หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  พูดแล้วดัง...ทำแล้วรวย....
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  ถ้าอยากเป็นนักพูด...เชิญทางนี้....
  -  การสร้างความเชื่อมั่นในการพูดในที่ชุมชน
  -  พูดเก่ง...รวยก่อน...
  -  ลีลานักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  การพูดต่อที่ชุมชน
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การดำเนินเรื่องในการพูด
  -  วิธีการฝึกฝนการพูด
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  จะเริ่มต้นอาชีพวิทยากรอย่างไร
  -  ความเชื่อมั่นในการพูด
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  พูดอย่างฉลาด
  -  การฝึกพูด
  -  การพูดให้น่าเชื่อถือ
  -  จงระวังความเคยชินในการพูด
  -  คิดอย่างสร้างสรรค์
  -  ภาษากายกับการพูด
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  ศิลปะการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
  -  การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์
  -  การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  คำพูดเจาะจิต
  -  การสร้างเสน่ห์ในการพูด
  -  วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
  -  จังหวะในการพูด
  -  วิทยากรที่ดีต้องรู้จักผสมผสาน
  -  ประโยชน์ของการฝึกอบรม
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  พูดให้ถูกสถานการณ์
  -  การพูดเป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  โฆษกกับการพูดที่ดี
  -  มโนภาพกับการพูด
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  พลังของจังหวะในการหยุดพูด
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  การพูดสำหรับโฆษกฟุตบอล
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ในอดีตกระผมเคยเป็นวิทยากรมือใหม่ ซึ่งบางครั้งเคยทำผิดพลาดมาบ้างในงานการฝึกอบรม ในบทความตอนนี้ จึงอยากที่จะมาบอกเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับท่านผู้อ่าน ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่ มีดังนี้
1.ท่านควรไปทำความรู้จักกับผู้บริหารหรือผู้ที่ดูแลงานด้านฝ่ายฝึกอบรมก่อน เพื่อรับทราบข้อมูลว่า ทางหน่วยงานมีปัญหาอะไร ถึงได้ต้องการจัดอบรมในเรื่องดังกล่าว การทำความรู้จักจะสร้างความคุ้นเคย หรือหากท่านไม่มีเวลามากพอ ท่านก็อาจจะต้องโทรศัพท์ไปซักถามความต้องการของผู้จัด หรือ หากให้เป็นทางการหน่อย ท่านก็ควรมีแบบฟอร์ม TRAINING NEEDS ANALYSIS ให้ทางผู้จัดได้กรอกข้อความที่ต้องการฝึกอบรม ว่าทางหน่วยงานมีปัญหาอะไร ความต้องการเป็นอย่างไร
2.ท่านควรเดินทางไปก่อนเวลาในการอบรม การเดินทางไปก่อนเวลาในการอบรม จะทำให้ผู้จัดมีความสบายใจ อีกทั้งตัววิทยากรเอง ก็สามารถที่จะเตรียมความพร้อมได้ดียิ่งขึ้น ก่อนเวลาฝึกอบรมควรไปตรวจสอบดู เรื่องของการทำงานของเครื่องฉาย เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน เอกสารประกอบการบรรยาย ฯลฯ การไปถึงก่อนเวลายังจะทำให้ท่านสร้างความคุ้นเคยกับผู้เข้ารับการอบรมอีกด้วย
3.ท่านต้องมีความรู้มากกว่าผู้เข้ารับการอบรม การมีความรู้ในเรื่องที่จะบรรยายมากกว่าผู้เข้ารับการอบรมจะทำให้ท่านเกิดความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจในตัวเองในการบรรยายมากขึ้น หากท่านมีความรู้ที่น้อยกว่า เมื่อผู้เข้ารับการอบรมสักถาม ท่านตอบไม่ได้ ก็จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมขาดความศรัทธา และตัววิทยากรเองก็จะขาดความมั่นใจไปด้วย หากเรื่องที่เราจะไปบรรยายเรายังมีความรู้ไม่มากพอ ท่านก็ควรทำการบ้านโดยการ อ่านหนังสือ ฟังเทป ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวเพิ่มให้มากขึ้น
4.ท่านต้องรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ในการฝึกอบรมแต่ละแห่งมีปัจจัยแวดล้อมไม่เหมือนกัน เช่น จำนวนคนเข้าอบรม ขนาดของห้อง บรรยากาศของห้อง วัย อายุของผู้เข้าอบรม อุปกรณ์ที่ช่วยในการบรรยาย ฯลฯ ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นวิทยากรมืออาชีพได้จะต้องรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ตัวอย่าง หากว่าวิทยากรได้เตรียมทำการบ้านเป็นอย่างดีว่า เริ่มต้นการฝึกอบรมเราจะให้มีการทำกิจกรรมแต่การทำกิจกรรมนั้นต้องใช้พื้นที่มากเพื่อที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้พื้นที่ในการเดิน ในการพูดคุย ในการทำความรู้จักกัน แต่พอไปถึงห้องฝึกอบรม ปรากฏว่า ห้องกับคับแคบ จนไม่สามารถมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เตรียมไปได้ ฉะนั้น ผู้ที่เป็นวิทยากรมืออาชีพต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ว่า เราควรจะทำอย่างไร
5.ท่านควรวางแผนงานให้มีระบบมากขึ้น เช่น เวลาติดตามงานกับลูกค้า หน่วยงาน องค์กรที่จัดการฝึกอบรม ท่านควรมีแบบฟอร์มต่างๆ (ใบเสนอราคา , ใบตอบรับ , เอกสารแนะนำประวัติวิทยากร , ใบ TRAINING NEEDS ANALYSIS เป็นต้น) อีกทั้งเวลาติดต่อรับงาน ควรติดต่อผ่านเป็นรายลักษณ์อักษรจะผิดพลาดน้อยกว่าการติดต่อผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์ ซึ่งตัวกระผมเองก็เคยทำผิดพลาดมาแล้ว การรับงานวิทยากรครั้งหนึ่งในอดีต เนื่องจากเห็นว่าผู้ติดต่อเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จึงได้รับปากว่าจะไปเป็นวิทยากรให้ แต่ปรากฏว่า มีความเข้าใจผิดที่คลาดเคลื่อนในเรื่องของวัน เวลา กระผมเองไปถึงงาน จึงสงสัยว่าทำไมจึงเงียบไม่มีคนเข้ารับอบรมหรืออย่างไร ปรากฏว่า เขามีการจัดงานไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เกิดประสบการณ์ เมื่อมีการเชิญไปเป็นวิทยากรครั้งใด กระผมต้องขอจดหมายเชิญ และตัวกำหนดการทุกครั้ง เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ในการทำงาน
ทั้งนี้ข้อแนะนำทั้ง 5 ข้อข้างต้นเป็นข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่ และยังมีอีกหลายปัจจัยที่วิทยากรมือใหม่ควรทำ เช่น การพัฒนาตนเองอยู่เสมอตลอดเวลา , มีการบรรยายที่ครบเครื่องมากขึ้น (มีอารมณ์ขันในการพูด,มีเนื้อหาสาระที่ใหม่ๆ ,มีการร้องเพลงประกอบการบรรยาย,มีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน,มีคำคม คำกลอนประกอบการบรรยาย) อีกทั้งวิทยากรมือใหม่ควรรู้จักหาช่องทางการตลาด เพราะหากไม่มีลูกค้า ก็ไม่ถูกรับเชิญ เมื่อไม่ถูกรับเชิญก็ไม่มีโอกาสไปเป็นวิทยากร

...
  
พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เมื่อต้องพูด ใยมิพูด ให้ไพเราะ ใยมิเหยาะ แยมสักนิด ปิดผิวขนม
เมื่ออยากเผย ความดำริ หรือติชม อยากประหงม อยากบัญชา หรือว่านา
เป็นบทประพันธ์ของหลวงพ่อพุทธทาส ที่ได้ประพันธ์ไว้ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับการพูดการจาได้เป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องการพูดโทรศัพท์ กระผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกคน....ในยุคปัจจุบัน ใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยกันมากกว่าการพูดโดยการออกไปหาหรือไปพบกันเหมือนในอดีต ยิ่งเป็นประเทศที่พัฒนาหรือประเทศที่ร่ำรวย มักมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การใช้โทรศัพท์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ
การใช้โทรศัพท์เพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โทรศัพท์เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2419 ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย นายอะเล็กแซนเดอร์ เกรแฮม เบล (Alexander Graham Bell) และในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยจึงได้นำโทรศัพท์เข้ามาใช้
หลายๆท่านอาจตั้งคำถามในใจว่า การใช้โทรศัพท์มีประโยชน์อย่างไร คำตอบคือ
- ประหยัดเวลาในการเดินทางไปในที่ต่างๆ
- ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง
- ใช้สำหรับนัดหมายหรือติดต่อ เพื่อเข้าพบหรือไปหา
- ใช้ในการติดต่อสื่อสารที่ต้องการความรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ เช่น จดหมาย,การประกาศข่าว เป็นต้น
การใช้โทรศัพท์จึงเป็นการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่ง ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยมีสื่อคือโทรศัพท์มาอยู่
ตรงกลาง การใช้โทรศัพท์จะแตกต่างกับสื่อบางสื่อกล่าวคือ จะไม่เห็นหน้ากันหรือ Face-to-Face Communication (ยกเว้นโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่ทันสมัย อาจมีระบบการติดตั้งกล้อง)
ศิลปะในการใช้โทรศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายๆอย่างทั้งต่อตัวท่านเองและองค์กรหรือหน่วยงาน ซึ่งท่านมีความจำเป็นจะต้องฝึกฝน เช่น
- การพูดโทรศัพท์สำหรับงานประชาสัมพันธ์
- การพูดโทรศัพท์สำหรับงานบริการ
- การพูดโทรศัพท์สำหรับงานขายสินค้า
- การพูดโทรศัพท์สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
สำหรับสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการพูดโทรศัพท์คือ ท่านไม่ควรทานอาหารหรือสิ่งขบเคี้ยวระหว่างรับโทรศัพท์ , คำ
แรกที่ควรกล่าวในตอนรับโทรศัพท์คือคำว่า “ ฮัลโหล” , ไม่ควรแสดงอารมณ์อาการรำคาญ บ่น ระหว่างรับโทรศัพท์ แต่ควรใช้น้ำเสียงที่ยิ้ม(The Voice With a Smile) ในระหว่างที่พูดโทรศัพท์ , อย่าวางสายทิ้งไว้เฉยๆ นานๆ , การใช้วาจาที่ไม่สุภาพ ไม่น่าฟัง , การใช้โทรศัพท์พูดเรื่องส่วนตัวในเวลางานมากจนเกินไป ฯลฯ
สำหรับการพูดเพื่อขายสินค้าหรือบริการทางโทรศัพท์ ตามหลักการของ ไอด้า(AIDA) มีดังนี้
A มาจาก ATTENTION เอาใจใส่
I มาจาก INTEREST สนใจ
D มาจาก DESIRE อยากได้
A มาจาก ACTION กระทำ ( ปิดการขาย)
การโทรศัพท์เพื่อขายสินค้าและบริการ ก่อนเริ่มต้นเปิดฉากการพูด คุณจะต้องทำให้ลูกค้าหรือผู้รับบริการเกิดความเอาใจใส่(ATTENTION)ในสิ่งที่คุณเสนอก่อน แล้วจึงพูดให้เขาสนใจ(INTEREST)ในสินค้าและบริการของคุณมากขึ้น จนในที่สุดเขาเกิดความต้องการอยากได้สินค้าหรือบริการ(DESIRE) คุณจึงกระทำการปิดการขาย(ACTION)ในทันที
กล่าวโดยสรุปว่า การพูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องของ ศาสตร์และศิลปะ ซึ่งเราทุกๆคนสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งฝึกฝนได้ เพราะการใช้โทรศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดเรื่องของค่าใช้จ่าย ลดเวลาในการเดินทาง เพิ่มยอดขาย ช่วยในการบริการลูกค้า เป็นต้น


...
  
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
“ ในโลกนี้ยังไม่เคยปรากฏว่านักพูดคนใดที่สามารถพูดโดยไม่เตรียมตัวได้ดีกว่าเตรียมตัวนอกเสียจากเหตุบังเอิญ เท่านั้น” เป็นคำพูดที่ให้แง่คิดมากสำหรับคำพูดของ ดร.ราล์ฟ ซี.สเม็ดเล่ย์ ผู้ก่อตั้ง Toast Masters International
สำหรับการเตรียมตัว เราต้องมีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ในการพูด ว่าการพูดครั้งนั้น เราพูดเพื่ออะไร (พูดให้ความรู้ พูดเพื่อให้ความบันเทิง หรือพูดเพื่อชักชวน)
2.เรื่องที่จะพูด ไม่ควรกว้างเกินไป จนหาประเด็นสำคัญๆไม่ได้ ทั้งนี้ผู้พูดควรพูดเรื่องที่ตนเองมีความถนัด มีประสบการณ์ เพราะหากผู้พูดไม่มีความถนัดหรือมีประสบการณ์ ผู้พูดก็ควรตอบปฏิเสธการพูดในครั้งนั้น
3.รวบรวมเนื้อหาที่จะพูด ผู้พูดควรทำการรวบรวมเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมดเสียก่อนไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาจะใช้ได้หรือไม่ได้ เพราะเราสามารถนำมาตัดต่อหรือเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
4.การวางโครงเรื่อง จะขึ้นต้นอย่างไร ตอนกลางอย่างไร และจบอย่างไร
5.การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมตัว เพราะหากว่าเรารู้ว่าผู้ฟังเป็นใครเราสามารถยกตัวอย่างต่างๆหรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังมากยิ่งขึ้น
6.การฝึกซ้อม การฝึกซ้อมการพูดมีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลว ในการพูดแต่ละครั้ง ยิ่งเป็นนักพูดหน้าใหม่หรือกำลังฝึกฝนการพูดใหม่ๆ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อม แต่สำหรับนักพูดหน้าเก่า เขามักมีเวทีแสดงการพูดมากดังนั้น เขาจึงใช้เวทีต่างๆในการพูดเพื่อฝึกซ้อมการพูดไปในตัว
การฝึกซ้อมการพูดมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟัง สถานที่ที่จะไปพูด ฐานะของผู้พูด เช่น การพูดในงานโต้วาที การพูดในฐานะวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การพูดในงานปาฐกถา ฯลฯ ซึ่งแต่ละงานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่ว่าผู้พูดจะเตรียมสื่อหรือมีทัศนะอุปกรณ์ช่วยในการพูดมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งจริตในการฝึกซ้อมการพูดของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ท่านผู้อ่านก็ไม่ควรเลียนแบบ แต่ควรค้นหาแนวทางของตนเอง เช่น บางคนฝึกซ้อมต่อหน้ากระจกแล้วทำให้การพูดออกมาดี , บางคนฝึกซ้อมในรถยนต์ , บางคนฝึกซ้อมต่อหน้าเพื่อน , บางคนฝึกซ้อมโดยเปิดสไลด์การนำเสนอไปด้วยเสมือนกับกำลังพูดกับผู้ฟังจริงๆ ฯลฯ ทั้งนี้การฝึกซ้อมจะได้ผลดีเพียงใด คงขึ้นอยู่กับนิสัย จริต ความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งเราต้องค้นหาจากตัวของเราเอง
การวางแผนการพูดมีความสำคัญไม่น้อยต่อความสำเร็จ ตัวอย่าง เราจะขึ้นต้นอย่างไรในการนำเสนอ นักพูดหลายท่านในยุคปัจจุบันมักมีการขึ้นต้นด้วยเพลงบ้าง ด้วยคลิป VCD บ้าง ขึ้นต้นด้วยสไลด์สำคัญๆบ้าง แล้วจะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างไรเพื่อให้เกิดความกลมกลืน และตอนจบจะจบอย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ สิ่งเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อการพูดแต่ละครั้ง การฝึกซ้อมการพูดเราจึงควรให้ความสำคัญต่อการวางแผนการพูด
การซ้อมพูดที่ดีไม่ควรท่องจำคำต่อคำ เพราะจะทำให้ผู้ฝึกซ้อมเกิดความเบื่อหน่าย หากจำไม่ได้ก็จะเสียเวลา อีกทั้งการท่องจำแล้วนำไปพูดจะทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ เนื่องจากไม่เป็นธรรมชาติ ไร้ชีวิตชีวา ทั้งนี้ควรซ้อมพูดมาจากใจ ซ้อมพูดด้วยความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เสมือนการพูดบนเวทีจริงๆ
สำหรับประโยชน์ของการฝึกซ้อมการพูด นักพูดที่ประสบความสำเร็จทั้งในยุคอดีต ยุคปัจจุบัน จะขาดการฝึกซ้อมไปไม่ได้เลย เพราะการฝึกซ้อมจะทำให้ท่านเกิดความมั่นใจในการพูด การฝึกซ้อมจะทำให้ท่านจำเนื้อหาในการพูดได้ดีกว่าการไม่มีการฝึกซ้อม และการฝึกซ้อมการพูดจะทำให้ท่านได้มีการแก้ไขสำนวน เนื้อหาของการพูดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การพูดที่ยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากการเตรียมตัวและการฝึกซ้อมที่ไม่ดีพอ
...
  
การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์
การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์ คือ การใช้ปากหรือคำพูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์ที่ดี เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ต่อหน่วยงาน ต่อองค์กร อีกทั้งเป็นการพูดเพื่อแก้ภาพลักษณ์ในกรณีที่ผู้ฟังมีความเข้าใจที่ผิดให้กลับกลายเป็นมีความเข้าใจตามความเป็นจริงมากขึ้น
การใช้ปากหรือคำพูดของนักประชาสัมพันธ์ควรระวังหรือไม่ควรนำไปใช้ คือ ปากร้าย ปากเสีย ปากบอน ปากสกปรก ปากพล่อย ปากมาก ปากอยู่ไม่สุข ปากมอม ปากเหม็น ฯลฯ
คนที่จะพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์ได้ดี จึงไม่ใช่คนที่พูดเก่ง พูดมาก แล้วจะประสบความสำเร็จในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ แต่ คนที่จะเป็นนักพูดประชาสัมพันธ์ที่ดี ต้องเป็นคนที่พูดเป็น รู้จักใช้คำพูด มีความระมัดระวัง มีสติในการพูด พูดในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าในทางทำลาย
สำหรับคุณสมบัติของนักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่พึงมีคือ
1.มีความรอบรู้ มีข้อมูลในการพูด โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือหน่วยงาน เพราะหากไม่มีข้อมูลหรือพูดข้อมูลในทางที่ผิดๆ ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรหรือหน่วยงานได้
2.มีความสามารถในการใช้คำพูดได้เป็นอย่างดี การพูดในการประชาสัมพันธ์มีหลายลักษณะเช่น การเป็นพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการ , การให้สัมภาษณ์ , การพูดเพื่อจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ , การพูดต่อหน้าที่ชุมชนฯลฯ ฉะนั้นคนที่มีความสามารถในการใช้คำพูดจึงได้เปรียบกว่าคนที่ไม่มีความสามารถในการใช้คำพูด
3.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับหลายๆฝ่าย ทั้งคนภายในองค์กรและนอกองค์กร บุคคลที่เป็นนักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์จึงต้องเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจึงจะพูดแล้วคนชอบ พูดแล้วคนเกิดความร่วมมือ พูดแล้วคนให้ความช่วยเหลือ
4.มีการใช้คำพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวงหรือเอาความเท็จมาพูดหรือการพูดสร้างภาพเกินความเป็นจริง แต่เป็นการพูดเพื่อนำข้อมูลข้อเท็จจริงในสิ่งที่ดีๆ นำมาเสนอและขยายผลหรือนำมาบอกกล่าวให้แก่บุคคลต่างๆได้รับรู้
5.มีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะสถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อองค์กรมีปัญหา เช่น เป็นข่าวหน้า 1 หรือถูกสื่อมวลชนโจมตี เราต้องสามารถตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาบางอย่างด้วยความรวดเร็ว
ทักษะในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ นักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ควรมีทักษะหรือประสบการณ์บ้างเพื่อใช้ในการพูด เช่น
- รู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง เพราะผู้ฟังที่มี อายุ วัย เพศ ประสบการณ์ อาชีพ ที่แตกต่างกันมักจะต้องใช้คำพูดที่แตกต่างกันออกไป
- รู้จักวัตถุประสงค์ของการพูด เช่น การพูดในครั้งนั้นๆ ตัวของเราเอง องค์กร หน่วยงานต้องการอะไร (ต้องการให้ข้อมูล ต้องการจูงใจให้เกิดความร่วมมือของมวลชน ต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ)
- รู้จักใช้เครื่องมือต่างๆ เช่นใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการทำงาน เพราะเทคโนโลยีทำให้เกิดความรวดเร็ว สะดวกสบายในการทำงาน ต้องรู้จักและเรียนรู้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการพูด
- รู้จักมารยาท วัฒนธรรม ของคนในพื้นที่ เพื่อที่จะได้ไม่พูดให้ก่อความเสียหายได้
ฉะนั้น การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์ เป็นการพูดอีกแขนงหนึ่ง ที่ผู้ต้องการเป็นนักประชาสัมพันธ์ คนที่ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพประชาสัมพันธ์จะต้องทำการศึกษา เรียนรู้ พัฒนาตนเองอยู่ตลอเวลา


...
  
การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ความมั่นใจมีความสัมพันธ์กับอาการประหม่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อผู้พูดขาดความมั่นใจ ผู้พูดก็จะแสดงอาการประหม่าออกมา แต่ตรงกันข้าม ถ้าหากผู้พูดมีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเอง อาการประหม่าก็มักจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็น
อาการประหม่าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมักจะแสดงออกมาให้ปรากฏแก่ผู้ฟัง ซึ่งมีอาการดังนี้ บางคนปากสั่น มือสั่น หน้าซีด บางคนไม่กล้าสบตากับผู้ฟัง บางคนพูดและใช้คำพูดออกมาอย่างไม่เป็นธรรมชาติ พูดผิดๆ ถูกๆ ฯลฯ
สาเหตุของอาการประหม่านอกจากสาเหตุของการขาดความมั่นใจแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น
1.ผู้พูดหลายๆท่าน มักคิดมากจนเกินไป หลายคนมักจะคิดมาก คิดวิตก คิดกังวล ในระหว่างการพูด กลัวสิ่งต่างๆ เช่น กลัวว่าผู้ฟังจะมีความรู้มากกว่าตนเอง , กลัวว่าการพูดของตนเองจะออกมาไม่ดีพอ , กลัวว่าเสียงของตนเองไม่ไพเราะ เป็นต้น
2.ขาดการเตรียมตัวที่ดี กล่าวคือ ไม่มีการเตรียมคำพูด , เตรียมเนื้อหา หรือ มีการซ้อมพูด ก่อนขึ้นพูดจริงๆ จึงทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ติดๆ ขัดๆ
3.ไม่มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง เช่น ไม่ได้สอบถามผู้จัดว่า จะต้องพูดเรื่องดังกล่าวให้แก่ใคร เด็กหรือผู้ใหญ่ อาชีพอะไร ผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นผู้บริหารหรือเป็นพนักงาน จึงทำให้ไม่มีการเตรียมตัว เตรียมเนื้อหา ไห้ตรงกับกลุ่มผู้ฟัง
สำหรับการสร้างความมั่นใจในตนเองและลดอาการประหม่าในการพูดของผู้พูด สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
1.การพูดให้กำลังใจตนเองก่อนขึ้นพูด “ เรื่องนี้ หัวข้อนี้ ฉันรู้ดีที่สุด ” , “ การพูดครั้งนี้ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้แต่ฉันเต็มที่ไว้ก่อน” คำพูดประโยคเหล่านี้ ผู้พูดควรคิดและค้นหาเอาเอง เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความชอบไม่เหมือนกัน
2. ต้องมีการเตรียมการพูดเป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึง การเตรียมเนื้อหา(จะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อหาอย่างไร สรุปจบอย่างไร) ตลอดจนกระทั่ง การเตรียมร่างกาย การเตรียมสภาพจิตใจ การพักผ่อนเป็นอย่างดี ก่อนวันที่จะขึ้นพูด
3.การใช้จินตนาการหรือการวาดภาพของการพูดที่ประสบความสำเร็จบนเวทีพูดของตนเอง บางคนใช้จินตนาการว่ามีคนฟังการพูดของตนเองเป็นหลายพันคน หลายหมื่นคน มีคนปรบมือให้กำลังใจมากมาย ฯลฯ
4.ก่อนจะขึ้นเวทีพูด ควรมาก่อนเวลาสักเล็กน้อย แล้วทำความรู้จัก ทำการทักทาย สร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ก็จะทำให้เกิดมิตรภาพและลดความตื่นเต้นลงไปได้บ้าง
5.ปรับความคิดหรือปรับทัศนคติเสียใหม่ คิดว่าความประหม่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่ นักพูดหรือผู้พูดทุกๆคนจะต้องมี แต่ใครจะมีมากมีน้อยเท่านั้นเอง อีกทั้งไม่ควรคิดมากจนเกินไป ในเวลาพูด แต่ควรทำหน้าที่หรือพูดให้ดีที่สุด ไม่ต้องไปคิดกังวลใดๆ ไม่ต้องไปคิดแทนผู้ฟังว่าผู้ฟังจะคิดกับเราอย่างไร จงเตรียมการพูดให้พร้อมแล้วจงลุกขึ้นพูดให้ดีที่สุด
6.ต้องหมั่นหาประสบการณ์ในการพูดทุกๆเวทีให้มาก ข้อนี้ น่าจะเป็นข้อที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะถ้าหากผู้พูดมีเวทีมาก ก็จะทำให้เกิดทักษะในการพูด เมื่อเกิดทักษะ ความมั่นใจก็จะมากขึ้น ความประหม่าในการพูดก็จะลดลง
โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่า ผู้พูดที่มีความมั่นใจในตนเองมักพูดได้ดีกว่าผู้ที่ขาดความมั่นใจในตนเอง ถึงแม้ว่า ผู้พูดหลายๆคน จะมีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอกก็ตามแต่ถ้าขาดซึ่งความมั่นใจในตนเองเสียแล้ว ทำให้เกิดอาการประหม่า พูดไม่เป็นธรรมชาติ ไม่กล้าขึ้นพูด ย่อมสู้ผู้พูดที่จบระดับการศึกษาแค่ระดับประถมหรือมัธยมไม่ได้ ถ้าหากผู้พูดจบระดับประถมหรือมัธยม แต่บุคคลนั้นสามารถพูดด้วยความมั่นใจในตนเอง ผู้ฟังก็มักจะเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา อีกทั้งทำให้การพูดมีความน่าฟังอีกด้วย

...
  
การพูดอย่างมีตรรกะ
การนำเสนออย่างมีตรรกะ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การนำเสนออย่างมีตรรกะ เป็นการสื่อสารด้วยคำพูด การเขียน อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งทำให้ผู้รับการฟังหรืออ่าน เกิดความเข้าใจ เกิดความศรัทธา เกิดความเชื่อถือในตัวของผู้พูดหรือผู้เขียน การนำเสนออย่างมีตรรกะจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรที่จะศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนกัน
สำหรับกระบวนการสื่อสารอย่างมีตรรกะ เราควรคำนึงถึง เรื่องของ 1.วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ 2.วิธีการนำเสนอ 3.ความสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร 4.เงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อ
1.วัตถุประสงค์ของการนำเสนอเป็นสิ่งที่ผู้นำเสนอจะต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่นำเสนอในครั้งนั้น เราต้องการอะไร เช่น เราต้องการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องของความบันเทิง , เราต้องการการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องของการจูงใจหรือเราต้องการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ให้ความรู้ ในการนำเสนอในครั้งนั้นๆ
2.วิธีการนำเสนอ เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์แล้ว สำหรับการพูด การเขียน เราจำเป็นจะต้องหาวิธีการเพื่อที่จะทำให้การนำเสนอของเราเกิดความน่าสนใจ เช่น หากเป็นการนำเสนอเพื่อให้ความรู้ในห้องฝึกอบรม เราก็ควรที่จะมีวิธีการนำเสนอที่หลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย มีกิจกรรม มีเกมส์ สลับสับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานในห้องประชุม หรือ หากเป็นการนำเสนอด้วยการเขียน หากวัตถุประสงค์ในการเขียนในครั้งนั้นๆ เป็นการเขียนเพื่อความบันเทิง เช่นการเขียน นิยาย เราก็ควรมีการใช้ภาษาที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการเขียนในงานวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ เป็นต้น
3.ความสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร มีความสำคัญมากต่อการสื่อสารเกือบทุกประเภท เพราะหากว่าเรานำเสนอได้ดีขนาดไหน แต่ผู้ฟัง ผู้อ่าน ไม่ชอบเรา มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัวเราแล้ว ผลที่ออกมาจากการประเมินก็มักจะไม่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นเราจึงไม่แปลกใจที่เราเห็นนักนำเสนอในยุคปัจจุบัน มักมีการสร้างแฟนคลับ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น Facebook , การจัดรายการทางโทรทัศน์ , การจัดรายการผ่านวิทยุ , การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
4.เงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อ ในการนำเสนอทุกแห่ง มักมีเรื่องของการกำหนดเวลาพูดให้แก่ผู้พูดหรือพื้นที่สื่อให้แก่ผู้เขียน ดังนั้น เราควรนำเสนอหรือทำการบ้าน ว่าจะทำเสนอให้สั้น ยาว ย่อ ขยาย ในส่วนใดบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องของเงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อที่มีอย่างจำกัด
Why Why Why (ทำไม ทำไม ทำไม) เป็นคำถามที่นักนำเสนออย่างมีตรรกะ ควรใช้เป็นเครื่องมือในการตั้งคำถามและตอบคำถาม เพื่อการตั้งคำถาม ทำไม จะทำให้เราทราบถึง สาเหตุ ของปัญหา ยิ่งเราถามคำถามว่า ทำไม ซ้ำไปซ้ำมา หลายๆ เที่ยว ก็จะทำให้เราทราบต้นตอที่มีความลึกซึ้งยิ่งๆขึ้น
เมื่อมีปัญหาในหน่วยงานหรือองค์กร ท่านลองตั้งคำถามว่า “ ทำไม” ดูซิครับแล้วที่จะพบคำตอบในการแก้ไขปัญหา และถ้าจะให้ดีท่านควรที่จะมีการสื่อสารโดยการพูดคุยกันต่อหน้า ซึ่งจะดีกว่าการนำเสนอโดยผ่านการรับโทรศัพท์ การส่งอีเมล์ การส่งแฟกซ์ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง บริษัทโตโยต้า ได้นำ 5 Why คือวิธีวิเคราะห์การทำงานมาใช้ในการทำงาน ซึ่งมีการถาม Why (ทำไม) ซ้ำไปซ้ำมาถึง 5 ครั้ง ทำให้เกิดกระบวนการปรับปรุงงานได้ดียิ่งขึ้น
ศาสนาพุทธ โดยพระศาสดา พระพุทธเจ้า เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำเสนอแบบตรรกะ ซึ่งเป็นการสอนแบบมีเหตุมีผล ซึ่งก่อนที่ศาสนาพุทธเกิด ก็ได้มี ศาสนา ความเชื่ออื่นๆ เกิดขึ้นมาก่อนมากมาย แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมกว้างขวางก็เพราะการสอนโดยการขาดความมีตรรกะหรือขาดความมีเหตุผล บางศาสนา บางความเชื่อ ก็สูญหายไปจากโลก ซึ่งตรงกันข้ามกับพุทธศาสนา ที่มีมาอย่างยาวนานถึง 2556 ปี
อัลเบิร์ต ไอสไตล์ นักวิทยาศาสตร์เอกระดับโลก บุคคลที่มีความเป็นอัจฉริยะได้กล่าวก่อนเสียชีวิตว่า หากให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เขาจะเลือกนับถือ ศาสนาพุทธ เขาได้ให้เหตุผลว่า เพราะศาสนาพุทธ สอนอย่างมีเหตุมีผล นั่นเอง
...
  
การอ้างวาทะคนดังในการพูด
การอ้างวาทะคนดังในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
“จงอยู่อย่างกระหาย และทำตัวให้โง่เขลาอยู่เสมอ”(Stay Hungry , Stay Foolish) เป็นคำพูดของสตีฟ จอบส์
“คุณจะเห็นอุปสรรคเป็นสิ่งที่น่ากลัว ก็ต่อเมื่อคุณ....ละสายตาจากเป้าหมาย” เป็นคำพูดของเฮรี ฟอร์ด
“ความยิ่งใหญ่ของคน อยู่ที่ขนาดของความฝันของเขา” เป็นคำพูดของ บัณฑิต อึ้งรังสี
การพูดสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟัง โดยใช้คำคมของคนดังหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มีความจำเป็นและมีความสำคัญมากในการพูดแต่ละครั้ง หากท่านได้มีโอกาสใช้คำคมเหล่านี้ประกอบการพูดก็จะทำให้การพูดของท่านมีรสชาติ มีความไพเราะ อีกทั้งทำให้ชวนติดตาม ดังนั้น การสะสม วาทะคนดังไว้มากๆ เพื่อนำไปใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในการพูดต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักพูด
ส่วนใหญ่วาทะคนดัง มักเป็นคำพูดที่คนดังได้ใช้เวลาคิดปกติมักเป็นข้อความสั้นๆ แต่กินใจความลึกซึ้ง เมื่อได้ฟังแล้วนำไปคิดต่อก็มักจะขยายความไปได้อีกมากมาย ซึ่งวาทะคนดังมีมากมาย หลายภาษา หลายชนชาติ หลายวัฒนธรรม ซึ่งคนเป็นนักพูดควรนำไปใช้ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ ก็จะสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังได้
สำหรับสิ่งที่ควรระวังในการใช้วาทะคนดังในการอ้างอิงในการพูด
1.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะคนดังมากจนเกินไป การใช้วาทะคนดังประกอบการพูดเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ก็ไม่ควรให้มีมากจนเกินไป เพราะการใช้วาทะคนดังมากจนเกินไป จะทำให้ผู้ฟังแทนที่จะเกิดความศรัทธา กลับทำให้เรื่องที่พูดเกิดความน่าเบื่อได้ เปรียบเทียบเหมือนผู้หญิงใส่แหวน หากว่าใส่เป็น ใส่แค่ 1-2 วงก็ทำให้บุคลิกภาพดูดีแล้ว แต่หากใส่ 10 วง ทุกนิ้วหรือมากจนเกินไป ก็จะดูแล้วเป็นตัวตลกมากกว่า ยิ่งใส่มากก็จะทำให้คุณค่าของแหวนและบุคลิกภาพของผู้ใส่ด้อยลงไปด้วย
2.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะที่คร่ำครึ หรือ เก่าเกินไป ไม่ทันสมัย อีกทั้งมีคนใช้บ่อยมากจนดูเป็นวาทะที่ปกติธรรมดา เช่น การอวยพรงานแต่งงาน เรามักจะได้ยินหลายคนอวยพรว่า “ ขอให้ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร ”
3.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะ ที่ผิดกาลเทศะ เช่น สถานการณ์ ที่มีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง ผู้โต้เถียงมักใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เราดันไปใช้คำคมว่า “ คนเราจะใหญ่ แค่ไหนก็เล็กกว่าโลง” ไม่แน่เราอาจจะได้ลงโลงเร็วกว่าปกติ
4.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะ ที่ไม่ชัดเจน วาทะคนดังหลายวาทะ ที่ไม่ชัดเจน เมื่อนำเอาไปใช้ประกอบการพูดก็จะทำให้ผู้ฟัง งง สับสน ได้ เพราะอย่าว่าแต่ผู้ฟังสับสนเลย ผู้พูดก็ยังสับสนกับวาทะนั้น อีกทั้งยังไม่เข้าใจกับวาทะที่นำเอาไปอ้างอิงด้วย เช่น ไม่กร้าวแต่ยืนยันหนักแน่น
5.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะที่ยาวจนเกินไป การใช้วาทะที่ยาวจนเกินไป ทำให้ผู้พูดบางคนถึงกับต้องก้มลงอ่านวาทะนั้น อีกทั้งทำให้ผู้ฟังไม่สามารถจดจำวาทะนั้นได้ ฉะนั้น การใช้วาทะที่สั้น กระฉับ จะดึงดูดความสนใจและสร้างการจดจำได้มากกว่าเมื่อนำเอาไปใช้ประกอบการพูด
6.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะที่ไม่ตรงกับเรื่องราวที่นำไปพูด วาทะคนดังมีหลากหลาย เมื่อเรานำเอาไปใช้ก็ควรนำไปใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด เช่น เขาให้พูดเรื่องของการแต่งกาย ก็ควรใช้วาทะเกี่ยวกับการแต่งกายประกอบการพูด “คำโบราณได้กล่าวไว้ว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ไม่ควรใช้วาทะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การแต่งกาย “ ลิ้นเพียงสองนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้กับเล่าปี่ได้ ” ซึ่งไม่มีความเกี่ยวพันธ์กับเรื่องการแต่งกายเลย เป็นต้น
อีกทั้งการใช้วาทะคนดังประกอบการพูดที่ดี เราควรที่จะต้องอ้างอิงว่าคำพูดดังกล่าวเป็นของผู้ใด เพื่อมารยาทในการนำเอาไปใช้ประกอบการพูด สำหรับแหล่งข้อมูลต่างๆ ของวาทะคนดังในยุคปัจจุบันนี้มีมากมาย กว่าในอดีต เพราะยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เราสามารถค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต เราสามารถซื้อหนังสือวาทะคนดังตามร้านขายหนังสือต่างๆ เราสามารถฟังและจดบันทึกจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการพูดในอนาคตของเรา
คำพูดเหน็บแนมที่เฉียบแหลมรุนแรงย่อมเชือดเฉือนได้ลึกกว่าคมอาวุธ(คติฝรั่งเศส)


...
  
คำพูดเจาะจิต
คำพูดเจาะจิต
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อน กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง
จากบทกลอนข้างต้น อยู่ในมงคลชีวิตที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต ซึ่งหากใครที่เคยมีประสบการณ์ในทางการพูดอยู่บ้าง ก็จะทราบดีว่า การกล่าววาจาเป็นสุภาษิต มักจะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือในเรื่องราวที่ผู้พูดได้พูด เพราะคำสุภาษิตต่างๆ เป็นคำพูดที่มีความคม มีความไพเราะอยู่ในตัว
สำหรับ คำสุภาษิต ในมงคลชีวิตนั้น หมายถึง คำพูดที่เป็นความจริง คำพูดที่มีประโยชน์ คำพูดที่สุภาพ คำพูดที่ใช้ถูกกาลเทศะและคำพูดที่มีความเมตตา
1.คำพูดที่เป็นความจริง เป็นคำพูดที่ไม่โกหก หลอกลวง ไม่ได้มีการปั้นแต่งขึ้น อีกทั้งควรมี หลักฐานสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ซึ่งการพูดความจริงมีความสำคัญมาก เพราะคนที่พูดโกหกบ่อยๆ หากผู้ฟังจับได้ว่า พูดโกหก ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเชื่อถือในการพูดครั้งต่อไปของผู้พูด การพูดที่ไม่เป็นความจริง ทางพุทธศาสนา เรียกว่า มุสาวาท ถือว่าเป็น อกุศลกรรมอย่างหนึ่ง
2.คำพูดที่มีประโยชน์ มีคำกล่าวที่ว่า “ คำพูดที่ดีๆ มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใดๆ” เช่น การพูดให้กำลังใจผู้อื่น การพูดปลุกพลังให้ผู้อื่น ล้วนแต่มีประโยชน์และสร้างสรรค์ทั้งสิ้น แต่ตรงกันข้าม คำพูดหลายคำพูดมักที่จะไปทำลายความสามัคคีปรองดองกัน คำพูดหลายคำพูดมักจะทำให้เกิดการแตกแยกกัน คำพูดเหล่านี้มักเป็นคำพูดที่ไม่ก่อประโยชน์และไม่สร้างสรรค์
3.คำพูดที่สุภาพ การพูดที่มีความสุภาพ มักทำให้ผู้ฟังอยากที่จะติดตามฟัง เป็นคำพูดที่ช่วยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งการพูดสุภาพจะทำให้เห็นถึงความเป็นผู้ดีของผู้พูดดังคำกล่าวที่ว่า “ ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน”
4.คำพูดที่ใช้ถูกกาลเทศะ เป็นคำพูดที่นำเอาไปใช้ถูกจังหวะเวลา ถูกจังหวะของสถานที่และเหมาะสมกับโอกาส ก็จะทำให้การพูดของผู้พูดเข้าไปอยู่ในหัวใจของผู้ฟังได้ดียิ่งขึ้น ตรงกันข้ามการพูดที่ไม่ถูกจังหวะเวลา ถูกสถานที่และเหมาะสมกับโอกาส แม้จะพูดดีสักปานใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น คนทะเลาะกัน เกิดมีอารมณ์โต้เถียงกันอย่างรุนแรง เราจะไปพูดด้วยเหตุผลหรือจะไปพูดดีอย่างไร คนก็มักจะไม่ฟังเราพูด อีกทั้งยังทำลายมิตรภาพอีกด้วย แต่ถ้าเขาเลิกทะเลาะกัน ไม่ได้ใช้อารมณ์ เราลองนำเรื่อง เดียวกัน เหตุผลเดียวกันไปพูด เขาก็อาจจะเกิดความเชื่อถือ ศรัทธาเราได้
หรือ อีกตัวอย่างหนึ่ง หากว่าเราเป็นนักขาย ลูกค้ากำลังยุ่งๆ อยู่ แล้วเราจะนำสินค้าไปเสนอขายอย่างไร เขาก็จะไม่ตั้งใจฟังเรา เนื่องจากเราไปนำเสนอขายสินค้าผิดจังหวะเวลา นั่นเอง
5.คำพูดที่มีความเมตตา เป็นคำพูดที่พูดออกไปแล้วผู้ฟังได้รับความสุข เกิดความปิติมานะ เกิดความปรารถดี เป็นคำพูดที่มีความจริงใจ สำหรับผู้ที่มีความเมตตาในการพูดมักจะไม่ใช้อารมณ์โกรธหรือบันดาลโทสะในการพูด เพราะการพูดบันดาลโทสะ มักจะทำให้ผู้ฟังเกิดอาการเศร้า อาการเสียใจ และบันทอนกำลังใจของผู้ฟัง
ฉะนั้น คนที่จะสามารถพูดอย่างเจาะจิตคนได้ จะต้องเป็นคนที่คิดให้มาก แต่พูดให้น้อย หรือคิดก่อนพูดทุกครั้ง ต้องกลั่นกรองคำพูดต่างๆออกมาก่อนที่จะพูดออกไป สำหรับเรื่องของอารมณ์ในการพูดก็มีส่วนสำคัญ หลายคนมีอารมณ์โกรธ มีอารมณ์โมโห ในขณะพูดก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เช่นใครพูดไม่ถูกหู ก็จะไม่พอใจ เกิดอารมณ์อยากด่า เกิดอารมณ์อยากชวนทะเลาะ ดังนั้น หากใครที่รู้ว่ามีอารมณ์ต่างๆที่ไม่สบายใจ ทำให้ขุ่นใจ จงรอให้อารมณ์เหล่านั้นดับไปก่อน แล้วการพูดของท่านจะครองใจผู้ฟังได้มากกว่าการพูดในขณะที่มีอารมณ์ต่างๆที่ไม่ดีในการพูด


...
  
การสร้างเสน่ห์ในการพูด
การสร้างเสน่ห์ในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
การสร้างเสน่ห์ในการพูดมีความสำคัญมาก ต่อความสนใจของผู้ฟัง อีกทั้งยังก่อให้เกิดความศรัทธาในตัวของผู้พูดอีกด้วย ทั้งนี้เราสามารถสร้างเสน่ห์ในการพูดได้หลายทาง เช่น
1.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจากเสียง การใช้เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะ ถ้อยคำเป็นแต่เพียงการบอกความหมาย แต่เสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นในหัวใจ สำหรับการใช้เสียงที่ดีในการพูดต่อหน้าที่ชุนชนนั้น เสียงไม่ควรจะเป็นโทนเดียวกันหมด แต่ตรงกันข้าม เสียงในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี ต้องเป็นเสียงที่มีความหลากหลาย เบาบ้าง ดังบ้าง เสียงสูงบ้าง เสียงต่ำบ้าง เสียงเป็นปกติบ้าง เสียงเน้น เสียงย้ำ พูดเร็วบ้าง ช้าบ้าง อีกทั้งควรเว้นช่วงในการพูดเป็นจังหวะๆไป การใช้เสียงที่ดีควรให้มีความเหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง
2.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจากการใช้ท่าทางประกอบการพูด การใช้ท่าทางในการประกอบการพูดจะเป็นการดึงดูดใจให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ การยกมือ การโบกมือ การเคลื่อนไหว การขยับ การเดิน การยิ้ม การหัวเราะ การทำหน้านิ่งๆ การนั่ง การยืน การโยกตัว ฯลฯ การกระทำเหล่านี้ สามารถสร้างความประทับใจและสร้างความจดจำในใจผู้ฟังได้ เพราะเคยมีงานวิจัยหลายชิ้น ที่ได้ระบุว่า การใช้ท่าทางประกอบการพูดจะสร้างความจดจำภายในใจผู้ฟังมากกว่าคำพูดเสียอีก เช่น หลายคนได้ไปฟัง คุณโน้ต อุดม พูด ทอล์คโชว์ 2 ชั่วโมง เราอาจจะจดจำคำพูดได้ไม่หมดทั้งเรื่อง แต่คนจำนวนมากมักจดจำการแสดงท่าทางที่ตลกๆ ที่คุณโน้ต อุดม ได้แสดงออกมา
3.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจากการสร้างอารมณ์ขัน คนไทยเป็นชนชาติที่มีอารมณ์ขันมากที่สุด แห่งหนึ่งในโลก คนที่พูดหรือมีอารมณ์ขัน มักเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลต่างๆ การพูดต่อหน้าที่ชุมชนก็เช่นกัน การสอดแทรกอารมณ์ขัน จะทำให้เรื่องที่ยาก เป็นเรื่องที่ง่าย เรื่องที่ง่ายก็จะเป็นเรื่องที่สนุก คนที่สามารถนำเอาเรื่องขำขันไปประกอบการพูดได้ จะมีเสน่ห์ เป็นที่ประทับใจของผู้ฟัง อีกทั้งทำให้ผู้ฟังอยากที่จะติดตามไปฟังนักพูดท่านนั้นยังสถานที่ต่างๆอีกด้วย
4.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจากเนื้อหาสาระที่แปลกๆ ใหม่ๆ ในการประกอบการพูด การพูดเรื่องเดิมๆ การยกตัวอย่างเรื่องเดิมๆ การพูดเนื้อหาเดิมๆ จะทำให้ผู้ฟังไม่อยากที่จะฟัง ทำให้ผู้ฟังเสียเวลา เนื่องจากฟังมาหลายรอบแล้ว ดังนั้น นักพูดท่านใดสามารถนำเอาเรื่องราว แปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งผู้ฟังยังไม่เคยฟัง โดยการนำเอาเรื่องแปลกๆ ใหม่ๆ มาใช้ประกอบการพูด ก็จะเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้มากเลยทีเดียว
5.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจากการหาสื่อต่างๆมาประกอบการพูด หลายท่านมักชื่นชอบ การอภิปรายในสภา โดยเฉพาะ นักการเมืองที่ใช้สื่อต่างๆมาประกอบการพูด เช่น ใช้เอกสาร ใช้คลิปวิดีโอ ใช้รูปภาพ ภาพถ่าย หนังสือพิมพ์ เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านนี้จะทำให้เกิดความน่าสนใจ เกิดความน่าเชื่อในเรื่องราวที่ผู้พูด พูด
6.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจาก การใช้คำกลอน คำคม คำสุภาษิต ประกอบการพูด การใช้คำกลอน คำคม คำสุภาษิต เหล่านี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจฟัง ทำให้การพูดเกิดความไพเราะในเรื่องของการใช้ภาษา อีกทั้งคำกลอน คำคม คำสุภาษิต คำเหล่านี้ได้ให้แง่คิดที่ดีต่อผู้ฟัง
7.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจาก การใช้เพลงประกอบการพูด การร้องเพลงประกอบการพูด หากทำได้และทำอย่างเหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดความบันเทิงในการฟังได้ ซึ่งเราควรเลือกร้องเพลงประกอบการพูดให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่เรานำมาพูด เช่น พูดเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ เราอาจร้องเพลงที่ทำให้เกิดกำลังใจประกอบ เพลงศรัทธา, ,เพลงความฝันอันสูงสุด, เพลงเธอผู้ไม่แพ้,เพลงรางวัลแห่งคนช่างฝัน เป็นต้น ถ้าจะให้ดี ก็ควรขอให้ผู้ฟังร้องพร้อมกัน ก็จะเกิดความสนุกสนาน เกิดอารมณ์ร่วมไปด้วยกัน
8.การสร้างเสน่ห์ที่เกิดจากการพูด โดยการพูดในสิ่งที่ผู้ฟังต้องการที่จะได้ เช่น พูดถึงเรื่องของรายได้จำนวนมากๆ ให้กับผู้ฟังที่มีความต้องการเงินเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิต , พูดถึงเรื่องสุขภาพให้แก่ผู้ฟังที่เป็นโรคต่างๆ , พูดถึงเรื่องราวการต่อสู้ชีวิตของนักสู้หลายท่าน ให้แก่ผู้ที่กำลังสิ้นหวัง ท้อแท้ เป็นต้น ยิ่งผู้พูด พูดในสิ่งที่ผู้ฟังมีความต้องการอย่างรุนแรงด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจฟังมากเป็นพิเศษด้วย
สรุป การสร้างเสน่ห์ในการพูด เป็นสิ่งที่นักพูดหรือผู้พูด ควรที่จะกระทำ เพราะการสร้างเสน่ห์ในการพูดจะเป็นการสร้างสีสันในการพูด การสร้างเสน่ห์ในการพูดจะสร้างการจดจำ สร้างเอกลักษณ์ให้กับนักพูดท่านนั้น อีกทั้งยังสร้างความศรัทธา ความน่าเชื่อถือ การชื่นชอบ ให้แก่ผู้ฟังอีกด้วย

...
  
วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
วิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ลินคอล์น มีชื่อเต็มๆว่า อับราฮัม ลินคอล์น ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำระดับโลกคนหนึ่ง ลินคอล์น ไต่เต้าจากเด็กที่ยากจนคนหนึ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ด้วยวิถีทางที่สะอาดบริสุทธิ์ การเลิกทาสในอเมริกาคือผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เขาฝากไว้ให้แก่โลกใบนี้
ด้านการพูด ลินคอล์น เป็นนักพูดที่มีจุดเด่นอยู่หลายอย่าง เช่น การใช้อารมณ์ขันในการพูด การใช้ถ้อยคำภาษาที่ไพเราะกินใจ การพูดสุนทรพจน์ที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้คน สุนทรพจน์ที่โลกยกย่องว่าดีที่สุดของลินคอล์น ได้แก่ สุนทรพจน์ที่เก็ตติสเบอร์ก
สุนทรพจน์ที่เก็ตติสเบอร์ก เป็นการกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในพิธีฉลองสุสานแห่งเมืองเก็ตติสเบอร์ก ที่ที่ซึ่งเป็นสถานที่ในการทำสงครามกลางเมืองครั้งสำคัญในอดีตของสหรัฐ อีกทั้งสุนทรพจน์นี้มีความสั้นมากมีเพียงแค่ 10 ประโยค แต่มีความไพเราะ มีวรรคทอง มีชีวิต จนกระทั้ง มหาวิทยาลัย อ็อกฟอร์ด ต้องนำไปติดที่ผนังของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวอย่างว่าเป็นสุนทรพจน์ที่มีความไพเราะที่สุดสุนทรพจน์หนึ่งของโลก ซึ่งวรรคทองที่มีการปรับและประยุกต์ใช้ กล่าวอ้างกันอย่างแพร่หลายก็คือ การปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
วิธีการฝึกการพูดของ ลินคอล์น ลินคอล์น มักจะอ่านหนังสือออกเสียงที่ดังตลอดเวลา เพราะการอ่านหนังสือออกเสียง เป็นการฝึกการใช้เสียง การฝึกความชัดเจนของภาษา การฝึกพลังเสียง อีกทั้งยังทำให้เกิดความทรงจำที่ดีสำหรับเขาอีกด้วย
เขามักจะสะสม ภาษา ถ้อยคำ คำคม สุภาษิต ต่างๆ เพื่อนำเอาไปใช้ในการพูด โดยวิธีการบันทึก สิ่งต่างๆที่จะนำเอาไปใช้ในการพูดอยู่ตลอดเวลา หากมีเวลา โดยเฉพาะในระหว่างเดินทางไปเมืองต่างๆ โดยม้า เขามักจะมีการฝึกการพูดบนหลังม้าอยู่เป็นประจำ
เขาเป็นคนที่มีความพยายาม ทำอะไรไม่ทอดทิ้ง การฝึกการพูดก็เช่นกัน เขามักจะมีการฝึกการพูดโดยหาเวทีต่างๆ ในสมัยที่ทำงานรับจ้าง ช่วงพักกลางวัน เขามักจะเล่าเรื่องสนุกๆ ให้แก่บรรดาเพื่อนร่วมงานฟัง ทำให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลาย แต่นายจ้างมักจะไม่ค่อยชอบใจนัก ซึ่งเรื่องเล่าขำขันของเขามักนำมาจากหนังสือเช่น หนังสือ คำตลกคะนองของควิน เขาจะพยายามท่องจำจนขึ้นใจ แล้วนำมาเล่า
การใช้อารมณ์ขันในการพูด จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว เพราะการพูดโดยการใช้อารมณ์ขันมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง ช่วยให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดเกิดการผ่อนคลาย ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ช่วยให้มีเพื่อนมากขึ้น
การหาเสียงทางการเมือง ลินคอล์นได้สร้างความสำเร็จโดยการใช้อารมณ์ขันให้แก่พรรคการเมืองของเขาจนประสบความสำเร็จ เมื่อลินคอล์น เข้าสู่วงการทางการเมือง เขาก็มีความเจริญเติบโต ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในการแข่งขันทางการเมืองย่อมมีการโจมตีกัน กล่าวหากัน พรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม มักจะโจมตีพรรคที่เขาสังกัด พรรควิก(ปัจจุบันเป็นพรรคริปับลิกัน) ว่าเป็นพรรคของผู้ดี ชอบแต่งตัวหรูโอ่อ่า
ซึ่ง ลินคอล์น ก็ใช้อารมณ์ขันที่เขาถนัดตอบโต้คู่แข่งขันทางการเมืองด้วยอารมณ์ขันและคำพูดที่แหลมคมว่า
“ ข้าพเจ้ามาสู่รัฐอิลลินอยส์ใน ฐานะเด็กยากจนที่ไร้การศึกษา เป็นคนแปลกหน้า ไม่มีมิตรสหาย และเริ่มทำงานในเรือท้องแบนด้วยค่าจ้างเดือนละแปดเหรียญ และข้าพเจ้ามีกางเกงชนิดขาแคบอยู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น กางเกงซึ่งทำด้วยหนังกวาง เมื่อเจ้าหนังกวางเปียกน้ำแล้วถูกแดดแห้งมันจะทำการหดตัว ซึ่งเจ้ากางเกงหนังกวางนี้จะหดจนกระทั่งปลายขากางเกง อยู่ห่างกับปลายถุงเท้า หลายนิ้ว ปล่อยให้ขาส่วนนั้นไม่มีสิ่งใดปกปิด ครั้งเมื่อลำตัวของข้าพเจ้าสูงขึ้น ความเปียก ความแห้งนี่เอง ทำให้ขากางเกงสั้นเข้าและรัดขา ข้าพเจ้าแน่นเข้าทุกที จนกระทั่งทิ้งรอยช้ำเขียวไว้ที่ขาข้าพเจ้าตราบเท่าทุกวันนี้ นี่แหละท่าน ถ้าท่านเรียกการแต่งตัวเช่นนี้ว่าเป็นการหรูโอ่อ่า เป็นพวกผู้ดี ข้าพเจ้าจำต้องเรียกการกล่าวหานั้นว่าเป็นความผิดอย่างอุกฤษฏ์” (ท่านสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ ลินคอล์น มหาบุรุษ ของอาษา ขอจิตเมตต์ ได้เพิ่มเติม)
เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้ว ก็ต่างกันร้องตะโกน เป่าปาก ด้วยความพึงพอใจ หัวเราะสนุกสนาน กับการหาเสียงในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง
ฉะนั้น กระผมขอสรุปวิธีฝึกการพูดของ ลินคอล์น สั้นๆดังนี้ ลินคอล์น มีการฝึกการพูดด้วยตนเอง อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าอยู่บนหลังม้าขณะเดินทางไปต่างเมือง ลินคอล์น ชอบสะสม คำคม ข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการพูด และหากมีเวลา เขาจะคิดวรรคทองของเขาเอง ลินคอล์น ชอบอ่านหนังสือเสียงดัง เพราะเป็นการฝึกการใช้น้ำเสียง ฝึกใช้พลังเสียง ฝึกความเคยชินในการออกเสียง ลินคอล์น พยายามหาเวทีพูดให้แก่ตนเอง ตลอดเวลา เช่น พูดเล่าเรื่องสนุกๆให้แก่เพื่อนร่วมงานเวลาพักกลางวัน , พูดเล่าเรื่องสนุกๆให้แก่นายเจ้าและเพื่อนร่วมงานในชีวิตการเป็นลูกจ้างในการเดินเรือซึ่งต้องอยู่กลางทะเลเป็นเวลานานๆ ลินคอล์น ฝึกไหวพริบปฏิภาณในการใช้อารมณ์ขันในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการพูด เป็นต้น



...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.