เสียงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่พูด
ใช้ระดับเสียง ให้มี หนัก เบา เว้นระยะ ต่างๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่พูด
สรุปคือ ศิลปะการพูด เป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้ได้ ฝึกฝนได้ พัฒนาได้ ซึ่งการพูดแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน เรียนรู้จากอาจารย์ท่านเดียวกัน แต่สิ่งที่ทำให้การพูดพูดแล้วดูน่าฟัง คนฟังชื่นชอบ สิ่งนั้นก็คือ ศิลปะในการพูดหรือการนำศาสตร์ทางการพูดมาใช้ทำให้เกิดความแตกต่างกันนั้นเอง

...
  
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
จำนวนหรือขนาดผู้ฟัง เพศ วัย ระดับอายุ ศาสนา ความเชื่อ อาชีพ การศึกษา ของผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ควรใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างความสนใจในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะปัจจัยต่างๆ ขั้นตอนเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
- จำนวนหรือขนาดของผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมีข้อมูลพอสมควรว่า ในวันที่จะเดินทางไปพูดมีผู้ฟัง
ประมาณกี่คน เป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีพื้นที่หรือสถานที่พอเพียงหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับสถานที่ มีความสัมพันธ์กัน ในการเตรียมการพูด เช่น พูดที่ท้องสนามหลวง มีผู้ฟังมากมาย หรือบางกรณีอาจมีผู้ฟังไม่กี่คนในท้องสนามหลวง วิธีการพูด รูปแบบการพูด เครื่องมือที่ช่วย ก็ต้องมีความแตกต่างกันไป เพราะการพูดที่มีผู้ฟังนั่งชิดกัน เบียดกัน ในห้องประชุม จะทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม มีอารมณ์ ความรู้สึก มากกว่า การพูดที่มีผู้ฟังบางตา มีจำนวนไม่มาก ในขณะที่มีสถานที่กว้างขวาง
- เพศของผู้ฟัง เพศหญิงมักชอบ ความสวยงาม การแต่งตัว การทำความสะอาดดูแลบ้าน การเข้าสังคม
ส่วนผู้ฟังเพศชายมักชอบ เรื่อง การเมือง การเล่นกีฬา การต่อสู้ รถยนต์เครื่องยนต์ โดยมากผู้หญิงมักมีความอ่อนไหวกว่าผู้ชาย การพูดจูงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ มักจะชักจูงโน้มน้าวผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย อีกทั้งการพูดกับผู้ฟังที่มีลักษณะ ชายล้วน หญิงล้วน แบบกลุ่มผู้ฟังผสมผสานทั้งเพศชาย เพศหญิง จึงต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ คำพูด ภาษา เนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป
- วัยหรือระดับอายุ มีความสำคัญมากเพราะคนที่มีอายุหรือวัยมากกว่า ย่อมมีประสบการณ์ใน
ชีวิตมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เช่น
วัยเด็ก มีลักษณะชอบความสนุกสนาน ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทนฟังเรื่องต่างๆได้นาน เบื่อง่าย และการพูดต้องใช้น้ำเสียง จินตนาการในการพูดมากกว่าวัยอื่นๆ เราลองสังเกตว่าเด็กมักชอบฟังนิทาน ผู้เล่านิทานมักใช้น้ำเสียง จินตนาการในการเล่า
วัยรุ่น มักต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบความตื่นเต้น โลดโผน อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ฉะนั้นผู้พูด ควรหาเรื่องใหม่ๆ แปลกๆ ในการนำเสนอก็จะสามารถดึงดูดความสนใจในการพูดได้
วัยชรา เป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก มีลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งพาทางใจ ชอบเรื่องศาสนา เข้าวัด ฟังธรรม เป็นห่วงลูกหลาน
- ศาสนาและความเชื่อ ผู้พูดควรระมัดระวัง ควรศึกษาความเชื่อความศรัทธาของแต่ละศาสนา
ไว้บ้าง เพราะ ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อ เป็นสิ่งที่คนเรายึดถือมาช้านาน การพูดโดยไม่คิด บางครั้งอาจเป็นเรื่องสนุกๆ แต่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังและผู้พูดได้
- อาชีพ ทุกอาชีพมีความแตกต่างกัน มีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่นพูดให้ชาวนาก็พูดเรื่องที่
แตกต่างกันกับนักธุรกิจกิจหรือคนรับราชการ อาจพูดเรื่อง กระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งทำให้ชาวนาเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพทำนา หรือพูดกับ นักธุรกิจก็ควรพูดเรื่อง เศรษฐกิจ การค้าขาย การบริหาร การจัดการ
ดังนั้น นักพูดที่ดีต้องสร้างโครงเรื่องให้สอดคล้องกับความสนใจของอาชีพผู้ฟังก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความชอบความศรัทธา ในตัวผู้พูด
- การศึกษา ถ้าไปพูดให้กลุ่มผู้ฟังที่มีการศึกษาน้อย ควรพูดเรื่องง่ายๆ แต่ถ้าไปพูดให้กลุ่มที่มี
การศึกษาสูง เราก็ควรพูดในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง พูดเน้นหนักวิชาการ บางครั้งอาจจะต้องพูดศัพท์ภาษาอังกฤษ บ้างเพราะคำบางคำ แปลเป็นภาษาไทย ความหมายอาจจะผิดได้ การพูดต้องมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง
สรุปว่า การพูดที่ประสบความสำเร็จ นักพูดหรือผู้พูด จะละเลย การวิเคราะห์ผู้ฟังไม่ได้ เพราะผู้พูด เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ ที่จะประเมินว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังพอใจ จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟังและจงพูดในสิ่งที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง แล้วท่านจะเป็นนักพูดหรือผู้พูดที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.