หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข่าวสาร
สินค้า
บริการ
แกลลอรี
เว็บลงค์
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา

บริการ

 รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
 บทความต่างๆ ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเสริมสร้างกำลังใจของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 สุนทรพจน์ของนักการเมือง
 บทความเกี่ยวกับการขายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับกฏหมายของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 บทความเกี่ยวกับการเขียนของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
 นักพูดทางการเมือง
 หนังสือ การพูด
 บทความต่างๆ ของนักพูด
 ประวัตินักขาย
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการขาย
 วาทะของคนดัง
 ประวัติ ทนายความ
 ประวัติอาจารย์นักพูด
 คลิปเสียงภาพ เกี่ยวกับกฏหมาย
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
 บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ
 การบริการด้วยหัวใจ
 ผู้บริหาร
 Mind Map แผนที่ความคิด(หนังสือทางด้านการพูด)
 แนะนำหนังสือการเขียน
 ประวัตินักเขียน
 คลิปนักพูด
 แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
 คลิป นักพูดต่างประเทศ
 คลิป ประกอบการบรรยาย
 คลิปเสียงของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับการพูด เช่น นักพูดชั้นนำทำกันอย่างไร , วิธีการปรับปรุงน้ำเสียง ,จะพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมตัว,นักพูดที่ดีต้องมีการศึกษาและองค์ประกอบของนักพูดที่ดี
 คลิป ครูเคท บรรยาย
 คลิป หมู่บ้านพลัม
 สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
 สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
 พูดอย่างมีกึ๋น
 หนังสือ การทำงานเป็นทีม
 แนะนำหนังสือ เกี่ยวกับการทำงาน
 ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
 คำคม
 รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล
 สมชาย หนองฮี
 ดร.ผาณิต กันตามระ
 อ.อุสมาน ลูกหยี
 อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
 วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์
 รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ
 หมอพงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา
 อาจารย์พนม ปีย์เจริญ
 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ
 รศ.วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
 อาจารย์วิชัย ปีติเจริญธรรม
 ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
 กนกศักดิ์ ลิขิตไพรวัลย์
 อาจารย์ถาวร โชติชื่น
 สิริลักษณ์ ตันศิริ
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
 โต้วาที
 คะเณยะ อ่อนนาง
 ภก. ดร. ประชาสรรค์ แสนภักดี
 ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล
 ดร.โอภาส กิจกำแหง
 ประมวลสุนทรพจน์ ทักษิณ ชินวัตร
 ดร.อภิชาติ ดำดี
 อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
 การตลาด
 ทอล์คโชว์
 รวมคลิป ที่เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าที่ชุมชน
 คลิป เรื่องการบริหาร
 คลิป บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ
 เพลง ที่ให้กำลังใจ
 คลิป ดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข
 คลิป แรงบันดาลใจ
 คลิป สนุกๆ สร้างสรรค์
 การทำงานอย่างมีความสุข
 การจัดการองค์ความรู้ KM
 สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

กลุ่มสินค้า

 หลักสูตร พลังแห่งการพูด
 หลักสูตร พลังแห่งการบริการ
 หลักสูตร การทำงานเป็นทีมและการบริหาร
 หลักสูตร พลังแห่งการสื่อสาร
 ผลงานหนังสือ
 หลักสูตร พลังแห่งการขายและการตลาด
 หลักสูตร การทำงานด้วยหัวใจ
 อาเซียน
 หลักสูตรอื่น
 หลักสูตร การคิด
 มอบหนังสือ เพื่อการกุศล
Custom Search
สถาบัน Cap vision
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ
 
 
  บริการ
รับงานบรรยายในหัวข้อต่างๆ
บทความต่างๆ  ของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการพูดของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
บทความเกี่ยวกับการบริหารของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หนังสือ การพูด
สุนทรพจน์ JFK เคเนดี้
สุนทรพจน์ของลินคอล์นที่เก็ตตีสเบอร์ก
พูดอย่างมีกึ๋น
ท่านสามารถ ดาวน์โหลด ไหล์ PDF แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการพูดได้
สมชาย หนองฮี
อ.พิษณุ สกุลโรมวิลาศ
สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย
   บริการ ทั้งหมด
พลังคุณธรรม จริยธรรม และพลังความสามัคคี คือพลังแห่งการสร้างชาติ
พลังคุณธรรม จริยธรรม และพลังความสามัคคี
คือพลังแห่งการสร้างชาติ
โดย... ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์*
www.drsuthichai.com
* นักวิชาการอิสระ วิทยากรพิเศษและนักพูด สถาบันพัฒนาบุคลากร
ท่ามกลางปัญหาต่างๆ ที่ประเทศต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทั้งปัญหาการแตกแยกแบ่งฝ่ายและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น นั้น เชื่อกันว่าส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญ คือ การขาดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารหรือข้าราชการการเมืองที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศ หากนักการเมืองยังคงแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ เงินตรา และยศศักดิ์ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมแล้ว แน่นอนว่าโอกาสที่จะทำให้เกิดการละเมิดคุณธรรมจริยธรม รวมทั้งพลังความสามัคคีถูกลดทอนไป ก็จะทำให้พลังแห่งการสร้างชาติลดทอนไปด้วย
บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนพยายามจะประมวลนิยามของคำว่า “จริยธรรม” และ “คุณธรรม” ให้ผู้อ่านได้เข้าใจ โดยเฉพาะการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญต่อการสร้างความสามัคคีที่จะนำไปสู่พลังแห่งการสร้างชาติให้เกิดความวัฒนาสถาพรสืบไป
คุณธรรม จริยธรรม : นิยามแห่งความดีงาม
คำว่า คุณธรรม (Virtue) มีผู้ให้ความหมายในทัศนะต่างๆ กันดังนี้
คุณธรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546 หมายถึง สภาพคุณ
งามความดี
คุณธรรม หมายถึง เรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม คุณธรรมทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ดี ทำให้เกิดการรักษาศีล
คุณธรรม เป็นตัวหลักและกระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ (พระเมธีธรรมาภรณ์)
คุณธรรม หมายถึง วิถีแห่งความดีงามในการดำรงชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ยังอยู่ในส่วนลึกของมนุษย์ ยิ่งมีคุณธรรมมากเท่าใดก็ยิ่งจะมีความโน้มเอียงในการทำความดีมากขึ้น (กีรติ บุญซื่อ)
คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล (พระราชวรมุนี)
คุณธรรม หมายถึง ความดีงามในจิตใจซึ่งทำให้เกิดความเคยชินเกิดความประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมดี คือผู้มีความเคยชินประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม การกระทำของคนที่ทำไปโดย
ไม่มีความรู้สึก ไม่มีการตัดสินใจ เช่น การกระทำของคนปัญญาอ่อนเป็นแต่เพียงพฤติกรรม (Behavior) ยังไม่ถือเป็นความประพฤติ (Conduct) พฤติกรรมที่มีมโนธรรมเข้าแทรกแซง คือมีความสำนึกและมีการตัดสินใจจึงจะถือเป็นความประพฤติ แต่ถ้าเพียงประพฤติดีเพราะมีการตัดสินใจเฉพาะหน้าชั่วครั้งชั่วคราวไม่แน่ใจว่าจะมีคุณธรรม ต้องมีความเคยชิน ประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางที่งาม จึงเรียกได้ว่า มีคุณธรรม (สุมน อมรวิวัฒน์ และคณะ)
โดยสรุป “คุณธรรม” หมายถึง สิ่งที่ดีงามที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ประสบการณ์การอบรมจนทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ดี

คำว่า จริยธรรม (Ethics) มีผู้ให้ความหมายในทัศนะต่างๆ กันดังนี้
จริยธรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
จริยธรรม หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ (พุทธทาสภิกขุ) จริยธรรม หมายถึงการนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดำเนินชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม (พระราชวรมุนี)
จริยธรรม หมายถึง การดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์ตนและสังคม (พระเมธีธรรมาภรณ์)
จริยธรรม หมายถึง แนวทางในการประพฤติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม (สาโรช บัวศรี)
จริยธรรม หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติ หรือมาตรการของความประพฤติซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสำนึกและการตัดสินใจ ( กีรติ บุญเจือ)
จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติตามค่านิยมที่พึงประสงค์โดยใช้วิชาจริยศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมด้านคุณค่า สามารถวิเคราะห์ค่านิยมที่เป็นคู่กัน (Dichotomy) สามารถแยกแยะได้ว่า
สิ่งใดดี ควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น (วิทย์ วิศทเวทย์)
จริยธรรม หมายถึง ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามและเหมาะสม จริยธรรมในสมัยก่อนและสมัยปัจจุบันในชนบทและในเมืองก็มีทั้งที่ดีและเลวเหมือนกัน
(ก่อ สวัสดิพาณิชย์)
สรุป “จริยธรรม” คือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ซึ่งนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขในสังคมนั้น

คุณธรรมกับจริยธรรมในบริบทที่ส่งเสริมความสามัคคี
“คุณธรรม” หมายถึง สิ่งที่ดีงามที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ประสบการณ์การอบรมจนทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ดี
“จริยธรรม” คือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ซึ่งนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขในสังคมนั้น
นอกจากนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2550 ลงวันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 ได้กำหนดความหมายของ “คุณธรรม”ว่า หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์เป็น
ความดีงามเป็นมโนธรรมเป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดีเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายในเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นและเหมาะสมกับความต้องการในสังคมไทย และคำว่า “ จริยธรรม” ก็หมายถึง กรอบหรือแนวทางอันดีงามที่พึงปฏิบัติ ซึ่งกำหนดไว้สำหรับสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงาม ความสงบร่มเย็นเป็นสุข ความรักสามัคคี ความอบอุ่น มั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต
จึงอาจสรุปได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม หมายถึง สิ่งที่ดีงามของมนุษย์ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี ซึ่งคุณงามความดีดังกล่าวทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุขเกิดความรักความสามัคคีขึ้นในสังคมนั้น
ฉะนั้น คุณธรรมจริยธรรมจึงมีความสำคัญมากในการอยู่ร่วมกันในสังคม ถ้าสังคมไหนมีคุณธรรม จริยธรรมสังคมนั้นก็จะอยู่กันด้วยความรักความสามัคคี และคนในสังคมใดเป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรมคนในสังคมนั้นก็จะอยู่ด้วยกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ดังคำกล่าวขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า “ ผู้ไร้คุณธรรม จริยธรรมแม้จะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ยังสู้ผู้มีคุณธรรม จริยธรรมที่มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวไม่ได้”
พลังสามัคคี : พลังแห่งการสร้างชาติ
ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2532 ถึงแม้จะผ่านมาหลายปีแต่กระผมเห็นว่ายังคงทันสมัยอยู่ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าความสามัคคีเป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญในการสร้างความ เป็นปึกแผ่นมั่นคงให้ประเทศชาติ พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้
"...ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..."
เราต้องยอมรับว่า ในยุคปัจจุบันสังคมไทยมีความแตกแยกทางด้านความคิดโดยเฉพาะเรื่องของการเมือง ไม่ว่าเรื่องของ คนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง คนเสื้อน้ำเงิน
คนเสื้อดำ และคนเสื้อเขียว เป็นต้น ซึ่งการแตกแยกดังกล่าว ทำให้เกิดความกลัว เกิดความไม่ไว้วางใจกันขึ้น บางคนไม่กล้าที่จะใส่เสื้อสีแดง หรือ เสื้อสีเหลือง ไปในที่ต่างๆ เนื่องจาก เกรงกลัวว่า กลุ่มคนเสื้อสีฝ่ายตรงกันข้ามจะเข้าใจผิด อีกทั้งอาจถูกทำร้ายได้
การแตกแยกความคิดทางการเมืองดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของประเทศ สังคม รวมทั้งบ้านเมืองถูกทำลาย ดังเช่นการชุมนุมทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมามีการเผาทำลายตึก อาคาร และสถานที่ราชการ ทำให้ประเทศไทยของเราถดถอย ในทางตรงกันข้าม ประเทศเพื่อนบ้านของเรากลับเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม เขมร มาเลเซีย ฯลฯ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่ได้เกิดการแตกแยกกันภายในประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้กลับมีความสามัคคีกันของคนในชาติ จึงทำให้เกิดการรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ในประวัติศาสตร์ชาติไทยของเรา ชาวบางระจัน ชนะศึกสงครามเพราะอะไร ในอดีตสมเด็จพระนเรศวร ทรงชนะศึกเพราะเหตุใด หรือ พระเจ้าตากสินมหาราชชนะศึกเพราะ
เหตุใด ไม่ใช่เพราะความสามัคคีของคนในชาติหรือ
ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถได้ทรงพระราชทานแก่
ผู้บริจาคโลหิตให้สภากาชาดไทย ณ สวนอำพร วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 มีความตอนหนึ่งว่า...
“…ชาติเปรียบเหมือนครอบครัวใหญ่ ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในชาติ
ดังปรากฏแล้วในประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษของไทยได้มีความพร้อมเพรียง กอบกู้ชาติบ้านเมืองไว้ เพื่อดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ ความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ในการประกอบคุณงามความดีจึงเป็นสิ่งประเสริฐ...”
ในทางกลับกัน กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศพม่าครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2112 สมัยพระมหินทราธิราช เป็นเพราะสาเหตุอะไร สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่คนไทยแตกความสามัคคีไม่ใช่หรือ และในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศพม่าเป็นครั้งที่ 2 เพราะอะไร สาเหตุหนึ่งเกิดจากคนไทยแตกความสามัคคีไม่ใช่หรือ เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองหลวงของไทยในอดีตคือ กรุงศรีอยุธยา จึงขอฝากบทเพลง : อยุธยาเมืองเก่า
คำร้อง – ทำนอง สุรินทร์ ปิยานันท์ ซึ่งภายในบทเพลงได้สะท้อนถึงเหตุการณ์ในยุคสมัยก่อนอีกทั้งยังบ่งบอกถึงความสามัคคีได้เป็นอย่างดี บทเพลง อยุธยาเมืองเก่า มีดังนี้
อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน จิตใจอาวรณ์ มาเล่า สู่กันฟัง
อยุธยา แต่ก่อน นี้ยัง เป็นดังเมืองทอง ของพี่น้อง เผ่าพงศ์ไทย
เดี๋ยวนี้ ซิเป็นเมืองเก่า ชาวไทยแสนเศร้า ถูกข้าศึกรุกราน
ชาวไทย ทุกคนหัวใจร้าวราน ข้าศึกเผาผลาญ แหลกราญ วอดวาย
เราชน ชั้นหลังฟังแล้วเศร้าใจ อนุสรณ์ เตือนให้ ชาวไทยจงมั่น
สมัครสมาน ร่วมใจกันสามัคคี คงจะไม่มี ใครกล้า ราวีชาติไทย
ความสามัคคีจึงมีความสำคัญมาก ความสามัคคีจะช่วยให้ชาติของเรา สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้อย่างมั่นคงและถาวร ดังสัตว์ชนิดหนึ่งคือ ปลวก ปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ แต่ปลวกสามารถสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็กๆขึ้นมาได้ ซึ่งจอมปลวกสามารถทนต่อลมฝน อีกทั้งพายุไม่สามารถจะทำลายลงได้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ของมัน
ดังนั้นหากคนในชาติมี คุณธรรม จริยธรรมและความสามัคคี กระผมเชื่อว่า สังคมไทย
จะมีความสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มีความอบอุ่นและมีความน่าอยู่มากกว่าทุกวันนี้ เพราะ คุณธรรม จริยธรรมและความสามัคคีจะก่อให้เกิด การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คุณธรรม จริยธรรมและความสามัคคีจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกัน
ท้ายนี้อยากฝากบทเพลงที่มีความหมาย ชื่อเพลง “รักกันไว้เถิด” ที่แต่งเนื้อร้องโดย
ครูนคร ถนอมทรัพย์
“รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหนก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณีไม่มี
กีดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย…"

หมายเหตุ : บทความฉบับนี้ ได้อ้างอิงจาก วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน

...
  
ใครบ้างที่สมัครเป็นนักการเมือง
ใครบ้างที่สมัครเป็นนักการเมือง
โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ตำแหน่งทางการเมือง บทบาททางนักการเมือง ส่วนใหญ่แล้วมีคนอยากจะเป็น เพราะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี จึงทำให้หลายๆคน อยากที่จะเป็น จากการสังเกตและศึกษาข้อมูล ในการเลือกตั้งแต่ละระดับ มักมีคนมากมาย จากหลากหลายอาชีพที่เข้าสู่เวทีทางการเมือง ซึ่งเราสามารถแบ่งแยกเป็นประเภทใหญ่ๆที่เข้ามาสู่เวทีทางการเมืองแล้วประสบความสำเร็จมีดังนี้
1.นักการเมืองโดยสายเลือด นักการเมืองประเภทนี้มักถูกสืบทอดผ่านกันมา เช่น ปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษเป็นนักการเมืองจึงทำให้ตนได้เป็นนักการเมือง ซึ่งมีหลายๆตระกูลที่ส่งมอบตำแหน่งทางการเมืองผ่านทางลูกหลาน ตัวอย่าง
ตระกูลเทียนทอง
นายแสวง เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นกำนัน
นายเสนาะ เทียนทอง ลูกชายนายแสวง เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยและเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง
นายวิทยา เทียนทอง ลูกชายนายแสวง เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นวุฒิสภา
นายสรวงศ์ เทียนทอง ลูกชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นายสุรชาติ เทียนทอง ลูกชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นายแสงประทีป เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทองได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกเทศมนตรีตำบลวัฒนานคร
นายสนธิเดช เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทองได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นรองนายกเทศมนตรีตำบลวัฒนานคร
นายทรงยศ เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทอง ได้รับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
นายทรงคุณ เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว
นายฐานิสร์ เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นางสาวตรีนุช เทียนทอง หลานสาวนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2.นักกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้มีนักกฎหมาย เป็นจำนวนมากสมัครรับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองเกือบทุกระดับ นักกฏหมายที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองมากที่สุดคือผู้ประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งมีมากกว่านักกฎหมายจากอาชีพอื่น เช่น ผู้พิพากษา,อัยการ,นายตำรวจ
3.นักปกครอง อันได้แก่ ผู้ว่าราชการ , ปลัดจังหวัด , นายอำเภอ , ปลัดอำเภอ ,ปลัดเทศบาล ฯลฯ นักปกครองเหล่านี้ เมื่อเกษียณอายุแล้ว จึงลงสมัครรับเลือกตั้งไปเป็นนักการเมือง หรือ ทำงานในพื้นที่อยู่นานพอสมควร ได้ทราบถึงปัญหา ได้มีโอกาสคลุกคลีกับชาวบ้านแล้ว จึงลาออกมาสมัครรับเลือกตั้ง
4.นักธุรกิจ นักธุรกิจเป็นจำนวนมากเมื่อทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จแล้วก็อยากที่จะมีอำนาจมีตำแหน่งมีชื่อเสียงมีเกียรติยศ จึงเข้าไปสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนักธุรกิจหลายๆคนประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ก็เนื่องมาจากการจะเป็นนักการเมืองจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก นักธุรกิจหลายๆคนใช้เงินในการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ จนชาวบ้านที่พึ่งพาหรือได้รับความช่วยเหลือเกิดความศรัทธาและเลือกนักธุรกิจท่านนั้นเป็นนักการเมือง
5.ข้าราชการต่างๆ ไม่ว่า แพทย์ ครู พยาบาล ข้าราชการเหล่านี้ เมื่อทำงานอยู่ในระบบราชการ แล้ว หลายๆคนก็ลาออกหรือเกษียณอายุเพื่อมาสมัครรับเลือกตั้ง
6.คนดัง ดารา คนเด่น บุคคลสาธารณะเหล่านี้ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เนื่องจากออกสื่อเป็นจำนวนมาก เมื่อมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็มักจะได้เปรียบบุคคลในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รู้จัก
มากมายนัก เช่น นักมวยเมื่อได้แชมป์โลกแล้ว มาสมัครรับเลือกตั้งก็มีโอกาสชนะการเลือกตั้งได้ เป็นต้น


...
  
เขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิด
เขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
ในอดีตใครที่เป็นนักเขียน เวลาจะลงผลงานให้คนอ่านนั้นยากมาก เพราะมีข้อจำกัดอย่างมากมาย เช่น เขียนเสร็จส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา หากไม่ได้รับการพิจารณาก็ไม่รู้จะเอาผลงานเขียนไปเผยแพร่ที่ไหน ถ้าหากจะลงทุนพิมพ์เองก็มีต้นทุนที่แพงมากเมื่อเทียบกับยุคปัจจุบัน
แต่ในยุคปัจจุบัน นักเขียนทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น นักเขียนสามารถหาข้อมูลได้อย่างง่ายดายโดยผ่านอินเตอร์เน็ต นักเขียนสามารถพิมพ์ได้สะดวกขึ้น พิมพ์ผิดก็แก้ไขได้อย่างง่ายดายโดยใช้เครื่องมือคือคอมพิวเตอร์ที่มาทดแทนการใช้พิมพ์ดีด และนักเขียนสามารถเผยแพร่งานเขียนได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะผ่านช่องทาง ทางอินเตอร์เน็ต เช่น ทาง Facebook , Blog , เว็บไซต์ ฯลฯ
ดังเราจะเห็นได้จากยุคแรกๆ เว็ปไซต์พันทิพย์(pantip) ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยได้ไปเขียนกัน ในขณะเดี๋ยวกันก็มีคนอ่าน ต่อมาได้มี Blog ซึ่ง Blog นี้ มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น สำหรับนักเขียน เพราะBlog แต่ละ Blog เป็นของตนเอง สิ่งเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้คนได้มีการฝึกฝนการเขียน ซึ่งทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมาอย่างมากมาย เมื่อเราเข้าไปในร้านขายหนังสือเราก็จะพบเห็นผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ๆ หรือออกหนังสือเล่มแรก เป็นต้น
สิ่งที่ตามมาก็คือ นักเขียนสร้างผลงานขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว ก่อให้เกิดชื่อเสียง รายได้ ตามมา แต่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือผิดกฎหมายก็คือ นักเขียนบางคนที่ขาดจริยธรรม ขาดคุณธรรม ขาดจิตสำนึกก็จะไปละเมิดงานเขียนของผู้อื่น ก่อให้เกิดการฟ้องร้องกันขึ้นมา
ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดในการเขียนในได้แก่ การหมิ่นประมาท , การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล, Hate Speech (วาจาที่สร้างความเกลียดชัง),การเขียนสื่อลามกเด็ก ,ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
การหมิ่นประมาท คือ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ระบุถึงการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คือ บุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิส่วนบุคคลตามกฏหมาย
เช่นการได้รับการคุ้มครองจากการเขียนข้อมูลประเภทดูถูก/ดูหมิ่นทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียงผ่านสื่อบนอินเทอร์เน็ต หรือโดยการเผยแพร่/ ปลอมแปลงข้อมูลส่วนบุคคล หรือการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
Hate Speech (วาจาที่สร้างความเกลียดชัง) ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับสังคมที่มีการแตกแยก ดังประเทศไทยเราที่มีการแบ่งสีเสื้อต่างๆ หรือมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ซึ่งมักจะประดิษฐ์ถ้อยคำหรือวาทกรรมที่มีความดุเดือด รุนแรง เพื่อออกมาโจมตีกัน ทางด้านคำพูดและทางด้านการเขียน เช่นคำว่า "ไพร่", "สลิ่ม", "วิปริตทางเพศ" ฯลฯ
การเขียนสื่อลามกเด็ก คือ การเขียนหรือใช้เอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งสื่อหรือแสดงให้รู้หรือเห็นถึงการกระทำทางเพศของเด็ก ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี (กำหนดอายุไม่เกิน 18 ปี เนื่องจากประเทศไทยต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ)
ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลงานที่ประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมถึงการเขียน โดยเน้นการผลิตด้วยสติปัญญา ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธ์ ซึ่งกฏหมายลิขสิทธิ์ (Copyright)
จะเกี่ยวข้องกับผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังนี้ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ เป็นต้น
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ในยุคของสังคมอินเตอร์เน็ต เราสามารถทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ได้อย่างง่ายดายโดยบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าตนเองทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ เช่น บางคนตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อแชร์ข้อมูลต่างๆ โดยการสแกนหนังสือขาย บางคนซื้อหนังสือ E-book มาได้แล้ว ก็เสนอขาย E-book ต่อซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นมาอย่างมากมาย จึงทำให้นักเขียนและนักลงทุน(สำนักพิมพ์)เสียหาย แล้วจึงเกิดการฟ้องร้องกันขึ้นมา
...
  
ร่วมนำเสนอ ในเวทีต่างๆ ในการระดมความคิดเห็น
ผู้นำและนักพูดต้องมีความสามารถในการนำเสนอ อีกทั้งต้องมีเทคนิคการการเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ผู้ฟังติดตาม ...
  
ศาสตร์และศิลปะแห่งการวิจารณ์สุนทรพจน์
ศาสตร์และศิลปะแห่งการวิจารณ์สุนทรพจน์
เป็นหนังสือของสโมสรศิลปะการพูดพิษณุโลก เป็นหนังสือที่เสนอแนวทางการวิจารณ์การพูดโดยเฉพาะการพูดแบบสุนทรพจน์ กระผมไม่ทราบว่าขายราคาเท่าไร แต่เล่มที่กระผมถืออยู่นี้ กระผมได้มาโดยกระผมได้มีโอกาสไปถ่ายทอดความรู้ทางด้านการพูดให้แก่ สมาชิกสโมสรศิลปะการพูดพิษณุโลก ทางสโมสรฯ
จึงได้มอบหนังสือเล่มนี้ให้กระผมเป็นการตอบแทน เมื่ออ่านจบแล้วทำให้ได้รู้หลักการวิจารณ์การพูดเพิ่มขึ้นมาอีกครับ
...
  
ผู้ค้ำประกัน
16
...
  
พระพยอม กัลยาโณ
พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ)

เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 ปีฉลู

บิดา นายเปล่ง จั่นเพชร

มารดา นางสำเภา จั่นเพชร

ภูมิลำเนา อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

การศึกษา

พ.ศ. 2500 เข้ารับการศึกษา ที่โรงเรียนสังวรพิมลไพบูลย์

พ.ศ. 2513 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสังวรพิมลไพบูลย์

พ.ศ. 2514 จบนักธรรมตรี ที่วัดอัมพวัน จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ. 2515 จบนักธรรมโท ที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ 2516 จบนักธรรมเอกที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัด นนทบุรี




ชีวิตในวัยเด็ก

พระพยอมเกิดในครอบครัวที่ยากจน การใช้ชีวิตจึงไม่เหมือนกับเด็กทั่วไป ในวันที่โรงเรียนหยุด หรือ ช่วงเย็นหลังจากเลิกเรียนเด็กชายพยอมจะออกหางานพิเศษรับจ้างดายหญ้าตามร่อง สวน

บางครั้งรับจ้างขึ้นต้นหมาก และเก็บมะพร้าวหล่นด้วยการมีไหวพริบฉลาดเฉลียว ทำให้เด็กชายพยอมคิดวิธีขึ้นต้นหมากวิธีลัด คือ ขึ้นต้นหนึ่งเสร็จแล้ว จะโหนยอดหมากไปอีกต้นหนึ่ง โดยไม่ต้องลงและขึ้นทุกต้น ทำให้ได้รับค่าแรงเพิ่ม ขึ้นกว่าปกติ ที่เด็กวัยเดียวกันทำได้

ในสมัยนั้นจะได้รับค่าจ้างต้นละ 3 - 5 บาท แต่เด็กชายพยอมก็มิได้เกี่ยงงานประการใด เพียงขอให้ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และให้สิ่งที่ได้มานั้นโดยชอบธรรมงานดายหญ้าบริเวณร่องสวน ที่เด็กชายพยอมรับจ้างนั้น จะได้รับค่าจ้างวันละ 20-30 บาท

ความขยันขันแข็ง ความมีน้ำใจ ทำให้ชาวบ้านรักและสงสาร และมอบงานพิเศษให้ทำอยู่เสมอ




วัยหนุ่ม

พระพยอมไม่เคยใช้ชีวิตวัยหนุ่มเยี่ยงชายหนุ่มทั่วไป ท่านใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาโดยสุจริต ด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ เพื่อน ๆ ของท่านจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามยุคสมัย แต่ท่านยังคงสวม เสื้อยืดกล้าม กางเกงแบบชาวสวน

ทั่วไปส่วนเรื่องเพศตรงข้าม ท่านเป็นที่สนใจแก่ผู้หญิงทั่วไป แต่ท่านก็ยังคงยึดมั่นในการประกอบอาชีพทำมาหากิน โดยไม่ได้ให้ความสนใจแก่ผู้ใดเป็นพิเศษ

พระดีศรีสังคม

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492เด็กชายคนหนึ่งที่ถือกำเนิดจากแม่สำเภา จั่นเพชร แม่ที่ยากจนแต่มีความรักลูกสุดประมาณ จากวันนั้น . . . จนถึง . . . วันนี้ เด็กยากจนนั้น คือ .

. . พระนักเทศน์ผู้มีคุณภาพพระดีศรีสังคม พ่อพระของผู้ยากจน พระผู้ร่ำรวยงาน แต่ยากจนเวลา พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) มูลนิธิสวนแก้ว


ในปี 2529 พระพยอม กัลยาโณ จัดตั้ง มูลนิธิสวนแก้วเพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ ให้แก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสัญชาติ กิจกรรมของมูลนิธิสวนแก้ว มี 18 โครงการ


ประกาศเกียรติคุณ และรางวัล

พ.ศ. 2528 ■ รางวัลสังข์เงิน สาขาใช้ศิลปะในการเผยแพร่
จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2531 ■ โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากกรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2535 ■ โล่เกียรติคุณบารมี “พระผู้มีคุณต่อแผ่นดินและสังคม” จากสมเด็จพระสังฆราชฯ

■ โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

พ.ศ. 2536 ■ โล่บุคคลดีเด่นแห่งวงการศึกษาของชาติ สาขาการศึกษานอกระบบ
จากสมาคมศึกษานิเทศแห่งประเทศไทย

■ โล่ผลงานดีเด่นด้านวิชาภาษาไทย จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2537 ■ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสน์
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

■ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาสังคม
จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า)

พ.ศ. 2538 ■ รางวัลเหรียญอนามัยโลก การรณรงค์เลิกบุหรี่ จากองค์การอนามัยโลก

■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 3
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ รางวัลโล่ผู้สนับสนุนกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่นปี 2538
จากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี

■ รางวัลชมเชยที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก (เอสแคป) ประจำปี พ.ศ.2538

พ.ศ. 2539 ■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 2
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่”
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2540 ■ เกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติในด้าน
“อภิปรายถ่ายทอดเสียงวิชาการทางพระพุทธศาสนา”
จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

■ ประกาศนียบัตรทองคำเชิดชูเกียรติ “พระดีศรีสังคม”
จากสมาคมสื่อมวลชนส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)

■ โล่ประกาศเกียรติคุณ “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชน” จากกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2541 ■ ได้รับการคัดเลือกเป็น อุทยานการศึกษาในวัดประจำปี 2541
จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์
เพื่อพัฒนาชุมชนจากสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

■ ปริญญานิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

พ.ศ. 2542 ■ “เสาเสมาธรรมจักร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

■ รางวัลชมเชย ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “เรียนผูกเรียนแก้”
จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2543 ■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย

■ โล่รางวัล "มหิดลวรานุสรณ์"
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ

พ.ศ. 2544 ■ โล่เกียรติคุณ “ผู้สนับสนุนงานกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี 2544”
จาก พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

■ โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่นพิเศษ ปี 2544 จากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี

■ รางวัลมูลนิธิภาคดีเด่น ประจำปี 2543-2544 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2545 ■ โล่รางวัลการสนับสนุนโครงการการจัดการสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1
จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

■ เกียรติบัตรยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

■ โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่น
จากนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

■ โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรดีเด่นที่ให้การสนับสนุนคนพิการ
จากรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง

พ.ศ. 2546 ■ โล่รางวัล PCD Awards 2002 ด้านบุคคลดีเด่นด้านการจัดการขยะมูลฝอย จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

■ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

■ เกียรติบัตรสาขาการอภิปรายถ่ายทอดเสียง วิชาการทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

■ โล่เกียรติยศผู้มีส่วนร่วมถวายความจงรักภักดีในการจัดงาน 5 ธันวามหาราชและงาน 12 สิงหาราชินีนาถ
จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ

■ โล่เกียรติยศบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน
จากพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

■ รางวัลพระภิกษุผู้อุทิศตนในการป้องกันและต่อต้านยาเสพติด
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ

...
  
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) และผู้อุทิศชีวิตให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต

พระพรหมมังคลาจารย์กำเนิดที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จังหวัดระนอง โดยมี พระรณังคมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมี พระจรูญกรณีย์ เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474

ท่านมรณภาพวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ด้วยอาการปอดอักเสบและไตวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 96 ปี
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 ศึกษาหาหลักธรรม
* 2 เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
* 3 สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
* 4 ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่
* 5 วัดชลประทานรังสฤษฎ์
* 6 ผลงานและเกียรติคุณ
o 6.1 งานด้านการปกครอง
o 6.2 งานด้านการศึกษา
o 6.3 งานด้านการเผยแผ่
o 6.4 การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ
o 6.5 งานด้านสาธารณูปการ
o 6.6 งานด้านสาธารณประโยชน์
o 6.7 งานพิเศษ
o 6.8 งานด้านวิทยานิพนธ์
o 6.9 เกียรติคุณที่ได้รับ
o 6.10 สมณศักดิ์ที่ได้รับ
* 7 มรณภาพ
* 8 อ้างอิง

[แก้] ศึกษาหาหลักธรรม

หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
[แก้] เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

* พ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ
* ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป

[แก้] สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

พ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
[แก้] ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่

* ในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ"
* ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย

[แก้] วัดชลประทานรังสฤษฎ์

* ในปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
* พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ได้ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
* นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของ โลกเป็นประจำอีกด้วย
* โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอด จนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและ สังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน

[แก้] ผลงานและเกียรติคุณ
Crystal Clear teamwork.png
บทความนี้มีลักษณะเหมือนประวัติสมัครงาน คุณสามารถร่วมแก้ไขปรับปรุงได้ โดยเขียนให้มีลักษณะเป็นสารานุกรมมากยิ่งขึ้น
[แก้] งานด้านการปกครอง

* พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์
* พ.ศ. 2506 ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
o เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9
o เป็นรองเจ้าคณะภาค 18
* พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

[แก้] งานด้านการศึกษา

* พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์
* พ.ศ. 2512 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา
* พ.ศ. 2524 เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์
o เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์

[แก้] งานด้านการเผยแผ่

* พ.ศ. 2492-2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
* พ.ศ. 2500 เป็นประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิ" จังหวัดเชียงใหม่
o เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่
* พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์
o เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
o เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน พ.ศ. 2520
o เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา
* พ.ศ. 2525 รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
* พ.ศ. 2534 เป็นผู้ริเริ่ม ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน เรียกว่า "ค่ายพุทธบุตร" ในโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ
* พ.ศ. 2536 จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

[แก้] การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ

* พ.ศ. 2497 เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
* ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน
* เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิกาโก สหรัฐอเมริกา

[แก้] งานด้านสาธารณูปการ

* พ.ศ. 2516 เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่
* พ.ศ. 2518 เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม
* เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
* พ.ศ. 2537 เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์

[แก้] งานด้านสาธารณประโยชน์

* พ.ศ. 2533 เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
* สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
* พ.ศ. 2534 บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่
* พ.ศ. 2537 บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อ.เมือง จ.พัทลุง
* บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต
* รับมอบที่ดินและเป็นประธานหาทุนสร้างและอุปถัมภ์ วัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี
* บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่างๆ หลายจังหวัด
* ได้แสดงธรรมเพื่อหาเงินสบทบทุนในจัดสร้างอาคารเรียน 100ปี โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง
* แสดงธรรมเพื่อหาเงินสมบทในจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
* เป็นประธานหาทุนปรับปรุงและยกฐานะโรงพยาบาลชลประทานเป็นศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ-ชลประทาน

[แก้] งานพิเศษ

* พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
* พ.ศ. 2518 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
* เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
* เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น
* พ.ศ. 2529 ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)
* พ.ศ. 2536 ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภาศาสนาโลก 1993 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion)

[แก้] งานด้านวิทยานิพนธ์

ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น

1. ทางสายกลาง
2. คำถามคำตอบพุทธศาสนา
3. คำสอนในพุทธศาสนา
4. หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์
5. รักลูกให้ถูกทาง
6. ทางดับทุกข์
7. อยู่กันด้วยความรัก
8. อุดมการณ์ของท่านปัญญา
9. ปัญญาสาส์น
10. ชีวิตและผลงาน
11. มรณานุสติ
12. ทางธรรมสมบูรณ์แบบ
13. 72 ปี ปัญญานันทะ
14. กรรมสนองกรรม เป็นต้น

[แก้] เกียรติคุณที่ได้รับ

* พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
* พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัล "นักพูดดีเด่น" ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย
* พ.ศ. 2525 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล คือ ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)
* พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
* พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
* พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์
* พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสงานครบรอบ 100 ปี โรงเรียนพัทลุง จากโรงเรียนพัทลุง
* พ.ศ. 2550 ได้รับยกย่องเชิดชู ในฐานะ "ผู้สูงอายุแห่งชาติ" ประจำปี 2550 ผู้มีผลงานดีเด่นคนแรก (รูปแรก) ของประเทศ

[แก้] สมณศักดิ์ที่ได้รับ

* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระปัญญานันทมุนี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชนันทมุนี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
* วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ "พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

[แก้] มรณภาพ

พระพรหมังคลาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อเวลา 9.09 น. ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริรวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์
[แก้] อ้างอิง

* หนังสือชีวประวัติปัญญานันทภิกขุ (สนพ.ธรรมสภา)
* วัดชลประทานรังสฤษฎ์

สมัยก่อนหน้า พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) สมัยถัดไป
พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) 2leftarrow.png พระธรรมโกษาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท)
(พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2547) 2rightarrow.png พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_(%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B8%9B%E0%B8%8D%E0%B8%BA%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%97)".
หมวดหมู่: บทความเหมือนเรซูเม | บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2454 | บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550 | พระภิกษุสงฆ์ | พระสงฆ์ไทย | ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ | เปรียญธรรม ๔ ประโยค | ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง | ชาวพัทลุง | ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร | พระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ | ผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ...
  
การเขียนรายงานการค้นคว้า
หนังสือ การเขียนรายงานการค้นคว้า มีตัวอย่างประกอบให้ดูให้ศึกษาไม่ว่าจะเป็นภาคนิพนธ์ รายงาน
แต่งโดย รศ.พูนสุข เอกไทยเจริญ ...
  
เฉลิมชัย ศิลปการดำเนินชีวิต 2
16
...
  

    จำนวนหน้า : [1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]  [16]  [17]  [18]  [19]  [20]  [21]  [22]  [23]  [24]  [25]  [26]  [27]  [28]  [29]  [30]  [31]  [32]  [33]  [34]  [35]  [36]  [37]  [38]  [39]  [40]  [41]  [42]  [43]  [44]  [45]  [46]  [47]  [48]  [49]  [50]  [51]  [52]  [53]  [54]  [55]  [56]  [57]  [58]  [59]  [60]  [61]  [62]  [63]  [64]  [65]  [66]  [67]  [68]  [69]  [70]  [71]  [72]  [73]  [74]  [75]  [76]  [77]  [78]  [79]  [80]  [81]  [82]  [83]  [84]  [85]  [86]  [87]  [88]  [89]  [90]  [91]  [92]  [93]  [94]  [95]  [96]  [97]  

หนังสือ พูดอย่างมีกึ๋น
ศิลปะการขาย
วาทะวาที

  Copyright @ 2010 drsuthichai.com All Rights Reserved.  Powered by ThaiWeb.  Admin Business Online 
Popularne pozyczka 5000 kasa stefczyka tarnów, dzięki nowelizacjom w prawie, są coraz pozyczka do 3 osób. Nowe regulacje mają na celu ochronę konsumentów i objęcie większym nadzorem procedur udzielania pożyczek pozabankowych chwilówki plac wolności rzeszów x kom. Nowe przepisy opierają się na pożyczki dla zatrudnionych na czarno góra zmianie ustawy o nadzorze nad rynkiem finansowym net credit splata pozyczki irlandia. Weszły one w życie z dniem 11 marca 2016 r. chwilówka dla studenta ranking Poniżej zamieszczamy ich przegląd. Firma pożyczkowa musi dysponować minimalnym kapitałem początkowym w wysokości 200 tys. zł – kapitał ten nie może pochodzić z pożyczek eurobank pożyczka online pl. W ten sposób postarano się wyeliminować z rynku małe firmy, które powstawały tylko po to, aby w jak najkrótszym czasie oszukać rzesze klientów udzielanie pożyczek zwolnione z vat. Nadzór nad firmami pożyczkowymi może prowadzić Komisja Nadzoru Finansowego z o.o. udziela pożyczki vivus. KNF w razie wątpliwości może objąć monitoringiem warunki oferowanych pożyczek pożyczka 3000 online. Firma pożyczkowa, która utrudni działania czy umowa pożyczki może być bez odsetek hipotecznych, może zostać obarczona karą do 500 tys. zł credit agricole kredyt mieszkaniowy kalkulator. Niektórzy eksperci uważają, że optymalna karą za nielegalne praktyki, byłoby 1 mln zł. wynagrodzenie z tytułu pożyczki hipotecznej Ustalono także, że wszystkie koszty pożyczki nie mogą być wyższe niż 100% kwoty udzielonej koszty umowy pożyczki rodzinnej, uwzględniając cały okres kredytowania czesc pozyczki hipoteczne. Ponadto maksymalne opłaty oraz odsetki z tytułu opóźnień w umowa pożyczki od wspólnika spółki cywilnej uchwała spłacie nie mogą przekraczać 6-krotności stopy lombardowej kredytu ustalanej przez NBP pożyczka z zfśs a zwolnienie szpitalne. Koszty udzielenia pożyczki nie mogą przekroczyć 25% kwoty udzielonej pożyczki pożyczki bez bik poznan poland, a koszty pozaodsetkowe w skali roku nie mogą być większe niż 30% gdzie dostać kredyt dla zadłużonych. Chwilówki mogą być obarczone odsetkami ustawowymi tarnow pozyczki bez qica, czyli maksymalnie 4-krotnością kredytu lombardowego NBP pożyczka na doposażenie stanowiska pracy chomikuj.