หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  การเตรียมการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  การพูดแบบผู้นำ
  -  การพูดจูงใจคน
  -  การวิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
  -  การสร้างวาทะสำหรับนักพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  จะพูดให้ได้ดีต้องมีเครื่องปรุง
  -  การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การสร้างอารมณ์ขันในการพูด
  -  ข้อแนะนำสำหรับวิทยากรมือใหม่
  -  การฝึกซ้อมการพูด
  -  วัตถุดิบสำหรับการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การพูดเชิงบวก
  -  วิธีการพูดชนะใจคน
  -  พูดเหมือนผู้นำ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  การอ้างวาทะคนดังในการพูด
  -  การเลือกวิทยากร
  -  พูดอย่างไรให้ขายได้
  -  เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  คุณธรรมนักพูด
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  การสื่อสารสำหรรับข้าราชการ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
พูดเหมือนผู้นำ
พูดเหมือนผู้นำ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
บทความนี้ ผมอยากเขียนเกี่ยวกับการพูดของผู้นำระดับโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่สาธารณะชนหรือการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้นำมักจะต้องใช้การพูดเพื่อจูงใจให้คนจำนวนมากคล้อยตาม
เช่น JFK หรือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี , อับราฮัม ลินคอล์น , บารัก โอบามา ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา หรือ Tony Blair (โทนี่ แบลร์) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ หรือ - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะบุคคลระดับโลก
หากเรานำเอาคำพูดของบุคคลเหล่านี้มาวิเคราะห์ดูเราจะพบว่า พวกเขามีเทคนิคในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนและใช้เทคนิคต่างๆดังนี้
1. มี 3 คำมหัศจรรย์ หรือ มี 3 ประโยคมหัศจรรย์ เช่น
- อับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐได้กล่าวในการไว้อาลัยแก่ผู้สูญเสียชีวิตในสงครามกลางเมือง ว่า “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ” หรือ “ คุณอาจจะหลอกคนทุกคนได้ในบางเวลา คุณอาจจะหลอกคนบางคนได้ตลอดเวลา แต่คุณไม่สามารถหลอกคนทุกคนตลอดเวลาได้”
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะคนหนึ่งของโลก “ Learn from yesterday, live for today, hope for tomorrow.” “เรียนรู้จากวันวาน ใช้ชีวิตอยู่ในวันนี้ มีความหวังกับวันพรุ่งนี้”
2. มีการสอดใส่อารมณ์ต่างๆลงไปในน้ำเสียง เราจะเห็นว่า สุนทรพจน์ของผู้นำระดับโลกมีชีวิตชีวา เพราะเขาสอดใส่อารมณ์ ความรู้สึก ลงไปในน้ำเสียง จึงทำให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้น อยากฟัง อีกทั้งมีความซาบซึ้งกินใจ ในเวลาฟังอีกด้วย
3. มีการใช้ วรรคทอง ซึ่งการใช้วรรคทองทำให้ผู้ฟังเกิดการจดจำ
- JFK หรือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี กล่าววรรคทองในวันรับตำแหน่งประธานาธิบดีว่า “ โปรดอย่าถามว่าประเทศชาติของท่านจะทำอะไรให้กับท่านได้บ้าง แต่จงถามว่า ท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติของท่าน ”
- นางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย “ถ้าท่านมีเงินหนึ่งรูปี และฉันมีเงินหนึ่งรูปี แล้วนำเงินนั้นมาแลกกัน ก็จะไม่มีความหมายอะไร แต่ถ้าคุณมีความเห็นหนึ่งความคิดเห็น ฉันมีหนึ่งความคิดเห็นและนำมาแลกกัน เราจะได้ความคิดเห็นเพิ่มเป็นสองความคิดเห็น”
4.มีการใช้คำอุปมาอุปไมย หรือคำเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นคำที่สั้น กะทัดรัด ซึ่งนิยมพูดกันในชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นคำพูดในเชิงต่อว่าหรือเปรียบเปรย (ทั้งในทางดีและทางร้ายก็ได้) โดยผู้นำจะพูดโดยยกเอาเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมาเทียบเคียง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพไปตามนั้น มักจะมีคำเชื่อมว่า “ เป็น , เหมือน , เท่า, ราวกับ ” เป็นคำที่ใช้เชื่อมประโยค
5.มีการยกตัวอย่าง ผู้นำที่พูดเก่งมักจะใช้ตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งตัวอย่างนั้นจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่พูด อีกทั้งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ผู้นำหลายคนมักใช้ตัวอย่างของตนเองหรือประสบการณ์ของตนเองเป็นตัวอย่าง เช่น ตนพบกับความยากลำบากมากก่อน ตนจึงเข้าใจและเห็นใจ บุคคลที่ยากลำบาก หรือ ตนได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาและเกิดการสูญเสียเพื่อนฝูง ญาตพี่น้อง ตนจึงเข้าใจเรื่องของการสูญเสียและการต่อสู้ทางการเมืองเป็นอย่างดี เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่เป็นผู้นำ หรือ ผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำ ควรนำเอาเทคนิคทั้ง 5 ข้อข้างต้น ไปใช้หรือไปประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการพูดของท่านให้เหมือนกับผู้นำ เมื่อท่านพัฒนาการพูดโดยใช้เทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้โดยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง กระผมเชื่อว่า การพูดของท่านจะเหมือนกับผู้นำระดับโลก และท่านจะเป็นบุคคลหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการพูดแบบผู้นำ
...
  
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เรื่องของการสื่อสารภายในองค์กร....การพูดนับว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กรอย่างหนึ่ง ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ความสามัคคีกัน การพูดมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น
ซึ่งรูปแบบการพูดที่มักใช้กันภายในองค์กรต่างๆ มีดังนี้
1.การประชุม
2.การสัมภาษณ์
3.การออกคำสั่ง
4.การสนทนากัน
5.การพูดทางโทรศัพท์
6.การนำเสนอรายงาน การมอบหมายงาน
1.การประชุม การทำงานภายในองค์กร มักจะต้องมีการประชุมร่วมกัน เพราะการประชุมมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ , ทำให้มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น , การหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน , การรับทราบข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ฯลฯ
ลักษณะของการประชุมที่ดี
1.1.ประธานในที่ประชุมควรวางตัวให้เป็นกลาง จับประเด็นได้ดี แก้ไขปัญหาในที่ประชุมโดยไม่ให้กระทบกับความรู้สึกของผู้เข้าร่วมประชุม
1.2.มีการคัดเลือกบุคคลที่เข้าร่วมประชุม การประชุมหลายแห่ง มักมีผู้เข้าร่วมประชุมเยอะมาก แต่ผู้เข้าร่วมประชุม โดยมากมักไม่ได้มีหน้าที่ ภาระงาน ที่เกี่ยวข้องกับกับการประชุมเลย จึงทำให้ประสิทธิภาพของการประชุมลดลง ฉะนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมประชุมจึงมีความสำคัญ เพราะทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นอันมาก
1.3.ระยะเวลาในการประชุม ไม่ควรนานจนเกินไป ควรกำหนดจำนวนครั้งและความถี่
1.4.ห้องประชุม อุปกรณ์การสื่อสารในห้องประชุม ห้องประชุมก็ไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป ควรพิจารณาให้เหมาะสมระหว่างขนาดของห้องกับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
1.5.ห้วข้อ วาระการประชุม ควรเตรียมมาให้พร้อม เพราะหากไม่ได้เตรียมวาระการประชุม การประชุมก็จะวกไปเวียนมา ย้อนไปย้อนมา ทำให้เสียเวลาเป็นอันมาก
สำหรับการพูดในที่ประชุม ประธานควรกล่าวเปิด ปิดการประชุม , ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น , สรุปประเด็น สรุปผลต่างๆ ได้ ฯลฯ
การประชุมหลายแห่ง ใช้เวลามาก บรรยากาศในการประชุมเกิดปัญหา จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับตัวประธานในการที่จะต้องแก้ไขปัญหา เช่น มีการขัดจังหวะกัน , มีการด่าทอกัน , มีการเปลี่ยนเรื่องเปลี่ยนประเด็น , มีการพูดจาหัวเราะเยาะกัน เป็นต้น
2.การสัมภาษณ์ เป็นการพูดอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น การสัมภาษณ์ในการจ้างงาน , การสัมภาษณ์ในการแก้ไขปัญหา , การสัมภาษณ์ในการออกจากงาน , การสัมภาษณ์ในการประเมินผลงาน เป็นต้น สำหรับ การสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เป็นการสื่อสารโดยการพูดภายนอกองค์กร
3.การออกคำสั่ง เป็นการพูดระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในการสั่งงาน ซึ่งบางกรณีก็เกิดการผิดพลาดได้ ฉะนั้น เมื่อออกคำสั่งไปแล้ว ก็ควรให้ผู้รับคำสั่งพูดทวน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ปัญหาในการสื่อสารก็จะลดน้อยลง
4.การสนทนากัน เป็นการพูดคุยกันในงานและอาจจะไม่เกี่ยวกับงานที่ตนเองทำ เป็นการพูดอย่างไม่เป็นทางการ อีกทั้งเป็นไปโดยธรรมชาติ
5.การพูดทางโทรศัพท์ เราอาจพูดสั่งงานหรือติดตามงานภายในองค์กรหรือพูดคุยกัน ผ่านทางโทรศัพท์ได้ เนื่องจากองค์กรใหญ่ๆหลายแห่ง มีพื้นที่กว้าง มีตึกที่อยู่ห่างไกลกัน ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย
6.การนำเสนอรายงาน การนำเสนองานเป็นการพูดเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ อาจจะมีลักษณะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
ทั้ง 6 ประเภทนี้ จึงเป็นการสื่อสารโดยการพูดภายในองค์กร ที่มีความสำคัญ หากผู้ใดทำงานอยู่ภายในองค์กรก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตรงกันข้าม หากว่าท่านต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ท่านมีความจำเป็นจะต้องฝึกฝน พัฒนาตนเอง ในการพูดในรูปแบบต่างๆข้างต้นนี้
...
  
บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
บริหารเวลา กับ เป้าหมาย
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
เครื่องมือนำทางในการบริหารเวลา คือ เป้าหมาย
“ การคลาดสายตาจากเป้าหมาย ทำให้ต้องเพิ่มความพยายามขึ้นอีกเท่าตัว” (มาร์ก ทเวน)
การตั้งเป้าหมายมีความสำคัญต่อการบริหารเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งเป้าหมายทำให้เรามีทิศทางในการทำงาน ทำให้เรามีความตั้งใจทุ่มเทให้กับสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดและลดการใช้เวลากับสิ่งที่มีความสำคัญน้อยที่สุด อีกทั้งลดการใช้พลังงานทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางจิตใจ ของเราลงไปกับสิ่งที่ไม่มีความสำคัญ
เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็ควรที่จะจัดทำการวางแผนขึ้น เพราะการวางแผนเพียง 8 นาที จะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้ถึง 1 ชั่วโมง เลยทีเดียว ฉะนั้น หากใครวางแผนมาก เขาก็จะมีเวลาเหลือในการทำสิ่งที่สำคัญๆสำหรับชีวิตมากขึ้น
สำหรับการตั้งเป้าหมายที่ดี เราควรมีการร่างเป้าหมาย ร่างแผนการต่างๆลงในกระดาษ เพราะการร่าง เป้าหมายและแผนการ ลงในกระดาษมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้เราสามารถตรวจสอบเป้าหมายและแผนของเราได้ตลอดเวลา ทำให้เห็นภาพหรือทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้า ทำให้เราเกิดสมาธิในการทำงานมากกว่าการนั่งคิดไปเรื่อยๆ ทำให้เราลดภาระการจดจำของเรา การเขียนร่างนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและเตือนใจอีกด้วย ถ้าจะให้ดี เราควรมีแฟ้มใส่เป็นสัดส่วนเพื่อจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการทำงานครั้งต่อไปได้
หลายคนมักถามผมว่า “ แล้วถ้าผมมีเป้าหมายหลายอย่างละครับ ผมควรที่จะทำอย่างไร” หากว่าคุณมีเป้าหมายหลายอย่าง คุณควรเขียนเป้าหมายทุกอย่างลงในกระดาษ แล้วลองเรียงลำดับเป้าหมายที่มีความสำคัญที่สุดก่อนโดยให้คะแนนจากมากไปน้อย (เป้าหมายไหนมีความสำคัญมากให้คะแนนมาก เป้าหมายไหนมีความสำคัญน้อยให้คะแนนน้อยหรือเรียงจาก ABC ) แล้ววางแผนและให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่มีความสำคัญมากที่สุดก่อนตามลำดับ
เป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเครื่องมือนำทางในการบริหารเวลา ไม่ว่าคุณจะบริหารประเทศ บริหารทีมงาน บริหารองค์กร รวมถึงการบริหารตนเอง หากว่าไม่มีเป้าหมายเสียแล้ว การบริหารก็จะขาดทิศทาง ต่างคนต่างทำงาน จึงทำให้ประสิทธิภาพของตนเอง ขององค์กร ของหน่วยงาน ลดลง
ดังนั้น หากว่าคุณเป็นผู้บริหาร คุณควรตั้งเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ขึ้นภายในองค์กร ภายในหน่วยงาน ภายในทีมงาน และควรตั้งเป้าหมายสำหรับตัวของคุณเองด้วย แล้วคุณจะพบว่าคุณเป็นบุคคลหนึ่งที่บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต




...
  
เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก ใครที่เก่งภาษาอังกฤษย่อมสร้างโอกาสและมักจะได้เปรียบคนอื่นๆ ไม่จะเป็นเรื่องของหน้าที่การงาน การติดต่อสื่อสาร โอกาสในการสอบชิงทุนการศึกษาเพื่อไปต่างประเทศหรือการสอบไปดูงาน ต่างประเทศ หรือทำวิจัย ทดลอง ค้นคว้า ในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในสอบแข่งขัน
ยิ่งปัจจุบันประเทศไทย ได้เข้าสู่ AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ. ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน. ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าให้ใช้ภาษาอาเซียนในการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งภาษาอาเซียนก็คือภาษาอังกฤษนั่นเอง
สำหรับบทความนี้ กระผมมีเทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษให้ได้ผล มาฝากกัน คือทำอย่างไรถึงจะพูดภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้จะสังเกตดูว่า ประเทศไทยของเรา เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อนุบาลจนถึงเรียนในมหาวิทยาลัย แต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษให้ได้ผลมีดังนี้
1. ฟัง ฟัง ฟัง คือ ฟังภาษาอังกฤษให้มากๆ ฟังทุกๆวัน ฟังในทุกที่ที่โอกาสอาจจะฟังครั้งละ 5 นาที 10 นาที 15 นาที ฟังในทุกสถานที่ เช่น เวลาอาบน้ำ ก็เปิดภาษาอังกฤษฟัง เวลาเดินออกกำลังกายก็ใช้หูฟัง ฟังภาษาอังกฤษไปด้วย ถ้าทำได้เช่นนี้ เราจะสามารถฟังภาษาอังกฤษสะสมได้วันละอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ทีเดียว
2. ฟังซ้ำไป ซ้ำมา ให้เกิดการจดจำและเกิดทักษะในการเข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้น เช่นเราฟังนิทานภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ เราฟังครั้งแรกเราอาจจะไม่เข้าใจ 100 % เราอาจจะเข้าใจเพียง 30% แต่ถ้าเราฟังครั้งที่ 2 เราอาจจะจำเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น และความเข้าใจก็จะเพิ่มขึ้นจาก 30%เป็น 35% และถ้าเราฟังครั้งที่ 3,4,5,6,7,8,9,10…………เ ราก็จะยิ่งเข้าใจเรื่องราวชัดเจนขึ้นเรื่อยๆจนถึง 100 %
3. ฟังเรื่องที่ง่ายๆไปหาเรื่องที่ยากๆ เช่น ฟังนิทานสำหรับเด็กก่อน เพราะใช้คำศัพท์ที่ง่าย ถ้าเราเริ่มต้นจากการฟังข่าวภาษาอังกฤษซึ่งมีศัพท์ที่ยากหรือมีศัพท์เฉพาะเยอะ เราก็อาจจะเรียนรู้ได้ช้าลง เหมือนกับการยกน้ำหนัก เราควรที่จะเริ่มจากน้ำหนักที่น้อยก่อนแล้วเพิ่มจำนวนน้ำหนักขึ้นไปทีละนิด ถ้าเราเริ่มจากการยกน้ำหนักที่มีน้ำหนักมากเราก็จะยกมันไม่ไหว
4. ฟังเรื่องราวที่สามารถนำเอาไปใช้ในการสนทนาภาษาอังกฤษได้จริงๆ ไม่ควรฟังหรืออ่านหนังสือ ตำรา เรียนซึ่งไม่สามารถช่วยทำให้เราสนทนาภาษาอังกฤษได้ดี เพราะในตำราเรียนเป็นรูปแบบที่ตายตัว แต่ในความจริงเราสามารถตอบได้หลายคำตอบ เช่น คนที่ 1 Good morning.How are you? คนที่ 2 I am fine. Thank you and you. คนที่ 1 I am fine.ประโยคพวกนี้พวกเราคงฟังกันคุ้นหูเนื่องจากอยู่ในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่แต่ในความเป็นจริง เราสามารถตอบได้หลายคำตอบ เช่น คนที่ 1 Good morning.How are you? คนที่ 2 I am good. I am sick. I am great.I am very well today. I am tired. I am hungry.I am not so good today.เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าท่านอยากพูดอังกฤษได้ ท่านจะต้องฟังภาษาอังกฤษให้มาก เพราะการพูดมาจาก
การฟัง เมื่อท่านฟังภาษาอังกฤษได้หรือรู้ว่าเขาพูดอะไร ท่านก็จะเข้าใจและท่านก็จะเริ่มขยับปากพูดได้ทีละนิดทีละหน่อย เมื่อท่านฟังภาษาอังกฤษเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ขั้นต่อไปกระผมแนะนำให้เริ่มอ่านภาษาอังกฤษ เพราะจะทำให้เรารู้ศัพท์เพิ่มมากขึ้นและทำให้เราพูดภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น
การอ่านภาษาอังกฤษก็ใช้หลักการเดียวกันกับการพูดก็คือ อ่านทุกเวลาที่มีโอกาส อ่านซ้ำไป
ซ้ำมาหลายๆรอบ(ซึ่งสิ่งที่เราฟังและซึ่งที่เราอ่านควรเป็นเรื่องที่เราชอบ) อ่านจากหนังสือที่ง่ายๆไปหนังสือที่ยาก(เช่นอ่านนิทานสำหรับเด็กก่อน ไม่ควรอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก่อนในระยะที่ฝึกฝนใหม่ๆ) และไม่ควรอ่านหนังสือเรียน หนังสือตำราเรียนภาษาอังกฤษ(เพราะพวกเราอ่านมากแล้วในโรงเรียนในมหาวิทยาลัยแต่ก็ลืมไปเกือบหมด) ควรอ่านหนังสือจำพวกนิทานหรือหนังสือที่ช่วยทำให้การพูดภาษาอังกฤษได้ดี
...
  
การอ้างวาทะคนดังในการพูด
การอ้างวาทะคนดังในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
“จงอยู่อย่างกระหาย และทำตัวให้โง่เขลาอยู่เสมอ”(Stay Hungry , Stay Foolish) เป็นคำพูดของสตีฟ จอบส์
“คุณจะเห็นอุปสรรคเป็นสิ่งที่น่ากลัว ก็ต่อเมื่อคุณ....ละสายตาจากเป้าหมาย” เป็นคำพูดของเฮรี ฟอร์ด
“ความยิ่งใหญ่ของคน อยู่ที่ขนาดของความฝันของเขา” เป็นคำพูดของ บัณฑิต อึ้งรังสี
การพูดสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟัง โดยใช้คำคมของคนดังหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มีความจำเป็นและมีความสำคัญมากในการพูดแต่ละครั้ง หากท่านได้มีโอกาสใช้คำคมเหล่านี้ประกอบการพูดก็จะทำให้การพูดของท่านมีรสชาติ มีความไพเราะ อีกทั้งทำให้ชวนติดตาม ดังนั้น การสะสม วาทะคนดังไว้มากๆ เพื่อนำไปใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในการพูดต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักพูด
ส่วนใหญ่วาทะคนดัง มักเป็นคำพูดที่คนดังได้ใช้เวลาคิดปกติมักเป็นข้อความสั้นๆ แต่กินใจความลึกซึ้ง เมื่อได้ฟังแล้วนำไปคิดต่อก็มักจะขยายความไปได้อีกมากมาย ซึ่งวาทะคนดังมีมากมาย หลายภาษา หลายชนชาติ หลายวัฒนธรรม ซึ่งคนเป็นนักพูดควรนำไปใช้ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ ก็จะสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังได้
สำหรับสิ่งที่ควรระวังในการใช้วาทะคนดังในการอ้างอิงในการพูด
1.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะคนดังมากจนเกินไป การใช้วาทะคนดังประกอบการพูดเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ก็ไม่ควรให้มีมากจนเกินไป เพราะการใช้วาทะคนดังมากจนเกินไป จะทำให้ผู้ฟังแทนที่จะเกิดความศรัทธา กลับทำให้เรื่องที่พูดเกิดความน่าเบื่อได้ เปรียบเทียบเหมือนผู้หญิงใส่แหวน หากว่าใส่เป็น ใส่แค่ 1-2 วงก็ทำให้บุคลิกภาพดูดีแล้ว แต่หากใส่ 10 วง ทุกนิ้วหรือมากจนเกินไป ก็จะดูแล้วเป็นตัวตลกมากกว่า ยิ่งใส่มากก็จะทำให้คุณค่าของแหวนและบุคลิกภาพของผู้ใส่ด้อยลงไปด้วย
2.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะที่คร่ำครึ หรือ เก่าเกินไป ไม่ทันสมัย อีกทั้งมีคนใช้บ่อยมากจนดูเป็นวาทะที่ปกติธรรมดา เช่น การอวยพรงานแต่งงาน เรามักจะได้ยินหลายคนอวยพรว่า “ ขอให้ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร ”
3.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะ ที่ผิดกาลเทศะ เช่น สถานการณ์ ที่มีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง ผู้โต้เถียงมักใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เราดันไปใช้คำคมว่า “ คนเราจะใหญ่ แค่ไหนก็เล็กกว่าโลง” ไม่แน่เราอาจจะได้ลงโลงเร็วกว่าปกติ
4.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะ ที่ไม่ชัดเจน วาทะคนดังหลายวาทะ ที่ไม่ชัดเจน เมื่อนำเอาไปใช้ประกอบการพูดก็จะทำให้ผู้ฟัง งง สับสน ได้ เพราะอย่าว่าแต่ผู้ฟังสับสนเลย ผู้พูดก็ยังสับสนกับวาทะนั้น อีกทั้งยังไม่เข้าใจกับวาทะที่นำเอาไปอ้างอิงด้วย เช่น ไม่กร้าวแต่ยืนยันหนักแน่น
5.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะที่ยาวจนเกินไป การใช้วาทะที่ยาวจนเกินไป ทำให้ผู้พูดบางคนถึงกับต้องก้มลงอ่านวาทะนั้น อีกทั้งทำให้ผู้ฟังไม่สามารถจดจำวาทะนั้นได้ ฉะนั้น การใช้วาทะที่สั้น กระฉับ จะดึงดูดความสนใจและสร้างการจดจำได้มากกว่าเมื่อนำเอาไปใช้ประกอบการพูด
6.หลีกเลี่ยงการใช้วาทะที่ไม่ตรงกับเรื่องราวที่นำไปพูด วาทะคนดังมีหลากหลาย เมื่อเรานำเอาไปใช้ก็ควรนำไปใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด เช่น เขาให้พูดเรื่องของการแต่งกาย ก็ควรใช้วาทะเกี่ยวกับการแต่งกายประกอบการพูด “คำโบราณได้กล่าวไว้ว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ไม่ควรใช้วาทะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การแต่งกาย “ ลิ้นเพียงสองนิ้ว ขงเบ้งยกเมืองให้กับเล่าปี่ได้ ” ซึ่งไม่มีความเกี่ยวพันธ์กับเรื่องการแต่งกายเลย เป็นต้น
อีกทั้งการใช้วาทะคนดังประกอบการพูดที่ดี เราควรที่จะต้องอ้างอิงว่าคำพูดดังกล่าวเป็นของผู้ใด เพื่อมารยาทในการนำเอาไปใช้ประกอบการพูด สำหรับแหล่งข้อมูลต่างๆ ของวาทะคนดังในยุคปัจจุบันนี้มีมากมาย กว่าในอดีต เพราะยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เราสามารถค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต เราสามารถซื้อหนังสือวาทะคนดังตามร้านขายหนังสือต่างๆ เราสามารถฟังและจดบันทึกจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการพูดในอนาคตของเรา
คำพูดเหน็บแนมที่เฉียบแหลมรุนแรงย่อมเชือดเฉือนได้ลึกกว่าคมอาวุธ(คติฝรั่งเศส)


...
  
การเลือกวิทยากร
การเลือกวิทยากร
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ในการฝึกอบรม การคัดเลือกวิทยากรมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันมาก ซึ่งการคัดเลือกวิทยากรต้องมีความพิถีพิถัน เป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกวิทยากร ควรมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในหัวข้อหรือหลักสูตรที่จะให้บรรยาย ผู้จัดการฝึกอบรมควรที่จะมีการตรวจสอบ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ของวิทยากรว่ามีความรู้และประสบการณ์ตรงกับหัวข้อนั้นๆหรือไม่
2.มีความสามารถในการถ่ายทอด สอนเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย สอนสนุก ผู้ฟังสนใจฟัง ไม่น่าเบื่อ
3.มีชื่อเสียงในวงการหรือมีชื่อเสียงในหัวข้อที่บรรยาย ซึ่งผู้จัดการฝึกอบรม สามารถดูผลงานที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ บทความ ตำรา เอกสารต่างๆ
4.มีการบรรยายหรือมีการนำเสนอเนื้อหาได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการอบรม เพราะวิทยากรหลายท่าน มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น อีกทั้งมีการบรรยายที่สนุกสนาน ผู้ฟังชื่นชอบ แต่เนื้อหาที่บรรยายไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้
5.มีบุคลิกภาพที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีอายุ มีเพศ ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการให้บรรยาย
ทั้งนี้ ผู้จัดการฝึกอบรม ควรต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของวิทยากร โดยการสอบถามพรรคพวกเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการฝึกอบรมที่ตนเองรู้จักว่า คุณสมบัติและความสามารถของวิทยากรท่านนี้อยู่ในระดับใด อีกทั้งหากเป็นไปได้ควรขออนุญาตวิทยากรท่านนั้น ไปนั่งฟังการบรรยาย ไปสังเกตวิธีการสอน ก่อนที่จะเชิญไปสอนจริงๆ
...
  
พูดอย่างไรให้ขายได้
พูดอย่างไรให้ขายได้
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
นักขายที่ประสบความสำเร็จ มักเป็นคนที่พูดเก่ง มีศิลปะการพูดที่สามารถพูดโน้มน้าวใจผู้ซื้อได้ การพูดจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่นักขายที่อยากประสบความสำเร็จจำเป็นที่จะต้องฝึกฝน สำหรับเทคนิคการพูดเพื่อขายมีดังนี้
1.ต้องชม นักขายที่พูดเก่ง มีวาทศิลป์ที่ดี เขามักจะชมลูกค้าเป็น เพราะธรรมชาติของคนเรา ชอบให้คนอื่นชม ชอบให้คนอื่นยกย่อง ชอบให้คนอื่นสรรเสริญมากกว่า คำพูดที่ว่ากล่าว ติทอ ตักเตือน นินทา ดังนั้น นักขายจึงควรที่จะหัดชมลูกค้า หัดชมครอบครัวของเขา หัดชมงานที่เขาทำ หัดชมงานอดิเรกของเขา รวมไปถึงเรื่องที่เขาสนใจหรือสิ่งของที่เขาชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา แหวน รถยนต์ เสื้อผ้า บ้าน ของลูกค้า เป็นต้น
2.ต้องฟัง นักขายที่ขายเก่ง มักจะเป็นนักฟังที่ดี เขาจะรับฟังปัญหาของลูกค้าก่อน แล้ว ถึงพูดเพื่อที่จะนำเสนอ สินค้า เข้าไปแก้ปัญหาที่ลูกค้ามีอยู่ และควรมีการพูดตอบรับการฟัง เพื่อทำให้ลูกค้าจะได้เกิดความมั่นใจว่าเรากำลังฟังเขาอยู่ เช่น ครับ ครับ ใช่ครับ เห็นด้วยครับ ถูกต้องครับ
3.ต้องเชื่อ นักขายที่ขายเก่ง มักจะมีความเชื่อหรือมีความมั่นใจ ในตัวของสินค้า ตัวของบริษัท ตัวของเจ้าของกิจการ ดังนั้น เมื่อเขาพูดเพื่อขายสินค้าออกไป เขาก็มักจะพูดด้วยความมั่นใจ พูดไปด้วยความเชื่อมั่น เมื่อเขาพูดด้วยความมั่นใจแล้ว บุคลิกและท่าทางของนักขายผู้นั้น ก็จะแสดงออกไปด้วยความมั่นใจตามไปด้วย
4.ต้องช่วย นักขายที่เก่ง เมื่อพูดขายสินค้าไปแล้ว ก็มักที่จะช่วยพูดเพื่อให้ลูกค้าที่เกิดความลังเลใจได้มีโอกาสที่จะได้ตัดสินใจซื้อ เพราะในบางครั้ง สินค้าที่นักขายนำเสนอ มีหลายราคา หลายแบบ หลายขนาด ทำให้ ลูกค้าบางคนไม่รู้ว่าจะตัดสินใจเลือกสินค้า ราคาใด แบบใด ขนาดใด นักขายที่เก่งมักจะสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้ แล้วพูดโน้มน้าวใจเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกในแบบที่นักขายได้ช่วยตัดสินใจให้
5.ต้องชี้ความจริง นักขายที่ขายเก่งและยืนยงอยู่ในวงการการขายได้อย่างยาวนาน มักจะเป็นนักขายที่มีคุณธรรม จริยธรรม เขามักเป็นคนที่พูดความจริง ไม่โกหก หลอกลวงลูกค้า เพราะถ้าหากพูดโกหก หลอกลวงลูกค้า เมื่อเขาทราบภายหลัง เขาก็อาจจะไม่เชื่อถือ และอาจจะไม่อยากที่จะซื้อสินค้าซ้ำ
6.ต้องชอบ นักขายที่จะพูดเพื่อขายสินค้าได้ นักขายผู้นั้น ควรที่จะมีความชอบในตัวของสินค้า เขาต้องลองทดลองใช้ เมื่อนักขายได้ใช้สินค้าแล้วเกิดความประทับใจในตัวของสินค้า เขาก็จะพูดความประทับใจของสินค้าได้เป็นอย่างดี
ฉะนั้น การพูดเพื่อที่จะขายสินค้า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะบุคคลที่สร้างความร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักขาย เขาจะมีวิธีการพูดเพื่อที่จะขายสินค้า ขายบริการ และถ้าคุณอยากที่จะขายสินค้าให้ได้มากๆ การพูดจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสื่อสาร เพื่อก่อให้เกิดการซื้อ และจะทำให้เกิดการเพิ่มยอดขาย เพิ่มรายได้ เพิ่มตำแหน่งทางสังคมให้กับคุณได้
...
  
เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
เห็นไมค์แล้วไข้ขึ้น
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
อาการแบบนี้ มักเกิดขึ้น กับผู้พูดหลายๆคน ที่มีอาการกลัว อาการประหม่า เมื่อถูกเชิญให้ขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลายๆคน เมื่อรู้ว่าในวันพรุ่งนี้ จะต้องถูกเชิญให้ไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน บางคนนอนไม่หลับ บางคนเป็นไข้ ไม่สบาย เกิดอาการเครียด ตื่นเต้น คิดมาก วิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนโดยทั่วไป ที่ไม่ได้มีการฝึกฝนการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ฉะนั้น เราสามารถแก้อาการเหล่านี้ได้ดังนี้
1.ต้องทำจนชิน หลายๆคนเกิดอาการประหม่า วิตกจริต เมื่อต้องขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน สาเหตุหนึ่ง เกิดจากการไม่ชินเวที ฉะนั้น หากต้องการให้เกิดการชินเวที เราคงหนีไม่พ้นที่จะต้อง ขึ้นไปพูดบนเวทีบ่อยๆ เมื่อท่านชิน เรื่องท่านคุ้นเคยกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนแล้ว อาการเหล่านี้ก็จะลดน้อยลง
2.ต้องเตรียมตัวก่อนทุกครั้ง หลายๆคน ไม่มีความมั่นใจในตนเอง สาเหตุหนึ่งเพราะไม่รู้ว่าจะขึ้นไปพูดเรื่องอะไร ฉะนั้น ต้องมีการเตรียมตัวโดยการเขียนสคิปหรือบทพูดก่อน ว่า เราจะพูดอะไรบ้าง อะไรก่อน อะไรหลัง จะมีคำคม สุภาษิต อารมณ์ขัน สอดแทรกไว้ที่ใดได้บ้าง จึงจะเหมาะสมกับเรื่องที่พูด
3.ต้องซ้อมพูดบ่อยๆ หลายคนเมื่อเตรียมสคิปหรือบทพูดแล้ว แต่ไม่ยอมฝึกซ้อมการพูด จึงทำให้ตอนไปพูดบนเวทีจริงๆ เกิดอาการพูดที่ติดๆขัดๆ ฉะนั้น เมื่อเตรียมสคิปหรือบทพูดแล้ว ก็ควรซ้อมพูดหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดการจำ เพื่อให้เกิดการพูดคล่อง และเพื่อให้เกิดการเชื่อมั่นในตนเอง
4.ต้องให้กำลังใจตนเองและปลุกปลอบใจตนเอง ต้องหมั่นพูดกับตัวเอง ว่า “ ฉันทำได้” ,“สู้ตาย” ,“ฉันเชื่อมั่น” , “ฉันเก่งที่สุด” ฉะนั้น การให้กำลังใจตนเองและการปลุกปลอบใจตนเอง จะทำให้เราเกิดความกล้า เกิดความมั่นใจในตนเอง ซึ่งคำพูดที่จะช่วยให้กำลังใจตนเองและปลุกปลอบใจตนเองของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน จงหาคำพูดที่ทำให้ตนเองมีพลัง ความกล้า ความเชื่อมั่น สำหรับคำพูดของกระผมก่อนขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนทุกครั้ง ผมจะพูดกับตัวเองในใจหรือพูดเบาๆกับตัวเองว่า “ ใครเต็มที่ไม่เต็มที่ไม่รู้ แต่เราเต็มที่ไว้ก่อน”
5.ต้องเปลี่ยนทัศนคติให้ชอบการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หลายๆคนไม่อยากขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะไม่ชอบ เขาจึงพยายามหลีกหนีหรือหลีกเลี่ยง การที่จะได้ขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน ฉะนั้น หากท่านต้องการที่จะพูดต่อหน้าที่ชุมชนให้ได้ดี ท่านจะต้องเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ จากการที่ไม่ชอบการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ให้เปลี่ยนมาเป็นความชอบ โดยท่านต้องพยายามนึกถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เช่น เมื่อท่านพูดเก่ง พูดดี ท่านจะได้รับตำแหน่ง ท่านจะได้รับชื่อเสียง ท่านจะได้รับการยกย่อง และท่านจะได้รับเงินทองอีกมากมาย เป็นต้น
6.ต้องมีความอดทน ฝึกฝน ตัวเองตลอดเวลา ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ เรามักจะพูดผิดพูดถูก พูดแล้วคนไม่อยากที่จะฟัง ท่านก็ไม่ควรที่จะท้อแท้ ท้อถอย ขอให้ฝีกไป เรียนไป อย่างสม่ำเสมอ หลายๆคนเมื่อพูดไปแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงแรกๆ ก็ท้อแท้ใจ ไม่อยากที่จะขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชนและหลายๆคนปฏิเสธการพูดต่อหน้าที่ชุมชนไปเลยก็มี กล่าวคือ เมื่อถูกเชิญให้พูดก็จะขอร้องว่า “กระผมไม่ขอพูดได้ไหม” ฉะนั้น หากท่านต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการพูด หากท่านต้องการลดอาการประหม่า ท่านจะต้องมีความอดทน ท่านจะต้องหมั่นฝึกฝน แล้วสักวันหนึ่ง อาการประหม่า อาการตื่นเต้น ก็จะลดน้อยลงไปและถ้าหากท่านยิ่งฝึกฝนมากเท่าไร อนาคตอันใกล้ ท่านจะได้เป็นนักพูดที่พูดไปแล้วผู้ฟังอยากที่จะฟังการพูดของท่านอย่างแน่นอน
ทั้ง 6 วิธีการ ดังกล่าวข้างต้นนี้จะทำให้ท่านลดอาการประหม่า ลดอาการวิตกกังวล และทำให้ท่านเกิดความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเองยิ่งขึ้น ฉะนั้น หากว่าท่านเกิดความกลัวที่จะขึ้นพูดต่อหน้าที่ชุมชน กระผมขอแนะนำวิธีแก้ไขความกลัว ซึ่งเป็นเทคนิคที่กระผมใช้อยู่ คือ หากท่านกลัวสิ่งไหน จงเข้าหาสิ่งนั้น
เช่น หากว่าท่านกลัวการขี่ม้า กลัวตกม้า กระผมขอให้ท่านขึ้นไปขี่มัน เช่นกัน หากว่าท่านเกิดความกลัวที่จะขึ้นไปพูดต่อหน้าที่ชุมชน กระผมขอให้ท่านเดินขึ้นไปพูด แล้ว ความกลัวของท่านก็จะลดน้อยลงไปในที่สุด
...
  
ศิลปะการโต้วาที
ศิลปะการโต้วาที
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคปัจจุบัน เราคงจะเห็นว่า เขาจะจัดให้มีการโต้วาที ถามว่า ทำไมต้องเอาคนที่จะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนต่อไป มีความจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องมาโต้วาทีให้ประชาชนและคนทั่วโลกเห็น
ซึ่งคงจะมีเหตุผลหลายประการ ที่ประเทศสหรัฐอมเริกาจะจัดให้มีการโต้วาที สำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพราะการโต้วาที ทำให้เห็นอะไรหลายๆอย่างในตัวของผู้โต้วาที เช่น ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ ภูมิความรู้ บุคลิกภาพ ความเชื่อมั่นในตนเอง การมีวาทศิลป์ การมีไหวพริบปฏิภาณ การมีอารมณ์ขัน ตลอดจนกระทั่งถึงการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ในการที่ถูกคู่แข่งขัน ตอบโต้ ด้วยสถานการณ์ต่างๆ
ดังนั้น ประเทศอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับการโต้วาที ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งที่สำคัญๆของประเทศของเขา คราวนี้เราลองมาทำความรู้จักกับการโต้วาทีคืออะไร
การโต้วาที ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้ให้ความนิยามว่า “ การแสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง”
ซึ่งจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการโต้วาทีคือ
1.เพื่อฝึกให้ผู้โต้วาที ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาเสนอในการโต้วาที
2.เพื่อฝึกให้ผู้โต้วาที ได้ใช้ไหวพริบปฏิภาณ เชาว์ปัญญาในการแก้ไขปัญหาหรือตอบโต้ในการโต้วาที
3.เพื่อฝึกใช้เหตุผล สำหรับการหักล้าง โดยมีการนำข้อมูลหลักฐานต่างๆมาอ้างอิง ฉะนั้นจึงทำให้นักโต้วาทีไม่เป็นคนที่ไม่เชื่อคนง่าย
4.เพื่อฝึกใช้วาทศิลป์ การเลือกใช้ถ้อยคำ เพื่อนำมาโน้มน้าวใจ รวมไปถึงการใช้ท่าทางประกอบการพูด
5.เพื่อฝึกการทำงานให้เป็นทีม มีการวางแผนและทำงานร่วมกัน
6.เพื่อฝึกความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งเป็นธรรมดาของการแข่งขันย่อมมีผู้แพ้ผู้ชนะ
คณะผู้โต้วาที
คณะผู้โต้วาที ประกอบไปด้วย
1.ประธานในการโต้วาที 1 คน จะทำหน้าที่กล่าวทักทาย กล่าวเปิด แจ้งให้ผู้ฟังทราบถึงความสำคัญของญัตติที่ใช้ในการโต้วาที กล่าวเชิญผู้โต้วาทีขึ้นมาบนเวทีทีละคน เป็นผู้แนะนำกรรมการและผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย เป็นผู้สร้างบรรยากาศ และมีหน้าที่สรุปรายงาน การประกาศผลและกล่าวปิดงาน
2.สมาชิกผู้โต้วาที ประกอบไปด้วยทีมทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะมีหัวหน้าฝ่าย 1 คนและผู้สนับสนุนฝ่ายแต่ละฝ่ายอีก 3 คน (แต่ในยุคปัจจุบัน บางแห่งอาจใช้แค่ 2 คน ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม) สำหรับเรื่องของเวลาในการโต้วาทีแต่ละครั้งมักให้เวลาคนละ 5-7 นาที หรือ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้จัดกำหนดขึ้นเอง
ด้านหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายเสนอ มีหน้าที่ดังนี้ ขึ้นต้นควรกล่าวทักทาย แล้วจึงเริ่มเสนอญัตติ มีการแปรญัตติหรือความหมายหรือคำนิยามของญัตติ หาเหตุผลข้อมูลมาเสนอเพื่อสนับสนุนญัตติของตนเอง มีการสรุปประเด็นสำคัญๆ สำหรับรอบที่สอง เป็นรอบสรุป หัวหน้าฝ่ายเสนอต้องเก็บกวาดหรือโต้แย้ง คู่แข่งทุกประเด็นที่ตกค้าง กล่าวคือผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอยังไม่ได้มีการพูดหักล้าง แล้วจึงกล่าวสรุปปิดท้าย โดยประเพณีหัวหน้าฝ่ายเสนอจะเป็นผู้สรุปคนหลังสุด
ด้านหน้าที่ของหัวหน้าฝ่ายค้าน มีหน้าที่ดังนี้ กล่าวทักทาย มีการแปลญัตติที่ทำให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบ ต้องพยายามหาเหตุผลมาคัดค้าน การนำเสนอของหัวหน้าฝ่ายเสนอ มีการโต้แย้งเป็นประเด็นโดยมีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิง มีการเสนอแนะเหตุผลมาสนับสนุนฝ่ายตัวเอง สำหรับรอบที่สอง เป็นรอบสรุป หัวหน้าฝ่ายค้าน ต้องเก็บกวาดหรือโต้แย้ง คู่แข่งทุกประเด็นที่ตกค้าง กล่าวคือผู้สนับสนุนฝ่ายค้านยังไม่ได้มีการพูดหักล้าง แล้วจึงกล่าวสรุปปิดท้าย โดยประเพณีหัวหน้าฝ่ายค้านจะเป็นผู้สรุปก่อนหัวหน้าฝ่ายเสนอ
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนฝ่ายเสนอ กล่าวทักทายผู้ฟัง อธิบายให้การสนับสนุนฝ่ายเสนอ หาเหตุผล ข้ออ้างอิง หลักฐานต่างๆ สถิติ ข้อเท็จจริง เอกสาร ภาพถ่าย มาใช้ประกอบเพิ่มเติม มีหน้าที่โต้แย้ง หาประเด็นต่างๆมาคัดค้านฝ่ายค้าน สรุปประเด็นเน้นย้ำให้กับฝ่ายของตนเองได้เปรียบ แล้วจึงกล่าวลาผู้ฟัง
บทบาทหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนฝ่ายค้าน กล่าวทักทายผู้ฟัง อธิบายให้การสนับสนุนฝ่ายค้าน หาเหตุผล ข้ออ้างอิง หลักฐานต่างๆ สถิติ ข้อเท็จจริง เอกสาร ภาพถ่าย มาใช้ประกอบเพิ่มเติม มีหน้าที่พูดโต้แย้ง หาประเด็นต่างๆมาคัดค้ายฝ่ายเสนอ สรุปประเด็นเน้นย้ำให้กับฝ่ายของตนเองให้เกิดความได้เปรียบ แล้วจึงกล่าวลาผู้ฟัง
ขั้นตอนในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม ของผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย
1.ต้องเตรียมตัว เตรียมข้อมูล หาเอกสารต่างๆ รวมทั้งทำการศึกษา วิเคราะห์ญัตติในการโต้วาทีอย่างถ่องแท้ รวมทั้งจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน สื่อต่างๆเพื่อนำไปใช้ประกอบในการพูด
2.เตรียมต้นฉบับหรือสคิปในการพูด ว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางจะพูดอะไร และสรุปจบจะพูดอะไร อีกทั้งควรเตรียม คำคม คำกลอน อารมณ์ขันในการสอดแทรกการพูด รวมไปถึง สุภาษิต คำพังเพยต่างๆ
3.เตรียมพร้อม เตรียมซ้อม ภาษากายที่ใช้ประกอบการพูด รวมไปถึง การแต่งกาย การใช้ท่าทางในการประกอบการพูด ทั้งนี้ควรมีการซ้อมพูดและฝึกการใช้ภาษากายหรือท่าทางประกอบการพูด
4.เตรียมข้อมูลของฝ่ายตรงกันข้าม นักโต้วาทีที่ดีต้อง รู้เขารู้เรา รู้เขาคือ ต้องรู้ว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะพูดอะไร เตรียมข้อมูลอะไร แล้วคิดล่วงหน้าในการโต้ตอบฝ่ายตรงกันข้าม
5.การโต้วาทีที่ดี ไม่ควรเอ๋ยชื่อและควรเรียกชื่อ แต่ควรเอ่ยเป็น หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 และผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 เป็นต้น
6.หัวหน้าทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ที่จะต้องสรุปประเด็นและสรุปญัตติ เพื่อเป็นการทิ้งท้ายให้ผู้ฟังประทับใจ ตอนสรุปถือว่าสำคัญมากๆ
7.สุดท้ายทีมผู้โต้วาที ควรซักซ้อม เตรียมตัว ปรึกษาหารือกันก่อน มีการตกลงกันว่าใครพูดก่อนหลัง ว่าใครมีข้อมูลอย่างไร เพื่อที่จะไม่ได้เกิดการพูดที่ซ้ำๆกันในเวลาที่ขึ้นเวทีจริง
สำหรับการจัดทีมการโต้วาทีที่ดี
1.หัวหน้าทีม(ต้องเก่งที่สุด)
2.ผู้สนับสนุนคนที่ 1 (ต้องเก่งลำดับ 4 )
3.ผู้สนับสนุนคนที่ 2 (ต้องเก่งลำดับ 3)
4.ผู้สนับสนุนคนที่ 3 (ต้องเก่งลำดับ 2)
คณะกรรมการจับเวลา มีหน้าที่จับเวลา มีการบันทึกเวลา มีการเตือนการใช้เวลาของสมาชิกที่โตวาที เมื่อใกล้หมดเวลาหรือหมดเวลา อาจใช้ภาษามือ กริ่ง เพื่อเตือนสมาชิกที่โต้วาทีให้รู้ว่าใช้เวลาไปเท่าไร เหลือเวลาเท่าไร
คณะกรรมการตัดสิน มีหน้าที่ให้คะแนนผู้โต้วาทีทั้ง 2 ฝ่าย คณะกรรมการควรเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการโต้วาทีมาบ้าง มีหลักวิชา มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการพูดต่อหน้าที่ชุมชน มาร่วมกันตัดสิน ปกติกรรมการมักจะเป็นเลขคี่ คือ 3 คน และ 5 คน สำหรับการโต้วาทีในบางเวที หากไม่ได้มีการแข่งขันกันแบบเอาจริงเอาจัง บางแห่งอาจจะไม่มีกรรมการการตัดสินก็ได้ แต่อาจใช้เสียงปรบมือจากผู้ฟังเป็นตัววัดการแพ้ชนะ ทั้งนี้คณะผู้จัดการโต้วาทีอาจจะประกาศผลเสมอกันหรือไม่มีการตัดสินเลยก็ได้
ผู้เข้าฟังการโต้วาที เป็นผู้ฟังหรือผู้ร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งผู้ฟังควรมีมารยาทในการฟัง ควรฟังอย่างตั้งใจ ควรให้ความร่วมมือโดยการปรบมือให้กำลังใจแก่ผู้โต้วาที เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดความสนุกสนานในการโต้วาที
ญัตติการโต้วาที ควรตั้งชื่อให้มีความน่าสนใจ มีความดึงดูด ญัตติการโต้วาทีควรเป็นญัตติแบบกลางๆ ที่ทุกฝ่ายยังหาข้อสรุปไม่ได้ อีกทั้งญัตติไม่เป็นญัตติที่ทำให้ฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ เป็นญัตติที่ทั้งสองฝ่ายสามารถหาเหตุผลมาโต้กันจนสามารถเอาชนะกันได้
ญัตติการโต้วาทีที่น่าสนใจคือ ดูทีวีดีกว่าอ่านหนังสือพิมพ์,เกิดเป็นผู้ชายดีกว่าเกิดเป็นผู้หญิง,เป็นนักแสดงดีกว่าเป็นนักเขียน,เด็กแน่กว่าคนแก่ เป็นต้น
ส่วนญัตติที่ไม่ควรนำเอามาโต้วาที คือ ญัตติที่แน่นอนซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ น้ำต้องไหลจากบนลงล่าง,พระจันทร์เกิดขึ้นในเวลากลางคืน,แผ่นน้ำมีมากกว่าแผ่นดิน เป็นต้น หรือเป็นญัตติที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่น ไทยร่ำรวยกว่าประเทศญี่ปุ่น , คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนอังกฤษ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการตั้งญัตติไม่ควรตั้งญัตติที่มีความเกี่ยวพันถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับการแปลญัตติหรือการตีญัตตินั้น เป็นหน้าที่ของหัวหน้าทั้งสองฝ่าย คือ หัวหน้าฝ่ายเสนอและหัวหน้าฝ่ายค้าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องแปลญัตติหรือตีญัตติให้ฝ่ายของตนได้เปรียบ สำหรับผู้โต้วาทีบ่อยๆ หรือ มีประสบการณ์ในการโต้วาทีจะรู้ว่า การแปลญัตติหรือการตีญัตติมีความสำคัญถึงขนาดทำให้ได้รับชัยชนะเลยก็ได้
มารยาทในการอ้างอิง สำหรับการโต้วาทีของประเทศไทย คือ ผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายไม่ควรนำเอาพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ้างอิง เพราะจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำการโต้แย้งได้เลย
การให้คะแนน แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น การให้คะแนนของสโมสรฝึกพูดลานนาไทย เชียงใหม่ 1.คะแนนเหตุผล 30 % 2. คะแนนวาทศิลป์ 20 % 3. คะแนนไหวพริบปฏิภาณ 20 %
4.คะแนนภาษาไทย 15 % 5.คะแนนมารยาท 10% 6.คะแนนภาษากาย 5 %
หรือการโต้วาทีบางแห่งอาจให้คะแนน เช่น 1.คะแนนเหตุผล 30 % 2. คะแนนหักล้าง 30 %
3. คะแนนวาทศิลป์ 20 % 4.คะแนนหลักฐานอ้างอิง 10 % 5.คะแนนมารยาท 10%
ทั้งนี้ ผู้โต้วาทีที่ดีและเก่ง ควรทำการวิเคราะห์และหาข้อมูลว่า คณะกรรมการใช้เกณฑ์ใดในการตัดสิน แล้วจึงให้ความสำคัญกับคะแนนที่สูง เพราะบางคนระวังเรื่องของมารยาทจนเองไปซึ่งมีคะแนนแค่ 10 % เลยเสียคะแนนเรื่องของวาทศิลป์ และการหักล้างซึ่งมีคะแนน 20-30 %
สำหรับคุณสมบัติของนักโต้วาทีที่ดีมีดังนี้
1.ต้องมีทักษะในการฟัง การจด การคิด รวมไปถึงการใช้วาทศิลป์ในการพูด นักโต้วาทีที่ดีต้องมีสมาธิในการฟังฝ่ายตรงกันพูด อีกทั้งต้องสามารถจับประเด็นที่สำคัญๆได้ การจดก็ควรจดด้วยความรวดเร็ว มีความคิดที่เป็นระบบมีเหตุมีผลและการนำเสนอควรนำเสนออย่างมีวาทศิลป์ด้วย
2.ต้องมีการเตรียมการมาเป็นอย่างดีหรือทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ซึ่งควรเตรียมทั้งของเราและเตรียมของคู่แข่งคือต้องคิดล่วงหน้าว่าถ้าเราเป็นคู่แข่งขัน เราจะพูดอย่างไร เราจะคิดอย่างไร
3.ต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการโต้วาที คือต้องสามารถตอบโต้สดๆ ในขณะปัจจุบันทันด่วนได้
4. ต้องไม่โกรธง่าย ต้องไม่หวั่นไหวง่าย ต้องมีใจคอหนักแน่น อดทนต่อคำเสียดสีจากฝ่ายตรงกันข้าม รวมไปถึงเรื่องของสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย
5.ต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยมีการประชุมแล้ว แบ่งปันข้อมูล ต้องแบ่งหน้าที่ว่าใครเป็นหัวหน้าทีมและใครเป็นผู้พูดสนับสนุนคนที่ 1 คนที่ 2 และคนที่ 3
สำหรับการโต้วาทีในปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้
1.มีลักษณะของการอ่อนเหตุผล
2.มีลักษณะของการใช้วาทศิลป์ที่ด้อยกว่าในอดีต รวมไปถึงการใช้ ภาษากาย
3.มีลักษณะของการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สวยงามเหมือนในอดีต
4.มีลักษณะของการใช้ไหวพริบปฏิภาณที่ด้อยลง ไม่เหนือชั้น เนื่องจากว่ามีสนามฝึกฝนน้อย

ขั้นตอนในการโต้วาที
1.ประธานมีหน้าที่กล่าวเปิด กล่าวอารัมภบท สร้างบรรยากาศ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ กล่าวทักทายผู้มาฟังการโต้วาที ต่อจากนั้นประธานต้องแนะนำผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย แนะนำกรรมการจับเวลา แนะนำกรรมการตัดสิน จากนั้นจึงกล่าวเชิญผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่ายสลับขึ้นมาพูด โดยเริ่มจาก หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นมาสรุป และหัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาสรุปเป็นคนสุดท้าย ตามลำดับ
2.หัวหน้าฝ่ายเสนอ มีหน้าที่ในการแปลญัตติหรือตีญัตติ และหาข้อมูล หลักฐาน มาสนับสนุนฝ่ายของตน
3.หัวหน้าฝ่ายค้าน มีหน้าที่ในการแปลญัตติหรือตีญัตติ เพื่อให้ฝ่ายตนเองเกิดความได้เปรียบ และหาข้อมูล หลักฐาน มาพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม
4.ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 พูดค้านประเด็นที่สำคัญๆของหัวหน้าฝ่ายค้าน แล้วกล่าวสนับสนุนหัวหน้าฝ่ายเสนอ และนำเสนอประเด็นใหม่
5.ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 พูดค้านและหาเหตุผลมาหักล้าง หัวหน้าฝ่ายเสนอและผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1
6.ต่อจากนั้นจึงเชิญ ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 2 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 3 หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นมาสรุป และหัวหน้าฝ่ายเสนอขึ้นมาสรุปเป็นคนสุดท้าย ตามลำดับ
7.จากนั้นประธานเชิญ กรรมการผู้ตัดสินขึ้นมาวิจารณ์การโต้วาที ในขณะเดียวกัน ต้องรวบรวมคะแนนและการใช้เวลาของทั้งสองฝ่าย เพื่อรวมคะแนน หลังจากนั้นก็ประกาศผลการตัดสิน กล่าวขอบคุณทุกๆฝ่ายและกล่าวปิด
มารยาทในการโต้วาทีที่ดี
1.ไม่ควรอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์
2.อย่าใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ หยาบคาย
3.อย่านำเรื่องส่วนตัวที่ไม่ดีของฝ่ายตรงกันข้ามมาพูด ยกเว้นเรื่องที่ดี
4.อย่าแสดงอารมณ์โกรธ แต่ต้องควบคุมอารมณ์ในการพูด ต้องแสดงความเป็นมิตรกับฝ่ายตรงกันข้าม
5.ไม่ควรเอ่ยชื่อ แต่ควรเอ่ยว่า หัวหน้าฝ่ายเสนอ หัวหน้าฝ่ายค้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน
6.อย่าใช้เวลาเกินหรือพูดเกินเวลาที่กำหนดมาให้ในการโต้วาที
การหักล้าง
1.ต้องตั้งใจฟังผู้โต้วาทีทุกคนพูด แล้วจับประเด็นข้อกล่าวหา และเขียนข้อกล่าว พร้อมทั้งคำพูดในการตอบโต้ลงไปในกระดาษ
2.ต้องหาเหตุผล หลักฐาน ข้อมูล เพื่อมาหักล้างข้อกล่าวหา โดยหักล้างคนที่ลงจากเวทีพูดก่อนแล้วจึงไปยังคนแรก เช่น หากว่าเราเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ 1 เราต้องพูดหักล้างผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ 1 ก่อนแล้วจึงไปพูดหักล้างหัวหน้าฝ่ายเสนอเป็นคนต่อมา
3.ควรหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อกล่าวหาโดยตอบโต้ฝ่ายตรงกันข้ามก่อนอย่างน้อยสัก 2-3 ประเด็น แล้วจึงหาข้อเสนอหาเหตุผลมาสนับสนุนฝ่ายตนเอง
4.หักล้างแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เช่น ฝ่ายตรงกันข้ามร้องเพลงมา ฝ่ายเราก็ต้องร้องเพลงแก้ ฝ่ายตรงกันข้ามยกกลอนมา เราก็ต้องยกกลอนแก้ ฝ่ายตรงกันข้ามยกคำคมมา ฝ่ายเราก็ต้องยกคำคมแก้ เป็นต้น
5.หักล้างแบบทำลายน้ำหนัก หากว่าฝ่ายตรงกันข้ามยกหนังสือมาอ้างอิง เราก็หักล้างว่า หนังสือนั้น ไม่มีคุณภาพ ไม่ควรยึดถือหรือไม่ควรนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง อีกทั้งควรนำเสนอข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการตอบโต้ เช่น ยกพจนานุกรม , ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ,ยกสารานุกรมไทย,ยกเอนไซโคลพีเดีย เป็นต้น
การค้าน
1.ผู้โต้วาทีควรหาเหตุผล หาหลักฐานที่เหนือกว่าคู่แข่งมาใช้ประกอบการโต้วาที เช่น ฝ่ายตรงกันข้ามอ้าง ปทานุกรม เราต้องอ้างพจนานุกรม ฝ่ายตรงกันข้ามอ้างพจนานุกรม เราต้องอ้างไซโคลปิเดีย
2.ผู้โต้วาทีต้องค้านให้ตก คือ ผู้โต้วาทีต้องพยายามค้านให้ได้ทุกประเด็น ต้องยืนยัน นั่งยืน นอนยืน ว่าฝ่ายเราถูกต้อง ไม่ควรใช้คำพูดในลักษณะ ว่า “ผมเห็นด้วย แต่...”
3.ผู้โต้วาทีควรต้องรู้จักค้านดักหน้า กล่าวคือ ผู้โต้วาทีไม่ต้องรอเขานำเสนอก่อนแล้วจึงค้าน แต่เราต้องค้านดักคอล่วงหน้า เพื่อทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบหรือทำให้อีกฝ่ายต้องแก้เกมส์อย่างกะทันหัน
...
  
คุณธรรมนักพูด
คุณธรรมนักพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
คุณธรรม คือ การกระทำในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่มีความถูกต้อง คุณธรรมนักพูด จึงหมายถึง การพูดในสิ่งที่ดีงาม การพูดในเชิงสร้างสรรค์ พูดในสิ่งที่มีประโยชน์
ความจริงแล้วไม่ใช่เพียงแต่ วงการพูด เท่านั้นที่จะต้องมีคุณธรรม แต่ ทุกอาชีพ ทุกวงการ จะต้องมีคุณธรรม เพราะคุณธรรมจะทำให้คนที่อยู่ในอาชีพ อยู่ในวงการ มีความเจริญก้าวหน้า แต่ตรงกันข้าม ผู้ใด อาชีพใด วงการใด ขาดซึ่งคุณธรรม จริยธรรม เสียแล้วก็จะนำมีซึ่งความเสื่อม ความถดถอย และอาจเสียชื่อเสียง เงินทอง ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เช่น
อาชีพทนายความ สภาทนายความ จะให้ทนายความทุกคนได้เรียนและมีการทดสอบในรายวิชามารยาททนายความ
อาชีพขายประกันชีวิต ก็จะมีจรรยาบรรณของนักขายประกันชีวิต ที่จะต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน
อาชีพครู อาจารย์ จะต้องมีกรอบของการปฏิบัติและประพฤติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน นักศึกษา
อาชีพแพทย์ จะต้องมีจรรยาบรรณของแพทย์ เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่า ทุกวงการ ทุกอาชีพ ต่างก็มีการวางกฎระเบียบในเรื่องของ จริยธรรม จรรยาบรรณ คุณธรรม มารยาท ให้คนในอาชีพ คนในวงการของตนเอง ได้ยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน และถ้าผู้ใด ผิดจริยธรรม จรรยาบรรณ คุณธรรม มารยาท บางอาชีพ บางวงการ ถึงขั้นมีบทลงโทษถึงขั้นให้ออกจากวงการไปเลยทีเดียว
สำหรับคุณธรรมนักพูด กระผมขอแบ่งเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1.ประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้คำพูด
2.ประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้คำพูด
1.ประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้คำพูด
1.1.ไม่ควรพูดปด พูดโกหก ซึ่งในทางพุทธศาสนาถือว่าผิดศิล 5 เลยทีเดียว อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ อับราฮัม ลินคอล์น เคยกล่าวไว้ว่า “ ท่านอาจโกหกคนทุกคนได้บางเวลา ท่านอาจโกหกคนทุกคนได้บางเวลา แต่ท่านไม่สามารถโกหกคนทุกคนตลอดเวลาได้” ฉะนั้น นักพูดที่มีคุณธรรม ไม่ควรพูดปด พูดโกหก หลอกลวง เพราะถ้าเราพูดโกหกบ่อยๆ คนที่เขารู้ เขาก็จะไม่เคารพนับถือศรัทธาเรา
1.2.ไม่ควรพูดให้คนทะเลาะกันหรือพูดให้เกิดการแตกความสามัคคี เราต้องยอมรับว่า บ้านเมืองของเราในปัจจุบันและในยุคอดีต คำพูดมีส่วนเป็นอันมากที่ทำให้เกิดความสามัคคี เช่น แกนนำทางการเมืองมักใช้คำพูดไปทางที่ทำลายฝ่ายตรงกันข้าม พูดให้คนฝ่ายของตนเองเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่ง
1.3.ควรรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเอง เช่น สัญญากับใครแล้ว ควรที่จะปฏิบัติตามคำพูดของตนเอง สัญญาว่าจะไปพูดให้ก็ต้องไปตามนัด ไม่ควรขาดนัด หากมีธุรกิจ ติดงานสำคัญ ก็ควรโทรศัพท์ไปขอโทษ เพื่อผู้จัดจะได้จัดนักพูดท่านอื่นแทนตนเองได้
สำหรับคุณธรรมนักพูด ในทางพุทธศาสนายังได้กล่าวถึงเรื่องของการใช้คำพูด ซึ่งนักพูดท่านใดยึดถือก็ถือได้ว่า นักพูดท่านนั้นมีคุณธรรมที่ดีตามหลักพุทธศาสนา คือ
- ปิยวาจา ซึ่งอยู่ใน สังคหวัตถุ 4 ปิยวาจา หมายถึง การใช้คำพูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะ อ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดก้าวร้าว หยาบคาย พูดให้ถูกต้องตามกาลเวลา กาลเทศะ ซึ่งมีหลักที่ยึดถือดังนี้ เว้นจากการพูดเท็จ , เว้นจากการพูดส่อเสียด ,เว้นจากการพูดคำหยาบและเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
- มุสาวาท คำว่า มุสา มีความหมายถึง เท็จ หรือเจตนาที่จะใช้คำพูดเท็จ การใช้คำพูดประเภท มุสาวาท จะทำให้เกิดวาจาที่โกง วาจาที่หลอกลวง เจตนาจะทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์
- ปิสุณวาจา คือ การพูดออกไปเพื่อเจตนาให้คนอื่นเกิดจิตที่เศร้าหมอง ไม่สบายใจ พูดให้ร้ายลับหลังผู้อื่น พูดแล้วมุ่งทำให้เกิดการแตกแยกขึ้น



2.ประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้คำพูด
2.1.ต้องตรงต่อเวลา เวลานัด 9 โมงเช้า ก็ต้องไปตามนัด ถ้าจะให้ดีก็ควรไปก่อนเพียงเล็กน้อย เพื่อไปเตรียมตัวและเพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้จัดเกิดความสบายใจ อีกทั้งเมื่อผู้จัดให้พูด 9 โมงเช้า ถึง เที่ยง(12 นาฬิกา) ก็ควรเลิกตามกำหนด ไม่ควร เลิกก่อนหรือเลิกเกินเวลามากจนเกินไป
2.2.มารยาทในการแต่งกาย นักพูดที่ดีมีคุณธรรม ควรแต่งกายให้เกียรติผู้ฟังและผู้จัด การแต่งกายที่ดีของนักพูดก็คือ ควรแต่งกายเสมอผู้ฟังหรือแต่งกายเหนือกว่าผู้ฟังหนึ่งขั้น แต่ไม่ควรแต่งกายให้ต่ำกว่าผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังสวมเสื้อยืดคอเชิต กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ แต่ก็ควรแต่งตัวให้เหมือนผู้ฟังหรืออาจจะดีกว่าผู้ฟังสักเล็กน้อย เราอาจจะใส่เสื้อสูททับด้านนอก แต่ไม่ควรแต่งกายต่ำกว่าผู้ฟัง เช่นใส่เสื้อยืดคอกลม กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ เป็นต้น
2.3.ไม่ควรเห็นแก่เงิน นักพูดในปัจจุบันมีความแตกต่างกับนักพูดในอดีต คือ ในอดีตการพูดมักจะไม่ได้สร้างรายได้ให้แก่ผู้พูดมากนัก แต่ในยุคปัจจุบัน การพูดเป็นเงินเป็นทอง นักพูดระดับแนวหน้าของประเทศ พูดครั้งหนึ่งหลักหมื่นหลักแสนกันเลยทีเดียว ฉะนั้น นักพูดที่ไม่มีคุณธรรมมักเห็นแก่รายได้ เมื่อรับงานแรกตกลงว่าจะไปพูดให้แล้ว โดยผู้จัดมีงบประมาณน้อยได้ค่าพูดชั่วโมงละ 500 บาท แต่พอต่อมามีคนมาติดต่อขอไปพูดให้โดยเสนอรายได้ 30,000 บาท นักพูดบางคนเห็นแก่เงิน จึงโทรศัพท์ไปปฏิเสธงานแรกที่รับกันเลยทีเดียว
2.4.ต้องพูดให้ตรงกับหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้พูด นักพูดบางท่าน เมื่อเขาเชิญไปให้พูดหัวข้อหนึ่ง แต่ตอนพูดกับไปพูดอีกหัวข้อหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกับหัวข้อที่ผู้จัดมอบหมายให้ อย่างนี้ก็ถือว่าไม่รับผิดชอบต่อการพูด เพราะผู้ฟังส่วนใหญ่มักคาดหวังกับหัวข้อที่ผู้จัดตั้งไว้ จึงยอมเสียเวลา ยอมเสียเงินไปนั่งฟัง ฉะนั้นเมื่อได้รับมอบหมายให้พูด ก็ควรพูดให้ตรงกับหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้พูด
2.5.ต้องเตรียมการพูดมาเป็นอย่างดี นักพูดต้องรับผิดชอบกับงานพูดของตนเอง เราจะเห็นได้ว่า นักพูดหลายๆคน ตอนเข้าวงการใหม่ๆ มีการเตรียมการพูดอย่างดี แต่พอพูดไปนานๆ เริ่มที่จะไม่เตรียมการพูดแล้ว แต่แท้ที่จริงแล้ว นักพูดที่มีคุณธรรมจะต้องมีการเตรียมตัว ทำการบ้าน สำหรับงานพูดของตน งานถึงจะออกมาดีและจะเกิดข้อผิดพลาดน้อยลง
ฉะนั้น หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการความก้าวหน้าในวิชาชีพทางด้านการพูด คุณธรรมนักพูด จึงเป็นสิ่งที่ท่านควรประพฤติปฏิบัติเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพทางด้านการพูด เพราะถ้าท่านขาดซึ่งคุณธรรมนักพูดเสียแล้ว ก็จะพาท่านไปสู่หนทางที่เสื่อมลง



...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.