|
บริการ |
|
|
กลยุทธ์และเทคนิคการสร้างแบรนด์ 07 6
...
|
|
|
|
ทำงานให้สนุกและสร้างความสุขกับการทำงาน ทำงานให้สนุกและสร้างความสุขกับการทำงาน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
พวกเราที่มีงานทำ พวกเราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า เราทำงานกันทุกวันเรามีความสุขหรือไม่
ถ้าท่านมีความรู้สึก เบื่อที่ทำงาน ไม่อยากไปทำงาน การทำงานในที่ทำงานนั้นเวลาผ่านไปช้าเหลือเกิน อยากให้มีวันหยุดบ่อยๆ อยากลางานบ่อยๆ ฯลฯ
เมื่อท่านมีความรู้สึกอย่างนี้อยู่ในหัวใจ ท่านลองถามตัวเองว่า ท่านมีความสุขในการทำงานหรือมีความทุกข์ในการทำงานของท่านในแต่ละวัน
ถ้าท่านมีความทุกข์ในการทำงาน ความทุกข์นั้นอยู่ที่ไหน ใช่ครับ หลายคนคงบอกว่าอยู่ที่ใจ
เช่น พระพุทธเจ้า เคยกล่าวไว้ว่า “ ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี” หรือ ท่าน ดาไล ลามะเคยกล่าวไว้ว่า “การได้มาซึ่งความสุข ไม่จำต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ด้วยการพัฒนาจิตใจ (ทำให้สงบและมีเมตตากรุณา)
เราสามารถสร้างความสุขได้เกือบตลอดเวลา”
ถ้าถามว่า แล้วชีวิตของคนๆหนึ่งจะมีประโยชน์จะมีคุณค่าขึ้นอยู่กับการทำงานใช่ไหม พวกเราใช้เวลาเกือบทุกวันในการทำงานใช่ไหม ถ้าคำตอบว่าใช่ ดังนั้นก็เป็นดังคำกล่าวที่ว่า งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน ของหลวงพ่อพุทธทาส
ถ้าถามคนส่วนใหญ่ว่าแล้วทำอย่างไรชีวิตการทำงานถึงจะมีความสุข คำตอบของหลายๆท่าน มักตอบว่าต้องทำงานในงานที่ตัวเองรัก
แล้วชีวิตการทำงานในปัจจุบันของหลายๆท่านเป็นอย่างไร หลายคนได้ทำงานตามที่ตนรัก แต่ไม่พอใจ หลายคนเลือกไม่ได้ จึงต้องจำใจทำ บางคนมีปัญหากับเจ้านายและเพื่อนผู้ร่วมงาน
อาจสรุปได้ว่าปัจจัยในการทำงานอย่างมีความสุขหรือทำงานอย่างมีความทุกข์มักเกี่ยวกับกับ งานที่ทำ เจ้านาย เพื่อนผู้ร่วมงาน สิ่งแวดล้อม องค์กร เงิน และตัวเราเอง ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ ปัจจัยที่เราสามารถปรับตัวได้ก็คือ ตัวเราเอง เพราะปัจจัยที่เหลือเป็นปัจจัยภายนอก เราไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้
ดังนั้น หากเราจะทำงานให้มีความสุขก็คงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงที่ใจเราก่อน หากท่านไหนได้ทำงานในงานที่ตนรัก ท่านก็มีความสุขกว่าคนที่ไม่ได้ทำงานในงานที่ตนรัก แต่ท่านอาจจะต้องปรับตัวเองเนื่องจากได้ทำงานในงานที่รัก แต่อาจรู้สึกไม่ชอบหรือไม่มีความสุขกับปัจจัยภายนอก เช่น ไม่ชอบเจ้านาย ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน ได้เงินเดือนไม่พอใช้ ฉะนั้นก็คงต้องหาสาเหตุแล้วทำการแก้ไขสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น
สำหรับท่านที่ไม่สามารถเลือกงานที่ตนเองรักได้ ท่านก็ควรจะต้องมีการปรับทัศนคติใหม่ เนื่องจากเราไม่สามารถเลือกงานที่ทำได้ แต่หากท่านเลือกได้ กระผมแนะนำให้เปลี่ยนงานไปทำงานที่ตนเองชอบหรือรัก ก็จะทำให้ท่านมีความสุขจากการทำงานได้มากขึ้น หากไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ ก็คงต้องคิดเสียใหม่ว่า “ หากเราไม่สามารถทำงานที่เรารัก ก็ขอให้รักในงานที่เราทำ ”
ด้านเทคนิคในการสร้างความสุขในการทำงาน มีหลายเทคนิคซึ่งในที่นี้กระผมขอเขียนตามทัศนะของกระผม มีดังนี้
-สร้างทัศนคติในด้านบวกเสมอ เช่น การพัฒนาความคิดหรือเปลี่ยนแปลงความคิดให้มองโลกในแง่ดี ไม่ควรคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องต่างๆในที่ทำงาน
-สร้าง มนุษย์สัมพันธ์ เนื่องจากการทำงานในทุกที่ทุกองค์กร เราจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกับคน ยิ่งองค์กรใหญ่ๆ ก็ยิ่งได้ทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การพัฒนาความมีมนุษย์สัมพันธ์จึงมีความสำคัญในการทำงานร่วมกัน หากว่าในองค์กรมีการทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกัน การจะทำงานอย่างความสุขในการทำงานก็คงมีลดน้อยลง การทำงานร่วมกับคน หากว่าเราสามาราถหลีกเลี่ยง การต่อว่าองค์กร ต่อว่าเพื่อนร่วมงาน ต่อว่าหัวหน้างานได้ก็จะเป็นการดีครับ
- สร้างประโยชน์หรือหาประโยชน์ จากการได้ทำงานของเรา ในการทำงานต่างๆ ย่อมมีประโยชน์แก่สังคม แก่บริษัท แก่ครอบครัว และแก่ตัวเราเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต หากเราสามารถมองเห็นประโยชน์ต่างๆ จากการได้ทำงานของเรา เราก็จะมีความสุขมากขึ้น งานที่เราทำปัจจุบัน เราสามารถนำไปประกอบกิจการหรือเป็นเจ้าของกิจการได้ในอนาคต เช่น บางคนเป็นพ่อครัว ท่านก็สามารถใช้ความรู้ความสามารถในปัจจุบันนำไปเปิดร้านอาหารได้ในอนาคต บางคนเป็นคนซ่อมรถ ท่านก็สามารถนำความรู้ความสามารถรวมทั้งประสบการณ์ไปเปิดอู่ซ่อมรถได้ในอนาคต บางคนเป็นนักข่าวในปัจจุบันในอนาคตท่านสามารถไปเป็นนักเขียนได้ ฯลฯ
ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความสุขในที่ทำงานก็คือ ตัวเราเอง หากว่าเรามีทัศนคติในแง่ดี หากเรามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี หากเรามองหาประโยชน์จากงานที่เราทำในปัจจุบัน เราก็สามารถทำงานให้สนุกและสร้างความสุขกับการทำงาน ...
|
|
|
|
การจัดการเวลา การจัดการเวลา
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
www.drsuthichai.com
เวลาเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการทำงาน เมื่อเรามาวิเคราะห์การใช้เวลา เราจะเห็นได้ว่า เรามักเสียเวลาไปกับการนอน การทำงาน การเดินทาง การกิน การพักผ่อน ฯลฯ
เคยมีคนศึกษาการใช้เวลาของคนไทย โดยมีอายุเฉลี่ย 72 ปี คนไทยโดยเฉลี่ยมักใช้เวลาไปกับการนอนถึงวันละ 8 ชั่วโมง ( นอน 24 ปีหากคิดจากอายุเฉลี่ย 72 ปี) , ทำงาน 6 ชั่วโมง( ทำงาน 18 ปีหากคิดจากอายุเฉลี่ย 72 ปี) ,เดินทาง 3 ชั่วโมง(เดินทาง 9 ปีหากคิดจากอายุเฉลี่ย 72 ปี) ฯลฯ
ฉะนั้น หากเราสามารถปรับปรุงการใช้เวลาหรือหากเรามีการจัดการเวลาที่ดี ก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้มากขึ้น สร้างผลงานต่างๆให้กับโลกได้มากขึ้น เช่น เราสามารถลดจำนวนเวลาในการนอนจากเฉลี่ยนอนวันละ 8 ชั่วโมง เราอาจลดเหลือ 7 ชั่วโมง ก็จะทำให้เราสามารถมีเวลาเหลืออีก 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือมีเวลามากกว่าคนอื่นถึง 3 ปีหากคิดจากอายุเฉลี่ย 72 ปี
หากจะพิจารณาว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยในการใช้เวลาของคนเรา อาจมีอยู่ 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1.ตัวเราเอง 2.ผู้อื่นและ3.สิ่งแวดล้อม แต่ปัจจัยที่ทำให้การจัดการเวลามีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวเราเองถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมมีส่วนแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การจัดการเวลาที่ดีควรเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน
นักจัดการเวลาที่ดีควรจัดเวลาโดยการแบ่งเวลาให้เป็นระบบระเบียบ เช่น นักเขียนที่ประสบความสำเร็จหรือนักเขียนมืออาชีพมักจะมีการจัดตารางเวลาในการเขียน นักเขียนบางคนเริ่มต้นเขียนตั้งแต่ 9 โมงเช้า จนถึง 4 โมงเย็น เขาก็จะปฏิบัติตามทุกวันจนเคยชินและเป็นนิสัย
จังหวะเวลามีความสำคัญ กล่าวคือต้องรู้ว่าอะไรควรทำก่อน อะไรควรทำทีหลัง เช่น การต้มถั่วเขียวต้องเอาตัวถั่วเขียวใส่น้ำแล้วต้มจนเม็ดถั่วแตกก่อนแล้วใส่น้ำตาลลงไป กล่าวคือ ต้องรู้ว่าอะไรควรใส่ก่อน อะไรควรใส่ทีหลัง แต่ถ้า ใส่น้ำตาลก่อนแล้วใส่ถั่วเขียว จะปรากฏว่าเม็ดถั่วเขียวไม่ยอมแตก ทำให้เสียเวลาเปล่า
อยากทำอะไรให้รีบทำ ไม่ควรนึกฝันแล้วไม่ลงมือทำ เคยมีลูกศิษย์ของผู้เขียน เคยถามผู้เขียนว่า เขามีโอกาสไปเรียนต่อปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา เพราะพ่อแม่มีฐานะอีกทั้งมีญาติอยู่ที่สหรัฐอเมริกา สามารถช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่างๆได้ แต่ในปัจจุบันเขาทำงานในหน่วยงานเอกชนแห่งหนึ่งใน กรุงเทพฯ จะลาออกไปเรียนต่อหรือทำงานต่อดี ผู้เขียนจึงแนะนำว่า เธอควรไป ถ้าเธออยากไป และถ้าหากเธอไม่อยากไปเธอก็ควรไป สรุปผู้เขียนพยายามพูดหว่านล้อมให้เขาไปเรียนเนื่องจาก เราควรลงมือตัดสินใจทำถ้ามีโอกาส ถ้าหากปล่อยเวลาเนิ่นนานต่อไป โอกาสนั้นอาจจะไม่กลับมาหาอีกก็ได้ ในที่สุด ลูกศิษย์ของผู้เขียนตัดสินใจไป เรียนต่อปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา 2 ปี แล้วกลับมาทำงานที่บริษัทอีกแห่งหนึ่งที่ กรุงเทพฯ เป็นบริษัทมหาชน โดยเขาได้รับเงินเดือนถึงหกหลักเลยทีเดียว
การจัดการเวลาที่ดีควรมีการวางแผนและประเมินหรือควบคุมแผนที่วางไว้ เช่นมีเครื่องมือ Diary ,ตารางเวลา,ใบงาน , สมุดบันทึก ฯลฯ ซึ่งแต่ละคนอาจใช้เครื่องมือหรือมีวิธีการในการจัดการเวลาที่ต่างกัน โดยไบรอัน เทรซี่(นักพัฒนาศักยภาพของมนุษย์) เคยกล่าวไว้ว่า ทุกๆ นาทีที่ใช้ในการวางแผนจะประหยัดเวลาได้มากถึง 10 นาที ฉะนั้นหากคุณใช้เวลาวางแผน 10 นาที คุณจะประหยัดเวลาได้ตั้ง 100 นาที หรือ 1 ชั่วโมงกับ 40 นาที เลยทีเดียว
สำหรับการจัดการเวลาของผู้เขียน ผู้เขียนมักมีเครื่องมือที่ใช้ กล่าวคือ มี Diary 1 เล่ม มีสมุดบันทึก มีกระดาษเปล่า A4 โดยทุกๆคืน ผู้เขียนจะมานั่งวางแผนโดยคิดวางแผนเป็นแผนรายปี ทุกปีต้องมีเป้าหมายที่จะต้องทำให้สำเร็จ โดยมี Diary พกติดตัวเป็นประจำ ถ้ามีงานใหม่ๆ เข้ามาก็จะบันทึกลงไปว่าต้องทำอะไรในวันไหน สำหรับสมุดบันทึกใช้บันทึกข้อความต่างๆ ที่อ่านพบแล้วรู้สึกประทับใจก็จะบันทึกไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในการเขียนหนังสือต่อไป สำหรับกระดาษเปล่า A4 ทุกคืน ผู้เขียนจะมานั่งวางแผนว่าจะทำอะไรในวันพรุ่งนี้โดยเรียงลำดับจาก 1-15 และหมายเหตุลำดับว่าอะไรต้องทำก่อนทำหลัง พอถึงวันพรุ่งนี้ก็ทำตามลำดับในกระดาษ A4 ที่ได้วางแผนไว้ เมื่อลำดับไหนทำเสร็จก็จะขีดฆ่า และเมื่อมีอะไรจะต้องทำในวันพรุ่งนี้หรือวันนี้ ก็จะเขียนลงในตอนท้ายของกระดาษ A4
ทั้งนี้การจัดการเวลาเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ สามารถเรียนรู้ได้ สามารถนำไปปฏิบัติ บางหลักการคนอื่นนำไปใช้แล้วได้ผล แต่บางคนอาจจะไม่ชอบ เราก็สามารถเลือกวิธีการวางแผนหรือเลือกใช้เครื่องมือในการวางแผนตามที่เราถนัดหรือชอบได้ แต่ทั้งนี้ถ้าอยากให้ได้ผลเราก็ควรที่จะปฏิบัติตามและลงมือทำอย่างตั้งใจ ทำจนเป็นนิสัยถึงจะประสบความสำเร็จในเรื่องของการจัดการเวลา
...
|
|
|
|
|
ทอล์คโชว์ ชุด 1 6
...
|
|
|
|
โต้วาที 6 นางร้ายในวรรณคดีไทยน่าพิศมัยกว่านางเอก 6
...
|
|
|
|
|
โค้ชสิริลักษณ์ ตันศิริ ตอนที่3 6
...
|
|
|
|
อ.จตุพล ชมภูนิช การศึกษา
มัธยมศึกษา
มัธยมจากโรงเรียนปทุมคงคา
ปริญญาตรี
นิติศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโท
สาขา รัฐประศาสนศาตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ปัจจุบัน
- ประธานกรรมการบริษัท เทรน แอนด์ ทอล์ค จำกัด
- ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมเทรน แอนด์ ทอล์ค
- ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นฑูตไอโอดีน
- พิธีกร, วิทยากรทอล์คโชว์และวิทยากร รับเชิญบรรยายทั้งภาครัฐและเอกชน
...
|
|
|
|
 |
ศิลปะการพูด(วิธีเอาชนะใจคน) แต่งโดย ดร.อดิศร เพียงเกษ พิมพ์ครั้งที่ 1 ราคา 100 บาท
คำนิยมเขียนโดย นายจาตุรนต์ ฉายแสง , รศ.ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และ ผศ.ดร.ธีรยุทธ พึ่งเทียร
กระผมซื้อที่ ร้านซีเอ็ด พะเยา เป็นหนังสือเกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชนเล่มเล็กๆ ซึ่งมีเนื้อหาภายในที่เป็นประโยชน์ เช่น วิธีเอาชนะใจคน , การพูดเป็นศิลปะ , จิตวิทยากับการพูด , หลักการและวิธีการเทศน์ และขอสรุปเป็นคำกลอน ช่วงสุดท้ายมีประวัติผู้เขียน
...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|