หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
  -  
  -  
  -  บัญญัติ 7 ประการ ทะยานสู่นักพูด
  -  พูดเก่ง...ด้วยปัญญา...
  -  คำคม เกี่ยวกับการพูด
  -  ถ้าอยากเป็นนักพูด...เชิญทางนี้....
  -  นักพูดผู้ยิ่งใหญ่
  -  อัตลักษณ์ของนักพูด...มีผลต่อการพูดจูงใจคน
  -  การเตรียมการพูด
  -  คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
  -  จะพูดให้ดี...ต้องมีครู...
  -  วิเคราะห์ผู้ฟัง
  -  ลีลานักพูด
  -  ศิลปะการพูด
  -  นักพูดชั้นนำ
  -  องค์ประกอบของการพูด
  -  ถ้อยคำการพูด
  -  พูดดี ต้องประเมิน
  -  บุคลิกภาพของนักพูด
  -  การพูดจูงใจคน
  -  ควรพูดให้ได้ทั้งสาระและความบันเทิง
  -  ทำไมการพูดถึงล้มเหลว
  -  ผู้ฟังอันตราย
  -  วิธีการฝึกพูดด้วยตนเอง
  -  ยอวาที
  -  พูดเป็นเขียนเป็นอย่างนักพูดนักเขียน
  -  เส้นทางสู่วิทยากร
  -  การพูดในชีวิตประจำวัน
  -  การพูดกับการเป็นผู้นำ
  -  ศิลปะการพูดในงานบริการ
  -  ศิลปะการพูดแบบกะทันหัน
  -  การเปิดฉากการพูด
  -  การพูดที่ล้มเหลว
  -  Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
  -  6 W 1 H สำหรับการพูด
  -  วิทยากรสมัยใหม่
  -  วิธีการนำเสนอ
  -  เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  -  คิดอย่างสร้างสรรค์
  -  ภาษากายกับการพูด
  -  การสร้างพลังสามัคคี
  -  กิริยาท่าทางในการพูด
  -  พูดโทรศัพท์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
  -  ศิลปะการพูดในที่ประชุม
  -  การพูดเพื่องานประชาสัมพันธ์
  -  การสร้างความมั่นใจและลดความประหม่าในการพูด
  -  การใช้สื่อต่างๆประกอบการพูด
  -  การออกเสียงและการพัฒนาพลังเสียงในการพูด
  -  การพูดอย่างมีตรรกะ
  -  การสื่อสารโดยการพูด...ภายในองค์กร
  -  การพูดเพื่อให้สัมภาษณ์
  -  ศิลปะการพัฒนาการพูด
  -  เทคนิคในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ
  -  สุนทรพจน์ในการพูด
  -  การพูดทางการเมือง
  -  การพูดกับการบริหาร
  -  พูดบวกเปิดประตูสู่ความสำเร็จ
  -  วิทยากรกับการเป็นวิทยากร
  -  การเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากร
  -  วิทยากรที่ดีต้องรู้จักผสมผสาน
  -  การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง(ศิลปะการโต้วาที)
  -  ศิลปะการพูดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  -  การพูดในอาชีพสื่อมวลชน
  -  วิธีการฝึกการพูดของ พันเอก ปิ่น มุทุกันต์
  -  ศิลปะการโต้วาที
  -  ศิลปะการพูดว่าความในศาล
  -  ปัจจัยที่ส่งผลให้ชนะการเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงินซื้อเสียง
  -  คุณก็เป็นนักพูดได้
  -  การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด
  -  วิธีสร้างความกล้าในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
  -  การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
  -  โฆษกกับการพูดที่ดี
  -  การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  การใช้มือประกอบการพูด
  -  การพูดโน้มน้าวใจ​
  -  ภาษากายไม่เคยโกหก
  -  เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
  -  เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
  -  ภาษากายกับความสำเร็จ
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ : บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี
ดร. สุทธิชัยปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
www.drsuthichai.com
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า
โฆษกหมายถึงผู้ประกาศ ผู้โฆษณา เช่นโฆษณาสถานีวิทยุ ผู้แถลงข่าว แทนเช่นโฆษกพรรคการเมือง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของคำว่า
โฆษกหมายถึง ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา หรือผู้แถลงข่าวแทน
ดังนั้น ความหมายของโฆษก โดยรวมก็คือ ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา ผู้ที่ทําหน้าที่ ส่งมอบข่าวสาร และข้อมูลต่างๆ ให้แก่สาธารณชน หรือประชาชนได้รับรู้
คุณลักษณะของการเป็นโฆษกที่ดีคือ
1 มีข้อมูลมีข่าวสารมีความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องที่ตัวเองพูด
2 มีความน่าไว้วางใจมีความน่าเชื่อถือ
3 เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชนหรือสื่อมวลชน
4 มีความสามารถทางด้านการพูดการสื่อสาร
โฆษกควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดีดังนี้
1 การใช้คำ อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2 การใช้น้ำเสียง การใช้เสียง ประกอบ การพูดให้ถูกต้องกับสถานการณ์ นั้นๆ
3 การใช้อวัจนภาษา การใช้ท่าทางประกอบการพูด อย่างสอดคล้องเหมาะสม
จากเนื้อเพลง ผู้ใหญ่ลี
พศ 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด
สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา
หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา
จากเนื้อเพลงข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการหรือทางการกับชาวบ้าน ที่มีความผิดพลาด มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เราสามารถนำมาวิเคราะห์โดยผ่าน กระบวนการสื่อสาร ว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน อย่างไร
กระบวนการสื่อสาร มีดังนี้
1 ผู้ส่งสาร 2 สาร 3 ช่องทาง 4 ผู้รับสาร
1 ผู้ส่งสาร คือ ข้าราชการ ผู้รับนโยบาย จากรัฐบาล มาส่งต่อให้กับผู้นำชุมชน
2 สาร คือ การส่งเสริมให้ชาวนาและเกษตรกร เลี้ยงเป็ดและ สุกร(หมู)
3 ช่องทาง คือ การประชุม การใช้ไมโครโฟนพูดในที่ประชุม
4 ผู้รับสาร คือ ผู้ใหญ่ลี ที่เข้าใจผิด คิดว่า คำว่าสุกร หมายถึง หมาน้อย
จากกรณีศึกษาข้างนี้ เราจะแก้ไขอย่างไร...ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดหรือไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น...
ข้อที่ 1 ผู้ส่งสาร ควรเปิดโอกาสให้มีการซักถาม ปัญหา หรือความไม่เข้าใจต่างๆ จากผู้รับสาร
ข้อที่ 2 สาร ผู้ส่งสารได้ใช้ภาษาราชการ ซึ่งมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้นชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่นมักจะ คุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่น(หมู)มากกว่าภาษาจากส่วนกลาง(สุกร) เพื่อลดความผิดพลาด ควรใช้ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาที่ชาวบ้านใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ สื่อสารจะเกิด ประสิทธิภาพ มากขึ้น
ข้อ 3 ผู้รับสาร คือผู้ใหญ่ลี เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ หรือข้อสงสัย ก็ควรสอบถาม ข้าราชการ หรือทางการ ที่ส่งสาร หรือข้อมูล
...
  
โฆษกกับการพูดที่ดี
โฆษกกับการพูดที่ดี
ดร. สุทธิชัยปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การเป็นโฆษกที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การพูด ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ง่ายกว่าการเขียน แต่จะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่าการเขียน
พล.เอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีได้เคยกล่าวไว้ว่า “ ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูดคำพูดเป็นนายของเรา”
พวกเราหลายคนคงเคยเล่นเกมส์การสื่อสารโดยการพูด โดยให้คนมาเรียงแถวกัน แล้วให้คนอยู่หัวแถวกระซิบบอกประโยคหนึ่งไปให้คนที่สองและคนที่สองก็กระซิบให้คนถัดไป จนถึงคนสุดท้าย แล้วคนสุดท้ายบอกข้อความที่คนหัวแถวได้พูดเอาไว้ ผลปรากฏว่า เนื้อหามีความผิดเพี้ยนไปจากข้อความเดิม
แต่ในทางกลับกัน หากว่าเราเขียนข้อความให้ คนหัวแถวอ่านแล้วส่งข้อความไปให้คนที่สองอ่านและคนที่สองก็ส่งข้อความให้คนถัดไป จนถึงคนสุดท้าย แล้วให้คนสุดท้ายอ่าน ผลปรากฏว่า เนื้อหาที่เขียนก็ยังคงเดิม
ฉะนั้น ผู้ที่เป็นโฆษกที่ดี จึงต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดทางการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดที่น้อยที่สุด
เพื่อให้ก่อประสิทธิภาพในการพูด โฆษกควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ในเวลาพูด คือ
1.วิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟังเป็นใคร มีความต้องการอะไร รวมไปถึงเรื่องของ เพศ วัย อายุ อาชีพ
2.ต้องตั้งใจฟัง เพราะถ้าอยากจะรู้ว่า ผู้ฟัง มีความต้องการอะไร ในเวลาสนทนากัน ผู้ที่เป็นโฆษกจะต้องตั้งใจฟัง เพื่อจะได้รับรู้ความต้องการของผู้ฟังที่แท้จริง
3.น้ำเสียงที่พูดต้องมีความเหมาะสมกับเรื่องที่พูด เพราะถ้อยคำบอกถึงภาษา แต่น้ำเสียงทำให้เกิดความหวั่นไหวขึ้นภายในจิตใจ เช่น ผมตะคอกสุนัขหรือหมาด้วยน้ำเสียงที่ดุ เสียงดัง แล้วบอกสุนัขหรือหมาให้ “ มา , มา , มานี้ ” ปรากฏว่าสุนัขหรือหมากลัว ถอยห่าง แต่ตรงกันข้าม ผมทำเสียงเบาๆ ไล่หมา “ ไป , ไป , ไป” ปรากฏว่า สุนัขหรือหมากับมาเลียที่เท้า ผม ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ผมไล่สุนัขหรือหมาให้ไป มันกับมาเข้าใกล้ผม ผมเรียกมา มันกลับไม่อยากที่จะเข้าใกล้ผม เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะน้ำเสียงของผมไงครับ
4.การใช้คำพูด ภาษาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เมื่อโฆษกได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศ ตามเวทีหรือตามรายการวิทยุ ก็คนเรียกชื่อคน ตำแหน่งของคนให้ถูกต้องแม่นยำ ไม่ควรกล่าวชื่อหรือตำแหน่ง ผิดๆ ถูกๆ
5.การใช้สีหน้า ท่าทาง ควรเหมาะสมกับสถานการณ์ที่พูด เช่น เมื่อเกิดสถานการณ์หรือมีภัยพิบัติ ผู้คนล้มตาย เวลาไปพูด ก็ไม่ควรพูดเรื่องที่ตลก ทำหน้าท่าทางยิ้มแย้ม แจ่มใส เพราะผู้คนเขายังอยู่ในอาการที่โศกเศร้า
6.สาระของเนื้อหาที่จะพูด ต้องมีการเตรียมตัว เรียงร้อยลำดับเรื่องที่จะพูด เช่น จะขึ้นต้นอย่างไร เนื้อหาอย่างไร สรุปจบอย่างไร ตลอดจนเนื้อหาควรมีการอ้างอิง ทฤษฏี หลักฐาน ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
สำหรับข้อควรระวังเมื่อท่านต้องเป็น โฆษก คือ
1.ไม่ควรกล่าวแนะนำตัวเองมากจนเกินไป เพราะผู้ฟังอยากที่จะฟังเนื้อหา สาระ ข้อมูล ข่าวสาร มากกว่า อีกทั้งการพูดถึงตัวเองมากเกินไป คนฟังมักจะหมั่นไส้โฆษกได้
2.ควรอ่านหรือพูดออกเสียง ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง ของวิทยากรหรือบุคคลที่เราแนะนำให้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
3.ไม่ควรใช้ภาษาที่เข้าใจยาก ในการพูด บางคน ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษคำไทยคำ
4.ควรเข้าไปสอบถาม วิทยากรหรือผู้พูดที่เราต้องการแนะนำว่า ชื่อ สกุล ตำแหน่ง ข้อมูลต่างๆถูกต้องหรือไม่ ทางที่ดีก็ควรพิมพ์ไปให้เขาอ่าน ตรวจทานความถูกต้องเสียก่อน
...
  
การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
การนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ในการนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่สามารถเรียนรู้และพัฒนากันได้ บางคนนำเสนอและมีการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี เช่น สตีฟ จอบส์ ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกว่า เวลาเปิดตัวสินค้าของบริษัทของเขา จะได้รับความสนใจเป็นอันมาก จากสื่อมวลชนและจากกลุ่มลูกค้าที่ติดตาม
ในบทความฉบับนี้ เราจะมาพูดถึงกันในหัวข้อ เทคนิคในการนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี ซึ่งกระผมขอเขียนเป็นข้อๆ ดังนี้
1.ต้องมีความสนใจหรือมุ่งความสนใจไปที่ผู้ฟังส่วนใหญ่ กล่าวคือ เวลาที่นำเสนอ ผู้ฟังมีอาการอย่างไร สนใจฟังเราไหม ทำหน้าตา งงๆ ไหม กอดอก มีกริยาอาการอย่างไร ซึ่งผู้นำเสนอที่ดีจะต้องมีทักษะในการอ่านภาษากายได้ด้วยจึงจะเข้าใจ กริยาอาการต่างๆของผู้ฟัง
2.ต้องลบข้อความที่มีมากจนเกินไปใน slider หรือ สรุปใจความสำคัญ เขียนไม่ต้องมากนัก เวลานำเสนอข้อมูลผ่าน โปรเจคเตอร์ อีกทั้งถ้าหากมีรูปประกอบก็ควรเป็นรูปที่สื่อสารไปในทางเดียวกับข้อความที่นำเสนอ
3.ต้องยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมหรือเรื่องราวที่น่าสนใจ เพื่อทำให้สิ่งที่นำเสนอดูง่ายขึ้น เข้าใจได้ง่ายขึ้นหรือเป็นที่สนใจมากขึ้น
4.ต้องพูดหรือนำเสนอ แบบให้เพื่อนฟังหรือคิดว่า พูดให้คนรู้จักฟัง จะทำให้การพูดดูสนุกขึ้น และจะทำให้การนำเสนอไม่เกร็ง พูดด้วยอาการที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส
5.ต้องแต่งตัวหรือแต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย ดูสะอาด รวมถึงทรงผม หน้าตา
6.ต้องยืนให้มั่นคง เวลาเดินก็ควรเดินหรือเคลื่อนไหวด้วยความมั่นใจในตนเอง ใช้มือหรือท่าทางประกอบก็ควรให้มีความหมาย ว่าเราแสดงท่าทางอะไร ออกไป ก็เพราะเนื่องจากเราต้องการสื่ออารมณ์หรือความรู้สึก หรืออะไรบ้างอย่างเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากขึ้น
7.ต้องนำเสนออย่างกระตือรือร้น เพราะถ้าผู้พูด พูดด้วยความกระตือรือร้น ผู้ฟังก็จะฟังอย่างกระตือรือร้น เราลองสังเกตดูว่า ถ้าผู้พูดคนใด พูดอย่างกระตือรือร้น พูดด้วยเสียงที่ดังกว่าปกติ พูดด้วยเสียงที่ไวกว่าปกติ พูดด้วยเสียง อารมณ์ อาการที่เมามันส์เวลานำเสนอ เราก็จะมีอารมณ์ร่วมไปกับผู้พูดด้วย
8.ต้องซ้อม ซ้อม ซ้อม โดยส่วนตัวกระผม กระผมคิดว่า ข้อนี้มีความสำคัญที่สุด เราจะเห็นนักพูด นักนำเสนอที่ดี เวลาเขาเขียนสคิปเสร็จ เขาจะลุกขึ้นซ้อม เขาจะซ้อมพูด ซ้อมจัดท่าทาง ซ้อมหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และในการพูดจริงๆ ก็จะไม่พูดติดๆขัดๆ
สำหรับเทคนิคเหล่านี้ กระผมเชื่อว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี และถ้าใครนำเอาไปประยุกต์ใช้ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาการนำเสนอและการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของตนเองในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

...
  
การใช้มือประกอบการพูด
การใช้มือประกอบการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การใช้มือประกอบการพูดมีความจำเป็นและมีความสำคัญมาก เพราะการใช้มือประกอบการพูดจะทำให้การพูดนั้นมีความน่าเชื่อถือ การใช้มือประกอบการพูดในลักษณะต่างๆจะสร้างการจูงใจผู้ฟังได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะและศาสตร์ที่สามารถเรียนรู้กันได้
การใช้มือบอกถึงความหมายต่างๆ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น
- เมื่อเราพูดคำว่า “ ไม่ ” แล้วไม่ใช่มือประกอบการพูด กับ เราพูดคำว่า “ ไม่” โดยโปกมืออยู่ในระดับหน้าอก ผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ฟังจะเข้าใจว่า การโปกมืออยู่ที่ระดับหน้าอก จะแสดงให้เห็นว่า เป็นการปฏิเสธที่มีความหนักแน่นกว่า การพูดออกมาเฉยๆ โดยไม่ใช่มือประกอบ
- เมื่อเราพูดคำว่า “ทางโน้น” โดยไม่มีการฝายมือ ผู้ฟังอาจงง ว่า เป็นทางไหน แต่ถ้าเราพูดว่า “ ทางโน้น” แล้วฝายมือไปยังทิศที่เราต้องการให้ผู้ฟังรู้ ผู้ฟังก็จะทราบได้ว่าคนพูดต้องการให้ผู้ฟังทราบว่าทิศทางใด
- เมื่อเราต้องการบอกระดับความสูง เราก็สามารถใช้มือของเราวางเท่าระดับความสูงนั้นๆ เช่น ลูกชายผมตอนนี้สูงเท่านี้ ใช้มือคว่ำแล้วแตะที่ระดับเอว ผู้ฟังก็จะรู้ว่าสูงเท่าเอว หรือ ใช้มือคว่ำแล้วแตะอยู่ที่หน้าอก ผู้ฟังก็จะรู้ว่าสูงเท่าหน้าอก เป็นต้น
การใช้มือเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังทำตาม
- ในการเป็นวิทยากรบรรยายในงานอบรมแต่ละครั้ง ผมมักจะถามว่า ใครเข้าใจแล้ว ยกมือขึ้น ทุกคนก็เฉยๆ ไม่ยอมให้ความร่วมมือหรืออาจเป็นเพราะผู้ฟังไม่กล้ายุ่งอะไรกับวิทยากร แต่เมื่อผมใช้มือประกอบ เช่น ผมบอกว่า ใครเข้าใจแล้วยกมือขึ้น แล้วผมก็ยกมือของผมขึ้นในขณะพูด ปรากฏว่า มีผู้ฟังบางคนเริ่มยกมือไปกับผม
หรือ บางครั้งเมื่อผมต้องการให้คนฟังยกมือขึ้น ผมก็จะพูดด้วยเสียงที่ดังแล้วยกมือของผมขึ้นก่อน ผู้ฟังหลายคนก็จะเริ่มมีส่วนร่วมในการยกมือไปพร้อมกับผม
การใช้มือประกอบการพูดเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- มีอยู่หลายครั้งทีเดียว ที่ผมเป็นพิธีกรหรือเป็นวิทยากรในงานต่างๆ แล้วผมจำชื่อของคู่บ่าวสาวไม่ได้หรือชื่องานที่เข้าอบรมไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็มีชื่อคู่บ่าวสาวหรือชื่อข้อความการจัดอบรมอยู่ที่หน้าเวที ถ้าเกิดผมจำไม่ได้แล้ว หันหลังไปอ่าน คนฟังหรือเจ้าภาพย่อมไม่ประทับใจผมแน่
แต่ผมใช้วิธีนี้ ท่านผู้อ่านอาจนำไปใช้ดูก็ได้ครับ คือ เมื่อผมจำชื่อคู่บ่าวสาวไม่ได้ ผมก็จะใช้วิธีการฝายมือไปยัง ชื่อคู่บ่าวสาว ด้านหน้าเวที เพื่อให้ทุกคนที่เข้าร่วมงานดู แต่จริงๆแล้ว ผมลืมครับ ผมดูเอง เพราะผมจำไม่ได้ แต่การใช้วิธีการฝายมือได้ผลครับ ทุกคนต่างดูไปที่ชื่อคู่บ่าวสาวพร้อมๆ กัน กับผม เสมือนหนึ่งว่าผมไม่ได้ดูชื่อคู่บ่าวสาวคนเดียว การอบรมก็เช่นกัน ถ้าผมจำชื่อโครงการหรือจำชื่อหลักสูตรการอบรมไม่ได้ ผมก็จะฝายมือให้คนฟังดูพร้อมๆกันกับผม แล้วผมก็อ่านมัน
ฉะนั้น ถ้าผู้พูดคนใด สามารถนำมือมาใช้ในการประกอบการพูด ก็จะทำให้การพูดของท่านเป็นที่น่าสนใจ และจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ผู้พูดก็ไม่ควรใช้มือประกอบการพูดมากเสียจนเกินไป หรือใช้มืออย่างไม่มีความหมาย จนทำให้ผู้พูดสูญเสียบุคลิกภาพได้ในสายตาของผู้ฟัง
...
  
การพูดโน้มน้าวใจ​
การพูดโน้มน้าวใจ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การใช้ชีวิตอยู่ในสังคม การพูดเป็นการสื่อสารที่มีความง่าย มีความจำเป็นและมีความสำคัญในการที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันภายในสังคม ซึ่งวัตถุประสงค์ของการพูดมีหลายประเภท เช่น การพูดเพื่อความบันเทิง การพูดเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร การบรรยายและการพูดเพื่อการจูงใจหรือโน้มน้าวใจคน
ในบทความนี้เราจะมาพูดในการเรื่องการพูดเพื่อการโน้มน้าวใจคน ซึ่งทักษะของการพูดโน้มน้าวใจที่ดี ผู้พูดต้องมีหรือควรมีสิ่งเหล่านี้ มาประกอบการพูด คือ
1.ผู้พูดต้องเป็นคนมีเหตุมีผล ผู้พูดต้องเป็นคนที่หาเหตุผลต่างๆ มาชี้แจงในการพูด สำหรับเรื่องที่พูด ผู้พูดอาจจะต้องบอกข้อดี ข้อเสีย หากว่าผู้ฟังทำตามหรือไม่ทำตาม สิ่งที่ผู้พูดได้พูดออกไป
2.ผู้พูดจะต้องพูดให้ผู้ฟังเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เชื่อถือ เกิดความประทับใจในการพูด ทั้งนี้ยังคงรวมไปถึง บุคลิกภาพ นิสัย ตำแหน่งหน้าที่การงานของผู้พูดด้วย หากว่าผู้พูดเป็นคนที่มีชื่อเสียง มีตำแหน่งใหญ่โต ผู้ฟังก็มักจะเชื่อถือ เชื่อฟัง เกิดความศรัทธา มากกว่าผู้พูด ที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีตำแหน่งใหญ่โต
3.ผู้พูดจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น พูดให้คนไม่สูบบุหรี่ แต่ผู้พูดยังสูบบุหรี่อยู่ พูดให้คนเลิกกินเหล้า แต่ผู้พูดยังคงกินเหล้าอยู่ พูดให้คนเลิกเล่นการพนัน แต่ผู้พูดยังเล่นการพนันอยู่ อย่างนี้ ถ้าผู้พูดพยายาม พูดให้โน้มน้าวใจสักเพียงใด คนฟังก็มักจะไม่เกิดความเชื่อถือ เกิดความศรัทธา และไม่อยากที่จะนำสิ่งที่หรือเนื้อหาต่างๆของผู้พูดไปปฏิบัติ
4.ผู้พูดควร หาเอกสาร ควรหาหลักฐาน ควรหารูปภาพ ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มาประกอบการพูด เช่น พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ ก็ควรนำเอาเอกสาร ข้อมูลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย มาประกอบการพูด , พูดถึงเรื่อง ความผิด ก็ควรนำเอาประมวลกฏหมายมาตราต่างๆมาประกอบการพูด
5.ผู้พูดควร สอดใส่อารมณ์ในการพูด ถ้าพูดเรื่องเศร้า ควรใส่น้ำเสียง ใส่อารมณ์ ถ้าพูดเรื่องจริงจัง ควรทำหน้าตาจริงจังไปด้วย ดังตัวอย่าง ถ้าเราสังเกตการพูดทางการเมือง ซึ่งเป็นการพูดโน้มน้าวใจแบบหนึ่ง ผู้พูดจะใช้น้ำเสียงต่างๆในเวลาที่พูด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม
6.ผู้พูดควร พูดเรื่องผลประโยชน์ พูดเรื่องรายได้ พูดเรื่องสิ่งที่ผู้ฟังจะได้รับ เมื่อผู้ฟังดได้นำเอาเรื่องที่พูดไปปฏิบัติ เช่น การพูดเกี่ยวกับงานขาย ถ้าผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังสมัครเป็นตัวแทนเพื่อจำหน่ายสินค้า ผู้พูดควรพูดถึงรายได้ที่เกิดจากการขาย หรือ ถ้าผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังใช้สินค้า ผู้พูดก็ควรพูดถึง คุณประโยชน์ของสินค้า ข้อดีต่างๆของสินค้า
7.ผู้พูดควรหาตัวอย่าง บุคคล เรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูดมาประกอบเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น การพูดให้คนเลิกสูบบุหรี่ เราควรนำตัวอย่างบุคคลที่เป็นโรคต่างๆที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่มาใช้ประกอบในการพูด (โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งหลอดลม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ฯลฯ)
...
  
ภาษากายไม่เคยโกหก
ภาษากายไม่เคยโกหก
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
อัลเบิร์ต เมห์ราเบี้ยน ได้ทำวิจัยพบว่า คนเรามีความสามารถในการสื่อสารแล้วให้ผู้ฟังโดนใจ มักจะเป็นคำพูดเพียงแค่ 7 % เป็นเรื่องของน้ำเสียง สุ้มเสียงต่างๆ อีก 38 % และเป็นเรื่องของภาษากายหรือ
อวัจนภาษาอีก 55%
นั้น แสดงว่า มนุษย์เราสามารถโกหกกันด้วยคำพูดได้ แต่ ภาษากายหรืออวัจนภาษานั้น โกหกกันได้ยาก เพราะ อวัจนภาษานั้น ใช้กิริยาท่าทาง สีหน้า การเคลื่อนไหวแทนคำพูด ฉะนั้นการเรียนรู้ภาษากายจึงเป็นการเรียนรู้แบบเจาะลึกไปยังเบื้องหลังหรือใต้คำพูดของคนเรา
สำหรับท่าทางพื้นฐานที่บ่งบอกถึงความรู้สึกต่างๆ เช่น
1.ใบหน้าที่ยิ้มแย้ม บ่งบอกถึง ความสุข
2.ใบหน้านิ่วคิ้วขมวด บ่งบอกถึง ความโกรธหรือความทุกข์
3.การพยักหน้า บ่งบอกถึง คำว่า ใช่
4.การส่ายศีรษะ บ่งบอกถึง คำว่า ไม่
5.การยักไหล่(ยกไหล่สูงขึ้น การแบมือและการเลิกคิ้วทั้ง 2 ข้าง) บ่งบอกถึง ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
6.ทุกอย่าง OK(การใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจรดเป็นวงกลม) บ่งบอกถึง ทุกอย่างเรียบร้อยดี
สำหรับ การเรียนรู้ภาษากายที่ดีนั้น เราต้องเป็นคนที่รู้จักสังเกตและสนุกกับมัน วิธีง่ายก็คือ ควรที่จะมีการฝึกสังเกต 15-20 นาที ต่อวัน สำหรับสถานที่ที่เหมาะกับการฝึกฝนก็คือ งานสังคม งานเลี้ยงสรรค์ และก็สนามบิน เพราะสถานการณ์ในงานต่างๆเหล่านี้ เราจะสังเกตให้ลีลาท่าทางของคนในรูปแบบต่างๆ เช่น บางคนแสดงร่างกายออกในทางสนุกสนาน,บางคนแสดงอาการเบื่อหน่าย,บางคนแสดงท่าทางเศร้าโศกและอีกหลากหลายอารมณ์โดยแสดงผ่านกิริยาท่าทางต่างๆ
หลายคนอาจจะเคยเลี้ยง หมา แมว นก ช้าง ฯลฯ สัตว์เหล่านี้ไม่สามารถพูดจาภาษามนุษย์เราได้ แต่ ถ้าผู้เลี้ยงสัตว์เหล่านี้ ลองใช้เวลา ศึกษาและสังเกตมันจริงๆ เราจะรู้ได้จากภาษากายหรือภาษาท่าทางของสัตว์เหล่านี้ว่า มันมีอาการ มีอารมณ์ มีความรู้สึก มีความต้องการอะไร
ฉะนั้น ภาษาท่าทางหรือภาษากาย หากพวกเราลองศึกษาอย่างจริงจัง จะพบว่า เราสามารถอ่านใจคนได้ เราสามารถจับโกหกของคนได้ เราสามารถรู้ว่าเขาเกลียดเราได้ เราสามารถรู้ทันความคิดของคนได้ ก็โดยการอ่านกิริยาอาการ ความคิด การเคลื่อนไหวโดยผ่าน ภาษากายหรือภาษาท่าทางนั่นเอง และถ้าหากว่าใครฝึกฝน เรียนรู้ สังเกต ศึกษาอย่างต่อเนื่อง เขาก็จะสามารถจับอารมณ์ต่างๆของผู้คนได้ เช่น รู้ว่าใครกำลัง โกหก อึดอัด ไม่ชอบ ชอบ รัก เกลียด เบื่อ สนุก อยากมีส่วนร่วม ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น
- คนที่สงสัย มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ การมองด้วยหางตา,การมองลอดแว่นตา,การเอามือจับจมูกและถูไปมาเบาๆ เป็นต้น
- คนที่กระวนกระวายใจ มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ การเอามือปิดปาก,นั่งไม่นิ่งกระสับกระส่ายตลอดเวลา,ชอบทำเสียงกระแอม,การใช้อุปกรณ์เช่นปากกาหรือนิ้วหรือมือเคาะโต๊ะเบาๆ ,การเอามือดึงติ่งหูเบาๆ เป็นต้น
- คนที่เศร้า มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เดินก้มหน้าและเดินอย่างช้าๆ , หายใจเข้าออกช้าๆ , การใช้มือกอดตัวเอง เป็นต้น
- คนที่มีความตื่นเต้น มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ หายใจเร็วและแรงมาก,เสียงสั่น,ตาโต,การถูมือถูแขนไปๆมาๆ เป็นต้น
- คนที่ อาย มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ มีใบหน้าแดง,ไม่กล้าสบสายตาคน,บิดมือบิดแขนไปๆมาๆ,เคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
- คนที่ กำลังใช้ความคิดอยู่ มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เอามือเท้าคางแล้วเอานิ้วชี้ไว้บนแก้ม,ใช้นิ้วเคาะหัว,ใช้มือเกาหัว,การถอดแว่นตาแล้วใช้ปากคาบขาแว่นตา,เดินแล้วเอามือไขว้หลัง,ใช้มือลูบคางไปๆมาๆ เป็นต้น
- คนที่ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ สายตาจ้องไม่กะพริบ,การใช้มือกอดอก,นั่งในท่าสบายเอนหลังพิงเก้าอี้,นั่งในท่าไขว้ห้าง,ใช้มือทำเป็นรูปสามาเหลี่ยม เป็นต้น
- คนที่ มีความต้องการการเป็นส่วนตัว มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เคลื่อนไหวตัวหรือขยับตัวหนีเมื่อมีคนเข้ามาใกล้ๆ , วางสิ่งของอุปกรณ์ต่างๆไว้เต็มโต๊ะ,เลือกที่นั่งด้านในสุด เป็นต้น
- คนที่โกหก มักจะแสดงกิริยา อาการ ผ่านท่าทาง คือ ไม่กล้าสบสายตาคู่สนทนา , น้ำเสียงเปลี่ยนไป , ใบหน้าที่เปลี่ยนไป , ตากะพริบบ่อยครั้ง , พูดติดอ่างหรือพูดเร็วเกินไป, หายใจไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
- คนที่โกรธ มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ ใบหน้าแดงก่ำ , กำหมัดแน่น,เม้มปาก,เดินหนี,ชอบทำอะไรเสียงดัง,เหวี่ยงข้าวของทิ้ง,กระทืบเท้า,เสียงแข็งกระดากผิดปกติ เป็นต้น
- คนที่เครียด มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ บีบมือของตัวเอง,กำมือหรือกำหมัดแน่น,มือประสานกันแน่น,เอามือไขว้หลังแล้วจับข้อมือ เป็นต้น
- คนที่อึดอัด มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ จัดทรงผมหรือเอามือลูบผมบ่อยๆ,เอามือจับแขนของตนเอง,เอามือนวดท้ายทอย,การจุ๊ปากของตนเอง เป็นต้น
- คนที่ ไม่ไว้ใจคนอื่น มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เอามือล้วงกระเป๋า,เอามือกอดอกขณะยืนหรือขณะนั่ง เป็นต้น
- คนที่ ยอมรับหรือไว้ใจเรา มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เอนตัวหรือโน้มตัวเข้ามาใกล้,เขาฟังอย่างตั้งใจ,เขาเข้ามาสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของเรา เป็นต้น
- คนที่ กระตือรือร้น มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เอามือเท้าใส่เอว, ท่ายิ้มแบบเห็นฟัน, นั่งตัวตรงและนั่งอยู่ตรงขอบของเก้าอี้ เป็นต้น
- คนที่ แสดงตัวเองว่า เขาชอบคุณ มักจะแสดงกิริยา อาการผ่านท่าทางคือ เขาจะจัดเสื้อผ้าอยู่แสดงเมื่ออยู่ต่อหน้าคุณ , เขาจะใช้สายตาชำเลืองหรือมองคุณอยู่บ่อยๆ , เขาจะชอบยืนใกล้คุณ , เขาจะโน้มหัวเข้าหาคุณ เป็นต้น
ฉะนั้น หากว่าเราหมั่นสังเกต กิริยา อาการต่างๆเหล่านี้ เราก็จะสามารถถอดรหัสได้ว่า คนที่เราคุยด้วย สนทนาด้วย มีความคิด มีความรู้สึก กับเราอย่างไร ทั้งนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนและการสังเกติอย่างสม่ำเสมอ แล้วคุณก็จะเป็นคนหนึ่งที่มีความสามารถในการอ่านใจคนได้และได้เปรียบในการทำงานหรือได้เปรียบในการแข่งขัน


...
  
เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
จากประสบการณ์ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนของกระผม ซึ่งปัจจุบันกระผมทำงานทางด้านการเป็น วิทยากร เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วม 20 ปี ในบทความฉบับนี้ จึงอยากที่จะแชร์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านผู้อ่าน ในหัวข้อ “ เคล็ดลับในการเป็นนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ดี”
1.ต้อง ใช้ภาษาท่าทาง น้ำเสียง และคำพูด มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เขาได้ค้นพบว่า ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชนหรือการสื่อสาร 1. ผู้ฟังจะสนใจ ภาษาท่าทาง 55 % 2.ผู้ฟังจะสนใจ น้ำเสียง 38 % 3.ผู้ฟังจะสนใจ คำพูด 7 % ฉะนั้น หากว่าท่านต้องการประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าที่ชุนชน ท่านควรให้ความสนใจในการพัฒนา ฝึกฝนทางด้านการใช้ภาษาท่าทางให้มาก รองลงมาควรให้ความสนใจกับการใช้น้ำเสียง และคำพูด ตามลำดับ แต่นักพูดเป็นจำนวนมากกับละเลย พวกเขากับทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามคือพวกเขาจะพัฒนาการใช้คำพูดมากที่สุด แล้วจึงพัฒนาน้ำเสียง และพัฒนาการใช้ภาษาท่าทาง
2.ต้อง ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ การยกตัวอย่างในการพูดจะทำให้การพูดของเราเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเรื่องบางเรื่องที่พูดมีลักษณะเป็นนามธรรม เข้าใจยาก แต่ถ้าผู้พูด สามารถยกตัวอย่างประกอบ ก็จะทำให้ผู้ฟัง เห็นภาพได้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการพูดยกตัวอย่าง เราก็ควรยกตัวอย่างที่น่าสนใจ ไม่ควรยกตัวอย่างเก่าๆ หรือยกตัวอย่างที่ผู้ฟัง ได้ฟังมาบ่อยแล้ว ผู้ฟังก็มักจะไม่เกิดความสนใจที่จะฟัง และจากประสบการณ์ในการพูดที่ผ่านมาของกระผม คนไทยเราชอบฟังตัวอย่างที่สนุกๆ ตัวอย่างที่มีความขำขัน ผู้ฟังก็ยิ่งมีความสนใจหรือมีความตั้งใจที่จะฟัง มากยิ่งขึ้น
3.ต้อง มีประเด็นหลัก หรือ หัวข้อที่เราต้องการสื่อสาร เราต้องพูดให้ตรงกับหัวข้อที่ผู้จัดกำหนด หรือต้องการและถ้าพูดเป็นจำนวนหลายชั่วโมง ก็ควรมีประเด็นรองๆ ลงมาด้วย และเมื่อพูดจบ ผู้ฟังก็ควรเข้าใจว่าเราต้องการสื่อสารอะไร ในหัวข้อที่กำหนด
4.ต้อง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้พูดหลายคน เตรียมตัวมาดี มีความรู้ดี มีความสามารถ แต่ถ้าขาดซึ่งความมั่นใจในตนเอง เขาก็จะเกิดความกลัว เกิดความวิตกกังวล เมื่ออยู่บนเวทีพูด การพูดของเขาก็จะขาดซึ่งพลัง ขาดซึ่งความกระตือรืนร้น ขาดสีสันในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เขาจะพูดแบบไม่เต็มกำลัง ไม่เต็มความสามารถ แต่ถ้าเขามีความเชื่อมั่นในตนเอง เขาจะพูดแบบเต็มเสียง เต็มอารมณ์ เต็มอาการ ในการพูด เขาจะเอาชนะความกลัวต่างๆ ในตอนอยู่บนเวทีพูด
5. ต้อง วิเคราะห์ผู้ฟัง ต้องรู้ว่าผู้ฟังของเราคือใคร เพศอะไร อยู่ในวัยไหน มีความรู้การศึกษาระดับไหน มีจำนวนกี่คน ผู้ฟังต้องการอะไร เมื่อเราวิเคราะห์ผู้ฟัง ออกแล้ว เราก็สามารถพูดให้ตรงกับใจของผู้ฟัง
ยกตัวอย่างที่มีความเหมาะสมกับผู้ฟังได้
6.ต้อง มีความรักในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน คนที่ประสบความสำเร็จในวงการใดๆ ก็ตาม กระผมคิดว่า เขาจะต้องมีความรักหรือความชอบในสิ่งนั้นๆ การพูดต่อหน้าที่ชุมชนก็เช่นกัน ถ้าท่านไม่ชอบหรือถ้าท่านไม่มีความรัก ในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านจะไม่มีความสุขในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เมื่อมีคนเชิญท่านไปพูด ท่านจะรู้สึกกลัว และไม่อยากที่จะไปพูด แต่ตรงกันข้าม ถ้าท่านรักในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน ท่านจะมีความสุขกับมัน และในบางเวที การพูดของท่านอาจจะล้มเหลว แต่ท่านก็จะสามารถลุกขึ้นมาได้และแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
7.ต้อง เป็นนักศึกษาทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนตลอดเวลา คนที่จะประสบความสำเร็จทางการพูดอย่างสูง เขาจะศึกษาวิธีการ เขาจะตามไปดูหรือฟัง นักพูดที่ประสบความสำเร็จต่างๆในอดีตและปัจจุบัน ว่าเขาพูดกันอย่างไร มีเทคนิคอะไรในการพูด เขามีท่าทาง น้ำเสียงอย่างไร เพื่อที่จะนำมาปรับปรุง แก้ไข การพูดของตนเองในกาลต่อไป
8.ต้อง มีการเตรียมตัวมาอย่างดี กล่าวคือ ต้องมีการเตรียมเนื้อเรื่อง เตรียมเนื้อหา เตรียมการพูด เตรียมโครงสร้างในการพูดว่าจะขึ้นต้นอย่างไร ตรงกลางอย่างไร สรุปจบอย่างไร มีตัวอย่างอะไรบ้างประกอบการพูด จะใช้คำคม น้ำเสียงอย่างไร จะใช้สื่อ จะใช้เครื่องมืออะไร ประกอบการพูด รวมไปถึงการซ้อมพูด การจินตนาการว่าเราจะเดินขึ้นไปพูดบนเวทีอย่างไร เราจะทำท่าทางอย่างไรประกอบการพูด เมื่ออยู่บนเวทีพูด

...
  
เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง
เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

การที่จะพูดภาษาอังกฤษให้เก่ง เราต้องเริ่มต้นที่ การฟัง ฟัง ฟัง เราลองนึกภาพ เด็กทารกอเมริกัน เราจะฝึกให้เด็กทารก พูดภาษาอังกฤษได้ เราต้องทำอย่างไร เราจะซื้อหนังสือภาษาอังกฤษให้อ่านหรือ เปล่าเลย สิ่งแรกที่พ่อแม่ชาวอเมริกาต้องทำก็คือ พูดให้เด็กทารกฟัง บ่อยๆ มากๆ เช่นฝึกให้เรียกพ่อ แม่ ซึ่ง พ่อ แม่ ต้องพูดให้เด็กทารกฟัง เป็นจำนวนหลายร้อยครั้ง กว่าเด็กจะจำได้ แล้วเริ่มพูดคำว่า “ พ่อ ” “ แม่ ” หรือคำอื่นๆ กิน , นอน , นั่ง ฯลฯ ต่อจากนั้นเด็กทารกอเมริกา จึงสามารถพูดเป็นประโยคได้ เด็กสามารถพูดเป็นประโยคได้ เมื่อฟังภาษาอังกฤษมากพอ บางคนกว่าจะพูดได้ต้องฟังภาษาอังกฤษเป็นเวลานานถึง 1-2 ปี แล้วจึงเริ่มพูดได้ (ทั้งนี้แล้วแต่พัฒนาการของเด็กทารกแต่ละคนมีไม่เท่ากัน)

แล้ว เราจะฟัง อย่างไร ถึงจะทำให้พูดได้ เราจะเริ่มจากการฟังข่าวภาษาอังกฤษดีไหม เราจะเริ่มจากการดูหนังฝรั่งดีไหม(soundtrack)เราจะเริ่มจากการฟังเพลงดีไหม คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะใช้เวลานานมาก กว่าเราจะฟังรู้เรื่อง(เพราะศัพท์บางคำยากที่จะเข้าใจ) อีกทั้งบางคนอาจเบื่อไปเสียก่อน เนื่องจากฟังไม่รู้เรื่อง

เทคนิคในการฟังภาษาอังกฤษที่ดีคือ เราต้องเริ่มจากการฟังที่ง่ายๆก่อน แล้วไปยากขึ้น ยากขึ้น เช่น เราต้องฟังนิทานสำหรับเด็กทารกหรือนิทานสำหรับเด็กเล็ก เมื่อเราฟังนิทานเหล่านี้ เราจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ นิทานบางเรื่องเราจะเข้าใจถึง 80-90 % เมื่อเราฟังนิทานสำหรับเด็กเล็กไปมากๆแล้ว จะทำให้ทักษะการฟังของเราดีขึ้น เราจึงค่อยเริ่มฟัง เรื่องราวนิทานสำหรับเด็กวัยรุ่น ซึ่งวัยรุ่นในที่นี้ตั้งแต่อายุ 12-19 ปี ซึ่งเรื่องราวนิทานสำหรับวัยรุ่นนี้ จะเริ่มมีศัพท์ภาษาอังกฤษที่ยากขึ้น และเมื่อเราฟังรู้เรื่องมากขึ้น เขาจะเข้าใจถึง 80-90 % แล้วเราค่อยไปดูหนังฝรั่ง ฟังข่าว(BBC VOA) เป็นต้น

ทำไมผมถึงไม่แนะนำให้ดูหนังฝรั่ง(soundtrack) หรือฟังข่าวภาษาอังกฤษ สำหรับคนที่ฝึกใหม่ๆ หรือไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะในหนังฝรั่งหรือข่าวภาษาอังกฤษ จะใช้คำศัพท์ที่ยาก เมื่อเราฟังไม่รู้เรื่องเราจะเริ่มเบื่อหน่าย อีกทั้งเทคนิคการฟังภาษาอังกฤษที่ดี เราไม่ควรเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ไม่ว่าทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เพราะถ้าเราเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ความสนใจของเราจะไม่มุ่งไปที่การฟัง แต่เราจะมุ่งสนใจไปกับการอ่าน แต่ถ้าใครอยากจะฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ก็สามารถเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ภาษาอังกฤษไปด้วยก็ได้ ก็จะทำให้เพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่ควรเปิดคำบรรยาย (Subtitle) เป็นภาษาไทย เพราะจะทำให้การฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ได้ผลน้อยลง

ทำไมผมถึงให้ฝึกฟังในสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับการยกน้ำหนัก ถ้าเราฝึกยกน้ำหนักใหม่ๆ เราไม่ควรเริ่มยกน้ำหนักที่มากๆ เพราะเราไม่สามารถยกได้ ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน เราไม่ควรฝึกฟังในสิ่งที่ยากๆ เช่น เรื่องราว ข่าว หนัง ที่มีคำศัพท์ที่ยากๆ เมื่อเราฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ก็จะทำให้เราท้อแท้ เบื่อหน่ายในการฝึกภาษาอังกฤษ

ฉะนั้น เมื่อเราฝึกยกน้ำหนักใหม่ๆ เราควรเริ่มจากน้ำหนักที่น้อยๆ แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น มากขึ้น สรุปก็คือ เราควรฝึกฟังเรื่องราว ข้อมูลภาษาอังกฤษจากสิ่งที่ง่ายๆ ไปก่อน แล้วจึง ฝึกฟังภาษาอังกฤษในเรื่องราวที่ยากขึ้น เป็นลำดับไป

ที่นี่ เราลองสังเกตดูว่า ทำไมคนไทยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แล้วทำไมถึงพูดภาษาอังกฤษกันไม่ได้ เพราะในชั้นเรียนเราเรียนเรื่องของการอ่าน การเขียน เรียนหลักภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ แต่ไม่เน้นการฟังภาษาอังกฤษ ครูที่สอนส่วนใหญ่ก็เป็นคุณครูคนไทย พอสอนวิชาภาษาอังกฤษก็มักจะพูดภาษาไทยในการสอนภาษาอังกฤษ ก็เลยทำให้เด็กๆ ขาดทักษะการฟังที่มากพอนั่นเอง ...
  
ภาษากายกับความสำเร็จ
การแสดงออกทางภาษากายมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก
โดย..ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
การยิ้ม การหัวเราะ การทำหน้าเครียด การกอดอก การเอามือกุมศีรษะ การเดินเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ การเดินอย่างกระตือรือร้น การนั่งไขว้ห้าง การแสดงออกทางภาษากายเหล่านี้ มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งสิ้น
นางเอมี่ คัดตี้ (Amy Cuddy) เป็นนักจิตวิทยาสังคม เป็นนักวิจัยที่ Tufts University ได้ทำการทดลองกับคนและสัตว์ ในเรื่องของการใช้ภาษากาย จนสรุปได้ว่า การแสดงออกทางภาษากายของเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน 2 ตัว คือ เทสโทสเตอโรนและคอร์ติซอลในสมอง
นางเอมี่ คัดตี้ (Amy Cuddy) ได้วิจัยและสังเกต ลิงชิมแปนซี โดยเฝ้าสังเกต ท่าทางของลิงขิมแปนซีในรูปแบบต่างๆ เช่น เมื่อลิงขิมแปนซี ไม่มีความสุข ก็แสดงออกทางท่าทางโดย การกอดอก การเอามือกุมศีรษะ ทำหน้าเครียด ไม่ยิ้ม แต่ถ้าลิงขิมแปนซีมีความสุข ก็จะทำท่าทาง โดยเอามือและแขนทั้งสองข้างชูขึ้นบนทางฟ้า ยิ้ม หัวเราะ
ดังนั้น นางเอมี่ คัดตี้ (Amy Cuddy) จึงสรุปและเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับภาษากายว่า ถ้าเราต้องการมีความสุข ต้องการประสบความสำเร็จ ต้องการมีอารมณ์ที่ดี เราต้องแสดงออกทางภาษากายหรือภาษาท่าทาง ที่ดี เช่น การเอามือและแขนทั้งสองข้างชูขึ้นบนอากาศ การนั่งแล้วเอามือประสานกันทั้งสองข้างประสานไว้บนท้ายทอย(ด้านหลังของคอ) การยืนแล้วเอามือทั้งสองข้างเท้าใส่เอว ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่สบายใจ ไม่มีความสุข ถ้าเราเกิดความเครียด เรามักจะแสดงออกอย่างไม่รู้ตัว โดย การกอดอก ไม่ยิ้ม ทำหน้าเครียด
อีกทั้งมีงานวิจัยอีกหลายชิ้น ที่ได้ระบุว่า การแสดงออกท่าภาษากายหรือท่าทางมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงผลงานในการทำงานอีกด้วย เช่น โรงงานที่ประเทศญี่ปุ่น จะให้พนักงานในโรงงานเดินเร็วกว่าปกติสักเล็กน้อย โดยหากใครเดินช้า ก็จะมีสัญญาณเลเซอร์ดัง ดังนั้น พนักงานในโรงงานจะต้องเดินเร็วขึ้น ผลปรากฏว่า โรงงานแห่งนั้นมีผลงานมากขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น การเดินเร็ว การเดินอย่างกระตือรือร้น จะทำให้เราเกิดอารมณ์สดชื่นขึ้น ตรงกันข้าม คนที่อกหัก มักจะเดินช้าๆ ทำหน้าเครียด
ดร.อัล เบิร์ต แมห์ราเบียน ศาสตราจารย์ ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ได้กล่าวว่า สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารมี องค์ประกอบ คือ คำพูด 7% น้ำเสียง 38% และภาษากาย 55% แต่บุคคลส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับคำพูด แต่จริงๆ แล้วพวกเราควรเรียนรู้และฝึกฝนด้านการใช้ภาษากายให้มากขึ้น เพราะภาษากาย มีอิทธิพลที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพองการสื่อสารที่มากที่สุด


...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.